ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 02 กันยายน 2564

หัวข้อการตรวจกรณีพิเศษ : การจัดการเรียนการสอนในสถานะการ Covid-19

    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต ๑ (สพฐ.)

                   ได้กำหนดนโยบายการเรียนการสอนของสถานศึกษาในสังกัด “โรงเรียนอาจหยุดได้ แต่การเรียนรู้หยุดไม่ได้”  โรงเรียนต้องให้ความรู้และเน้นย้ำความปลอดภัยของผู้บริหาร ครูผู้สอนและบุคลลากรทุกคน  ตลอดระยะเวลาที่อยู่โรงเรียน ล้างมือด้วยเจล หรือ แอลกอฮอร์  สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง พร้อมทั้งเว้นระยะห่างทางสังคม ซึ่งมีโรงเรียนในสังกัดปฏิบัติตนตามมาตรการ  44  ข้อ ของศูนย์ ศบค. จังหวัดสุโขทัย และ สถานศึกษาได้ดำเนินการเปิดเรียนภาคเรียนที่ 1  วันที่ 14 มิถุนายน 2564 และมีการนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอน  และสถานศึกษาในสังกัด ปิดเรียนพร้อมกัน เนื่องจากสถานการณ์แพร่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19)  โดยจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่าง ๆ คือ Online  On - demand  On - hand  On - Air สำหรับโรงเรียนไม่มีการเปิดเรียนรูปแบบ Onsite  ทำให้ระยะเวลา วันที่ 1 กรกฎาคม ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2564 โรงเรียนจัดการเรียนการสอน  118 โรงเรียน ดังนี้

                   Online                    จำนวน  24  โรงเรียน 

                   On demand           จำนวน  24  โรงเรียน

                   On - hand                จำนวน  118  โรงเรียน

                   On Air                   จำนวน  6 โรงเรียน

                    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต ๒ (สพฐ.)

                    ได้ทำการศึกษาเชิงลึก รวมถึงนิเทศ กำกับติดตามการจัดการเรียนการสอนและมาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งพบประเด็นที่เป็นผล                    การดำเนินงาน โดยรวม  คือ

                   รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดที่ใช้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในช่วงก่อนเปิดภาคเรียน มีรูปแบบหลัก คือ การจัดการเรียนการสอน                     แบบ On hand ซึ่งส่วนใหญ่ใช้การเยี่ยมบ้านเป็นหลัก มีเอกสาร ใบงาน และให้คำแนะนำกับผู้ปกครองและนักเรียนเป็นรายบุคคล ในกรณีที่เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งสามารถทำได้อย่างครอบคลุมพื้นที่การจัดการเรียนรู้ผ่านออนไลน์ (Online) และการจัดการเรียนรู้ผ่านโทรทัศน์ (On-air) โดยผสมผสานกับรูปแบบอื่น ๆ เช่น รูปแบบการเยี่ยมบ้านกับการจัดการเรียนรู้ ผ่านโทรทัศน์ การเยี่ยมบ้านกับการจัดการเรียนรู้ผ่านออนไลน์ เป็นต้น โดยสถานศึกษาส่วนใหญ่มีการดำเนินการวิเคราะห์หลักสูตร/จัดทำโครงสร้างหลักสูตรให้เหมาะสม การปรับแผนการจัดการเรียนรู้                ให้สอดคล้องกับเนื้อหาและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การจัดลำดับความสำคัญของเนื้อหาให้เหมาะสมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การเชื่อมโยงเนื้อหาให้เหมาะสมกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การนิเทศ กำกับติดตามการจัดการเรียนรู้ และการวัดประเมินผลการเรียน มีการชี้แจงนโยบายให้ครูรับทราบ มีการอบรมครูเกี่ยวกับการใช้สื่อ เทคโนโลยี และการสำรวจความพร้อมของนักเรียน การปรับเนื้อหากิจกรรมเสริมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีการใช้ใบความรู้/ใบงานประกอบการเรียนรู้ และ สอนเสริมให้กับผู้เรียน กรณีการจัดการเรียนรู้ผ่านออนไลน์ มีใช้การใช้แพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Google Meet, Zoom, MS .Team  การใช้สื่อ Social Media  Google Classroom

 

 

 

1.      ด้านนักเรียน

                     ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ได้รับการเรียนรู้ทางไกลในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID -19 ระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน – 15 สิงหาคม 2564 ดังนี้

ที่

รูปแบบการจัดการเรียนการสอน

จำนวนโรงเรียน

จำนวนนักเรียน

โรงเรียน

ร้อยละ

นักเรียน

ร้อยละ

1

ON-HAND

54

38

6,545

34

2

ON-LINE + ON-HAND

26

17

3,404

18

3

ON-AIR + ON-LINE + ON-HAND + ON-DEMAND

9

6

3,540

18

4

ON-AIR + ON-HAND

33

22

2,275

12

5

ON-HAND + ON-DEMAND

11

7

1,760

9

6

ON-LINE + ON-HAND + ON-DEMAND

8

5

1,180

6

7

ON-AIR + ON-LINE + ON-HAND

8

5

531

3

รวม

152

 

  19,235

100

                2. ด้านผู้บริหาร

                   2.1  ผู้บริหารมีการวางแผนบริหารจัดการในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID -19 ระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน – 15 สิงหาคม 2564 อย่างไร ระยะก่อนปิดเรียนกรณีพิเศษ ร้อยละ 100                ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัด ดำเนินการดังนี้

                   โรงเรียนมีการสำรวจคัดกรองผู้ปกครองและนักเรียนเพื่อจำแนกออกเป็นกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มเฝ้าระวัง โดยมอบหมายให้ครูประจำชั้นสำรวจสอบถามจากนักเรียนและผู้ปกครอง และมีการวัดอุณหภูมินักเรียน ครู และผู้มาติดต่อทีจุดคัดกล่องโรงเรียนอย่างเคร่งครัด ระยะปิดเรียนกรณีพิเศษ

                   1. จัดประชุมครูเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนทางไกล วางแผนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน

                   2. มอบให้ครูประจำวิชาวางแผนเตรียมการเรียนการสอนทางไกลและเลือกรูปแบบการจัดการเรียน  การสอนเสนอต่อผู้บริหารเพื่อจักเตรียมวางแผนจัดหาวัสดุอุปกรณ์

                   3. มอบหมายให้ครูประจำชั้นแจ้งผู้ปกครองให้เข้าใจตรงกันและขอความร่วมมือในการกำกับดูแลนักเรียนในการเรียนรู้ทางไกล

                   4. มอบหมายให้ครูประจำชั้นประจำวิชากำหนดช่วงเวลารับ-ส่ง ใบงาน ใบความรู้ พร้อมกับ             การติดตามเยี่ยมบ้านนักเรียน          

                    2.2 ผู้บริหารให้การช่วยเหลือ สนับสนุน ในการจัดการเรียนการสอนครั้งนี้อย่างไรบ้าง

     ร้อยละ 100 ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัด ดำเนินการดังนี้

                              -  ชี้แจงครู ผู้ปกครอง และนักเรียน เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์            การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  พร้อมทั้งให้คำแนะนำแนวทางที่เป็นประโยชน์ในการจัดการเรียน          การสอน

-  สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำแบบฝึก/ใบงาน  คอมพิวเตอร์ กระดาษ

-  สอบถามปัญหา ความคืบหน้าการดำเนินการจัดการเรียนการสอนของครูแต่ละท่าน

-  ให้ความรู้ความเข้าใจ ในเรื่อง การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิชผ่านระบบออนไลน์

-  มีการแนะนำให้เตรียมใบงาน ด้านการเรียนเพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับนักเรียน

-  จัดให้มีการใช้สื่อเอกสารใบงานประกอบการจัดการเรียนการสอน

-  นำปัญหาอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนครั้งที่ผ่านมาเพื่อหาแนวทางแก้ไข

-  กำกับติดตามดูแลช่วยเหลือครูหากมีปัญหาใดให้รีบแจ้งโรงเรียนเตรียมกระดาษ

เครื่องพิมพ์ไว้สนับสนุน

-  สนับสนุนวัสดุงบประมาณสำหรับจัดเตรียม ใบความรู้ใบงาน แบบฝึกหัด ติดตาม

สอบถามผู้ปกครอง ได้ออกเยี่ยมบ้านนักเรียน

                    2.3 ผู้บริหารมีการเอาใจใส่ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในการเรียนทางไกลครั้งนี้อย่างไร

     ร้อยละ 100 ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัด ดำเนินการดังนี้

              -  สำรวจ คัดกรอง ครู ผู้ปกครอง และนักเรียนที่มาจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง 

                             -  ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ในการให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนในสถานการณ์การแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา 2019

                             -  นิเทศติดตามการเรียนการสอนของครูผ่านไลน์กลุ่มประจำห้องเรียน/กลุ่มเฟซบุค ประจำห้องเรียน

     -  ใช้วิธีการติดต่อสื่อสารอย่างหลากหลาย โทรศัพท์ LINE สอบถามผู้ปกครองเพื่อรับทราบปัญหา

              -  เพราะผู้อำนวยการมี LINE ในกลุ่มผู้ปกครองสามารถพูดคุยตอบคำถามได้ทันที

              -  มอบหมายครูประจำชั้นติดต่อสื่อสารกับนักเรียนและผู้ปกครองโดยการตั้งกลุ่มไลน์

ของแต่ละกลุ่มชั้นคือ กลุ่ม ป. 1 ป. 2 ป. 3 ป. 4 ป. 5 ป. 6 และกลุ่มอนุบาล

-  มีการนิเทศติดตามออกเยี่ยมบ้านนักเรียนดูแลอย่างใกล้ชิด

-  แบ่งเวลาให้คณะครูลงพื้นที่เยี่ยมนักเรียนในทุกๆวัน

-  แนะนำให้ครูจัดทำคู่มือการเรียนการสอนส่งถึงผู้ปกครองเพื่อสร้างความเข้าใจ           

แก่ผู้ปกครองสอนการใช้โปรแกรมซูมแก่คณะครูเพื่อนำไปใช้ต่อกับนักเรียนในการเรียนออนไลน์

3. ด้านครู    

                    3.1 ครูมีการวางแผนจัดการเรียนรู้แก่นักเรียนอย่างไรร้อยละ 100 ของครูในสังกัด ดำเนินการดังนี้

                             -  กำหนดรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละระดับชั้น ตามบริบท ของโรงเรียน และตามศักยภาพของนักเรียน ตามแนวทางของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

-  ครูจัดทำแบบฝึกหัด  ใบงาน  และจัดเตรียมหนังสือ  ตามตารางเรียนของนักเรียน 

โดยจัดทำเป็น รายสัปดาห์  พร้อมนำเอกสารแจกนักเรียนที่บ้าน/ที่โรงเรียน

-  ครูจัดทำใบงานตามช่วงชั้นโดยครูประจำชั้นจะทำหน้าที่ติดตามกำกับดูแลนักเรียน

ของตนเองรวมทั้งพูดคุยปัญหาและร่วมกันหาวิธีแก้ไข เพื่อให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้

- ครูจัดทำใบงานใบความรู้แบบฝึก ผ่านทาง LINE เป็นไฟล์เอกสารให้เรียนใช้สมุดบันทึก

ทำแบบฝึกหัดลงสมุดแบบฝึกหัด ของกรมวิชาการ แจ้งให้ผู้ปกครองมารับ งาน บางส่วน ไปมอบให้ที่บ้าน

- ครูจัดเตรียมแผนการสอนในช่วงสถานการณ์ covid-19 จัดทำใบงานใบความรู้

มอบหมายให้นักเรียนเตรียมใบงานแบบฝึกหัดวิชาหลัก

                              - ครูแจ้งและประสานผู้ปกครองนักเรียนในการมอบหมายงานให้นักเรียนในแต่ละครั้ง และออกเยี่ยมบ้านติดตามดูแลให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่ไม่สามารถ ติดต่อได้

3.2 ครูมีการแนะนำ ชี้แจง ช่องทางการเรียนรู้แก่นักเรียน และผู้ปกครอง อย่างไร

     ร้อยละ 100 ของครูในสังกัด ดำเนินการดังนี้

- ให้คำปรึกษาในการจัดการเรียนการสอน เมื่อนักเรียนไม่เข้าใจสามารถสอบถามครูได้

ตามช่องทางโทรศัพท์ ไลน์ เฟซบุ๊ค หรือมาพบครูที่โรงเรียน

- ชี้แจงรายละเอียดการจัดการเรียนการสอนผ่านไลน์กลุ่มห้องเรียน/กลุ่มเฟซบุคห้องเรียน

- ครูแนะนำช่องทางการเรียนรู้ อย่างหลากหลายในโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook            

ของเรียนและLINE ของโรงเรียน

- แนะนำช่องทางการติดต่อสื่อสารการสืบค้นข้อมูล แก่นักเรียนและผู้ปกครองผ่าน

ช่องทางโทรศัพท์ไลน์และเฟซบุ๊ค

- ประชุมแนะนำการจัดการเรียนการสอนครูออกเยี่ยมบ้านนักเรียน

- ครูมีการสร้างกลุ่มไลน์เพื่อประสานผู้ปกครองในแต่ละวันและให้ผู้ปกครองรับชมผ่าน

ช่องทางต่าง ๆ ตามบริบท

- นักเรียนที่มีอินเทอร์เน็ตให้เปิด DLTV เพิ่มเติมประกอบใบงานหากมีข้อสงสัยให้โทรถาม

ครูได้ตลอด

- ครูแนะนำช่องทางการเรียนรู้อย่างหลากหลาย เช่น Application On-Demand              

หาช่องทางการสื่อสาร ทางโทรศัพท์ LINE และ Facebook

                    ผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2

1. ผลกระทบต่อการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา

ทางบวก  1) มีการปรับเปลี่ยนแผนและเป้าหมายในการจัดการศึกษา

                                2) ปรับวิธีการนิเทศ การกำกับติดตาม และการประเมินผลการเรียนใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์

                                3) มีการปรับปรุงระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้มีคุณภาพสูงขึ้น

                                4) มีการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้การจัดการเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น และมีการใช้วิธีการวัดประเมินผลใหม่ ๆ มากขึ้น

ทางลบ    1) เครือข่ายอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารไม่เพียงพอและสัญญาณไม่เสถียร

                      2) คุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูลดลง

                      3) อาคารสถานที่เพื่อการจัดการเรียนรู้ไม่เพียงพอ วัสดุอุปกรณ์เพื่อป้องกัน

การแพร่เชื้อโรคไม่เพียงพอ

          2. ผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของผู้บริหารและครู

ทางบวก   1) ผู้บริหารและครูพัฒนาตนเองให้มีความรู้และทักษะการบริหาร /การจัดการเรียนรู้

รูปแบบต่าง ๆ

                      2) ครูเรียนรู้และพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้น

                      3) ครูเปลี่ยนวิธีสอน วิธีการวัดประเมินผลให้เหมาะสม มีความกระตือรือร้นในการปรับใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง

                      4) ครูมีความสามัคคี ร่วมมือและช่วยเหลือกันมากขึ้น

                      5) ครูได้รับความชื่นชมจากผู้ปกครองมากขึ้น เนื่องจากผู้ปกครองรับรู้ถึงความวิริยะอุตสาหะในการทางานของครู

ทางลบ    1) ครูมีภาระงานในการจัดการเรียนรู้และการดูแลนักเรียนมากขึ้น

                      2) ครูมีความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน วิตกกังวลเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ และผลการเรียนของนักเรียนจะลดลง  ครูขาดขวัญกำลังใจในการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน

          3. ผลกระทบต่อผู้เรียน  

ทางบวก   1) นักเรียนมีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น

                      2) นักเรียนมีโอกาสได้พัฒนาการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยี

                      3) นักเรียนเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้จากออนไลน์และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆมากขึ้น

                      4) นักเรียนสามารถลดเวลา ความเสี่ยง และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปโรงเรียน

             5) นักเรียนมีความสงบและมีสมาธิในการเรียนมากขึ้น

                      6) การเรียนออนไลน์ หรือผ่านทีวีสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ในการเดินทางและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

ทางลบ    1) นักเรียนต้องปรับเวลา สถานที่และวิธีการเรียนใหม่ มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับผล

การเรียน

                     2) นักเรียนได้รับการฝึกทักษะการปฏิบัติน้อยลงและไม่สามารถทำกิจกรรมการเรียนร่วมกับเพื่อน และเสียโอกาสในการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอกและการเรียนจากการปฏิบัติจริง

  3) นักเรียนและผู้ปกครองต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเตรียมจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ สื่อ

เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้

 4) การเรียนออนไลน์ ทำให้นักเรียนขาดความกระตือรือร้น ขาดความรับผิดชอบ  

เหนื่อยล้า

                    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย (สพฐ.)

                   มีสถานศึกษาในสังกัด จำนวน 27 โรงเรียน มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)   5 รูปแบบ คือ การเรียนแบบ On site ,On - Air  , On-Line , On-demand, On- hand โรงเรียนได้ดำเนินการอย่างหลากหลายดังนี้
         

 

        สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)

          ดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ตามมาตรการของกระทรวงศึกษาธิการกำหนด และตามประกาศของ สบค.จังหวัดหวัดสุโขทัย

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)

ทุกสถานศึกษาในสังกัด ดำเนินการตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สป.38/2564                     

อย่างเคร่งครัด ได้แก่

1. มาตรการใช้อาคารสถานที่ ในสถานศึกษาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

2. แนวปฏิบัติการจัดพัฒนาคุณภาพผู้เรียนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

3. มาตรการเฝ้าระวังข้อปฏิบัติในสถานศึกษารองรับสถานการณ์โควิด-19 ภายใต้สถานการณ์  การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

4. มาตรการเฝ้าระวังภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (COVID-19)  ในการจัดการเรียนการสอน

5. มาตรการการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

                   วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย ได้กำหนดนโยบายการจัดการเรียนสอนของสถานศึกษา

โดยเน้นยำความปลอดภัยของผู้บริหาร ครูผู้สอนและบุคลากรทุกคน ตลอดระยะเวลาที่อยู่วิทยาลัย ด้วยการล้างมือด้วยเจล หรือ แอลกอฮอร์ สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง พร้อมทั้งเว้นระยะห่างทางสังคม ในวันที่ 1 กรกฎาคม ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2564 วิทยาลัยฯ จัดการเรียนการสอน  ในรูปแบบ Online

            สำนักบริหารการศึกษาพิเศษ (สศศ.)

            ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสุโขทัย  มีการจัดการเรียนการสอนในยุคการแพร่ระบาด              ของไวรัส COVID 19 สำหรับเด็กพี่มีความต้องการพิเศษ ของ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21            โดยการจัดกิจกรรมผลิตสื่อการสอนออนไลน์ และการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์และ On Hand ทำให้เด็ก  ที่มีความต้องการพิเศษ สามารถเข้าถึงเกมการศึกษาในรูปแบบดิจิตอลได้และใช้ประโยชน์ได้จริง สามารถนำไปใช้เรียนได้ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียนในเวลาว่าง และการนำใช้เรียนที่บ้าน ทำให้ได้รับการเรียนต่อเนื่องก่อให้เกิดความสม่ำเสมอในการเรียนการสอน และในช่วงสถานการณ์โควิดที่เป็นยุคของการเรียนออนไลน์ การนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

          สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)

                   โรงเรียนในสังกัดปฏิบัติตนตามมาตรการ  44  ข้อ ของศูนย์ ศบค. จังหวัดสุโขทัย และ สถานศึกษาได้ดำเนินการเปิดเรียนภาคเรียนที่ 1  วันที่ 14 มิถุนายน 2564 และมีการนิเทศติดตามการจัดการเรียนการสอน  และสถานศึกษาในสังกัด ปิดเรียนพร้อมกัน เนื่องจากสถานการณ์แพร่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19)  โดยจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่าง ๆ คือ Online  On - demand  On - hand                On - Air สำหรับโรงเรียนไม่มีการเปิดเรียนรูปแบบ Onsite  ทำให้ระยะเวลา วันที่ 1 กรกฎาคม ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2564 โรงเรียนจัดการเรียนการสอน  

 

 

2)  ข้อค้นพบ / ปัญหาอุปสรรค

๑. การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ  DLTV นั้น นักเรียนบางพื้นที่มีความพร้อมน้อยและไม่มีความพร้อม เช่น ไม่มีเครื่องมือ  ที่จะประกอบการเรียน   เช่น ทีวี ที่รับสัญญาณ  ไม่มีโทรศัพท์มือถือ และไม่มีเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

2. อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน เช่น สัญญาณอินเตอร์เน็ตไม่เสถียร ไม่มีอินเตอร์เน็ต

3. อุปกรณ์รับสัญญาณของนักเรียนไม่พร้อม ไม่มีสื่อเทคโนโลยี โทรศัพท์มือถือ,แท็ปเล็ต

4. บ้านของนักเรียนอยู่ห่างไกลไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต 

5. นักเรียนไม่มีงบประมาณในการซื้อชั่วโมงอินเตอร์เน็ต 

                6. นักเรียนให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมน้อย เช่น วิชาแรก นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม และวิชาต่อไป นักเรียนให้ความสำคัญลดลง นักเรียนไม่เตรียมเอกสารใบงานสำหรับเป็นการบ้าน  มาในการเข้าสู่การเรียน

                7. เนื่องด้วยนักศึกษา กศน. มีความหลากหลายในช่วงอายุและอาชีพ การใช้เทคโนโลยีทางการออนไลน์จึงไม่คล่องตัวมากนัก และอาจด้วยการใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ตจากอุปกรณ์ส่วนตัว เนื่องจากไม่สามารถไปรวมจุดบริการ WIFI   จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) และผู้เรียนทำงานไม่มีเวลาว่างตรงกัน

                8. นักเรียน นักศึกษาเข้าเรียนไม่ตรงเวลา

3)  วิธีการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

1. สำหรับนักเรียนกลุ่มที่ไม่มีความพร้อม หรือมีความพร้อมน้อย โรงเรียนได้แก้ปัญหา โดย                  มีการเรียนการสอนโดยใช้ใบงาน  แบบฝึกหัด และบางโรงเรียนจะกำหนดจุดเพื่อให้นักเรียนมาเรียนรู้ร่วมกันและ          มีครู    มาดูแล  บางพื้นที่ นักเรียนที่มีความพร้อมมากจะให้เพื่อนนักเรียนมาเรียนรู้ร่วมกัน  ซึ่งในสถานการณ์นี้              จะเห็นความร่วมมือในวิถีชีวิตใหม่  ละเป็นการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์เป็นอย่างดี

2. ปรับปรุงระบบอินเทอร์เน็ตของโรงเรียน

3. ใช้ระบบการสอนแบบ On Hand

4. ครูเตรียมการสอนและมอบหมายการบ้านให้นักเรียนและเน้นย้ำตามตารางสอนให้เตรียมใบงานให้พร้อมพร้อมทั้งกำหนดการส่งงานตามกำหนด

5. ครูใช้วิธีการสื่อสาร โดยครูจัดการเรียน โดยให้ผู้ปกครอง หรือ นักเรียนใช้วิธี On Hand ใบงาน โดยการนัดหมายการรับและการส่งใบงานและการบ้าน ตามจุดที่กำหนด กำหนดให้บ้านที่มีโทรทัศน์  มีอินเตอร์เน็ต หรือ ดูรายการ DLTV  เป็นจุดศูนย์กลางในการเรียนรู้  ครูนำใบงานมอบให้นักเรียน

6. ติดตามผู้เรียน กระตุ้นให้ผู้เรียนเข้าห้องเรียนออนไลน์ก่อนถึงเวลา

4)  ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย (ถ้ามีโปรดระบุ)

            1. ควรมีการสนับสนุนค่าใช้จ่ายค่าอินเตอร์เน็ตให้ผู้ปกครอง จาก สพฐ.

2. ควรมีการสนับสนุน สมทบทุนค่าใช้จ่ายโทรศัพท์มือถือ, แท็ปเล็ต

3. ครู กศน. จึงต้องจัดทำเป็นคลิปการสอนออนไลน์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถมาเรียนรู้ภายหลังได้

4. สถานศึกษาควรมีซิมหรือแพคเก็ตอินเทอร์เน็ตฟรีสำหรับจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ

ออนไลน์

 

5)  ปัจจัยความสำเร็จ  (ความโดดเด่น จุดแข็ง นวัตกรรม และเกิดประโยชน์หรือผลกระทบทางบวกแก่ผู้เรียน อย่างไรบ้าง  มีต้นแบบ หรือแบบอย่างที่ดี ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามนโยบาย หรือไม่ อย่างไร)

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 (สพฐ.)

โรงเรียนอนุบาลสุโขทัย  มีการบริหารจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) เป็นแบบอย่างได้

        สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต ๒ (สพฐ.)

        มีแบบอย่างที่ดี (Best Practice) ดังนี้

       1. การทำหน้ากากอนามัยใช้เอง

       2. การปรับปรุงวัสดุ อุปกรณ์ที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ เช่น จุดล้างมือ จุดคัดกรอง

       3. แผงกั้น ที่นั่งรับประทานอาหาร

       4. การทำสัญลักษณ์เว้นระยะห่าง

                    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย (สพฐ.)

                   มีสถานศึกษาในสังกัด ๒ แห่ง เป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้แก่

                    1. โรงเรียนกงไกรลาศวิทยา

                    2. โรงเรียนลิไทพิทยาคม

                        สำนักบริหารการศึกษาพิเศษ (สศศ.)

          การสร้างนวัตกรรม สื่อออนไลน์ และอัพโหลดลงใน www.youtube.com


 บันทึข้อมูลโดย: นางสาววารี เกตุอ่อน ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนั