ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 13 กันยายน 2564

หัวข้อการตรวจกรณีพิเศษ : การจัดการเรียนการสอนในสถานะการ Covid-19

สพป.

    โรงเรียนมีการจัดบรรยากาศ บริบทภายในโรงเรียนได้สะอาด ร่มรื่น ตัดแต่งต้นไม้ในบริเวณโรงเรียนได้สวยงาม และทุกโรงเรียนยังคงรักษามาตรการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา-19 มีการจัดบรรยากาศภายในห้องเรียนโดยยึดมาตรการการเว้นระยะห่างมีบันทึกการประชุม/ชี้แจง สร้างความเข้าใจกับครู บุคลากร นักเรียน และนักเรียนได้รับทราบแนวปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกัน COVID ๒๐๑๙มีการใช้ Application ไทยชนะ สำหรับบุคคลภายนอกที่เข้ามาในสถานศึกษามีการรักษามาตรการยึดหลัก M-D-H-T-Tป้ายกำหนดมาตรการการป้องกันคู่มือการปฏิบัติสำหรับโรงเรียนในการป้องกัน COVID ๒๐๑๙ มีการให้ความรู้และแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ( COVID - 19 ) แก่ผู้เรียนตามสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อหาวิธีการป้องกันและเพื่อความปลอดภัย

    ปัญหาอุปสรรค

           - ขาดอุปกรณ์ สมาร์ทโฟน เครื่องรับสัญญาณ สัญญาณอินเตอร์เน็ตที่ใช้ในการเรียน เนื่องจากครอบครัวนักเรียนส่วนใหญ่ยากจน

           - ผู้ปกครองไม่มีเวลา กำกับ ดูแล ในระหว่างนักเรียนเรียนหนังสือ เนื่องจากต้องไปประกอบอาชีพ

สพม.

1. แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการ 2 คณะ ได้แก่

       1.1 คณะกรรมการบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ

                   มีหน้าที่

                   1.1.1 ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อวางมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

                   1.1.2 เมื่อเกิดสถานการณ์การการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)        ให้หาวิธีการป้องกัน และแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

                   1.1.3 วางแผนการบริหารการจัดการเรียนการสอน ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

                  1.1.4 วางแผนกำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และรายงานอย่างน้อย 15 วัน/ครั้ง

                  1.1.5 ประสานงานกับหน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

        1.2 คณะทำงานศูนย์เฉพาะกิจการจัดการศึกษาทางไกล ในสถานการการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ

                       มีหน้าที่

                    1.2.1 จัดเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาทางไกล ทั้งระบบการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) และระบบการจัดการศึกษาทางไกลในระบบออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนแก้ไขปัญหา และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนทางไกล

                    1.2.2 รวบรวมข้อมูล จัดทำคลังสื่อการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)      

                     1.2.3 ติดตาม วิเคราะห์สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

               1.2.4 จัดประชุมวางแผนดำเนินงาน และรวบรวมสรุปผลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาทางไกล

                     1.2.5 พัฒนาครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางกาศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) และระบบการจัดการศึกษาทางไกลในระบบออนไลน์และออฟไลน์

                     1.2.6 กำกับติดตาม ดูแล ช่วยเหลือ สนับสนุน และแก้ปัญหาร่วมกับโรงเรียน ตามความเหมาะสมในแต่ละบริิบทของโรงเรียน

                     1.2.7 สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผลให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามกำหนดเวลา

2. ดำเนินการจัดทำแผนการขับเคลื่อนการจัดการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์

การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

3. ดำเนินการจัดทำคู่มือการจัดการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาด

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของโรงเรียนในสังกัด                

4. ออกนิเทศ ติดตาม โรงเรียนในสังกัดเพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามคู่มือการจัดการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ปัญหาอุปสรรค

                   1. ครูบางยังไม่มีความชำนาญในการดำเนินการจัดการเรียนการสอน

                   2. ขาดแคลนอุปกรณ์ เครื่องมือในการดำเนินการทั้งครูและนักเรียน

                   3. ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีความสเถียร

  กศน.

    จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอำนาจเจริญ ได้ส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาในสังกัด ทั้ง ๗ ดำเนินการปรับรูปแบบการจัดการศึกษาแบบออนไลน์ ในส่วนของการเตรียมการจัดการเรียนรู้ สถานศึกษาในสังกัดทุกแห่ง มีการดำเนินงาน ดังนี้

1. ประชุมชี้แจงเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในนโยบายและแนวทางการจัดการศึกษาในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่บุคลากรในสังกัดเพื่อให้สามารถจัดการศึกษาให้กับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.   กำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัด ดังนี้

        2.1 การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          2.1.1 ปฏิทินการรับนักเรียน  การรับสมัครผู้เรียนใหม่และลงทะเบียนเรียนผู้เรียนเก่า ดำเนินการโดยผ่านระบบออนไลน์ หรือสมัครด้วยตนเองที่สถานศึกษา

            2.1.2 การจัดการเรียนการสอนระบบทางไกลและอุปกรณ์ทางการสื่อสาร

                   - การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีเรียน กศน. แบบออนไลน์ โดยผ่านหลากหลายช่องทาง อาทิเช่น แอปพลิเคชัน (ONIE Online) , ETV และทีวีระบบดิติทัล ช่อง 52 , โปรแกรมการสื่อสารอื่นๆ เช่น Line , Facebook , Google Classroom , E-book เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษาศึกษาเนื้อหาผ่านหนังสือแบบเรียนออนไลน์ และทำแบบทดสอบออนไลน์เพื่อวัดความรู้หลังเรียน จัดทำสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ พัฒนาสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ให้มีความหลากหลายครอบคลุม ตรงตามความต้องการและตรงตามหลักสูตรการจัดการศึกษาพื้นฐาน โดยวิธีการส่งสื่อการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนทางอินเทอร์เน็ต ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองพร้อมการโต้ตอบหรือการพบกลุ่มแบบออนไลน์  สำหรับนักศึกษาที่ไม่มีอุปกรณ์สื่อสารด้านอินเตอร์เน็ต ศูนย์ฯได้ดำเนินการจัดเตรียมหนังสือ ใบงาน ใบความรู้ และดำเนินการส่งมอบให้กับนักศึกษาเพื่อศึกษาด้วยตนเอง

            2.1.3 ดำเนินการวัดและประเมินผล โดยจัดสอบด้วยข้อสอบกลางสำหรับนักศึกษา กศน. ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย

                         2.1.4 การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ได้ดำเนินการ 2 รูปแบบ ดังนี้

                                 - รูปแบบออนไลน์ (สำหรับผู้เรียนที่มีความพร้อมของเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนรู้)

                                 - รูปแบบออฟไลน์ (สำหรับผู้เรียนที่ไม่มีเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนรู้แบบออนไลน์)

                2.2 การจัดการศึกษาต่อเนื่อง : รูปแบบกลุ่มสนใจ ชั้นเรียน และอบรมประชาชนได้ดำเนินการ ดังนี้

                          2.2.1 พื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ (COVID-19) ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2 รูปแบบ

                            - รูปแบบออนไลน์ : เรียนผ่านแอปพลิเคชันที่สถานศึกษากำหนด เช่น Line , Facebook , Google Classroom , E-book, วีดีโอคอล โดยครู กศน.จัดทำหลักสูตร เนื้อหา การจัดกิจกรรมและประเมินผลร่วมกับวิทยากร รวมทั้งครูและวิทยากรจัดตั้งกลุ่ม แจกวัสดุฝึกให้ผู้เรียนและทำการสอนโดยใช้สื่อ Socail Medai อัพโหลดคลิปการเรียนการสอน วิธีทำแต่ละขั้นตอน หรือสาธิตผ่านวีดีโอคอล Line Facebook โดยสามารถโต้ตอบกับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติตามและสร้างชิ้นงานผ่านระบบเพื่อเป็นหลักฐานการประเมิน

                                 - รูปแบบออฟไลน์ : ครูแจกใบงาน ตารางเรียน และวัสดุฝึก ให้กับผู้เรียนนำกลับไปฝึกและเรียนรู้ด้วยตนเองและให้ผู้เรียนส่งผลงานและสอบภาคปฏิบัติเพื่อประเมินผล

 

                          2.2.1 พื้นที่ที่ปลอดภัย เรียนที่สถานศึกษา/ชุมชน ให้ปฏิบัติภายใต้เงื่อนไข ดังนี้

                                 - ดำเนินการตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉิน

                                 - สถานศึกษาและชุมชนมีมาตรการตรวจคน คัดกรอง วัดไข้ สวมหน้ากากอนามัย การรักษาระยะห่าง และอื่นๆ ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้           

 ปัญหาอุปสรรค

1. ข้อจำกัดของผู้เรียนด้านอุปกรณ์เรียนรู้ผ่านอินเตอร์เน็ต   

      2. สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)   

สอศ.

    วิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญมีมาตรการป้องกัน COVID 19 ได้ตรวจวัดอุณภูมิร่างกาย เจลล้างมือ พร้อมให้นักเรียนนักศึกษาสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งไม่มีผู้ติดเชื้อและมีการรายงานผลจำนวนนักเรียน 2,918 คน จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา 143 คน

ปัญหาอุปสรรค

      สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ ถึงแม้ในปัจจุบัน สถานการณ์ดีขึ้นตามลำดับ แต่ยังต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรม มีรูปแบบมาตรการป้องกันโรคอย่าง เคร่งครัด การดำเนินกิจกรรม เช่น กิจกรรมและจึงขาดความต่อเนื่องและบางกิจกรรมไม่ สามารถดำเนินการได้อีกทั้งส่งผลให้นักเรียนบางกลุ่ม ขาดโอกาสในการร่วมกิจกรรม

สศศ.

   โรงเรียนราชประชานุเคราะห์  54  จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาสงเคราะห์สำหรับเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา  10 ประเภท ทั้งแบบอยู่ประจำและไป – กลับ ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนจัดทำมาตรการและแนวปฏิบัติการเตรียมความพร้อมและการจัดการศึกษา เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  ตามมาตรการ“Sandbox Safety Zone in School” ดังต่อไปนี้

1.   การเตรียมการก่อนการรับนักเรียนประจำเข้าเรียน ( 1 15 สิงหาคม  2564)

1) มีการตรวจสอบทบทวนการประเมินตนเองของโรงเรียนในระบบ Thai Stop COVID+ อยู่เสมอ

2)คณะผู้บริหาร ครู และบุคลากรได้ประชุมเพื่อวางแผนเตรียมการเปิดเรียนร่วมกับศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ  ศูนย์แพทย์โนนหนามแท่ง อสม.ประจำหมู่บ้าน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

3)คณะครู บุคลากร และอสม.และเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนหนามแท่งได้ทำความสะอาดโรงเรียนด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ/กำจัดลูกน้ำยุงลายบริเวณหอนอนและอาคารเรียน

4) โรงเรียนจัดเตรียมหน้ากากอนามัยสำหรับนักเรียนทุกคน

5) แจ้งผู้ปกครองนักเรียน/นักเรียน  ประเมินความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19  เบื้องต้นก่อนมาโรงเรียน

          6) ให้ผู้ปกครองนักเรียนคัดกรองโรคของนักเรียนก่อนมาโรงเรียน โดยให้เจ้าพนักงานควบคุมโรค เช่น เจ้าหน้าที่ อสม.ประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชนหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ลงชื่อรับรองมาด้วย

7)มีการติดตามข้อมูลความเคลื่อนไหวและรายงานสถานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญอย่างใกล้ชิด

2.   กำหนดการรับนักเรียน โดยกำหนดการรับรายงานตัวนักเรียนเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1)     นักเรียนไปกลับ จำนวน 349 คน ยังไม่ต้องเข้าเรียน On Site

2)        นักเรียนประจำที่ไม่ได้กลับบ้าน จำนวน 86 คน

3)        นักเรียนประจำที่กลับบ้าน จำนวน 321 คน ให้รายงานตัวกลับเข้าโรงเรียน 16 ส.ค. 2564

      3.1) ภาคเช้า รับรายงานตัวนักเรียนหญิง

      3.2) ภาคบ่าย รับรายงานตัวนักเรียนชาย

3.   แนวปฏิบัติการรับรายงานตัวของนักเรียน

    1)  นักเรียนรายงานตัวกับครูอนามัยที่หน้าโรงเรียนพร้อมเอกสารคัดกรองฯ  ไม่อนุญาตให้ผู้ปกครองเข้ามาส่งนักเรียนในโรงเรียน

    2) นักเรียนมารับการตรวจคัดกรองหาเชื้อโควิดโดยใช้ Antigen test kit ที่โดมอเนกประสงค์ ตามขั้นตอนดังนี้

จุดที่ 1 สัมภาษณ์และคัดกรองเบื้องต้น

จุดที่ 2 ลงทะเบียนรับการตรวจคัดกรอง

จุดที่ 3 รับอุปกรณ์การตรวจคัดกรอง

จุดที่ 4 เข้ารับการตรวจคัดกรอง

จุดที่ 5 รอฟังผลตรวจ  หากไม่พบเชื้อก็ให้เข้ากักตัวในหอพัก

4.   การจัดนักเรียนเข้าในหอพัก

    1)  นักเรียนประจำที่ไม่ได้กลับบ้าน จำนวน 86 คน จัดเข้าพักในหอพักจำนวน 2 หอพัก

  2)นักเรียนประจำที่รายงานตัวกลับเข้าโรงเรียนใหม่จัดเข้ากักตัวในหอพัก 10 หอ หอละประมาณ30-33 คน 

5.   การบริหารจัดการในหอพัก

1) ทำความสะอาด หอพัก ห้องน้ำให้สะอาดเรียบร้อยด้วย พร้อมกำจัดลูกน้ำยุงลาย

2) จัดให้มีครู 1 คน ดูแลนักเรียนในหอพักและมีครูผู้ช่วย 2 คน ช่วยอำนวยความสะดวกและประสานงานต่างๆ

3)   ครูและนักเรียนต้องปฏิบัติตามมาตรการ DMHTTA อย่างเคร่งครัด

4) ครูหมั่นดูแลเอาใจใส่เรื่องสุขภาพของนักเรียนอย่างเข้มงวดวัดอุณหภูมินักเรียนทุกคนวันละ2 ครั้ง(เช้า-เย็น) พร้อมจดบันทึกอุณหภูมิของนักเรียนแต่ละคน

5)   จัดเตียงนอน  เว้นระยะห่างให้เหมาะสม 

6)   แบ่งกลุ่มนักเรียน จัดตารางเวลาอาบน้ำ การทำภารกิจส่วนตัว ไม่ให้แออัด

7)   มีการจัดส่งอาหาร ที่หอพักวันละ 3 มื้อ

8)   ไม่ใช้ภาชนะ และของใช้ร่วมกัน เช่น ถาดหลุม ช้อน ส้อม กระบอกน้ำ และของใช้อื่นๆ

             9)      ทำจุดอ่างล้างมือ ล้างภาชนะ ในบริเวณหอพักแยกกัน

10) ครูกำกับการทำความสะอาดภาชนะเตียงนอน ที่นอน ปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน ของใช้ส่วนตัว อย่างสม่ำเสมอ

6.   การบริหารจัดการครูและบุคลากร

    1)      ข้อมูลบุคลากร (ข้อมูล ณ วันที่ 16 ส.ค. 64)

·       ผู้บริหาร จำนวน 5 คน

·       ครูสายผู้สอน จำนวน 59 คน

·       บุคลากรสนับสนุน จำนวน 21 คน

·       ได้รับวัคซีน 1 โดส จำนวน  43  คน

·       ได้รับวัคซีน 2 โดส จำนวน  13  คน

·       ได้รับการตรวจคัดกรองเชื้อโควิด ทุกคน

    2)      บุคลากรทุกคน ต้องปฏิบัติตามมาตรการ DMHTTA อย่างเคร่งครัด

    3)     ครู/บุคลากรทุกคนประเมินตนเองผ่าน แอพ TST และรายงานผลประเมินและแจ้ง Timeline ผ่านกูเกิลฟอร์มทุกวัน

    4)      จัดบุคลากรออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

·       กลุ่มบุคลากรไปกลับ ให้ทำ Family mapping และปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด

·    กลุ่มบุคลากรอยู่ประจำ (จำนวน 30 คน) ทำหน้าที่ดูแลนักเรียน โดยต้องอยู่ในพื้นที่โรงเรียนตลอดระยะเวลา 14 วัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้อื่น

7.   การจัดการเรียนการสอน

    1)      ระยะที่ 1 ระหว่างวันที่17 - 27 ส.ค. 64 (ช่วงกักตัว 14 วัน)

·        นักเรียนไปกลับ เรียน On Hand

·        นักเรียนประจำ(กลุ่มเดิม) เรียน On Site

·        นักเรียนกลุ่มกักตัว เรียน Online + On Hand

    2)      ระยะที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 30 ส.ค. 64

·       จัดการเรียนแบบ On Site สลับกับ On Hand ให้แก่นักเรียนประจำและนักเรียนไปกลับ สลับกันคนละสัปดาห์

    3)      การจัดโต๊ะเก้าอี้ในห้องเรียน  เว้นระยะห่าง  ให้เหมาะสม 

  4) งดกิจกรรมที่ไม่จำเป็น หรือจัดกิจกรรมในพื้นที่โล่ง ไม่จัดกิจกรรมในห้องปรับอากาศ และกำหนดให้นักเรียนเว้นระยะห่างในการทำกิจกรรมต่างๆ

8.   การดูแลสุขภาพและสุขอนามัยของนักเรียน

    1)      จัดชุดยาสามัญประจำบ้านและชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น ให้แก่หอพักทุกหลัง

    2)      มีเรือนพยาบาลสำหรับแยกกักตัวนักเรียนที่มีอาการป่วยโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ

   3)   มีเจ้าหน้าที่งานอนามัยและเจ้าหน้าที่เรือนพยาบาล จำนวน 3 คน เตรียมพร้อมดูแลสุขภาพและการเจ็บป่วยของนักเรียน

    4)      มีการประสานระหว่างหน่วยงานสาธารณสุข เช่น ศูนย์แพทย์โนนหนามแท่ง โรงพยาบาล-อำนาจเจริญ ในการนำนักเรียนที่เจ็บป่วยเข้ารับการรักษาพยาบาล

    5)      บุคลากรทุกคน ต้องปฏิบัติตามมาตรการ DMHTTA อย่างเคร่งครัด

    6) มีการรายงานข้อมูล สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทางระบบ MOE COVID ทุกวันอย่างสม่ำเสมอ

9.   แนวปฏิบัติการเข้าออกสถานศึกษา

   1)  กลุ่มบุคลากรอยู่ประจำ (จำนวน 30 คน) ทำหน้าที่ดูแลนักเรียน ต้องอยู่ในพื้นที่โรงเรียนตลอดระยะเวลา 14 วัน  ไม่ให้ออกนอกบริเวรโรงเรียน (ยกเว้นมีเหตุจำเป็นและต้องได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการก่อน)

    2)  กำหนดมาตรการให้คณะครู บุลากรไป –กลับ ให้มีการรับผิดชอบดูแลตัวเองไม่ไปสถานที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และมีการกำกับติดตามโดยต้องรายงาน Timeline ทุกวัน

    3)  มีการจัดป้ายประชาสัมพันธ์แนวปฏิบัติ/มาตรการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

    4)  มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายที่บริเวณป้อมยามโรงเรียนโดยยามรักษาการณ์ 

    5)  มีจุดบริการล้างมือ ด้วยสบู่/แอลกอฮอล์

    6)  กำหนดแนวปฏิบัติสำหรับบุคคลภายนอกที่มีความจำเป็นต้องเข้ามาในสถานศึกษาเป็นประจำ เช่น

·       การส่งของ/สินค้าทั่วไปให้รับส่งที่ป้อมยาม 

·       การส่งวัตถุดิบประกอบอาหาร รับส่งที่โรงครัว 

·       ผู้รับเหมาและคนงานก่อสร้าง ให้เดินทางตามเส้นทางและปฏิบัติงานในพื้นที่ที่กำหนด

·       ผู้ที่มาติดต่อราชการ ให้ปฏิบัติตามมาตรการ DMHTTA อย่างเคร่งครัด

·   ขอความร่วมมือไม่ให้ผู้ปกครองมาเยี่ยมนักเรียนโดยไม่จำเป็น หรือเยี่ยมแบบเว้นระยะห่างและปฏิบัติตามมาตรการ DMHTTA อย่างเคร่งครัด

10.    การประชาสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสาร ประกาศ และความเคลื่อนไหวต่างๆของโรงเรียน

จัดระบบการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้แก่บุคลากร ผู้ปกครองและนักเรียน ในหลากหลายช่องทาง เช่น สื่อออนไลน์ กลุ่มไลน์โอเพ่นแชต RPK54AMNAT , www.facebook.com/RPK54AMNAT, www.RPK54.ac.th , ไปรษณีย์ , โทรศัพท์ เป็นต้น

11.   ศึกษาและกำหนดแนวทางการปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 

 

มารู้จักไวรัส โควิด-19 กันดีกว่า | Wealthi206070     

 

การป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับเด็กวัยเรียน - อนามัย ...การป้องกันไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับผู้บริหาร/เจ้าของ ...

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

       

           

 

 

 

 

 

  








 


 บันทึข้อมูลโดย: นายประดิษฐ์ กาญจนสิงห์