ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 05 ตุลาคม 2564

หัวข้อการตรวจกรณีพิเศษ : การจัดการเรียนการสอนในสถานะการ Covid-19

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑

           ผลการดำเนินงานโดยสรุป

           การจัดการเรียนการสอน ของโรงเรียนในสังกัด ๑๘๗ โรง ในช่วงระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา๒๐๑๙ (COVID– ๑๙) รอบที่ ๒ มีโรงเรียนขอปิดโรงเรียนด้วยเหตุพิเศษ จำนวน ๙ โรงเรียน ในช่วงเดือนมกราคม ๒๕๖๔ โดยขอปิดต่อเนื่องจำนวน ๗ วันซึ่งอยู่ในอำนาจของผู้อำนวยการโรงเรียน สามารถอนุญาตให้ปิดโรงเรียนได้ โรงเรียนได้แจ้งและรายงานให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑ ทราบ ซึ่งทางโรงเรียนก็ได้มีการสอนนักเรียนทางออนไลน์  ในระบบ Zoom ทางไลน์กลุ่ม ไลน์ส่วนตัว Facebookและระบบการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยี การศึกษาทางไกล ในระบบ DLTV ในระหว่างที่นักเรียนหยุดเรียนอยู่ที่บ้าน และบางโรงเมื่อเปิดเรียนตามปกติแล้วก็มีการสอนชดเชยให้นักเรียนหลังเลิกเรียน

           มาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙)

               ๑. แจ้งและสั่งการให้โรงเรียนในสังกัดดำเนินการตามมาตรการด้านสาธารณสุขในการป้องกันฯทางหนังสือราชการ  ทางLine เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา๒๐๑๙(COVID – ๑๙)            

               ๒. ให้โรงเรียนมีการเว้นระยะห่างทางสังคม มีสัญลักษณ์แสดงให้เห็นชัดเจน เช่น ห้องเรียน  โรงอาหาร การเข้าแถวหน้าเสาธง การเดินขึ้นบันไดเข้าห้องเรียน  การเดินภายในบริเวณต่างๆ ในโรงเรียน  อย่างน้อย ๑ – ๒ เมตร โดยยึดหลัก Social distancing

               ๓. โรงเรียนมีจุดเช็คอุณหภูมิร่างกายนักเรียนทุกคน บริเวณประตูหน้าโรงเรียน ให้มีการเปิดประตูเข้าทางเดียว เพื่อสะดวกในการตรวจคัดกรองเด็กนักเรียน

               ๔. โรงเรียนมีการจัดตั้งอ่างล่างมือ เพิ่มขึ้นในแต่ละจุดบริการของโรงเรียน เพื่อสะดวกในการล้างมือของเด็กนักเรียน

               ๕. หน้าห้องเรียนแต่ละห้องให้มีจุดบริการเจลล้างมือ แอลกอฮอล์ ให้เพียงพอ  และให้นักเรียน คุณครูทุกคนสวมหน้ากากอนามัย หรือ หน้ากากผ้า ทั้งในบริเวณโรงเรียนและในห้องเรียน

               ๖. โรงเรียนมีการให้ความรู้ความเข้าใจในการป้องกัน และห่างไกล การติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙

(COVID - ๑๙) ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย จัดบอร์ดประชาสัมพันธ์  แจกใบให้ความรู้ จัดหาสื่อความรู้ในการป้องกันควบคุมโรคฯ สำหรับใช้ในการเรียนการสอน การเรียนรู้นอกห้องเรียน หรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ในรูปแบบของสื่อออนไลน์ : VTR Animation Infographic และสื่อสิ่งพิมพ์ โปสเตอร์ แผ่นพับ ภาพพลิก คู่มือ แนวปฏิบัติ

               ๗. ให้โรงเรียนเพิ่มมาตรการในการทำความสะอาด รอบๆ บริเวณโรงเรียน ห้องเรียน ราวบันได สนามเด็กเล่น ห้องคอมพิวเตอร์ กลอนประตู ลูกบิดประตู อุปกรณ์กีฬา เครื่องดนตรี บริเวณที่ใช้ร่วมกัน และลดการแออัด  ลดเวลาการทำกิจกรรมร่วมกัน

               ๘. ให้ครูเฝ้าระวังสังเกตอาการของนักเรียน หากมีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส ให้นักเรียนรีบแจ้งครูทันที

               ๙. ให้นักเรียนมีการใช้ของส่วนตัว ไม่ใช้ของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ แปรงสีฟัน ผ้าเช็ดมือ

               ๑๐. มีมาตรการสำหรับกรณีมีรถรับ – ส่งนักเรียน

               ๑๑. ให้โรงเรียนแต่งตั้งคณะทำงานรับผิดชอบเกี่ยวกับโรคไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID - ๑๙) ประสานหน่วยงานสาธารณสุข เพื่อให้มาให้คำแนะนำในการป้องกัน ให้กับครู นักเรียน และบุคลากรในโรงเรียน

 

           ปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

 

ปัญหาอุปสรรค

ข้อเสนอแนะ

- จังหวัดยโสธร ไม่ได้อยู่ในพื้นที่สีแดง ไม่มีความเสี่ยงสูง แต่ทุกคนก็มีการเฝ้าระวังป้องกันอย่างเข้มงวด สวมหน้ากาก ล้างมือด้วยสบู่ เจลล้างมือ หรือ แอลกอฮอล์ บ่อยๆ

- งดการไปเดินเล่น หรือ ช้อปปิ้งในศูนย์การค้าเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID – ๑๙)

-

 

 

นวัตกรรม/ต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice)

               โรงเรียนมีการประยุกต์ทำอ่างล้างมือ ด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ในสถานศึกษา เพื่อนำมาใช้ในบริเวณโรงเรียนให้นักเรียนได้เกิดความสะดวกในการล้างมือ    มากยิ่งขึ้น และเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของโรงเรียนด้วย   

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๒

           ผลการดำเนินงานโดยสรุป

             มาตรการเตรียมความพร้อมในทุกระดับ เพื่อรับมือกับภัยจากโรคระบาด

           การจัดทำแผนเตรียมความพร้อม หรือ แผนเผชิญเหตุ ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัด

               ๑. หน่วยงานและโรงเรียนในสังกัด ตั้งศูนย์เพื่อคัดกรองคนกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยการติดเชื้อไวรัส

               ๒. หากพบครู บุคลากร หรือนักเรียน เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ให้นำส่งหรือแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที

               ๓. ให้บุคลากร ครู นักเรียน สวมหน้ากากอนามัย

               ๔. สอบปลายภาคนักเรียนเสร็จให้ปิดภาคเรียนทันที ห้ามจัดกิจกรรมอื่นๆ

               ๕. หากครู บุคลากร นักเรียน มีภาวะเสี่ยงให้ไปพบแพทย์ และกักตัวในที่พัก ๑๔ วัน  ไม่ถือเป็นวันลา ให้ปฏิบัติงานในที่พัก หากเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลให้ลาตามระเบียบว่าด้วยการลา

         แนวทางการบูรณาการกับหน่วยงานอื่นๆ ในระดับจังหวัด ให้มีทรัพยากรและระบบการจัดการ

ที่มีความพร้อมสูง

1.   มีการประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ตลอดจน

การบูรณาการแผนการบริหารจัดการในภาพรวมของจังหวัด

2.   งด/เลื่อน การประชุมอบรม สัมมนา ต่างๆ ออกไปก่อนจนกว่าสถานการณ์การแพร่

ระบาดลดลงเป็นปกติ

3.   หากหน่วยงานมีบุคลากรติดเชื้อให้ปิดสถานที่ทำงาน

4.   ประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบพ่นยาฆ่าเชื้อทันที

           กรณีเกิดการระบาด หรือ พบผู้ติดเชื้อในหน่วยงาน หรือ สถานศึกษา

                    ๑. ได้ทำหนังสือแจ้งทุกโรงเรียนในสังกัด ถ้ามีผู้ติดเชื้อหรือใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ให้ปิดโรงเรียนทันทีไม่น้อยกว่า ๑๔ วัน และทำความสะอาดพ่นยาฆ่าเชื้อ บริเวณสถานที่ และให้บุคลากรปฏิบัติตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

                    ๒. ปิดสถานที่ทำงาน ทำการฉีด พ่นยาฆ่าเชื้อทันที

                    ๓. ให้ ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียนไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลและกักตัวในที่พัก ๑๔ วัน ปฏิบัติงานที่บ้านโดยไม่ถือเป็นวันลา หากเข้ารักษาในโรงพยาบาลให้ลาตามระเบียบการลา                 

           ปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาอุปสรรค

ข้อเสนอแนะ

- ขาดแคลนหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ

๑.ขอสนับสนุนหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ

๒.ขอสนับสนุนด้านงบประมาณ

 

 

           นวัตกรรม/ต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice)

               โรงเรียนบ้านคำสร้างช้าง  และโรงเรียนบ้านนาโพธิ์อ่างสร้างหิน

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต ๒๘

           ผลการดำเนินงานโดยสรุป

            ๑. การดำเนินการตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขใน ๖ มาตรการ

           ด้านปริมาณ

               ๑.)โรงเรียนที่ดำเนินการตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข

                  ดำเนินการครบทั้ง ๖ มาตรการ จำนวน ๒๗ โรงเรียน ร้อยละ ๑๐๐

           ด้านคุณภาพ

               นวัตกรรมที่เกิดขึ้นในการดำเนินการตามมาตรการของกระทรวง ได้แก่ “ห้องเรียนปลอดภัย

สพม.ศรีสะเกษ ยโสธร ร่วมใจต้านภัยโควิด ๑๐๐%”  “หนูทำได้ ครูศิษย์คิดต้านภัยทำหน้ากากอนามัยใช้เอง”

           ๒. รูปแบบการจัดการศึกษาในสถานการณ์ COVID-๑๙ 

            ด้านปริมาณ

               รูปแบบการจัดการศึกษาในสถานการณ์ COVID-๑๙  ลักษณะการจัดการเรียนการสอนของ

โรงเรียนเมื่อปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา๒๕๖๓ ก่อนเปิด Onsite (๑๓ ส.ค.๖๓)

                   ๑.๑  จัดการเรียนการสอนให้นักเรียนทุกคนแบบปกติที่โรงเรียนอย่างเดียวภายใต้เงื่อนไข

ของ ศบค.จังหวัด โดยเป็นโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนต่อห้องเรียนไม่เกิน ๒๕ คนต่อห้องเรียนไม่เกิน ๒๕ คน

ต่อห้องเรียน จำนวน ๒๗ โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ 

                   ๑.๒  แนวการจัดการเรียนการสอนทางไกลในกลุ่ม ๓ (นักเรียนเกิน ๒๕ คน ต่อห้องเรียน)

จำนวน ๒๗ โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ โดยมีรูปแบบในการจัดการเรียนการสอน แบบผสมผสาน ๓ รูปแบบ

(ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน)

           ด้านคุณภาพ

               นวัตกรรมที่เกิดขึ้น ของ สพม.ศรีสะเกษ ยโสธร ได้แก่

                   ๑) การสอนแบบถ่ายทอดสด

                   ๒) การใช้ Google Classroom

                   ๓) การสอนแบบใช้ Virtual school

                   ๔) Learning management system:LMS

                   ๕) การผสาน DLTV กับการเรียนการสอน

                   ๖) การจัดทำใบงานแบบฝึกส่งถึงมือผู้เรียน

 

 

 

           ๓. ความมั่นใจในความปลอดภัยด้านการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-๑๙ ในโรงเรียน

               ด้านปริมาณ

          โรงเรียนมีความมั่นใจ จำนวน ๒๗ โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

      ด้านคุณภาพ

         ทุกโรงเรียนในสังกัดมีมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-๑๙ เป็นอย่างดี และมีมาตรการป้องกันครบถ้วน

๔. นวัตกรรมทางการศึกษาที่เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์ COVID-๑๙  

      ด้านปริมาณ

                   โรงเรียนจำนวน ๒๗ โรงเรียนคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ มีนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนและ

มีการนำเสนอนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนของครูและผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน ๒๗ โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

               ด้านคุณภาพ

                   การนำเสนอนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนที่เป็นแบบอย่างและมีการมอบโล่และเกียรติบัตรเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติในการนำเสนอผลงาน

            ปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาอุปสรรค

ข้อเสนอแนะ

การใช้อุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอน

ออนไลน์ของนักเรียน

การรวมกลุ่มของนักเรียน ในการเรียนออนไลน์

 

           **จังหวัดยโสธร อยู่ในพื้นที่สีเขียวที่ยังไม่มีการติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙

           นวัตกรรม/ต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice)

               การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ โดยใช้ สื่อแอปพลิเคชั่น และการใช้ G suite for Education

ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน

 

สถานศึกษาเอกชนในจังหวัดยโสธร

           ผลการดำเนินงานโดยสรุป   

               รูปแบบที่ ๑ คือ การเรียนการสอนนักเรียนระดับอนุบาล ๑ ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ๕๐ นาที ผ่านช่องโทรทัศน์และเว็บไซต์ และ ๑๐ นาที สื่อสารผู้ปกครองและนักเรียนด้วยระบบโทรศัพท์ (Line) และอื่น ๆ โดยนักเรียนต้องดูตารางสอนออกอากาศล่วงหน้า ๑ วัน ศึกษาแฟ้มงานเอกสารประกอบการเรียน เข้าเรียนผ่านโทรทัศน์ และสรุปองค์ความรู้จากบทเรียน เข้าระบบเช็กชื่อออนไลน์ที่ครูออกแบบไว้ นักเรียนสอบถามข้อสงสัยสื่อสารกับครูผ่านไลน์กลุ่ม ส่วนผู้ปกครอง เตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์และสถานที่เรียนที่บ้าน ศึกษาความเข้าใจตารางสอนและแผนการเรียน ติดต่อสื่อสารกับครูผ่านโทรศัพท์และกลุ่มไลน์ สำหรับครูผู้สอน จัดเตรียมเอกสารแบบฝึกหัดให้นักเรียนและผู้ปกครอง มอบใบงานให้นักเรียนและผู้ปกครอง สื่อสารกับนักเรียนและผู้ปกครองผ่านไลน์

               รูปแบบที่ ๒ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๔๖ ระบบการศึกษาทางไกลผ่านออนไลน์ Online Real–Time Learning Obec TV จำนวน ๑๓ ช่อง ใช้เวลาเรียน ๓๐ นาที ผ่านระบบ VTR (สื่อมีภาพและเสียง) จากครูต้นแบบ และ ๒๐ นาที ผ่านครูประจำวิชาด้วย Video Conference (ระบบการติดต่อสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถรับส่งข้อมูลภาพ) โดยนักเรียนเข้ากลุ่มไลน์ ศึกษาแฟ้มงานประกอบการเรียน เข้าเรียนผ่านระบบออนไลน์ที่ครูออกแบบไว้ และร่วมแลกเปลี่ยนกับครูผู้สอน เช็กชื่อเข้าเรียนผ่านระบบออนไลน์ ผู้ปกครอง จะต้องศึกษาตารางเรียนล่วงหน้า สนับสนุนการเตรียมเครื่องมือสัญญาณการเรียนออนไลน์ สนับสนุนการให้นักเรียนสืบค้นงาน จัดทำแฟ้มสะสมความรู้ ติดต่อครูผ่านกลุ่มไลน์ และครูผู้สอน สำรวจความพร้อมนักเรียนรายบุคคล การศึกษาการใช้โปรแกรมออนไลน์ เตรียมและออกแบบกิจกรรมใบงานที่เหมาะสม จัดการเรียนตามวีทีอาร์ดำเนินการสอนและมอบใบงานหรืออื่น ๆ ผ่านระบบวีดิโอ ประสานผู้ปกครองนักเรียน

           ปัญหาและอุปสรรค

               การจัดการเรียนการสอนดังกล่าวข้างต้น พบว่า มีข้อจำกัดต่อเด็กนักเรียน/นักศึกษาในทุกระดับ ที่ครอบครัวมีฐานะยากจนไม่มีรายได้เพียงพอที่จะสนับสนุนอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนของบุตรหลานเพิ่มเติมได้ หรืออยู่ในบางพื้นที่ชนบทห่างไกลความเจริญที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึงหมู่บ้าน ทำให้เสียโอกาสในการเรียนรู้และส่งผลให้มีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเพิ่มมากขึ้น

           ข้อเสนอแนะ

               เพื่อป้องกันมิให้เด็กนักเรียน/นักศึกษาในทุกระดับที่ไม่มีความพร้อมเสียโอกาสทางการศึกษา ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการสำรวจความพร้อมในการเข้าถึงการเรียนของเด็กนักเรียน/นักศึกษา และจัดหาอุปกรณ์และวิธีการใช้อุปกรณ์สื่อสารการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละครัวเรือนอย่างเพียงพอและทั่วถึง และสามารถนำประเด็นปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นนำมาถอดเป็นบทเรียนในการเรียนรู้เพื่อวางแผนในการแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

 

สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดยโสธร

           ผลการดำเนินงานโดยสรุป

               เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. ทุกระดับการศึกษา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และสามารถควบคุมและป้องกันแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) สำนักงาน กศน.จังหวัดยโสธรและสถานศึกษาในสังกัดดำเนินการตามแนวทางการจัดการเรียนการสอน ดังต่อไปนี้

๑. จัดทำปฏิทิน/แผนการดำเนินการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยให้มีการเรียนการสอนชดเชยให้ครบหลักสูตร

๒. ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) กศน. เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยให้สถานศึกษาพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ เช่น

การเรียนออนไลน์ มีการตรวจสอบรายชื่อนักศึกษาที่เข้าเรียน การทำใบงาน การมอบหมายงาน การส่งงาน และ

การวัดประเมินผล

๓. รายงานผลการจัดการเรียนการสอนและการดำเนินการตามมาตรการป้องกันในสถานการณ์

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ของสำนักงาน กศน. กระทรวงศึกษาธิการ

ภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๓ ที่ http:gg.gg/npxbh

ทั้งนี้ สำนักงาน กศน. ได้จัดทำสื่อการศึกษาออนไลน์ รายวิชาบังคับตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรต่อเนื่อง ด้านอาชีพ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่นักศึกษา กศน. โดยสถานศึกษาสามารถสแกน QR Code หรือรับชมผ่านเว็บไซต์ www.youtube.com ช่อง pattana channel

            

 

 

 

                  

          

 

และเพื่อทราบถึงสภาวะความปลอดภัยสูงสุดแก่นักศึกษาและบุคลากรในสถานศึกษา สำนักงาน กศน.จังหวัดยโสธรได้ขอความร่วมมือให้สถานศึกษาในสังกัดตอบแบบประเมินตนเองในการเตรียมความพร้อมเปิดเรียนใหม่ในสถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด –๑๙ในสถานศึกษา Link : stopcovid.anamai.moph.go.th/school ซึ่งการกำกับติดตามในภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๓ มีการรายงานเรียบร้อยแล้วดังนี้

 

ที่

กศน.อำเภอ

การรายงาน

หมายเหตุ

กศน.อำเภอเมืองยโสธร

รายงานเรียบร้อยแล้ว

๔ มกราคม ๒๕๖๔

กศนอำเภอทรายมูล

รายงานเรียบร้อยแล้ว

๔ มกราคม ๒๕๖๔

กศน.อำเภอกุดชุม

รายงานเรียบร้อยแล้ว

๔ มกราคม ๒๕๖๔

กศน.อำเภอคำเขื่อนแก้ว

รายงานเรียบร้อยแล้ว

๔ มกราคม ๒๕๖๔

กศน.อำเภอป่าติ้ว

รายงานเรียบร้อยแล้ว

๔ มกราคม ๒๕๖๔

กศน.อำเภอมหาชนะชัย

รายงานเรียบร้อยแล้ว

๔ มกราคม ๒๕๖๔

กศน.อำเภอค้อวัง

รายงานเรียบร้อยแล้ว

๔ มกราคม ๒๕๖๔

กศน.อำเภอเลิงนกทา

รายงานเรียบร้อยแล้ว

๔ มกราคม ๒๕๖๔

กศน.อำเภอไทยเจริญ

รายงานเรียบร้อยแล้ว

๔ มกราคม ๒๕๖๔

 

วิทยาลัยอาชีวศึกษาในจังหวัดยโสธร

             ผลการดำเนินงานโดยสรุป

                 สถานศึกษามีการจัดการตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขในการคัดกรองการจัดให้มี
เจลแอลกอฮอล์ทุกจุด การจัดให้มีอ่างล้างมือทุกอาคารเรียน การรณรงค์เว้นระยะห่าง งดการจัดกิจกรรมรวมคนจำนวนมาก และการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในหลายสาขาวิชา พร้อมยังมีการจัดการเรียนการสอน
ทางออนไลน์บางสาขาวิชา มีการสลับวันให้กับผู้เรียนในวิชาปฏิบัติ มีมาตรการในการป้องกันผู้เรียนตามมาตรการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีระบบการคัดกรองตามนโยบายตั้งแต่ทางเข้าจนถึงก่อนเข้าห้องเรียนทุกสาขาวิชา                          ปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาอุปสรรค

ข้อเสนอแนะ

- การเรียนในภาคปฏิบัติเรียนได้ไม่เต็มที่ เนื่องจาก    มีการสลับกันเข้าเรียนภาคปฏิบัติ

- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการสนับสนุนทั้งทางพื้นที่วัสดุ/ครุภัณฑ์ ในการจัดการเรียนการสอนให้มีความเพียงพอและเป็นไปตามมาตรฐาน

- การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากการสลับการเข้าเรียนภาคปฏิบัติ เพื่อเว้นระยะห่างทางสังคม และการปฏิบัติตามมาตราการ

 

            

           นวัตกรรม/ต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice)

               - โครงการคัดกรองผุ้เรียนเพื่อป้องกันโรคติดต่อ Covid-๑๙                                    

               - การจัดให้มีระบบคัดกรองผู้เรียนทุกแผนกวิชา การจัดให้ครูบคุลากรมีส่วนร่วมในระบบการคัดกรองทุกที่มีการจัดการเรียนการสอนและการให้ความรู้ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา  (COVID ๒๐๑๙) ผ่านระบบเสียงตามสายภายในวิทยาลัยเทคนิคยโสธร                                                       


 บันทึข้อมูลโดย: กวิสรา ชื่นอุรา