ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 05 ตุลาคม 2564

หัวข้อการตรวจกรณีพิเศษ : การจัดการเรียนการสอนในสถานะการ Covid-19

           สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดยโสธร  ได้กำหนดกรอบแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้รูปแบบ COVID Model รายละเอียดดังภาพต่อไปนี้

 

   

    การขับเคลื่อนการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงาน  รายละเอียดดังต่อไปนี้

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๑

1)  ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

สถานศึกษาทุกแห่งในสังกัด  สพป.ยโสธร  เขต 1  สามารถปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ได้ตามสถานการณ์แตกต่างกันออกไปตามบริบทของแต่ละท้องที่  โดยใช้รูปแบบการจัดการศึกษาทางไกล  (On Air, Online, On Hand, On Demand)  และโรงเรียนหรือสถานศึกษาที่มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน         ในรูปแบบ  (On Site)  ให้ขอความเห็นชอบจากผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาให้โรงเรียนหรือสถานศึกษาดังกล่าวจัดการเรียนการสอนตามปกติได้  ซึ่งเป็นไปตามมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันและควบคุม             การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโรคโควิด 19 (โควิด – 19)  ของจังหวัด

ทั้งนี้   จังหวัดจะเชิญผู้เกี่ยวข้องประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ        เชื้อโรคไวรัสโคโรนา  2019 (COVID-19)  รวมถึงผู้แทนจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  และประกาศมาตรการณ์เร่งด่วนในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นภายใน  15  วัน  ทำให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสามารถปรับรูปแบบการจัดการเรียน        การสอนได้ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน  และสามารถป้องกันการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา  2019 (COVID-19)  ที่จะแพร่ระบาดในสถานศึกษาได้เป็นไปในแนวทางที่ดี

แนวทางปฏิบัติเมื่อพบผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด 19 ในสถานศึกษาของ  สพฐ.

ให้ปิดห้องเรียน/ชั้นเรียน/สถานศึกษา  กรณีพบผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด 19

1)  เมื่อพบผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด 19  จำนวน  1  รายขึ้นไป  ให้ปิดห้องเรียนเป็นเวลา  3  วัน  เพื่อทำความสะอาด

2)  เมื่อพบผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด 19  มากกว่า  1  ห้องเรียนให้ปิดชั้นเรียนเป็นเวลา  3  วัน  เพื่อทำความสะอาด

3)  หากมีหลักฐานและความจำเป็นต้องปิดสถานศึกษาให้ขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด

ไม่ต้องปิดห้องเรียน/ชั้นเรียน/สถานศึกษา กรณีที่ไม่พบผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด  19                       ในสถานศึกษา  โดยมีแนวทางดำเนินการ  ดังนี้

1)  ผู้สัมผัสที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง (High risk contact) ในสถานศึกษา  ดังนี้

-  ผู้สัมผัสที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง (High risk contact)  ให้สังเกตอาการที่บ้านเป็นเวลาอย่างน้อย  14  วัน  หากพบอาการผิดปกติให้พบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยระหว่างรอผลให้กักตัวที่บ้าน

-  สถานศึกษาดำเนินกิจกรรมได้ตามปกติและสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจความเสี่ยงและแนวทางการดำเนินการในระยะต่อไป

2)  ผู้สัมผัสที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่ำ (Low risk contact)  ให้สังเกตอาการเป็นเวลา  14  วัน  ไม่จำเป็นต้องหยุดเรียนและไม่จำเป็นต้องปิดสถานศึกษา  (รักษาตามอาการ  หายป่วยแล้วเรียนต่อได้)

3)  ผู้ใกล้ชิด

-  ผู้ใกล้ชิดกับผู้สัมผัสเสี่ยงสูง  จัดว่ามีความเสี่ยวต่ำ  ไม่จำเป็นต้องหยุดเรียนแต่ให้สังเกตอาการเป็นเวลา  14  วัน

-  ผู้ใกล้ชิดกับผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ  จัดว่าไม่มีความเสี่ยง  ไม่จำเป็นต้องหยุดเรียน   แต่ให้สังเกตอาการเป็นเวลา  14  วัน

หมายเหตุ  ทั้งนี้ในทุกกรณี  ขอให้ดำเนินการบนพื้นฐานของข้อมูลการสอบสวนทางระบาดวิทยาและสถานการณ์ในพื้นที่

ประกาศจังหวัดยโสธร  เรื่อง  มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโรคโควิด 19 (โควิด – 19)

ให้ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนหรือสถานศึกษา  ในรูปแบบ (On Site) เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาทางไกล  (On Air, Onlin, On Hand, On Demand)  โรงเรียนหรือสถานศึกษาที่มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ  (On Site) และได้รับความเห็นชอบจากผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นสังกัด  ให้โรงเรียนหรือสถานศึกษาดังกล่าวจัดการเรียนการสอนตามปกติ

ทั้งนี้  ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ  พ.ศ. 2558  ในพื้นที่เฉพาะในเขตท้องที่อำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ประชาสัมพันธ์  ชี้แจง  ควบคุม  กำกับ  ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องถือปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศโดยเคร่งครัด  โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจะดำเนินการสำรวจ  พิจารณาเห็นชอบ  ติดตาม  ตรวจสอบ  ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน ของสถานศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น  On Site,  Online,  On Hand,  On Demand, On Air  โดยยึดประกาศของศูนย์ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา  2019 (COVID-19) ระดับจังหวัดเป็นหลัก

 

          2)  ข้อค้นพบ / ปัญหาอุปสรรค

          3)  วิธีการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

 -

          4)  ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย (ถ้ามีโปรดระบุ)

-

            5)  ปัจจัยความสำเร็จ  (ความโดดเด่น จุดแข็ง นวัตกรรม และเกิดประโยชน์หรือผลกระทบทางบวกแก่ผู้เรียน อย่างไรบ้าง  มีต้นแบบ หรือแบบอย่างที่ดี ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามนโยบาย หรือไม่ อย่างไร)

โครงงานพัฒนาจริยคุณ โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๔

5.1)  ยิ้มง่าย ไหว้สวย   ชั้นอนุบาล ๒-๓

5.2)  การมีวินัยในการถอดรองเท้า  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑

5.๓)  เขียนสวยด้วยมือเรา  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

5.๔)  ห้องสวยด้วยมือเรา  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒

5.๕)  ออมดี  มีเงินเก็บ  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

5.๖)  วินัยดีเริ่มที่โรงอาหาร  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

5.๗)  สร้างความพอเพียงเลี้ยงชีวิตได้  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

5.๘)  ม.ช. ร่วมใจเดินแถวอย่างเป็นระเบียบ  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

5.๙)  อาสาด้วยจิต พิชิตความสกปรก  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

5.10)  ธนาคารออมทรัพย์โรงเรียน

5.11)  ห้องเรียน วิ้ง ว้าว !

5.12)  สะอาดสมวัย ไร้ขยะ

5.13)  ห้องสมุดสุดหรรษา น่ารักจริงหนาเก็บกลับที่เดิม

5.14)  ออมวันละนิด ชีวิตสบาย

5.15)  ถอดเป็นคู่ดูน่าสวมใส่

5.16)  หนูน้อยน่ารัก รู้จักวินัย

5.17)  ป.๔ วัยใส ตั้งใจส่งงาน

5.18)  เครือข่ายการมีส่วนร่วม..โรงเรียนบ้านบัวขาว

5.19)  ยิ้มใส ไหว้งาม

5.20)  มุมอ่านหนังสือของเรา

5.21)  จิตอาสา พัฒนาคุณธรรม

5.22)  ห้องเรียนสะอาด บรรยากาศน่าเรียน อ่านเขียนคล่อง

5.23)  หนองยางทำดี มีวินัย ใส่ใจการออม น้อมนำสู่ความพอเพียง

5.23)  ต้นกล้าน้อย น้อมคุณธรรม นำพอเพียง

5.24)  สามัคคีสร้างความพอเพียง

5.25)  เด็กดีมีคุณธรรม นำสุขสู่ชุมชน

5.26)  เล่นสนุกกับลูกปีดหลากสี

5.27)  อนาคตสดใสได้ด้วยการออม

5.28)  การหารายได้พิเศษและการออม

5.29)  ยิ้ม ไหว้ ทักทายกัน

5.30)  การเลี้ยงปลาดุก

5.31)  ปลูกผักสวนครัวจากวัสดุเหลือใช้

5.32)  การเพาะเห็ดนางฟ้า

5.33)  จิตอาสา ทำดีเพื่อสังคม

5.34)  พิสูจน์คนดี

5.35)  มารยาทงาม ทรามวัย

5.36)  ออมไว้ได้เยอะ

5.37)  กิจกรรมคืนคนดีให้ห้องเรียน

5.38)  เด็กดีเก็บของเข้าที่

5.39)  คัดแยกขยะ

5.40)  เหลาทิ้งให้ลงถัง

5.41)  ห้องเรียนสะอาดด้วยมือเรา

5.42)  เด็กดีติดตาว

5.43)  ยิ้มง่าย ไหว้สวย

5.44)  เด็กดีมีจิตอาสา

5.45)  เด็กรุ่นใหม่ใส่ใจการออม

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๒

            1)  ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

 - ผลการดำเนินงานโดยสรุป

            มาตรการเตรียมความพร้อมในทุกระดับ เพื่อรับมือกับภัยจากโรคระบาด

          - การจัดทำแผนเตรียมความพร้อม หรือ แผนเผชิญเหตุ ของหน่วยงานและสถานศึกษาในสังกัด

                   1. หน่วยงานและโรงเรียนในสังกัด ตั้งศูนย์เพื่อคัดกรองคนกลุ่มเสี่ยงที่สงสัยการติดเชื้อไวรัส

                   2. หากพบครู บุคลากร หรือนักเรียน เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้นำส่งหรือแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที

                   3. ให้บุคลากร ครู นักเรียน สวมหน้ากากอนามัย

                   4. สอบปลายภาคนักเรียนเสร็จให้ปิดภาคเรียนทันที ห้ามจัดกิจกรรมอื่นๆ

                   5. หากครู บุคลากร นักเรียน มีภาวะเสี่ยงให้ไปพบแพทย์ และกักตัวในที่พัก 14 วัน  ไม่ถือเป็นวันลา ให้ปฏิบัติงานในที่พัก หากเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลให้ลาตามระเบียบว่าด้วยการลา

         - แนวทางการบูรณาการกับหน่วยงานอื่นๆ ในระดับจังหวัด ให้มีทรัพยากรและระบบการจัดการที่มีความพร้อมสูง

1.      มีการประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการบูรณา

การแผนการบริหารจัดการในภาพรวมของจังหวัด

2.      งด/เลื่อน การประชุมอบรม สัมมนา ต่างๆ ออกไปก่อนจนกว่าสถานการณ์การแพร่

ระบาดลดลงเป็นปกติ

3.      หากหน่วยงานมีบุคลากรติดเชื้อให้ปิดสถานที่ทำงาน

4.      ประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบพ่นยาฆ่าเชื้อทันที

          - กรณีเกิดการระบาด หรือ พบผู้ติดเชื้อในหน่วยงาน หรือ สถานศึกษา

                    1. ได้ทำหนังสือแจ้งทุกโรงเรียนในสังกัด ถ้ามีผู้ติดเชื้อหรือใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ให้ปิดโรงเรียนทันทีไม่น้อยกว่า 14 วัน และทำความสะอาดพ่นยาฆ่าเชื้อ บริเวณสถานที่ และให้บุคลากรปฏิบัติตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

                    2. ปิดสถานที่ทำงาน ทำการฉีด พ่นยาฆ่าเชื้อทันที

                    3. ให้ ครู บุคลากรทางการศึกษา นักเรียนไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลและกักตัวในที่พัก 14 วัน ปฏิบัติงานที่บ้านโดยไม่ถือเป็นวันลา หากเข้ารักษาในโรงพยาบาลให้ลาตามระเบียบการลา                

 

-  นวัตกรรม/ต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice)

               โรงเรียนบ้านคำสร้างช้าง  และโรงเรียนบ้านนาโพธิ์อ่างสร้างหิน

          2)  ข้อค้นพบ / ปัญหาอุปสรรค

             - ขาดแคลนหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ

          3)  วิธีการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

          4)  ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย (ถ้ามีโปรดระบุ)

1.ขอสนับสนุนหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ

2.ขอสนับสนุนด้านงบประมาณ

 

 

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร

             1) ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

 ข้อมูลพื้นฐาน 

1.  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร

2.  จำนวนโรงเรียนทั้งหมดในสังกัด ข้อมูล ณ วันที่ 25 มิ.ย.64  จำนวนโรงเรียนทั้งหมด  จำนวน........83......โรงเรียน

              r มีจำนวนนักเรียนไม่เกิน 120 คน                      จำนวน  7 โรงเรียน

             r มีจำนวนนักเรียน 121 – 200 คน                    จำนวน 16 โรงเรียน

             r มีจำนวนนักเรียน 201 – 300 คน                    จำนวน 13 โรงเรียน

             r มีจำนวนนักเรียน 301 – 499 คน                    จำนวน 18 โรงเรียน

             r มีจำนวนนักเรียน 500 – 1,499 คน                  จำนวน 17 โรงเรียน

             r มีจำนวนนักเรียน 1,500 – 2,499 คน                จำนวน  6 โรงเรียน

             r มีจำนวนนักเรียนมากกว่า 2,500 คน ขึ้นไป           จำนวน  6 โรงเรียน

 

3.  จำนวนนักเรียนทั้งหมดในสังกัด    .........58,957............ คน ข้อมูล ณ วันที่ 25 มิ.ย.64

 

ü

4.  จำนวนโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอน

      ™ โรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนเพียง 1 รูปแบบ จำนวน 21 โรงเรียน

Ø รูปแบบ On-Site                                      จำนวน 14  โรงเรียน

Ø รูปแบบ Online                                       จำนวน  โรงเรียน

ü

     

      ™ โรงเรียนที่จัดการเรียนการสอน 2 รูปแบบ จำนวน 25 โรงเรียน

Ø รูปแบบ Online + On-Hand                        จำนวน 9 โรงเรียน       

Ø รูปแบบ On-Site + On-Hand                       จำนวน 7 โรงเรียน       

Ø รูปแบบ On-Site + Online                          จำนวน 6 โรงเรียน

Ø รูปแบบ Online + On-Hand                        จำนวน 2 โรงเรียน

Ø รูปแบบ On-Site + On-Demand                   จำนวน 1 โรงเรียน

ü

 


      ™ โรงเรียนที่จัดการเรียนการสอน 3 รูปแบบ จำนวน 14 โรงเรียน

Ø รูปแบบ On-Site + Online + On-Hand           จำนวน 7 โรงเรียน       

Ø รูปแบบ On-Site + Online + On-Hand           จำนวน 3 โรงเรียน

Ø รูปแบบ On-Site + On-Demand+ Online        จำนวน 2 โรงเรียน

Ø รูปแบบ On-Site + On-Demand+ On-Hand     จำนวน 1 โรงเรียน

Ø รูปแบบ On-Site + On-Air + On-Hand           จำนวน 1 โรงเรียน

ü

 


      ™ โรงเรียนที่จัดการเรียนการสอน 4 รูปแบบ จำนวน  17  โรงเรียน

Ø รูปแบบ On-Site + On-Demand+ Online + On-Hand            จำนวน 8 โรงเรียน

Ø รูปแบบ On-Site + On-Air+ Online + On-Hand                    จำนวน 5 โรงเรียน

Ø รูปแบบ On-Air+ On-Demand + Online + On-Hand              จำนวน 4 โรงเรียน

ü

 


       ™ โรงเรียนที่จัดการเรียนการสอน 5 รูปแบบ จำนวน 6 โรงเรียน

             On-Site + On-Air +On-Demand+ Online+ On-Hand         

 

ü

5.  โรงเรียนดำเนินการตามมาตรการเพื่อปฏิบัติด้านสาธารณสุข ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในระยะเปิดเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564  ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 1) ของกระทรวงสาธารณสุข โดยการประเมินตนเองสำหรับสถานศึกษาในการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน ผ่านระบบ Thai Stop Covid Plus (TSC+)  (จำนวน 44 ข้อ 6 มิติ) ข้อมูล ณ วันที่ 25 มิ.ย.64

™ ประเมินตนเองตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขฯ  ผ่านทั้งหมด 44 ข้อ : สีเขียว จำนวน.....83.........โรง

 

             2) ข้อค้นพบ / ปัญหาอุปสรรค และ 3) วิธีการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

 การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ในระยะเปิดเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564         

1. โรงเรียนในสังกัดมีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในระยะเปิดเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 

 

q รูปแบบที่ 1 On-site : การจัดการเรียนการสอนแบบปกติที่โรงเรียน  จำนวน .....58...... โรงเรียน

 

ปัญหาที่พบ

แนวทางการแก้ปัญหา

1.นักเรียนในแต่ระดับชั้นมีจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหา เรื่อง การเว้นระยะห่างในการใช้สถานที่ร่วมกัน เช่น โรงอาหาร ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการต่างๆ เป็นต้น

1. โรงเรียนควรมีการจัดครูเวรดูแลสถานที่ต่าง ๆ

2. งดการจัดการเรียนการสอนแบบ on-site

2. ในเวลาว่างจากการเรียน นักเรียนไม่มีการเว้นระยะห่าง ไม่สวมแมส ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค

1. มีการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายอย่างต่อเนื่อง

2. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์

3. การจัดกลุ่มจิตอาสาช่วยคอยดูแล ตักเตือน

3. นักเรียนในแต่ระดับชั้นมีจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหา เรื่อง การเว้นระยะห่างในการใช้สถานที่ร่วมกัน เช่น โรงอาหาร ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการต่างๆ เป็นต้น

1. งดการจัดการเรียนการสอนแบบ on-site

2. จัดป้ายประชาสัมพันธ์1. มีการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายอย่างต่อเนื่อง

2. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์

3. การจัดกลุ่มจิตอาสาช่วยคอยดูแล ตักเตือน

4. จำนวนหน้ากาก อนามัย เจลแอลกอฮอล์ไม่เพียงพอ

1. ผลิต จัดทำขึ้นเอง จัดตั้งกิจกรรมชุมนุม

2. ขอรับการสนับ สนุนจากโรงพยาบาล ชุมชน

 

q รูปแบบที่ 2 On-air : การจัดการเรียนการสอนผ่านระบบโทรทัศน์  จำนวน .....14......... โรง

 

ปัญหาที่พบ

แนวทางการแก้ปัญหา

นักเรียนที่ไม่มีอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอนทางไกลหรือมีอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอนทางไกลไม่เพียงพอ

โรงเรียนมีการจัดสนับสนุน และการรวมกลุ่ม เพื่อนช่วยเหลือเพื่อนในการจัดการเรียนการสอน

นักเรียนที่ไม่มีผู้ปกครองดูแลในขณะเรียนทางไกลอยู่บ้าน

การประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูล และการให้ครูที่ปรึกษาดูแลช่วยเหลือนักเรียน

 

q รูปแบบที่ 3 On-hand : การจัดการเรียนการสอนด้วยการนำส่งเอกสารที่บ้าน จำนวน ......29...... โรง

 

ปัญหาที่พบ

แนวทางการแก้ปัญหา

1. ค่าเดินทางในการนำส่งเอกสารกับนักเรียน

เนื่องจากนักเรียนมีจำนวนมากและอยู่หลายอำเภอ/ตำบล ทำให้เป็นอุปสรรคในการมารับหรือไปส่งเอกสาร เพราะต้องปฏิบัติการตามหลักการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อโควิด-19

จัดการเรียนการสอนแบบ On Hand กรณีนักเรียนไม่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์ โดยให้ครูผู้สอนจัดทำใบงาน/เอกสาร/ใบความรู้ เพื่อมอบให้นักเรียนไปดำเนินการที่บ้าน และส่งในวันจันทร์ถัดไปกับครูผู้สอน และรายงานผลการจัดกิจกรรมทุกรายสัปดาห์

นักเรียนที่ไม่สามารถมารับเอกสารได้ตามที่กำหนด ทางโรงเรียนให้ครูประจำชั้นนำไปส่งที่บ้านหรือจัดส่งทางไปรษณีย์ เพื่อให้นักเรียน

ทุกคนมีเอกสารประกอบการเรียนรู้ครบทุกคนโรงเรียนมีการดูแล

   2. ค่าใช้จ่ายในการจัดทำเอกสารการเรียนการสอน

ควรได้รับการจัดสรรงบประมาณในการจัดทำเอกสารเพิ่มมากขึ้น

 


 

q รูปแบบที่ 4 On-demand : การจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์  จำนวน ......59....... โรง

 

ปัญหาที่พบ

แนวทางการแก้ปัญหา

1. ครูขาดอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการจัดทำคลิปในการเรียนการสอน ซึ่งมีราคาแพง

1.ทางโรงเรียนอนุญาตให้ครูผู้สอนจัดหาคลิปการสอนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชาที่ตนเองสอนนำมาใช้การสอนแบบ On-Demand ได้

2. ครูบางคนไม่สามารถเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีในการจัดทำเรียนการสอนแบบ On-Demand ในช่วงเวลาสั้นๆ ได้

2. การจัดอบรมการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนให้กับบุคลากร

 

q  รูปแบบที่ 5 Online : การเรียนการเรียนการสอนแบบถ่ายทอดสด   จำนวน ....51........ โรง

 

ปัญหาที่พบ

แนวทางการแก้ปัญหา

1.ความพร้อมของอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนที่บ้าน ทั้งรูปแบบ Online

2.สัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่เสถียร/อินเทอร์เน็ตมีปัญหา/ไม่มีเงินจ่ายค่าอินเทอร์เน็ต

นักเรียนในส่วนที่ไม่พร้อมสำหรับการเรียนออนไลน์ โดยจัดทำเอกสาร On hand และแจกกระเป๋าสำหรับใส่เอกสารเพื่อมอบให้นักเรียน อีกทั้งยังทำการสำรวจความพร้อมในการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อโควิด-๑๙ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์และหาแนวทางในการช่วยเหลือนักเรียนโดยผ่านครูประจำชั้น

2.ความพร้อมของผู้ปกครองที่มีความพร้อมในการดูแลนักเรียนได้ที่บ้าน โดยทางโรงเรียนได้มีนโยบายไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายของนักเรียนและผู้ปกครอง

การสื่อสารกับนักเรียนและผู้ปกครองผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น Facebook   Line,  Google classroom,  Google site, Google meet และ Zoom Meeting   และมีการรายงาน   การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ทุกสัปดาห์เสนอผู้บริหารเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกันต่อไป

 

q รูปแบบที่ 6 Blended : การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบอื่น ๆ (รูปแบบวิธีการจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียนดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปการศึกษา 2564 ที่แตกต่างจาก 5 รูปแบบที่ สพฐ.กำหนด) จำนวน ....62.... โรง

                                    

ที่

โรงเรียน

1

ลิ้นฟ้าพิทยาคม

2

ละทายวิทยา

3

ประสานมิตรวิทยา

4

เขื่อนช้างวิทยาคาร

5

พยุห์วิทยา

6

ไผ่งามพิทยาคม

7

กำแพง

8

จตุรภูมิพิทยาคาร

9

เบญจประชาสรรค์

10

ผักไหมวิทยานุกูล

11

คลีกลิ้งพัฒนาทร

12

ปรางค์กู่

13

โนนกระสังวิทยาคม

14

ศรีตระกูลวิทยา

15

กันทรลักษณ์วิทยาคม

16

กันทรลักษ์วิทยา

17

บึงมะลูวิทยา

18

ภูมิซรอลวิทยา

19

สมเด็จพระญาณสังวร ในพระสังฆราชูปถัมภ์

20

กู่จานวิทยาคม

21

โพนทันเจริญวิทย์

22

สิงห์สามัคคีวิทยา

23

บุ่งค้าวิทยาคม

24

เมืองกลางประชานุกูล

25

คำเตยวิทยา

26

คูซอดประชาสรรค์

27

ไกรภักดีวิทยาคม

28

น้ำคำวิทยา

29

นครศรีลำดวนวิทยา

30

ลมศักดิ์วิทยาคม

31

ละลมวิทยา

32

กระแชงวิทยา

33

มัธยมบักดองวิทยา

34

มหาชนะชัยวิทยาคม

35

เลิงนกทา

36

ทรายมูลวิทยา

37

ศรีฐานกระจายศึกษา

38

ห้องแซงวิทยาคม

39

ศรีแก้วประชาสรรค์

40

ศรีสะเกษวิทยาลัย

41

สตรีสิริเกศ

42

ศรีสะเกษวิทยาลัย 2 ห้วยคล้า

433

น้ำเกลี้ยงวิทยา

44

โนนเพ็กวิทยาคม

45

ส้มป่อยพิทยาคม

46

ทุ่งไชยพิทยา รัชมังคลาภิเษก

47

ขุขันธ์

48

ตูมพิทยานุสรณ์

49

สวายพิทยาคม

50

คำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์

51

ยโสธรพิทยาสรรค์

52

กุดชุมวิทยาคม

53

ป่าติ้ววิทยา

54

ดงมะไฟพิทยาคม

55

นาโปร่งประชาสรรค์

56

พอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก

57

กันทรารมณ์

58

บัวเจริญวิทยา

59

ทุ่งสิมวิทยาคม

60

ห้วยทับทันวิทยาคม

61

หนองคูวิทยา

62

สอนแก้วว่องไววิทยา

 

วิธีการดำเนินการ ครูมีการสร้างห้องเรียน On-line ครบทุกคน ทุกรายวิชาที่เปิดสอน นอกจากนี้ครูได้นำ

คลิป VDO และสื่อต่างๆ ที่ผลิตขึ้นเอง และคัดเลือกจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ มาใช้ในการเรียนการสอน

 

3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาส่งเสริม สนับสนุนให้สถานศึกษาให้มีการดำเนินการด้านความปลอดภัย ในสถานศึกษาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในระยะเปิดเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 

          r  มีแผนรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

               วิธีการดำเนินการ 

               1. แต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์เฉพาะกิจการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร

               2. ดำเนินการวางแผน การป้องกัน และการดำเนินการตามแนวทางด้านความปลอดภัยของกระทรวงสาธารณสุข และการดำเนินการตามแนวปฏิบัติของกระทรวงศึกษาธิการ

               3. การรับวัคซีนของครูและบุคลากรในสังกัด โดยในจังหวัดศรีสะเกษ รับวัคซีนแล้ว จำนวน 490 คน และจังหวัดยโสธร รับวัคซีนแล้ว จำนวน 160 คน รวม 650 คน

               4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ รูปแบบวิธีการจัดการเรียนรู้ เสนอแนวทาง ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาของสถานศึกษาในสังกัด

               5. กำกับ ติดตามการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของสถานศึกษาในสังกัด

               6. รายงานผลการ กำกับ ติดตาม ให้ข้อเสนอแนะ แนวทางการในบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของสถานศึกษาในสังกัดเพื่อดำเนินการในครั้งต่อไป

             4) ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร ในการดำเนินการตามประเด้นนโยบาย (ถ้ามีโปรดระบุ)

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร

                   1. การบริหารจัดการของสถานศึกษาในการเลือกรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในระหว่างเปิดภาคเรียนให้เหมาะสมกับบสถานการณ์ และการตรวจเยี่ยมทั้ง Onsite และ Online เพื่อให้ความช่วยเหลือ

                   2. การส่งเสริมกิจกรรมประเภท Online ที่โรงเรียนดำเนินการส่งเสริม โรงเรียนสามารถเพิ่มเติมได้ที่ช่อง อื่น ๆ การพัฒนาครูด้านทักษะดิจิทัลและเทคนิคการสอน Online และ การใช้คลังสื่อดิจิทัลระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Content Center) ผ่านเว็บไซต์ครูพร้อม.com ตลอดจนกิจกรรมประเภท Offline (กิจกรรมชวนเด็กเล่น)

                   3. การสร้างความเข้าใจและแนวปฏิบัติการจัดกิจกรรมชดเชยเวลาเรียน

                   4. การดูแลช่วยเหลือนักเรียน

                    4.1 ด้านสุขภาพ อนามัยชีวิตความเป็นอยู่

§  มีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย

§  มีจุดล้างมือพร้อมสบู่ทั่วบริเวณโรงเรียน

§  มีจุดกดเจลอัลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรคก่อนขึ้นอาคารเรียนทุกอาคารและก่อนเข้าห้องเรียนทุกห้อง

§  แจกหน้ากากอนามัยสำหรับนักเรียนที่ลืมและไม่มี

§  ครูให้ความรู้นักเรียนทุกเช้าก่อนเข้าแถว ช่วงเข้าแถว และก่อนเข้าเรียน

§  โรงเรียนมีการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อบริเวณต่างๆ หลังเลิกเรียนทุกวัน

§  นักเรียนและบุคลากรทุกคนมีการสวมหน้ากากอนามัย

                    4.2 ค่าใช้จ่าย

                    - การบรรเทาความเดือนร้อน

§  โรงเรียนแจกเงินค่าอุปกรณ์การเรียนและเครื่องแบบก่อนเปิดเรียน

§  นักเรียนได้รับการแจกหนังสือเรียนวิชาพื้นฐานครบทุกคนทุกรายวิชา

§  จัดทำเอกสารประกอบการเรียน On-Hand ครบทุกรายวิชาพร้อมมีกระเป๋าใส่เอกสาร       (ถุงยังชีพเพื่อการศึกษาครบทุกคน)

                   - ลดภาระค่าใช้จ่าย

§  ลดค่าบำรุงการศึกษาของนักเรียนห้องเรียนพิเศษ

§  รณรงค์ให้นักเรียนห่อข้าวมาทานที่โรงเรียน

§  บริการน้ำดื่มสะอาดฟรีตามจุดต่างๆ

                    4.3 สื่อ และอุปกรณ์การเรียน

                    - การตรวจสอบ เตรียมความพร้อม

§  ทางโรงเรียนจัดซื้อหนังสือวิชาพื้นฐานให้นักเรียนครบทุกคน

§  ตรวจสอบจำนวนหนังสือ/จัดชุดหนังสือและเตรียมเอกสารใบงาน/ใบความรู้ ส่งมอบให้นักเรียนโดยครูประจำชั้นทุกระดับชั้น    

§  ครูออกแบบสื่อการเรียนการสอนและสร้างห้องเรียนออนไลน์เพื่อใช้ในการสอนในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19           

- การจัดหาสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนอย่างเหมาะสม (ภายใต้สถานการณ์ฯ COVID-19)

                   ครูจัดทำและจัดหาสื่อการเรียนการสอนทั้งผลิตเองและจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ อย่างหลากหลาย    เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมทั้งในกรณี On-Line  On-Site   และ On-Hand

 

             5) ปัจจัยความสำเร็จ (ความเด่น จุดแข้ง นวัตกรรม และเกิดประโยชน์หรือผลกระทบทางบวก      แก่ผู้เรียน อย่างไรบ้าง มีต้นแบบ หรือแบบอย่างที่ดี ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามนโยบาย หรือไม่อย่างไร)

 

สถานศึกษาเอกชนในจังหวัดยโสธร

            ๑)  ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

การจัดการเรียนการสอนและมาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ

ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในระยะแรกที่นักเรียนมาเรียนในห้องเรียนปกติได้ ทุกโรงเรียนจัดการเรียนการสอน โดยปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด แต่เนื่องจากเมื่อมีการระบาดขิงเชื้อไวรัสภายในจังหวัดนักเรียนไม่สามารถมาเรียนในห้องเรียนปกติได้ จึงให้โรงเรียนจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้ง Online On air On hand และ On demand

          2)  ข้อค้นพบ / ปัญหาอุปสรรค

                    การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งแบบ Online On air นักเรียนบางคนไม่มีอุปกรณ์สำหรับเรียน หรือไม่มีอินเตอร์เน็ต จึงไม่สามารถเรียนรู้กับเพื่อนได้

          3)  วิธีการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

นักเรียนที่ไม่สามารถเรียน Online On air ได้ทุกโรงเรียนก็จะใช้วิธีการนำส่งใบงานถึงที่บ้านของ

นักเรียน โดยยึดหลักการรักษาความปลอดภัยและมาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ

ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

          4)  ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย (ถ้ามีโปรดระบุ)

ควรประสาน/ขอรับการสนับสนุนอุปกรณ์ สัญญาณอินเตอร์เน็ต สำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถ

เข้าถึงการเรียนรู้ แบบ Online On air ได้

            5)  ปัจจัยความสำเร็จ  (ความโดดเด่น จุดแข็ง นวัตกรรม และเกิดประโยชน์หรือผลกระทบทางบวกแก่ผู้เรียน อย่างไรบ้าง  มีต้นแบบ หรือแบบอย่างที่ดี ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามนโยบาย หรือไม่ อย่างไร)

.............................................................................................................................................................................................................

 

สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดยโสธร

           ผลการดำเนินงานโดยสรุป

               เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน. ทุกระดับการศึกษา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และสามารถควบคุมและป้องกันแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) สำนักงาน กศน.จังหวัดยโสธรและสถานศึกษาในสังกัดดำเนินการตามแนวทางการจัดการเรียนการสอน ดังต่อไปนี้

๑. จัดทำปฏิทิน/แผนการดำเนินการจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษา

ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยให้มีการเรียนการสอนชดเชยให้ครบหลักสูตร

๒. ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) กศน. เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยให้สถานศึกษาพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ เช่น

การเรียนออนไลน์ มีการตรวจสอบรายชื่อนักศึกษาที่เข้าเรียน การทำใบงาน การมอบหมายงาน การส่งงาน และ

การวัดประเมินผล

๓. รายงานผลการจัดการเรียนการสอนและการดำเนินการตามมาตรการป้องกันในสถานการณ์

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ของสำนักงาน กศน. กระทรวงศึกษาธิการ

ภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๓ ที่ http:gg.gg/npxbh

ทั้งนี้ สำนักงาน กศน. ได้จัดทำสื่อการศึกษาออนไลน์ รายวิชาบังคับตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ และหลักสูตรต่อเนื่อง ด้านอาชีพ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่นักศึกษา กศน. โดยสถานศึกษาสามารถสแกน QR Code หรือรับชมผ่านเว็บไซต์ www.youtube.com ช่อง pattana channel

            

 

 

 

                  

          

 

และเพื่อทราบถึงสภาวะความปลอดภัยสูงสุดแก่นักศึกษาและบุคลากรในสถานศึกษา สำนักงาน กศน.จังหวัดยโสธรได้ขอความร่วมมือให้สถานศึกษาในสังกัดตอบแบบประเมินตนเองในการเตรียมความพร้อมเปิดเรียนใหม่ในสถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด –๑๙ในสถานศึกษา Link : stopcovid.anamai.moph.go.th/school ซึ่งการกำกับติดตามในภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๓ มีการรายงานเรียบร้อยแล้วดังนี้

 

ที่

กศน.อำเภอ

การรายงาน

หมายเหตุ

กศน.อำเภอเมืองยโสธร

รายงานเรียบร้อยแล้ว

๔ มกราคม ๒๕๖๔

กศนอำเภอทรายมูล

รายงานเรียบร้อยแล้ว

๔ มกราคม ๒๕๖๔

กศน.อำเภอกุดชุม

รายงานเรียบร้อยแล้ว

๔ มกราคม ๒๕๖๔

กศน.อำเภอคำเขื่อนแก้ว

รายงานเรียบร้อยแล้ว

๔ มกราคม ๒๕๖๔

กศน.อำเภอป่าติ้ว

รายงานเรียบร้อยแล้ว

๔ มกราคม ๒๕๖๔

กศน.อำเภอมหาชนะชัย

รายงานเรียบร้อยแล้ว

๔ มกราคม ๒๕๖๔

กศน.อำเภอค้อวัง

รายงานเรียบร้อยแล้ว

๔ มกราคม ๒๕๖๔

กศน.อำเภอเลิงนกทา

รายงานเรียบร้อยแล้ว

๔ มกราคม ๒๕๖๔

กศน.อำเภอไทยเจริญ

รายงานเรียบร้อยแล้ว

๔ มกราคม ๒๕๖๔

 

วิทยาลัยอาชีวศึกษาในจังหวัดยโสธร

             ผลการดำเนินงานโดยสรุป

                 สถานศึกษามีการจัดการตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขในการคัดกรองการจัดให้มี
เจลแอลกอฮอล์ทุกจุด การจัดให้มีอ่างล้างมือทุกอาคารเรียน การรณรงค์เว้นระยะห่าง งดการจัดกิจกรรมรวมคนจำนวนมาก และการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในหลายสาขาวิชา พร้อมยังมีการจัดการเรียนการสอน
ทางออนไลน์บางสาขาวิชา มีการสลับวันให้กับผู้เรียนในวิชาปฏิบัติ มีมาตรการในการป้องกันผู้เรียนตามมาตรการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีระบบการคัดกรองตามนโยบายตั้งแต่ทางเข้าจนถึงก่อนเข้าห้องเรียนทุกสาขาวิชา                          ปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาอุปสรรค

ข้อเสนอแนะ

- การเรียนในภาคปฏิบัติเรียนได้ไม่เต็มที่ เนื่องจาก    มีการสลับกันเข้าเรียนภาคปฏิบัติ

- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการสนับสนุนทั้งทางพื้นที่วัสดุ/ครุภัณฑ์ ในการจัดการเรียนการสอนให้มีความเพียงพอและเป็นไปตามมาตรฐาน

- การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากการสลับการเข้าเรียนภาคปฏิบัติ เพื่อเว้นระยะห่างทางสังคม และการปฏิบัติตามมาตราการ

 

            

           นวัตกรรม/ต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice)

               - โครงการคัดกรองผุ้เรียนเพื่อป้องกันโรคติดต่อ Covid-๑๙                                    

               - การจัดให้มีระบบคัดกรองผู้เรียนทุกแผนกวิชา การจัดให้ครูบคุลากรมีส่วนร่วมในระบบการคัดกรองทุกที่มีการจัดการเรียนการสอนและการให้ความรู้ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา  (COVID ๒๐๑๙) ผ่านระบบเสียงตามสายภายในวิทยาลัยเทคนิคยโสธร      

 

        ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดยโสธร

๑) ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                         ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดยโสธร ได้ดำเนินการตามประกาศจังหวัดยโสธร นโยบายของรัฐบาล กระทรวงศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด – ๑๙) โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของนักเรียน การคัดกรองทุกคน กำหนดจุดวัดอุณหภูมิ จุดล้างมือ ป้ายประชาสัมพันธ์
ในรูปแบบต่างๆ

            ให้ทุกคนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดเชื่อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อย่างเคร่งครัด และได้ดำเนินการมอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ปกครองนักเรียนที่ได้รับผลกระทบในเบื้องต้น

๒) ข้อค้นพบ / ปัญหาอุปสรรค

          การจัดการเรียนการสอนออนไลน์เด็กพิการมีอุปสรรคในการจัดการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือ สื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยสามารถเข้าถึงง่าย สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมสำหรับประเภทความพิการ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และความพร้อมของผู้เรียน และผู้ปกครอง
ในการดูแลบุตรหลานระหว่างการจัดกิจกรรมจการเรียนการสอนออนไลน์ที่บ้าน         

๓) วิธีการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

          ติดต่อประสานงานผู้ปกครองทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ได้รับรู้รับทราบข่าวสาร ความเคลื่อนไหวมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการโทร การใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ การวิดิโอคอล เฟสไทม์ เพื่อให้เห็นสภาพความเป็นจริง

๔) ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย (ถ้ามีโปรดระบุ)

            ควรจัดให้มีการเข้าถึงสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับเด็กพิการที่หลากหลายและทันสมัย
เข้าถึงง่าย ซึ่งง่ายต่อการเรียนรู้และการใช้งาน โดยทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ลดข้อจำกัดในการเรียนรู้สำหรับเด็กพิการ

๕)  ปัจจัยความสำเร็จ 

                        การสร้างความรู้ ความเข้าใจร่วมกันของทุกฝ่าย ให้สามารถพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายต่างๆได้ทันเวลา และสำเร็จ ทุกฝ่ายได้รับการพัฒนาช่วยเหลือและเป็นแนวปฏิบัติเดียวกัน ให้เตรียมพร้อมรับมือสำหรับการพัฒนายิ่งขึ้น


 บันทึข้อมูลโดย: กวิสรา ชื่นอุรา