ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 21 มิถุนายน 2564

ด้านความมั่นคง

           1.1 การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง และมีคุณธรรม  ความเป็นพลเมือง ปลูกฝังความมีระเบียบวินัย โดยกระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด

               1) ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

               สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต ๑  ได้มีการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทัศนคติ
ที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง และมีคุณธรรม  ความเป็นพลเมือง ปลูกฝังความมีระเบียบวินัย โดยผ่านกระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด ซึ่งในปีงบประมาณ 2564 มีการดำเนินการจัดกิจกรรมไปแล้ว
 2 โครงการ  ได้แก่  ๑)
โครงการ การจัดกิจกรรม“วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า”  ประจำปี 2563  ในวันที่  25  พฤศจิกายน  2563  ณ  โรงเรียนอนุบาลราชบุรี  อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี  โดยจัดพิธีวางพวงมาลาและถวายราชสดุดีเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตแห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระผู้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยเพื่อเป็นการน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงพระราชทานกำเนิดลูกเสือ โดยมีลูกเสือ  เนตรนารี  ในจังหวัดราชบุรี เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว จำนวน  ๘๑๘ คน และ
๒) จัดกิจกรรมโครงการลูกเสือจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต ๑  ร่วมกับโรงเรียนในสังกัด ในระหว่างวันที่ ๕ – ๑๔  ธันวาคม ๒๕๖๓  มีผู้เข้าร่วมจำนวน 5,879 คน ประกอบด้วยการทำบุญตักบาตรอาหารแห้ง นั่งสมาธิถวายเป็นพระราชกุศลจัดกิจกรรมประกวดเรียงความ
ถึงพ่อ ประกวดระบายสีภาพวันพ่อ  และจัดนิทรรศการ “ ศาสตร์พระราชา น้อมนำพาตามรอยพ่อ”
ร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ทำความสะอาดสถานศึกษา  ปลูกต้นไม้ภายในสถานศึกษาและชุมชนใกล้เคียง ส่งผลให้ลูกเสือ  เนตรนารี ผู้บังคับบัญชา ผู้บริหารสถานศึกษา  และบุคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1  มีจิตสำนึก แสดงความจงรักภักดี  ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
ทำให้รู้คุณค่าทางการแบ่งปันและการช่วยเหลือผู้อื่น มีจิตสาธารณะรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  โดยมีพิธีเปิดในวันที่ ๙  ธันวาคม ๒๕๖๓  ณ โรงเรียนวัดบางลี่ (วุฒิพันธ์วิทยา)  ตำบลโคกหม้อ อำเภอเมืองราชบุรี  จังหวัดราชบุรี 

          โครงการอบรมจิตอาสา 904 สืบสานพระราชปณิธาน “ร.10”

            ๑)  ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี  เขต ๒ มีการส่งเสริมปลูกฝังผู้เรียนให้มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง และมีคุณธรรม ความเป็นพลเมืองที่ดี ปลูกฝังความมีระเบียบวินัย โดยกระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด ด้วยโครงการอบรมจิตอาสา ๙๐๔  สืบสาน              พระราชปณิธาณ “ร.๑๐”  โดยการคัดเลือกนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ๖  จำนวน ๓๖ โรงเรียนๆ ละ ๔ คน และครู จำนวน ๑ คน  เข้าร่วมโครงการ โดยมีการกล่าวคำปฏิญาณในช่วงเช้าและนักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติกิจกรรมตามฐาน  ซึ่งได้ดำเนินการต่อเนื่องมาทุกปี  โดยผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในระดับดีมาก  นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมจิตอาสา ๙๐๔ ร้อยละ ๙๐ และสามารถนำไปปฏิบัติที่โรงเรียนของตนเองเพื่อขยายผลได้ร้อยละ ๙๐

โครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาอย่างยั่งยืน

๑)  ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                              การดำเนินงานขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาอย่างยั่งยืน โดยอาศัยกระบวนการขั้นตอนในการขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ แจ้งประกาศจุดเน้น นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 กำหนดกลยุทธ์ เป้าประสงค์ และตัวชี้วัด เพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการจัดการศึกษาที่กำหนดไว้ สร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจ
แก่บุคลากรในสังกัดฯ ทั้งในระดับผู้บริหารสถานศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์และบุคลากรทางการศึกษาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดประชุมผู้บริหารสถานศึกษาประจำเดือน การประชุมผู้อำนวยการกลุ่ม/หน่วยในสำนักงานเขตพื้นที่
การประชุมกับหน่วยงานภายนอก การประชุมคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่ฯ ให้การส่งเสริมสนับสนุนในการดำเนินของสถานศึกษา โดยอาศัยกระบวนการวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบเครื่องมือ นวัตกรรม  แต่งตั้งคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง สำหรับการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบอย่างหลากหลายรูปแบบ จัดทำรายงานสรุปผลการนิเทศ กำกับ ติดตาม
แก่หัวหน้าส่วนราชการอย่างต่อเนื่อง โดยจากผลการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
อย่างยั่งยืนตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 ส่งผลให้สถานศึกษาในสังกัดฯ จำนวนร้อยละ 100 มีความตระหนัก รับรู้ เข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานตามนโยบาย สามารถขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา โดยมีคณะกรรมการตามคำสั่งแต่งตั้งทำหน้าที่นิเทศ กำกับ ติดตาม ช่วยเหลือการดำเนินงานของสถานศึกษาทุกแห่ง ผู้บริหารสถานศึกษาและครูเกิดความเข้าใจตรงกันในการขับเคลื่อนงานตามนโยบาย เพื่อลงสู่การปฏิบัติให้เกิด
ผลสัมฤทธิ์อันพึงประสงค์ต่อผู้เรียน และกระตุ้นส่งเสริมสถานศึกษาให้มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดประกวด แข่งขัน หรือการส่งเสริมการพัฒนาเพื่อรับการประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียงหรือศูนย์การเรียนรู้
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา โดยจัดให้มีคณะกรรมการนิเทศ กำกับ ติดตามการเตรียม
ความพร้อมของสถานศึกษาอย่างเข้ม เพื่อเตรียมรับการประเมินดังกล่าว

 

    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี ได้ดำเนินการโครงการจิตอาสา เราทำความดี

ด้วยหัวใจงบประมาณ 5,000 บาท ระหว่างวันที่ 1 – 31 ธันวาคม 2563 ณ บริเวณสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติบริเวณสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี อำเภอเมืองฯ จังหวัดราชบุรี มีสถานศึกษา

ที่เข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ จำนวน  22 แห่ง  นักเรียน 15,950  คน โดยมีกิจกรรม ดังนี้

    - กิจกรรมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จ  พระชนกาธิเบศร มหาภูมพล

อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9

                - กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร

มหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๑๐

                - กิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ ทำความสะอาดพัฒนาสิ่งแวดล้อม ปรับปรุงภูมิทัศน์

และปลูกต้นไม้เพื่อพ่อ

    ประโยชน์ที่ได้รับ

                ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และนักศึกษาวิชาทหาร ผู้บังคับบัญชาลูกเสือพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์  ทรงเป็นประมุขมากขึ้น มีจิตสาธารณะ และใช้เวลาว่างในการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชน สังคมและประเทศชาติ

มากขึ้น รวมทั้งมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการร่วมกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ตามความถนัด

ตามความสนใจ และมีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม ตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์

วิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรีส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองที่ดี มีการจัดทำโครงการของหายได้คืน เป็นการสร้างความซื่อสัตย์สุจริตให้กับผู้เรียน การเข้าแถวในตอนเช้าเป็นการสร้างระเบียบวินัยที่ดีให้กับผู้เรียนได้รู้จักหน้าที่และการตรงต่อเวลา พร้อมกับจัดทำโครงการน้องไหว้พี่หน้าเสาธงเป็นการสร้างความสามัคคี เพื่อให้ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ เสริมสร้างทักษะชีวิต จริยธรรม     และศีลธรรม ความเป็นผู้นำและทัศนคติที่ดี และจัดกิจกรรมลูกเสือในแต่ละสัปดาห์ทำให้ผู้เรียนมีความอดทน มีระเบียบวินัยในตนเองและมีความตรงต่อเวลารู้จักหน้าที่ของตนเอง มีความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และประเทศชาติ

                       สถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน.จังหวัดราชบุรี มีการดำเนินงานพัฒนาผู้เรียนเพื่อพัฒนาและส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษาเป็นผู้ที่มีระเบียบวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตอาสา
มีความเสียสละในการช่วยเหลือผู้อื่น บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน
โดยใช้กระบวนการอบรมอาสายุวกาชาดนอกโรงเรียน ได้แก่ โครงการ 99 สู่ 100 ปี อาสายุวกาชาดไทย ต่อยอดอบรมอาสายุวกาชาด 
โดยได้บูรณาการกับโครงการสถานศึกษาคุณธรรม  กิจกรรมจิตอาสา กศน. และส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ดีมีความรักและภาคภูมิใจในชาติไทย และแสดงออกถึงความ
จงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ตลอดจนทะนุบำรุงและปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนาการเทิดทูนและปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ผ่านโครงการอบรมประวัติศาสตร์ชาติไทยและบุญคุณของพระมหากษัตริย์ สำหรับนักศึกษา กศน.

                   ในการปลูกฝังให้เยาวชนซึ่งเป็นนักศึกษา กศน.และเป็นสมาชิกอาสายุวกาชาดนอกโรงเรียน เพื่อได้รับการปลูกฝังอุดมการณ์กาชาดและยุวกาชาดอุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อสังคม ได้ศึกษาวิชาการและวิชาชีพที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและช่วยพัฒนาชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายจุดเน้น การดำเนินงานของ สำนักงาน กศน. ปีงบประมาณ 2564 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ปลูกฝังผู้เรียนให้มีหลักคิดที่ถูกต้องด้านคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีความพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา

 

           ๒) ข้อค้นพบ/ปัญหาอุปสรรค

               2.1 งบประมาณไม่เพียงพอสำหรับทุกโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม

               2.2 การจัดสรรงบประมาณและการแจ้งดำเนินการล่าช้า

     เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)  ทำให้การจัดกิจกรรมเป็นไปด้วยความลำบาก  มีการเว้นพื้นที่ระยะห่าง  มีการจำกัดจำนวนคนในการรวมตัว ทำให้การจัดกิจกรรมต้องปรับตามสถานการณ์ ซึ่งกระบวนการทางลูกเสือและยุวกาชาดต้องใช้การทำกิจกรรมร่วมกันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้การจัดกิจกรรมบางอย่างไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่

จากการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานขับเคลื่อนนโยบายลงสู่การปฏิบัติ พบว่า สถานศึกษาร้อยละ 100 มีความตระหนัก รับรู้ และเข้าใจการการดำเนินงานตามนโยบาย แต่เกิดสภาพปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ด้านการขาดแคลนงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด ทำให้การดำเนินงานขับเคลื่อนเป็นไปอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ และด้วยงานตามนโยบายด้านการศึกษามีเป็นจำนวนมาก โรงเรียนขาดการบูรณาการในด้านการดำเนินงาน ส่งผลให้การดำเนินงานตามนโยบายต่างๆ ไม่บรรลุผลตามเป้าหมายเท่าที่ควร ผนวกกับอัตรากำลังขาดแคลนไม่ครบตามความต้องการจำเป็นในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของสถานศึกษา ขาดครูสาขาวิชาเอกที่มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอน เพื่อขับเคลื่อนงานตามนโยบายนั้น

ห้วงระยะเวลาในการดำเนินงานน้อยเกินไป ได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน

ล่าช้า ทำให้ประสิทธิภาพในการดำเนินงานลดน้อยลง

- เนื่องจากสถานการณ์ โควิด 19 ทำให้ทางวิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรีบางแห่งต้องงดกิจกรรมลูกเสือ

- วิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรีบางแห่งพบอุปสรรคในเรื่องของการแต่งกาย ยังคงเป็นปัญหาในการเรียนที่ผู้เรียนไม่ต้องการแต่งกายเครื่องแบบลูกเสือและเข้าใจในกิจกรรมลูกเสือ

  - บุคลากรที่ทำหน้าที่สอนไม่เพียงพอกับปริมาณผู้เรียน

การจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานกศน.จังหวัดราชบุรี ตามโครงการ 99 สู่ 100 ปี อาสายุวกาชาดไทย ต่อยอดอบรมอาสายุวกาชาด เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาเยาวชนซึ่งเป็นนักศึกษา กศน.ที่ขาดโอกาสทางการศึกษาในระบบโรงเรียนได้มีโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งส่งผลให้นักศึกษา กศน.เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม มีระเบียบวินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบ เป็นผู้ที่มีความเสียสละทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม สามารถทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ซึ่งสังเกตได้จากการที่นักศึกษาได้มีการจัดโครงการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) ที่เกี่ยวกับจิตอาสาพัฒนาสังคมเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการมีระเบียบวินัยที่แต่งกายเรียบร้อยและมีความรับผิดชอบต่อตนเองในการเข้าเรียน

 

 

           3) วิธีการแก้ไขปัญหา  ที่เกิดจากการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

               3.1 เนื่องจากเป็นวันสำคัญของทุกปี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี
เขต ๑ จัดทำโครงการแผนงานรองรับสำหรับวันสำคัญๆและสนับสนุนงบประมาณตามความจำเป็น

               3.2 เชิญชวนสถานศึกษาในสังกัด นำลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาดดำเนินการ
จัดกิจกรรมภายในสถานศึกษาร่วมกับชุนชนใกล้เคียง

      - ลดจำนวนคนเข้าอบรมในโครงการโดยแบ่งจำนวนวันในการอบรมให้มากขึ้น

                - ปรับกิจกรรมที่ต้องใกล้ชิดหรือทำงานเป็นทีมให้เป็นกิจกรรมผ่านระบบ social หรือให้งานเป็นรายบุคคลแล้วใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากคนที่ทำใบงานดีเด่นออกมาแชร์ประสบการณ์แทน

     จากประเด็นปัญหาอุปสรรคดังกล่าวข้างต้นของสถานศึกษา ได้มีการให้ข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการงานแบบบูรณาการ เพื่อลดภาระงานของสถานศึกษาลง โดยให้พิจารณา
ตามความเหมาะสมและสอดคล้องของตัวชี้วัดที่สำคัญของแต่ละนโยบาย โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ รวมถึงให้การนำสื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการและการจัดการศึกษา อันจะช่วยลดภาระงาน ส่งเสริมให้การทำงานสะดวก คล่องตัว ถูกต้องและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

     ควรขยายระยะเวลาในการดำเนินงานให้มากขึ้น และเพิ่มงบประมาณให้เพียงพอ

กับกลุ่มเป้าหมาย

- เชิญวิทยากรภายนอก และส่งครู เจ้าหน้าที่ เข้ารับการอบรม และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง และมีคุณธรรม ความเป็นพลเมือง ปลูกฝังความมีระเบียบวินัย โดยกระบวนการกิจกรรมหน้าเสาธง

                 - วิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรีบางแห่งแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมลูกเสือโดยแยกเป็นแผนกเพื่อลดการแออัด                         

                 - วิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรีบางแห่งมีการปรับให้มีการแต่งกายเครื่องแบบลำลอง สลับกับเครื่องแบบลูกเสือ

 

           4) ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร  ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

               4.1 ประชาสัมพันธ์ให้สถานศึกษาในการประสานงานกับชุมชนเพื่อร่วมดำเนินการจัดกิจกรรมอาสาทำความสะอาดสถานที่ที่ใช้ร่วมกันของชุมชน เช่น วัด โรงเรียน สวนสาธารณะ เป็นต้น

วางแผนเรื่องงบประมาณ เมื่อต้องมีการปรับในเรื่องของเวลาเพิ่มหรือลดในการเข้าร่วมกิจกรรม/โครงการ เมื่อมีการเพิ่มวัน จำนวนงบประมาณที่ต้องใช้ก็ต้องเพิ่มตาม ควรมีการจัดงบประมาณในสถานการณ์แบบนี้ด้วย

ควรมีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุน การดำเนินงานขับเคลื่อนนโยบายอย่างต่อเนื่องและเพียงพอต่อความต้องการจำเป็นของสำนักงานเขตพื้นที่และสถานศึกษา เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

วิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรีบางแห่งเห็นควรจัดให้มีการอบรมคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นพลเมืองที่ดี

สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับอบรมด้านอาสายุวกาชาดเพื่อเสริมสร้างความเป็นจิตอาสาให้กับเยาวชนผ่านรูปแบบการทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ตามแบบอย่างที่ดี
โดยในกิจกรรมการอบรมมีกิจกรรมภาคปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการวางแผนบริการชุมชนและฝึกปฏิบัติในชุมชน สามารถฝึกฝนให้นักศึกษารู้จักคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา นำไปประยุกต์ใช้พัฒนาครอบครัวและชุมชนของตนเอง

               การดำเนินงานโครงการฯ วิทยากรเป็นครูภายในสถานศึกษาที่ผ่านการอบรมมาเท่านั้น จึงมีความต้องการวิทยากรและบุคลากรที่มีความรู้ทางด้านยุวกาชาดจากส่วนกลางโดยตรงทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงวิทยากรและวิทยากรร่วม เพื่อที่จะสามารถจัดกิจกรรมให้หลากหลายน่าสนใจมากขึ้น

 

           5) ปัจจัยความสำเร็จ (ความโดดเด่น  จุดแข็ง  นวัตกรรม  และเกิดประโยชน์หรือผลกระทบทางบวกแก่ผู้เรียน  อย่างไรบ้าง  มีต้นแบบ หรือแบบอย่างที่ดี  ที่เกิดจากการดำเนินการตามนโยบาย  หรือไม่อย่างไร)

               โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต ๑  ตระหนัก
ในความสำคัญนำนักเรียน ลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาด ดำเนินการจัดกิจกรรมจิตอาสา ในวันสำคัญต่างๆโดยบูรณาการร่วมกับสถานศึกษาในสังกัด หมุนเวียนดำเนินการจัดกิจกรรมไปยังสถานศึกษา วัด ชุมชน เครือข่าย ตามโอกาสที่เหมาะสม

      - การวางแผนที่สามารถปรับและยืดหยุ่นให้เข้ากับทุกสถานการณ์

                              - รางวัลหรือเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ เช่น ลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาด ที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับเข็มลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์

      - ทีมวิทยากรลูกเสือเขตพื้นที่ฯ เข้มแข็งและมีความสามารถหลากหลาย

      ในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษาอย่างยั่งยืน
ตามนโยบาย สำนักงานเขตพื้นที่ฯ ได้ตระหนักและให้ความสำคัญในการนิเทศ ติดตาม การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง มีการกระตุ้นส่งเสริมการพัฒนาตนเองของสถานศึกษาด้วยการจัดประกวด แข่งขัน การรายงานผลการดำเนินงานประจำปีการศึกษา รวมถึงเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สถานศึกษาในสังกัด ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันด้วยรูปแบบวิธีที่หลากหลาย มีการจัดตั้งชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินความพร้อมอย่างเข้มของสถานศึกษาที่ประสงค์รับการพัฒนา เพื่อประเมินเป็นสถานศึกษาพอเพียง หรือศูนย์การเรียนรู้ตาม
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา โดยมีโรงเรียนวัดดอนทรายเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาอื่นในสังกัดได้ร่วมศึกษาดูงาน นอกจากนี้ยังมีศูนย์การเรียนรู้สถานศึกษาพอเพียงที่เป็นอย่างแต่ละอำเภอ ให้สถานศึกษาที่มีบริบทใกล้เคียงกันได้ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงาน ส่งผลให้ผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีแนวทางในการดำเนินงาน ที่เหมาะสมกับบริบทของตนเอง ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนางานซึ่งกันและกัน ส่งผลให้มีการพัฒนาการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลกระทบ
เชิงบวกต่อผู้เรียนในด้านการพัฒนาส่งเสริมคุณลักษณะความพอเพียง ทักษะชีวิต ทักษะอาชีพแก่ผู้เรียนตามได้บริบทที่หลากหลายได้อย่างเหมาะสม และมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

            จุดเด่นและประโยชน์ที่เกิดขึ้นในทางบวกแก่ผู้เรียน

                        1. ผู้เรียนมีจิตใจที่พร้อมจะสละเวลาแรงกายและสติปัญญา เพื่อสาธารณประโยชน์ โดยไม่หวังผลตอบแทนในการทำงาน เป็นการอุทิศเพื่อส่วนรวม จึงเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับบุคคล โดยเฉพาะนักเรียนเยาวชนที่จะเป็นอนาคตของชาติ

                        2. ผู้เรียนมีวินัยในตนเอง ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในระบบประชาธิปไตย รู้ถึงขอบเขตของสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ ความรับผิดชอบ ต่อตนเองและสังคม

                        3. ผู้เรียนให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ตระหนักเสมอว่าตนเอง คือส่วนหนึ่งของสังคมต้องมีความรับผิดชอบในการรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเรื่องของส่วนรวม ทั้งต่อประเทศชาติ

                        4. ผู้เรียนตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม ให้ถือว่าเป็นปัญหาของตนเองเช่นกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องช่วยกันแก้ไข

                        5. ผู้เรียนมีหลักธรรมในการดำเนินชีวิต เพราะหลักธรรมหรือคำสั่งสอนในทุกศาสนาที่นับถือ

สอนให้คนทำความดี ถ้าปฏิบัติได้จะทำให้ตนเองมีความสุข นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมด้วยทำให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

วิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่ง สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรี มีผลงานดีเด่นที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ ได้แก่ สถานศึกษาคุณธรรมต้นแบบ รางวัลศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา ระดับชาติ ๕ ดาว รางวัลสถานศึกษาวิถีพุทธชั้นนำยอดเยี่ยม รางวัลเด็กและเยาวชนดีเด่น จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนักเรียนพระราชทานรางวัลชมเชย และวิทยาลัยอื่นๆในสังกัดได้มีการปลูกฝังความมีระเบียบวินัย โดยกระบวนการลูกเสือนั้นเป็นการสร้างระเบียบวินัยในตนเองให้กับนักเรียน และมีความตรงต่อเวลารู้จักหน้าที่ของตนเอง มีความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และประเทศชาติ

สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับอบรมด้านอาสายุวกาชาดเพื่อเสริมสร้างความเป็นจิตอาสาให้กับเยาวชนผ่านรูปแบบการทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ตามแบบอย่างที่ดี
โดยในกิจกรรมการอบรมมีกิจกรรมภาคปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการวางแผนบริการชุมชนและฝึกปฏิบัติในชุมชน สามารถฝึกฝนให้นักศึกษารู้จักคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา นำไปประยุกต์ใช้พัฒนาครอบครัวและชุมชนของตนเอง


 บันทึข้อมูลโดย: นายนิรุทธิ์ อุทาทิพย์