ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 21 มิถุนายน 2564

ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

2.1 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกช่วงวัยโดยการเพิ่มพูนทักษะ (Re-skill) พัฒนาทักษะ (Up skill)  และการเรียนรู้ทักษะใหม่ (New skills) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

            ๑)  ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                              การดำเนินงานขับเคลื่อนการส่งเสริมทักษะอาชีพแก่ผู้เรียน โดยอาศัยกระบวนการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ แจ้งประกาศจุดเน้น นโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 กำหนดกลยุทธ์ เป้าประสงค์ และตัวชี้วัด เพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานสู่เป้าหมายการจัดการศึกษาที่กำหนดไว้ สร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจแก่บุคลากรในสังกัดฯ ทั้งในระดับผู้บริหารสถานศึกษา ครู ศึกษานิเทศก์และบุคลากรทางการศึกษาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดประชุมผู้บริหารสถานศึกษาประจำเดือน การประชุมผู้อำนวยการกลุ่ม/หน่วย ในสำนักงานเขตพื้นที่ การประชุมกับหน่วยงานภายนอก มีการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษาในการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพแก่ผู้เรียน โดยแต่งตั้งคณะกรรมการ
ที่เกี่ยวข้อง สำหรับการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบอย่างหลากหลายรูปแบบ จากผลการขับเคลื่อนการส่งเสริมทักษะอาชีพแก่ผู้เรียน ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 ส่งผลให้สถานศึกษาในสังกัดฯ จำนวนร้อยละ 100 มีความตระหนัก รับรู้ เข้าใจและเห็นความสำคัญในการส่งเสริมทักษะอาชีพแก่ผู้เรียน โดยกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองทุกกระบวนการขั้นตอนในการเรียนรู้ ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่หลากหลาย เช่น ทักษะการแก้ปัญหา การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม การคิดสร้างสรรค์ การทำงานและการประกอบอาชีพ มีการจัดกิจกรรม โครงการการประกวด แข่งขัน เพื่อกระตุ้นให้สถานศึกษาเกิดความตื่นตัว ตระหนักและสนใจพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี

 

1.1) โครงการเพศวิถีศึกษา เน้นในเรื่องทักษะชีวิตที่จะเกิดในผู้เรียน

1.2) โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา (โครงการ

โรงเรียนสุจริต)

1.3) โครงการพัฒนาคุณภาพการนิเทศการศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษา  การยกระดับ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การแก้ปัญหา ติด 0 ร มส

1.4) โครงการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

1.5) โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์     

     วิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรีได้จัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ     ฝึกให้นักเรียนกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก และเพิ่มทักษะโดยการปฏิบัติจริง และเพิ่มการเรียนรู้ใหม่ๆ โดยสื่อการเรียนที่ทันสมัยตามยุคปัจจุบันส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันทักษะวิชาชีพ โครงงานวันวิทยาศาสตร์ โครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์ ทั้งระดับอาชีวศึกษาจังหวัด  ระดับภาค และระดับชาติ รวมทั้งการส่งนักเรียนนักศึกษาเข้าฝึกงานในสถานประกอบการเพื่อเพิ่มกระบวนการสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการและมีการพัฒนาตามความต้องการของสถานประกอบการ และส่งเสริมให้ครูเข้ารับการอบรมสัมมนา การศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มพูนงานทักษะ (Re-skill) พัฒนาทักษะ (Up skill) และการเรียนรู้ทักษะใหม่ (New skills) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน    สถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน.จังหวัดราชบุรี ได้ดำเนินการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีศักยภาพเพื่อการมีงานทำ
ในรูปแบบของกลุ่มสนใจ (ไม่เกิน 30 ชั่วโมง)
  รูปแบบชั้นเรียนวิชาชีพ (31 ชั่วโมงขึ้นไป) และ
1 อำเภอ 1 อาชีพ ซึ่งสถานศึกษาแต่ละแห่งจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน

ตรงกับความต้องการของผู้เรียน มีเป้าหมายและผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1-2 จำนวน 2,435 คน

                  นอกจากนี้สถานศึกษายังจัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้เรียนในด้านการพัฒนาทักษะการขายและบริการ เช่น โครงการภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพ ได้แก่ กศน.อำเภอโพธาราม  หลักสูตรท่องเที่ยวและบริการ กศน.อำเภอดำเนินสะดวก หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านการท่องเที่ยว และ กศน.อำเภอสวนผึ้ง หลักสูตร ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเทียวและบริการ เพื่อเพิ่มทักษะให้กับกลุ่มเป้าหมาย

 

 

 

2)  ข้อค้นพบ / ปัญหาอุปสรรค

                        จากการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานขับเคลื่อนนโยบายลงสู่การปฏิบัติ พบว่า สถานศึกษาร้อยละ 100 มีความตระหนัก รับรู้ และเข้าใจการการดำเนินงานตามนโยบายส่งเสริมทักษะอาชีพแก่ผู้เรียน โดยสถานศึกษาส่วนใหญ่พบว่ามีสภาพปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ด้านการขาดแคลนงบประมาณสนับสนุนทั้งหน่วยงานต้นสังกัด เนื่องจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพแก่ผู้เรียน จำเป็นที่ต้องใช้งบประมาณในการลงทุนด้านวัสดุ อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่งผลให้การดำเนินงานขับเคลื่อนการจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของผู้เรียนเป็นไปอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ ผนวกกับอัตรากำลังขาดแคลน ไม่ครบตามความต้องการจำเป็น ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของสถานศึกษา ขาดครูสาขาวิชาเอก ที่มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพตามนโยบาย

โครงการต่างๆยังอยู่ระหว่างการดำเนินงาน และติดสถานการณ์การแพร่ระบาด

ของโรคติดเชื้อไวรัส  โคโรนา 2019 (COVID-19)

- งบประมาณในการจัดทำสื่อการเรียนการสอน อุปกรณ์เทคโนโลยีที่พัฒนาและเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยมีจำนวนจำกัด

             - มีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน นักศึกษา

จากการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมทำให้กิจกรรมการเรียนการสอนของสถานศึกษา ทำให้บางหลักสูตรไม่สามารถดำเนินการได้ ต้องถือปฏิบัติตามมาตรการควบคุมและเฝ้าระวังของจังหวัดราชบุรี
อย่างเคร่งครัด เช่น หลักสูตรนวดไทยเพื่อสุขภาพ หลักสูตรนวดน้ำมันเพื่อสุขภาพที่เป็นความต้องการ
ของผู้เรียนที่ต้องการเพิ่มพูนทักษะ (
Re-skill) และพัฒนาทักษะ (Up skill)  

 

 

 

          3)  วิธีการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

     จากประเด็นปัญหาอุปสรรคดังกล่าว พบว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาได้มีการทำบันทึกความเข้าใจ MOU (Memorandum of Understanding) ร่วมกันระหว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการหรือหน่วยงานทางการศึกษาสายอาชีพ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะอาชีพให้เกิดแก่ผู้เรียน โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายนอก ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริม สนับสนุนการให้ความรู้ การให้งบประมาณ และการจัดประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียน เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ โดยการดำเนินงานของฝ่ายกิจกรรมแนะแนวเพื่อการศึกษาต่อ และการมีงานทำของนักเรียน และในกระบวนการนิเทศการจัดการศึกษา ได้ให้ข้อเสนอแนะแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ โดยการส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพของผู้เรียน ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากสิ่งที่ผู้เรียนมีความสนใจ ถนัดและต้องการสอดคล้องตามความต้องการของท้องถิ่นและชุมชน ส่งผลให้สามารถเชิญปราชญ์ชาวบ้านมาให้ความรู้ และจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นได้จากท้องถิ่นของสถานศึกษา ลดอัตราการสิ้นเปลืองจากการใช้งบประมาณ ทั้งยังเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์               ภูมิปัญญา ศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป โดยการถ่ายทอดสู่เยาวชนในท้องถิ่นหรือชุมชน

ปรับเปลี่ยนวิธีการ และกระบวนการดำเนินการที่ไม่สามารถดำเนินการได้ ให้สามารถ

ดำเนินการได้ตามความเหมาะสม  

                       -  วิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรีใช้งบประมาณรายได้ของสถานศึกษาที่มีอยู่     อย่างจำกัด

                            - เห็นควรจัดสรรอัตรากำลังในสถานศึกษาที่ขาดแคลนตามความต้องการ และจำเป็นให้เพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน

      สำนักงาน กศน.จังหวัดราชบุรี กำหนดแนวทางการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ภายใต้มาตรการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019  (COVID-19)  เพื่อให้สถานศึกษาสามารถจัดกิจกรรมการศึกษาได้ เว้นแต่บางหลักสูตรที่มีลักษณะการสัมผัสกันซึ่งเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ เช่น กิจกรรมฝึกอาชีพการนวดแผนไทย ค่ายลูกเสือ ยุวกาชาด เป็นต้น ให้หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมจนกว่าจะมีคำสั่งเกี่ยวกับมาตรการผ่อนคลาย และหลังจากที่ได้มีมาตรการผ่อนคลาย
ตามคำสั่งจังหวัดราชบุรี ที่ 454/2564 เรื่อง มาตรการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (
COVID-19) ฉบับที่ 21 สถานศึกษาทุกแห่งได้มีการปรับแผนการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับสถานการณ์และให้ดำเนินการภายใต้มาตรการอย่างเคร่งครัด

 

 

          4)  ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

                               ควรมีการจัดสรรงบประมาณสนับสนุน การดำเนินงานขับเคลื่อนนโยบายอย่างต่อเนื่องและเพียงพอต่อความต้องการจำเป็นของสำนักงานเขตพื้นที่และสถานศึกษา เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงการวางแผนพัฒนาทักษะด้านอาชีพร่วมกับระหว่างองค์กร
ด้านการศึกษาและองค์กรภายนอก เพื่อให้เกิดการร่วมมือ สนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพแก่ผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง

 

เพิ่มงบประมาณให้สถานศึกษา เพื่อการขับเคลื่อนนโยบาย 

หน่วยงานต้นสังกัดควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการเบิกจ่ายงบประมาณ          การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพในรูปแบบออนไลน์ที่สอดคล้องกับคู่มือการจัดการศึกษาต่อเนื่อง พ.ศ.2561 (ฉบับปรับปรุง) ของสำนักงาน กศน. เพื่อให้สถานศึกษาสามารถดำเนินการจัดการศึกษาได้อย่างอย่างต่อเนื่องในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)

 

            5)  ปัจจัยความสำเร็จ

                             ในการขับเคลื่อนการส่งเสริมทักษะอาชีพแก่ผู้เรียนตามนโยบาย สำนักงานเขตพื้นที่ฯ ได้ตระหนักและให้ความสำคัญในการนิเทศ ติดตาม การดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง มีการกระตุ้นส่งเสริมการพัฒนาตนเองของสถานศึกษาด้วยการจัดประกวด แข่งขัน การรายงานผลการดำเนินงานประจำปีการศึกษา รวมถึงเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สถานศึกษาในสังกัดฯ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันด้วยรูปแบบวิธีที่หลากหลาย มีการจัดตั้งชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การจัดทำโครงการ กิจกรรมในการประกวด แข่งขัน กระตุ้นการดำเนินงานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพแก่ผู้เรียนเป็นประจำทุกปี โดยมีโรงเรียนวัดบ้านฆ้องน้อยเป็นโรงเรียนที่ชนะเลิศการประกวดแข่งขันโรงเรียนต้นแบบอาชีพตามวิถีชีวิตของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีการศึกษา 2563 (กิจกรรมบริษัทสร้างการดี) รวมถึงมีสถานศึกษาอื่นในสังกัดที่เข้าร่วมการประกวดและได้รับรางวัล ดังนี้ โรงเรียนวัดดอนทราย ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 และโรงเรียนวัดหนองกบ (ขุนทองประชานุเคราะห์) ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพแก่ผู้เรียน สำนักงานเขตพื้นที่ได้ใช้หลักการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงร่วมกับการส่งเสริมทักษะอาชีพแก่ผู้เรียน ส่งผลให้
การดำเนินงานของสถานศึกษาเป็นไปอย่างราบรื่น เนื่องด้วยความหลักการและวัตถุประสงค์ในการดำเนินการสอดคล้องเป็นไปทิศทางเดียวกัน ส่งผลให้สถานศึกษาสามารถขับเคลื่อนกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อ
ส่งเสริมทักษะอาชีพแก่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่สร้างภาระงานให้กับสถานศึกษา ส่งผลให้ผู้เรียนได้มีทักษะอาชีพและได้รับการบ่มเพาะให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่อย่างพอเพียงสอดคล้องกับนโยบาย วิสัยทัศน์และจุดเน้น
ด้านการศึกษาในทุกระดับ

                        โครงการการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา  มีโรงเรียนขอรับการประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 3 โรง ได้แก่ โรงเรียนรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ โรงเรียนวัดสันติการามในพระบรมราชานุเคราะห์ และโรงเรียนท่าเรือพิทยาคม (จังหวัดกาญจนบุรี) ส่วนโครงการอื่น

อยู่ระหว่างการดำเนินการ และการขับเคลื่อนกิจกรรม     

            วิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรีได้รับรางวัลในการแข่งขันทักษะวิชาชีพทั้งระดับอาชีวศึกษาจังหวัด ระดับภาค และระดับชาติ ได้รับรางวัลโครงงานวันวิทยาศาสตร์และโครงการประกวดประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่

สถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน.จังหวัดราชบุรี จัดการศึกษาต่อเนื่องโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน ซึ่งได้มีการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ต้นแบบสถานศึกษาละ 1 ผลิตภัณฑ์เพื่อเข้ารับการคัดเลือก
ให้เป็นผลิตภัณฑ์พรีเมี่ยมระดับ สำนักงาน กศน.จังหวัดกลุ่มท่าจีนถิ่นแม่กลอง ซึ่งผลการคัดเลือกผลิตภัณฑ์
พรีเมี่ยมภายใต้ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนของสำนักงาน กศน.จังหวัดราชบุรี มีดังนี้

1. ผลิตภัณฑ์จากเปเปอร์แบรนด์              กศน.อำเภอบ้านโป่ง

2. สบู่สัปปะรด                                   กศน.อำเภอบ้านคา

3. ผลิตภัณฑ์จากก้านมะพร้าว                 กศน.อำเภอวัดเพลง

                           

                              และจากการจัดการศึกษาต่อเนื่อง อาชีพทุกอาชีพที่ประชาชนได้เรียนรู้ ได้สามารถนำทักษะมาสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวได้ เพราะเมื่อจบหลักสูตรมีผู้สั่งจองสินค้าและที่สำคัญ  มีตลาดและช่องทางในการจัดจำหน่ายอย่างหลากหลาย

         

 

 

          2.2 การจัดการศึกษาแบบทวิศึกษา และห้องเรียนอาชีพสู่การสร้างอนาคตให้ผู้เรียนมีอาชีพ และมี

งานทำ

1)              ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี ได้ขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ใน 2 รูปแบบ

คือ โรงเรียนจัดเอง เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อการมีงานทำ และมีการทำ MOU กับสถาบันอาชีวศึกษา เช่น วิทยาลัยเทคนิคจังหวัดราชบุรี และวิทยาลัยการอาชีพปากท่อ โดยโรงเรียนที่เข้าร่วมทำ MOU กับสถาบันอาชีวศึกษา เฉพาะในจังหวัดราชบุรี จำนวน ๓ โรง ได้แก่ โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์ โรงเรียนวัดสันติการามวิทยา ในพระบรม

ราชานุเคราะห์ และ โรงเรียนบ้านคาวิทยา      

วิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรีได้มีการจัดการเรียนการสอนทวิศึกษา ทุกแผนกวิชาอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับโรงเรียนในเครือข่าย ได้แก่ วิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่งได้จัดการเรียนการสอนทวิศึกษาร่วมกับ โรงเรียนท่าเรือพิทยาคม โรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์ และโรงเรียนหนองวัลย์เปรียงวิทยา วิทยาลัยการอาชีพปากท่อได้จัดการเรียนการสอนทวิศึกษาร่วมกับ โรงเรียนบ้านคาวิทยา และวิทยาลัยเทคนิคราชบุรี ได้จัดการเรียนการสอนทวิศึกษาร่วมกับโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี)

วิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรีได้มีการทำบันทึกข้อตกลง MOU กับสถานประกอบการ เพื่อจัดการศึกษาแบบทวิภาคี และในรูปแบบสหกิจศึกษา

 

 

2)  ข้อค้นพบ / ปัญหาอุปสรรค

มีการโยกย้ายบุคลากรของสถาบันอาชีวศึกษา  ทำให้มีบุคลากรไม่เพียงพอต่อการ

เข้ามาสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษาในแบบทวิศึกษา จึงทำให้การจัดการเรียนการสอนดังกล่าวเกิดความ

ไม่ต่อเนื่อง ส่วนการการเปิดหลักสูตรระยะสั้น ในลักษณะกิจกรรมเสริมหลักสูตร พบว่า ความสนใจของผู้เรียนนั้นมีความหลากหลาย ทำให้ไม่สามารถจัดได้ตามความสนใจของผู้เรียนทั้งหมด และยังมีปัญหาด้านบุคลากร              ในการโยกย้ายหรือจำนวนคาบสอนของครูผู้สอนที่มีมากเกินไป   

วิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่งพบปัญหาอุปสรรคในเรื่องการเดินทางของนักเรียน

 

 

 

3)  วิธีการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

โรงเรียนมีการบูรณาการในรายวิชาเพิ่มเติมหรือกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้

ในลักษณะหลักสูตรระยะสั้น จัดอบรมตามความสนใจของนักเรียน และจัดหาวิทยากรหรือปราชญ์ท้องถิ่นในการให้ความรู้  

วิทยาลัยการอาชีพบ้านโป่งได้จัดให้มีหอพักให้นักเรียนนักศึกษาพักอาศัย แต่สภาพหอพักชำรุดทรุดโทรม

 

 

 

4)  ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย (ถ้ามีโปรดระบุ)

การจัดหลักสูตรแบบทวิศึกษา สามารถจัดได้ตามบริบทของสถานศึกษาที่มีความพร้อม

ในด้านบุคลากร เทคโนโลยี และมีความต่อเนื่องตลอดระยะเวลาของหลักสูตรที่กำหนด    

 

ของบประมาณปรับปรุงหอพัก

 

 

5)  ปัจจัยความสำเร็จ  (ความโดดเด่น จุดแข็ง นวัตกรรม และเกิดประโยชน์หรือผลกระทบ

ทางบวกแก่ผู้เรียน อย่างไรบ้าง  มีต้นแบบ หรือแบบอย่างที่ดี ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามนโยบาย หรือไม่ อย่างไร)

                             วิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรี และโรงเรียนเครือข่ายได้ติดตามนักเรียนร่วมกันในการเรียนการสอนทวิศึกษาอย่างต่อเนื่อง

 


 บันทึข้อมูลโดย: นายนิรุทธิ์ อุทาทิพย์