ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 21 มิถุนายน 2564

ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

๓.1  การส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21

        1)  ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                        สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 ได้ดำเนินงานส่งเสริมสนับสนุน                    ให้สถานศึกษามีการทบทวนหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและทักษะ             ในศตวรรษที่ 21 ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเปิดโอกาสให้นักเรียน            ได้ร่วมมือกันค้นคว้า หรือศึกษา สิ่งที่สนใจ ส่งเสริมให้นักเรียนและครูร่วมมือกันออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เป็นกลุ่มเล็ก ๆ หรือรายบุคคล รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยง              หลายรายวิชาเข้าด้วยกันทั้งเนื้อหาวิชาและวิธีการสอน เพื่อสร้างผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้จากสิ่งที่ปฏิบัติจริงตามบริบท เช่น การเรียนรู้แบบ Project based Learning การเรียนรู้แบบโครงงาน การเรียนรู้โดย               การจัดฐาน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษา การสร้างนวัตกรรม รวมทั้งการพัฒนาและส่งเสริมการใช้สื่อเทคโนโลยี

    จากการดำเนินงานขับเคลื่อนนโยบายด้านการส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ สู่การปฏิบัตินั้นเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ร้อยละ 100 ในารส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 (3R8C) โดยมีกระบวนการขับเคลื่อนดังนี้

                            - ขออนุมัติโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทั้งระบบสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และเตรียมผู้เรียนให้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21

                             - ดำเนินการตามโครงการโดยการนิเทศติดตามผล การดำเนินการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 (3R8C) จำนวน 147 โรงเรียน จำนวนผู้เรียนที่ได้รับการพัฒนาให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จำนวน 2,227 คน

                             - ดำเนินจัดกิจกรรมการประกวดคลิปวีดีทัศน์ ในการจัดการเรียนการสอน จำนวน 8 โรงเรียน

ในปีงบประมาณที่ผ่านมา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 (เดิม) ได้มีการ

นำร่องการขับเคลื่อน  โดยมีโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทั้งระบบสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ

การเตรียมผู้เรียน ให้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 กับโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 7 โรง โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อคือ

1.1)      เพื่อพัฒนาผูเรียนใหมีทักษะจําเปนของโลกศตวรรษที่ 21 สามารถคิดวิเคราะห

คิดสรางสรรค  คิดแกปญหา ปรับตัว สื่อสาร และทํางานรวมกับผูอื่นไดอยางมีประสิทธิผล

1.2)      เพื่อสนับสนุนใหเกิดการพัฒนาแลกเปลี่ยนเรียนรูและเผยแพรเทคนิค/วิธีการจัดการ

เรียนรู และนวัตกรรมในการยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรูในระดับชั้นเรียนที่สอดคลองกับทักษะแหงศตวรรษ           ที่ 21 ตรงตามความตองการ และบริบทของสถานศึกษา

1.3)      เพื่อใหเกิดความตอเนื่องในการดําเนินงานยกระดับคุณภาพการศึกษา และลดความ

เหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยได้รับงบจัดสรรตรงจากสพฐ. จำนวน 13,000 บาท และทางกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาได้สรุปผลการดำเนินงานดังนี้

เชิงปริมาณ

1)              โรงเรียนกลุมเปาหมาย จํานวน 7  โรง คิดเป็นร้อยละ 100 บรรลุเปาหมาย

ตามโครงการและตัวชี้วัดผลลัพธ

2)              โรงเรียนดำเนินงานกิจกรรมตามที่ระบุ ทุกกิจกรรมทั้ง 7 โรง คิดเป็นร้อยละ 100

3)               ผูเรียนไดรับการพัฒนาใหมีคุณลักษณะ และทักษะการเรียนรูในศตวรรษที่ 21

โดยมีจำนวนผู้เรียนทั้งหมด 9,010 คน   ดังนี้

3 Rs คือ

Reading (อ่านออก) ไดรับการพัฒนาจำนวน 8,951 คิดเป็นร้อยละ 99.34

(W) Riting (เขียนได้) และไดรับการพัฒนาจำนวน 8,909 คิดเป็นร้อยละ 98.87

(A) Rithemetics (คิดเลขเป็น) ไดรับการพัฒนาจำนวน 8,890 คิดเป็นร้อยละ 98.66

8 Cs ได้แก่

Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ

ทักษะในการแก้ปัญหา) ไดรับการพัฒนาจำนวน 8,941 คิดเป็นร้อยละ 99.23

Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม) ไดรับการพัฒนา

จำนวน 8,699 คิดเป็นร้อยละ 96.54

Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม

ต่างกระบวนทัศน์) ไดรับการพัฒนาจำนวน 8,980 คิดเป็นร้อยละ 99.66

Collaboration , Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทางาน

เป็นทีม และภาวะผู้นำ) ไดรับการพัฒนาจำนวน 8,979 คิดเป็นร้อยละ 99.65

Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร

สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ) ไดรับการพัฒนาจำนวน 8,922 คิดเป็นร้อยละ 99.302

Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและ

การสื่อสาร) ไดรับการพัฒนาจำนวน 8,9710 คิดเป็นร้อยละ 99.55

Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้) ไดรับการพัฒนา

จำนวน 8,962 คิดเป็นร้อยละ 99.46

Compassion (ความมีเมตตากรุณา มีวินัย คุณธรรม และจริยธรรม) ไดรับการพัฒนา

จำนวน 8,980 คิดเป็นร้อยละ 99.66

เชิงคุณภาพ

1)              ผูเรียนไดรับการพัฒนาใหมีคุณลักษณะ และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก

2)              ครูผูสอนไดรับการพัฒนาศักยภาพดานการจัดการเรียนรู้ที่สอดคลองกับทักษะ

แหงศตวรรษ ที่ 21

ในปีงบประมาณ 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี โดยกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา มีแนวทางการขยายผล โดยได้ดำเนินการจัดทำโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ทั้งระบบสู่การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการเตรียมผู้เรียน ให้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 กับโรงเรียนทุกโรงในเขตพื้นที่ จำนวน 26 โรง ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการประชาสัมพันธ์แจ้งโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ โดยจะมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการแล้ว ในปีงบประมาณ 2563 จำนวน 3 โรง เป็นแกนนำซึ่งได้รับการตอบรับการเข้าร่วมโครงการแล้ว จำนวน 15 โรง     

                           

วิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรีมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูและบุคลากร เข้าร่วมอบรม สัมมนา หลักสูตรหรือการเรียนรู้จากหน่วยงานต่างๆ ที่จัดขึ้นเป็นประจำ ได้ส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษา มีทักษะ อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น และมีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้หลัก 3R8C อย่างต่อเนื่อง เช่น ประกวดสุนทรพจน์ภาษาไทย ประกวดการผลิตสื่อด้านความซื่อสัตย์ ประกวดสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ ประกวดโครงงานวันวิทยาศาสตร์ และมีการสอดแทรกกระบวนการ Active Learning PLBL ลงในรายวิชาต่าง ๆ

 

 

 

 

       2)  ข้อค้นพบ / ปัญหาอุปสรรค

                       2.1 ครูสอนแยกเป็นรายวิชาตามหลักสูตรการศึกษาส่งผลให้การเรียนการสอนไม่ต่อเนื่อง ขาดความเชื่อมโยงในการนำไปใช้

                       2.2 การเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ส่งผลให้ระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอนไม่เพียงพอ  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบกลุ่ม                 และภาคปฏิบัติน้อยลง ผู้เรียนต้องเรียนด้วยตนเองที่บ้านซึ่งจากการนิเทศ ติดตาม พบว่า ทั้งผู้เรียนที่มี              ความพร้อมและไม่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีต่างไม่สามารถเรียนรู้ได้ตามมาตรฐานหลักสูตรการศึกษา

                       2.3 การเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ส่งผลให้ครูต้องเข้ารับการพัฒนาโดยการอบรมออนไลน์แทนการพัฒนาโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งมีผล ต่อการนำความรู้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

 

ด้านงบประมาณในการดำเนินงานเรื่องค่าใช้จ่ายในการนิเทศติดตาม มีจำนวนไม่เพียงพอ  

ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ พบว่า โรงเรียนมีความมุ่งมั่นตั้งใจในการเข้าร่วม และดำเนิน

กิจกรรมต่างๆ อย่างเต็มที่ ตามบริบทของแต่ละโรง แต่ยังคงมีปัญหา และอุปสรรคในเรื่องระบบ Internet                และสถานที่ในการจัดกิจกรรม และในปีงบประมาณ 2564 นอกจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ             โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แล้ว ยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ

              สถานประกอบการบางแห่งไม่ให้ความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และปัญหาของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ขาดบุคลากรประจำสาขาที่เป็นข้าราชการประจำ และขาดงบประมาณในการจ้างครู

ผู้เรียนมีพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษค่อนข้างต่ำ ผู้เรียนมีปัญหาด้านความพร้อมขาดอุปกรณ์สนับสนุนด้าน IT/ครูผู้สอนมีไม่เพียงพอ ครู้ผู้สอนขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ Active Learning PBL

 

 

      3)  วิธีการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

                        1. นิเทศ ติดตามให้สถานศึกษาเน้นจัดการเรียนการสอนที่มีการปฏิบัติเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียน                  มีทักษะในศตวรรษที่ 21 ในเวลาที่มีการเปิดเรียนที่สถานศึกษาให้มากขึ้นภายใต้มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

                        2. กำหนดตัวชี้วัดด้านการวัดและประเมินคุณลักษณะและทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่ชัดเจน              ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

     จากประเด็นปัญหาดังกล่าว จึงมีการวางแผนการดำเนินงานในการนิเทศติดตามให้คุ้มค่า และเกิดประโยชน์

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี โดยกลุ่มนิเทศ ติดตาม และ ประเมินผล

การจัดการศึกษา เล็งเห็นถึงความสำคัญ และความจำเป็นที่จะต้องขับเคลื่อนโครงการให้สามารถดำเนินการได้

และตอบสนองนโยบาย และนำนโยบายลงสู่การปฏิบัติให้ได้จึงได้ปรับรูปแบบ และวิธีการต่างๆ ให้เหมาะสม และเอื้อประโยชน์กับทางโรงเรียนให้มากที่สุด อาทิเช่น การนำเสนอโครงการ หรือการแนะนำความรู้ จะปรับรูปแบบจากการให้ครูมาประชุม ปรับเปลี่ยนโดยใช้ระบบการประชุมทางไกลผ่านระบบ Video Conferencesหรือเน้นการลงพื้นที่โดยตรงของศึกษานิเทศก์ เพื่อให้ข้อมูลที่จำเป็น และเสนอแนะแนวทาง โดยการแลกเปลี่ยน แบบกัลยาณมิตร

สถานศึกษาต้องตกลงทำความร่วมมือกับสถานประกอบการเพื่อจัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่เหมาะสม และอธิบายข้อดีและข้อเสีย ของการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีให้สถานประกอบการทราบ

    จัดอบรมเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน ให้ผู้เรียนมีการเพิ่มพูนทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพในสายวิชาชีพของตนเอง ผู้เรียนมีการสร้างนวัตกรรมในการเรียนขึ้นมาเป็นผลงานได้ ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์หลักสูตร นำไปสู่การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning PBL

 

 

 

                 4)  ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย (ถ้ามีโปรดระบุ)

                             กระทรวงศึกษาธิการมีการจัดทำตัวชี้วัดที่มีการวัดและประเมินเพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่ชัดเจนทั้งรายกลุ่มสาระการเรียนรู้และการบูรณาการ  รวมทั้งมีการยกตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้

      เพิ่มงบประมาณในการดำเนินงานเรื่องค่าใช้จ่ายในการติดเทศติดตาม

ของบประมาณในการดำเนินกิจกรรม เพื่อเป็นรางวัลในการจัดกิจกรรมประกวดแข่งขัน แลกเปลี่ยน

การเรียนรู้ เพื่อเป็นขวัญ และกำลังใจให้ผู้บริหาร ครและนักเรียน   

                สนับสนุนงบประมาณ และจัดทำรายงานการประชาสัมพันธ์ โครงการการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี

 

สนับสนุนงบประมาณในการจัดการเรียนการสอนที่เพียงพอและการเพิ่มปริมาณครูผู้สอนให้เพียงพอต่อความต้องการของแต่ละสถานศึกษา วางรากฐานการศึกษาด้านนี้ให้แน่นในขณะที่ผู้เรียนยังเรียนขั้นพื้นฐาน, สร้างเจตคติให้ผู้เรียนรู้สึกรักที่จะเรียนในวิชาภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ฯ

 

 

         5)  ปัจจัยความสำเร็จ  (ความโดดเด่น จุดแข็ง นวัตกรรม และเกิดประโยชน์หรือผลกระทบทางบวกแก่ผู้เรียน อย่างไรบ้าง  มีต้นแบบ หรือแบบอย่างที่ดี ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามนโยบาย หรือไม่ อย่างไร)

                     สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย เน้นให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้ในศตวรรษที่ 21 เช่น การทำโครงงานเพื่อพัฒนาองค์ความรู้การส่งเสริมการสร้างอาชีพ การค้าขายออนไลน์ การใช้สื่ออินเทอร์เน็ต เป็นต้น นอกจากทักษะ             ในศตวรรษที่ 21 แล้ว สถานศึกษายังปลูกฝังและสร้างคุณลักษณะของการเป็นคนดีในทุกยุคทุกสมัย    โดยการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตรในกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการกองทุนการศึกษา โครงการโรงเรียนสุจริต และมีการสร้างนวัตกรรมของครูผู้สอน เช่น นวัตกรรมคนดีที่โลกรอ เป็นต้น      

การดำเนินงานประสบความสำเร็จในตัวชี้วัดของการประเมินตัวชี้วัด ตามมาตรการปรับปรุง

ประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 2 (KRS)  ระดับ 5 คะแนน ระดับคุณภาพ

 

โครงการนี้เป็นโครงการที่ถือว่าสามารถดึงศักยภาพครูในการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองในเรื่อง

การสร้างสื่อ การเรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้น กอปรกับช่วงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส

โคโรนา 2019 (COVID – 19) ทำให้กิจกรรมที่ต้องดำเนินการในโครงการ เหมาะสมกับสถานการณ์ ครูได้มีการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน มีรูปแบบใหม่ๆ การสร้างคลิปวีดีทัศน์ในการจัดการเรียนการสอน นักเรียนมีความตื่นเต้น และมีความแปลกใหม่ได้เปิดประสบการณ์การเรียนรู้ และได้ฝึกตนเองในการขวนขวายหาความรู้ใส่ตัวในช่วง

ที่ไม่สามารถมาโรงเรียนได้   

การจัดการศึกษาระบบทวิภาคีส่งผลให้ ผู้เรียนได้เข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพในสถานประกอบการมีความรู้ ความสามารถ อย่างครบถ้วน ในวิชาชีพของตนเอง สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประกอบอาชีพได้ต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ และวิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรีทำ MOU กับสถานประกอบการในการส่งนักศึกษาเข้าฝึกงานในสถานประกอบการ นักศึกษาได้รับสวัสดิการที่ดี มีรายได้และมีงานรองรับหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกงาน

วิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรีมีการนิเทศการสอนของครู เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 และนำผลการนิเทศที่ต้องพัฒนาไปปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

 

          ๓.2  การพัฒนาครูให้มีทักษะความรู้และความชำนาญการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และภาษาอังกฤษ รวมทั้งการจัดการเรียนการสอน (Human Capital Excellence Center : HCEC)   

                 1) ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                     1. ส่งครูเข้ารับการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษ จำนวน 80 คน ประกอบด้วย ครูที่เคย        เข้าร่วมโครงการ Boot camp  ครูที่จบเอกภาษาอังกฤษ และครูที่สอนวิชาภาษาอังกฤษแต่ไม่ได้จบ           เอกภาษาอังกฤษ  ผลการทดสอบอยู่ระหว่างระดับ ต่ำกว่า A1B2

                     2. ส่งบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วย ผอ.สพท. รองผอ.สพท.  ผอ.กลุ่ม และศึกษานิเทศก์ จำนวน  22 คน  เข้ารับการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษ  ผลการทดสอบอยู่ระหว่างระดับ            ต่ำกว่า A1A2

                     3. ครูสอนภาษาอังกฤษ จำนวน 1 คน โรงเรียนวัดเขาวัง (แสง ช่วงสุวนิช) ซึ่งเป็นโรงเรียน   ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ คัดเลือกครูภาษาอังกฤษจากโครงการ “ส่งเสริมการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อ English Discoveries เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของครูและนักเรียนสู่สากล              ตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษา (CEFR)” โดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา                  ขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ บริษัท ไอที เอ็ดดูซอฟต์ จำกัด (IT Edusoft Co.,Ltd) ในการส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษออนไลน์ โดยใช้สื่อ English Discoveries

         ส่งผลให้ครูมีการพัฒนาทั้งวิชาชีพครู ซึ่งเป็นหัวใจของระบบการศึกษาเมื่อครูเก่งขึ้น รวมทั้งครู           มีการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยพัฒนาความสามารถทางภาษาของครูและผู้เรียน นอกจากนี้ครูยังมีการใช้แบบฝึกและแบบทดสอบที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพสำหรับการเรียนรู้อีกด้วย

     ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ แจ้งหนังสือให้สถานศึกษาในสังกัดที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อ English Discoveries (คัดเลือกจากครูผู้สอนภาษาอังกฤษทั่วประเทศ จำนวน ๖๐๐ คน) และแจ้งโรงเรียนคุณภาพชุมชน เพื่อส่งรายชื่อครูผู้สอนภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ให้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อ English Discoveries เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของครูและนักเรียน สู่สากลตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษา (CEFR)

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี  โดยศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และกลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้ประสานและสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ HCEC โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ จังหวัดราชบุรี  ให้ดำเนินการจัดสอบตามนโยบาย  ภารกิจที่ศูนย์บริหารงานการพัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (ศบศ.) หรือศูนย์ HCEMC : Human Excellence Management Center) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมาย  ได้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย วัตถุประสงค์ ที่กำหนด  ดังนี้

1.1)     การสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษ ตามมาตรฐาน CEFR ของครูผู้สอน

ภาษาอังกฤษ  (ทั้งในส่วนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 และ เขต 2)  จำนวน 2 รอบ  4 วัน รวมผู้เข้าสอบทั้งสิ้น 259 คน

     ทั้งนี้  ในส่วนของครูผู้สอนภาษาอังกฤษของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี  มีผู้เข้ารับการทดสอบ ๑๓๗ คน จากครูผู้สอนภาษาอังกฤษทั้งหมด 177 คน       คิดเป็นร้อยละ 77.40

1.2) การสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษ ตามมาตรฐาน CEFR ของครูผู้สอนบุคลากรทางการศึกษาและผู้บริหารเขตพื้นที่  (ทั้งในส่วนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 เขต 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 เขต 2 และเขต 4)  จำนวน 2 รอบ  2 วัน  รวมผู้เข้าสอบทั้งสิ้น 48 คน

การสอบบุคลากรทางการศึกษา รอบที่ 2 วันเสาร์ที่ 19 กันยายน 2563  
                      เป็นการจัดสอบรอบพิเศษ  สำหรับรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและศึกษานิเทศก์ ที่อยู่ในช่วงประเมินสัมฤทธิผลระยะ 1 ปี ซึ่งปัจจุบันปฏิบัติงานในจังหวัดราชบุรีและกาญจนบุรี  (ศูนย์ HCEC โรงเรียนวิสุทธรังษี ไม่ได้จัดสอบ) รวม 19 คน  ได้แก่ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  จำนวน 7 คน  และศึกษานิเทศก์  จำนวน 12 คน

 

1.3) การสอบ Digital Literacy  : วันเสาร์ที่ 4  ตุลาคม 2563

                  ได้รับมอบหมายจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ให้ดำเนินการจัดสอบ

ตามโครงการพัฒนาสมรรถนะครูแกนนำตามมาตรฐานอาชีพด้านทักษะ ความเข้าใจ และการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy)  สำหรับครูผู้สอนคอมพิวเตอร์ ระดับมัธยมศึกษา และครูผู้สอนคอมพิวเตอร์  ที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำศูนย์ HCEC (ครูผู้เข้าสอบจากโรงเรียนในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี) จำนวน  60 คน  เข้าสอบจริง จำนวน 58 คน
วิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรีได้ขับเคลื่อนการเรียนการสอน และได้รายงาน HCEC ตามแบบของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในการประเมินแต่ละแผนก จัดอบรมครูเพื่อพัฒนาทักษะความรู้ และความชำนาญการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สถานศึกษาจัดจ้างครูต่างประเทศเพื่อจัดการเรียนการภาษาอังกฤษให้นักเรียน นักศึกษา

          สำนักงาน กศน.จังหวัดราชบุรี ได้จัดโครงการพัฒนาบุคลากรด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา ดังนี้

                             1. โครงการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล หลักสูตรการเข้าใจ Digital Literacy                     การใช้โปรแกรมสำนักงานเพื่อสร้างโอกาสมีงานทำ และ หลักสูตร E – Commerce ให้กับครู กศน.ตำบล จำนวน 104 คน ให้มีความสามารถด้านการใช้โปรแกรมต่าง ๆ รวมทั้งเป็นวิทยากร ครู ค ในการนำร่องกิจกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สู่ชุมชนในการเปิดร้านค้าออนไลน์ และนำความรู้ไปขยายผลเศรษฐกิจดิจิทัลให้แก่ประชาชน

                             2. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการห้องเรียนออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะการเรียน           การสอน สำหรับครู กศน.อำเภอเมืองราชบุรี และครูประกลุ่ม ให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในการทำงานกับ Google Classroom ในการจัดการเรียนการสอนทั้งในบทบาทของผู้เรียนและผู้สอนได้จริง และพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนให้สูงขึ้น

 

 

 

 

              2) ข้อค้นพบ / ปัญหาอุปสรรค

                 1. ระบบและอุปกรณ์สำหรับทดสอบ สามารถรองรับการทดสอบได้ดี

                 2. การประสานงานในการทดสอบมีระยะเวลาเร่งด่วน  ทำให้บางคนไม่สามารถมารับการทดสอบได้

                 3. ยังไม่มีแนวทางการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของศูนย์ HCEC

     - กลุ่มนิเทศฯ ได้เปลี่ยนผู้รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ทำให้การดำเนินงานไม่ต่อเนื่อง

      2.1) ด้านการดำเนินงาน  จากการเริ่มต้นการดำเนินงานที่ไม่เป็นระบบเท่าที่ควรของ

ส่วนกลาง  ส่งผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของเขตพื้นที่และสถานศึกษา ไม่เข้าใจ

ความเป็นมา วัตถุประสงค์ บทบาทหน้าที่ของศูนย์ HCEC  ซึ่งส่วนใหญ่ใช้การสื่อสารหรือสั่งการทางไลน์กลุ่มที่ตั้งขึ้นเพื่อประสานตรงกับครูผู้สอนภาษาอังกฤษที่เป็นผู้จัดการศูนย์ ERIC  โดยไม่ได้ชี้แจงแก่ผู้รับผิดชอบในระดับเขตพื้นที่ก่อน  จึงเกิดความสับสนในการปฏิบัติ

      2.2) ด้านการสร้างความรับรู้ ความเข้าใจแก่ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน ของเขตพื้นที่และ

สถานศึกษา ยังไม่ครอบคลุม  เช่น การประชุมเปิดศูนย์ HCEC นำร่อง ณ โรงเรียนสตรีวิทยา 2 โดยไม่ได้เชิญผู้บริหารหรือผู้ประสานงานระดับเขตเข้าร่วมด้วย  ซึ่งส่งผลต่อการขับเคลื่อนนโยบาย 

      2.3) การจัดสรรและการใช้จ่ายงบประมาณของศูนย์ HCEC  มีระยะเวลากระชั้นชิดมาก

กำหนดแนวการเบิกค่าใช้จ่ายไม่รัดกุม ส่งผลให้ไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายในการเตรียมการและการจัดสอบให้แก่

ผู้ที่ปฏิบัติงานจัดของศูนย์ HCEC ในช่วงวันหยุดทำการได้

      2.4) การประสานงานระหว่างส่วนกลาง (สพฐ.) บริษัทผู้จัดสอบ (Provider)  เขตพื้นที่

และศูนย์ HCEC ไม่เป็นระบบ  โดยให้เขตพื้นที่และศูนย์ HCEC ประสานกับเจ้าหน้าที่บริษัทผู้จัดสอบเอง

ซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจในบริบทของครูผู้สอนและการดำเนินงาน

      2.5) การแจ้งการสอบที่กระชั้นชิดจนเกินไป กระทบกับการปฏิบัติงานของศูนย์ HCEC

ซึ่งเป็นโรงเรียนหน่วยปฏิบัติที่มีแผน/ปฏิทินดำเนินงานอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว

      2.6) การจัดครูเข้าสอบ  ทาง สพฐ. ให้บริษัทที่จัดสอบสุ่มเลือกครูภาษาอังกฤษเข้ารับ

การทดสอบเองจากฐานข้อมูลเก่าที่ สพฐ. มี  ซึ่งมีทั้งครูที่เกษียณ /ใกล้เกษียณอายุราชการ เจ็บป่วยร้ายแรง  ย้ายโรงเรียน/เขตพื้นที่แล้ว ทำให้ศึกษานิเทศก์ต้องพยายามประสานเปลี่ยนครูเข้าสอบใหม่  เป็นการทำงาน

ที่ซ้ำซ้อน เร่งด่วน  อีกทั้งการแจ้งสอบล่าช้า ทำให้ครูส่วนใหญ่ไม่ได้เตรียมตัวล่วงหน้า ส่งผลให้ครูขาดสอบจำนวนหนึ่ง  รัฐสูญเสียงบประมาณ  และผลการสอบของครูไม่ดีเท่าที่ควร 

ผู้เรียนหลายคนขาดความพร้อมเนื่องจากฐานะทางบ้านยากจนทำให้ไม่มีความพร้อมในเรื่องของอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเรียนรู้

                             สำนักงาน กศน.จังหวัดราชบุรี สามารถพัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้จัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีได้อย่างชาญฉลาด แต่ปัญหา พบว่า ครูบางคนไม่สามารถทำความเข้าใจและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีความแตกต่างเฉพาะบุคคล และความต่างทางด้านการเรียนรู้

 

 

              3) วิธีการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

                  1. ควรวางแผนการดำเนินการตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ มีระยะเวลาในการเข้ารับการทดสอบ สำหรับบุคลากรให้ครอบคลุมและทั่วถึง

                  2. ประกาศแนวนโยบายที่ชัดเจน เมื่อรับการทดสอบแล้ว จะพัฒนาต่อเนื่องอย่างไร

3.1) ผู้รับผิดชอบระดับเขตพื้นที่ได้ดำเนินการประสานงานระหว่างผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ

ทุกฝ่าย เพื่อสร้างความรับรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับศูนย์ HCEC บทบาทหน้าที่  และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  ด้วยรูปแบบ วิธีการหลากหลายช่องทาง  ทั้งช่องทางที่เป็นทางการโดยหนังสือราชการ  เอกสารประชาสัมพันธ์  การชี้แจงในที่ประชุมผู้บริหารสถานศึกษา  และการสื่อสารทางสื่อสังคมออนไลน์  เป็นต้น

 

     3.2) ประสานงานด้านการจัดครูและบุคลากรทางการศึกษา เข้ารับการทดสอบ

ความสามารถด้านภาษาอังกฤษตามมาตรฐาน CEFR  ผ่านทางศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบการเรียนการสอน

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศของทุกเขตพื้นที่การศึกษาในเขตพื้นที่บริการของศูนย์ HCEC  ทั้งแบบเป็นทางการและส่วนตัว 

     3.3) ในส่วนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี  ได้พิจารณาจัดครู

เข้าสอบทดแทนครูที่เกษียณ /ใกล้เกษียณอายุราชการ เจ็บป่วยร้ายแรง  ย้ายโรงเรียน/เขตพื้นที่แล้ว โดยประสานเป็นการส่วนตัว  เพื่อให้ได้ข้อมูล  ความพร้อมในการเข้าสอบที่ชัดเจนมากที่สุด 

              จัดอบรมวิธีการใช้เทคโนโลยีใหม่ให้กับครูที่เริ่มเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน

                             สถานศึกษาในสังกัดสามารถแก้ปัญหาโดยการรวมกลุ่มครูในการปฏิบัติงานหรือ เพื่อนครูช่วยเพื่อนครู หรือการแบ่งงานทำเป็นทีม เพื่อแก้ปัญหาของการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

 

 

 

              4) ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารในการดำเนินการตามนโยบาย

      - ผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน 

                 4.1) การวางแผนดำเนินการในระยะต่อไปอย่างเป็นระบบ  มีการชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจ

แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ ทุกฝ่าย  รวมทั้งกำหนดแนวทางการดำเนินงานและปฏิทินปฏิบัติงานที่ชัดเจน  ในช่วงเวลา

ที่เหมาะสม ไม่กระชั้นชิด  จนส่งผลกระทบต่อฝ่ายปฏิบัติของเขตพื้นที่ ศูนย์ HCEC ครูผู้สอน และสถานศึกษา จนเกินไป  อีกทั้ง ครูผู้สอนจะได้มีเวลาเตรียมความพร้อมในการเข้าสอบอย่างเต็มที่

                4.2) การจัดครูเข้าสอบ  ส่วนกลางควรกำหนดเพียงจำนวนโควตาผู้เข้าสอบที่เหมาะสมของแต่ละเขตพื้นที่  และให้เขตพื้นที่ซึ่งมีข้อมูลสารสนเทศของครูที่เป็นปัจจุบันที่สุด  ดำเนินการพิจารณาจัดครูเข้ารับการทดสอบเอง  ซึ่งจะช่วยให้ได้ครูมีความพร้อมในการเข้าสอบมากยิ่งขึ้น

                             อยากให้มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาอุปกรณ์เทคโนโลยีให้เพียงพอสำหรับครูผู้สอนใช้สำหรับจัดการเรียนการสอน มีงบสนับสนุนงบประมาณสำหรับจัดอบรมครู

จากปัญหาและการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น มีข้อเสนอแนะให้ผู้บริหารเป็นฝ่ายอำนวย

ความสะดวก และฝ่ายสนับสนุนการดำเนินงานอย่างเต็มที่ รวมทั้งกำกับติดตามผลการนำความรู้ไปใช้หลังจากได้รับการพัฒนาของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้ครูสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ในการ    จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

 

 

           5) ปัจจัยความสำเร็จ (ความโดดเด่น จุดแข็ง นวัตกรรม และเกิดประโยชน์หรือผลกระทบทางบวก

แก่ผู้เรียน อย่างไรบ้าง มีต้นแบบ หรือแบบอย่างที่ดี ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามนโยบายหรือไม่อย่างไร)

              การจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน เช่น การเข้าค่าย ภาษาอังกฤษ โดยมีวิทยากรที่เป็นเจ้าของภาษาให้ความรู้ และจัดกิจกรรม เพื่อให้คุ้นเคยกับเจ้าของภาษา และเป็นการสร้างเจตคติที่ดีเพื่อเป็นการนำไปสู่ทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน ของผู้เรียนต่อไป

 

                              - ครูผู้สอนให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการเป็นอย่างดี

      5.1) ในส่วนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี  ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  ได้พยายามพิจารณาจัดครูเข้าสอบทดแทนครูที่เกษียณ /ใกล้เกษียณอายุราชการ เจ็บป่วยร้ายแรง  ย้ายโรงเรียน/เขตพื้นที่แล้ว (ตามที่มีรายชื่อมาจากส่วนกลาง)  โดยใช้การประสานครูผู้สอนทุกคนโดยตรงร่วมกับการใช้หนังสือราชการ  เพื่อยืนยัน  ความพร้อมของครูที่จะเข้าสอบให้ได้มากที่สุด  รวมทั้งกระตุ้น สร้างความตระหนักให้แก่ครูผู้สอน  ในการเข้ารับการทดสอบในระบบสอบที่เป็นมาตรฐานสากล  เพื่อจะได้ทราบพื้นฐานความรู้และสามารถวางแผนพัฒนาหรือยกระดับความสามารถด้านภาษาอังกฤษของตนเอง

ได้อย่างมีเหมาะสม มีคุณภาพต่อไป

                  จากการดำเนินงานดังกล่าว  ส่งผลให้ครูผู้สอนภาษาอังกฤษของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี  ที่มีรายชื่อเข้าสอบ 134 คน ได้เข้ารับการทดสอบ 133 คน  โดยขาดสอบด้วยเหตุสุดวิสัยเพียง 1 คน

                5.2) ครูผู้สอนภาษาอังกฤษ  มีความตระหนัก และตื่นตัวในการพัฒนาสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษมากขึ้น

บุคลากรในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรี ได้รับการพัฒนาศักยภาพอยู่เสมอจึงทำให้นักเรียนนักศึกษาได้รับรู้สิ่งใหม่ๆ จากครูผู้สอน และเกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนเป็นอย่างดี


 บันทึข้อมูลโดย: นายนิรุทธิ์ อุทาทิพย์