ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 21 มิถุนายน 2564

ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม

๔.1  การใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ และใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (Digital Education Excellence Platform : DEEP)   

1) ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                   การขับเคลื่อนระดับเขตพื้นที่เป็นการส่งเสริมสนับสนุนการใช้ Platform เพื่อการศึกษา      เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ ครู และบุคลกรทางการศึกษาในสังกัดใช่ในสถานการณ์                     การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษา สามารถเลือกใช้ได้              ตามความสนใจ

   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2  ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาแพลตฟอร์มด้านการศึกษา  เพื่อความเป็นเลิศ  Digital Education Excellence Platform  หรือ DEEP ในการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์  มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ออนไลน์ สำหรับคนไทยทุกคน  นักเรียนสามารถเรียนออนไลน์ได้ทุกที่ ทุกเวลา ครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถเรียนรู้  พัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ  จึงขับเคลื่อนให้โรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษา ๑ – 3 ให้เตรียมการจัดการเรียนการสอน  ดังนี้

                   ๑. แต่งตั้งผู้ดูแลระบบ DEEP  ระดับโรงเรียนอย่างน้อยโรงเรียนละ ๑ คน

                   ๒. แต่งตั้งนายทะเบียนข้อมูลสารสนเทศ  อย่างน้อยโรงเรียนละ ๑ คน

๓. ให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – 3 ทุกคน  ลงทะเบียนเข้าใช้งานระบบ DEEP  ใน

วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ โดยดำเนินการตามกำหนดการและขั้นตอนการลงทะเบียนเข้าใช้งานระบบ DEEP

                   ๔. โรงเรียนแจ้งชื่อผู้ดูแลระบบ นายทะเบียนข้อมูลสารสนเทศ และรายชื่อนักเรียนระดับมัธยมศึกษา  ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 ทราบ โดยแจ้งทาง Google form ผ่าน QR CODE  ภายในวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๓ 

การใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ และใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (Digital Education Excellence Platform : DEEP)  ถือเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยสร้างความเท่าเทียมของระบบการศึกษา สร้างความยืดหยุ่นในการเรียนการสอนมากขึ้น ซึ่งเป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่มีหลักสูตรต่างๆ รองรับ โดยผู้เรียนสามารถเลือกหัวข้อเรียนตามสมรรถนะที่ต้องการพัฒนาได้ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของนักเรียน คุณครู และผู้บริหารสถานศึกษา ที่สำคัญจะเป็น    การตอบโจทย์สมรรถนะของบุคลากรทุกคน สามารถเข้ามาเรียนเพื่อการเพิ่มทักษะของตนเอง (Re-skill) ได้เช่นกัน เพราะ DEEP เป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้ตลอดชีวิต”

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี  โดยศึกษานิเทศก์กลุ่มงานพัฒนาสื่อฯ

ซึ่ง ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบภารกิจดังกล่าว  ได้ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

1.1)      ชี้แจงการนำนโยบายหน่วยงานต้นสังกัดสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา ผ่านระบบหนังสือ

ราชการ  และการประชุมผู้บริหาร

1.2)      ประสาน ชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน กำกับ ติดตาม อำนวยความสะดวก และ

แจ้งข้อมูล ข่าวสารที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานจากส่วนกลาง  ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ ทุกฝ่าย เช่น  การสื่อสารกับผู้ดูแลผู้ใช้งานระบบ DEEP ระดับโรงเรียน  ผ่านไลน์กลุ่ม “ผู้ดูแลระบบ DEEP สถานศึกษา” ของ สพม.8 (ในขณะนั้น)  ร่วมกับการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์  ผ่านทาง Facebook Page กลุ่มนิเทศ ติดตามฯ  นอกเหนือจากการสื่อสารแบบปกติทางระบบงานสารบรรณระหว่างเขตพื้นที่กับสถานศึกษา (My Office)

1.3)      ติดตาม กำกับ ดูแล ช่วยแก้ไขปัญหาการดำเนินงานของผู้ดูแลผู้ใช้งาน ระดับโรงเรียน

 ในการลงทะเบียนผู้ใช้งาน (User) ทั้งในส่วนของนักเรียนและครูผู้สอน
                                    1.4) ประชาสัมพันธ์  เชิญชวนให้ครูเข้าใช้ประโยชน์ในการพัฒนาความรู้ ทักษะ ด้านดิจิทัล  จากบทเรียนออนไลน์ในระบบ DEEP

1.5) จำนวนผู้ใช้งาน (User) ในระบบ DEEP ของเขตพื้นที่และสถานศึกษาในสังกัด

(รวมจำนวน 55 โรงเรียน จังหวัดราชบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี)  ณ วันที่ 5 มีนาคม 2564 

วิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรีได้ขับเคลื่อนนโยบายการใช้แพลตฟอร์ม ดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้และใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาด้านการศึกษาง่ายต่อการรับข้อมูลดิจิทัล โดยใช้โปรแกรมประยุกต์ Microsoft Team, Google Classroom, Zoom, Live  และการอบรมครูผู้สอนในเรื่องของเทคนิควิธีการสอนแบบออนไลน์ในช่วงวิกฤตโควิด – 19 เชื้อโรคระบาด

สถานศึกษาในสังกัดสำนักงาน กศน.จังหวัดราชบุรี ได้ดำเนินการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ โดยใช้ห้องเรียนออนไลน์ Google classroom  พบกลุ่มโดย แอปพลิเคชัน Meet , Zoom Meeting , Microsoft Team และจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ณ ศูนย์ดิจิทัลชุมชนของ กศน.ตำบล สำหรับการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ออนไลน์ ได้แก่ แอปพลิเคชันห้องสมุดมือถือ กศน.จังหวัดราชบุรี  ระบบเชื่อมโยงแหล่งการเรียนรู้ โดยส่งเสริมให้นักศึกษามีการใช้เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและส่งผลให้ผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

               2) ข้อค้นพบ/ปัญหาและอุปสรรค

                   ครูผู้สอนส่วนใหญ่มีการใช้ระบบ Classroom อยู่แล้วทั้งในส่วนของ Microsoft และ Google รวมถึง Application อื่น เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนช่วงเวลาปกติ และช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

   1. ครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีการเลือกใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น

   2. ครูมีการศึกษาดิจิทัลแพลตฟอร์มการเรียนการสอนที่มีหลักสูตรต่างๆ และนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น

 

     2.1) ด้านเทคนิค  ระบบ DEEP ยังคงอยู่ระหว่างการพัฒนา ยังไม่พร้อมต่อการให้บริการ

พบว่ามีข้อจำกัดต่างๆ  เช่น

                   - ระบบการลงทะเบียนผู้ใช้งานมีความยุ่งยาก เนื่องจากใช้ข้อมูลข้าราชการครูและนักเรียนจากฐานข้อมูล DMC ที่ไม่ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน  ทำให้การลงทะเบียนผู้ใช้งานค่อนข้างยุ่งยากหรือไม่สามารถลงทะเบียนได้  เนื่องจากต้องเทียบความถูกต้องกับฐานข้อมูลเดิมที่มีอยู่ในระบบ รวมทั้งนักเรียนรหัส G และครูต่างชาติ  ยังไม่สามารถลงทะเบียนผู้ใช้งานได้  การลงทะเบียนผู้ใช้งานตามจำนวนนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา  จึงยังไม่ครบถ้วน

                   - ไม่มีระบบการกรองข้อมูลผู้ใช้งานในระดับเขตพื้นที่  ทำให้ยากต่อการแก้ไข ปรับปรุง  หรือตรวจสอบข้อมูลในระดับเขตพื้นที่ได้ 

2.2) ด้านความตระหนัก  ผู้ใช้งาน  ยังไม่ตระหนักหรือเห็นประโยชน์จากการใช้งาน

ระบบ DEEP  เนื่องจากระบบยังไม่พร้อมต่อการให้บริการ

2.3) ด้านภาระงาน   โรงเรียนมีความกังวลต่อภาระงานที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งาน

ระบบ DEEP  เนื่องจากหลายโรงเรียนมีระบบการสอนออนไลน์ของโรงเรียนอยู่แล้ว  และเกรงว่าระบบ DEEP จะเพิ่มภาระงานให้กับครูผู้สอนมากขึ้น  หรือเป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อน  (ส่งผลต่อเจตคติของผู้ใช้งาน)

                   2.4) การดำเนินงานขับเคลื่อนจากส่วนกลางที่ไม่ต่อเนื่อง  ระบบที่ยังไม่สมบูรณ์ ทำให้โรงเรียนไม่เห็นความสำคัญหรือประโยชน์  การกระตุ้นของเขตพื้นที่ทำได้จำกัดเพราะไม่สามารถให้คำตอบ

ที่ชัดเจนแก่โรงเรียนได้

ในการเรียนการสอนของอาชีวศึกษารายวิชาส่วนใหญ่เป็นการเรียนปฏิบัติ ทำให้ผู้เรียนเสียโอกาสเรียนปฏิบัติระหว่างเรียนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์ Covid-19 ครูบางท่านยังไม่มีความชำนาญในการใช้เครื่องมือการเรียนการสอนออนไลน์ และนักเรียนนักศึกษาอยู่ห่างไกลสัญญาณไม่มีระบบอินเตอร์เน็ตและบางคนไม่มีโทรศัพท์เพื่อใช้ในการเข้ากลุ่มเรียนออนไลน์

                   นักศึกษาบางรายไม่มีอุปกรณ์ในการเข้าถึงการเรียนการสอน และการสืบค้นข้อมูลทำให้นักศึกษาไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อออนไลน์ได้

 

 

                3) วิธีการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

                     ปัญหาที่ค้นพบสวนหนึ่งคือการ Link จาก Platform DEEP ออกมายัง Microsoft หรือ Google แล้วมีปัญหา หลายโรงเรียนใช้วิธีการเข้า ผ่าน Microsoft หรือ Google โดยตรง

 

                       สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 จัดทำคู่มือการใช้งาน DEEP เพื่อนำไปใช้เป็นเอกสารประกอบการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

3.1) ชี้แจง  ประชาสัมพันธ์ให้โรงเรียนเข้าใจในนโยบายผ่านการประชุมผู้บริหาร หรือการสื่อสารกับผู้ดูแลผู้ใช้งานระดับโรงเรียน  ให้ใช้ประโยชน์จากระบบในส่วนที่ได้พัฒนาเพิ่มเติมบ้างแล้ว เช่น วีดีโอแนะนำการทดสอบภาษาอังกฤษตามมาตรฐาน CEFR   ทักษะ ความเข้าใจด้านดิจิทัล  เพื่อพัฒนาสมรรถนะหลัก  หรือบทเรียนในเรื่องอื่นๆ ที่เป็นสมรรถนะจำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน  เป็นต้น

               3.2) เข้าร่วมเครือข่ายผู้ดูแลผู้ใช้งานระดับเขตพื้นที่  เพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร  และขอคำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือในการปฏิบัติงาน

               จัดหาคู่มือ/สื่อวิธีการเรียนการสอนออนไลน์สำหรับครูที่ยังไม่ชำนาญในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และให้ครูทำรายงานผลการสอน

สถานศึกษาให้นักศึกษาลงทะเบียนขอใช้อุปกรณ์จากศูนย์ดิจิทัลชุมชน กศน.ตำบลในพื้นที่ของตนเองเป็นรายครั้งเพื่อใช้ในการสืบค้นข้อมูลและเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ตามที่สถานศึกษากำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

                4) ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย (ถ้ามีโปรดระบุ)

                            ควรมีการจัดทำคู่มือการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ และใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาด้านการศึกษาให้กับครูและผู้บริหาร เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งาน

      4.1) การจัดทำปฏิทินการดำเนินงานพัฒนาระบบ  และแจ้งแนวปฏิบัติที่ชัดเจนให้แก่เขตพื้นที่ สถานศึกษาได้ทราบในระยะต่อไป 

                  4.2) จัดทำช่องทางการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ที่เป็นทางการ มีข้อมูล ข่าวสารเป็นปัจจุบัน  และมีผู้รับผิดชอบในการประสานงาน  ตอบคำถามอย่างรวดเร็ว ชัดเจน 

                  4.3) จัดทำคู่มือการใช้งานระบบ DEEP  ที่สอดคล้องตามการพัฒนาระบบ

                  รูปแบบแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ และใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (Digital Education Excellence Platform : DEEP) มีการออกแบบรูปแบบการใช้งานที่ยังไม่สอดคล้องกับการเรียนการสอนของอาชีวศึกษา

หน่วยงาน/สถานศึกษาควรมีการสำรวจความพร้อมของนักศึกษาในการจัดกิจกรรม
การเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ก่อนดำเนินการจัดกิจกรรม

 

 

                5) ปัจจัยความสำเร็จ (ความโดดเด่น จุดแข็ง นวัตกรรม และเกิดประโยชน์หรือผลกระทบทางบวกแก่ผู้เรียน อย่างไรบ้าง มีต้นแบบ หรือแบบอย่างที่ดี ที่เกิดขึ้นจากาการดำเนินการตามนโยบายหรือไม่อย่างไร)

                    สถานศึกษาที่มีการดำเนินการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ  ผ่าน G-Suite หรือ Microsoft Team ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนขยายโอกาสในเมืองที่นักเรียนมีอุปกรณ์รองรับการจัดการเรียนการสอนแบบ Online

                            ครูสามารถนำแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ และใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาด้านการศึกษาได้มากขึ้น

                          นักเรียนได้มีช่องทางการเรียนรู้ที่เพิ่มมากขึ้น

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ครูได้มีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ และสำนักงาน กศน. ได้จัดทำสื่อการศึกษาออนไลน์   ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรต่อเนื่อง    ด้านอาชีพ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่นักศึกษา กศน. โดยสถานศึกษาสามารถสแกน QR Code หรือรับชม ผ่านเว็บไซต์กลุ่มพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และ Youtube ช่อง pattana channel และการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย  ให้สถานศึกษาดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ เช่น แอปพลิเคชันห้องสมุดมือถือ กศน.จังหวัดราชบุรี  ข่าวสารความรู้ออนไลน์ กิจกรรมตอบคำถามออนไลน์ เป็นต้น

 

 

          ๔.2 การจัดการศึกษาเด็กปฐมวัย  

       ๑)  ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 ได้ดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา และขยายการเข้าถึงการบริการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ทั่วถึงครอบคลุมนักเรียนให้ได้รับโอกาส                          ในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ และมีคุณภาพด้วยการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยโดยจัดทำโครงการ/กิจกรรม สำคัญ ๆ ดังนี้

            1. โครงการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560

                        สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 ได้ประเมินพัฒนาการนักเรียนปฐมวัยซึ่งเป็นโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 15 โรงเรียน ประกอบด้วยโรงเรียนประจำจังหวัด จำนวน 1 โรงเรียน  โรงเรียนอนุบาลประจำเขตพื้นที่ฯ จำนวน 1 โรงเรียน โรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบ จำนวน  โรงเรียน                และโรงเรียนทั่วไป ที่จัดการศึกษาปฐมวัยทุกโรงเรียนในสังกัด เพื่อประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาของนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 โดยผู้เรียนในระดับปฐมวัย ปีการศึกษา 2562 (31 มีนาคม 2563) ทั้งหมด จำนวน 3,415 คน  จำแนกเป็น

1.1    ผู้เรียนปกติ  จำนวน  3,414 คน    

   1.2  ผู้เรียนที่มีความบกพร่อง  จำนวน 1 คน  

                        นักเรียนปฐมวัยมีพัฒนาการด้านร่างกายคิดเป็น ร้อยละ 99.44  พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ คิดเป็น ร้อยละ 99.44 พัฒนาการด้านสังคมคิดเป็น ร้อยละ 99.53 พัฒนาการด้านสติปัญญา คิดเป็น                ร้อยละ 99.36 ตรงตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ผู้เรียนปกติ ผลการประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ผ่านเกณฑ์การประเมินพัฒนาการคุณภาพระดับ 3                    ทั้ง 4 ด้าน จำนวน 3,391 คน คิดเป็นร้อยละ 99.33

        2. โครงการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย

                         สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของนโยบายการจัดการศึกษาดังกล่าว  ได้ดำเนินงานการจัดการศึกษาปฐมวัยเพื่อให้เกิดการพัฒนาการศึกษาปฐมวัยให้มีประสิทธิภาพพร้อมต่อยอดการศึกษาปฐมวัยสู่มาตรฐานสากล โดยพัฒนาบุคลากร              ทางการศึกษาปฐมวัย ได้แก่ ผู้บริหาร ครู พ่อแม่ ผู้ปกครองและชุมชนให้เข้มแข็งตลอดจนพัฒนา สื่อ อุปกรณ์  แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรมการศึกษาปฐมวัย และพัฒนาโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบและเครือข่าย ส่งเสริม  สนับสนุน สร้างความเข้มแข็งให้กับโรงเรียนทางด้านวิชาการทั้งนี้ เพื่อวางรากฐานการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาตั้งแต่ปฐมวัย เพื่อให้การดำเนินงานการศึกษาปฐมวัยมีการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมและ          มีคุณภาพนำไปสู่การวางรากฐานการศึกษาปฐมวัยที่เข้มแข็ง โดยมีผลดำเนินงานดังนี้

              2.1 สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียนสอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

 

              2.2 โรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบเครือข่ายเป็นแหล่งวิชาการด้านปฐมวัยและ                     มีความเข้มแข็ง

               2.3 พ่อแม่ ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจสามารถเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม                ตามวัย

               2.4  ครูปฐมวัยจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ

              2.5  นักเรียนปฐมวัยมีพัฒนาการตามวัย

              2.6 โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายได้รับการนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัยและประเมินผล

         3. โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย

                         สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 ได้ดำเนินงานตามโครงการ                             บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย พบว่าครูปฐมวัยมีปัญหาด้านองค์ความรู้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์                และการเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญในการดำเนินงานโครงการ                           บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย จึงพัฒนาครูเพื่อพัฒนาความรู้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ลักษณะนิสัยของนักวิทยาศาสตร์ ให้ครูสามารถจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยได้อย่างมีคุณภาพ    พร้อมทั้งส่งเสริมจินตนาการของเด็กให้รักการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ตามธรรมชาติวิทยาศาสตร์                   นำผลการประเมินมาพัฒนา และมีความตั้งใจในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ด้วยใจนักวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่องและมีความสุข โดยมีผลการดำเนินงานดังนี้

              3.1 ครูปฐมวัยที่ได้รับการพัฒนาสามารถจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ถ่ายทอดความรู้ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง

              3.2 เด็กปฐมวัยของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

               3.3 โรงเรียนที่เข้าร่วมกับการประเมินเพื่อรับตราพระราชทานผ่านการประเมินและได้รับตราพระราชทานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทยจำนวน 75 โรงเรียน

               3.4 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างต่อเนื่อง และตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ               สยามบรมราชกุมารี

               3.5 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้รับการนิเทศติดตามการดำเนินงานโครงการ                บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย

    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 ได้วางแนวทางในการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสม และสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษาการพัฒนาคุณภาพเด็กในช่วงปฐมวัย เพื่อให้สถานศึกษาและครู มีแนวปฏิบัติพื้นฐานนำไปใช้พัฒนาการจัดการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กทุกคนมีพัฒนาการที่ดีเหมาะสมกับวัย ทั้งทางร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สอดคล้องกับหลักการพัฒนาศักยภาพของแต่ละบุคคล สร้างให้เด็กมีคุณลักษณะมีอุปนิสัยใฝ่ดี มีคุณธรรม มีวินัย ใฝ่รู้ มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถซึมซับสุนทรียะและวัฒนธรรมด้วยการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัย โดยจัดทำโครงการ/กิจกรรม สำคัญ ๆ ดังนี้

                        1. กิจกรรม การศึกษาติดตามผลการประเมินพัฒนาการ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ตามมาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์รายด้านในระดับดีของการศึกษาปฐมวัยโดยผู้เรียนในระดับปฐมวัย ปีการศึกษา 2562 (31 มีนาคม 2563) ทั้งหมด จำนวน 2,222 คน จำแนกเป็นพัฒนาการด้านร่างกายคิดเป็นร้อยละ 91.09 พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ คิดเป็นร้อยละ 93.47 พัฒนาการด้านสังคมคิดเป็นร้อยละ 92.53 พัฒนาการด้านสติปัญญา คิดเป็นร้อยละ 79.34 ตรงตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ผลการประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ผ่านเกณฑ์การประเมินพัฒนาการคุณภาพระดับ 3 ทั้ง 4 ด้าน จำนวน 2,024 คน คิดเป็น ร้อยละ 98.96

2. ประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560

    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนปฐมวัย ปีงบประมาณ 2564 ขึ้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ปีการศึกษา 2563 โดยประเมินพัฒนาการนักเรียนปฐมวัยซึ่งเป็นโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 11 โรงเรียน  โรงเรียนอนุบาลประจำเขตพื้นที่ฯ จำนวน  1 โรงเรียน โรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบ จำนวน 3โรงเรียน และโรงเรียนทั่วไปที่จัดการศึกษาปฐมวัยในสังกัด จำนวน 7 โรงเรียน เพื่อประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาของนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ปีการศึกษา 2563 (อยู่ระหว่างดำเนินการ)

3. โครงการ ส่งเสริมพัฒนาการและพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัย

                            สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 ได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการและพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาครูผู้สอนปฐมวัยให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย  พุทธศักราช 2560 ดังกล่าวไปพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีความพร้อมในด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา อย่างเหมาะสมตามวัยและพัฒนาการเด็กอย่างองค์รวมโดยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ครูผู้สอนปฐมวัยเข้าใจหลักการของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และสามารถพัฒนา ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยได้ถูกต้องตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560

                  2. เพื่อให้ครูผู้สอนปฐมวัยสามารถจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560  โดยใช้การสอนตามแนว Active learning ได้

                  3. เพื่อให้ครูผู้สอนปฐมวัยสามารถเลือกหรือสร้างเครื่องมือประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย ได้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560  โดยมีผลดำเนินงานดังนี้

                       3.1 สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียน สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัยและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                        3.2 โรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบเครือข่าย เป็นแหล่งวิชาการด้านปฐมวัยและมีความเข้มแข็ง

                        3.3 พ่อแม่ ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจสามารถเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสมตามวัย

3.4 ครูปฐมวัยจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ

                        3.5 นักเรียนปฐมวัยมีพัฒนาการตามวัย

                        3.6 โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายได้รับการนิเทศติดตามการจัดการศึกษาปฐมวัยและประเมินผล

4. โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ปีงบประมาณ 2563  

    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 ได้ดำเนินงานตามโครงการ                             บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 โดยได้พัฒนาครูเพื่อพัฒนาความรู้  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ลักษณะนิสัยของนักวิทยาศาสตร์ ให้ครูสามารถจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยได้อย่างมีคุณภาพ พร้อมทั้งส่งเสริมจินตนาการของเด็กให้รักการเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้ตามธรรมชาติวิทยาศาสตร์ นำผลการประเมินมาพัฒนา และมีความตั้งใจในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ด้วยใจนักวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่องและมีความสุข โดยมีผลดำเนินงาน ดังนี้

                                4.1 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ผ่านการประเมินผลงานการดำเนินการจัดกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการปีการศึกษา 2562 จำนวน             47 โรงเรียน

   4.2 ครูในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยในสังกัด จำนวน 147 โรงเรียน ให้สามารถจัดถ่ายทอดความรู้และทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง

                      4.3 โรงเรียนที่เข้ารับการประเมิน ผ่านการประเมินผลงานและได้รับตราพระราชทานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย  

   4.4 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ มีการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์อย่างต่อเนื่อง         

    4.5 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการนิเทศติดตามการดำเนินงานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย         

            

 

 

 

 

 

 

 

 

     2)  ข้อค้นพบ / ปัญหาอุปสรรค

- ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD-19) ทำให้ไม่

สามารถดำเนินการบางกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ได้

                       - ความล่าช้าของการจัดสรรงบประมาณที่มาในเวลาที่กระชั้นชิด ทำให้เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรม

     3)  วิธีการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

    - ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ปัญญาหาในบางกิจกรรม เช่น จัดอบรม/ประชุม ออนไลน์  การทำ PLC ผ่านแอพพิเคชั่นไลน์กลุ่ม เป็นต้น

 

     4)  ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย (ถ้ามีโปรดระบุ)

                         - ไม่มี -

      5)  ปัจจัยความสำเร็จ (ความโดดเด่น จุดแข็ง นวัตกรรม และเกิดประโยชน์หรือผลกระทบทางบวกแก่ผู้เรียน อย่างไรบ้าง มีต้นแบบ หรือแบบอย่างที่ดี ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามนโยบาย หรือไม่ อย่างไร)

 โรงเรียนต้นแบบที่มีความโดดเด่นและเป็นแบบอย่างที่ดีด้านการจัดการศึกษาปฐมวัย ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลราชบุรี และโรงเรียนวัดเขาวัง (แสง ช่วงสุวนิช) จัดการศึกษาแบบโครงการ (Project Approach)   เช่น โครงการ บัว...ราชินีเหนือน้ำ,โครงการฟักทองแก้มแดง,โครงการมะพร้าว,โครงการต้นไผ่            ที่รัก โครงการต้นเตยหอม  โรงเรียนอนุบาลวัดเพลง จัดการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่ โรงเรียนบ้านหนองขาม      จัดการศึกษาแบบวอลดอร์ฟ

                          การสร้างทีมงานที่เข็มแข็ง เพื่อรวมกันคิด วางแผน และพัฒนาขับเคลื่อนงานการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยให้มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การดำเนินงานกิจกรรม/โครงการ ต่างๆ บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเป้าไว้

 

 

 

            ๔.3  การเข้าถึงทางการศึกษาสำหรับคนพิการ และผู้ด้อยโอกาส  

       ๑)  ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

           ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดจำนวนเด็กพิการได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นรายบุคคลด้วยรูปแบบ           ที่หลากหลาย พบว่า จำนวนเด็กพิการได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นรายบุคคลด้วยรูปแบบที่หลากหลาย                     เช่น การปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การปรับเปลี่ยนเนื้อหาหรือองค์ความรู้ในบทเรียน การปรับทักษะต่างๆ การใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี  โดยจำแนกตามประเภทความพิการ ดังนี้

1.               บกพร่องทางการมองเห็น จำนวน 7 คน 

2.               บกพร่องทางการได้ยิน จำนวน  8 คน

3.               บกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 144 คน

4.               บกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ จำนวน 42 คน

5.               บกพร่องทางการเรียนรู้ จำนวน 1,560 คน

6.               บกพร่องทางการพูดและภาษา จำนวน 14 คน

7.               บกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ จำนวน 41 คน ออทิสติก จำนวน 37 คน  

8.               ความพิการซ้อน จำนวน 62 คน

            ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดจำนวนเด็กด้อยโอกาส นักเรียนที่ด้อยโอกาสได้รับความช่วยเหลือ             เป็นทุนการศึกษา ดังนี้

            1. นักเรียนยากจนและนักเรียนยากจนพิเศษ ได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาจากกองทุน           เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จำนวน 2,375 คน เป็นเงิน 2,454,500 บาท

            2. นักเรียนยากจนได้รับการสนับสนุนทุนปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 3,310 คน แยกเป็น ระดับประถม (500 บาท/คน) = 2,804 คน            รวมเป็นเงิน 1,402,000 บาท ระดับมัธยม (500 บาท/คน) = 506 คน รวมเป็นเงิน 759,000 บาท

    จากการดำเนินงานตามนโยบายสู่การปฏิบัตินั้นเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 100  ในการเข้าถึงทางการศึกษาสำหรับคนพิการ และผู้ด้อยโอกาส โดยกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2

    - มีการดำเนินการกรอกข้อมูลต่างๆ ในระบบโปรแกรม SET ครบถ้วนตามระบบ ดังนี้ 1) การรายงานข้อมูลนักเรียนที่กำลังศึกษาเป็นปัจจุบัน ปีการศึกษา 2564  จำนวน 1,208 คน   2) การรายงานข้อมูลสัญญาจ้างพี่เลี้ยงเด็กพิการ ประเภทค่าตอบแทนผู้ปฏิบัติงานให้ข้าราชการ  จำนวน  16 คน  และ จ้างเหมาบริการเป็นปัจจุบัน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 13 คน

    -  มีการดำเนินการนิเทศติดตามช่วยเหลือและแนะนำวิธีการจัดการเรียนการสอนเด็กพิเศษเรียนรวมให้กับครูพี่เลี้ยงเด็กพิการ เข้าดูแลและให้คำแนะนำผู้ปกครองในการพานักเรียนไปพบแพทย์ ทุกโรงเรียนที่มีพี่เลี้ยงเด็กพิการ จำนวน 29 โรงเรียน เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

          นักเรียนพิการเรียนรวมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 (เดิม) ได้รับการพัฒนาศักยภาพตามความต้องการจำเป็นของแต่ละคนโดยมใช้ IEP (Individualized Education Program) เป็น เครื่องมือในการพัฒนาพร้อมกับการวัดและประเมินผลเป็นรายบุคคล  โดยมีการปรับโปรแกรมการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลให้มีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับผู้เรียนให้มากที่สุด

ตารางแสดงจำนวนและร้อยละของเด็กพิการเรียนรวมที่ได้รับการดูแลช่วยเหลือ และส่งเสริม ให้ได้รับการศึกษาเต็มตามศักยภาพ จำแนกตามประเภทความพิการ และผ่านเกณฑ์การประเมินตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program IEP)(ข้อมูลปีการศึกษา 2562)

สำหรับนักเรียนพิการเรียนรวมของปีการศึกษา 2563 ที่ได้ผ่านการคัดกรองมาแล้วมีจำนวน 147 คน โดยแยกออกเป็น พิการทางสายตา 3 คน พิการทางหู 3 คน พิการทางปัญญา 9 คน พิการทางร่างกาย 25 คน บกพร่องทางสติปัญญา 9 คน พิการทางร่างกาย 25 คน บกพร่องทางการเรียนรู้ 101 คน บกพร่องทางการพูดและภาษา 1 คน บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ 1 คน ออทิสติก 4 คน อยู่ในระหว่างการพัฒนาโดยใช้กระบวนการคล้ายคลึงกับปีการศึกษา 2562 แต่เพิ่มเติมในส่วนของการขอรับการจัดสรรพี่เลี้ยงนักเรียนพิการเรียนรวมเพิ่มเติมการพัฒนาคุณสมบัติของพี่เลี้ยงนักเรียนพิการเพื่อให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน  รวมทั้ง     การสำรวจข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเรียนรวมของผู้คัดกรองคนพิการทางการศึกษา 

                        ในภาคเรียนที่ 2/2563 สำนักงาน กศน.จังหวัดราชบุรี ได้ดำเนินการจัดการศึกษาตามนโยบายเกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกโรงเรียนให้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีสภาพพิเศษแตกต่างจากกลุ่มเป้าหมายทั่วไป และมีวิธีการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ในรูปแบบของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมีกลุ่มเป้าหมายจำนวนทั้งสิ้น  17  คน ดังนี้

 

สถานศึกษา

ระดับการศึกษา

รวม

ประถมศึกษา

มัธยมศึกษาตอนต้น

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

กศน.อำเภอจอมบึง

5

6

6

17

รวม

5

6

6

17

 

                        ครูผู้สอนคนพิการได้ประสานความร่วมมือกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอจอมบึง
เพื่อจัดกิจกรรมให้กับผู้พิการรายบุคคลได้ตรงตามลักษณะความสามารถที่จะเรียนรู้ได้  กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้พิการ
ทางร่างกาย จัดการเรียนการสอนการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๑๗ คน ประเภทความพิการ ได้แก่
บุคคลที่บกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 4 คน บกพร่องทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ จำนวน 1 คน บกพร่องทางกายหรือสุขภาพ จำนวน 12 คน ซึ่งครูผู้สอนคนพิการได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ได้แก่
วันจันทร์-อังคาร ระดับประถมศึกษา วันอังคาร-พุธ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และวันพฤหัสบดี-ศุกร์
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  งบประมาณได้รับการจัดสรรจากสำนักงาน กศน. งบอุดหนุน ค่าจัดการเรียนการสอน จำนวน ๑๕
,๓๐๐ บาท ผลการดำเนินงาน ผู้พิการได้รับความรู้และยกระดับการศึกษาที่สูงขึ้น

 

 

ประโยชน์ที่ผู้รับบริการได้รับ

1. การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP)

2. การกระตุ้นการเรียนรู้ การเข้าร่วมกิจกรรมและสังคม

3. การจัดการเรียนรู้ มีรูปแบบที่หลากหลาย และเหมาะสมเป็นรายบุคคล

4. การบูรณาการเชื่อมโยงเนื้อหา สาระสอดคล้องกับวิถีการดำรงชีวิตประจำวัน

5. การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับครอบครัว /ชุมชน/สังคมและบุคคลที่เกี่ยวข้อง อย่างมีคุณค่าและมีศักดิ์ศรี

6. การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ตามกฎกระทรวงฯอย่างมีประสิทธิภาพ ตามความต้องการเป็นรายบุคคล

7. การประสานงานการส่งต่อ และการช่วยเหลืออื่น ๆ

 

 

 

      2)  ข้อค้นพบ / ปัญหาอุปสรรค

           การจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการทุกประเภทในสถานศึกษายังไม่สามารถทำได้อย่าง               มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากขาดบุคลากรเฉพาะด้านที่มีความรู้ความเข้าใจต่อการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนพิการแต่ละประเภท รวมทั้งขาดทักษะด้านการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร และการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความจำเป็นของผู้เรียนแต่ละคน

       จากการดำเนินการในส่วนของเด็กด้อยโอกาสพบว่า นักเรียนที่ด้อยโอกาสส่วนใหญ่จะมีปัญหา      ด้านครอบครัว เช่น ครอบครัวแตกแยก หย่าร้าง บิดามารดาทอดทิ้ง อาศัยอยู่กับญาติ และบิดามารดา               หรือผู้ปกครองต้องย้ายถิ่นฐานไปทำงานต่างถิ่น ทำให้เด็กนักเรียนต้องย้ายโรงเรียนตามผู้ดูแล เป็นปัญหา                 ในการติดตามและการออกโรงเรียนกลางคัน

     - ด้านงบประมาณในการติดตาม

     - โรงเรียนขาดครูพี่เลี้ยงเด็กพิเศษเรียนรวม

      2.1) ผู้บริหารและครูบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดการศึกษาในโรงเรียน เรียนรวมและขาดครูคัดกรอง เนื่องจาก ย้าย เกษียณอายุราชการ หรือมีการเปลี่ยนครูที่ดูแลรับผิดชอบบ่อย  การดำเนินการในโรงเรียนไม่ต่อเนื่อง

                        2.2) ครูบางส่วนในโรงเรียนคิดว่าเป็นการเพิ่มภาระในการทำงาน เช่น การเขียนแผน

จัดการศึกษาเฉพาะบุคคล การเขียนแผนการสอนเฉพาะบุคคล

                        2.3) ผู้ปกครองบางคนไม่มีความพร้อมในการดูแลบุตร เช่น ไม่มีเวลาในการเลี้ยงดู        ไม่มีเวลาพาบุตรไปพบแพทย์ และบางส่วนเกรงใจหน่วยงาน/สถานศึกษา ว่าจะเป็นภาระในการดูแลจึงไม่แจ้ง   ความพิการ

ครูผู้สอนจะต้องเดินทางไปสอนยังบ้านของนักศึกษา เนื่องจากผู้พิการ      
ไม่สามารถ
เดินทางไปเรียน ณ สถานศึกษาได้ ซึ่งงบประมาณค่าพาหนะของครูผู้สอนคนพิการในการออกไปให้บริการกับนักศึกษาผู้พิการให้ถึงบ้านได้ถูกตัดงบประมาณไป

 

 

      3)  วิธีการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

           1. ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญ สร้างความตระหนัก สร้างเจตคติที่ดี ให้ขวัญและกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่หรือบุคลากรในสถานศึกษาที่ปฏิบัติงานด้านการศึกษาเรียนรวม

           2. สถานศึกษาสร้างความสัมพันธ์และมีการประชุมพบปะผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการช่วยเหลือดูแลบุตรหลานที่มีความต้องการพิเศษ

           3. ควรจัดทำแนวทางหรือคู่มือการพัฒนาคุณภาพเด็กพิการในสถานศึกษารวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการเรียนรวมแก่ผู้บริหารและคุณครูทุกท่าน

                              - ควรจัดให้มีการอบรมให้ความรู้ครู เพื่อทำหน้าที่สอนเด็กพิเศษเรียนรวม

      3.1) นิเทศติดตามให้ความรู้กับผู้บริหาร ครูผู้สอนในสถานศึกษาให้มีความรู้ในเรื่องการ

คัดกรองนักเรียนพิการเรียนรวมและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนักเรียนพิการเรียนรวม

      3.2) ชี้แจงให้ความรู้ในเรื่องการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนพิการเรียนรวมในคราว

ประชุมผู้บริหารประจำเดือน

                             นักศึกษาที่สามารถใช้เครื่องมือสื่อสารได้สถานศึกษาให้ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยระบบออนไลน์ควบคู่กับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายบุคคลเพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

 

 

 

               4)  ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย (ถ้ามีโปรดระบุ)

             1. หน่วยงานต้นสังกัดควรจัดอบรมพัฒนาครูผู้สอนเฉพาะด้านตามประเภทคนพิการ              ทางการศึกษา อย่างต่อเนื่อง และพิจารณาคัดเลือกบุคลากรครูที่มีวุฒิการศึกษาเฉพาะด้านที่ตรงกับประเภทของคนพิการทางการศึกษา

             2. หน่วยงานต้นสังกัดควรมีการประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการลงพื้นที่เพื่อให้              การดูแลและช่วยเหลือ ฟื้นฟูศักยภาพของคนพิการในพื้นที่

             3. หน่วยงานต้นสังกัดควรจัดสรรอัตรากำลังครูให้เพียงพอเป็นไปตามเกณฑ์ของการศึกษาพิเศษ            เช่น อัตราส่วนของครูต่อผู้เรียนกลุ่มบกพร่องทางสติปัญญา = 1:4 อัตราส่วนของครูต่อผู้เรียนกลุ่มออทิสติก = 1:3  เพื่อลดภาระงานของครูที่ต้องทำหน้าที่จัดการเรียนการสอนนักเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาอื่นๆ

 

 

 

                    จัดสรรพี่เลี้ยงเด็กพิเศษให้เพียงพอ

      4.1) จัดประชุมชี้แจงให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการศึกษา

ในโรงเรียนเรียนรวมให้ครอบคลุมมากขึ้น

      4.2) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรกำหนดตำแหน่งพี่เลี้ยงเด็กพิการ

ให้กับโรงเรียนเรียนรวมทุกโรงเรียน เนื่องจากปัจจุบัน เด็กพิการเข้ามาสู่โรงเรียนปกติมากขึ้น และควรนำปัญหาอุปสรรค ที่สำรวจไปแล้ว ไปวิเคราะห์ปัญหาและนำไปแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง

                                    หน่วยงานต้นสังกัดควรมีการพิจารณาจัดสรรงบประมาณค่าพาหนะของครูผู้สอน
ในการออกไปให้บริการกับนักศึกษาถึงบ้าน

 

       5)  ปัจจัยความสำเร็จ  (ความโดดเด่น จุดแข็ง นวัตกรรม และเกิดประโยชน์หรือผลกระทบทางบวกแก่ผู้เรียน อย่างไรบ้าง  มีต้นแบบ หรือแบบอย่างที่ดี ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามนโยบาย หรือไม่ อย่างไร)

           โรงเรียนต้นแบบที่มีความโดดเด่นและเป็นแบบอย่างที่ดีด้านการจัดการศึกษาเรียนรวม คือ     โรงเรียนวัดห้วยหมู (อมรธรรมรัตราษฎร์บำรุง) เด็กพิเศษ หมายถึงเด็กที่จำเป็นต้องได้รับการดูแล                    และช่วยเหลือเป็นพิเศษ ทั้งในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการเข้าสังคม เพื่อให้เด็กได้รับ              การพัฒนาเต็มตามศักยภาพของตนเอง ซึ่งการดูแลช่วยเหลือเด็กกลุ่มนี้ จะทำตามลักษณะความจำเป็น และ           ความต้องการของเด็กเป็นรายบุคคล  โรงเรียนวัดห้วยหมู (อมรธรรมรัตราษฎร์บำรุง) เป็นโรงเรียนที่มี        การดูแลเด็กพิเศษเป็นอย่างดีและเป็นโรงเรียนต้นแบบการจัดการเรียนรวมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 โดยมี        คุณจิราพร หลายพูนสวัสดิ์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนรุ่นที่ 3 ในการบริหารงาน ปัจจุบันมีนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนทั้งสิ้น 291 คน โรงเรียนได้ให้ความสำคัญของการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ที่มีอยู่ในสังคม  และยังมีโอกาสได้เข้าเรียนในระบบโรงเรียน
ในปีการศึกษา
2563 จึงได้ดำเนินการรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษให้เข้าเรียน จำนวน 59 คน ประกอบด้วย นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (MR) จำนวน 18 คน ห้องเรียนคู่ขนานบุคคลออทิสติก จำนวน 7 คน นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น (เลือนราง) 1 คน และนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ที่สามารถเรียนรวมกับเด็กปกติได้ จำนวน 33 คน

                              - ได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนเป็นอย่างดี

                              - โรงเรียนสามารถพัฒนานักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้และเด็กพิเศษได้เป็นอย่างดี                สามารถส่งเข้าแข่งขันงานศิลปหัตกรรมจนได้รับรางวัลหลายกิจกรรม เช่น โรงเรียนที่เป็นศูนย์ต้นแบบ โรงเรียนวัด         หุบกระทิง  โรงเรียนบ้านไร่  โรงเรียนอนุบาลบางแพ และโรงเรียนอนุบาลโพธาราม เป็นต้น

           

                         5.1) สร้างความรู้ความเข้าใจครูผู้สอนให้มีความรู้และทักษะในการคัดกรองนักเรียนพิการเรียนรวมในโรงเรียนพร้อมทั้ง การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized  Education Program: IEP) สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเป็นรายบุคคล  ในระบบ My-office ของสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8

                         5.2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปรับปรุงข้อมูลผู้คัดกรองนักเรียนพิการเรียนรวมให้เป็นปัจจุบันและส่งข้อมูลทะเบียนผู้คัดกรองของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 ให้สถานศึกษา

ในสังกัดผ่านระบบ My office เพื่อให้สถานศึกษาได้นำข้อมูลไปใช้ในการประสานความร่วมมือการคัดกรอง

ในกรณีที่โรงเรียนไม่มีผู้คัดกรองที่ผ่านการอบรม

                         5.3) สถานศึกษาประสานงานกับจิตแพทย์เพื่อให้คำแนะนำในการคัดกรองนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษประเภทนักเรียนพิการพร้อมทั้งการให้คำแนะนำการดูแลนักเรียนพิการเรียนรวมในสถานศึกษากับผู้บริหาร  ครูผู้สอน และผู้ปกครองบางส่วน

                         5.4) จัดสรรพี่เลี้ยงนักเรียนพิการเรียนรวมให้กับโรงเรียนเดิมที่ได้รับการจัดสรรมาก่อนจำนวน 2 อัตรา คือโรงเรียนแคทรายวิทยาและโรงเรียนท่ามะกาวิทยาคม

                         5.5) ขอรับการจัดสรรพี่เลี้ยงนักเรียนพิการเรียนรวมเพิ่มเติมจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับโรงเรียนที่จัดการเรียนรวมในส่วนของโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม จำนวน

2 ตำแหน่ง คือโรงเรียนหนองปลาหมอพิทยาคม และโรงเรียนท่าเรือพิทยาคม

                         5.6) พัฒนาคุณสมบัติพี่เลี้ยงนักเรียนพิการเรียนรวมให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพเอื้อประโยชน์ต่อการใช้งานให้กับโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมเพื่อนำไปใช้ในการจัดจ้าง

                         5.7) สถานศึกษาจัดให้มีการพัฒนาพื้นฐานทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาประเภทนักเรียนพิการเรียนรวม

                         5.8) สถานศึกษาในสังกัดประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกเพื่อขอรับการสนับสนุนเงินทุนเพื่อการประกอบอาชีพให้กับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษและการจัดกิจกรรมของนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ

                         5.9) สถานศึกษาในสังกัดประสานความร่วมมือกับองค์กรภายนอกสถานศึกษาเพื่อขอรับการสนับสนุนทุนจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ให้กับสถานศึกษาในสังกัด

                           5.10) กลุ่มนิเทศ  ติดตาม ให้คำแนะนำการคัดกรองนักเรียนพิการเรียนรวม  ตรวจสอบข้อมูลการคัดกรองนักเรียนพิการเรียนรวมและออกนิเทศติดตาม ช่วยเหลือโรงเรียนในการพัฒนา ผู้บริหาร  ครูผู้สอน  พี่เลี้ยงนักเรียนพิการเรียนรวม  ให้มีความรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ  รวมทั้ง

การกำกับ  ติดตามการรายงานผลความก้าวหน้าของนักเรียน

                         5.11) กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาสำรวจข้อมูลความต้องการการพัฒนาของผู้คัดกรองคนพิการทางการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเรียนรวมของผู้คัดกรองคนพิการทางการศึกษา  

                           5.12) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้ดูแลช่วยเหลือ  และส่งเสริมนักเรียนพิการเรียนรวมให้ได้รับการศึกษาตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized  Education Program : IEP ) ส่งผลให้นักเรียนพิการเรียนรวมได้รับการศึกษาเต็มตามศักยภาพ

 

นักศึกษาผู้พิการมีการนำความรู้จากการรับบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยไปยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเอง และสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 บันทึข้อมูลโดย: นายนิรุทธิ์ อุทาทิพย์