ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 21 มิถุนายน 2564

การตรวจราชการกรณีพิเศษ

            ประเด็นการรายงานผลการตรวจราชการกรณีพิเศษ  (COVID)

          ๑. การดำเนินการตามมาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  และการจัดการเรียนการสอนในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

              สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 ได้การดำเนินการตามมาตรการป้องกัน      ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  และการจัดการเรียนการสอนในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  ดังนี้

              1.1  จัดทำมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ทั้งในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา

              1.2  กำกับ ติดตามผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรของสถานศึกษาในสังกัดทุกสถานศึกษา             ให้มีการดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)                อย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง ทั้งในสถานการณ์ปกติและในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรค              จากการติดตาม พบว่าทุกสถานศึกษาในสังกัดดำเนินการตามมาตรการการป้องกัน เช่น การกำหนด            จุดคัดกรองก่อนเข้าสถานศึกษาโดยการวัดอุณหภูมิของร่างกายและการล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์           การกำหนดให้ทุกคนสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่ออยู่ในสถานศึกษา การเว้นระยะห่าง การสร้างอ่าง    ล้างมือเพิ่มเติม เป็นต้น ทั้งนี้การดำเนินงานของสถานศึกษาได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดี

              1.3 มีการกำกับ ติดตามให้สถานศึกษาเฝ้าระวังและรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาด            ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่และเมื่อมีผู้ป่วย/กลุ่มเสี่ยงในสถานศึกษาหรือ       ในชุมชนที่สถานศึกษาตั้งอยู่ให้สำนักงานเขตพื้นที่ทราบทันที ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ ยังไม่พบผู้ป่วยที่เป็นบุคลากร/นักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1          

             1.4 สถานศึกษามีการจัดการเรียนการสอนในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังนี้

                   1) กรณีที่มีการปิดสถานศึกษา

                       สถานศึกษาส่วนใหญ่มีการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบผสมผสานในรูปแบบ On Air  โดยใช้การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) สื่อ DLIT รูปแบบ On Hand การใช้หนังสือ แบบฝึกหัดเอกสาร ใบความรู้และใบงาน และรูปแบบ On Line โดยสอนผ่าน Google site โดยการจัดการเรียนการสอนจะจัดตามสภาพความพร้อมของผู้เรียน ทั้งความพร้อมด้านเทคโนโลยี ศักยภาพการเรียนรู้ และความพร้อม            ของผู้ปกครองในการดูแลด้านการเรียนของบุตรหลาน ทั้งนี้ ครูผู้สอนจะมีการติดตามผู้เรียนผ่านทางไลน์ โทรศัพท์ การนัดวันมาพบที่สถานศึกษาหรือการไปเยี่ยมบ้าน

                    2) กรณีที่มีการเปิดเรียนในสถานศึกษา

                        สถานศึกษาที่เปิดเรียนให้นักเรียนทุกคนมาเรียนได้ตามปกติทุกวัน มีจำนวน 169 โรงเรียน ร้อยละ 97.69  และมีสถานศึกษาที่จัดกลุ่มให้นักเรียนสลับวันมาเรียน จำนวน 4 โรงเรียน ร้อยละ 2.31 (จากจำนวนโรงเรียนที่มีนักเรียนทั้งหมด 173 โรงเรียน) และทุกสถานศึกษามีการสอนชดเชยให้กับนักเรียนโดยการเพิ่มชั่วโมงเรียนในแต่ละวัน หรือการสอนชดเชยในวันเสาร์/วันอาทิตย์ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา

   1.1.1 การป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2  ได้จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

                         - กำหนดมาตรการ แนวทางปฏิบัติ ประกาศ และคำสั่งป้องกันการแพร่ระบาดของโรค   ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หน่วยงานและสถานศึกษาในเขตพื้นที่ ให้สอดคล้องกับ ศบค. สพฐ.  กระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดราชบุรี  

                       - ติดตามวิเคราะห์สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

(COVID-19)

                        - อำนวยการในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน สั่งการ และประสานผู้ว่าราชการจังหวัด

                        - ให้คำปรึกษา ส่งเสริม สนับสนุน กำกับติดตาม  การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบาย และภารกิจการจัดการศึกษาทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019    (COVID-19)  ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2  ได้แจ้งมาตรการของศูนย์เฉพาะกิจเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้สถานศึกษาได้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

3) ให้สถานศึกษาปิดเรียนด้วยเหตุพิเศษ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง ให้สถานศึกษาในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการปิดเรียนด้วยเหตุพิเศษและให้รายงานสถานการณ์ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 ทราบ เพื่อรายงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อไป

4) จัดให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว ปฏิบัติงาน ณ ที่พักอาศัย Work from home โดยกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน ณ ที่พักอาศัย Work from home ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยผู้บังคับบัญชาติดตาม กำกับ ดูแล ให้คำปรึกษาแนะนำ และรายงานผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้ผลงานได้ตามเป้าหมาย และให้ลงเวลาปฏิบัติราชการผ่านระบบออนไลน์

             1.1.2 การเฝ้าระวัง

                   1) การคัดกรองครู นักเรียน บุคลากร และผู้เกี่ยวข้อง ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย แจ้งชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ รายละเอียดที่ต้องการติดต่อ ณ จุดคัดกรองทุกครั้ง

2) กำหนดมาตรการให้บุคลากรและผู้มาติดต่อราชการ

3) จัดบริการเจล แอลกอฮอล์ สบู่ สำหรับล้างมือ สำหรับบุคลากรและผู้มาติดต่อราชการ

4) ทำความสะอาด สำนักงานและห้องประชุม จัดกิจกรรม 5ส,Big Cleaning Day ทำความสะอาดพื้นที่ภายในและภายนอกสำนักงาน ทำความสะอาดรถยนต์ราชการทุกคันอย่างต่อเนื่อง โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ/แอลกอฮอล์

5) กำหนดให้มีการฉีดพ่นฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในทุกวันศุกร์สัปดาห์เว้นสัปดาห์

                   6) มีแนวปฏิบัติสำหรับผู้มาติดต่อราชการ

                   7) ควบคุมดูแลการใช้รถโรงเรียน โดยการจัดทำทะเบียนรถรับ-ส่งนักเรียนให้เป็นปัจจุบัน หากมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ขึ้น จะได้เป็นข้อมูลในการสอบสวนโรคต่อไป

 1.1.3 ส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในการป้องกันโรคตามแนวทางของกรมควบคุมโรค

          1) การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่องค์ความรู้และการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่ระบาด โดยจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ และประชาสัมพันธ์ทางแอปพลิเคชั่นไลน์

2) ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ รายงานประเมินสถานการณ์ และประชาสัมพันธ์ให้ทราบเป็นระยะ

  1.1.4 จัดหาอุปกรณ์ป้องกัน

 จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น ที่จ่ายเจลแอลกอฮอล์ อัตโนมัติ ที่วัดอุณหภูมิร่างกายอินฟาเรด สำหรับใช้ ณ จุดคัดกรองผู้มาติดต่อราชการ และสำหรับห้องประชุม

การจัดการเรียนการสอนในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

              ตามที่ได้มีการเปิดเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563  ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563  และ   ได้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในจังหวัดสมุทรสาคร     ในเดือนธันวาคม 2563  สถานศึกษาหลายแห่งต้องประกาศปิดการเรียนการสอนในช่วง ๒ สัปดาห์ที่สามของเดือนธันวาคม 2563  ซึ่งต่อมาได้มีประกาศจังหวัดราชบุรีให้ปิดสถานศึกษาทุกแห่ง ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2563 ถึงวันที่ 3 มกราคม 2564 และเมื่อการแพร่ระบาดขยายวงกว้างขึ้น  ทำให้ราชบุรีเป็นหนึ่งใน 25 จังหวัด ที่ได้รับการประกาศจากศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)  

ให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด  กระทรวงศึกษาธิการจึงได้มีประกาศให้สถานศึกษาทุกแห่งในสังกัดปิดการเรียนการสอนในเดือนมกราคม 2564 เป็นเวลา 1 เดือน  โดยให้สถานศึกษาพิจารณาจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการหรือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ได้แก่ แบบ On Air (DLTV), Online, On Demand, On Hand หรือรูปแบบอื่นๆ ให้เหมาะสมตามบริบทของสถานศึกษา  รวมทั้งดำเนินการตามมาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

(COVID-19) อย่างเคร่งครัดนั้น  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี  ซึ่งมีสถานศึกษาในสังกัด  จำนวน 26 แห่ง  ได้ดำเนินการบริหารจัดการ และกำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอนในช่วงปิดเรียน  ดังนี้

               1) ผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบ ผู้เกี่ยวข้องในเขตพื้นที่  และสถานศึกษาในสังกัด ร่วมรับฟังการประชุมทางไกลผ่านระบบ VDO Conference  จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เรื่อง "การชี้แจงนโยบายและซักซ้อมความเข้าใจในการเตรียมรับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2563

               2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี  โดยกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา ร่วมกับกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา  ได้จัดประชุมทางไกล (Google Meet) กับสถานศึกษาในสังกัด จำนวน 2 ครั้ง คือ

                   2.1) วันที่ 7 มกราคม  2564  การประชุมผู้บริหารสถานศึกษา  มีประเด็นเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และสร้างความตระหนักให้แก่สถานศึกษาในสังกัด ในการเฝ้าระวังและป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  โดยมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดราชบุรี  ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้ และแนะนำการปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว  รวมทั้งการถ่ายทอดนโยบาย แนวปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  และการรายงาน ตามระบบกำกับ ติดตาม ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี 

2.2) วันที่ 29 มกราคม  2564  ประชุมเชิงปฏิบัติการยกระดับคุณภาพการศึกษาจากผลการ

ประเมินระดับต่างๆ  แนวปฏิบัติในการจัดการเรียนสอน  การวัดและประเมินผล  ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  และการดำเนินการด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  กลุ่มเป้าหมาย

ที่เข้าร่วมประชุม คือ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ  หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 

 

 

                3) สรุปข้อมูลการจัดการเรียนการสอน 

                   3.1) รูปแบบการเรียนการสอน  สถานศึกษาในสังกัด ทั้ง 26 แห่ง  จัดการเรียนการสอน

ในรูปแบบผสมผสาน คือมีทั้งแบบ On Air (DLTV), Online, On Demand  โดยครูจะใช้รูปแบบการสอน Online มากที่สุด สำหรับนักเรียนที่ขาดความพร้อมในการเรียนแบบออนไลน์  จะใช้รูปแบบ On Hand 

โดยกำหนดวันนัดหมายให้นักเรียนหรือผู้ปกครอง  มาติดต่อรับ – ส่งเอกสารการเรียนที่โรงเรียน  บางโรงเรียนให้ครูที่ปรึกษา/ครูผู้สอน นำไปให้นักเรียนที่ออกเยี่ยมบ้าน

                   3.2) เครื่องมือหรือระบบที่ครูเลือกใช้ในการสอนออนไลน์ รวมทั้งการกำกับติดตามนักเรียน

มีความหลากหลายแตกต่างกัน  โดยครูผู้สอนจะพิจารณาให้สนองตอบต่อพฤติกรรมการใช้ ความสะดวกของนักเรียนเป็นหลัก  นอกเหนือจากทักษะ ความถนัดของครูผู้สอน  และความสามารถของระบบที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้  โดยระบบที่ครูผู้สอนใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากที่สุด คือ Facebook  รองลงมา

คือ Line, Google Classroom, Google Meet, Zoom, ระบบ LMS และเว็บไซต์บทเรียนที่ครูจัดทำขึ้นเอง ตามลำดับ

                   3.3) ความพร้อมในการเรียนออนไลน์   จากการรายงานพบว่า สถานศึกษาในสังกัด จำนวน  26 แห่ง  มีนักเรียนที่มีความพร้อมในการเรียนออนไลน์  21,239 คน  (จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 27,038 คน)  คิดเป็นร้อยละ 78.55  โรงเรียนที่มีนักเรียนมีความพร้อมร้อยละ 80 ขึ้นไป  มีจำนวน 15 โรงเรียน คิดเป็น

ร้อยละ 57.69 (ของโรงเรียนทั้งหมด)  โรงเรียนที่มีนักเรียนมีความพร้อมร้อยละ 70.00 – 79.99 มีจำนวน 

1 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 3.85  โรงเรียนที่มีนักเรียนมีความพร้อมร้อยละ 50.00 – 69.99 มีจำนวน 3 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 22.54 และโรงเรียนที่มีนักเรียนมีความพร้อมน้อยกว่าร้อยละ 50.00 มีจำนวน 7 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 26.92

            วิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดราชบุรีดำเนินการปิดการเรียนการสอนช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัส COVID – 19 มีการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และเมื่อเปิดตามกำหนด มีการเฝ้าระวังตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ให้นักเรียนสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างในการทำกิจกรรมต่าง ๆหลีกเลี่ยงการรวมตัวทำกิจกรรม ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง และป้องกันเชื้อไวรัส COVID – 19

          1.1 สถานศึกษาประกาศ มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2563 ให้ถือปฏิบัติดังนี้

                1 )ให้สถานศึกษา กศน.ตำบล และหน่วยงานภาคีเครือข่ายร่วมจัดการศึกษา จัดตั้งจุดคัดกรอง และเจ้าหน้าที่ตรวจวัดอุณหภูมิทางร่างกายทุกทางเข้า – ออกของอาคาร หากพบว่ามีไข้สูงเกินกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ให้กลับบ้านเพื่อเฝ้าระวังตนเอง เป็นเวลา 14 วัน โดยไม่ถือเป็นวันลา และปฏิบัติตนตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งรายงานอาการให้ผู้บังคับบัญชาทราบ

                2) ให้ทุกสถานศึกษา และหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัดการศึกษาทุกแห่ง ดำเนินการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีคุณภาพ และทำความสะอาดพื้นที่ทั้งภายในและภายนอกอาคารทุก 30 วัน

               3) จัดให้มีแอลกอฮอล์ทุกจุดเข้า – ออกอาคาร ห้องประชุม สำนักงาน สถานที่ปฏิบัติงาน ห้องสมุดประชาชน

               4) การจัดประชุม อบรม สัมมนา ขอความร่วมมือลดขนาดของการจัดกิจกรรม ลดความหนาแน่นของผู้คน และดำเนินการต่าง ๆ ด้วยความละเอียดถี่ถ้วน และให้ใส่หน้ากากอนามัย จัดให้นั่งห่างกันไม่น้อยกว่า 1 – 2 เมตร รวมทั้งให้ดำเนินการตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

               5) การจัดการเรียนการสอน ให้มีการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ หรือการใช้ Google Classroom หรือแบบอื่นที่เหมาะสม

               6) การจัดกิจกรรมสำหรับนักศึกษา กศน.ของสถานศึกษา เห็นสมควรแจ้งผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัดราชบุรี ทราบเป็นการภายในเป็นรายกิจกรรมเพื่อประเมินความเสี่ยง โดยให้จัดส่งตามความเหมาะสมและความจำเป็น

              7) ให้มีการลงทะเบียนด้วยแอพพลิเคชั่น “ไทยชนะ” ทุกกิจกรรม

              8) จัดให้มีการเฝ้าระวังสถานการณ์และดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ ศบค.อย่างเคร่งครัด หากพบผู้ติดเชื้อให้รายงานให้สถานศึกษาทราบโดยด่วน

          1.2 สถานศึกษาประกาศ ปิดสถานศึกษา ตามคำสั่ง จังหวัดราชบุรี ที่ 5687/2563 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2563 ระหว่าง 26 – 31 ธันวาคม 2563 และวันที่ 1 – 3 มกราคม 2564

          1.3 สถานศึกษาประกาศปิดสถานศึกษา ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้สถานศึกษา    ในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการปิดเรียนด้วยเหตุพิเศษ ประกาศ ณ วันที่ 2 มกราคม 2564 และหนังสือ สำนักงาน กศน. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 0210.04/ว 7607 ลงวันที่ 2 มกราคม 2564 เรื่อง การปรับลดเวลาและวันปฏิบัติงานของหน่วยงาน/สถานศึกษา สังกัด สำนักงาน กศน.จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สถานศึกษามีมาตรการดังนี้

                   1) กำหนดปิดสถานศึกษา ชั่วคราว ระหว่างวันที่ 4 – 31 มกราคม 2564

                   2) ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ปฏิบัติงานที่บ้าน และปฏิบัติงานในพื้นที่       ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายตามความเหมาะสม ตั้งแต่วันที่ 4 – 31 มกราคม 2564 โดย

                   - ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานที่บ้าน ใช้ระบบอินเทอร์เน็ต       ในการปฏิบัติงาน รวมทั้งเปิดเครื่องมือสื่อสารเพื่อให้สามารถติดต่อได้ตลอดเวลา จัดบุคลากรหมุนเวียน  มาปฏิบัติงานในสถานศึกษา จำนวน 25%  ของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานตามตารางที่กำหนด

                  - ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานที่บ้าน จัดทำแผนและรายงานผล     การปฏิบัติงาน

                   3) ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ รักษาระยะห่าง (Social Distancing) และปฏิบัติตามมาตรการกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

                   4) ให้จัดการเรียนการสอนหรือกิจกรรมอื่นในรูปแบบออนไลน์ หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม งดการจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่ม

 

           ๒. ปัญหาอุปสรรค

               2.1 การจัดการเรียนการสอนที่บ้านเต็มเวลาและเป็นเวลาหลายวัน ทำให้ครูผู้สอนพบว่า ผู้เรียน             ทั้งที่มีความพร้อมและไม่มีความพร้อมในด้านเทคโนโลยี ร้อยละ 100 ไม่สามารถเข้าใจและเรียนรู้               ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ โดยผู้เรียนที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีจะสามารถเข้าถึงสื่อ แหล่งเรียนรู้และการติดต่อกับครูผู้สอนได้มากกว่ากลุ่มที่ไม่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี ส่งผลให้ครูผู้สอนต้องจัด   การเรียนการสอนชดเชย

               2.2 การดำเนินการตามมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคมทำให้บางกิจกรรมต้องลด/งดเว้น เช่นกิจกรรมกลุ่ม / กิจกรรมที่มีการปฏิบัติ – ทดลองร่วมกัน / กิจกรรมดนตรี กีฬา ส่งผลให้จำนวนกิจกรรมที่มีการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างหลากหลายลดลง

 

    2.1 นักเรียนไม่ค่อยสวมหน้ากากอนามัย รวมถึงการล้างมือบ่อยๆ

                       ๒.๒ การนิเทศในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ทำให้ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศมีความเสี่ยงในการดำเนินการ เนื่องจากต้องติดต่อสื่อสาร และพูดคุยกันต่อเนื่องในการจัดการเรียนการสอน เพื่อช่วยเหลือนักเรียนให้สามารถเรียนรู้ในช่วงหยุดอยู่บ้านพักได้

 

       4) การบริหารจัดการ และกำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา  ผู้บริหารสถานศึกษาทุกแห่งได้จัดทำคู่มือ แนวปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์พิเศษ การนิเทศภายใน และการกำกับ ติดตาม โดยให้ครูผู้สอนทุกคนรายงานผลการจัดการเรียนการสอนในช่วงปิดเรียน เช่น รูปแบบการจัดการเรียนการสอน  จำนวนนักเรียนที่ขาดเรียนเป็นรายคาบ/ชั่วโมง/สัปดาห์  ปัญหาที่พบ

 การแก้ปัญหา  โดยรายงานผ่านทางช่องทางต่างๆ เช่น  การถ่ายภาพการสอนส่งทาง Line ผู้บริหาร,

Google Form หรือเอกสารแบบรายงาน ต่อหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ หัวหน้าระดับชั้น รองฝ่ายวิชาการ และผู้บริหาร ตามลำดับชั้น มีการประชุมรายสัปดาห์ในระดับฝ่ายบริหาร หรือที่ประชุม PLC กลุ่มสาระการเรียนรู้  เพื่อสรุปข้อมูล ประเมินผล และหาแนวทางแก้ไข ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง

                    นอกจากนี้  สถานศึกษาหลายแห่ง  ได้อำนวยความสะดวกแก่ครูผู้สอน/นักเรียน เช่น

การสนับสนุนแหล่งเงินสำรองเพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายให้แก่ครูในการปรับปรุง จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์เพิ่มเติมในการสอนออนไลน์  สัญญาณอินเทอร์เน็ตฟรีหรือราคาต่ำสำหรับนักเรียน  เป็นต้น

                5) การสนับสนุน และกำกับ ติดตาม  ในส่วนของสำนักงานเขตพื้นที่  โดยท่านผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้ออกตรวจเยี่ยม ให้ขวัญกำลังใจแก่ผู้บริหาร ครูผู้สอนในสถานศึกษาทุกแห่ง  รวมทั้งได้มอบหมายศึกษานิเทศก์ทุกคน  ออกเยี่ยมนิเทศสถานศึกษาในสหวิทยาเขตที่รับผิดชอบ  ซึ่งศึกษานิเทศก์ได้ให้คำปรึกษา แนะนำการจัดการเรียนการสอน  การวัดและประเมินผล และการบริหารจัดการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์นี้  รวมทั้งได้ประสาน กำกับ ติดตามการรายงาน

การจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา  เพื่อรายงานต่อหน่วยงานต้นสังกัด  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามช่วงเวลาที่กำหนด

               2.1) ความพร้อมในการเรียนการสอนออนไลน์หรือทางไกลของนักเรียน  ทั้งในส่วนของอุปกรณ์ เครื่องมือในการใช้งานที่เพียงพอ มีสมรรถนะเหมาะสม  สัญญาณอินเทอร์เน็ต  ซึ่งยังคงมีความเหลื่อมล้ำ

อยู่พอสมควร 

               2.2) วินัย ความรับผิดชอบ  การกำกับตนเองในการเรียนของนักเรียน  พบว่าเป็นปัญหาที่สำคัญนอกเหนือจากปัญหาความพร้อมด้านต่างๆ ในการเรียนออนไลน์  ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ต้องเร่งเสริมสร้างให้เกิดขึ้นกับนักเรียนอย่างเร่งด่วน 

               2.3) ความตระหนัก การรับรู้ของผู้ปกครอง และสภาพสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว 

ซึ่งส่วนหนึ่งยังไม่เข้าใจ คิดว่าปิดเรียน คือ ไม่มีการเรียนการสอน  จึงมักจะให้นักเรียนไปทำงานหารายได้หรือช่วยงานอื่นๆ  หรือไม่ได้ช่วยกำกับ ติดตามการเรียนของนักเรียน

               2.4) ทักษะการใช้เทคโนโลยี  การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้  การจัดทำสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทในการสอนออนไลน์ของครูผู้สอนบางส่วน  ซึ่งต้องเร่งส่งเสริม พัฒนากันอย่างจริงจัง

              ในการเรียนการสอนออนไลน์นักเรียนบางส่วนขาดแคลนอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน ขาดความพร้อมของสัญญาณอินเทอร์เน็ต ทำให้ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่กับนักเรียนทุกคน

              การจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ไม่สามารถดำเนินการจัดได้ทำแผน และต้องปรับรูปแบบการจัดกิจกรรม

 

           ๓. ข้อเสนอแนะ

               3.1 ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียน               ให้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้มากขึ้น

               3.2 ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดทำแหล่งประสบการณ์/แหล่งเรียนรู้ให้ผู้เรียนแต่ละระดับชั้นได้ฝึก  การเรียนรู้ด้วยตนเอง

               3.3 วิเคราะห์ จำแนกตัวชี้วัดที่สามารถบูรณาการได้และตัวชี้วัดที่ไม่สามารถบูรณาการได้ทั้งในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกันและต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมทั้งตัวชี้วัดที่ผู้เรียนต้องปฏิบัติเพื่อนำมาวางแผนพัฒนาผู้เรียนรองรับการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 

    3.1 ครูต้องเน้นย้ำให้นักเรียนเข้าใจถึงความสำคัญของการป้องกันการติดเชื้อ และผลเสียที่จะเกิดหากมีการแพร่ระบาด

                       ๓.๒ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่ในหลาย ๆ ด้าน ให้เหมาะสมและเข้าถึงปัญหาของผู้เรียน ควรสร้างขวัญกำลังใจมายังศึกษานิเทศก์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสนับสนุนงบประมาณที่จำเป็นในการจัดการเรียนการสอนอย่างตรงเป้าหมายและทันเหตุการณ์

     3.1) รัฐหรือหน่วยงานต้นสังกัด  ควรสนับสนุนอุปกรณ์  สัญญาณอินเทอร์เน็ตฟรี/ราคาต่ำ เพื่อ

การเรียนการสอนออนไลน์  ให้แก่นักเรียนที่ขาดแคลนจริงๆ 

               3.2) การดูแล ช่วยเหลือโรงเรียนที่มีข้อจำกัดด้านงบประมาณในการพัฒนาระบบเทคโนโลยี

               3.3) สนับสนุนงบประมาณและให้อิสระแก่สถานศึกษาในการจัดหาระบบอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพ

               3.4) สนับสนุนคลังสื่อการสอนที่เป็นคลิปวีดีโอ หรือสื่อออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ ให้ครอบคลุม

ทุกรายวิชา ทุกระดับชั้น  รวมทั้งคัดสรร เผยแพร่สื่อต้นแบบนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ที่เป็นแบบอย่างที่ดี

               อยากให้สนับสนุนอินเทอร์เน็ตสำหรับนักเรียน นักศึกษาหากต้องมีการเรียนการสอนออนไลน์ เนื่องจากผู้ปกครองบางท่านไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้ เพราะได้รับผลกระทบในหน้าที่การงานเช่นกัน

 

 

 

๑.๒ การจัดการเรียนการสอนในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ประเด็นที่นิเทศ : การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ ทั้ง ๕ รูปแบบ ได้แก่ On site, On hand, On line, On Air และ On demand

ผลจากการสำรวจความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบว่าโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต ๒ มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนแบบ On hand ร้อยละ 69.01 On demand ร้อยละ 11.18 Online ร้อยละ 10.22 และ On air ร้อยละ 9.59

                   ประเด็นที่นิเทศ : การดำเนินการทดสอบอ่านออก เขียนได้ ตามนโยบายการพัฒนาการ         อ่านออก เขียนได้

                   ประเด็นที่นิเทศ : การเตรียมทดสอบ NT, RT


 บันทึข้อมูลโดย: นายนิรุทธิ์ อุทาทิพย์