ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการภาค บันทึกเมื่อวันที่ Date: 01 กรกฎาคม 2564

สรุปผลการตรวจราชการตามนโยบายการตรวจราชการและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ รอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และติดตามการจัดการเรียนการสอนตามมาตรการการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) วันที่ 21-23 มิถุนายน 2564

สรุปผลการตรวจราชการตามนโยบายการตรวจราชการและติดตามประเมินผล

การจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ รอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

และติดตามการจัดการเรียนการสอนตามมาตรการการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)

ของ นายวัลลพ  สงวนนาม ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ

ในวันที่ 21 - 23 มิถุนายน 2564

ณ จังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี

--------------------------------------

          ตามที่ นายวัลลพ สงวนนาม ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงพื้นที่ตรวจราชการ
ตามนโยบายการตรวจราชการและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษา รอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และติดตามการจัดการเรียนการสอนตามมาตรการการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา
2019 (COVID - 19) ของหน่วยงานการศึกษาในเขตตรวจราชการที่ 5 ในวันที่ 21 – 23 มิถุนายน 2564 ณ จังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี นั้น กลุ่มตรวจราชการและติดตามประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการภาค 5 สามารถสรุปผลเป็นรายจังหวัดได้ 2 ประเด็น คือ 1. การดำเนินการด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) และ 2. การได้รับการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ดังนี้

 

จังหวัดพัทลุง

 1. การดำเนินการด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา
2019 (COVID - 19)

          1.1 โรงเรียนทุกสังกัดผ่านการประเมินความพร้อมของระบบ Thai Stop Covid Plus (TSCP+) และดำเนินการตาม 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) ได้แก่ เว้นระยะห่าง (Distancing) ใส่หน้ากาก (Mask Wearing)
ล้างมือ (
Hand Washing) คัดกรองไข้ (Testing) ลดการแออัด (Reducing) และทำความสะอาด (Cleaning) และ 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) ได้แก่ ดูแลตนเอง (Self Care) ช้อนกลางส่วนตัว (Spoon) อาหารปรุงสุกใหม่ (Eating) ไทยชนะ (Thai Chana) สำรวจตรวจสอบ (Check) และกักกันตัวเอง (Quarantine)

          1.2 โรงเรียนเริ่มทยอยเปิดเรียนในวันที่ 1 7 และ 14 มิถุนายน 2564 ซึ่งในวันที่ 14 มิถุนายน 2564 พบว่าโรงเรียนในจังหวัดเปิดเรียนได้ครบทุกโรง ทุกสังกัด (ร้อยละ 100) โดยจัดการเรียนการสอน 6 รูปแบบ เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ 1) On Site 2) On Hand 3) Blended Learning 4) Online 5) On Air และ 6) On Demand และเมื่อพิจารณาเป็นรายสังกัด พบว่า

               1) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ On Site มากที่สุด

2) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Online มากที่สุด

          1.3 โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง ใช้รูปแบบ H.T. School Model ในการจัดการเรียนการสอนภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา
2564 ตามนโยบายของ สพฐ. และสอดคล้องตามมาตรการของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยมีองค์ประกอบ 4 ส่วนหลัก คือ H.T. Learn, H.T. Check, H.T.Pay และ H.T.Plus ที่มุ่งเน้นกระบวนการพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ คำนึงถึงความปลอดภัยของครูและนักเรียน
เป็นสำคัญ

          1.4 ปัญหา อุปสรรค

               1) ผู้ปกครองและนักเรียนขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์เทคโนโลยี

               2) ผู้ปกครองบางส่วนต้องทำงานนอกบ้าน ไม่มีเวลาดูแลบุตรหลานในเรื่องการเรียน

               3) โรงเรียนขาดแคลนงบประมาณในการทำเอกสาร ใบงาน

               4) ครูส่วนใหญ่ขาดทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อผลิตสื่อการสอนออนไลน์ และการใช้งานแอพลิเคชั่น

               5) การจัดพื้นที่เว้นระยะห่างตามมาตรการป้องกันฯ เป็นอุปสรรคสำหรับโรงเรียนขนาดใหญ่และโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนต่อห้องเรียนมาก 

2. การได้รับการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)

          2.1 บุคลากร (ครู บุคลากรในโรงเรียนและหน่วยงาน) สังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดพัทลุง
มีจำนวน
6,569 คน ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว จำนวน 491 คน คิดเป็นร้อยละ 7.47 โดยมีผู้ไม่ประสงค์รับวัคซีน จำนวน 490 คน คิดเป็นร้อยละ 7.44 ทั้งนี้ สามารถจำแนกเป็นรายหน่วยงานได้ดังนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2564)

 

หน่วยงาน

จำนวนครู บุคลากร
ในโรงเรียน
และหน่วยงาน

ผู้ได้รับวัคซีนแล้ว

ผู้ไม่ประสงค์
รับวัคซีน

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.)

3,175

268

8.44

328

10.33

2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.)

1,531

95

6.21

98

6.40

3. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.)

67

6

8.96

6

8.96

4. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)

1,039

49

4.72

-

-

5. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)

498

33

5.52

33

5.52

6. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)

214

26

12.15

25

11.68

7. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพัทลุง (ศธจ.พัทลุง)

45

14

31.11

-

-

 

2.2 การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ของบุคลากร (ครู บุคลากรในโรงเรียนและหน่วยงาน) และนักเรียน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดพัทลุง ดังนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2564)

      1) ครู จำนวน 1 คน และนักเรียน จำนวน 5 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ติดเชื้อ ขณะนี้ครู และนักเรียน จำนวน 4 คน รักษาหายและออกจากโรงพยาบาลแล้ว คงเหลือนักเรียน จำนวน 1 คน ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล

      2) นักเรียน จำนวน 1 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง ติดเชื้อและยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล

 

 

จังหวัดนครศรีธรรมราช

 1. การดำเนินการด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา
2019 (COVID - 19)

          1.1 โรงเรียนทุกสังกัดผ่านการประเมินความพร้อมของระบบ Thai Stop Covid Plus (TSCP+) และดำเนินการตาม 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) ได้แก่ เว้นระยะห่าง (Distancing) ใส่หน้ากาก (Mask Wearing)
ล้างมือ (
Hand Washing) คัดกรองไข้ (Testing) ลดการแออัด (Reducing) และทำความสะอาด (Cleaning) และ 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) ได้แก่ ดูแลตนเอง (Self Care) ช้อนกลางส่วนตัว (Spoon) อาหารปรุงสุกใหม่ (Eating) ไทยชนะ (Thai Chana) สำรวจตรวจสอบ (Check) และกักกันตัวเอง (Quarantine)

1.2 ภาพรวมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน มี 5 รูปแบบ คือ 1) Online 2) On Air
3) On Demand 4) On Hand และ
5) Blended Learning และเมื่อพิจารณาเป็นรายสังกัด พบว่า

               1) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ On Hand มากที่สุด

               2) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Online มากที่สุด

          1.3 โรงเรียนชุมชนบ้านนาวา อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จัดการเรียนการสอนแบบ Online และ On Hand ซึ่งข้อมูลที่ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการได้พูดคุยสอบถามกับผู้ปกครองผ่านรูปแบบ Online พบว่า ผู้ปกครอง
พึงพอใจกับการจัดกิจกรรมในรูปแบบ
On Hand เพราะเป็นรูปแบบที่ผู้ปกครองสามารถบริหารจัดการเวลา
เพื่อเป็นครู/ พี่เลี้ยงสอนหนังสือให้บุตรหลานได้ โดยไม่กระทบกับเวลาในการประกอบอาชีพส่วนตัว

1.4 ศบค. จังหวัดนครศรีธรรมราช กำหนดเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2564 (รูปแบบ On Site) ในวันที่ 12 กรกฏาคม 2564

          1.5 ปัญหา อุปสรรค

               1) ผู้ปกครองไม่มีความรู้ ไม่สามารถสอนหรือให้ความรู้แก่บุตรหลานได้

               2) ผู้ปกครองต้องทำงานนอกบ้าน ไม่มีเวลาเอาใจใส่การเรียนของบุตรหลานได้อย่างเต็มที่

               3) ขาดแคลนอุปกรณ์เทคโนโลยี ไม่มีความพร้อมเรื่องสัญญาณอินเตอร์เน็ต

               4) นักเรียนขาดความกระตือรือร้น เอาใจใส่ เกิดความไม่เข้าใจ ทำให้เรียนไม่ทัน

               5) โรงเรียนขาดแคลนงบประมาณในการทำเอกสาร ใบความรู้  

      6) บางครอบครัวมีอุปกรณ์เทคโนโลยีสำหรับใช้เรียนออนไลน์ไม่เพียงพอกับจำนวนบุตรหลาน

               7) สถานที่เรียนไม่เหมาะสม ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้

         1.6 ข้อเสนอแนะ

      1) ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนเรื่องอุปกรณ์เทคโนโลยี สัญญาณอินเตอร์เน็ต

2) จัดสรรงบประมาณด้านการจัดทำเอกสาร

               3) ควรจัดทำและพัฒนาแบบเรียนสำเร็จรูป เพื่อความสะดวกและเข้าถึงได้ง่ายสำหรับนักเรียน ผู้ปกครอง และเป็นการแก้ปัญหาระยะยาวในสถานการณ์ปัจจุบัน

      4) โรงเรียนต้องให้ข้อมูล คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแก่ผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง

               5) จัดการศึกษาโดยครอบครัวในรูปแบบ “บ้านเรียน” ภายใต้กลยุทธ์ บ้านสร้าง โรงเรียนสนับสนุน เขตพื้นที่ส่งเสริม ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองมากขึ้น

2. การได้รับการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)

          2.1 บุคลากร (ครู บุคลากรในโรงเรียนและหน่วยงาน) สังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดนครศรีธรรมราช มีจำนวน 17,538 คน ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว จำนวน 1,203 คน คิดเป็นร้อยละ 6.86
ทั้งนี้ สามารถจำแนกเป็นรายหน่วยงานได้ดังนี้ (ข้อมูล ณ วันที่
16 มิถุนายน 2564)

 

หน่วยงาน

จำนวนครู บุคลากร
ในโรงเรียน
และหน่วยงาน

ผู้ได้รับวัคซีนแล้ว

ผู้ไม่ประสงค์
รับวัคซีน

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.)

8,127

742

9.13

-

-

2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.)

2,932

386

13.17

-

-

3. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.)

100

0

0

-

-

4. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)

4,070

13

0.32

-

-

5. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)

1,791

34

1.90

-

-

6. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)

420

23

5.48

-

-

7. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครศรีธรรมราช
(ศธจ. นครศรีธรรมราช)

65

5

7.69

-

-

8. สำนักงานศึกษาธิการภาค 5 (ศธภ.5)

33

0

0

-

-

 

         2.2 การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ของบุคลากร (ครู บุคลากรในโรงเรียนและหน่วยงาน) และนักเรียน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดนครศรีธรรมราช พบผู้ติดเชื้อเป็นครู จำนวน 1 คน และนักเรียน จำนวน 8 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ขณะนี้ครู และนักเรียน จำนวน 2 คน รักษาหายและออกจากโรงพยาบาลแล้ว คงเหลือนักเรียน จำนวน 6 คน ยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล (ข้อมูล ณ วันที่ 14 มิถุนายน 2564)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จังหวัดสุราษฎร์ธานี

1. การดำเนินการด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา
2019 (COVID - 19)

          1.1 โรงเรียนทุกสังกัดผ่านการประเมินความพร้อมของระบบ Thai Stop Covid Plus (TSCP+) และดำเนินการตาม 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) ได้แก่ เว้นระยะห่าง (Distancing) ใส่หน้ากาก (Mask Wearing)
ล้างมือ (
Hand Washing) คัดกรองไข้ (Testing) ลดการแออัด (Reducing) และทำความสะอาด (Cleaning) และ 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) ได้แก่ ดูแลตนเอง (Self Care) ช้อนกลางส่วนตัว (Spoon) อาหารปรุงสุกใหม่ (Eating) ไทยชนะ (Thai Chana) สำรวจตรวจสอบ (Check) และกักกันตัวเอง (Quarantine)

1.2 โรงเรียนเริ่มทยอยเปิดเรียนในวันที่ 1. 7 และ 14 มิถุนายน 2564 โดยจัดการเรียนการสอน
5 รูปแบบ คือ 1) Online 2) On Air 3) On Demand 4) On Hand และ 5) Blended Learning

1.3 หน่วยงานต้นสังกัดสำรวจและประเมินความต้องการของผู้ปกครองและนักเรียนเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนความพร้อมของโรงเรียน และให้โรงเรียนดำเนินการตามรูปแบบที่เหมาะสม เมื่อพิจารณาเป็นรายสังกัด พบว่า

               1) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ On Hand มากที่สุด (ใบงานจากโรงเรียน และใบงานที่ได้รับสนับสนุนจากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์)

               2) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Online มากที่สุด อย่างไรก็ตาม โรงเรียนในสังกัด สอศ. ก็ยังใช้รูปแบบ Blended Learning (Online + On Site) ร่วมด้วย สำหรับการฝึกปฏิบัติของนักเรียน นักศึกษา ไม่เกิน 20 คน

         1.4 การนิเทศ ติดตาม และรายงานข้อมูล ปัญหา อุปสรรค ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนไปยังหน่วยงานต้นสังกัดอยู่ในรูปแบบ Online

         1.5 ศบค. จังหวัดสุราษฎร์ธานี กำหนดเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2564 (รูปแบบ On Site) ในวันที่ 28 มิถุนายน 2564 สำหรับโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สีเขียว (อ.ท่าชนะ อ.ไชยา อ.ท่าฉาง อ.พนม และ อ.คีรีรัฐนิคม) ต้องผ่านเกณฑ์ คือ 1) จำนวนนักเรียนไม่เกิน 120 คน 2) ผ่านการประเมินระบบ Thai Stop Covid Plus (TSCP+) และได้รับอนุญาตจาก ศปก.อำเภอ จึงจะเปิดเรียนรูปแบบ On Site ได้

          1.6 ปัญหา อุปสรรค

               1) ขาดแคลนงบสนับสนุนจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันให้บุคลากรทางการศึกษา

               2) การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ไม่เหมาะกับการฝึกปฏิบัติของผู้เรียนสายอาชีวศึกษา

               3) ผู้เรียนมีความพร้อมไม่เท่ากันในการเรียนออนไลน์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ สัญญาณอินเทอร์เน็ต

      4) ผู้ปกครองมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการซื้อแพ็คเกจอินเตอร์เน็ต เพื่อใช้ในการเรียนออนไลน์ของบุตรหลาน

               5) นักเรียนขาดอุปกรณ์เทคโนโลยีในการเรียนออนไลน์

6) โรงเรียนขาดการปรับปรุง และพัฒนาระบบการเรียนการสอนทางไกล

               7) ผู้ปกครองไม่มีความรู้และไม่มีเวลาเต็มที่ในการดูแลการเรียนของบุตรหลาน

 

 

2. การได้รับการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)

          2.1 บุคลากร (ครู บุคลากรในโรงเรียนและหน่วยงาน) สังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีจำนวน 12,282 คน ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว จำนวน 3,499 คน คิดเป็นร้อยละ 28.49 ทั้งนี้ สามารถจำแนกเป็นรายหน่วยงานได้ดังนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 21 มิถุนายน 2564)

 

หน่วยงาน

จำนวนครู บุคลากร
ในโรงเรียน
และหน่วยงาน

ผู้ได้รับวัคซีนแล้ว

ผู้ไม่ประสงค์
รับวัคซีน

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.)

6,245

1,788

28.63

-

-

2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.)

2,158

631

29.24

-

-

3. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.)

212

1

0.47

-

-

4. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)

2,447

919

37.56

-

-

5. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)

845

32

3.79

-

-

6. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)

332

124

37.35

-

-

7. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี

(ศธจ.สุราษฎร์ธานี)

43

4

9.30

-

-

 

         2.2 การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ของบุคลากร (ครู บุคลากรในโรงเรียนและหน่วยงาน) และนักเรียน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 22 มิถุนายน 2564)

               1) ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน ครู จำนวน 1 คน และนักเรียน จำนวน 5 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ติดเชื้อ รักษาหายและออกจากโรงพยาบาลแล้ว จำนวน 5 คน คงเหลือรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล จำนวน 2 คน

               2) ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 8 คน และนักเรียน จำนวน 14 คน สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 ติดเชื้อ รักษาหายและออกจากโรงพยาบาลแล้ว จำนวน 19 คนคงเหลือรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล จำนวน 3 คน

               3) นักเรียน จำนวน 6 คน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ติดเชื้อ รักษาหายและออกจากโรงพยาบาลแล้วทุกค

 

ข้อเสนอแนะของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ

               1) หน่วยงานต้นสังกัดควรกำชับโรงเรียนให้ดำเนินการตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเคร่งครัด และจัดทำแผนเผชิญเหตุเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา
2019 (COVID - 19) ในโรงเรียน

               2) โรงเรียนควรประเมินความพร้อมของระบบ Thai Stop Covid Plus (TSCP+) อย่างจริงจัง
ในทุกเดือน เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ตลอดเวลา

               3) หน่วยงานต้นสังกัดและโรงเรียนต้องจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เรียนมากที่สุด
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID - 19) และมีการติดตาม ประเมินผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ไม่เข้มข้นมากนัก

               4) หน่วยงานต้นสังกัดควรออกแบบการนิเทศ ติดตามการจัดการเรียนการสอนที่ง่าย สะดวก และสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) เพื่อให้ผู้บริหารและครูเกิดทักษะ ความรู้ในการปฏิบัติงาน

               5) โรงเรียนควรออกแบบโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Online อย่างเป็นระบบ

                

 

 

 

 

 


จังหวัดพัทลุง

 

หน่วยงาน

การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา
2019 (covid-19)

ปัญหา อุปสรรค

ข้อเสนอแนะ

1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1

1. โรงเรียนผ่านการประเมินระบบ Thai Stop Covid Plus (TSCP+) และดำเนินการตามแนวทางการป้องกัน
D-M-H-T-T-A

2. โรงเรียนเริ่มเปิดเรียนตั้งแต่วันที่ 1-14 มิถุนายน 2564 ได้ครบทุกโรง (116 โรง  คิดเป็นร้อยละ 100)

โดยจัดการเรียนการสอน  4 รูปแบบ คือ

1) On Site

2) On Air

3) On Hand

4) Blended Learning ซึ่งเป็นรูปแบบที่โรงเรียนใช้มากที่สุด

1. ผู้ปกครองและนักเรียนขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์เทคโนโลยี

2. ผู้ปกครองบางส่วนต้องทำงานนอกบ้าน ไม่มีเวลาดูแลบุตรหลานในเรื่องการเรียน

3. โรงเรียนขาดแคลนงบประมาณในการทำเอกสาร ใบงาน

4. ครูส่วนใหญ่ขาดทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อผลิตสื่อการสอนออนไลน์ และการใช้งานแอพลิเคชั่นเสริม

 

2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2

1. โรงเรียนผ่านการประเมินระบบ Thai Stop Covid Plus (TSCP+) และดำเนินการตามแนวทางการป้องกัน
D-M-H-T-T-A

2. โรงเรียนเริ่มเปิดเรียนตั้งแต่วันที่ 1-14 มิถุนายน 2564 โดยจัดการเรียนการสอน

4 รูปแบบ คือ

 

 

หน่วยงาน

การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา
2019 (covid-19)

ปัญหา อุปสรรค

ข้อเสนอแนะ

 

1) On Site

2) On Air

3) On Hand

4) Blended Learning

 

 

3. สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดพัทลุง

1. โรงเรียนเริ่มเปิดเรียนตั้งแต่วันที่ 1-14 มิถุนายน 2564 ครบทุกโรง (7 โรง คิดเป็นร้อยละ 100) โดยจัดการเรียนการสอน

3 รูปแบบ คือ

1) On Site

2) On Line

3) Blended Learning

 

 

4. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพัทลุง

1. โรงเรียนทุกสังกัดในพื้นที่ ผ่านการประเมินระบบ Thai Stop Covid Plus (TSCP+) และเริ่มเปิดเรียนตั้งแต่วันที่ 1-14 มิถุนายน 2564 โดยจัดการเรียนการสอน 6 รูปแบบ เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ

1) On Site

2) On Hand

3) Blended Learning

4) On Line

5) On Air

 

 

หน่วยงาน

การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา
2019 (covid-19)

ปัญหา อุปสรรค

ข้อเสนอแนะ

 

6) On Demand

2. โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) สำนักงานคณะกรรมการการอาขีวศึกษา (สอศ.) สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช,) ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ On Site
มากที่สุด

3. โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ On Line
มากที่สุด

4. กศน.พัทลุง ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ 3 รูปแบบ คือ On Site, On Line และ On Hand

 

 

 


จังหวัดนครศรีธรรมราช

หน่วยงาน

การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา
2019 (covid-19)

ปัญหา อุปสรรค

ข้อเสนอแนะ

1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1

 

 

การจัดการเรียนการสอนมี 5 รูปแบบ คือ

1) On Air

2) On Line

3) On demand

4) Blended Learning

5) On Hand ซึ่งเป็นรูปแบบที่โรงเรียน
ใช้มากที่สุด

1. ผู้ปกครองไม่มีความรู้ ไม่สามารถสอนหรือให้ความรู้แก่บุตรหลานได้

2. ผู้ปกครองต้องทำงานนอกบ้าน ไม่มีเวลาเอาใจใส่การเรียนของบุตรหลานได้อย่างเต็มที่

3. ขาดแคลนอุปกรณ์เทคโนโลยี ไม่มีความพร้อมเรื่องสัญญาณอินเตอร์เน็ต

4. นักเรียนขาดความกระตือรือร้น เอาใจใส่ เกิดความไม่เข้าใจ ทำให้เรียนไม่ทัน

5. โรงเรียนขาดแคลนงบประมาณในการทำเอกสาร ใบความรู้  

6. บางครอบครัวมีอุปกรณ์เทคโนโลยีสำหรับใช้เรียนออนไลน์ไม่เพียงพอกับจำนวนบุตรหลาน

7. สถานที่เรียนไม่เหมาะสม ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้

 

1. ให้ความช่วยเหลือเรื่องอุปกรณ์เทคโนโลยี สัญญาณอินเตอร์เน็ต

2. จัดสรรงบประมาณด้านการจัดทำเอกสาร

3. จัดการศึกษาโดยครอบครัวในรูปแบบ “บ้านเรียน” ภายใต้กลยุทธ์ บ้านสร้าง โรงเรียนสนับสนุน เขตพื้นที่ส่งเสริม ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองมากขึ้น

2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2

1. โรงเรียนผ่านการประเมินระบบ Thai Stop Covid Plus (TSCP+) และดำเนินการตาม 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) และ 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ)

2. การจัดการเรียนการสอน มี 5 รูปแบบ คือ

1) On Site (รร.ขนาดเล็ก ไม่เกิน 60 คน)

2) On Air

3) On Line

4) On demand

5) On Hand เป็นรูปแบบที่ใช้มากที่สุด

 

1. ควรจัดทำและพัฒนาแบบเรียนสำเร็จรูป เพื่อความสะดวกและเข้าถึงได้ง่ายสำหรับนักเรียน ผู้ปกครอง และเป็นการแก้ปัญหาระยะยาวในสถานการณ์ปัจจุบัน

2, โรงเรียนต้องให้ข้อมูล คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแก่ผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง

หน่วยงาน

การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา
2019 (covid-19)

ปัญหา อุปสรรค

ข้อเสนอแนะ

3. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครศรีธรรมราช

1. โรงเรียนทุกสังกัดในพื้นที่จัดการเรียนการสอน 5 รูปแบบ คือ

1) On Line

2) On Air

3) On Demand

4) On Hand

5) Blended Learning

2. โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช,) ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ On Hand มากที่สุด

3. โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ On Line มากที่สุด

 

 

 

หมายเหตุ  ศบค. จังหวัดนครศรีธรรมราช กำหนดเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2564 (รูปแบบ On Site) ในวันที่ 12 กรกฏาคม 2564

จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

หน่วยงาน

การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา
2019 (covid-19)

ปัญหา อุปสรรค

ข้อเสนอแนะ

1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1

1. หน่วยงานต้นสังกัดสำรวจและประเมินผลความต้องการของผู้ปกครองและนักเรียนเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน และกำหนดให้ดำเนินการตามรูปแบบที่ต้องการ

 

 

2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2

 

 

 

 

 

 

 

 

1. โรงเรียนผ่านการประเมินระบบ Thai Stop Covid Plus (TSCP+) และดำเนินการตาม 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) และ 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ)

2. การจัดการเรียนการสอนมี 4 รูปแบบ คือ

1) On Line

2) On demand

3) Blended Learning

4) On Hand ซึ่งเป็นรูปแบบที่โรงเรียน
ใช้มากที่สุด

3. มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้สนับสนุนใบงาน สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนไม่เกิน 60 คน (24 โรง)

4. โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่สีเขียว (อ.ท่าชนะ

 

 

หน่วยงาน

การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา
2019 (covid-19)

ปัญหา อุปสรรค

ข้อเสนอแนะ

 

อ.ไชยา อ.ท่าฉาง อ.พนม และ อ.คีรีรัฐนิคม) มีนักเรียนไม่เกิน 120 คน และผ่านการประเมินระบบ Thai Stop Covid Plus (TSCP+) แล้ว สามารถจัดการเรียนการสอนรูปแบบ On Site ได้ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2564

 

 

3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร

1. โรงเรียนผ่านการประเมินระบบ Thai Stop Covid Plus (TSCP+) ครบทุกโรง (66 โรง  คิดเป็นร้อยละ 100)

โดยจัดการเรียนการสอน 4 รูปแบบ คือ

1) On Line ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้มากที่สุด

2) On Hand

3) On Air

4) On Demand

 

 

4. สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี

1. โรงเรียนผ่านการประเมินระบบ Thai Stop Covid Plus (TSCP+) และดำเนินการตามแนวทางการป้องกัน
D-M-H-T-T-A

2. จัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ของอาชีวศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี

(ศบค.อศจ.สุราษฎร์ธานี) เพื่อรายงาน

1. ขาดแคลนงบสนับสนุนจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันให้บุคลากรทางการศึกษา

2. การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ไม่เหมาะกับการฝึกปฏิบัติของผู้เรียนสายอาชีวศึกษา

3. ผู้เรียนมีความพร้อมไม่เท่ากันในการ

 

หน่วยงาน

การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา
2019 (covid-19)

ปัญหา อุปสรรค

ข้อเสนอแนะ

 

สถานการณ์ประจำวัน และเผยแพร่ลงเว็บไซต์ ww.covic.moe.go.th

3. โรงเรียนจัดการเรียนการสอน 2 รูปแบบ คือ

1) On Line ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้มากที่สุด

2) Blended Learning (On Line + On Site) เพื่อฝึกปฏิบัติ (ไม่เกิน 20 คน)

เรียนออนไลน์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ สัญญาณอินเทอร์เน็ต

 

หมายเหตุ  ศบค. จังหวัดสุราษฎร์ธานี กำหนดเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2564 (รูปแบบ On Site) ในวันที่ 28 มิถุนายน 2564                                                     

5. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี

1. โรงเรียนผ่านการประเมินระบบ Thai Stop Covid Plus (TSCP+) และดำเนินการตาม 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) และ 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ)

2. โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ On Hand มากที่สุด

3. โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)
ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ

On Line มากที่สุด

1. ผู้ปกครองมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการซื้อแพ็คเกจอินเตอร์เน็ต เพื่อใช้ในการเรียนออนไลน์ของบุตรหลาน

2. นักเรียนขาดอุปกรณ์เทคโนโลยีในการเรียนออนไลน์

3. ขาดงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกในการดำเนินการตามมาตรการการป้องกันโรค

4. โรงเรียนขาดการปรับปรุง และพัฒนาระบบการเรียนการสอนทางไกล

5. ผู้ปกครองไม่มีความรู้และไม่มีเวลาเต็มที่ในการดูแลการเรียนของบุตรหลาน

 

 


 บันทึข้อมูลโดย: