ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 10 มีนาคม 2564

การจัดการศึกษาห้องเรียนอาชีพสู่การสร้างอนาคตให้ผู้เรียนมีอาชีพและมีงานทำ

นโยบายที่  2. ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

                  การจัดการศึกษาห้องเรียนอาชีพสู่การสร้างอนาคตให้ผู้เรียนมีอาชีพและมีงานทำ

1)      ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

         โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1  ทุกแห่ง         

และโรงเรียนสูงเม่นชนูปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่  มีการจัดการศึกษาห้องเรียนอาชีพสู่การสร้างอนาคตให้ผู้เรียนมีอาชีพและมีงานทำ  ส่งผลให้ผู้เรียนมีคุณภาพ ดังนี้

1. นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียนและรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

2. นักเรียนมีความสามารถในการใช้สื่อค้นหาความรู้ เพื่อพัฒนาตนเองด้านอาชีพ

3. นักเรียนสามารถวางแผนการในการทำงาน ทำงานอย่างเป็นขั้นตอน มีทักษะในการ

จัดการและทำงานให้สำเร็จ

4. นักเรียนเกิดจิตสำนึกที่ดีต่อหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

5. นักเรียนมีความเพียรพยายาม ขยัน อดทน ละเอียด รอบคอบในการทำงาน ทำงาน

อย่างมีความสุข ทำงานร่วมกับผู้อื่น พัฒนางานและภูมิใจในผลงานของตนเอง

6. นักเรียนมีประสบการณ์ในงานอาชีพที่ถนัดสนใจและเหมาะสมกับศักยภาพของตนเอง 

         โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1  ทุกแห่ง และโรงเรียนสูงเม่นชนูปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่  ได้การจัดการศึกษห้องเรียนอาชีพสู่การสร้างอนาคตให้ผู้เรียนมีอาชีพและมีงานทำ ดังนี้

                         โรงเรียนสูงเม่นชนูปถัมภ์  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่ 

                            ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  ได้จัดหลักสูตรวิชาชีพที่หลากหลายตามบริบทของโรงเรียนและความสนใจของนักเรียน โดยนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจะเรียนวิชาชีพเพื่อแสวงหาความถนัดของตนเอง ซึ่งโรงเรียนได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับวิทยาลัยสารพัดช่างแพร่ในการจัดบุคคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และจัดการเรียนการสอนหลักสูตรอาชีพให้กับนักเรียน

                            ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  ได้จัดโครงการพัฒนาทักษะชีวิตและการเรียนรู้สำหรับนักเรียนร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ (อบจ.) ที่เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนงบประมาณในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้สู่อาชีพให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จะเลือกเรียนวิชาชีพที่ตัวเองต้องการประกอบอาชีพในอนาคต ซึ่งถือเป็นการเตรียมความพร้อมเด็กสู่เส้นทางอาชีพ

                      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 ดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงสู่อาชีพและการมีงานทำ ดังนี้  ดำเนินการให้เด็กและเยาวชนได้รับการศึกษาจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน วางฐานรากการศึกษาเพื่ออาชีพ สามารถวิเคราะห์ตนเองเพื่อการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพตรงตามศักยภาพและความถนัดของตนเอง รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษสู่ความเป็นเลิศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

                    1. การเสริมทักษะอาชีพในรายวิชาพื้นฐาน

                      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษานสังกัดดำเนินการจัดสอนเสริมทักษะอาชีพในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัด โดยเฉพาะในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยมุ่งพัฒนาให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถ สมรรถนะที่จำเป็นตามหลักสูตร คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และทักษะในการทำงาน และการประกอบอาชีพโดยตรง มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต บูรณาการเนื้อหา อาชีพ  กิจกรรมการเรียนการสอน ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้รวมถึงหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา และปลูกฝังลักษณะนิสัยในการทำงาน เพื่อพัฒนาให้นักเรียนสามารถนำไปสู่การประกอบอาชีพ และการทำงานได้ในอนาคตต่อไป

                      2. การเสริมทักษะอาชีพ

                      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษา ในสังกัด จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาชีพ ที่มุ่งเน้นประโยชน์ด้านการฝึกทักษะอาชีพและสามารถนำไปต่อยอดในอนาคตได้จริง เช่น  งานช่าง งานฝีมือ การออกแบบ ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ การปลูกพืชผักสวนครัวต่าง ๆ

                      3. การจัดรายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเกี่ยวกับอาชีพ

                       สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาในสังกัด จัดรายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเกี่ยวกับอาชีพ  ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาคอมพิวเตอร์และกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้กิจกรรมสหกรณ์โรงเรียนจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนจัดทำตลาดนัดขายของ เพื่อฝึกประสบการณ์ด้านอาชีพและการเรียนรู้ด้านเศรษฐศาสตร์  การปลูกพืชผักสวนครัว จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในสาระสังคมศึกษา และการงานพื้นฐานอาชีพ โดยสถานศึกษาเน้นให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ จากอินเทอร์เน็ตและแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ เกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ ที่นักเรียนมีความสนใจ

                        4. การจัดโครงงานอาชีพ 

                        สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาในสังกัดจัดทำโครงการที่ผู้เรียนกำหนดขั้นตอน ความถนัด ความสนใจ ความต้องการ โดยใช้ทักษะความรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ มาบูรณาการโดยเน้นโครงการที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน โรงเรียนและอาศัยหลักความพอเพียง ได้แก่ โครงการเลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อและไก่พันธุ์ไข่  โครงการเลี้ยงปลาดุก โครงการปลูกผักสวนครัว โครงการทำขนมไทยและน้ำสมุนไพร  โครงการทำพวงกุญแจและน้ำยาล้างจาน  โครงการทำกระเป๋าเพ้นท์ผ้าหม้อห้อม โครงการผ้าด้นมือ โครงการทำตุง โดยให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงและได้ประสบการณ์ตรงจากการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในอนาคตต่อไป

                     5. การจัดฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพ 

                      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาในสังกัดสามารถ พัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่มีอยู่จัดเป็นฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพ และส่งเสริมให้โรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้นักเรียนศึกษาหาความรู้จากสถานที่จริง เป็นการสร้างประสบการณ์ตรงที่สัมพันธ์กับชีวิตจริง ให้กับนักเรียนซึ่งแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ภายในโรงเรียนก็จะช่วยให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ พร้อมทั้งสำนึก และตระหนักเห็นคุณค่าความสำคัญของอาชีพ  

                       6. การเสริมทักษะอาชีพในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

                      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาในสังกัด จัดให้มีการนำนักเรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา ปราชญ์ชาวบ้าน และใช้กิจกรรมการแนะแนวในโรงเรียนเป็นเครื่องมือในการสร้างเจตคติต่ออาชีพของนักเรียน และค้นหาอาชีพตามความถนัดและความชอบของตนเอง

                       7. หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น

                       สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาในสังกัดดำเนินการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานทางการศึกษา สถาบันอาชีวศึกษา และสถานประกอบการ เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณวุฒิทางวิชาชีพ

                       8. การสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพ  (work Experience)

                       สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาในสังกัด ให้เน้นการสร้างเสริมประสบการณ์ด้านอาชีพ ผ่านโครงการเลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อและไก่พันธุ์ไข่  เลี้ยงปลาดุก ปลูกผักสวนครัว ทำขนมไทยและน้ำสมุนไพร  ทำพวงกุญแจและน้ำยาล้างจาน  ทำกระเป๋าเพ้นท์ผ้าหม้อห้อม ผ้าด้นมือ ทำตุง ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน บูรณาการเนื้อหา อาชีพ กิจกรรมการเรียนการสอนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และปลูกฝังลักษณะนิสัยในการทำงาน เพื่อพัฒนาให้นักเรียนสามารถนำไปสู่การประกอบอาชีพ

                      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 ให้ความสำคัญในการจัดการศึกษาห้องเรียนอาชีพสู่การสร้างอนาคตให้ผู้เรียนมีอาชีพและมีงานทำ เนื่องจากนักเรียนที่อยู่ในวัยเรียนจำเป็นจะต้องได้รับการปลูกฝังทักษะวิชาการ ทักษะวิชาชีพ และทักษะชีวิตทุกช่วงวัย โดยเฉพาะทักษะวิชาชีพเป็นทักษะที่มีความสำคัญต่อการดำรงตนและการเลี้ยงชีพของผู้เรียนโดยตรง เพราะเราไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่า นักเรียนจะออกจากระบบการศึกษาในช่วงใด เช่น นักเรียนอาจจะออกกลางคัน แต่นักเรียนจะต้องมีทักษะอาชีพและสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

2)      ข้อค้นพบ / ปัญหาอุปสรรค

1.       โรงเรียนขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพ

2.       การจัดการศึกษาห้องเรียนอาชีพสู่การสร้างอนาคตให้ผู้เรียนมีอาชีพและมีงานทำ    

ไม่สามารถดำเนินการได้เต็มที่ เนื่องจากบางทักษะอาชีพต้องใช้วิทยาการจากสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในจังหวัด  ใช้เวลา  1 - 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  ทำให้นักเรียนได้เรียนเพื่อรู้แต่ไม่สามารถไปประกอบอาชีพได้ เพราะไม่มีการฝึกทักษะอย่างต่อเนื่อง

                         3. มีความจำกัดในเรื่องของงบประมาณไม่สอดคล้องกับการดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพ เพราะการดำเนินงานเกี่ยวกับส่งเสริมอาชีพจะต้องใช้เวลาการต่อเนื่อง และใช้เวลาในการจัดกิจกรรมค่อนข้างมาก

  •                    4. ปัญหาด้านการตลาด  ไม่มีสถานที่ให้นำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่าย  ต้องนำผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมไปขายตามตลาดนัด  มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์/อาหารสำเร็จรูป เพื่อเก็บไว้ได้นาน

                         5. การใช้วัสดุอุปกรณ์ในการทำงานต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง  นักเรียนอาจต้องใช้เวลาในการฝึกทักษะการใช้วัสดุอุปกรณ์ ครูต้องคอยเฝ้าระวังดูแลเวลาทำกิจกรรม เป็นพิเศษ  ต้องระมัดระวังอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับนักเรียน

 

3)      วิธีการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

                         1. จัดหาวิทยากรภายนอกที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในทักษะชีพที่นักเรียนสนใจ และ

สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการเชื่อมโยงการจัดการศึกษาด้านอาชีพ

                         2. จัดให้นักเรียนมีเวลาเรียนทักษะอาชีพในคาบลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ และการจัด

กิจกรรมเพิ่มเติมให้กับนักเรียนในวันเสาร์-อาทิตย์

                         3. หน่วยงาน/สถานศึกษา แสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานบุคคลภายนอกให้มีการจัด

อบรมและขอรับการสนับสนุนงบประมาณ

                         4. มีการประชาสัมพันธ์เพื่อหาพ่อค้าแม่ค้าในเขตพื้นที่มารับซื้อผลิตภัณฑ์ สร้างเครือข่าย

การแปรรูปผลิตภัณฑ์

                         5. มีการประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองเพื่อให้มีการพัฒนาต่อยอดจากสถานศึกษาไปสู่ครอบครัว

                         6. ให้ความสำคัญกับการประสานงาน ระหว่างโรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครอง เพื่อนำทักษะ

อาชีพไปสร้างรายได้ระหว่างเรียน 

                         7.การสร้างมาตรการ ซักซ้อมความเข้าใจในการพัฒนาส่งเสริมการจัดกิจกรรมอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพและร่างกาย เช่น อันตรายจากเครื่องมือ เครื่องจักรกล ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะทุพพลภาพ

          4)  ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

                         1. ห้องเรียนอาชีพจะต้องเรียนอย่างมีเป้าหมายไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรระยะสั้นหรือการเตรียมความพร้อมเด็กสู่เส้นทางอาชีพ

                         2. ห้องเรียนอาชีพจะต้องมีการฝึกทักษะอย่างต่อเนื่อง และเมื่อเด็กเรียนวิชาชีพแล้วจะต้องไปประกอบอาชีพได้

                         3. หน่วยงานต้นสังกัด ควรจะมีงบประมาณ เทคโนโลยี และบุคลากร สนับสนุนในการจัดกิจกรรม เพี่อให้ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และมีการสนับสนุนนักเรียนให้ได้ประกอบอาชีพในสถานประกอบการตามความถนัดความสนใจ

            5)  ปัจจัยความสำเร็จ  (ความโดดเด่น จุดแข็ง นวัตกรรม และเกิดประโยชน์หรือผลกระทบทางบวกแก่ผู้เรียน อย่างไรบ้าง  มีต้นแบบ หรือแบบอย่างที่ดี ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามนโยบาย หรือไม่ อย่างไร)   

                         สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่  เขต  1 ร่วมกับสถานศึกษาในสังกัด ขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม  โดยสถานศึกษากำหนดแผนการดำเนินงานและจัดทำโครงการที่สร้างทัศนคติที่ดีต่ออาชีพและการแนะแนวการศึกษาเพื่ออาชีพ ดำเนินการจัดทำโครงสร้างหลักสูตรและการเรียนวิชาชีพ การบูรณาการงานอาชีพในกิจกรรมการเรียนการสอน และผู้เรียนสามารถนำไปประกอบอาชีพ เป็นการสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว ทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนต่อสายอาชีพอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งผู้เรียนยังได้รับการสร้างค่านิยมเชิงบวกในการเรียนสายอาชีพ เพื่อลดสัดส่วนการเรียนสายสามัญ และยังได้รับข้อมูลข่าวสารด้านอาชีพและด้านการศึกษา ก่อให้เกิดการเรียนรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกของอาชีพ โลกของการศึกษา ความต้องการของตลาดแรงงานที่เป็นปัจจุบัน และนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบการตัดสินใจในการศึกษาต่อและเลือกทำงาน และโรงเรียนสูงเม่นชนูปถัมภ์ มีเป้าหมายให้นักเรียนทุกคนที่เรียนจบแล้วมีที่เรียนต่อและมีงานทำ และมีแนวทางในการพัฒนาให้นักเรียนค้นหาความถนัดของตนเอง รวมถึงการเตรียมความพร้อมนักเรียนสู่เส้นทางอาชีพ โดการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนอาชีพในรูปแบบการ  บูรณาการทำงานร่วมกันระหว่างสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาอาชีวศึกษา และหน่วยงานเอกชน รวมทั้งเครือข่ายต่าง ๆ ในการร่วมกันในด้านการจัดการเรียนการสอน การฝึกประสบการณ์ และพัฒนากำลังคนให้มีความรู้พื้นฐาน รวมถึงทักษะด้านอาชีพ พร้อมคุณภาพและคุณธรรม ควบคู่ไปด้วย และมีความมุ่งหวังในการจัดการศึกษาห้องเรียนอาชีพ คือ การให้ผู้สำเร็จการศึกษาห้องเรียนอาชีพ มีทักษะอาชีพเด่น เป็นคนดี  มีงานทำ เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนสู่ไทยแลนด์ 4.0 ในปีการศึกษา 2564 ได้เปิดหลักสูตรเพิ่มเติม 3 หลักสูตร คือ
                         1. หลักสูตรเตรียมวิศวะ ในแผนการเรียน วิทย์-คณิต 

                         2. หลักสูตรภาษาจีนธุรกิจ ในแผนการเรียน ศิลป์-ภาษา
 
                        3. หลักสูตรการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ ในแผนการเรียน ศิลป์-อาชีพ

                         และโรงเรียนสูงเม่นชนูปถัมภ์ทำ MOU ร่วมกับสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางที่เน้นการศึกษาและวิจัยทางด้านธุรกิจค้าปลีก เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพ         ในเชิงวิชาการและสามารถปฏิบัติงานได้จริง เป็นเป้าหมายในการจัดห้องเรียนอาชีพเพื่อให้นักเรียนได้ค้นหาความถนัดของตนเอง รวมถึงการเตรียมความพร้อมนักเรียนสู่เส้นทางอาชีพ เมื่อนักเรียนที่เรียนจบแล้วมีที่เรียนต่อและมีงานทำทุกคน นอกจากนี้ทางโรงเรียนสูงเม่นชนูปถัมภ์ได้ทำความร่วมมือการจัดการศึกษาด้านอาชีพกับหน่วยงานการศึกษา เช่น วิทยาลัยอาชีวศึกษาแพร่มหาวิทยาแม่โจ้ - แพร่ เฉลิมพระเกียรติ, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่


ต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice) ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามนโยบาย



รายชื่อสถานศึกษา

ที่ตั้งสถานศึกษา

โครงการ/กิจกรรมและรายละเอียด

ของต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี

1. โรงเรียนบ้านอ้อยวิทยาคาร

ตำบลบ้านเวียง

อำเภอร้องกวาง  จังหวัดแพร่  54140

1. ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา

2. โครงการ School as Learning Community/ กิจกรรมฐานเศรษฐกิจพอเพียง

3. กิจกรรมการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่

4. กิจกรรมการเพาะเห็ด

5. กิจกรรมการปลูกผักสวนครัว

6. กิจกรรมตัดผม เสริมสวย

2. โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 31            (ทุ่งน้าวพุทธิมาศึกษากร)

ตำบลทุ่งน้าว  อำเภอสอง  จังหวัดแพร่  54120

1. กิจกรรมการเลี้ยงสัตว์เพื่อการศึกษา              (การเลี้ยงปลา,การเลี้ยงหมู,การเลี้ยงไก่,การเลี้ยงเป็ด,การเลี้ยงกระต่าย)

2. กิจกรรมการปลูกผักหมุนเวียน                 ตามฤดูกาล

3. โรงเรียนบ้านทุ่งโฮ้ง                  (อภิวังวิทยาลัย)

ตำบลทุ่งโฮ้ง  อำเภอเมืองแพร่  จังหวัดแพร่  54000

โครงการทักษะอาชีพตามวิถีไทยพวน

(กิจกรรมผลิตภัณฑ์งานหม้อห้อมมัดย้อม) 

4. โรงเรียนชุมชน                   บ้านหนุนเหนือ (แสงศรีวิทยา)

ตำบลบ้านหนุน  อำเภอสอง จังหวัดแพร่  54120

โครงการเปิดโลกกว้างสร้างเส้นทางสู่อาชีพ (กิจกรรมการสร้างอาชีพด้านงานไม้ และ การทำเฟอร์นิเจอร์)

5. โรงเรียนบ้านแม่แรม

ตำบลเตาปูน อำเภอสอง จังหวัดแพร่ 54120

โครงการผ้าด้นมือ/ผ้าลายม้ง

6. โรงเรียนบ้านไผ่โทน

ตำบลไผ่โทน อำเภอร้องกวางจังหวัดแพร่ 54140

กิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่/ปลูกผักปลอดสารพิษ

7. โรงเรียนบ้านแม่ทราย

ตำบลแม่ทราย

อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่

54140

กิจกรรมผลิตก้อนเชื้อเห็ด


 บันทึข้อมูลโดย: นางสาวบุษบาสุกแก้ว