ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 09 มีนาคม 2564

การจัดการเรียนการสอนและมาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19)

การตรวจราชการกรณีพิเศษ 

       1. การจัดการเรียนการสอนและมาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (COVID  19)

          1.1  มาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

               โรงเรียนบ้านหัวดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่เขต 2  ได้ปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)  และรูปแบบและแนวทางการบริหารจัดการการเรียนการสอนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) อย่างเคร่งครัด เน้นการจำกัดจำนวนผู้เรียน ครูและผู้เกี่ยวข้องที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์ในวงที่แคบและตรวจสอบได้ โดยไม่เกิน 20 คน รวมจำนวนครูและผู้เรียน และมีการเตรียมความพร้อมที่ครอบคลุมด้านการจัดการการป้องกันโรคระบาด การจัดการเรียนรู้ มีการวางแผนการทำงานร่วมกันเป็นรายสัปดาห์ รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้และพื้นที่ หรือบริเวณที่จะใช้เรียนรู้ เพื่อจะได้กำกับการรักษาความสะอาดและระยะห่างทางสังคมในสถานศึกษา รวมทั้งการเชื่อมโยงความร่วมมือกับหน่วยงานองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและการสื่อสาร ชี้แจงทำความเข้าใจ แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง ผู้เรียน เกี่ยวกับสถานการณ์ความจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่เขต 1 มีการบริหารจัดการในต้นปีการศึกษา 2563  เป็นต้นมาโดยการเตรียมการวางแผน ตรวจสอบ ประเมินความพร้อมการเปิดสถานศึกษา โดยจัดเตรียมสถานศึกษาที่อยู่ในสังกัดในการจัดการศึกษา  โดยสำรวจข้อมูลในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น วัสดุ อุปกรณ์ในการจัดเรียนการสอน สื่อ ICT ในระดับสถานศึกษาเพื่อเป็นข้อมูลสารสนเทศระดับเขตพื้นที่ และมีแนวทางบริหารจัดการ ดังนี้

     1) จัดทำคู่มือการจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา โดยใช้รูปแบบ COVID Model ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต ๑ เพื่อส่งให้สถานศึกษาในสังกัดนำไปใช้ตามบริบท

     2) ส่งเสริมการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากบุคลากรในทุกภาคส่วน มีการจัดทำคำสั่งระดับเขตพื้นที่ คำสั่งคณะกรรมการศูนย์ COVID ระดับสถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วมเพื่อให้สถานศึกษามีความพร้อมในการเปิดเรียนในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 โดยการตรวจสอบและประเมินการดำเนินการตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข ใน 6 มาตรการ 44 ข้อ โดยประเมินจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

     3) นำเสนอผลการตรวจสอบประเมินความพร้อมการเปิดสถานศึกษาในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ให้ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ในระดับจังหวัดเพื่อพิจารณาในการเปิดสถานศึกษาและประกาศใช้มาตรการในสถานศึกษาปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

     4) แจ้งแนวทางมาตรการแนวปฏิบัติในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ของหน่วยงานต้นสังกัดตามประกาศภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ให้สถานศึกษาทราบและปฏิบัติภายใต้ระเบียบข้อบังคับอย่างต่อเนื่อง

     5) ให้สถานศึกษาติดตามข่าวสาร ประกาศ แนวทางมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และถือปฏิบัติตามประกาศอย่างเคร่งครัด

6) ประกาศมาตรการแนวทางในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) กำชับและติดตามแนวทางในการปฏิบัติในส่วนของสำนักงานเขตพื้นที่เพิ่มเติมให้สถานศึกษาถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด ตามห้วงเวลาในสถานการณ์ต่าง ๆ

7) กำกับ ติดตามให้สถานศึกษารายงานข้อมูล การจัดการเรียนการสอนในห้วงระยะเวลาที่กำหนดตามสถานการณ์ รายวัน รายเดือน รายกรณีตามห้วงเวลาที่มีความจำเป็นที่มีการร้องขอให้รายงานจากหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามห้วงเวลา

       1.2  ผลการดำเนินงาน

             โรงเรียนบ้านหัวดง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2  และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่เขต 1 ได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัดตามประกาศสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 และ แพร่ เขต 2 ประกาศมาตรการและแนวปฏิบัติเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคและควบคุมการระบาดของโรคผู้เรียน ครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในกรณีที่สถานศึกษามีความพร้อมในการเปิดเรียนตามปกติ  โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่เขต 1 มีผลการดำเนินงานเชิงคุณภาพ ดังนี้

1) โรงเรียนในสังกัดมีการจัดทำ MOU ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คิดเป็นร้อยละ 100

2) โรงเรียนในสังกัดมีการจัดทำมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการในระดับสถานศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่และประกาศใช้มาตรการการป้องกันในสถานศึกษา คิดเป็นร้อยละ 100

3) โรงเรียนในสังกัดปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด คิดเป็นร้อยละ 100

4) โรงเรียนในสังกัดมีรูปแบบนวัตกรรมในการบริหารจัดการ/การจัดการเรียนการสอนตามสถานการณ์และบริบทของสถานศึกษาที่สร้างความเชื่อมั่นในการรักษาความปลอดภัยให้กับนักเรียนต่อผู้ปกครอง คิดเป็นร้อยละ 5

5) ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาศักยภาพในด้านการเพิ่มพูนทักษะในการจัดการเรียนรู้ อย่างน้อยร้อยละ 80 ในช่วงสถานการณ์การเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

6) โรงเรียนในสังกัดรายงานสถานการณ์การเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019รายวันให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่เขต 1 อย่างต่อเนื่อง (4 มกราคม 2564 - ปัจจุบัน)

7) โรงเรียนในสังกัดรายงานการจัดการเรียนการสอนและการดำเนินการตามมาตรการการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระบบ ONLINE ของหน่วยงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง 100 % ในห้วงระยะเวลาที่กำหนด

 8) โรงเรียนมีการจัดทำแผนเผชิญเหตุในการเตรียมความพร้อมในการแก้ไขสถานการณ์ ร้อยละ 100

เชิงคุณภาพ

1) โรงเรียนในสังกัดจัดการเรียนการสอนได้ตามบริบทของสถานศึกษาได้ทุกแห่ง

2) โรงเรียนในสังกัดมีการบูรณาการการทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา

3) โรงเรียนมีนวัตกรรมใหม่เพิ่มขึ้นในการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ    โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

4) ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง

5) นักเรียนได้รับการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและได้รับการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

6)นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ ตามรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียนจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบต่างๆ เช่น การเรียนการสอนผ่านระบบ ONLINE ด้วย Application ต่างๆ

7) ครู บุคลากรทางการศึกษาและนักเรียนในสังกัดไม่มีผู้ติดเชื้อจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัส        โคโรนา 2019

 

          1.3  การจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา

             โรงเรียนบ้านหัวดง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2  และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่เขต 1  ได้จัดการเรียนการสอนโดยคำนึงถึงรูปแบบและแนวทางการบริหารจัดการเรียนการสอนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) อย่างเคร่งครัด เน้นการเว้นระยะห่าง จำกัดจำนวนผู้เรียน โดยไม่เกิน 20 คน รวมจำนวนครูและผู้เรียน และโรงเรียนบ้านหัวดงสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ ดังนี้

โรงเรียนขนาดใหญ่

รูปแบบการจัดการสอนโดยการสลับชั้นเรียนในระยะแรกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม สลับกลุ่มเรียน แบ่งชั้นเรียนสลับวันเรียน สลับสัปดาห์เว้นสัปดาห์  การรักษามาตรการโดยใช้ระยะห่างระหว่างโต๊ะนักเรียน ใช้วิธีการจัดการเรียนการสอน ONLINE  ใช้โปรแกรม Application MEET , ZOOM , YouTube , TV ONLINE , DLTV  และให้ผู้ปกครองรับใบงานบความรู้รับ - ส่ง รายสัปดาห์ ในการจัดการเรียนการสอนในระยะแรก  หลังจากนั้นมีการจัดการเรียนการสอนในสภาวะปกติ ONSITE โดยการคัดกรองตามมาตรการการป้องกันอย่างต่อเนื่อง ในการประกอบกิจกรรมหน้าเสาธงมีการเว้นระยะห่างและการจัดกิจกรรมเป็นระยะๆ และรักษาตามมาตรการ 44 ข้อ ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

โรงเรียนขนาดกลาง

รูปแบบการจัดการสอนโดยการสลับชั้นเรียนในระยะแรกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม สลับกลุ่มเรียน แบ่งชั้นเรียนสลับวันเรียน สลับสัปดาห์เว้นสัปดาห์  ใช้วิธีการจัดการเรียนการสอน ONLINE เช่น TV ONLINE , DLTV และ     ใบงานแบบฝึกหัดส่งให้นักเรียนรับ - ส่ง รายสัปดาห์  มีการรักษามาตรการโดยใช้ระยะห่างระหว่างโต๊ะนักเรียน เมื่อเข้าสู่สภาวะปกติ มีการจัดการเรียนการสอนในสภาวะปกติ ON SITE  โดยการคัดกรองตามมาตรการการป้องกันอย่างต่อเนื่อง ในการประกอบกิจกรรมหน้าเสาธงมีการเว้นระยะห่างและรักษาตามมาตรการ 44 ข้อ ขโรงเรียนขนาดเล็ก

รูปแบบการจัดการสอนการจัดการเรียนการสอนในสภาวะปกติ ONSITE โดยมีการรักษามาตรการโดยใช้ระยะห่างระหว่างโต๊ะนักเรียน โดยการคัดกรองตามมาตรการการป้องกันอย่างต่อเนื่อง ในการประกอบกิจกรรมหน้าเสาธงมีการเว้นระยะห่างและรักษาตามมาตรการ 44 ข้อ ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

 

        1.4  ปัญหาอุปสรรค

     1. นักเรียนขาดความพร้อมในด้านอุปกรณ์ในการจัดการเรียนรู้ สาเหตุจากหลากหลายปัจจัยเช่น          การขาดความพร้อมของอุปกรณ์ในการรับชม ขาดทีวี ขาดกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิทัล

     2. ผู้ปกครองขาดการดูแลและระยะเวลาในการดูแลบุตรหลาน เนื่องจากต้องออกประกอบอาชีพ

     3. ผู้ปกครองเป็นผู้สูงอายุไม่มีความรู้และความพร้อมในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่บุตรหลาน

     4. ผู้ปกครองขาดความเชื่อมั่นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียน

     5. การเดินทางโดยรถโดยสารรับส่งนักเรียนที่โดยสารประจำวันในการเดินทางการเรียนไม่สามารถควบคุมได้

               6. หน่วยงานต้นสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการต้องการข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ขาดการบูรณาการในการใช้ข้อมูล

               7. งบประมาณในการจัดซื่อวัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)  ไม่เพียงพอ

               8. ในช่วงการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ การเรียนผ่านระบบออนไลน์ มีปัญหาเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารในเรื่องการทำใบงาน ทางโรงเรียนจึงแก้ปัญหาด้วยการสร้างกลุ่มไลน์ผู้ปกครองในแต่ละชั้นเรียน เพื่อติดต่อสื่อสารระหว่าง ครู เด็กนักเรียน และผู้ปกครอง และบางกรณีที่มีนักเรียนอาศัยอยู่กับ ผู้ปกครอง     ที่เกี่ยวข้องเป็นปู่ ย่า ตา ยา ผู้สูงวัยที่ไม่สามารถติดต่อสื่อสารทางออนไลน์ได้ ทางโรงเรียนแนะนำให้เด็กไปเรียนทางออนไลน์ร่วมกับเพื่อนที่มีพื้นที่บ้านใกล้เคียงได้รวมกัน ไม่เกิน 3 คน และการจัดส่งเอกสารใบงาน ในแต่ละสัปดาห์ คุณครูประจำชั้นจะนำเอกสารไปแจกให้กับนักเรียนที่บ้านโดยสลับนำเอกสารเดิมของสัปดาห์ก่อนหน้าแลกเปลี่ยนกับการนำแจกเอกสารของสัปดาห์นั้นให้กับนักเรียน 

         1.5  ข้อเสนอแนะ

                1. แก้ไขการรายงานในระบบ  http://www.covid.moe.go.th/  ให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ เพื่อลดภาระงานของสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัดในการรายงานซ้ำซ้อน และสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้

      2. สำรวจและให้การช่วยเหลือสื่อ อุปกรณ์ในการเข้าถึงเช่น มอบ  TV  กล่องรับชมสัญญาณดิจิทัลแก่นักเรียนที่ด้อยโอกาสเพื่อเป็นการแก้ไขเบื้องต้น

      3. สร้างความมั่นใจแก่ผู้ปกครองในการจัดการเรียนรู้ ด้วยการเยี่ยมบ้านและจัดทำสื่อ ใบงานในการจัดการเรียนรู้

      4. สร้างความตระหนักในการรักษามาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

      5. จัดให้มีบุคลากรเจ้าหน้าที่ออกนิเทศติดตามและร่วมติดตั้งอุปกรณ์สื่อในการเข้าถึงการจัดการเรียนรู้องกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

    6.  พิจารณาในเรื่องการจัดสรรงบประมาณในการจัดซื่อวัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) 

               7. ขับเคลื่อน ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อปลูกจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม เช่น กิจกรรมธนาคารใบไม้โดย ร่วมกับประชาชนในหมู่บ้านพัฒนาเป็นแหลงเรียนรู้เรื่องการเกษตรปลอดการเผา    ในเขตชุมชน และการประสานบูรณาการหน่วยงานในพื้นที่โดยกระทรวงมหาดไทยสำนักงานจังหวัดในการสร้างความตระหนักและมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ รักษาส่งแวดล้อมแประชาชนในพื้นที่

 





 บันทึข้อมูลโดย: นางสาวบุษบาสุกแก้ว