ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการภาค บันทึกเมื่อวันที่ Date: 06 กันยายน 2564

สรุปการตรวจ รร.มารีย์อุปถัมภ์ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ วันที่ 6 กันยายน 2564

ตรวจราชการจังหวัดศรีสะเกษ  วันที่ 6 กันยายน 2564  เวลา 09.00 - 12.00 น.

ตรวจราชการโรงเรียนมารีย์อุปถัมภ์ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

มีผลการดำเนินงาน ดังนี้

 

การตรวจราชการกรณีปกติ

1.ด้านความมั่นคง
     มีการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความจงรักภักดีต่อชาติ  ศาสนา พระมหากษัตริย์

มีการดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ/กิจกรรมที่แสดงออกถึงความจงรักภักดี การทำนุบำรุงศาสนา และการร่วมมือร่วมใจเสียสละเพื่อความมั่นคง

ของประเทศส่งเสริมให้นักเรียนแสดงออกตามอัตลักษณ์ของโรงเรียน ยิ้มสวย ไหว้งาม ปฏิบัติตามหลักคุณธรรม” หล่อหลอมให้นักเรียนมีคุณลักษณะ

อันพึงประสงค์ของสังคมตามปรัชญาของโรงเรียน “ความรู้ คู่คุณธรรม

2. ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

      เพื่อส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้เพิ่มพูนทักษะ (Re-skill) พัฒนาทักษะ (Up skill) การเรียนรู้ทักษะใหม่

(New skills) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันผ่านกิจกรรมการเรียนรู้และกิจกรรมส่งเสริมทักษะอาชีพที่หลากหลาย อาทิเช่น ส่งเสริมการทำเกษตรพอเพียง

ส่งเสริมการนำอัตลักษณ์พื้นถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นผลิตภัณฑ์โรงเรียนได้ทำกิจกรรมผ่านการเรียนการสอน เช่น ชุมนุมเบเกอรี่ ชุมนุมนักเกษตรน้อย

ชุมนุมจัดตกแต่งสวนหย่อม ชุมนุมกีฬาและชุมนุมสร้างเกม การใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน(Project Approach)ซึ่งสถานศึกษาได้มี การจัดกิจกรรมวันวิชาการเพื่อให้นักเรียนทุกระดับชั้นได้นำเสนอ โครงงานของตน

3.ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

      มีการส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนมีการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาครู

ในด้านต่าง ๆ ผ่านโครงการ/กิจกรรมในระดับเขตฯ ระดับโรงเรียน เพื่อให้ครูได้เกิดองค์ความรู้และสามารถนำเทคนิควิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน

ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 เช่น โครงการพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนรู้ โครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย โครงการสะเต็มศึกษา โครงการพัฒนาครูด้านผ่านโครงการ/กิจกรรมในระดับเขตฯ ระดับโรงเรียน เพื่อให้ครูได้เกิดองค์ความรู้และสามารถนำเทคนิควิธีการ 

จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 เช่น โครงการพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนรู้ โครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย โครงการสะเต็มศึกษา โครงการพัฒนาครูด้าน Coding และโครงการนิเทศบูรณาการ ผลจากการพัฒนาครูผู้สอน ส่งผลให้ครู

มีความรู้ ความเข้าใจมากยิ่งขึ้นผลจากการพัฒนาครูผู้สอน ส่งผลให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

4. ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม

     การใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ และใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศและใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (Digital Education Excellence Platform : DEEP) โรงเรียนได้มีการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 

     1) ด้านบริหารจัดการโรงเรียนได้ใช้ MAS SCHOOL ในงานหลัก ดังนี้ 1. ระบบงานวิชาการ 2. ระบบงานการเงินและบัญชี 3. ระบบงานบุคลากรและเงินเดือน และระบบ MAS SCHOOL ยังได้พัฒนาระบบการทำงานออนไลน์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานของครูสามารถทำงานได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านทางคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ

     2) ด้านการจัดการเรียนการสอน สถานศึกษาได้ส่งบุคลากรเข้าอบรมการใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือจัดประสบการณ์ เพื่อพัฒนาด้านการใช้ ICT อย่างเชี่ยวชาญ โดยมีการอบรมทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ซึ่งภายในได้มีการจัดอบรมด้าน การใช้ Microsoft Office เบื้องต้น การสร้างบทเรียนออนไลน์จาก Google Site/Zoom/Google Meet  YouTube PowerPoint Line Facebook และการตัดต่อ Video โดย Capcut ส่งผลให้ครูและบุคลากรในแผนกปฐมวัย สามารถสร้างบทเรียนออนไลน์ และสื่อการสอนที่ทันสมัยได้ด้วยตนเอง

     การจัดการศึกษาเด็กปฐมวัย ได้มีกระบวนการบริหารจัดการอย่างมีระบบตามโครงสร้างการบริหาร ทั้ง 4 ฝ่าย มีการบริหารงานในรูปแบบ PDCA ซึ่งแผนกปฐมวัยได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ที่ครอบคลุมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น มีแผนพัฒนา แผนปฏิบัติการ และแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดปีการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีพัฒนาการครบทั้ง+ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ - จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา โดยมีการนำรูปแบบการเรียนรู้ แบบโครงงานเป็นฐาน (Project Approach) STEM และการจัดประสบการณ์รูปแบบบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย มาบูรณาการในการจัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียนมีการประเมินพัฒนาการผู้เรียนเป็นรายบุคคล โดยใช้เครื่องมือวัดและประเมินพัฒนาการเด็กที่หลากหลาย โดยการสังเกตพฤติกรรม การสัมภาษณ์ ประเมินผลงานเด็กตามสภาพจริง มีการบริหารจัดการด้านสภาพแวดล้อมเพื่อความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ

     ความปลอดภัยของผู้เรียน โรงเรียนได้ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบาย ดังนี้ 1) ด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยเฉพาะปัญหายาเสพติดโรงเรียนได้ทำการตรวจ

คัดกรองนักเรียน ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 ตลอดถึงการจัดอบรม และจัดครูแดร์ (D.A.R.E) ตำรวจไทย มาสอนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5   ซึ่งเป็นการให้ความรู้และป้องกันเบื้องต้น ทำให้นักเรียนมีความตระหนักและปลอดภัยยิ่งขึ้น สำหรับปัญหาด้านชู้สาวได้ทำการอบรมอย่างต่อเนื่อง  2) ด้านความปลอดภัยจากยานพาหนะ รถรับ-ส่งนักเรียน โรงเรียนได้มีการประชุมผู้ประกอบการรถรับ-ส่ง ภาคเรียนละหนึ่งครั้ง เพื่อตรวจสอบยานพาหนะให้มีสภาพปลอดภัย ตรวจอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ถังดับเพลิง ตรวจประวัติคนขับรถ  3) ความปลอดภัยด้านอาคารสถานที่ โรงเรียนจัดให้มีกล้องวงจรปิดตามจุดสำคัญต่าง ๆ พร้อมทั้งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบดูแลความเรียบร้อยปลอดภัย เวรยามต่าง ๆ มีแผนการรับมือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน มีบริเวณที่สะอาดและปลอดภัยพร้อมทั้งห้องพยาบาล มีเจ้าหน้าที่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด  4) ความปลอดภัยด้านอุปโภคบริโภค จัดให้มีชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในสถานศึกษา (อย.น้อย) เพื่อตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร จัดทำความสะอาด รักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย จัดการบำบัดน้ำเสีย  5) ความปลอดภัยจากเชื้อไวรัส COVID-19 โรงเรียนได้มีมาตรการตรวจคัดกรองวัดไข้ สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่และเจลแอลกอฮอล์ที่เพียงพอจัดให้มีการเว้นระยะห่าง  1 - 2 เมตร ทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสร่วม ลดความแออัดและดำเนินการตามมาตรการอย่างเคร่งครัด  6) ความปลอดภัยด้านสื่อเทคโนโลยี โรงเรียนได้มีการประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนและผู้ปกครองได้เข้าถึงสื่อเทคโนโลยี ดิจิทัล อย่างถูกต้อง

การตรวจราชการกรณีพิเศษ 

     การจัดการเรียนการสอนและมาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีการประชุมวางแผนการดำเนินงานเพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนัก ให้กับคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา  แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)จัดทำประกาศโรงเรียน เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนมารีย์อุปถัมภ์ ปีการศึกษา พ.ศ. 2564 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนแบบ ON SITE, ON HAND, ON LINE ภายใต้คำสั่งของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดำเนินการมาตรการหลัก 6 ประการ  1) D DISTANCING เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1-2 เมตร  2) สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาในสถานศึกษา MASK WEARING 3) ล้างมือ HAND WASHING ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่นาน 20 วินาที หรือใช้เจลแอลกอฮอล์  4) ตรวจคัดกรอง วัดไข้ก่อนเข้าภายในอาคารเรียน TESTING  5) ลดการแออัด REDUCING  6) ทำความสะอาด CLEANING บริเวณพื้นผิวสัมผัสร่วม และ 6 มาตรการเสริม คือ (1) ดูแลตนเอง  SELF-CARE ดูแลใส่ใจปฏิบัติตนมีวินัยรับผิดชอบตนเองปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด (2) ใช้ช้อนส่วนตัว SPOON ใช้ช้อนกลางทุกครั้งเมื่อต้องทานอาหารร่วมกัน ลดสัมผัสร่วมกับผู้อื่น  (3) กินอาหารปรุงสุกใหม่  EATING   (4) THAICHANA ลงทะเบียนด้วยแอปพลิเคชั่น  (5) สำรวจนักเรียน ตรวจคัดกรอง CHECK สำรวจนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงเพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดกรอง  (6) กักกันตัวเอง QUARANTINE กักกันตัวเอง 14 วัน เมื่อสัมผัสหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดของโรค เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ รวมทั้งในเขตอำเภอกันทรลักษ์ และอำเภอใกล้เคียงที่มีนักเรียนอยู่ในพื้นที่การระบาดรุนแรงทำให้ไม่สามารถเรียน ON SITE ที่โรงเรียนได้

ปัญหาอุปสรรค

1.มีครูจำนวนมากยังขาดทักษะด้าน ICT จึงทำให้การรับรู้ข้อมูล หรือมีแหล่งค้นคว้าข้อมูล น้อยกว่านักเรียน นอกจากนี้สื่อการสอนที่มีแค่หนังสือหรือตำราอาจตอบสนองการรับรู้ และความต้องการของนักเรียนในศตวรรษที่  21 ได้ไม่เต็มที่

2.ครูบางคนไม่กล้าเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาตนเอง เพื่อนำมาใช้จัดกระบวนการเรียนการสอน

3.การใช้งานระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล ยังไม่เหมาะสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา และนักเรียนชั้นประถมศึกษายังไม่มีความพร้อมด้านการใช้อีเมล์ ในการเข้าระบบการเรียนรู้ต่าง ๆ  

4.เด็กนักเรียนยังขาดความพร้อมในการเรียนทางออนไลน์ ไม่มีสมาธิในการเรียน ไม่สามารถเรียนด้วยตนเองได้ขาดแรงจูงใจในการเรียน

ข้อเสนอแนะ

1.ควรมีการส่งเสริม สนับสนุน จัดการอบรมพัฒนาความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรให้มีคุณภาพในด้านการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

2.ส่งเสริมสนับสนุนให้ครู บุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาทางการใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากสื่อการเรียนรู้

ทางดิจิทัลควรเป็นสื่อที่ทันสมัย และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้สื่อเหล่านี้ได้ทันต่อยุคปัจจุบัน

3. ควรมีการนิเทศติดตามผลการอบรม และการนำไปใช้ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ

นวัตกรรม/ต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice)

1.การบูรณาการรูปแบบการสอนโดยรูปแบบโครงงานเป็นฐาน (Project Approach)

2.โรงเรียนมีระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล ครอบคลุมทุกงานนวัตกรรม/ต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice)

3.การสร้างบทเรียนออนไลน์จาก Google Site/Zoom/Google Meet YouTube และ PowerPoint และเผยแพร่บทเรียนออนไลน์ทางสื่อ Social ได้แก่ Group Line ของห้องเรียน และ Facebook ของโรงเรียนและของแผนกปฐมวัยโรงเรียนมารีย์อุปถัมภ์

ข้อเสนอแนะของผู้ตรวจราชการ

 1. โรงเรียนเอกชน ควรจะมีคุณภาพในการจัดการเรียนการสอน สูงกว่าโรงเรียนรัฐบาล เนื่องจากมีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นความพร้อมของการนักเรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และอุปกรณ์การเรียนการสอน      ซึ่งทางโรงเรียนพร้อมสนับสนุน และผู้ปกครองก็มีความพร้อมในการสนับสนุน ดังนั้นโรงเรียนเอกชนจึงมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการมากกว่า

2.จังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรม จะต้องดำเนินงานให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของจังหวัด เพื่อส่งเสริมการพัฒนาในพื้นที่ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

3.การจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ ควรจะจัดการเรียนการสอนแบบ On site แต่เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันต้องจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามบริบทของพื้นที่ให้เป็นไปตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค  ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ซึ่งต้องปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข อย่างเคร่งครัด 


 บันทึข้อมูลโดย: น.ส.สุกัลยา ประเสริฐ และ น.ส.อัญญารัตน์ รัตนา