ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการภาค บันทึกเมื่อวันที่ Date: 01 ธันวาคม 2564

รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายการตรวจราชการและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (กรณีปกติ) รอบที่ 2 เขตตรวจราชการที่ 3

สรุปผลการตรวจราชการและติดตาม

               การดำเนินงานตามนโยบายการตรวจราชการและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (กรณีปกติ) รอบที่ 2 เขตตรวจราชการที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบและรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายการตรวจราชการและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของหน่วยงาน/สถานศึกษา ในเขตตรวจราชการที่ 3 ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของการตรวจราชการและติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (กรณีปกติ) รอบที่ 2 ได้แก่ หน่วยงานการศึกษาและสถานศึกษาในเขตตรวจราชการที่ 3 จำนวน 3 จังหวัด คือ จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี ประกอบด้วย สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด จำนวน 3 แห่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 9 แห่ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 3 แห่ง สถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 4 แห่ง สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด (กศน.จังหวัด) จำนวน 3 แห่ง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัด จำนวน 3 แห่ง และสถานศึกษากลุ่มเป้าหมายในการตรวจราชการจำนวน 6 แห่ง รวมทั้งสิ้นจำนวน 31 แห่ง

               ขอบเขตด้านเนื้อหาที่ใช้ในการตรวจราชการและติดตาม ได้แก่ นโยบายการตรวจราชการและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สป. 20/2564 ลงวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2564 และคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สป. 429/2564 ลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2564 (เพิ่มเติม) จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 ด้านความมั่นคง ด้านที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ด้านที่ 4 ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคทางสังคม และด้านที่ 5 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

               เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายตรวจราชการและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่สำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการสร้างขึ้น โดยเครื่องมือฯ ดังกล่าว มีลักษณะเป็นเป็นคำถามปลายเปิด (Open–ended) โดยจำแนกเป็นรายด้านและรายประเด็น ซึ่งแต่ละประเด็นจะสอบถามเกี่ยวกับผลการขับเคลื่อนนโยบาย ปัจจัยความสำเร็จ/ต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี ข้อค้นพบ/ปัญหาอุปสรรค วิธีการแก้ไขปัญหา และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานตามนโยบาย

               การเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการโดยสำนักงานศึกษาธิการภาค 3 ส่งแบบรายงานฯ ไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในเขตตรวจราชการที่ 3 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2564 เพื่อให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในฐานะเลขานุการการตรวจราชการระดับจังหวัด นำไปจัดเก็บรวบรวมข้อมูลกับหน่วยงานการศึกษากลุ่มเป้าหมายในจังหวัด พร้อมทั้งรวบรวมและวิเคราะห์ผลเป็นภาพรวมของจังหวัด และส่งให้สำนักงานศึกษาธิการภาค 3 เพื่อวิเคราะห์และสรุปเป็นภาพรวมระดับภาค โดยนำแบบรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายตรวจราชการและการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่ได้รับกลับคืนมาจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในเขตตรวจราชการที่ 3 ครบทุกจังหวัด มาดำเนินการตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของแต่ละจังหวัด และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ตามข้อคำถามในแต่ละประเด็นการตรวจราชการและติดตาม

 

สรุปผลการตรวจราชการและติดตาม

1. ด้านความมั่นคง

               1.1 การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง และมีคุณธรรม ความเป็นพลเมือง ปลูกฝังความมีระเบียบวินัย โดยกระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด 

              1) ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                         1.1) หน่วยงานต้นสังกัด มีนโยบายและแนวทางในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาโดยน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 ที่มุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน

                               1.2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพัฒนาคุณภาพผู้บริหารการศึกษา โดยส่งผู้บริหารของหน่วยงานและผู้บริหารสถานศึกษา เข้ารับการฝึกอบรมเป็นวิทยากรแกนนำลูกเสือจิตอาสาพระราชทานของจังหวัด

                         1.3) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้เสนอผลงานเพื่อเข้ารับการคัดเลือกรางวัลผู้บังคับบัญชาลูกเสือดีเด่นจากสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ และให้สถานศึกษาส่งผลงานเพื่อเข้ารับการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบลูกเสือ ประจำปี 2564

                         1.4) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดมีการกำหนดกรอบการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพื่อให้สถานศึกษาในสังกัดใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

                         1.5) สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีคุณธรรมจริยธรรม โดยการจัดกิจกรรมสอดแทรกในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และผ่านกระบวนการลูกเสือ เนตรนารีและยุวกาชาด

                               1.6) สถานศึกษาจัดทำโครงการขับเคลื่อนด้านคุณธรรมจริยธรรม ความเป็นพลเมือง ปลูกฝังความมีระเบียบวินัย โดยการจัดโครงการกิจกรรมลูกเสือ/ยุวกาชาด และกิจกรรมจิตอาสา

                         1.7) สถานศึกษามีหลักสูตรในการสอน/การวัดผล และการประเมินทุกสิ้นภาคเรียนอย่างเป็นระบบ อีกทั้งได้พัฒนาคุณภาพครูผู้สอนให้มีความรู้รอบด้าน มีกระบวนการสอนที่แปลกใหม่

                         1.8) สถานศึกษาระดับอาชีวศึกษามีโครงการฝึกอบรมนายหมู่ลูกเสือให้กับผู้เรียนทุกปี เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี กล้าแสดงออก เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น มีจิตอาสา ศรัทธาในคำว่าบริการ

                               1.9) ครูใช้กระบวนการลูกเสือในการจัดการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองและมีการจัดกิจกรรมค่ายลูกเสือต้านยาเสพติด ค่ายทักษะชีวิตในรูปแบบผสมผสานที่เหมาะสม

                         1.10) ผู้เรียนปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคม มีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานศึกษาและสังคมได้เป็นอย่างดี โดยผ่านกระบวนการลูกเสือและยุวกาชาด

                     2) ข้อค้นพบ/ปัญหาอุปสรรค

                         2.1) เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) ส่งผลให้โครงการฝึกอบรมให้กับครูผู้สอนด้านลูกเสือ เนตรนารีและยุวกาชาด ไม่ได้รับการฝึกอบรมตามหลักสูตร รวมทั้งการขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนหรือกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง

                         2.2) สถานศึกษาบางแห่งไม่ได้กำหนดนโยบายในการบริหารงานลูกเสือไว้อย่างเป็นรูปธรรม จึงให้ความสำคัญกับกิจกรรมน้อยและไม่บูรณาการกับกิจกรรมอื่น

                         2.3) ครูขาดการสนับสนุนอย่างจริงจังด้านการจัดอบรมลูกเสือ ส่งผลให้ปริมาณของครูที่มีความสามารถด้านกระบวนการลูกเสือน้อยลง

                         2.4) สถานศึกษาบางแห่งเปลี่ยนครูผู้รับผิดชอบงานบ่อย รวมทั้งบุคลากรไม่เพียงพอในการจัดการเรียนการสอนลูกเสือแบบแยกชั้น

                     3) ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

                         3.1) กระทรวงศึกษาธิการควรกำหนดนโยบายให้กิจกรรมลูกเสือเป็นวาระแห่งชาติที่ทุกหน่วยงานต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน มีนโยบายที่ชัดเจน มีการส่งเสริมกิจการลูกเสืออย่างต่อเนื่องและจริงจัง พร้อมทั้งกำหนดระเบียบแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับลูกเสือ

                         3.2) กระบวนการทางลูกเสือ เนตรนารีและยุวกาชาด เป็นกระบวนการที่ดีที่ใช้ในการพัฒนาผู้เรียน แต่หลักสูตรและระเบียบบางอย่างควรปรับปรุงใหม่ให้ทันสมัย

                         3.3) ผู้บริหารสถานศึกษา ควรให้การสนับสนุนโดยส่งครูผู้สอนเข้ารับการอบรม เพื่อให้ได้รับความรู้ที่ทันสมัยมากขึ้น และควรปฏิบัติอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

                         3.4) กำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาดที่เหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

                         3.5) ควรจัดสรรงบประมาณการดำเนินกิจกรรมลูกเสือในระดับจังหวัด/เขตพื้นที่การศึกษา/สถานศึกษา และงบประมาณเพื่อพัฒนาสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการลูกเสือให้เพียงพอ

2. ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

                     2.1 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกช่วงวัย โดยเพิ่มพูนทักษะ (Re-skill) พัฒนาทักษะ (Up skill) และการเรียนรู้ทักษะใหม่ (New skills) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

                     1) ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                         การเพิ่มพูนทักษะ (Re-skill) (การสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็นในการทำงานให้สอดคล้องกับความต้องการ)

                         1.1) หน่วยงานการศึกษาบางแห่งมีการจัดทำโครงการ 1 โรงเรียน 1 อาชีพ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพให้ผู้เรียน โดยจัดกิจกรรมที่หลากหลายตรงกับความต้องการ

                         1.2) สถานศึกษามีการจัดการศึกษาพัฒนาอาชีพเพื่อการมีงานทำสำหรับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของผู้เรียน

                         การพัฒนาทักษะ (Up skill) (การพัฒนาเพื่อยกระดับทักษะเดิมให้ดีขึ้นเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต)

                         1.1) หน่วยงานการศึกษามีการวางแผนการขับเคลื่อนนโยบาย โดยจัดทำโครงการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและกระบวนการเรียนรู้ ให้ครูผู้สอนสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

                         1.2) สถานศึกษาจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะอาชีพแก่ผู้เรียน มีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติอีกทั้งสร้างเครือข่ายเพื่อการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาตลอดจนจัดกิจกรรม/โครงการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของผู้เรียนในด้านการพัฒนาทักษะต่างๆ

                         1.3) สถานศึกษาถ่ายทอดนโยบายและส่งเสริมครูผู้สอนให้มีความพร้อมในการถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียนและพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพของแต่ละบุคคล

                         การเรียนรู้ทักษะใหม่ (New skills) (การเรียนรู้ที่จำเป็นในอนาคต และสามารถพัฒนาไปสู่การคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ และสามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้)

                         1.1) สถานศึกษาจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้จักคิดค้นทักษะกระบวนการ เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในเทคนิควิธี นวัตกรรมกระบวนการใหม่ๆ

                         1.2) สถานศึกษาส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนทุกช่วงวัย มีทักษะในการเรียนรู้และต่อยอดเพิ่มการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ

                     2) ข้อค้นพบ/ปัญหาอุปสรรค

                         2.1) แนวปฏิบัติในการดำเนินการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานการศึกษาและเครือข่าย เพื่อการเพิ่มพูนทักษะ การพัฒนาทักษะ และการเรียนรู้ทักษะใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ยังไม่เป็นรูปธรรม

                         2.2) สถานศึกษามีเครื่องมือและอุปกรณ์ในการฝึกอาชีพไม่เพียงพอและไม่ทันสมัย อีกทั้งครูบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการ บูรณาการหลักสูตรเพื่อการมีงานทำกับโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา

                         2.4) ผู้ปกครองต้องดูแล ช่วยเหลือ เอาใจใส่ผู้เรียนในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ และติดตามการเรียนรู้ของผู้เรียนตามที่ครูมอบหมายอย่างต่อเนื่อง

                         2.5) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้ครูต้องปรับรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่งผลให้ผู้เรียนไม่สามารถนำทักษะไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

                     3) ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

                         3.1) กระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานต้นสังกัดควรจัดหลักสูตรฝึกอบรมที่หลากหลายด้วยระบบออนไลน์ เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามความสนใจ

                         3.2) กระทรวงศึกษาธิการควรมีแผนพัฒนาบุคลากร เพื่อให้สามารถพัฒนางานให้เหมาะกับในยุค New Normal รู้เท่าทันเทคโนโลยี รวมทั้งควรสนับสนุนอัตราครูในโรงเรียนประถมศึกษาที่จบสายวิชาชีพอย่างน้อย โรงเรียนละ 1 อัตรา เพื่อพัฒนา/เพิ่มทักษะสายอาชีพให้ผู้เรียน

                         3.3) กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ควรให้สถานศึกษาสายอาชีพทุกแห่งสามารถเปิดสอนถึงระดับปริญญาตรีเป็นอย่างน้อยและมีแนวทางพัฒนาครูและบุคลากรในสถานศึกษาเอกชนให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งเพิ่มสวัสดิการด้านต่างๆ ให้ทัดเทียมกับสถานศึกษาของรัฐบาล

                         3.4) หน่วยงานต้นสังกัดควรส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดทำห้องเรียนพิเศษเพื่อจัดการเรียนการสอนตามบริบทของท้องถิ่น

                         3.5) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ควรมีโครงการความร่วมมือให้โรงเรียนประถมศึกษาที่เปิดสอนระดับมัธยมต้น (โรงเรียนขยายโอกาส) ได้เข้าศึกษาเตรียมความพร้อมในสถานศึกษาสายอาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าเรียนต่อระดับวิชาชีพ

               2.2  การจัดการศึกษาแบบทวิศึกษาและห้องเรียนอาชีพสู่การสร้างอนาคตให้ผู้เรียนมีอาชีพและมีงานทำ

                     1)  ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                         1.1) หน่วยงานการศึกษาประชุมผู้บริหารสถานศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาผ่านการประชุมทางไกล เพื่อชี้แจงนโยบาย มาตรการและแนวทางการดำเนินการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๔ มุ่งสร้างพื้นฐานผู้เรียนทั้ง 4 ด้าน โดยเฉพาะด้านการมีงานทำมีอาชีพ

                         1.2) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน จัดโครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่ผู้เรียนครอบครัวยากจนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับ

                         1.3) หน่วยงานการศึกษาส่งเสริมสนับสนุนการเสริมทักษะและสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพให้กับสถานศึกษาได้เตรียมความพร้อมด้านข้อมูลของผู้เรียนโดยใช้โปรแกรมวัดความถนัดทางอาชีพ แบบออนไลน์ (Online) รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษามีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

                         1.4) สถานศึกษาประเภทอาชีวศึกษาทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการจัดการศึกษาระบบทวิศึกษาและสร้างห้องเรียนอาชีพให้กับสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาทั้งในและนอกกระทรวงศึกษาธิการ ในหลักสูตร/สาขาต่างๆ

                        1.5) สถานศึกษาส่งเสริมสนับสนุนและทำความร่วมมือ (MOU) กับสถาบันอุดมศึกษา สถานศึกษาอาชีวศึกษา หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ในการจัดการศึกษาทวิศึกษาและห้องเรียนอาชีพให้กับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาด้วยวิธีการที่หลากหลาย ตลอดจนจัดให้มีแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกสถานศึกษา 

                     2) ข้อค้นพบ/ปัญหาอุปสรรค

                         2.1) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถเปิดฝึกทักษะในสาขาที่ผู้เรียนต้องการเข้ารับการฝึกทักษะวิชาชีพได้ ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถได้รับการฝึกทักษะวิชาชีพตามที่สมัครไว้

                         2.2) ผู้เรียนไม่สนใจสมัครเข้าเรียนในหลักสูตรทวิศึกษา ซึ่งผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นนักเรียนชายขอบ ชาติพันธุ์ ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ

                         2.3) สถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา มีข้อจำกัดเกี่ยวกับเวลาเรียนของผู้เรียน และจำนวนครูผู้สอนไม่เพียงพอ เนื่องจากต้องจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนเป็นจำนวนมาก อีกทั้งการจัดการศึกษาระบบทวิศึกษา ส่งผลกระทบต่อทักษะเฉพาะของผู้เรียนเพราะผู้เรียนต้องปรับตัวให้เข้ากับระบบการศึกษาทั้ง 2 ระบบ คือ อาชีวศึกษาและพื้นฐาน

                         2.4) สถานประกอบการที่มีความพร้อมในพื้นที่สำหรับผู้เรียนเข้าฝึกประสบการณ์มีจำนวนน้อย และยังไม่เห็นความสำคัญของการทำแผนการเรียนร่วมกับสถานศึกษา อีกทั้งหลักสูตรการเทียบโอนผลการเรียนเข้าสู่หลักสูตรอาชีวศึกษายังไม่มีความเข้าใจที่ชัดเจน

                     3) ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

                         3.1) สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานที่เป็นหน่วยฝึกทักษะวิชาชีพ ควรมีการสำรวจความต้องการในสาขาที่ผู้เรียนต้องการเข้ารับการฝึกทักษะวิชาชีพ

                         3.2) กระทรวงศึกษาธิการควรส่งเสริม สนับสนุนให้มีสถานศึกษาจัดการศึกษารูปแบบทวิศึกษาและห้องเรียนอาชีพในพื้นที่ และประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการบริหารจัดการทั้งครูผู้สอน วัสดุฝึก และอื่นๆ เพื่อให้สามารถพัฒนาทักษะอาชีพของผู้เรียนมีอาชีพและมีงานทำ

                         3.3) หน่วยงานต้นสังกัดที่เกี่ยวข้องควรชี้แจงนโยบายและสร้างความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้อย่างยืดหยุ่น โดยใช้แหล่งข้อมูลเป็นฐานและสร้างเสริมบรรยากาศที่เอื้อต่อการพัฒนาทักษะอาชีพ

               2.3  การจัดการศึกษาแบบทวิภาคี

                     1)  ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                         1.1) สถานศึกษาดำเนินการสำรวจความพร้อมของสถานประกอบการ หน่วยงาน และองค์กรต่างๆ ในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีร่วมกับสถานศึกษา

                         1.2) สถานศึกษาทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับสถานประกอบการ หน่วยงาน และองค์กรที่มีความพร้อมในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีทั้งภายในและนอกจังหวัดตลอดจนทำแผนจัดการเรียนรู้และแผนการฝึกอาชีพร่วมกับสถานประกอบการ หน่วยงาน และองค์กร

                         1.3) สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคีในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการทำงานในสถานประกอบการจริง มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานตรงกับสาขาที่เรียน

                     2) ข้อค้นพบ/ปัญหาอุปสรรค

                         2.1) สถานประกอบการที่มีความพร้อมในการทำความร่วมมือ (MOU) มีจำนวนน้อย ซึ่งสถานประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีครูฝึกที่ผ่านการฝึกอบรม

                         2.2) สถานศึกษาได้รับผลกระทบในการส่งผู้เรียนออกฝึกอาชีพในสถานประกอบการ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

                         2.3) ผู้เรียนไม่ต้องการฝึกอาชีพนอกพื้นที่ (ต่างอำเภอ/จังหวัด) ที่ตนเองพักอาศัย และหลายสถานประกอบการมีความเสี่ยงสูงในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

                         2.4) ติดขัดในเรื่องกฎระเบียบในการลดหย่อนภาษี หน่วยงานที่ให้ผ่านการรับรองยังไม่เข้าใจ หรือขัดแย้ง/แข่งขันกันกับระบบการจัดการศึกษาทวิภาคี

                     3) ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

                         3.1) หน่วยงานต้นสังกัดอาชีวศึกษาควรจัดทำแผนพัฒนาครูฝึกในสถานประกอบการไว้ล่วงหน้าในทุกปีงบประมาณ เพื่อให้สถานประกอบการวางแผนกำลังคนของสถานประกอบการไม่ให้กระทบกับภาระงานปกติ

                         3.2) กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ ให้ชัดเจนและทำความตกลงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจในการร่วมกันดำเนินการ

                         3.3) หน่วยงานต้นสังกัดควรมีการประสานกับแรงงานจังหวัดหรืออุตสาหกรรมจังหวัด เพื่อเปิดช่องประชาสัมพันธ์ หรือติดต่อประสานสถานประกอบการในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี

                         3.4) หน่วยงานต้นสังกัดควรกำหนดนโยบายให้ชัดเจน เพื่อให้สถานศึกษานำไปสู่การปฏิบัติและประสานความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอน

               2.4  การขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center)

                     1)  ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                         1.1) สถานศึกษาในจังหวัดราชบุรีอยู่ระหว่างดำเนินการเปิดศูนย์อบรมเทคโนโลยีที่ผสานโลกเสมือนเข้ากับโลกแห่งความเป็นจริง (Augmented Reality หรือ AR) พร้อมระบบเอเอสเอ็ม (ASM)

                         1.2) สถานศึกษาในจังหวัดกาญจนบุรี มีการขับเคลื่อนตามลักษณะของสถานศึกษา อาทิ จัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ พัฒนาความเป็นเลิศให้มีความโดดเด่นในด้านพืช ด้านการโรงแรม การท่องเที่ยว และจัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นการปฏิบัติในทางอุตสาหกรรม เป็นต้น

                         1.3) สถานศึกษาในจังหวัดสุพรรณบุรี มีการขับเคลื่อนตามลักษณะของสถานศึกษา อาทิ เป็นศูนย์การเรียน Isuzu/พร้อมสถานที่จัดการศึกษาที่ทันสมัยรองรับการเรียนการสอน จัดการเรียนการสอนตามนโยบาย 1 สถานศึกษา 1 หลักสูตรพรีเมี่ยม และจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล

                     2) ข้อค้นพบ/ปัญหาอุปสรรค

                         2.1) สถานศึกษามีครูสาขาวิชาช่างไฟฟ้าและห้องเรียนไม่เพียงพอสำหรับดำเนินการ รวมถึงห้องปฏิบัติการ AR หรือห้องเรียน AR การศึกษาที่เปิดโลกแห่งจินตนาการ

                         2.2) สถานศึกษามีงบประมาณไม่เพียงพอต่อการพัฒนา จึงทำให้ติดขัดในบางประเด็น ประกอบกับมีอุปกรณ์ เครื่องมือไม่ทันสมัยกับตัวอุตสาหกรรมในปัจจุบัน

                         2.3) สถานศึกษาไม่สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานได้อย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

                     3) ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

                         3.1) หน่วยงานต้นสังกัดควรดำเนินโครงการตามนโยบายอย่างรวดเร็ว เพื่อให้สามารถใช้สำหรับการเรียนการสอนและอบรมในปีการศึกษา 2565

                         3.2) หน่วยงานต้นสังกัดควรพิจารณาการจัดสรรงบประมาณเป็นพิเศษให้กับสถานศึกษาที่ขาดแคลนจริง เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) ได้ และสนับสนุนเครื่องมือที่เหมาะสมและทันสมัยกับยุคปัจจุบันให้กับสถานศึกษา

3.  ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

               3.1   การส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21

                     1)  ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                         1.1) ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 (3R8C) พร้อมทั้งนิเทศติดตามและประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนของครูสู่ในศตวรรษที่ 21

                         1.2) ส่งเสริมการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าสิ่งที่สนใจและสามารถปฏิบัติได้ตามศักยภาพและความพร้อมของผู้เรียนรายบุคคล ตลอดจนถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning (PBL) ตามโครงการ Active Learning ภาคีเครือข่ายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                         1.3) ผู้เรียนทุกคนได้รับการพัฒนาทักษะ 3 R คือ Reading อ่านออก (W)Riting เขียนได้ และ (A)Rithmatic มีทักษะในการคำนวณ มีผลการพัฒนาแตกต่างกันตามศักยภาพรายบุคคล และผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะ 8 C โดยครูปรับใช้กิจกรรมการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

                         1.4) หน่วยงานการศึกษากำหนดนโยบายที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมในการให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ

                         1.5) สถานศึกษามีการพัฒนาความพร้อมด้านสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการเรียนภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมทั้งจัดโครงการฝึกอบรมการใช้สื่อการสอนออนไลน์ โดยใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์ในโครงการอบรมการใช้งาน Google Classroom, Google Meet ให้ครูผู้สอน    

                     2) ข้อค้นพบ/ปัญหาอุปสรรค

                         2.1) หน่วยงานการศึกษาไม่สามารถดำเนินกิจกรรม/โครงการตามแผนที่กำหนดไว้ และไม่สามารถนิเทศ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษาได้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

                         2.2) หน่วยงานการศึกษาและสถานศึกษายังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21

                         2.3) ครูบางส่วนยังไม่ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ยังคงเน้นเนื้อหาสาระในตำรา เน้นบรรยายให้ผู้เรียนจดจำ อีกทั้งครูขาดความชำนาญในการเขียนแผนการสอนแบบ Active Learning ขาดทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยี และขาดการบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้

                     3) ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

                         3.1) กระทรวงศึกษาธิการควรปรับเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนรู้ที่เน้นฐานสมรรถนะคือ มุ่งไปยังพฤติกรรมที่ผู้เรียนโดยตรง ยึดความสามารถที่ผู้เรียนพึงปฏิบัติได้เป็นหลัก โดยให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

                         3.2) หน่วยงานต้นสังกัดควรให้ครูทุกคนได้รับการอบรม/พัฒนา เพื่อเพิ่มเทคนิควิธีการสอนในรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย และสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 (3R8C)

               3.2  การพัฒนาครูให้มีทักษะความรู้และความชำนาญการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และภาษาอังกฤษ รวมทั้งการจัดการเรียนการสอน (Human Capital Excellence Center : HCEC)

                     1)  ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                         ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

                         1.1) จัดทำหลักสูตรพัฒนาให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีทักษะในการใช้สื่อและเทคโนโลยีเพื่อจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผ่านรูปแบบออนไลน์

                         1.2) จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการห้องเรียนออนไลน์ เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนการสอนให้ครูสามารถนำความรู้ไปใช้ในการทำงานกับ Google Classroom รวมทั้งจัดทำแอพพลิเคชั่น เพื่อการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสื่อการเรียนรู้สำหรับครู ส่งผลให้ครูใช้แอพพลิเคชั่นในการจัดการเรียนการสอน

                         1.3) ศูนย์พัฒนาบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (HCEC) จัดโครงการอบรมออนไลน์ หลักสูตรพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาผ่านแอพพลิเคชั่น Zoom Meeting

                         ด้านภาษาอังกฤษ

                         1.4) ส่งครูที่เคยเข้าร่วมโครงการ Boot camp ครูที่จบเอกภาษาอังกฤษ และครูที่สอนวิชาภาษาอังกฤษแต่ไม่ได้จบเอกภาษาอังกฤษ เข้ารับการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษ ผลการทดสอบอยู่ระหว่างระดับต่ำกว่า A1–B2 รวมทั้งส่งบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ผอ.สพท./รองผอ.สพท./ผอ.กลุ่ม และศึกษานิเทศก์ เข้ารับการทดสอบทักษะภาษาอังกฤษ ผลการทดสอบอยู่ระหว่างระดับต่ำกว่า A1 – A

                         1.5) จัดทำหลักสูตรออนไลน์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน เพื่อให้ครูและผู้สนใจเข้ารับการอบรมโดยศึกษาเนื้อหาหลักสูตร และทำการวัดและประเมินผล

                         1.6) สถานศึกษามีการส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัย โดยจัดกิจกรรมขยายผลการเรียนการสอนตามรูปแบบโครงการเด็กไทยพูดอังกฤษได้ (English for All)

                         1.7) มีเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาภาษาอังกฤษ โดยการขับเคลื่อนการเรียนการสอนภาษาอังกฤษผ่านเครือข่ายศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ระดับประถมศึกษา PEER Center

                         ด้านการจัดการเรียนการสอน

                         1.8) มีการนิเทศการใช้สื่อและนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน

                         1.9) บุคลากรของสถานศึกษาสาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์เข้ารับการฝึกอบรม มาตรฐานการโปรแกรมควบคุม PLC

                     2) ข้อค้นพบ/ปัญหาอุปสรรค

                         2.1) ครูบางคนไม่สามารถทำความเข้าใจและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีความแตกต่างเฉพาะบุคคลและความแตกต่างทางด้านการเรียนรู้

                         2.2) ข้อมูลการเข้ารับการทดสอบไม่เป็นปัจจุบัน เนื่องจากมีการโยกย้ายครูไปยังสังกัดอื่น ประกอบกับระบบและอุปกรณ์สำหรับทดสอบไม่สามารถรองรับการทดสอบได้

                         2.3) การพัฒนาด้านภาษาอังกฤษค่อนข้างยาก เพราะเป็นเรื่องทักษะที่ต้องอาศัยเวลาในการฝึกฝน และต้องใช้บ่อยๆ อีกทั้งผู้เรียนขาดอุปกรณ์ในการ

                         2.4) ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (HCEC) มีระบบการบริหารจัดการไม่คล่องตัวทั้งในด้านการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์ และการทดสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษ (CEFR) ไม่เป็นไปตามความต้องการของครู อีกทั้งการพัฒนาศูนย์ HCEC ดำเนินการไม่ต่อเนื่อง

                         2.5) ครูยังขาดความเข้าใจในการใช้แพลตฟอร์ม Human Capital Excellence Center : HCEC เนื่องจากยังไม่ชำนาญในด้านการใช้เทคโนโลยี และภาษาอังกฤษที่เป็นสื่อกลางในการจัดการเรียนการสอน

                         2.6) สถานศึกษาขาดความพร้อมในระบบปฏิบัติการทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้มีข้อจำกัดในการพัฒนาแบบ face to face

                     3) ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

                         3.1) กระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานต้นสังกัด ควรประกาศแนวนโยบายที่ชัดเจนในการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาภายหลังจากได้รับการทดสอบแล้ว รวมทั้งกำหนดนโยบายเรื่องความก้าวหน้าในวิชาชีพ โดยให้ครูปฏิบัติงานและสามารถนำผลงานมาใช้ในการประเมินวิทยฐานะได้

                         3.2) หน่วยงานต้นสังกัดทั้งในส่วนกลางและพื้นที่ ควรสร้างขวัญและกำลังใจและจัดสรรอุปกรณ์การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์

                         3.3) คณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ HCEC ควรวางแผนการดำเนินการไว้ล่วงหน้า เพื่อให้มีระยะเวลาในการเข้ารับการทดสอบให้กับบุคลากรอย่างครอบคลุมและทั่วถึง

               3.3  หลักสูตรฐานสมรรถนะ

                     1)  ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                         หน่วยงานการศึกษาดำเนินการขับเคลื่อนหลักสูตรฐานสมรรถนะ ดังนี้

                         1.1) สร้างความเข้าใจให้กับสถานศึกษาโดยจัดส่งเอกสารให้สถานศึกษาได้ศึกษาและทำความเข้าใจในหลักสูตรฐานสมรรถนะ

                         1.2) ส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาให้มีการดำเนินการขับเคลื่อนหลักสูตรฐานสมรรถนะ โดยจัดอบรมให้กับสถานศึกษา และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูตามหลักสูตรการออกแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน

                         1.3) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดำเนินการนำร่องโดยใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะในสถานศึกษาที่เข้าโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

                         1.4) ส่งเสริมสถานศึกษาในการจัดการเรียนการสอนโดยนำสมรรถนะและตัวชี้วัดที่สอดคล้องกันมาออกแบบการสอนร่วมกัน

                         1.5) สถานศึกษาใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะ เชื่อมโยงกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 และหลักสูตรสถานศึกษา พ.ศ. 2560 โดยมีการบูรณาการจัดการเรียนการสอนบางรายวิชา

                     2) ข้อค้นพบ/ปัญหาอุปสรรค

                         2.1) ยังไม่สามารถนิเทศติดตามและประเมินผลการสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรฐานสมรรถนะได้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

                         2.2) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยังขาดความชัดเจนในการนำหลักสูตรฐานสมรรถนะไปใช้ในสถานศึกษาและขาดผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา

                         2.3) ขาดศูนย์รวบรวมข้อมูลหลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่จะเป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ Online อีกทั้งครูและบุคลากรทางการศึกษาบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจในหลักสูตรฐานสมรรถนะ

                     3) ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

                         3.1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ควรจัดประชุมปฏิบัติการให้กับศึกษานิเทศก์/สถานศึกษานำร่องเขตพื้นที่นวัตกรรมก่อน และประกาศใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะที่เป็นแกนกลาง

                         3.2) กระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานต้นสังกัดควรมีการจัดทำเว็บไซต์กลาง เพื่อการสืบค้นข้อมูลหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลหลักสูตรฐานสมรรถนะ

4.  ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม

               4.1    การใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ และใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (Digital Education Excellence Platform : DEEP)

                          1)   ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                               1.1)  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแจ้งให้สถานศึกษาขยายโอกาสทางการศึกษา ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้และใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเรียนรู้

                         1.2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีการส่งเสริมให้ครูมีความรู้และทักษะความชำนาญการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

                         1.3) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และจัดกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์

                         1.4) ใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใน    รูปแบบออนไลน์ และที่ศูนย์ดิจิทัลชุมชนของ กศน.ตำบล สำหรับการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย

                         1.5) สำนักงาน กศน.ส่วนกลาง ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ พัฒนาสื่อการเรียนออนไลน์ หลักสูตรการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ จำนวน 15 รายวิชา      

                               1.6) ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลระบบและนายทะเบียนข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาได้รับการพัฒนาด้านดิจิทัลแพลตฟอร์ม DEEP ของกระทรวงศึกษาธิการ

                         1.7) ครูผู้สอนมีห้องเรียนออนไลน์เพื่อใช้ในการเรียนการสอนและสื่อสารกับผู้ปกครอง โดยมีการเลือกใช้อย่างเหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละช่วงวัย และได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองเป็นอย่างดี

                               1.8) ครูจัดทำสื่อการสอน คลิปวีดีโอ มีการนำสื่อสารสนเทศมาประกอบในการจัดการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจมากขึ้น

                               1.9) ผู้เรียนมีการเรียนรู้ผ่านช่องทางต่างๆ ทำให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะในการแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง

                     2) ข้อค้นพบ/ปัญหาอุปสรรค

                         2.1) เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นสาเหตุสำคัญทำให้สถานศึกษาไม่สามารถขับเคลื่อนให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ รวมทั้งขาดงบประมาณในการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยี 

                         2.2) ระบบ Digital Education Excellence Platform : DEEP ระบบมีความขัดข้องบ่อย ประกอบกับขั้นตอนการใช้งานยุ่งยากซับซ้อนมาก

                         2.3) ครูผู้สูงวัยไม่มีความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีและการใช้งาน DEEP อีกทั้งระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ตเข้าไม่ถึงส่งผลให้การเรียนรู้ไม่ต่อเนื่อง

                         2.4) ผู้เรียนขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีในการเรียนออนไลน์ จึงไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนได้ ประกอบกับบางพื้นที่สัญญาณอินเทอร์เน็ตยังไม่ครอบคลุม

                     3) ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

                         3.1) สถานศึกษาควรพัฒนาห้องเรียนออนไลน์อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

                         3.2) ในนโยบาย DEEP หลังจากได้มีการขับเคลื่อนในช่วงแรก หน่วยงานต้นสังกัด (สพฐ.) ก็ไม่ได้มีความเคลื่อนไหวต่อ จึงทำให้ผู้ขับเคลื่อนนโยบายไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง

                         3.3) ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนและผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการเลือกใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล

                               3.4) ควรมีการสนับสนุนด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเรียนการสอน

                         3.5) ควรมีการพัฒนาคู่มือการใช้งานของระบบ Deep ในสถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่บุคลากรในสถานศึกษา และเป็นสถานศึกษาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้

                         3.6) ควรจัดสรรงบประมาณส่งเสริมการบริหารด้านเทคโนโลยีให้กับสถานศึกษาในการพัฒนาระบบ เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                         3.7) ควรสร้างความเชื่อมั่นในการใช้แพลตฟอร์ม DEEP ว่าสามารถใช้งานได้จริงมีการต่อยอดและขับเคลื่อนอย่างจริงจัง และเกิดประโยชน์กับทุกฝ่าย

                         3.8) จัดหลักสูตรอบรมครูทางออนไลน์ เพื่อแนะนำวิธีการใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างๆ โดยจำแนกเป็นระดับชั้น

                         3.9) ส่วนกลางควรเพิ่ม server เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสามารถเข้าใช้งานได้สะดวกขึ้น

                   4.2   การจัดการศึกษาเด็กปฐมวัย

                     1) ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                               1.1) เขตพื้นที่การศึกษาจัดทำนโยบาย มาตรการและแนวทางการดำเนินการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2564 ให้กับผู้บริหารและครูในสังกัด เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้/กิจกรรม Active Learning

                         1.2) หน่วยงานต้นสังกัดจัดทำเอกสารที่ส่งเสริมพัฒนาการความพร้อมด้านการอ่านการเขียนสำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อเผยแพร่เอกสารให้กับครูผู้สอนปฐมวัยทุกสถานศึกษา

                         1.3) สถานศึกษาส่งเสริมสนับสนุนให้ครูปฐมวัยเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทยด้วยระบบทางไกล รวมถึงสถานศึกษาและครูปฐมวัยได้รับการนิเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมหลากหลายช่องทาง

                         1.4) ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาและขยายการเข้าถึงการบริการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ทั่วถึงครอบคลุมผู้เรียนให้ได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพและมีคุณภาพด้วยการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัย

                         1.5) ส่งเสริมสนับสนุนและเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้ครูจัดทำนวัตกรรม โดยการจัดทำคลิปการสอนผ่านสื่อออนไลน์ เพื่อใช้แก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

                               1.6) จัดทำโครงการประเมินพัฒนาการผู้เรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา

                         1.7) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 ดำเนินกิจกรรมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย ระดับปฐมวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

                         1.8) สถานศึกษาจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการที่ดีทั้ง 4 ด้าน รวมทั้งเสริมการเรียนวิชาการให้มีพื้นฐานในการเรียนต่อในระดับชั้น ป.1

                         1.9) ครูปฐมวัยได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ วิทยาการคำนวณระดับปฐมวัย

                         1.10) ครูมีการเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาเด็กปฐมวัย โดยเน้นการประเมินพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ให้เป็นไปตามหลักสูตรและสถานการณ์ช่วงโควิด-19 ระบาด

                               1.11) ผู้เรียนมีความสนใจในการทำงาน และมีความรับผิดชอบในงานที่ครูประจำชั้นได้มอบหมายให้ทำ รวมทั้งมีการตอบสนองต่อครูประจำชั้นที่ดี

                          2) ข้อค้นพบ/ปัญหาอุปสรรค

                         2.1) การเตรียมประเมินความพร้อมต้องเร่งดำเนินการภายใต้ระยะเวลาที่จำกัด  เนื่องจากได้รับการแจ้งจัดสรรงบประมาณจาก สพฐ. ในเวลาที่กระชั้นชิด

                         2.2) เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้การจัดการเรียนการสอน/กิจกรรมในระดับชั้นปฐมวัยดำเนินการได้ไม่เต็มที่

                         2.3) สถานศึกษา/บ้านผู้เรียนตั้งอยู่ในพื้นที่สูงจะมีปัญหาเกี่ยวกับสัญญาณอินเทอร์เน็ต และปัญหาการใช้ภาษาสื่อสารกับผู้ปกครอง เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์

                         2.4) เนื่องจากสถานศึกษาส่วนใหญ่เป็นสถานศึกษาขนาดเล็ก บุคลากรมีจำนวนจำกัด จึงส่งผลให้ครูปฐมวัยส่วนใหญ่เป็นอัตราจ้าง ไม่มีทักษะในการจัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียน

                         2.5) ครูที่จบเอกอนุบาลและผ่านการอบรมการสอนระบบ Montessori ที่เข้าใจหลักการจริงๆ มีจำนวนน้อย อีกทั้งครูยังไม่สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ตามที่ต้องการ

                         2.6) ผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าเรียนและช่วยเหลือตนเองได้ในการเข้าเรียนผ่านระบบ Zoom จำเป็นต้องให้ผู้ปกครองเป็นผู้ดูแลการเข้าเรียนตามช่วงเวลาที่สถานศึกษาจัดตารางเรียนไว้

                     3) ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

                         3.1) รัฐต้องกำหนดเป้าหมาย นโยบาย และหลักสูตรให้ชัดเจนสำหรับการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เหมาะสมและต่อเนื่องทั้งในระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา

                         3.2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดอบรมบุคลากรทางการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษาในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแบ่งปันข้อมูลในการดูแลและพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย

                         3.3) จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอและทัดเทียมกันทั้งในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้กับครูและผู้เรียนในการจัดกิจกรรม   

                         3.4) พัฒนาเชื่อมโยงรอยต่อของแต่ละช่วงวัยที่เริ่มต้นจากบ้าน ศูนย์ดูแลเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาลจนถึงชั้นประถมศึกษา

                         3.5) จัดอบรมพัฒนาครูผู้สอนที่ไม่ใช้แนวกลางๆ แต่เป็นเฉพาะทาง ซึ่งจะเป็นการพัฒนาครูได้อย่างตรงจุดและเกิดผลอย่างแท้จริง

               4.3 การเข้าถึงทางการศึกษาสำหรับคนพิการ และผู้ด้อยโอกาส

                          1)   ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                               1.1) หน่วยงานต้นสังกัด มีมาตรการ/แนวทางในการส่งเสริมสนับสนุนผู้พิการเรียนรวมของสถานศึกษาให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงและได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ ตลอดจนมีการนิเทศติดตามการดำเนินการจัดการเรียนรวม

                         1.2) สถานศึกษามีการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนทุกระดับ ได้แก่ ระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

                               1.3) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตสื่อทำมือเพื่อส่งเสริมพัฒนาการการเรียนของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษา

                         1.4) พัฒนาครูสถานศึกษาต้นแบบและสถานศึกษาแกนนำการจัดการเรียนรวมให้มีความรู้/ทักษะในการกระตุ้นให้ผู้เรียนพยายามช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด

                         1.5) เขตพื้นที่การศึกษาจัดสรรครูพี่เลี้ยงเด็กพิการให้กับสถานศึกษาที่มีความจำเป็นโดยเรียงลำดับจากจำเป็นมากไปหาน้อย ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดสรรตำแหน่งมาให้

                               1.6) สถานศึกษาได้จัดทำข้อมูลผู้เรียนพิการผ่านระบบบริหารจัดการข้อมูลสถานศึกษาเรียนรวม (SET) และจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของผู้เรียนพิการแต่ละคน

                         1.7) เขตพื้นที่การศึกษามีการนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษาจัดการเรียนรวมตามมาตรฐานการเรียนรวมเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

                        1.8) ระบบ SET มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น ส่งผลให้การยืนยันข้อมูลผู้เรียนของเขตพื้นที่การศึกษามีข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

                         1.9) ส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดทำระบบการจัดการศึกษาเรียนรวม เพื่อจัดทำข้อมูลการรักษาและพัฒนาการของผู้เรียน เพื่อให้ได้รับการรักษาและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

                         1.10) เด็กด้อยโอกาสได้รับความช่วยเหลือเป็นทุนการศึกษา ได้แก่ ผู้เรียนยากจนพิเศษ และผู้เรียนยากจน

                         1.11) สำนักงาน กศน.จังหวัดราชบุรี ได้ดำเนินการจัดการศึกษาตามนโยบายเกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกโรงเรียนให้กับกลุ่มเป้าหมายที่มีสภาพพิเศษแตกต่างจากกลุ่มเป้าหมายในรูปแบบของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

                         1.12) ครูผู้สอนผู้พิการได้ประสานความร่วมมือกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ เพื่อจัดกิจกรรมให้กับผู้พิการรายบุคคลได้ตรงตามลักษณะความสามารถที่จะเรียนรู้ได้

                         1.13) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 ประสานสถานศึกษาในสังกัดให้ปฏิบัติตามแนวทางในการคัดกรองผู้เรียน เพื่อให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงที

                         1.14) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาดำเนินการดูแลช่วยเหลือ และส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการเรียนรวมให้ได้รับการศึกษาเต็มตามศักยภาพ สมรรถภาพหรือบริการทางการศึกษาที่เหมาะสม

                         1.15) ครูผู้สอนมีการวิเคราะห์หลักสูตรผู้เรียนเป็นรายบุคคล และจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล รวมทั้งใช้สื่ออิเลคทรอนิกส์ประกอบการจัดการเรียนการสอน

                         1.16) ครูโรงเรียนสุพรรณบุรีปัญญานุกูล ได้นำโปรแกรม Google map มาใช้ประโยชน์ในการค้นหาข้อมูลแผนที่บ้านผู้เรียน เพื่อให้เกิดความสะดวกในการออกพื้นที่ในการเยี่ยมบ้าน

                         1.17) ผู้เรียนมีโอกาสค้นพบความสามารถและความถนัดของตนเอง เพื่อจะได้รับการพัฒนาตามความถนัดอย่างเต็มความสามารถ และทำกิจกรรมร่วมกับเด็กปกติได้

                     2) ข้อค้นพบ/ปัญหาอุปสรรค

                         2.1) สถานศึกษาบางแห่งจัดทำข้อมูลผู้เรียนไม่ถูกต้อง ไม่สามารถจำแนกประเภทความพิการของผู้เรียนได้ เนื่องจากครูเกษียณอายุราชการหรือย้ายสถานศึกษาเป็นจำนวนมาก

                         2.2) ขาดงบประมาณค่าพาหนะของครูผู้สอนผู้พิการในการออกไปให้บริการกับนักศึกษาผู้พิการที่บ้าน อีกทั้งนักศึกษา กศน. ส่วนมากไม่มีความพร้อมเกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารในการเรียนรูปแบบออนไลน์

                         2.3) อาคารสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกไม่เอื้อต่อการจัดการเรียนร่วม

                         2.4) ครูพี่เลี้ยงผู้พิการไม่มีพื้นฐานความรู้ในการกระตุ้นพัฒนาการ/การดูแล ช่วยเหลือ และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้พิการทั้ง 9 ประเภท เนื่องจากไม่ได้จบตรงสาขาวิชาเอก

                         2.5) ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการอบรมให้ความรู้กับผู้คัดกรอง เพื่อทำหน้าที่คัดกรองผู้เรียนที่บกพร่อง พิการ และด้อยโอกาส

                         2.6) บุคลากรไม่เพียงพอ มีภาระงานอื่นมากทำให้ผู้รับผิดชอบไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ ประกอบกับขาดความเชี่ยวชาญ ความชำนาญเฉพาะด้าน และด้านอื่นๆ ที่จำเป็น

                         2.7) ครูผู้สอนบางส่วนไม่สามารถแยกผู้พิการเรียนร่วมได้ถูกต้อง เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือ ขาดเครื่องมือในการดำเนินการ และเครื่องมือมีความยุ่งยาก  

                         2.8) ครูผู้สอนขาดความเข้าใจในการจัดทำแผนจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP/IIP) ของผู้เรียนพิการ และด้านผู้เรียนด้อยโอกาสมีการบันทึกข้อมูลผู้เรียนรายบุคคล (DMC) ที่ไม่สมบูรณ์

                               2.9) ผู้เรียนพิการบางส่วน ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อบริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา

                         2.10) ผู้เรียนมีฐานะยากจนและด้อยโอกาส อีกทั้งผู้ปกครอง ครอบครัว ชุมชน ยังขาดความรู้ความเข้าใจและมีเจตคติที่ไม่ถูกต้องต่อความพิการ รวมทั้งผู้ปกครองบางคนไม่ให้ความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก

                     3) ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

                         3.1) ขยายการจัดการศึกษาเรียนรวมไปยังสถานศึกษาทุกแห่งทั้งภาครัฐและเอกชน โดยใช้กลุ่มสถานศึกษาเป็นฐานบริการ และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการศึกษาพิเศษอย่างทั่วถึง

                         3.2) จัดสรรอัตราพี่เลี้ยงผู้พิการให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาเรียนรวมให้ครบทุกสถานศึกษาและต่อเนื่อง

                         3.3) ควรมีการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ของผู้เรียนพิการเรียนรวมทั้งระดับครอบครัว บุคคลอื่นในสถานศึกษา ชุมชน และสังคมรอบๆ ตัวของผู้เรียนอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง    

                         3.4) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสร้างเครือข่ายบุคลากรทางการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษาในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแบ่งปันข้อมูลในการดูแลและพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย

                         3.5) หน่วยงานต้นสังกัดควรจัดอบรมพัฒนาครูผู้สอนเฉพาะด้านตามประเภทคนพิการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และคัดเลือกครูที่มีวุฒิการศึกษาเฉพาะด้านที่ตรงกับประเภทของคนพิการ

                         3.6) หน่วยงานต้นสังกัดควรมีการประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการลงพื้นที่เพื่อให้การดูแลและช่วยเหลือฟื้นฟูศักยภาพของคนพิการในพื้นที่

                         3.7) หน่วยงานต้นสังกัดควรจัดสรรอัตรากำลังครูให้เพียงพอเป็นไปตามเกณฑ์ของการศึกษาพิเศษ เพื่อลดภาระงานของครู

                         3.8) ควรเพิ่มช่องทางการประสานงานให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานผู้เรียนเรียนรวม และระบบโปรแกรม SET เพื่อให้การขับเคลื่อนงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

                         3.9) ควรสร้างความรู้ ความเข้าใจในการคัดกรองผู้เรียนและการจัดทำแผน IEP ตลอดจนการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียน

                         3.10) ควรมีงบประมาณสนับสนุนในการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านผู้เรียนให้กับครูทุกคน

               4.4 ความปลอดภัยของผู้เรียน

                     1)   ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                               1.1) หน่วยงานต้นสังกัดกำหนดยุทธศาสตร์ แผนงาน แนวทาง วิธีการ และกระบวนการในการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

                         1.2) หน่วยงานต้นสังกัดจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา

                         1.3) เขตพื้นที่การศึกษาบางแห่งดำเนินการจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจ คุ้มครองและช่วยเหลือผู้เรียน

                         1.4) มีนักจิตวิทยาสถานศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่มีปัญหาในด้านสภาพจิตใจ และจัดตั้งกองทุนเอื้ออาทร

                         1.5) เขตพื้นที่การศึกษาบางแห่งจัดทำแผนรองรับการเกิดภัยพิบัติและสถานการณ์ฉุกเฉินการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมาตรการของ ศบค.จังหวัด

                         1.6) สร้างความตระหนักในความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้มีความเข้มแข็งโดยดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพในทุกมิติ

                        1.7) ส่งเสริมสนับสนุนการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนกลุ่มพิเศษ การส่งเสริมพิทักษ์เด็กและเยาวชน

                         1.8) เขตพื้นที่การศึกษาได้ดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษานำระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนมาใช้ เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความปลอดภัยในด้านต่างๆ

                         1.9) เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจัดทำและเผยแพร่คู่มือส่งเสริมความปลอดภัยให้กับสถานศึกษา รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งระบบการรักษาความปลอดภัยให้กับสถานศึกษา

                         1.10) ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำนักงาน กศน. มีนโยบายให้หน่วยงาน/สถานศึกษาในสังกัดจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันเพื่อให้บริการแก่ผู้เรียนและผู้รับบริการ ตลอดจนให้ความรู้ในการป้องกันตนเองและสอนการทำเจลแอลกอฮอล์ สเปรย์แอลกอฮอล์ และการปลูกพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร เป็นต้น

                               1.11) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการสถานศึกษาปลอดภัยให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด

                         1.12) สร้างบทเรียนออนไลน์สำหรับให้ผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจในภัยคุกคามรูปแบบใหม่

                     2) ข้อค้นพบ/ปัญหาอุปสรรค

                         2.1) การดำเนินการตามมาตรการความปลอดภัยของผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นเพียงมาตรการที่ควบคุมได้ในสถานศึกษาเท่านั้น

                         2.2) เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพบว่าทัศนคติของครูและบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาบางแห่ง ไม่ประสงค์ให้เขตพื้นที่การศึกษารับทราบถึงปัญหาที่ผู้เรียนประสบ

                               2.3) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาญจนบุรี ได้แจ้งหนังสือขอความร่วมมือไปยังหน่วยงาน/สถานศึกษา ประชาสัมพันธ์ให้กับครูและบุคลากรทุกสังกัดที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการสถานศึกษาปลอดภัย ครั้งที่ 2

                               2.4) ขาดงบประมาณในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของผู้เรียนในสถานศึกษา

                         2.5) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อความปลอดภัยของผู้เรียน ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมการเข้าค่ายพักแรมอย่างเป็นรูปธรรมได้

                         2.6) ผู้เรียนบางส่วนขาดความตระหนักในการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

                     3) ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

                         3.1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/ทุกภาคส่วนและทุกระดับจะต้องตระหนักถึงความสำคัญและนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมเพื่อกำหนดเป็นมาตรฐานความปลอดภัยของผู้เรียนในสถานศึกษา 

                         3.2) การเรียนการสอนแบบออนไลน์ ควรปรับเปลี่ยนเวลาเรียนให้น้อยลง ควรปรับการเรียนให้มีความเหมาะสมกับสภาพจริง และเหมาะกับการใช้ในชีวิตประจำวัน

                         3.3) เมื่อเกิดภัยควรสนับสนุนงบประมาณช่วยเหลือและเยียวยาผู้ประสบภัยให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีระบบและรวดเร็วทันเหตุการณ์

                         3.4) จัดอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับสิทธิเด็ก และมาตรการปกป้องเด็ก

               4.5  การศึกษาตลอดชีวิต

                     1)   ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                               1.1) กศน.ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมน้อมนำคุณธรรมความดี โดยมีนโยบายในการส่งเสริมการอ่านออนไลน์โดยใช้แอพพลิเคชั่น Google From

                         1.2) สถานศึกษาได้มีการจัดการศึกษาให้ครอบคลุมทุกระดับ เพื่อยกระดับการศึกษาให้กับประชาชนนอกระบบสถานศึกษา

                         1.3) จัดการศึกษาด้านอาชีพหลักสูตรระยะสั้นและกลุ่มสนใจ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตที่มีความสอดคล้องกับสภาพบริบทและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

                         1.4) จัดกิจกรรมเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้กับผู้สูงอายุตามโครงการการป้องกันภาวะซึมเศร้า คงสมรรถนะทางกาย จิต และสมองของผู้สูงอายุ

                         1.5) โครงการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลสู่ชุมชน การศึกษาตามอัธยาศัยได้พัฒนาห้องสมุดประชาชนให้มีการบริการที่ทันสมัย ส่งเสริมการอ่านในทุกรูปแบบ

                         1.6) กศน. มีการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้แก่ผู้ขาด พลาด และด้อยโอกาสทางการศึกษาที่มีอายุระหว่าง 15-59 ปี ด้วยรูปแบบที่หลากหลายและสภาพการณ์ปัจจุบัน

                               1.7) จัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีช่องทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต

                         1.8) ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยผ่านช่องทางออนไลน์ ออนไซด์ คิวอาร์โค๊ด คลิป ยูทูป ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

                     2) ข้อค้นพบ/ปัญหาอุปสรรค

                         ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนของผู้เกี่ยวข้องทั้งครูผู้สอน วิทยากร ผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันในเรื่องการใช้เทคโนโลยีและวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือในการจัดการเรียนการสอน ทำให้การจัดกิจกรรมไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ทำให้สถานศึกษาไม่สามารถจัดกิจกรรมในรูปแบบ Onsite ได้

                     3) ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

                         3.1) ควรมีการพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสนับสนุนด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนการสอน

                         3.2) จัดให้มีเวทีในการแสดงผลงานของนักศึกษาทั้งทางวิชาการและความสามารถพิเศษของผู้เรียน

 5. ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

               5.1    การขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพของชุมชน (สพฐ.)

                          1)  ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                         ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เขตตรวจราชการที่ 3 มีสถานศึกษานำร่องโรงเรียนคุณภาพของชุมชน ที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 9 โรงเรียน ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 4 โรงเรียน จังหวัดราชบุรี จำนวน 2 โรงเรียน และจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 3 โรงเรียน ซึ่งสถานศึกษานำร่องทั้ง 9 แห่งนี้ รอรับการจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อดำเนินการตามแผนที่วางไว้

                          2) ข้อค้นพบ/ปัญหาอุปสรรค

                         2.1) ครูย้ายกลับภูมิลำเนาในเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้ขาดครูผู้สอน อีกทั้งบุคลากรของสถานศึกษายังไม่มีความพร้อม และบุคลากรบางส่วนคิดว่าเป็นการเพิ่มภาระงาน

                         2.2) ขาดการสนับสนุนด้านงบประมาณในการจัดกิจกรรม สถานศึกษาบางแห่งมีพื้นที่จำกัด แต่ผู้เรียนมีจำนวนมากทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมต่างๆ พร้อมกันได้

                         2.3) ผู้เรียนส่วนใหญ่มีฐานะยากจนและอยู่ในชุมชนที่มีความเสี่ยงในหลายๆ ด้าน ทำให้เกิดปัญหาในกระบวนการพัฒนา ขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

                         2.4) ครูมีภาระงานมากเกินไปทั้งการสอนและการประเมินคุณภาพสถานศึกษาในรูปแบบและมาตรฐานต่างๆ จากหน่วยงานภายนอก

                         2.5) ความไม่ต่อเนื่องของนโยบายส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา อาทิ ความสิ้นเปลืองงบประมาณ/ทรัพยากร กิจกรรม/โครงการที่ดีต้องยุติลงเมื่อนโยบายมีการปรับเปลี่ยน เป็นต้น

                     3) ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

                         3.1) ควรสร้างความตระหนักให้แก่บุคลากรในสถานศึกษาเพื่อช่วยกันดำเนินการให้เกิดความต่อเนื่องและจริงจัง

                         3.2) สถานศึกษาต้องเน้นการสร้างความโดดเด่นจาก 3 ทักษะ ได้แก่ ทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะวิชาชีพ โดยการสร้างอาชีพและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชน

                         3.3) ควรส่งเสริมให้มีการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพของชุมชนอย่างต่อเนื่อง มีกระบวนการติดตามและประเมินผล

                         3.4) หน่วยงานต้นสังกัดควรสนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอ ประชาชนในพื้นที่ ผู้ปกครอง/ชุมชนให้ความร่วมมือในการดำเนินงานพัฒนาสถานศึกษา และภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วม

                         3.5) ควรดำเนินการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษานำร่องให้ประสบความสำเร็จมีคุณภาพเพื่อเป็นสถานศึกษาต้นแบบ ส่งผลให้ผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชนเกิดความศรัทธาและเชื่อถือ

                         3.6) โรงเรียนคุณภาพของชุมชนต้องมีครูครบชั้น ครบวิชาเอก มีครูพิเศษเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน  มีกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย เป็นต้น

                               3.7) สถานศึกษามีกระบวนการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีเป้าหมายในการบริหารจัดการชัดเจน โดยกระบวนการ/รูปแบบการบริหารต่างๆ เพื่อการพัฒนา

               5.2  โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง

                     1)   ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                               ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เขตตรวจราชการที่ 3 มีสถานศึกษานำร่องโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง ที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 1 โรงเรียน จังหวัดราชบุรี จำนวน 1 โรงเรียน และจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 1 โรงเรียน ซึ่งสถานศึกษานำร่องทั้ง 3 แห่งนี้รอรับการจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อดำเนินการตามแผนที่วางไว้

                     2) ข้อค้นพบ/ปัญหาอุปสรรค

                         2.1) ผู้เรียนบางส่วนมีบ้านห่างไกลกับสถานศึกษา ทำให้การเดินทางมีความยากลำบาก

                         2.2) อัตราส่วนความรับผิดชอบระหว่างครู : ผู้เรียนนั้นมีจำนวนมากเกินไป ส่งผลให้คุณภาพการศึกษาที่ผู้เรียนจะได้รับไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

                     3) ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

                         หัวใจสำคัญของโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง คือ การกระจายคุณภาพทางการศึกษาไม่ให้กระจุกอยู่ในตัวเมืองหรือสถานศึกษายอดนิยม ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพการศึกษา ฉะนั้นสถานศึกษาต้องเน้นสร้างความโดดเด่นจาก 3 ทักษะ ได้แก่ ทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะวิชาชีพให้เกิดขึ้น พร้อมทั้งต้องสร้างความมั่นใจเรื่องคุณภาพการศึกษาให้แก่ผู้ปกครองของผู้เรียน

               5.3  โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

                     1)   ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                               1.1) เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบางแห่ง ได้ทำการศึกษาผลการยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล และได้มีการนิเทศ ติดตามผลการพัฒนาตามตัวชี้วัดในแต่ละด้าน จำนวน 6 ด้าน

                         1.2) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.. 2564 เพื่อสนับสนุนด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และงบลงทุน ค่าครุภัณฑ์

                         1.3) เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาได้ส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาในโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ดำเนินการตามนโยบายโดยมีการพัฒนาสถานศึกษาให้ครบทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านความร่วมมือ

                               1.4) เขตพื้นที่การศึกษามีการนิเทศติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษาในรูปแบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

                          2) ข้อค้นพบ/ปัญหาอุปสรรค

                         2.1) สถานศึกษาเกิดความไม่มั่นใจในการดำเนินโครงการ เนื่องจากขาดการสนับสนุนด้านงบประมาณในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ทันสมัย

                         2.2) บุคลากรของสถานศึกษายังไม่มีความพร้อม และบุคลากรบางส่วนคิดว่าเป็นการเพิ่มภาระงาน ประกอบกับขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

                         2.3) ครูมีภาระงานมากเกินไปทั้งการสอนและการประเมินคุณภาพสถานศึกษาในรูปแบบและมาตรฐานต่างๆ จากหน่วยงานภายนอก

                         2.4) ความไม่ต่อเนื่องของนโยบายส่งผลให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่ ความสิ้นเปลืองงบประมาณและทรัพยากร ครูมีภาระเพิ่มขึ้น โครงการ/กิจกรรมที่ดีต้องหยุดลงเมื่อนโยบายปรับเปลี่ยน

                         2.5) สถานศึกษาขนาดเล็กมีจำนวนครูไม่ครบชั้น และไม่ครบสาระวิชาตามหลักสูตร ทำให้ครูสอนไม่ตรงตามวิชาเอก และการดูแลผู้เรียนไม่ทั่วถึง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษามากที่สุด

                         2.6) ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีฐานะยากจน การศึกษาไม่สูงไม่สามารถช่วยเหลือสนับสนุนการเรียนของบุตรหลานได้มากนัก ส่งผลให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมเสี่ยง ไม่สนใจการเรียน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ

                         2.7) ส่วนกลางไม่มีการขับเคลื่อนในปีการศึกษาที่ผ่านมา โดยเฉพาะด้านการจัดการเรียนการสอน มีเพียงด้านโครงสร้างแต่ก็ไม่ครอบคลุมทุกแห่ง ประกอบกับประสบปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้สถานศึกษาไม่สามารถจัดการเรียนการสอนในรูปแบบปกติได้

                     3) ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

                         3.1) เขตพื้นที่การศึกษาควรได้รับการจัดสรรงบประมาณ งบดำเนินงานอย่างเพียงพอ และสถานศึกษาควรได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาตามบริบทของแต่ละแห่ง

                         3.2) ควรสร้างความตระหนักให้แก่บุคลากรในสถานศึกษา เพื่อช่วยกันดำเนินการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง ต่อเนื่องให้เป็นรูปธรรม รวมทั้งสร้างอาชีพและเพิ่มโอกาสเข้าถึงการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชน

                         3.3) ควรส่งเสริมสนับสนุนการสร้างเครือข่ายของสถานศึกษาขนาดเล็ก การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพื่อการจัดกระบวนการการเรียนรู้ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บ้าน วัด โรงเรียน โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

                         3.4) หัวใจสำคัญของสถานศึกษาขนาดเล็ก คือ การกระจายคุณภาพทางการศึกษาไม่ให้กระจุกอยู่ในตัวเมืองหรือสถานศึกษายอดนิยม ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพการศึกษาสถานศึกษาต้องเน้นสร้างความโดดเด่นจาก 3 ทักษะ ได้แก่ ทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะวิชาชีพ

                         3.5) สถานศึกษาต้องสร้างความมั่นใจเรื่องคุณภาพการศึกษาให้แก่ผู้ปกครองของผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นสถานศึกษาคุณภาพ

                         3.6) พิจารณาแก้ไขระเบียบอัตราส่วนครู : นักเรียน เป็นครู 1 คน รับผิดชอบนักเรียนจำนวน 20–25 คน เพื่อคุณภาพทางการศึกษาที่ผู้เรียนจะได้รับ

                         3.7) การยุบรวมสถานศึกษา จะทำให้สถานศึกษาคุณภาพประจำตำบลมีคุณภาพมากขึ้น

               5.4  โรงเรียนขนาดเล็กที่ดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง

                     1)   ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                               ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เขตตรวจราชการที่ 3 มีสถานศึกษานำร่องขนาดเล็กที่ดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง หรือ Stand Alone ที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 3 โรงเรียน ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 2 โรงเรียน และจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 1 โรงเรียน ซึ่งสถานศึกษานำร่องทั้ง 3 แห่ง นี้รอรับการจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อดำเนินการตามแผนที่วางไว้ ซึ่งสถานศึกษานำร่องบางจังหวัดในเขตตรวจราชการที่ 3 ได้ดำเนินการ ดังนี้

                         1.1) สถานศึกษานำแผนพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กไปใช้ในการบริหารจัดการได้อย่างตรงตามความต้องการสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา

                         1.2) สถานศึกษาได้จัดทำรายการอาคารเรียนและอาคารประกอบเพื่อการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมและมีประสิทธิภาพแก่ผู้เรียน

                         1.3) ส่งเสริมการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็กให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ส่งเสริมให้ชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขนาดเล็ก

                     2) ข้อค้นพบ/ปัญหาอุปสรรค

                         2.1) การควบรวมสถานศึกษาขนาดเล็กยังไม่สามารถดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ได้ รวมทั้งไม่สามารถนำผู้เรียนมาเรียนรวมได้ เนื่องจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และชุมชนไม่ยินยอม

                         2.2) ผู้เรียนบางส่วนมีบ้านห่างไกล การเดินทางมีความยากลำบาก

                         2.3) ครูไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน

                     3) ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

                         3.1) สถานศึกษาควรมีรูปแบบหรือแนวทางในการบริหารจัดการสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ และเหมาะสมกับบริบทของแต่ละแห่ง

                         3.2) หัวใจสำคัญของโรงเรียนขนาดเล็ก คือ การกระจายคุณภาพทางการศึกษา ไม่ให้กระจุกในตัวเมืองหรือสถานศึกษายอดนิยม ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพการศึกษา สถานศึกษาต้องเน้นสร้างความโดดเด่นจาก 3 ทักษะ ได้แก่ ทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะวิชาชีพ

                         3.3) ขอให้มีการพิจารณาแก้ไขระเบียบอัตราส่วนครู : นักเรียน เป็นครู 1 คน รับผิดชอบผู้เรียนจำนวน 20–25 คน เพื่อคุณภาพทางการศึกษาที่ผู้เรียนจะได้รับ







 บันทึข้อมูลโดย: นายสุกิจ บัวแพง กลุ่มตรวจราชการและติดตามประเมินผล