ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการภาค บันทึกเมื่อวันที่ Date: 07 มิถุนายน 2564
รายงานผลการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานศึกษาตามนโยบายการตรวจราชการ
และติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
คนพิการและผู้ด้อยโอกาส
--------------------------------------
1.
โรงเรียนนครศรีธรรมราชปัญญานุกูล
1. ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง
147
หมู่ 8 ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
เป็นโรงเรียนประเภทอยู่ประจำ เปิดสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา
เรียนช้า ปัญญาอ่อน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล – มัธยมศึกษาตอนปลาย
ในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียน 5 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง กระบี่
สุราษฎร์ธานี และตรัง
2. การดำเนินการตามนโยบายการตรวจราชการประเด็นนโยบายการเข้าถึงทางการศึกษาสำหรับ
คนพิการและผู้ด้อยโอกาส
2.1
ผลการดำเนินการในรอบ 2 ปีงบประมาณที่ผ่านมา
โรงเรียนจัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนนครศรีธรรมราชปัญญานุกูล
จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
พุทธศักราช 2562 โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียน 6 กลุ่มทักษะการเรียนรู้ ได้แก่ 1)
ทักษะการเคลื่อนไหว 2) ทักษะภาษาและการสื่อสาร 3)
ทักษะการช่วยเหลือตนเองและสุขอนามัย 4) ทักษะะสังคมและการดำรงชีวิต
5) ทักษะวิชาการ และ 6) ทักษะอาชีพ ทั้งนี้ จะเน้นการมีทักษะอาชีพเพิ่มเติม
ในชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 1-6 และเน้นทักษะการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และแก้ปัญหา ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1-6
2.2 ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ
หอนอนมีไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน
เกิดความแออัด
2.3 ข้อเสนอแนะของสถานศึกษา
ควรมีโรงเรียนเฉพาะสำหรับนักเรียนออทิสติก
2.4 แนวทางการพัฒนา (ถ้ามี)
ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนด้านทักษะอาชีพให้ผู้ปกครอง
เพื่อเป็นช่องทางในการช่วยเหลือครอบครัวของนักเรียน
3. การจัดการเรียนการสอนและการดำเนินการตามมาตรการการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
โรงเรียนจัดการเรียนการสอน 2 รูปแบบ คือ 1)
On-site
สำหรับนักเรียนที่ไม่มีโรคประจำตัวและช่วยเหลือตัวเองได้ และ 2) Home
School โดยครูจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized
Education Program : IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual
Implementation Plan : IIP)
และกำกับ ติดตามความก้าวหน้าในการจัดเรียนการสอนแบบ Home School ตามหน่วยทางการศึกษาในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียน
2.
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 จังหวัดนครศรีธรรมราช
1. ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง เลขที่ 20 หมู่ 8 ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
มีจำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา รวม 57 คน
เป็นครูและบุคลากรทางการศึกษาที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
และผู้ด้อยโอกาส จำนวน 47
คน มีจำนวนนักเรียน 587 คน (คนพิการที่มีความพิการ 9 ประเภท ได้แก่
1) บุคคลที่บกพร่องทางการมองเห็น 2) บุคคลที่บกพร่องทางการได้ยิน
3) บุคคลที่บกพร่องทางสติปัญญา 4) บุคคลที่บกพร่องทางกายหรือสุขภาพ 5)
บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ 6) บุคคลที่บกพร่องทางการพูดและภาษา 7)
บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ 8) บุคคลออทิสติก และ 9)
บุคคลพิการซ้ำซ้อนที่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ และเด็กด้อยโอกาส 10 ประเภท
ได้แก่
1) เด็กยากจน (มากเป็นพิเศษ) 2) เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด 3)
เด็กที่ถูกทอดทิ้ง 4) เด็กที่ถูกทำร้ายทารุณ 5)
เด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์หรือโรคติดต่อร้ายแรงที่สังคมรังเกียจ 6) เด็กในชนกลุ่มน้อย
7) เด็กเร่ร่อน 8) เด็กถูกบังคับให้ขายแรงงาน หรือแรงงานเด็ก 9)
เด็กที่อยู่ในธุรกิจทางเพศหรือโสเภณีเด็ก และ 10)
เด็กในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน) เปิดสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6
2. การดำเนินการตามนโยบายการตรวจราชการประเด็นนโยบายการเข้าถึงทางการศึกษาสำหรับ
คนพิการและผู้ด้อยโอกาส
2.1
ผลการดำเนินการในรอบ 2 ปีงบประมาณที่ผ่านมา
โรงเรียนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์
แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และรู้จักแก้ปัญหา เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แข่งขันและแสดงความสามารถด้านวิชาการ
ด้านทักษะอาชีพ และกิจกรรมต่าง ๆ
โดยผ่านการวัดและประเมินผลตามเกณฑ์และวิธีการที่หลากหลาย นอกจากนี้
ยังส่งเสริมให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ มีวินัย
มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
และมีจิตสาธารณะ
2.2 ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ
1) ความห่างเหินระหว่างผู้ปกครองและนักเรียนจากการที่นักเรียนอยู่โรงเรียนประจำ
ส่งผลให้นักเรียนรู้สึกขาดความรัก ความอบอุ่น
และเป็นสาเหตุให้นักเรียนมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน
2) การโยกย้ายถิ่นฐานและการย้ายที่ทำกินของผู้ปกครอง
ส่งผลให้นักเรียนย้ายออกกลางคัน
3) ผู้ปกครองบางส่วนมีฐานะยากจน
ส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาของบุตรหลาน
ในครอบครัว
4) การเผชิญกับปัญหาหย่าร้างของครอบครัว
ส่งผลต่อสภาพจิตใจของนักเรียน
5) โรงเรียนเข้าถึงเด็กด้อยโอกาสได้ไม่ทั่วถึง
เนื่องจากพื้นที่ให้บริการและรับผิดชอบกว้างมากครอบคลุม 23 อำเภอในจังหวัด
6) ครูมีภาระงานในการดูแลนักเรียนประจำ
นอกเหนือจากการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
2.3 ข้อเสนอแนะของสถานศึกษา
-
2.4 แนวทางการพัฒนา (ถ้ามี)
โรงเรียนมุ่งเน้นพัฒนา 3 ทักษะ ได้แก่
1) ทักษะวิชาการ 2) ทักษะวิชาชีพ และ 3) ทักษะวิชาชีวิต
โดยจัดโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะดังกล่าว ดังนี้ 1) โครงการโรงเรียนคุณธรรม
2) โครงการจัดการเรียนการสอนแบบทวิศึกษาร่วมกับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช
3) โครงการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษา 4)
กิจกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5)
โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 6) กิจกรรมเกษตรหอนอน และ 7)
กิจกรรมส่งเสริมด้านกีฬา
3. การจัดการเรียนการสอนและการดำเนินการตามมาตรการการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
โรงเรียนจัดการเรียนการสอน 2 รูปแบบ คือ
1) On-site
และนำการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ไปใช้ในทุกห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ 2) On Demand และ 3) On Hand
3. โรงเรียนสำหรับคนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว
จังหวัดนครศรีธรรมราช
1. ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง ปัจจุบันสำนักงานชั่วคราวอยู่ที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19
จังหวัดนครศรีธรรมราช เลขที่ 20 หมู่ 8 ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง
จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
เป็นโรงเรียนอยู่ประจำ
จัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ
เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6 มีเขตพื้นที่บริการ
14 จังหวัดภาคใต้
โรงเรียนได้ใช้พื้นที่ชั่วคราวในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ
ภายใต้ความขาดแคลนและข้อจำกัดต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลา 5 ปี
เนื่องจากการก่อสร้างอาคารของโรงเรียนไม่แล้วเสร็จตามกำหนด
2. การดำเนินการตามนโยบายการตรวจราชการประเด็นนโยบายการเข้าถึงทางการศึกษาสำหรับ
คนพิการและผู้ด้อยโอกาส
2.1
ผลการดำเนินการในรอบ 2 ปีงบประมาณที่ผ่านมา
โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรสถานศึกษา
ที่เน้นการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program
: IEP)
และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan : IIP) โดยได้จัดการศึกษาเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่
1) แบบบูรณาการ 8 กลุ่มสาระ 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เน้นด้านอาชีพ 5 กลุ่มงาน ได้แก่ 1) กลุ่มงานอาชีพเกษตร 2) กลุ่มงานอาชีพคหกรรม 3)
กลุ่มงานอาชีพอุตสาหกรรม 4) กลุ่มงานอาชีพความคิดสร้างสรรค์
5) กลุ่มงานอาชีพพณิชยกรรมและการบริการ 2) แบบโครงการเรียนรู้อยู่กับบ้าน และ 3)
แบบร่วมกับสถาบันพัฒนาด้านอาชีพและสถานประกอบการ เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาศักยภาพในทุกด้านอย่างเต็มที่
2.2 ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ
1)
ขนาดและสภาพห้องเรียนไม่เหมาะสมกับสภาพความพิการของนักเรียน
2)
ครุภัณฑ์สิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอ เช่น
โต๊ะ เก้าอี้
3)
ครูสอนไม่ตรงตามวุฒิการศึกษาและกลุ่มสาระการเรียนรู้ เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องการกำหนดตำแหน่งตามสัดส่วนของนักเรียน
4)
ครูขาดความรู้และประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ
5)
บุคลากรด้านการสนับสนุนการสอนขาดทักษะความรู้ในการดูแลนักเรียนที่บกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ
6)
บุคลากรต้องสูญเสียเวลา และต้องเดินทางไกลในการดำเนินการเบิกจ่ายเงินของโรงเรียนกับศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
7)
โรงเรียนได้รับข้อมูลข่าวสารจากคลังจังหวัดล่าช้า
เนื่องจากคลังจังหวัดต้องติดต่อและประสานกับศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ซึ่งเป็นหน่วยเบิกจ่ายโดยตรง
8)
โรงเรียนไม่สามารถกำหนดระยะเวลาในการเบิกจ่ายได้เอง
เนื่องจากต้องอ้างอิงกับศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ซึ่งเป็นหน่วยเบิกจ่าย ทำให้ขาดสภาพคล่อง
9)
ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ห้องสมุด ห้องกายภาพบำบัด ห้องพยาบาล
ไม่มีความเหมาะสมและไม่มีความพร้อมในการใช้งานได้อย่างเต็มที่
10)
สภาพพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนไม่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน
11)
หอพักนักเรียนมีพื้นที่จำกัด คับแคบ เนื่องจากมีนักเรียนเข้าเรียนเพิ่มขึ้น แต่สถานที่มีไม่เพียงพอและเหมาะสม
(พื้นปูนเปลือย ทำให้เกิดความชื้น)
12)
ห้องน้ำในหอพักคับแคบ อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ไม่เหมาะสมและไม่เอื้อต่อการใช้งาน
13)
ห้องน้ำสำหรับหอพักนักเรียนชายอยู่บริเวณภายนอก ทำให้เกิดความยากลำบากในการใช้งาน
14) ยานพาหนะไม่เพียงพอและไม่เหมาะสมต่อการใช้งานของนักเรียน
กรณีจัดกิจกรรมนอกสถานที่ หรือไปโรงพยาบาล
15)
ห้องพักครูมีพื้นที่จำกัด แออัด ไม่เพียงพอกับจำนวนครูที่เพิ่มขึ้น
16)
ห้องจัดเก็บวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ไม่มีความปลอดภัย และไม่เหมาะสม
ทำให้เกิดการชำรุดเสียหายได้ง่าย
17)
โรงหุงต้มไม่มีความเหมาะสม เป็นพื้นที่ที่ไม่สามารถป้องกันฝุ่น สัตว์ หรือแมลงได้
18)
โรงอาหารมีพื้นที่จำกัดสำหรับนักเรียนในการใช้บริการ
19)
ลานกีฬา ทางลาดสำหรับนักเรียนไม่มีความเหมาะสมและเพียงพอต่อการใช้งาน
20)
จำนวนครูผู้สอนต่อจำนวนนักเรียน 90 คน ไม่เพียงพอและไม่เหมาะสม
เมื่อเทียบสัดส่วนจำนวนของครูต่อนักเรียน (1 : 4)
2.3 ข้อเสนอแนะของสถานศึกษา
1)
ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนผ่านการใช้สื่อ CAI ให้หลากหลาย สื่อธรรมชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
2) ควรส่งเสริมพัฒนาครูและบุคลากรในการใช้สื่อเทคโนโลยีในการพัฒนาตนเองและวิชาชีพให้มากขึ้น
3) ควรมีการนิเทศการสอนอย่างต่อเนื่อง
เพื่อประโยชน์ทั้งต่อครูและนักเรียน
2.4 แนวทางการพัฒนา (ถ้ามี)
1) ส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้เกิดประโยชน์กับผู้เรียนมากที่สุด
2) พัฒนาการเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
(Individualized Education
Program : IEP)
และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan : IIP)
การวัดและการประเมินผล
การบันทึกหลังการสอน ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการประเมินผลตามสภาพจริง
3)
ส่งเสริมการใช้กระบวนการวิจัยแก้ปัญหาในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง
เพื่อปรับแผนการจัดการเรียนรู้เป็นระยะ
3. การจัดการเรียนการสอนและการดำเนินการตามมาตรการการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
โรงเรียนจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และดำเนินการตามมาตรการการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) ได้แก่
การกำหนดให้มีมาตรการคัดกรองวัดไข้ การวางแผนการจัดกิจกรรม
การทำความสะอาดห้องเรียนและพื้นที่ต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น
4. โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช
1. ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง 37 หมู่ 8 ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง
จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ มีจำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา
รวม 79 คน เป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา
ที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ และผู้ด้อยโอกาส จำนวน 50 คน
มีจำนวนนักเรียน 153 คน (คนพิการที่มีความพิการ 9 ประเภท ได้แก่ 1)
บุคคลที่บกพร่องทางการมองเห็น 2) บุคคลที่บกพร่องทางการได้ยิน
3) บุคคลที่บกพร่องทางสติปัญญา 4) บุคคลที่บกพร่องทางกายหรือสุขภาพ 5)
บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ 6) บุคคลที่บกพร่องทางการพูดและภาษา 7)
บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์ 8) บุคคลออทิสติก และ 9)
บุคคลพิการซ้ำซ้อนที่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ และเด็กด้อยโอกาส 10 ประเภท
ได้แก่
1) เด็กยากจน (มากเป็นพิเศษ) 2) เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด 3)
เด็กที่ถูกทอดทิ้ง 4) เด็กที่ถูกทำร้ายทารุณ 5) เด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์หรือโรคติดต่อร้ายแรงที่สังคมรังเกียจ
6) เด็กในชนกลุ่มน้อย
7) เด็กเร่ร่อน 8) เด็กถูกบังคับให้ขายแรงงาน หรือแรงงานเด็ก 9)
เด็กที่อยู่ในธุรกิจทางเพศหรือโสเภณีเด็ก และ 10)
เด็กในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน) เปิดสอนในระดับชั้นอนุบาล - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
6
2. การดำเนินการตามนโยบายการตรวจราชการประเด็นนโยบายการเข้าถึงทางการศึกษาสำหรับ
คนพิการและผู้ด้อยโอกาส
2.1
ผลการดำเนินการในรอบ 2 ปีงบประมาณที่ผ่านมา
โรงเรียนเน้นส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองด้วยวิธีการที่หลากหลาย
ทั้งทักษะวิชาการ ทักษะวิชาชีพ และทักษะชีวิต ครูจัดทำแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ
จัดทำสื่อส่งเสริมพัฒนาการ สื่อการเรียนการสอน จัดห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้
เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
2.2 ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ
ครูสอนไม่ตรงตามวุฒิการศึกษาและกลุ่มสาระการเรียนรู้
2.3 ข้อเสนอแนะของสถานศึกษา
1)
ควรส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภายในสถานศึกษา
ระหว่างสถานศึกษากับครอบครัว ชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น
2)
ควรพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเปิดโลกทัศน์ของนักเรียนจากแหล่งเรียนรู้ภายนอกมากขึ้น
3) ควรจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมในการต่อเติมพื้นที่ที่ใช้เป็นห้องเรียนสำหรับนักเรียนออทิสติก
เนื่องจากนักเรียนกลุ่มนี้จะมีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง
2.4 แนวทางการพัฒนา (ถ้ามี)
1)
พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
โดยเน้นพัฒนาในด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้
และเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านทักษะงานอาชีพ
2) พัฒนาการจัดการเรียนการสอน
และการจัดกิจกรรมด้านอาชีพที่หลากหลาย
3)
พัฒนาการจัดโครงการ/กิจกรรมให้เป็นระบบ มีการประเมินผล นิเทศ ติดตามอยู่เป็นประจำ
4) ศึกษาสภาพปัจจุบัน จุดอ่อน
จุดแข็งของโรงเรียน เพื่อวางแผนการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
3. การจัดการเรียนการสอนและการดำเนินการตามมาตรการการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเป็นแบบ On Hand คือ
ครูจัดทำเอกสาร ใบงาน แบบฝึกหัด คู่มือ และชุดกิจกรรมต่างๆ ให้แก่นักเรียน โดยส่งไปทางไปรษณีย์ อย่างไรก็ตาม ได้ปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) ได้แก่
การกำหนดให้มีมาตรการคัดกรองวัดไข้ การทำความสะอาดห้องเรียนและพื้นที่ต่าง ๆ
อย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น
**********************************
บันทึข้อมูลโดย: กลุ่มตรวจราชการและติดตามประเมินผล ศธภ.5