ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการภาค บันทึกเมื่อวันที่ Date: 07 มิถุนายน 2564

สรุปผลการตรวจราชการและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายการตรวจราชการเฉพาะด้าน (Agenda Based) ประเด็นการเข้าถึงทางการศึกษาสำหรับคนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม -2 เมษายน 2564

สรุปผลการตรวจราชการและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ  

นโยบายการตรวจราชการเฉพาะด้าน (Agenda Based) ประเด็นการเข้าถึงทางการศึกษาสำหรับคนพิการ  
และผู้ด้อยโอกาส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในเขตตรวจราชการที่ 5  

ของ นายธฤติ ประสานสอน ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ

----------------------------------------

          ตามที่ นายธฤติ ประสานสอน ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงพื้นที่ตรวจราชการและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ตามนโยบายการตรวจราชการเฉพาะด้าน  (Agenda Based) ประเด็นการเข้าถึงทางการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในเขตตรวจราชการที่ 5 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร จังหวัด
สุราษฎร์ธานี  จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา
ตั้งแต่เดือนมกราคม - เมษายน 2564 นั้นกลุ่มตรวจราชการและติดตามประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการภาค 5 สามารถสรุปผลการดำเนินการดังกล่าว   ดังนี้

          จังหวัดชุมพร มีหน่วยงานและสถานศึกษาที่ผู้ตรวจราชการกระทรวงได้ตรวจเยี่ยมและรับฟังผล
การดำเนินงาน จำนวน
3 แห่ง คือ 1) สำนักงาน กศน.จังหวัดชุมพร 2) โรงเรียนชุมพรปัญญานุกูล และ
3
) ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดชุมพร

          การดำเนินการในรอบ 2 ปีงบประมาณที่ผ่านมา

สำนักงาน กศน.จังหวัดชุมพร เน้นเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้ด้อยโอกาส ผ่านการจัดกิจกรรม การฝึกอบรม และการฝึกทักษะด้านต่าง ๆ เช่น การฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาอาชีพ การฝึกทักษะอาชีพ เป็นต้น

โรงเรียนชุมพรปัญญานุกูล และศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดชุมพร ซึ่งดูแลรับผิดชอบเด็กพิการและผู้ด้อยโอกาส จะเป็นโครงการ/ กิจกรรมทางวิชาการ ที่เน้นพัฒนาอย่างรอบด้าน ทั้งด้านร่างกาย
ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์ และด้านสังคม รวมถึงการพัฒนาทักษะอาชีพตามความสามารถของแต่ละบุคคล เช่น โครงการพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำสำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โครงการพัฒนาทักษะอาชีพเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โครงการอาชาบำบัด โครงการพัฒนาศักยภาพด้านดนตรี โครงการโรงเรียนคุณธรรม เป็นต้น

          ปัญหาอุปสรรค ที่พบ คือ 1) สถานศึกษาไม่สามารถจัดโครงการ/ กิจกรรมได้ตามแผน
ที่กำหนด เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) 2) จำนวนบุคลากรในหน่วยงานไม่เพียงพอต่อการดูแลรับผิดชอบเด็กพิการและผู้ด้อยโอกาส และ 3) งบประมาณ
ไม่เพียงพอต่อการลงพื้นที่ให้บริการถึงบ้านเด็ก ซึ่งได้เสนอแนะวิธีการแก้ปัญหานี้ คือ ผู้บริหารระดับกระทรวงอนุมัติงบประมาณในการจัดหายานพาหนะ เพื่อให้การบริการถึงบ้านเด็กเกิดความสะดวก รวดเร็ว และทั่วถึงมากขึ้น

          แนวทางการพัฒนา คือ ความร่วมมือและบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อให้เด็กพิการและผู้ด้อยโอกาสได้เข้าสู่ระบบการศึกษาที่เหมาะสมมากที่สุด

การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นการสอนแบบ On hand คือ ครูจัดทำเอกสาร ใบงาน แบบฝึกหัด พร้อมรายละเอียดคำอธิบายที่เข้าใจง่าย และจัดส่งให้นักเรียนถึงบ้าน

 

 

 

          จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีหน่วยงานและสถานศึกษาที่ผู้ตรวจราชการกระทรวงได้ตรวจเยี่ยมและรับฟังผลการดำเนินงาน จำนวน 9 แห่ง คือ 1) สำนักงาน กศน.จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี 3) โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 4) โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
สุราษฎร์ธานี
5) สำนักงาน กศน.อำเภอดอนสัก 6) สำนักงาน กศน.อำเภอเกาะสมุย 7) โรงเรียนวัดภูเขาทอง
และ
8) โรงเรียนบ้านปลายแหลม

การดำเนินการในรอบ 2 ปีงบประมาณที่ผ่านมา

สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 จะให้ความช่วยเหลือเด็กยากจน เด็กพิการเรียนรวม ในส่วนที่ขาดแคลนและจำเป็น และให้ทุนการศึกษาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในทุกปี

ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้ความสำคัญกับเด็กพิการและผู้ด้อยโอกาสได้เข้าถึงการศึกษาให้มากที่สุด จึงมีการจัดการศึกษาหลากหลายแบบ ได้แก่ 1) การจัดการศึกษาที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ
2) การจัดการศึกษาที่หน่วยบริการ 3) การจัดการศึกษาที่บ้านเด็ก 4) การจัดการศึกษาแบบศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในโรงพยาบาล 5) การจัดการศึกษาแบบห้องเรียนคู่ขนานสำหรับเด็กออทิสติก และ 6) การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม

สำนักงาน กศน. จังหวัดสุราษฎร์ธานี และสำนักงาน กศน. อำเภอต่าง ๆ ในจังหวัด จะมุ่งให้ความรู้ เพิ่มพูนทักษะด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต เพื่อให้เกิดความชำนาญ สามารถสร้างอาชีพและมีรายได้ และพัฒนาต่อยอดความรู้ ความสามารถ เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นต่อไป 

โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำเนินการโดยมุ่งเน้น 3 ด้าน คือ 1) ด้านคุณภาพผู้เรียน เน้นประเมินผู้เรียนเป็นรายบุคคลจากสภาพจริง ผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และทักษะในการดำรงชีวิตที่จำเป็นพิเศษสำหรับผู้เรียน 2) ด้านกระบวนการบริหารจัดการ และ 3) ด้านกระบวนการเรียนการสอน ผ่านกระบวนการ PLC

โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี ดำเนินการโดยมุ่งเน้น 3 ด้าน คือ 1) ด้านคุณภาพผู้เรียน ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย และมีทักษะการดำเนินชีวิตเพื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข 2) ด้านกระบวนการบริหารจัดการ วางแผนและดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพของผู้เรียนรอบด้าน พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ โดยส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของครูและบุคลากรอยู่เป็นประจำ จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ และติดตาม ประเมินผลการบริหารและจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และ 3) ด้านกระบวนการเรียนการสอน จัดการเรียนการสอนตามแผนการเรียนรู้และสอดคล้องกับหลักสูตรของสถานศึกษา ที่เน้นผู้เรียนผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง

ปัญหาอุปสรรค

          สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 พบปัญหาอุปสรรค 2 ประเด็น คือ 1) ผู้ปกครองไม่ได้อยู่กับเด็ก ข้อมูลที่ได้รับจากการเยี่ยมบ้านจึงไม่ใช่ข้อเท็จจริง และ 2) ความไม่เพียงพอของปัจจัยในการบริหารจัดการสถานศึกษา คือ ด้านทรัพยากรบุคคล ด้านงบประมาณด้านสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ และด้านการจัดการ ซึ่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ได้เสนอ
แนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคในประเด็นแรก โดยการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งระหว่างสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และการสร้างความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนในการช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ผู้ปกครอง ชุมชน เกิดความไว้วางใจให้มากที่สุด 

          ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบปัญหาอุปสรรค 3 ประเด็น คือ
1) งบประมาณไม่เพียงพอกับพื้นที่การให้บริการในจังหวัด 2) ยานพาหนะในการลงพื้นที่มีสภาพเก่า และ
3) หน่วยบริการไม่มีสถานที่ตั้งเป็นของตนเอง ต้องอาศัยจัดตั้งภายในสถานที่ของหน่วยงานอื่น

          สำนักงาน กศน.จังหวัดสุราษฎร์ธานี และสำนักงาน กศน. อำเภอต่าง ๆ ในจังหวัด พบว่า ปัญหาอุปสรรคส่วนใหญ่เกี่ยวกับความไม่เพียงพอของปัจจัยในการบริหารจัดการของหน่วยงาน คือ ด้านทรัพยากรบุคคล - ขาดครูผู้สอนสำหรับผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ด้านงบประมาณ - การจัดสรรงบประมาณล่าช้า และมีจำกัด ไม่มีการจัดสรรงบประมาณในการลงพื้นที่อย่างเพียงพอ ด้านสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ - ไม่มีหลักสูตรการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน หนังสือ สื่อ สำหรับผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายพิเศษ สื่อไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอกับจำนวนผู้เรียน ด้านการจัดการ
- ไม่มีความมั่นคงในวิชาชีพของครูผู้สอน โดยได้เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคดังกล่าว คือ การจัดสรรงบประมาณสำหรับปัจจัยทุกด้านในการบริหารจัดการให้เพียงพอและเหมาะสม

          โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบปัญหาอุปสรรค 3 ประเด็น คือ 1) จำนวนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นและมีความพิการอื่นร่วมด้วยมีมากขึ้น 2) ขาดแคลนคอมพิวเตอร์ สื่อและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น เนื่องจากเป็นครุภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะและราคาแพง 3) ขาดแคลนครูผู้สอน ครูแนะแนว ที่ให้ความรู้นักเรียน และขาดแคลนบุคลากรสายสนับสนุน เช่น พยาบาล นักกายภาพบำบัด และพนักงานนวดแผนไทย ทั้งนี้ หน่วยงานได้เสนอให้มีการจัดสรรงบประมาณเพิ่มมากขึ้น ในส่วนของการจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ และการจัดจ้างบุคคล

          โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี พบปัญหาอุปสรรค 4 ประเด็น คือ 1) การติดต่อระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองมีความยากลำบาก เนื่องจากผู้ปกครองอยู่ห่างไกลและกันดาร หรือไปทำงานใน
ต่างอำเภอ ต่างจังหวัด 2) ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีฐานะค่อนข้างยากจน และบางส่วนมักปิดบังข้อมูลที่เป็นจริงของตนเองและนักเรียน และ
3) นักเรียนส่วนใหญ่ที่ย้ายมาเรียนในระหว่างปีค่อนข้างมีปัญหา

          แนวทางการพัฒนา

          ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีแนวทางในการพัฒนา คือ การดำเนินการ
ปักหมุดบ้านนักเรียน เพื่อเป็นฐานข้อมูล และใช้ในการขยายโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาของนักเรียนพิการ

          สำนักงาน กศน.จังหวัดสุราษฎร์ธานี และสำนักงาน กศน. อำเภอต่าง ๆ ในจังหวัด ได้ให้ความสำคัญกับครูผู้สอน และหลักสูตรเป็นสำคัญ คือ 1) พัฒนาครูให้มีความรู้ โดยจัดฝึกอบรมหลักสูตรจิตอาสา อย่างต่อเนื่อง และ 2) พัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับอาชีพและศิลปวัฒนธรรมไทยให้ผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายพิเศษ เพื่อให้เกิดทักษะและสามารถยกระดับฝีมือในการประกอบอาชีพได้

          โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีแนวทางในการพัฒนา 4 ประเด็น คือ 1) การจัดทำแผนการดำเนินงาน/กิจกรรม ตลอดจนการวัดและประเมินผล ให้สอดรับกับระดับความสามารถของผู้เรียน 2)  ปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน บริบทของสถานศึกษา และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 เพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะทางวิชาการ ทักษะการดำรงชีวิต 3) ส่งเสริม สนับสนุนกระบวนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ครอบคลุมและทั่วถึง และ 4) ส่งเสริม สนับสนุนกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียน

          โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียน ครูผู้สอนและบุคลากรมากที่สุด คือ
1) ส่งเสริมผู้เรียนใน 3 ทักษะ ได้แก่ ทักษะชีวิต ทักษะวิชาการ และทักษะอาชีพ และ 2) ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในการพัฒนาตนเอง เช่น การศึกษาต่อ การขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ

 

การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

สำนักงาน กศน. จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงาน กศน. อำเภอต่าง ๆ ในจังหวัด และโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี จัดการเรียนการสอน 3 รูปแบบ คือ 1) On-Line 2) On Hand และ 3) On-Site ส่วนศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดการเรียนการสอน 4 รูปแบบ คือ 1) On-Air 2) On-Line 3) On Hand และ 4) On Demand

          จังหวัดนครศรีธรรมราช มีหน่วยงานและสถานศึกษาที่ผู้ตรวจราชการกระทรวงได้ตรวจเยี่ยมและ
รับฟังผลการดำเนินงาน จำนวน
6 แห่ง คือ 1) สำนักงาน กศน.จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช 3) โรงเรียนนครศรีธรรมราชปัญญานุกูล 4) โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 จังหวัดนครศรีธรรมราช 5) โรงเรียนสำหรับคนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 6) โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช

การดำเนินการในรอบ 2 ปีงบประมาณที่ผ่านมา

สำนักงาน กศน.จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการจัดทำแผน IEP ออนไลน์ ร่วมกับศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีการศึกษา 2562 มีนักศึกษาคนพิการจบการศึกษา จำนวน 36 คน (ร้อยละ 8.3) และในปีการศึกษา 2563 จำนวน 26 คน (ร้อยละ 6.1)

          ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช มุ่งเน้นพัฒนาเด็กพิการให้มีคุณภาพ มีทักษะที่ดี สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และมีความพร้อมตามเกณฑ์ที่จะส่งต่อเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น จึงได้จัดให้มีครู 1 คน รับผิดชอบนักเรียน 1 คน เพื่อให้ครูสามารถดูแลนักเรียนได้อย่างเต็มที่

          โรงเรียนนครศรีธรรมราชปัญญานุกูล ใช้หลักสูตรสถานศึกษาเฉพาะ สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมุ่งพัฒนาผู้เรียน 6 กลุ่มทักษะการเรียนรู้ ได้แก่
1) ทักษะการเคลื่อนไหว 2) ทักษะภาษาและการสื่อสาร 3) ทักษะการช่วยเหลือตนเองและสุขอนามัย
4) ทักษะสังคมและการดำรงชีวิต 5) ทักษะวิชาการ และ 6) ทักษะอาชีพ ทั้งนี้ จะเน้นการมีทักษะอาชีพเพิ่มเติม ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และเน้นทักษะการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และแก้ปัญหา ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6

          โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 จังหวัดนครศรีธรรมราช เน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แข่งขันและแสดงความสามารถด้านวิชาการ ด้านทักษะอาชีพ และกิจกรรมต่าง ๆ โดยผ่านการวัดและประเมินผลตามเกณฑ์และวิธีการที่หลากหลาย ทั้งยังส่งเสริมให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ มีวินัย มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีจิตสาธารณะ

          โรงเรียนสำหรับคนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว จังหวัดนครศรีธรรมราช เน้นการจัดการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan : IIP) โดยได้จัดการศึกษาเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) แบบบูรณาการ 8 กลุ่มสาระ 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เน้นด้านอาชีพ 5 กลุ่มงาน ได้แก่
1) กลุ่มงานอาชีพเกษตร 2) กลุ่มงานอาชีพคหกรรม 3) กลุ่มงานอาชีพอุตสาหกรรม 4) กลุ่มงานอาชีพความคิดสร้างสรรค์ 5) กลุ่มงานอาชีพพณิชยกรรมและการบริการ 2) แบบโครงการเรียนรู้อยู่กับบ้าน และ
3) แบบร่วมกับสถาบันพัฒนาด้านอาชีพและสถานประกอบการ เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาศักยภาพในทุกด้านอย่างเต็มที่
   

 

          โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช เน้นส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทั้งทักษะวิชาการ ทักษะวิชาชีพ และทักษะชีวิต ครูจัดทำแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ จัดทำสื่อส่งเสริมพัฒนาการ สื่อการเรียนการสอน จัดห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

          ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ   

          สำนักงาน กศน. จังหวัดนครศรีธรรมราช พบปัญหาอุปสรรค 7 ประเด็น คือ 1) ครูผู้สอนคนพิการขาดขวัญ กำลังใจในการปฏิบัติงาน รู้สึกไม่มีความมั่นคงในอาชีพ เนื่องจากเป็นการจ้างเหมาบริการ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตัวครูผู้สอนอยู่ตลอดเวลา 2) ระดับความรู้ ความสามารถของนักศึกษาแตกต่างกัน ทำให้ครูผู้สอนต้องออกแบบสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย 3) นักศึกษาคนพิการด้านร่างกายไม่สามารถเดินทางมาสอบปลายภาคเรียนได้ 4) นักศึกษาคนพิการที่นั่งรถวีลแชร์มาสอบค่อนข้างจะไม่สะดวกในการ
นั่งสอบเป็นเวลานาน 5) จำนวนข้อสอบและการทำเครื่องหมายในข้อสอบเป็นปัญหาสำหรับนักศึกษาคนพิการที่ต้องใช้เวลามากกว่านักศึกษาทั่วไป 6) นักศึกษาคนพิการส่วนใหญ่ยังไม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการติดต่อสื่อสาร หรือเพื่อการเรียนรู้ และ
7) ครอบครัวของนักศึกษาไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต และไม่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์เทคโนโลยี ทำให้ไม่สามารถเรียนแบบออนไลน์ได้

          ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาอุปสรรคดังกล่าว คือ 1) ควรสร้างขวัญกำลังใจให้ครูผู้สอน โดยปรับจากพนักงานจ้างเหมาบริการเป็นพนักงานราชการทุกอัตรา 2) ควรจัดให้นักศึกษาคนพิการและผู้ดูแลได้เข้าร่วมกิจกรรม การศึกษาดูงานอย่างสม่ำเสมอ และ 3) ควรจัดอบรมครูผู้สอนคนพิการในเรื่องการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การสร้างนวัตกรรม เพื่อให้ครูผู้สอนเกิดความรู้เพิ่มเติม สามารถพัฒนาตนเอง และเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาได้

          ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช พบปัญหาอุปสรรค 2 ประเด็น คือ 1) ขาดแคลนครู 2) งบประมาณในการจัดฝึกอบรมสำหรับผู้ปกครองให้มีทักษะการดูแลบุตรหลานที่มีความพิการมีไม่เพียงพอ และมีจำนวนลดลง ซึ่งหน่วยงานแก้ปัญหาโดยลดจำนวนวันฝึกอบรมให้น้อยลง ทำให้ผู้ปกครองไม่ได้รับความรู้เท่าที่ควร โดยได้เสนอแนะวิธีแก้ปัญหาอุปสรรค คือ ควรจัดสรรงบประมาณด้านการบริหารจัดการ และด้านบุคลากร เพิ่มขึ้น

          โรงเรียนนครศรีธรรมราชปัญญานุกูล พบปัญหาอุปสรรคเรื่องหอนอนมีไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน

          โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 จังหวัดนครศรีธรรมราช พบปัญหาอุปสรรค 6 ประเด็น คือ
1) ความห่างเหินระหว่างผู้ปกครองและนักเรียนจากการที่นักเรียนอยู่โรงเรียนประจำ ส่งผลให้นักเรียนรู้สึกขาดความรัก ความอบอุ่น และเป็นสาเหตุให้นักเรียนมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน         2) การโยกย้ายถิ่นฐานและการย้ายที่
ทำกินของผู้ปกครอง ส่งผลให้นักเรียนย้ายออกกลางคัน 3) ผู้ปกครองบางส่วนมีฐานะยากจน ส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาของบุตรหลานในครอบครัว 4) การเผชิญกับปัญหาหย่าร้างของครอบครัว ส่งผลต่อสภาพจิตใจของนักเรียน 5) โรงเรียนเข้าถึงเด็กด้อยโอกาสได้ไม่ทั่วถึง เนื่องจากพื้นที่ให้บริการและรับผิดชอบกว้างมากครอบคลุม 23 อำเภอในจังหวัด และ 6) ครูมีภาระงานในการดูแลนักเรียนประจำ นอกเหนือจากการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน

          โรงเรียนสำหรับคนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว จังหวัดนครศรีธรรมราช  พบปัญหาอุปสรรคที่พอจะจำแนกตามปัจจัยในการบริหารจัดการ ได้เป็น 3 ด้าน โดยเรียงลำดับด้านที่พบปัญหามากที่สุดไปหาด้านที่พบปัญหาน้อยที่สุด คือ ด้านสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก ด้านบุคลากร และด้านการจัดการ

ซึ่งเป็นผลมาจากการก่อสร้างอาคารของโรงเรียนยังไม่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด โรงเรียนได้ขอใช้พื้นที่ชั่วคราวในโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ ภายใต้ความขาดแคลนและข้อจำกัดต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลา 5 ปี แล้ว

             สำหรับประเด็นด้านสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก คือ 1) ครุภัณฑ์ สิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอ 2) สภาพห้องเรียน ห้องกายภาพบำบัด
ห้องพยาบาล ไม่เหมาะสมกับสภาพความพิการของนักเรียน
3) หอพักนักเรียนมีพื้นที่จำกัด ไม่เพียงพอและไม่เหมาะสม (พื้นปูนเปลือย ทำให้เกิดความชื้น) 4) ห้องน้ำในหอพักคับแคบ ไม่เหมาะสมและไม่เอื้อต่อการใช้งานสำหรับผู้พิการ 5) ทางลาดสำหรับนักเรียนไม่มีความเหมาะสมและเพียงพอต่อการใช้งาน 6) โรงอาหารมีพื้นที่จำกัดสำหรับนักเรียนในการใช้บริการ 7) ยานพาหนะไม่เพียงพอและไม่เหมาะสมต่อการใช้งานของนักเรียน กรณีจัดกิจกรรมนอกสถานที่ หรือไปโรงพยาบาล 8) ห้องจัดเก็บวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ไม่มีความปลอดภัย และไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการชำรุดเสียหายได้ง่าย

             ประเด็นด้านบุคลากร คือ 1) ครูผู้สอนไม่ตรงตามวุฒิการศึกษาและกลุ่มสาระการเรียนรู้
2) ครูผู้สอนขาดความรู้และประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนที่บกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ 3) บุคลากรสนับสนุนการสอน ขาดทักษะความรู้ในการดูแลนักเรียนที่บกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ 4) จำนวนครูผู้สอนต่อจำนวนนักเรียน 90 คน ไม่เพียงพอและไม่เหมาะสม เมื่อเทียบสัดส่วนจำนวนของครูต่อนักเรียน (1 : 4) โดยได้เสนอวิธีการแก้ปัญหาอุปสรรคในข้อ 2) และ ข้อ 3) คือ พัฒนาครูและบุคลากรสนับสนุนการสอนเกี่ยวกับการใช้สื่อเทคโนโลยี และมีการนิเทศการสอนอย่างต่อเนื่อง

             ประเด็นด้านการจัดการ คือ ความไม่สะดวกในการดำเนินการเบิกจ่าย ต้องดำเนินการผ่านศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นหน่วยเบิกจ่าย

         โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช พบปัญหาอุปสรรคเรื่องครูผู้สอนไม่ตรงตามวุฒิการศึกษาและกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทั้งนี้ ได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือ ควรส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรภายในสถานศึกษา ระหว่างสถานศึกษากับครอบครัว ชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น และควรพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเปิดโลกทัศน์ใหม่ของนักเรียน

         แนวทางการพัฒนา

          โรงเรียนนครศรีธรรมราชปัญญานุกูล มีแนวทางการพัฒนา คือ ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนด้านทักษะอาชีพให้ผู้ปกครอง เพื่อเป็นช่องทางในการช่วยเหลือครอบครัวของนักเรียน

          โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 จังหวัดนครศรีธรรมราช  แนวทางการพัฒนา คือเน้น 3 ทักษะ ได้แก่ 1) ทักษะวิชาการ 2) ทักษะวิชาชีพ และ 3) ทักษะวิชาชีวิต โดยจัดโครงการ/กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะดังกล่าว ดังนี้ 1) โครงการโรงเรียนคุณธรรม 2) โครงการจัดการเรียนการสอนแบบทวิศึกษาร่วมกับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช 3) โครงการจัดการเรียนการสอนธรรมศึกษา 4) กิจกรรมการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5) โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 6) กิจกรรมเกษตรหอนอน และ 7) กิจกรรมส่งเสริมด้านกีฬา

           โรงเรียนสำหรับคนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว จังหวัดนครศรีธรรมราช  มีแนวทางการพัฒนา 3 ประเด็น คือ 1) ส่งเสริมให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการจัดการเรียน
การสอนเพื่อให้เกิดประโยชน์กับผู้เรียนมากที่สุด 2) พัฒนาการเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (
Individualized Education Program : IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan : IIP) การวัดและการประเมินผล การบันทึกหลังการสอน ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการประเมินผลตามสภาพจริง และ 3) ส่งเสริมการใช้กระบวนการวิจัยแก้ปัญหาในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับแผนการจัดการเรียนรู้เป็นระยะ

         โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช มีแนวทางการพัฒนา 4 ประเด็น คือ 1) พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยรูปแบบที่หลากหลาย โดยเน้นพัฒนาในด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ และเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านทักษะงานอาชีพ 2) พัฒนาการจัดการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมด้านอาชีพที่หลากหลาย 3) พัฒนาการจัดโครงการ/กิจกรรมให้เป็นระบบ มีการประเมินผล นิเทศ ติดตามอยู่เป็นประจำ และ 4) ศึกษาสภาพปัจจุบัน จุดอ่อน จุดแข็งของโรงเรียน เพื่อวางแผนการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา

         การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)    สำนักงาน กศน. จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดการเรียนการสอน 2 รูปแบบ 1) On-Line และ
2)
On-Site

         โรงเรียนนครศรีธรรมราชปัญญานุกูล จัดการเรียนการสอน 2 รูปแบบ คือ 1) On-Site สำหรับนักเรียนที่ไม่มีโรคประจำตัวและช่วยเหลือตัวเองได้ และ 2) Home School โดยครูจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan : IIP) และกำกับ ติดตามความก้าวหน้าในการจัดเรียนการสอนแบบ Home School ตามหน่วยทางการศึกษาในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียน    

         โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 19 จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดการเรียนการสอน 3 รูปแบบ คือ 1) On-Site  2) On Demand และ 3) On Hand   

         โรงเรียนสำหรับคนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดการเรียนการสอนแบบ On-Line

         โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช จัดการเรียนการสอนแบบ On Hand

          จังหวัดพัทลุง มีหน่วยงานและสถานศึกษาที่ผู้ตรวจราชการกระทรวงได้ตรวจเยี่ยมและรับฟังผล
การดำเนินงาน จำนวน
3 แห่ง คือ 1) สำนักงาน กศน. จังหวัดพัทลุง 2) ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพัทลุง และ 3) โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์พัทลุง

          การดำเนินการในรอบ 2 ปีงบประมาณที่ผ่านมา

          สำนักงาน กศน. จังหวัดพัทลุง  เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาสจะได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถ ฝึกทักษะอาชีพ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

          ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพัทลุง จะได้รับการบริการช่วยเหลือ ตั้งแต่แรกเกิด หรือเมื่อพบความบกพร่องตามความจำเป็น ระยะแรกเป็นการบริการช่วยเหลือด้วยกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพและเตรียมความพร้อม รวมถึงการให้ความรู้กับผู้ปกครองและครอบครัวในการดูแล และฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับบุตรหลาน

          โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์พัทลุงจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพอย่างทั่วถึง ส่งเสริมทักษะต่าง ๆ เช่น ด้านอาชีพ ด้านดนตรี ด้านกีฬา ด้านศิลปะ ตามความต้องการและความถนัด เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตและมีอาชีพติดตัว อย่างน้อย 1 อาชีพ เมื่อจบการศึกษา ส่งเสริมให้รู้จักการอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึกความเป็นไทย

 

 

          ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ

          สำนักงาน กศน. จังหวัดพัทลุง  พบปัญหาอุปสรรค 2 ประเด็น คือ 1) ผู้ปกครองไม่มีเวลาดูแลผู้พิการในครอบครัว ทำให้ผู้พิการมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ช้า และ 2) นักศึกษาคนพิการบางคนต้องทำงานรับจ้าง เพื่อหาเลี้ยงตนเองและครอบครัว ทำให้ไม่มีเวลาในการเรียนรู้ จึงเกิดความยากลำบากของครูในการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการจัดเรียนรู้ที่กำหนด ทั้งนี้ ได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น อยู่ 2 ประเด็น คือ 1) ควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุนส่งเสริมการเรียนรู้ด้านอาชีพให้กับนักศึกษาคนพิการ เพื่อสร้างอาชีพ และหาเลี้ยงตนเองได้ และ 2) ควรมีการอบรมพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนให้ครูผู้สอนคนพิการ ปีละ 2 ครั้ง เพื่อเพิ่มทักษะความรู้ให้ครูอย่างต่อเนื่อง

          ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพัทลุง พบปัญหาอุปสรรค 3 ประเด็น คือ 1) การเดินทางของบุคลากรที่ไปให้บริการที่บ้านนักเรียน หรือสืบค้นนักเรียนรายใหม่ มีระยะทางค่อนข้างไกลจากศูนย์ฯ (มากกว่า 100 กิโลเมตร) 2) ความปลอดภัยของบุคลากรในการเดินทาง ซึ่งส่วนใหญ่ใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะ และ3) หน่วยบริการบางหน่วยมีอาคารเรียน/ พื้นที่ตั้งไม่เหมาะสมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและฟื้นฟูสมรรถภาพให้นักเรียน โดยได้เสนอวิธีแก้ปัญหาอุปสรรคดังกล่าว คือ จัดสรรงบประมาณในส่วนการปรับปรุงหน่วยบริการ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทางของบุคลากร ให้เพียงพอและเหมาะสมในการจัดการเรียนการสอน และการฟื้นฟูสมรรถภาพให้นักเรียนที่หน่วยบริการและที่บ้าน

          โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์พัทลุง พบปัญหาอุปสรรค คือ จำนวนนักเรียนลดลง เนื่องจากเขตพื้นที่บริการลดลง และมีจำนวนสถานศึกษาเปิดมากขึ้น

          แนวทางการพัฒนา

          สำนักงาน กศน. จังหวัดพัทลุง มีแนวทางการพัฒนา คือ จัดกิจกรรมทัศนศึกษานอกสถานที่ เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้แก่นักศึกษา และเพิ่มพูนทักษะชีวิต

          ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพัทลุง มีแนวทางการพัฒนา 2 ประเด็น คือ 1) การสร้างภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง และ 2) การบูรณาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น ท้องถิ่น สาธารณสุขประจำอำเภอ

การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

         สำนักงาน กศน. จังหวัดพัทลุง จัดการเรียนการสอน 2 รูปแบบ คือ 1) On-Site และ 2) On-Line

         โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์พัทลุง จัดการเรียนการสอน 2 รูปแบบ คือ 1) On-Site และ 2) On-Air

จังหวัดสงขลา มีหน่วยงานและสถานศึกษาที่ผู้ตรวจราชการกระทรวงได้ตรวจเยี่ยมและรับฟังผล
การดำเนินงาน จำนวน 2 แห่ง คือ
1) โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสงขลา และ 2) พื้นที่ให้บริการของศูนย์ กศน.อำเภอหาดใหญ่

          การดำเนินการในรอบ 2 ปีงบประมาณที่ผ่านมา

          โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสงขลา จัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) มีรูปแบบ กระบวนการจัดการเรียนการสอน ตามโครงการการจัดการเรียนการสอนรูปแบบสองภาษาสำหรับเด็กหูหนวก ตามแนวการจัดการศึกษาวอลดอร์ฟ ระดับชั้นอนุบาล – ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อส่งเสริมพัฒนา นักเรียนที่สอดคล้องกับวุฒิภาวะให้เหมาะสมกับวัย ในการพัฒนาเด็กอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
ผ่านกระบวนการพัฒนานักเรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ส่งเสริมนักเรียนให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ อธิบาย แลกเปลี่ยน แก้ปัญหา ยิ่งไปกว่านั้น ยังส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสาร จากกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ส่งผลให้นักเรียนสามารถไปประกอบอาชีพ และสามารถเข้าศึกษาต่อได้ใน ระดับอุดมศึกษาได้

          ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ

โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสงขลา พบปัญหาอุปสรรค 2 ประเด็น คือ 1) นักเรียนส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาในจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงภัย ทำให้ยากต่อการติดตาม ดูแล และช่วยเหลือ 2) มีปัญหาครอบครัวยากจนและความไม่พร้อมในการดูแลนักเรียนพิการ ทั้งนี้ ได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น คือ จัดหาทุนการศึกษา และเงินช่วยเหลือพาหนะ รับ - ส่ง นักเรียนกรณีบ้านไกล ยากจน และมีความ ยากลำบากในการมารับ-ส่งนักเรียน

         การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

         โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสงขลา ได้มีการจัดมาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVIC-19) โดยแบ่งออกเป็น 3 มาตรการ ได้แก่

         1. มาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVIC-19) ก่อนเปิดภาคเรียน โดยดำเนินการ ดังนี้ 1) อบรมให้ความรู้แก่บุคลากร 2) จัดเตรียมหน้ากากผ้าไว้สำหรับนักเรียน 3) จัดเตรียมห้องเรียนแบบเว้นระยะห่าง 4) จุดบริการเจลล้างมือ และอ่างสำหรับล้างมือ 5) จัดเตรียมหอพักสำหรับนักเรียนที่อยู่ประจำแบบเว้นระยะห่าง 6) จัดเตรียมโรงอาหารแบบเว้นระยะห่าง และ 7) วางแผนเตรียมรับนักเรียนในวันเปิดเรียน

         2. มาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVIC-19) เปิดภาคเรียน ดังนี้ 1) คัดกรอง วัดไข้ นักเรียน ครูและบุคลากร ก่อนเข้าโรงเรียนทุกครั้ง 2) คัดกรอง วัดไข้ นักเรียนประจำก่อนเข้า - ออกจากหอนอน และตรวจวัดอุณหภูมินักเรียนไป - กลับ ก่อนเข้าโรงเรียนทุกครั้ง 3) นักเรียนสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา โดยความดูแลของครูหอนอน ครูเวรประจำวัน และครูประจำชั้น 4) มีจุดล้างมือและเจลแอลกอฮอล์อย่างเพียงพอ 5) มีการทำความสะอาดพื้นที่ที่มีการใช้และสัมผัสร่วมกัน เปิดประตูหน้าต่างระบายอากาศ 6) ทำสัญลักษณ์ที่สามารถเห็นได้ชัดเจน เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 - 2 เมตรในการเข้าแถวทำกิจกรรมหน้าเสาธงและการทำกิจกรรมต่างๆ และ
7) ไม่จัดกิจกรรมรวมกลุ่มคนจำนวนมาก ลดเวลาทำกิจกรรมพร้อมกัน โดยโรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอน 2 แบบ คือ On-Site คือ การจัดการเรียนการสอนนักเรียนที่มาเรียนที่โรงเรียนตามปกติ และ
On-Line คือ การจัดการเรียนการสอนนักเรียนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตที่บ้าน ภายใต้ความช่วยเหลือจากครูและผู้ปกครอง

         3. มาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVIC-19) ปิดภาคเรียน ดังนี้ 1) ทำความสะอาดห้องเรียน และหอนอน 2) ปรับปรุงซ่อมแซมอุปกรณ์ที่ชำรุด
3) ซ่อมแซมสื่อการสอน COVID -
19 ที่ชำรุด และ 4) ปรับปรุงป้าย บอร์ดนิเทศต่างๆ

 

*************************************

 

 

 

 

 

 


 บันทึข้อมูลโดย: