ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการภาค บันทึกเมื่อวันที่ Date: 09 มิถุนายน 2564
รายงานผลการตรวจราชการและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
กรณีปกติ รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
ของสำนักงานศึกษาธิการภาค 17 ประกอบด้วย จังหวัดตาก พิษณุโลก
เพชรบูรณ์ สุโขทัย และอุตรดิตถ์ เพื่อตรวจราชการ
ติดตาม และประเมินผลการขับเคลื่อนนโยบายและจุดเน้นสู่การปฏิบัติ ระดับพื้นที่หน่วยรับตรวจราชการในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศึกษาธิการภาค
17 และ เพื่อรวบรวม วิเคราะห์
สังเคราะห์ รายงานการตรวจราชการระดับพื้นที่ และจัดทำรายงานการตรวจราชการ ติดตาม และประเมินผลการขับเคลื่อนนโยบายและจุดเน้นสู่การปฏิบัติระดับพื้นที่ เสนอประธานกรรมการอำนวยการ
เพื่อนำเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้
เป็นหน่วยงานการศึกษาและสถานศึกษา ในเขตตรวจราชการที่ 17 ประกอบด้วย
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สถานศึกษาสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด (กศน.จังหวัด) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัด
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจราชการ
และติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการกรณีปกติ รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และกรณีพิเศษ ใช้แบบสำรวจสภาพการดำเนินงานและแบบรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายการตรวจราชการและการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ.2564 ที่ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
(นายสุรินทร์ แก้วมณี)
และสำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สร้างขึ้น
ประกอบด้วย
1. แบบสำรวจสภาพการดำเนินงานตามนโยบายการตรวจราชการ
ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2564 โดยจัดทำเป็นแบบสอบถามออนไลน์ด้วย Google Form
เพื่อสำรวจสภาพการดำเนินงานตามนโยบายการตรวจราชการ
2. แบบรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายตรวจราชการและการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 และ 3. แบบรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายตรวจราชการและการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำหรับหน่วยงาน/สถานศึกษาที่เป็นหน่วยรับตรวจ
โดยการลงพื้นที่เพื่อตรวจราชการและติดตามผลการดำเนินงานขับเคลื่อนนโยบายดำเนินการโดยสำนักงานศึกษาธิการภาค
17 ส่งแบบรายงานฯ ไปยังสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ในเขตตรวจราชการที่ 17
เพื่อให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในฐานะเลขานุการการตรวจราชการระดับจังหวัด นำไปจัดเก็บรวบรวมข้อมูลกับหน่วยงานการศึกษากลุ่มเป้าหมายในจังหวัดพร้อมทั้งรวบรวมและวิเคราะห์ผลเป็นภาพรวมของจังหวัดจำแนกเป็นรายสังกัด
สรุปผลได้ดังนี้
นโยบายที่1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง
การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง
มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง และมีคุณธรรม ความเป็นพลเมือง ปลูกฝังความมีระเบียบวินัย โดยกระบวนการลูกเสือ
และยุวกาชาด
พบว่า
หน่วยงานทางการศึกษาทุกสังกัดในเขตตรวจราชที่
17 มีการดำเนินการ
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง
มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง และมีคุณธรรม ความเป็นพลเมือง ปลูกฝังความมีระเบียบวินัย โดยกระบวนการลูกเสือ และยุวกาชาดทั้งนี้เนื่องจากหน่วยงานการศึกษาและสถานศึกษาในสังกัด
มีแผนงาน/โครงการส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี
และยุวกาชาดในสถานศึกษา ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งการพัฒนาผู้บังคับบัญชาลูกเสือการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
และการพัฒนาผู้เรียนส่งผลให้ผู้เรียนได้รับการปลูกฝังทัศนคติที่ถูกต้อง ต่อบ้านเมือง มีคุณธรรม จริยธรรม
ให้เป็นพลเมืองดี รวมทั้งมีความประพฤติที่เหมาะสมสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ
ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการศึกษายุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษา เพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ
นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
ปัญหาอุปสรรค
1.
การจัดโครงการส่งเสริมกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาดในสถานศึกษา
ยังพบปัญหาอุปสรรคอยู่บางประการ
นั่นคือ ความต่อเนื่องในการทำกิจกรรมในสถานศึกษา/โรงเรียน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19) ส่งผลให้ครู ไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้เต็มที่
และไม่ครบทุกกระบวนการ
2. ผู้นำกิจกรรมยุวกาชาดที่ผ่านการอบรม
รวมทั้งครูผู้สอนกิจกรรมยุวกาชาด มีจำนวนน้อย
ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมยุวกาชาดในสถานศึกษา
ข้อเสนอแนะ
1. ควรสร้างความเข้าใจกับผู้บริหารหน่วยงานทางการศึกษา และผู้บริหารสถานศึกษา
ให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดกิจกรรมยุวกาชาดในสถานศึกษา
เพื่อให้เกิดการส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมยุวกาชาดในสถานศึกษา
2.ควรส่งเสริมให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในฐานะเป็นผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ
ในส่วนภูมิภาค
เป็นหน่วยงานบังคับบัญชาด้านกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี และยุวกาชาด ในจังหวัด
นโยบายที่ 2.ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
2.1 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกช่วงวัย โดยการเพิ่มพูนทักษะ (Re-skill) พัฒนาทักษะ
(Upskill) และการเรียนรู้ทักษะใหม่ (Newskills)
เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
พบว่า หน่วยงานการศึกษาในทุกสังกัดในเขตตรวจราชการที่ 17
ได้มีการดำเนินการ ส่งเสริม
สนับสนุนสถานศึกษาในสังกัดจัดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกช่วงวัย
โดยการเพิ่มพูนทักษะ (Re-skill)
พัฒนาทักษะ (Up skill)
และการเรียนรู้ทักษะใหม่ (New skills)
เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ด้วยวิธีพัฒนาการใช้ แพลตฟอร์ม และเทคโนโลยี
เพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาผู้บริหาร ครู
และบุคลากรทางการศึกษา
นำไปพัฒนาผู้เรียนให้ตรงตามความสามารถ ส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานในการรู้หนังสือ
ทักษะการคิด ทักษะการทำงาน ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและทักษะการใช้ชีวิต
สามารถค้นคว้า ใฝ่หาความรู้จากทรัพยากร
การเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20
ปีด้านที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
ปัญหาอุปสรรค
เครื่องมือ/วัสดุ
อุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนมีราคาสูงและไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียน
ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารในการดำเนินการตามนโยบาย
ควรเร่งจัดสรรงบประมาณในช่วงต้นปีงบประมาณเพื่อให้การดำเนินงานเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน
2.2 การจัดการศึกษาแบบทวิศึกษา
และห้องเรียนอาชีพสู่การสร้างอนาคตให้ผู้เรียนมีอาชีพและมีงานทำ
พบว่า
หน่วยงานทางการศึกษาทุกสังกัดในเขตตรวจราชที่
17 ได้มีการดำเนินการส่งเสริม
สนับสนุนสถานศึกษาในสังกัดจัดการศึกษาแบบทวิศึกษา โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้งประถมและมัธยมศึกษา ประสานความร่วมมือกับสถาบันการอาชีวศึกษา
ร่วมกันจัดการศึกษาแบบทวิศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการจัดการศึกษา มีคุณวุฒิทางวิชาชีพ มีการพัฒนาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย
ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองความต้องการและความถนัดของผู้เรียน
และเพื่อความเป็นเลิศในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสู่การประกอบอาชีพ ตามความสนใจสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีด้านที่ 2
ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ส่งผลให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความต้องการและความถนัด มีหลักสูตรที่หลากหลายในการรองรับและตอบสนองความต้องการด้านอาชีพ
สอดคล้องและเป็นทางเลือกให้กับผู้เรียน
โดยจัดการเรียนการสอนเสริมทักษะอาชีพในรายวิชาพื้นฐาน/รายวิชาเพิ่มเติม/โครงงานอาชีพ/เสริมทักษะอาชีพในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน/สร้างเสริมประสบการณ์อาชีพ
ขยายเครือข่ายเพื่อทำความร่วมมือกับสถาบันอาชีวศึกษา ในการจัดทำหลักสูตรทวิศึกษา
และหรือหลักสูตรอาชีพระยะสั้น
ทำให้ผู้เรียนมีแนวทางประกอบอาชีพในอนาคตได้
ปัญหาอุปสรรค
ความปลอดภัยในการเดินทางเพื่อไปเรียนบางรายวิชาต้องจัดการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาที่ร่วมจัดทวิศึกษา
ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร
ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย
1. สถาบันอาชีวศึกษาภายในจังหวัด ควรรวมตัวกันดำเนินการในทิศทางเดียวกัน
ในลักษณะภาคีเครือข่ายอาชีวศึกษาจังหวัด
โดยมีประธานอาชีวศึกษา เป็นแกนนำในการดำเนินการ
2. ออกแบบวิธีการจัดการเรียนการสอน ช่วงเวลา และการเดินทางเพื่อความสะดวก ความปลอดภัย
2.3 การจัดการศึกษาแบบทวิภาคี
พบว่า หน่วยงานทางการศึกษาทุกสังกัดในเขตตรวจราชที่
17 ได้มีการดำเนินการ ส่งเสริม
สนับสนุนสถานศึกษาในสังกัดจัดการศึกษาแบบทวิภาคี
มีการขยายความร่วมมือกับสถานประกอบการ ทั้งในและนอกจังหวัด
เพื่อเพิ่มศักยภาพในการฝึกอาชีพในสถานประกอบการให้กับนักเรียนนักศึกษา ส่งผลให้นักเรียนที่เข้าร่วมจัดการศึกษาแบบทวิศึกษานำความรู้ไปสร้างรายได้เสริม ในระหว่างปิดภาคเรียนและประกอบอาชีพเมื่อจบการศึกษา
สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล
(พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี) ด้านที่ 8กระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของไทย ทุกช่วงวัยปรับรูปแบบการเรียนรู้และการสอนเพื่อพัฒนาทักษะและอาชีพของคนทุกช่วงวัยสำหรับศตวรรษที่
21 โดยปรับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาให้ทันสมัย
มีการนำเทคโนโลยีและการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงเข้ามามีส่วนในการจัดการเรียนการสอน
ปัญหาอุปสรรค
1.จำนวนสถานประกอบการที่ได้มาตรฐานมีจำนวนไม่เพียงพอต่อการให้บริการสำหรับสถานศึกษาที่สนใจจะส่งนักเรียนเข้าฝึกงาน
2.คุณภาพการจัดการเรียนการสอน บริบทและความต้องการของผู้เรียนแตกต่างกัน
รวมถึงสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน
บริบทของโรงเรียนมีความแตกต่าง
ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร
ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย
1. ควรสนับสนุนให้ส่งเสริมครูผู้สอน
และครูฝึกในสถานประกอบการมีกระบวนการนิเทศการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน
เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้และทักษะด้านวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ
รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง เหมาะสม
2.
จัดหาสถานประกอบการที่มีความพร้อมให้นักเรียนได้ฝึกประสบการณ์อย่างเพียงพอ
พัฒนาสถานประกอบการเพื่อยกระดับให้มีมาตรฐาน
สำหรับใช้เป็นสถานที่ฝึกประสบการณ์และจัดทำ MOU ร่วมกับสถานประกอบการที่ได้มาตรฐาน
นโยบายที่ 3.ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
3.1 การส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน
ให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21
พบว่า หน่วยงานทางการศึกษาทุกสังกัดในเขตตรวจราชที่ 17 มีแผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้อง กับการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่
21 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เขตพื้นที่การศึกษา
และหน่วยงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องมีการบูรณาการร่วมกันในการดำเนินโครงการ/กิจกรรม
ตามแผนงานยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
มีการพัฒนาครู มีการส่งเสริมครูผู้สอนจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning พัฒนาเทคนิค / วิธีการจัดการเรียนรู้ /สื่อและเทคโนโลยีผ่านทาง Social Network
ส่งผลให้ผู้เรียนมีความรู้ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์และทักษะอาชีพเพื่อการมีงานทำผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และทักษะการเรียนรู้สอดคล้องกับ
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
ปัญหาอุปสรรค
การจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์
ผู้เรียนบางส่วนขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์
ในการเรียนออนไลน์
และการเข้าถึงสัญญาณอินเตอร์เน็ต
ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร
ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย
ควรสนับสนุน
ส่งเสริมให้ทุกสถานศึกษามีการจัดกิจกรรมโครงการพัฒนาผู้เรียน
ให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 และมีการนิเทศ ติดตาม
ประเมินผลอย่างต่อเนื่องในรูปแบบที่หลากหลาย
3.2 การพัฒนาครูให้มีทักษะความรู้และความชำนาญการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
และภาษาอังกฤษ รวมทั้งการจัดการเรียนการสอน (Human Capital Excellence
Center : HCEC)
พบว่า หน่วยงานการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตตรวจราชการที่
17 ได้ดำเนินการในการพัฒนาครู ให้มีทักษะความรู้และความชำนาญการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
และภาษาอังกฤษ รวมทั้งการจัดการเรียนการสอน (Human Capital Excellence
Center : HCEC)โดยการจัดตั้ง ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ
(HCEC) ดำเนินการจัดสอบ
วัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เทคโนโลยีดิจิทัล หรือการสอบอื่น ๆ
จัดอบรมพัฒนาให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา
ในด้านภาษาอังกฤษ ภาษาจีน
เทคโนโลยีดิจิทัล
และด้านการพัฒนาตามสมรรถนะวิชาชีพ และด้านอื่นๆ ตามที่ สพฐ. กำหนด จำนวน 5
แห่ง รวมทั้ง มีการเตรียมบุคลากรในสังกัดในการเพิ่มทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
มีการนิเทศ ติดตามสถานศึกษาในสังกัด
สถานศึกษามีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนในทุกระดับทุกประเภทการศึกษาในการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และทักษะด้านภาษาอังกฤษสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
20
ปี ด้านที่ 2 ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
ปัญหาอุปสรรค
1. การพัฒนาครูให้มีทักษะความรู้และความชำนาญการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและภาษาอังกฤษ
รวมทั้งการจัดการเรียนการสอน
(Human Capital Excellence Center : HCEC) ยังไม่ครอบคลุมจำนวนครูผู้สอนภาษาอังกฤษในสังกัด และการพัฒนายังไม่มีความต่อเนื่อง
2. บทบาทของคณะทำงานในศูนย์HCECระดับเขตพื้นที่ยังไม่ชัดเจน
ทำให้ขาดความ
ต่อเนื่องในการพัฒนาครู
ข้อเสนอแนะ/วิธีการแก้ไขปัญหา
ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย
1.นำผลการประเมินครูความสามารถครูมาใช้ในการยกระดับความสามารถทางภาษาและพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนให้สูงขึ้น
2.ชี้แจงบทบาทของคณะทำงานในศูนย์ HCEC ระดับเขตพื้นที่ให้ชัดเจน
นโยบายที่
4. ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
4.1
การใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้และใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ
พบว่าสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
และสถานศึกษาในสังกัดนำเสนอการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์
เพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่
21 มีการปรับรูปแบบการเรียนรู้และการสอน
เพื่อพัฒนาทักษะและอาชีพของคนทุกช่วงวัย
โดยปรับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาให้ทันสมัย
มีการนำเทคโนโลยีและการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน
นอกจากนี้
ยังได้จัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะของครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ให้สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของโลกในปัจจุบันส่งผลให้ผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 – 3 มี Account ส่วนตัว
สามารถสมัครเข้าไปใช้งานในระบบได้
ครูจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนโดยใช้ Digital
Education Excellence Platform: DEEP
เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ (ห้องเรียนออนไลน์) สอดคล้องกับ
แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัย
ปัญหาและอุปสรรค
1.
ทักษะพื้นฐานด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์ของผู้เข้าอบรมมีไม่เท่ากัน
2.
ครูผู้สอน ยังต้องเพิ่มความรู้ความเข้าใจในระบบDEEP
3. ผู้ปฏิบัติงาน Admin ไม่สามารถตรวจสอบการใช้งานระบบ DEEP ของโรงเรียนได้
ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารในการดำเนินการตามนโยบาย
1. ผู้บริหารควรส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้
และใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศในสถานศึกษาและมีแนวทางในการดำเนินการที่ชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรม
เป็นระบบอย่างยั่งยืน
2. ควรกำหนดให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในฐานะเป็นผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานบังคับบัญชาด้านกิจกรรมการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้และใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ ในพื้นที่รับผิดชอบระดับจังหวัด
4.2 การจัดการศึกษาเด็กปฐมวัย
พบว่า
โรงเรียนจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีที่หลากหลายยึดตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
พุทธศักราช 2560 โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนามนุษย์ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ด้วยการพัฒนาการทั้ง 4 ด้านคือร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีการเตรียมสิ่งแวดล้อม
สถานที่ อาคาร ห้องเรียน บริเวณสวน ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้
และของเล่นที่เด็กเล่น
ให้เด็กสามารถเชื่อมโยงที่มาที่ไปในธรรมชาติและบริบทของโรงเรียน รวมทั้งครูผู้สอนได้รับการพัฒนาการจัดกิจกรรมตามแนวคิดมอนเตสซอริและการพัฒนาด้านเทคโนโลยี
มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์การการเรียนรู้ปฐมวัยในศตวรรษที่
21 ส่งผลให้ ผู้เรียนมีการฝึกใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
การวางแผนลงมือทำ นำเสนอ และสะท้อนความคิดเห็น ฯลฯ เด็กมีพัฒนา 4 ด้าน อย่างสมวัย
รวมทั้งพัฒนาด้านตัวตน (Self Development) พัฒนาทักษะสมอง (Executive
Function: EF) ให้มากขึ้น สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่
4 การสร้างโอกาส ความเสมอภาค
และความเท่าเทียมทางการศึกษาผู้เรียนทุกตนได้รับโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
ปัญหาอุปสรรค
1.บุคลากรที่มีความรู้ทางด้านการจัดการศึกษาปฐมวัยในโรงเรียนมีจำนวนจำกัด
ทำให้ไม่สามารถพัฒนาเด็กปฐมวัยได้เท่าที่ควร
2. การจัดประสบการเรียนรู้ให้กับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ยังไม่สอดคล้องกับแนวทาง
การจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษา
สถานศึกษา/โรงเรียนได้แก้ไขปัญหาในเบื้องต้น โดยการจัดกิจกรรมถอดบทเรียน PLC กับครูปฐมวัยและครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
เพื่อหาแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมร่วมกัน
ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหารในการดำเนินการตามนโยบาย
ควรส่งเสริมและสนับสนุนการจัดสรรครูผู้สอนตรงกับสาขาวิชาเอกปฐมวัย
และ
บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาหรือควรพัฒนาและให้ความรู้ในการจัดประสบการณ์ด้านการศึกษาปฐมวัยให้แก่ครูที่ไม่จบตรงสาขาวิชาเอกปฐมวัย
4.3 การเข้าถึงทางการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส
พบว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
และสถานศึกษาในสังกัด ดำเนินการพัฒนาการศึกษาควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้เรียน
โดยอาศัยแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน คือ
การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน
การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน และการส่งต่อ
ที่มีประสิทธิภาพภายใต้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการคุ้มครองดูแลช่วยเหลือนักเรียน
เน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการคุ้มครองดูแลช่วยเหลือผู้เรียนอย่างรอบด้าน
เด็กพิการ
เด็กด้อยโอกาส เด็กความสามารถพิเศษ และเด็กที่มีความต้องการช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ
ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพตามความถนัดและความสามารถเด็กนักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะวิชาการ ทักษะวิชาชีพ
ทักษะชีวิตมีคุณภาพชีวิตที่ดี
อยู่รอดปลอดภัยในสังคมปัจจุบันโดยเน้นการพัฒนาทักษะชีวิตทั้ง 4 องค์ประกอบ คือ
การตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น การคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ
และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สอดคล้องกับ
แผนการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2560 – 2579 ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการศึกษายุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย
และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
ปัญหาอุปสรรค
การจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยขาดการประสานงานร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ
ทั้งภาครัฐและ
เอกชนในการจัดการศึกษาเพื่อเด็กด้อยโอกาส
ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร
ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย
ควรมีการจัดทำแผนกลยุทธ์เชิงปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมและ
สามารถนำไปสู่การ
ปฏิบัติจริงได้และรวมทั้งการติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
นโยบายที่ 5. ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
5.1 การขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพของชุมชน
พบว่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
และสถานศึกษาในสังกัด ในเขตตรวจราชการที่ 17 มีการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพของชุมชน และโรงเรียนเครือข่าย
“โรงเรียนคุณภาพของชุมชน” สามารถดำเนินการได้เป็นไปตามแนวทางการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งได้มีการประชุมคณะกรรมการ ประกอบด้วย
ผู้บริหารการศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่มของสำนักงานเขตพื้นที่ และประธานกลุ่มโรงเรียน
และที่ประชุมมีมติให้มีโรงเรียนคุณภาพชุมชนเป็นโรงเรียนหลักและโรงเรียนเครือข่าย
โรงเรียนเครือข่ายร่วมพัฒนา
มีการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School asLearning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่
และได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพของชุมชน
และโรงเรียนเครือข่าย เพื่อร่วมกันพิจารณาคัดเลือก “โรงเรียนคุณภาพของชุมชน”ให้เป็นไปตามแนวทางการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีด้านที่ 6
ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
ปัญหาอุปสรรค
1. นักเรียนมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพิ่มขึ้น
2. ชุมชนที่อยู่ห่างออกไปมีความผูกพันกับโรงเรียนลดลง
ซึ่งจะส่งผลต่อขอบเขต
ของการจัดการเรียนรู้ที่ไม่สามารถดึงเอาชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ได้เท่าที่ควร
3.ความแตกต่างของสภาพพื้นที่
บริบทของแต่ละโรงเรียน รวมทั้งความลำบากในการเดินทางเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน
ทำให้ไม่บรรลุผลเท่าที่ควร
ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร
ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย
1. ควรปรับเปลี่ยนอัตราจ้างจากพี่เลี้ยงเด็กพิการเป็นครูการศึกษาพิเศษ
ที่มีความรู้ ความเข้าใจ เนื่องจากเรียนมาเฉพาะทาง และมีความยั่งยืน
มีประสิทธิภาพมากกว่า
2. ควรลดภาระงานของครูให้เหลือแต่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเดียว
ครูจะได้มีเวลาเตรียมและหาเทคนิควิธีการในการจัดการเรียนรู้ โดยเฉพาะกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ทั้ง 9 ประเภท
5.2
โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง
พบว่า การดำเนินการมีการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกและระดับคะแนนตามกรอบแนวทางการคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพของ
สพฐ. และดำเนินการพิจารณาคัดเลือกฯ
ในรูปแบบคณะกรรมการฯโดยคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพ :
โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง ตามคำสั่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ได้ผลการถอดบทเรียนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ส่งเสริมความสามารถในการแสดงออกและพัฒนาศักยภาพนักเรียนในโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล
และเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูและสร้างความตระหนักในการเป็นผู้นำที่ดีของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลนำนวัตกรรมทางการศึกษาของโรงเรียนมาจัดแสดงนิทรรศการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีด้านที่ 6
ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
ปัญหาอุปสรรค
1.กรอบแนวทางและเกณฑ์การคัดเลือกโรงเรียนคุณภาพ
: โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความสับสนในการดำเนินงาน
2. สภาพบริบทของสถานศึกษา
ที่มีจำนวนครูน้อย ทำให้ครูที่รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ต้องทำหน้าที่ในงานด้านอื่น ๆ ตามโครงสร้างการบริหารงานของโรงเรียน
ครูจึงรู้สึกว่าต้องรับภาระมาก
ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร
ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย
1. ควรจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมและเพียงพอสำหรับดำเนินการ
2.
ควรจัดกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนที่มีสภาพบริบทใกล้เคียงกัน
ให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และช่วยเหลือ กันในการดำเนินงาน
5.3 โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล
พบว่า มีการปรับโครงสร้างพื้นฐาน
สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับสภาพการเรียนรู้
มีออกแบบการจัดการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับสภาพบริบทของพื้นที่แต่ละแห่ง
มีแหล่งสนับสนุนทรัพยากรจากหลายแห่งได้ดำเนินงานโครงการเสริมสร้างคุณธรรม
จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา
ในการถอดบทเรียนสรุปผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่
และดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล
ในการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพนักเรียน
และการดำเนินกิจกรรมภาวะผู้นำให้ผู้บริหาร ครู เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปีด้านที่ 6
ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
1.
สภาพบริบทของสถานศึกษา ที่มีจำนวนครูน้อย
ทำให้ครูที่รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ต้องทำหน้าที่ในงานด้านอื่น ๆ
ตามโครงสร้างการบริหารงานของโรงเรียน ครูจึงรู้สึกว่าต้องรับภาระมาก
2.สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ทำให้การดำเนินงานไม่เป็นไปตามกำหนดเวลาที่ตั้งไว้
ส่งผลกระทบการในสื่อสาร
การจัดสรรงบประมาณล่าช้าทำให้ระยะเวลาให้การจัดกิจกรรมค่อนข้างกระชั้นชิดผู้บริหารและคณะครูมีภาระงานในการบริหารจัดการชั้นเรียนที่หนาแน่น
ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร
ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย
จัดกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนที่มีสภาพบริบทใกล้เคียงกัน
ให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และช่วยเหลือ กันในการดำเนินงาน
5.4 โรงเรียนขนาดเล็กที่ดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง
พบว่า การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก
เป็นค่าใช้สอย ค่าวัสดุ และค่าสาธารณูปโภค
ตามความจำเป็นและขาดแคลน ให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก Stand Alone ผลการจัดการเรียนการสอนส่วนใหญ่ใช้ DLTV เป็นหลัก และมีการสอนเสริมในชั่วโมงลดเวลาเรียน
เพิ่มเวลารู้ มีการส่งเสริม
สนับสนุนนักเรียนให้ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพดูแลนักเรียนให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
มีสุขภาพจิตดีมีคุณธรรมส่งเสริม สนับสนุน ให้นักเรียนได้รับการพัฒนาตามความถนัด ส่งผลให้สถานศึกษามีผลการประเมินภายในอยู่ในระดับดีขึ้นไปครูผู้สอนทุกคนใช้เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
(DLTV)
และเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน และสามารถจัดทำแผนพัฒนาตนเองในรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
(Professional Learning Community : PLC)สถานศึกษามีผลคะแนนการทดสอบความสามารถพื้นฐานระดับชาติ (NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่าปีที่ผ่านมาและสูงกว่าระดับประเทศ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ
20 ปีด้านที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
ปัญหาอุปสรรค
1
.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ค่อยสูงเมื่อเทียบกับโรงเรียนขนาดกลางที่มีความพร้อมมากกว่า
2. ครูไม่ครบชั้น ต้องรับผิดชอบนักเรียน 2 -3 ห้อง/คน
3. นโยบายไม่ชัดเจน ทำให้เขตพื้นที่การศึกษาทำงานซ้ำซ้อน
เนื่องจากรูปแบบและนโยบายเปลี่ยนรายวัน
ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร
ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย
1.
โรงเรียนขนาดเล็กที่ดำรงอยู่ได้ด้วยตนเองจะต้องจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ให้สูงขึ้นทุกกลุ่มสาระวิชาติดต่อกัน
และสูงกว่าระดับประเทศ
หลักเกณฑ์ด้านบุคลากร
สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก Stand
Alone แยกจากเกณฑ์อัตรากำลังสำหรับโรงเรียนปกติ
เพื่อให้มีจำนวนบุคลากรที่เพียงพอควรกำหนดแนวทางการให้ขวัญกำลังใจสำหรับบุคลากรที่สามารถบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก
Stand Alone ให้มีคุณภาพ
การตรวจราชการและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กรณีพิเศษ
1.
การจัดการเรียนการสอนและมาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19)
หน่วยงานการศึกษาทุกสังกัด
และสถานศึกษา ทุกแห่งมีการปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัดมีการแจ้งมาตรการแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID−19) ประชาสัมพันธ์ให้สถานศึกษาในสังกัดทราบ
และถือปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามมาตรการของ ศบค.
จังหวัด มีการจัดประชุมครูเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนทางไกล
มีการวางแผนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา/โรงเรียน
มีการวางแผนบริหารจัดการในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
COVID-19 ชี้แจงครู ผู้ปกครอง และนักเรียน
เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในภาพรวมมีดำเนินการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
อย่างเคร่งครัด
ปัญหาอุปสรรค
1.
การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ DLTV นั้น นักเรียนบางพื้นที่มีความพร้อมน้อย
และไม่มีความพร้อม
2. สถานศึกษาขนาดเล็ก และขนาดกลาง ขาดงบประมาณในการดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID-19)
3. สถานศึกษาส่วนใหญ่มีจำนวนครูไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนเนื่องจากมีการจัดระยะห่างระหว่างกันในการจัดการเรียนการสอน
ทำให้ต้องเพิ่มจำนวนห้องเรียนมากขึ้น
4. นักเรียนมีความพร้อมในการเรียนรู้ต่างกัน
ขาดความสนใจในการเรียนอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย
ควรจัดสรรบุคลากรครูทุกระดับชั้นให้เพียงพอต่อห้องเรียนที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้สามารถดูแลนักเรียนได้อย่างใกล้ชิดถูกต้องตามมาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
2. มาตรการการป้องกัน แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5
พบว่า หน่วยงานการศึกษาในทุกสังกัดในเขตตรวจราชการที่
17 ได้มีการติดตามสถานการณ์และตรวจสอบคุณภาพอากาศ จากเว็บไซต์ air4thai.pcd.go.th
และทาง แอปพลิเคชัน
Air4thai เป็นประจำ มีการแจ้งสถานศึกษาทุกแห่งในสังกัด
ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษา เรื่อง มาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5ประกาศ ณ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2563 เรื่องคุณภาพอากาศ
อยู่ในเกณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพให้พิจารณา
เปิด-ปิด สถานศึกษา ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเปิดและปิดสถานศึกษา
พ.ศ. 2549 และระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการเปิดและปิดสถานศึกษา (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2558 โดยหากที่ตั้งของสถานศึกษา
อยู่ในพื้นที่คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เกินมาตรฐาน เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีส้ม)
หรือมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีแดง) ให้ดำเนินการตามมาตรการป้องกัน คือ
สวมหน้ากากอนามัย ตลอดเวลา จัดกิจกรรมทำความสะอาดห้องเรียน
และอาคารเรียนอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง รวมทั้งประชาสัมพันธ์สื่อองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก
PM 2.5 ทางช่องทางต่างๆ
ปัญหาอุปสรรค
1.กระทบต่อสุขภาพนักเรียนเน้นเรื่องของความสะอาดของห้องเรียน สื่ออุปกรณ์
เครื่องเล่น และการดูแลกรณีเจ็บป่วยของนักเรียนโดยการประสานผู้ปกครอง
2.ในฤดูแล้ง อากาศแห้ง ใบไม้ วัชพืชต่าง ๆ
เป็นเชื้อเพลิงเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้
ได้ง่ายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก
(PM
2.5)
3.
หน้ากากอนามัยที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นหน้ากากอนามัยทางการแพทย์
ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันเชื้อโรค
แต่ไม่สามารถป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กPM 2.5 ได้
ข้อเสนอแนะ/วิธีการแก้ไขปัญหา
ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย
1. ควรประชาสัมพันธ์
รณรงค์การสวมหน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัย
เพื่อป้องกัน
ปัญหาฝุ่นละอองและการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
รวมทั้งรณรงค์ให้สถานศึกษาในสังกัด ประชาชน ในท้องถิ่น การตัดแต่งกิ่งไม้
ตัดหญ้าหรือวัชพืชก่อนเข้าสู่ฤดูแล้ง เพื่อจะไม่เป็นแหล่งเชื้อเพลิง
2. ควรจัดหาหน้ากากอนามัยที่มีคุณสมบัติในการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กPM2.5 เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับโรงเรียน หน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
ที่อยู่ในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ ของนักเรียน ผู้บริหาร ครู
และบุคลากรทางการศึกษาในสถานการณ์ที่มีค่าฝุ่นละอองเกินเกณฑ์มาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ
3. จัดทำมาตรการป้องกัน
แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในสถานศึกษา
และจัดกิจกรรมให้ความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จัดป้ายประชาสัมพันธ์ความรู้
ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย
1. สถานศึกษาที่มีพื้นที่เสี่ยง ให้ดำเนินงานตามมาตรการการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กPM 2.5 อย่างเคร่งครัด
2.
สร้างความตระหนักและสร้างการรับรู้เกี่ยวกับพิษภัยจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 รวมทั้งบทลงโทษกรณีฝ่าฝืนกฎหมายซึ่งควรมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
บันทึข้อมูลโดย: นายสุขุม เรืองเดช