ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 21 มิถุนายน 2564

ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

            5.1  การขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพของชุมชน

1) ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

                   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้กำหนดเป้าหมายการประชุมเพื่อจัดกลุ่มของโรงเรียน        เพื่อจัดตั้งเป็นโรงเรียนคุณภาพของชุมชนโดยพิจารณาคุณสมบัติของโรงเรียนที่จะเป็นศูนย์กลางต้องเป็นโรงเรียนที่อยู่กึ่งกลาง มีขนาดพื้นที่ไม่น้อยกว่า 10 ไร่ เพื่อเป็นโรงเรียนที่สามารถรองรับการพัฒนาให้เป็นโรงเรียนคุณภาพของชุมชน และแต่ละโรงเรียนมีระยะทางถึงโรงเรียนที่เป็นศูนย์กลางไม่เกิน 10 กิโลเมตร เพื่อประโยชน์ในการเดินทางของนักเรียน การจัดการบริหารรถรับส่งนักเรียนร่วมทั้งการใช้พื้นที่ในการบริหารจัดการเป็นศูนย์การเรียนรู้ อื่นๆ ในอนาคต

                                 - สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต ๒ ประชุมคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกสถานศึกษาที่มีความพร้อมตามแนวทางเกณฑ์การคัดเลือกของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการคัดเลือกมีโรงเรียนหลัก ๕ โรงเรียน โรงเรียนเครือข่ายรวม ๒๖ โรงเรียน และพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนนำร่อง ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ของเขตพื้นที่การศึกษา ๑ จุด คือ โรงเรียนวัดโพธิ์บัลลังก์ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โดยมีโรงเรียนเครือข่าย ๗ โรงเรียน ดังนี้

- ดำเนินการเสนอจัดตั้งงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบลงทุน ค่าที่ดินสิ่งก่อสร้างโรงเรียนนำร่อง ไปยังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน งบประมาณทั้งสิ้น 27,๒๑๗,๑๐๐ บาท          

 

                2) ข้อค้นพบ/ปัญหาและอุปสรรค

                   การตั้งเป้าหมายจำนวนนักเรียนเมื่อมีการรวมโรงเรียน คือชุมชน หรือผู้ปกครอง                     อาจประสบปัญหาเนื่องจากจะต้องมีการเคลื่อนย้ายนักเรียนไปเรียนที่โรงเรียนหลัก และปัญหาการยุบโรงเรียน

    - นโยบายการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา         ขั้นพื้นฐาน ที่จะมีการเพิ่มบุคลากรให้กับโรงเรียน เป็นนโยบายที่แย้งกับแนวทาง

    - ผู้บริหารท้องถิ่น คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนเครือข่าย ยังขาดความชัดเจนในนโยบาย ทำให้ขาดความร่วมมือ

    - ระยะเวลาในการดำเนินการตามขั้นตอนของนโยบาย มีระยะเวลาที่จำกัด ทำให้การดำเนินการมีเวลาในการพิจารณาน้อย

              - ขาดโรงเรียนหลักที่มีคุณลักษณะ พร้อมที่จะรองรับนโยบาย เช่น บุคลากร ด้านกายภาพ เป็นต้น

 

 

                3) วิธีการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

การขับเคลื่อนโดยขอความร่วมมือให้ผู้บริหาร และครูทำความเข้าใจกับผู้ปกครองและชุมชน ให้นำนโยบายการบริหารการศึกษาไปสื่อสาร แต่สามารถได้เป็นบางส่วน

               ในการดำเนินการใช้รูปแบบคณะกรรมการ เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณา ตัดสินใจ

 

 

 

 

                4) ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย (ถ้ามีโปรดระบุ)

                               กระทรวงศึกษาธิการ ควรประสานการทำงานตามนโยบายดังกล่าวให้กับ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อทำความเข้าใจ อันจะก่อให้เกิดความสนับสนุน แนวทางการดำเนินการตามนโยบายมากขึ้น

 

 

                5) ปัจจัยความสำเร็จ (ความโดดเด่น จุดแข็ง นวัตกรรม และเกิดประโยชน์หรือผลกระทบทางบวกแก่ผู้เรียน อย่างไรบ้าง มีต้นแบบ หรือแบบอย่างที่ดี ที่เกิดขึ้นจากาการดำเนินการตามนโยบายหรือไม่อย่างไร)

                   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขับเคลื่อนตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในข้อจำกัดของช่วงระยะเวลาการขับเคลื่อนนโยบายซึ่งจำกัด การขับเคลื่อนอาจยังไม่ครอบคลุมชุมชน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา

                 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาพร้อมร่วมมือดำเนินการตามนโยบาย

 

            5.2  โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

          ๑)  ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

               การดำเนินการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ตามนโยบาย “๑ ตำบล     ๑ โรงเรียนคุณภาพ” สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อนุมัติให้ศูนย์ขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลโอนจัดสรรงบประมาณ พ.ศ. 2564 การดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ และจุดเน้นของโครงการสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพให้กับนักเรียน ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักเรียนและโรงเรียนโดยมีรายละเอียด   

ในการดำเนินกิจกรรมดังนี้

                   ๑.1 การดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมการศึกษา(1โรงเรียน1นวัตกรรม)

                   1.2 การดำเนินงานนิเทศ กำกับ และติดตามการศึกษา

                   1.๓ การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน (1โรงเรียน1นวัตกรรม)

                   1.๔ งานวิจัยโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

                   1.๕ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน(ITAออนไลน์โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล)

 

 

การคัดเลือกผลงานนวัตกรรม โครงการ ๑ โรงเรียน 1 นวัตกรรม ของโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2๕๖๓

              สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกนวัตกรรมตามโครงการ ๑ โรงเรียน 1 นวัตกรรม ภายใต้โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 256๓ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD-19) ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนที่ได้รับรางวัล ได้แก่ โรงเรียนชุมชนวัดราษฎร์เจริญธรรม , โรงเรียนวัดสีดาราม และโรงเรียนวัดบัวงาม

            5.3  โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

            1)  ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

1.1) โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สพม.ราชบุรี ร้อยละ 100  มีนวัตกรรม 1 โรงเรียน

1 นวัตกรรม (การเรียนการสอน การบริหารจัดการ และสิ่งแวดล้อม)

1.2)  การนิเทศ กำกับและติดตามโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ในสังกัด จำนวน 

26 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 100  มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

1.3)  โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สพม.ราชบุรี เข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและ

ความโปร่งใสในการดำเนินงานชองถานศึกษา (ITA Online) คิดเป็นร้อยละ 100 

1.4) โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สพม.ราชบุรี ได้รับงบประมาณสนับสนุน งบลงทุน

ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง (รายการงบปีเดียว) จำนวน 7 โรงเรียน งบประมาณ จำนวน 5,652,000 บาท

2)  ข้อค้นพบ / ปัญหาอุปสรรค

                   - ไม่มี -

          3)  วิธีการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

                   เปิดโอกาสให้โรงเรียนได้มีการแสดงถึงภาระงานตามนโยบาย ได้อย่างหลากหลาย ตามบริบท และความต้องการของโรงเรียน

          4)  ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย (ถ้ามีโปรดระบุ)

                        นำรูปแบบการปฏิบัติงานที่ดี ไปใช้ขยายผลกับโรงเรียนทุกแห่ง

            5)  ปัจจัยความสำเร็จ  (ความโดดเด่น จุดแข็ง นวัตกรรม และเกิดประโยชน์หรือผลกระทบทางบวกแก่ผู้เรียน อย่างไรบ้าง  มีต้นแบบ หรือแบบอย่างที่ดี ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามนโยบาย หรือไม่ อย่างไร)

                        แบบอย่างที่ดี รูปแบบการดำเนินงานมีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ การเสริมสร้าง การป้องกัน และการสร้างเครือข่าย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

            5.2  โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง

            1)  ผลการขับเคลื่อนนโยบาย

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี ได้ดำเนินการตามนโยบายของกระทรวง

ศึกษาธิการ ในการดำเนินการ โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง โดยได้ผ่านการพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนในสังกัดที่มี

ความเหมาะสม จำนวน 5 โรงเรียน ประกอบด้วย

1.1) โรงเรียนปากท่อพิทยาคม

1.2) โรงเรียนท่ามะขามวิทยา

1.3) โรงเรียนด่านทับตะโกราษฎร์อุปถัมภ์

1.4) โรงเรียนหนองปลาหมอพิทยาคม

1.5) โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ราชบุรี

โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี ได้เสนอโรงเรียนนำร่องในระยะแรก คือ โรงเรียนปากท่อพิทยาคม ซึ่งได้จัดทำคำของบประมาณที่โรงเรียนพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อเป็นการสร้างความพร้อมในการเป็นโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง ประกอบด้วย

1.1) โรงอาหาร แบบ 101ล./27 พิเศษ   งบประมาณ 13,518,000 บาท

1.2) ห้องน้ำห้องส้วมนักเรียนชาย                    งบประมาณ 525,900 บาท

1.3) ห้องน้ำห้องส้วมนักเรียนหญิง                   งบประมาณ 665,900 บาท

1.4) สนามกีฬาอเนกประสงค์             งบประมาณ 1,307,000 บาท

1.5) รั้วมาตรฐานแบบทึบฐานรากไม่ตอกเข็ม       งบประมาณ 276,000 บาท

1.6) ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กบนผิวถนนเดิมกว้าง 4 ม. งบประมาณ 265,000 บาท

1.7) ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กบนผิวถนนเดิมกว้าง 6 ม. งบประมาณ 245,900 บาท

1.8) งานรื้อถอนอาคารโรงอาหารชั่วคราว           งบประมาณ 158,200 บาท

รวมงบประมาณที่เสนอขอปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวนทั้งสิ้น 16,961,900 บาท

 

 

2)  ข้อค้นพบ / ปัญหาอุปสรรค

                 งบประมาณในการดำเนินการมีข้อจำกัด จึงไม่สามารถนำไปจัดหาอุปกรณ์ในการปฏิบัติกิจกรรมได้อย่างกว้างขวางตามที่ต้องการจะพัฒนาได้

     ขาดงบประมาณในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ทันสมัยในยุคไทยแลนด์ 4.0

2.1) ขาดความเข้าใจในการดำเนินงานในระยะเริ่มต้นของโครงการ ทำให้ขาด

การประสานงานระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 และ เขต 2 ในการกำหนดโรงเรียนเป้าหมาย

2.2) การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งทำให้สถานศึกษา

ในสังกัดต้องปิดการเรียนการสอน ดังนั้นการประสานงานระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรีกับสถานศึกษาที่ได้รับการพิจารณาให้เข้าร่วมโครงการเกิดการติดขัด

 

 

  3)  วิธีการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย

                 ดำเนินการตามศักยภาพของงบประมาณที่จำกัด และวางแนวทางที่เอื้อต่อการจัดการเรียนต่อผู้เรียนตามบริบท

     สพฐ. สนับสนุนโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เพื่อให้การขับเคลื่อนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

3.1) การขาดความเข้าใจในการดำเนินงานในระยะเริ่มต้นของโครงการ ทำให้ขาด

การประสานงานระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 และ เขต 2 ในการกำหนดโรงเรียนเป้าหมายนั้น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 ได้เป็นตัวแทนในการจัดประชุมเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันและเป็นไปตามเป้าหมายของนโยบาย ทำให้การกำหนดโรงเรียนเป้าหมายเกิดความสอดคล้องกับนโยบายและบรรลุผลตามเป้าหมายของโครงการ

                   3.2) การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งทำให้สถานศึกษา

ในสังกัดต้องปิดการเรียนการสอน ดังนั้นการประสานงานระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรีกับสถานศึกษาที่ได้รับการพิจารณาให้เข้าร่วมโครงการเกิดการติดขัด ดังนั้นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี จัดการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยใช้โปรแกรม Line ในการจัดตั้งกลุ่มขึ้น เพื่อใช้ประสานงานระหว่างโรงเรียนกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี

 

  4)  ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย (ถ้ามีโปรดระบุ)

การดำเนินงานในระยะเริ่มต้นของนโยบายควรกำหนดให้มีแนวทางในการดำเนินงาน

ให้ชัดเจน

   5)  ปัจจัยความสำเร็จ  (ความโดดเด่น จุดแข็ง นวัตกรรม และเกิดประโยชน์หรือผลกระทบทางบวกแก่ผู้เรียน อย่างไรบ้าง มีต้นแบบ หรือแบบอย่างที่ดี ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามนโยบาย หรือไม่ อย่างไร)

  ๕.1 ครู ได้รับความรู้และประสบการณ์จากกระบวนการจัดการ ตลอดจนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ต่าง ๆ      

  ๕.2 โรงเรียน ได้รับการเติมเต็มจากภาคเอกชน ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน สื่อการเรียน       การสอน ระบบฐานข้อมูล เป็นต้น

  ๕.3 ผู้บริหาร ได้รับการพัฒนาคุณสมบัติและสมรรถนะความเป็นผู้นำและการบริหารจัดการ

  ๕.4 ผู้ปกครอง ชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและสนับสนุนการศึกษามากขึ้น

 

     ความร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาการศึกษาระหว่างเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียน และชุมชน

5.1) สถานศึกษาที่ได้รับการพิจารณาให้เป็นโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมืองจะเป็นสถานศึกษา

ที่มีความพร้อมในการจัดการศึกษา ทั้งด้านสถานที่ในการจัดการเรียนการสอน อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนต่าง ๆ

                                    5.2) โรงเรียนได้รับการพัฒนาเพื่อให้เกิดคุณภาพที่ส่งผลให้นักเรียนที่ขาดโอกาส

ทางการศึกษา ได้เรียนในโรงเรียนที่มีคุณภาพทัดเทียมกับโรงเรียนการแข่งขันสูงประจำจังหวัด

 


 บันทึข้อมูลโดย: นายนิรุทธิ์ อุทาทิพย์