ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการภาค บันทึกเมื่อวันที่ Date: 11 มีนาคม 2564
รายงานสรุปผลการตรวจราชการ
และติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ
รอบที่ 1
ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ.2564
เขตตรวจราชการที่ 6
ของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
(นายวัลลพ สงวนนาม)
ณ
จังหวัดสตูล ตรัง ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่
ระหว่างวันที่
22-23 กุมภาพันธ์ 2564 และวันที่ 1-4 มีนาคม 2564
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตามที่ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
(นายวัลลพ สงวนนาม) ได้ลงพื้นที่ตรวจราชการตามนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ
รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 เพื่อตรวจราชการตามนโยบายการตรวจราชการและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 พร้อมรับฟังรายงานผลการดำเนินงานฯ รวมถึงปัญหาอุปสรรค
และข้อเสนอแนะของหน่วยงาน/สถานศึกษา ระหว่างวันที่ 22 - 23 กุมภาพันธ์ 2564 ณ
จังหวัดสตูล และจังหวัดตรัง วันที่ 1 – 4 มีนาคม 2564 ณ จังหวัดระนอง จังหวัดพังงา
จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดกระบี่ โดยประชุมผู้บริหารหน่วยงานทางการศึกษาทุกสังกัดในพื้นที่รับผิดชอบเขตตรวจราชการที่
6 จำนวน 6 จังหวัด และตรวจเยี่ยมสถานศึกษา
เพื่อติดตามแผนงาน/โครงการที่สำคัญตามนโยบายรัฐบาล นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ
แผนการศึกษาชาติ และแผนปฏิบัติราชการกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ จำนวน 9 แห่ง ดังนี้
การขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพของชุมชน
1. โรงเรียนบ้านวังปริง อ.ท่าแพ
จ.สตูล (สพป.สตูล)
2. โรงเรียนห้วยยอด
(กลึงวิทยาคาร) อ.ห้วยยอด จ.ตรัง (สพป.ตรัง เขต 2)
3. โรงเรียนอนุบาลบ้านด่าน
อ.กะเปอร์ จ.ระนอง (สพป.ระนอง)
4.
โรงเรียนวัดสุวรรณาวาส อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา (สพป.พังงา)
5. โรงเรียนบ้านป่าคลอก
อ.ถลาง จ.ภูเก็ต (สพป.ภูเก็ต)
6.
โรงเรียนบ้านในช่องมิตรภาพที่ 123 อ.เมือง จ.กระบี่ (สพป.กระบี่)
โรงเรียนขนาดเล็กที่ดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง
7. โรงเรียนบ้านแหลมนาว อ.สุขสำราญ
จ.ระนอง (สพป.ระนอง)
8. โรงเรียนบ้านเกาะนาคา
อ.ถลาง จ.ภูเก็ต (สพป.ภูเก็ต)
9.
โรงเรียนบ้านเกาะศรีบอยา อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ (สพป.กระบี่)
จากการลงพื้นที่ตรวจราชการตามนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ รอบที่ 1
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 และรับฟังรายงานผลการดำเนินงานฯ ในภาพรวม พบว่า หน่วยงาน/สถานศึกษา
มีการบริหารจัดการตามบริบทของพื้นที่อย่างหลากหลาย ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานได้บรรลุผลสำเร็จตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ
โดยสรุปผลการดำเนินงาน สภาพปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ รวมทั้งแบบอย่างที่ดีในแต่ละด้าน แบ่งออกเป็น
2 ส่วน ตามแบบรายงานฯ ดังเอกสารแนบ
บันทึข้อมูลโดย: ตวงเพชร์ คงแก้ว