ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการภาค บันทึกเมื่อวันที่ Date: 23 กุมภาพันธ์ 2564

สรุปรายงานวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร

1) ด้านความมั่นคง

    - สถานศึกษามีการจัดการเรียนการสอน กิจกรรมการปลูกฝังความมีระเบียบ ทัศนคติที่ดี ถูกต้อง โดยกระบวนการลูกเสือ นักเรียน นักศึกษา เป็นผู้มีระเบียบวินัย มีความเสียสละ และเป็นผู้มีจิตอาสา

2) ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

    2.1 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกช่วงวัย โดยการเพิ่มพูนทักษะ (Re-skill) พัฒนาทักษะ (Up skill) และการเรียนรู้ทักษะใหม่ (New skill) เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน

    - วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร เป็นสถานศึกษาที่ผลิตและพัฒนากำลังคนในการพัฒนานักศึกษาเป็นผู้ประกอบการอย่างเป็นระบบ ผลักดันให้นักศึกษาที่จบออกไปมีการประกอบอาชีพอิสระมากขึ้น วิทยาลัยได้มีการดำเนินการในหลายรูปแบบ มีการอบรมบ่มเพาะผู้ประกอบ การเปิดวิชาเรียนในวิชาการเป็นผู้ประกอบการให้กับนักศึกษา การฝึกนักศึกษาให้มีการจำหน่ายสินค้าในช่วบที่มีกิจกรรม การสนับสนุนการดำเนินการทำธุรกิจในสถานศึกษาจัดให้มีการสัมมนาแลกเปลี่ยน เรียนรู้รูปแบบและแนวทางการสร้างผู้ประกอบการธุรกิจแก่นักศึกษาที่มีความสนใจ เข้าร่วมและสร้างโอกาสในการเป็นผู้ประกอบกรมบ่มเพาะไปยังนักศึกษามากยิ่งขึ้น

    - นักเรียน นักศึกษา ได้รับรู้และตระหนักถึงการเป็นผู้ประกอบการและมีความรู้ ความเข้าใจในการประกอบธุรกิจ และมีทักษะในการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นระบบ

    - จัดอบรม ส่งเสริมความรู้ให้แก่นักเรียน นักศึกษา เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ หลักการตลาด การเขียนแผนธุรกิจ บ่มเพาะให้ความรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการ วิธีการจัดแหล่งหาเงินทุน

    - นักเรียน นักศึกษา ที่ผ่านการฝึกอบรมบ่มเพาะ เข้าร่วมกิจกรรม โครงการต่างๆ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจ และเป็นผูประกอบการได้

    2.2) การจัดการศึกษาแบบทวิศึกษา และห้องเรียนอาชีพสู่การสร้างอนาคตได้ ผู้เรียนมีอาชีพและมีงานทำ

    วิทยาลัย ได้จัดการเรียนการสอน แบบทวิศึกษา ประกอบด้วย สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาประมง นักเรียนมีความรู้และประสบการณ์ ดังนี้

        1. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง

        2. ได้รับทักษะวิชาชีพ และสามารถนำไปสู่อาชีพในอนาคตได้

        3. สามารถนำความรู้ไปศึกษาต่อในระดับ ปวส. สาขาเกษตรศาสตร์ได้โดยตรง

    2.3) การจัดการศึกษาแบบทวิภาคี

    วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร ได้เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช. ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส. และระดับปริญญาตรี เทคโนโลยีการผลิตสัตว์ และมีการดำเนินการส่งนักเรียน นักศึกษาออกฝึกประสบการณ์ ฝึกอาชีพตามหลักสูตร ทุกภาคเรียน โดยทำความร่วมมือกับสถานประกอบการและได้มีการนิเทศติดตาม นักเรียน นักศึกษา อย่างต่อเนื่อง

    3. ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

    3.1) การส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21

    วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร จัดรูปแบบการเรียนการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคี เรียนในสถานศึกษา ระหว่างเรียนก็มีการจัดอบรมจากสถานประกอบการ และส่งเข้าฝึกงานในสถานประกอบการจริง โดยวิทยาลัย ทำความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับไร่ภูตะวันฟาร์ม บริษัทกรุงไทย และบริษัทสบามคูโบต้า บริษัทซีพีแรมจำกัด เพื่อให้นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน และมีพัฒนาการ ปฏิบัติงานจริงให้กับผู้เรียนในแต่ละสาขาวิชา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะสู่ศัตวรรณที่ 21 อย่างต่อเนื่อง

    3.2) การพัฒนาครูให้มีทักษะความรู้และความชำนาญการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และภาษาอังกฤษ รวมทั้งการจัดการเรียนการสอน (Human Capital Ecellence Center : HCEC)

    หมวดวิชาภาษอังกฤษ แผนกวิชาสามัญสัมพันธ์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของภาษาต่างประเทศ ในด้านการสื่อสาร โดยเฉพาะภาษาอังกฤษของนักเรียน นักศึกษา ตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษรเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล (The common European Framework of References for Languages (CEFR) ที่เน้นสมรรถนะการเรียน การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศระดับอาชีวศึกษา (Vacational English as EFL Competencies) เพื่อเป็นกิจกรรมเสริมทักษะทั้ง 4 ด้าน พัง พูด อ่าน เขียน ได้

    - ดำเนินการนำเสนอภาษาอังกฤษวันละคำ (a word a day) ทุกเข้าวันพฤหัสบดี หลักกิจกรรมเคารพธงชาติ โดยแบ่งเวรนักเรียน นักศึกษา รับผิดชอบคำศัพท์ ความหมาย ตัวอย่างประโยค

    - ดำเนินการรายการเสียงตามสาย ในช่วงพักเที่ยงทุกวัน วันพฤหัสบดี ดำเนินรายการโดยนักศึกษาระดับชั้น ปวส.2 โดยมีการนำเสนอคำศัพท์ สำนวน ภาษาอังกฤษ

    4. ด้านสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม

    4.1) การใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ และใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (Digital Edcation Excellence Platform : DEFP)

    วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร มีการดำเนินการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่อออนไลน์ และการสร้างความรู้ ความเข้าใจกับผู้สอนและผู้เรียนในการใช้งานและมีการจัดและประเมินผลเพื่อการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของตลาดแรงงาน

    4.2) การเข้าถึงทางการศึกษาสำหรับคนพิการ และผู้ด้อยโอกาส

    วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร จัดตั้งศูนย์สนับสนุนนักเรียน นักศึกษา DSS เพื่อเสริมสร้างสนับสนุนการจัดการศึกษา สำหรับเด็กพิการ และด้อยโอกาสให้ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพด้วยรูปแบบที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละบุคคลอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ

    จัดโครงการฝึกอบรมทักษะวิชาชีพให้กับนักเรียน นักศึกษาพิการ เพื่อเพิ่มศักยภาพและเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงาน และประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต

    5. ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ

    วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยียโสธร เป็นสถานศึกษาส่งบเสริมและสนับสนุนปลูกฝังนักเรียนให้มีจิตสำนึกที่ดีในเรื่องความสะอาด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกคนในวิทยาลัย ในขณะเดียวกันบุคลากรครู ต้องทำหน้าที่ตักเดือนและเป็นแบบอย่างให้กับโรงเรียน เพื่อให้โรงเรียนสะอาด จึงต้องใช้กระบวนการ 5 ส. ด้วยการรณงค์ให้บุคลากรตระหนักถึงการ สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะและสร้างนิสัย จึงได้จัดทำโครงการ BIG CLEANING DAY ขึ้น เพื่อจัดกิจกรรมด้านการปลูกฝังจิตสำนึกให้บุคลากรรักษาสภาพแวดล้อมที่ดี โดยเริ่มกิจกรรมการสะสางสิ่งของในห้องปฏิบัติการ ห้องพักครู ห้องเรียน สำรวจสิ่งของต่างๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ แยกของที่ต้องการและไม่ต้องการ พร้อมทั้งรณรงค์ช่วยกันรักษาความสะอาดของโรงเรียน ทุกบริเวณให้อยู่ในความสะอาด ถูกสุขลักษณะ สะดวกต่อการนำไปใช้งาน ปฏิบัติได้ถูกต้องและติดเป็นนิสัย


 บันทึข้อมูลโดย: นางสาวสุกัลยา ประเสริฐ