ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 06 ตุลาคม 2564
หัวข้อการตรวจกรณีพิเศษ : การจัดการเรียนการสอนในสถานะการ Covid-19
2.2 การตรวจราชการกรณีพิเศษ
๑) การจัดการเรียนการสอนและมาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ผลการดำเนินงานโดยสรุป
1. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุตรดิตถ์ เข้าร่วม ศบค.จังหวัดอุตรดิตถ์ ทุกวันพุธจากนั้น
จัดทำหนังสือชี้แจงแนวปฏิบัติต่าง ๆ ตามมาตรการปัองกันโรคติดเขื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามแนวทางการจัดการเรียนการสอนตามมาตรการกระทรวงศึกษาธิการ และ ศบค.จังหวัดกำหนด ให้แก่ทุกหน่วยงานการศึกษา
2. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุตรดิตถ์ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขลงพื้นที่ในการกำกับ
ติดตาม ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนและการดำเนินการตามมาตรการป้องกัน วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ของสถานศึกษาทั้ง 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอน้ำปาด อำเภอทองแสนขัน อำเภอตรอน และอำเภอพิชัย ของสถานศึกษาในสังกัด สพป.อุตรดิตถ์ เขต 1, สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ,สถานศึกษาเอกชน จำนวน 10 โรง พบว่า สถานศึกษาทุกแห่งมีการดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรค และมีการจัดการเรียนการสอนอย่างหลายตามบริบทของสถานศึกษา
3. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุตรดิตถ์ลงพื้นที่ นิเทศ กำกับติดตาม โรงเรียนเอกชนจังหวัด
อุตรดิตถ์ พบว่า โรงเรียนเอกชนทุกโรง มีการดำเนินตามมาตรการป้องกันโรค และมีการจัดการเรียนการสอนอย่างหลากหลายตามบริบทที่เหมาะสมกับสถานศึกษา โดยผู้ปกครองให้ความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนของผู้เรียนในระดับปฐมวัย และระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3 ครูผู้สอนมีการปรับกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดและนำเทคโนโลยีดิจิทัลปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน
4. หน่วยงานการศึกษาดำเนินการสร้างการรับรู้ เข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนและ
มาตรการป้องกันโรค ประเมินความพร้อมตนเองก่อนเปิดภาคเรียนให้กับสถานศึกษาในสังกัด ยกตัวอย่าง เช่น หน่วยงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( สพป.อุตรดิตถ์ เขต 1 , สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2 และ สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์) โรงเรียนในสังกัดร่วมการประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เพื่อชี้แจงแนวทางปฏิบัติในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ในวันที่ 6 มกราคม 2564 แจ้งแนวทางการดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ให้กับทุกโรงเรียนในสังกัด เพื่อดำเนินการตามมาตรการป้องกันโรคระบาดของจังหวัดอุตรดิตถ์
5.สถานศึกษาทุกสังกัดจังหวัดอุตรดิตถ์ในสังกัด ปิดเรียนกรณีพิเศษในช่วงวันที่ 4 -17 มกราคม 2564 และจัดการเรียนการสอน ใน 5 รูปแบบ ได้แก่ 1) On Site คือให้มาเรียนตามปกติได้ในพื้นที่ที่ไม่ใช่สีแดง แต่ต้องเว้นระยะหรือลดจำนวนนักเรียนต่อห้องลง สำหรับจังหวัดพื้นที่สีเขียว สามารถจัดการเรียน การสอนในโรงเรียนได้ตามปกติ 2) On Air คือการออกอากาศผ่าน DLTV เป็นตัวหลักในการกระจายการสอน 3. Online ให้ครูเป็นผู้จัดการเรียนการสอน ผ่านเครื่องมือที่ทางโรงเรียนกระจายไปสู่นักเรียน 4. On Demand เป็นการใช้งานผ่านแอปพลิเคชั่นต่างๆ ที่ครูกับนักเรียนใช้ร่วมกัน 5) On Hand จัดใบงาน แบบฝึกให้กับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนได้อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้โรงเรียนจะปิดแต่ต้องไม่หยุดการเรียนรู้
6. สถานศึกษาทุกสังกัดรายงานผลการติดตามการจัดการเรียนการสอนและมาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทาง google formและแบบติดตาม ให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ในภาพรวมทุกโรงเรียนดำเนินการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด จัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ในการทำความสะอาดสถานที่และนักเรียน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานชุมชน และจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน ส่วนใหญ่จัดการเรียนการสอนในรูปแบบ On Hand แจกใบงาน ครูประจำชั้นและนักเรียนมารับที่โรงเรียน บางโรงเรียนครูไปเยี่ยมบ้านนักเรียนและมอบใบงานและอาหารเสริม(นม)สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
7. หน่วยงานต้นสังกัดของแต่ละสถานศึกษา ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานศึกษา เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานศึกษาในวันที่ 19 มกราคม 2564 หลังจากที่โรงเรียนปิดเรียนกรณีพิเศษ และเปิดเรียนอีกครั้งโดยบุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ลงพื้นที่โรงเรียนเครือข่ายละ 3 โรงเรียน จำนวน 24 เครือข่าย รวมทั้งสิ้น 70 โรงเรียน พบว่า ในภาพรวมทุกโรงเรียน ได้ดำเนินการตามมาตรการการป้องกันโควิด 6 มาตรการหลัก (DMHTT) ได้แก่ 1) เว้นระยะห่าง ( Social Distancing) 2) สวมหน้ากาก (Mask wearing) 3) ล้างมือบ่อยๆ (Hand washing) 4) การตรวจวัดอุณหภูมิ (Testing) 5) ลดการแออัด (Reducing) และ 6) ทำความสะอาด (Cleaning) ในด้านการจัดการเรียนการสอนในภาพรวมส่วนใหญ่จัดการเรียนการสอนในรูปแบบOn Hand จัดทำใบงานให้กับนักเรียนเป็นรายสัปดาห์ โดยผู้ปกครองมารับที่โรงเรียนหรือครูประจำชั้นนำไปแจกที่บ้านพร้อมอาหารเสริม(นม) และจัดทำหลักฐานการเบิกจ่ายอย่างถูกต้องตามระเบียบ และมีบางโรงเรียนจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานได้แก่ การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ On Hand ใบงาน รูปแบบ Online ให้ครูเป็นผู้จัดการเรียนการสอน ผ่านคลิปวีดีโอ และOn Demand เป็นการใช้งานผ่านแอปพลิเคชั่น เป็นต้น และที่สำคัญช่วยสร้างขวัญกำลังใจให้กับโรงเรียนในการดำเนินงานจัดการเรียนการสอน
เพื่อคุณภาพของนักเรียน ในสังกัดได้อย่างดียิ่ง
8. สถานศึกษาทุกสังกัดในจังหวัดอุตรดิตถ์ รายงานผลตามแบบประเมินผลการจัดการเรียนการสอนและการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)สำหรับสถานศึกษาภาคเรียนที่ 2/2563 (เดือนกุมภาพันธ์ – 9 เมษายน 2564 ) ทางเว็บไซด์ Covid.moe.go.th ให้กับสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพื่อสรุปเป็นภาพรวมรายงานกระทรวงศึกษาธิการ
ปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
1.ระบบสัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่มีทำให้การจัด
การเรียนการสอนทางไกล DLTV ไม่ครบทุกโรงเรียน
1. ปรับการเรียนมาใช้รูปแบบ On Hand ใบงาน
โดยครูประจำชั้นจัดทำแบบฝึกและให้ผู้ปกครอง
มารับที่โรงเรียนหรือครูไปเยี่ยมบ้านแจกใบงานและ
อาหารเสริม(นม)
2. งบประมาณในการจัดซื้ออุปกรณ์ในการป้องกันตามมาตรการโรคโควิด-19 มีไม่เพียงพอ
2.ขอสนับสนุนจากหน่วยงานชุมชนและผู้ปกครอง
3. สถานศึกษามีเครื่องวัดอุณหภูมิไม่เพียงพอต่อครู กศน.ตำบลทุกตำบล เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในพื้นที่
3. ส่วนกลางควรสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับทุกสถานศึกษา
4. ผู้เรียนบางรายยังไม่ให้ความสนใจเพียงพอต่อการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์
4. ครู กศน. สร้างความรู้ความเข้าใจและแนะนำ
การใช้งานการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ให้แก่ผู้เรียน
5. นักศึกษาไม่สามารถใช้งานเทคโนโลยีด้านการสื่อสารผ่านสมาร์ทโฟนได้ทุกคน เนื่องจากผู้เรียนมีความหลากหลายทุกช่วงวัย เช่น ผู้สูงอายุ
5. ครู กศน. ได้จัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน เช่น การพบกลุ่ม การศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ เช่น ETV การใช้ใบงาน การมอบหมายงาน โดยปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
6.การจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
(DLTV) ยังไม่เหมาะสมกับนักเรียนปฐมวัย-ประถมศึกษา ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา เนื่องจาก ผู้ปกครองนักเรียน ไม่มีเวลาที่จะดูแลนักเรียน และไม่มีความรู้เพียงพอที่จะสอนนักเรียนให้เข้าใจในเนื้อหาหรือแบบฝึกหัดได้ และบางครอบครัว ไม่มี เครื่องมือและ สัญญาณอินเทอร์เน็ต
6.โรงเรียนใช้รูปแบบการจัดทำใบงานแบบฝึกหัด
ให้นักเรียนฝึกทำในช่วงหยุดอยู่ที่บ้าน และทบทวนสอนซ่อมเสริมให้อีกครั้งเมื่อเปิดเรียน (หลังเลิกเรียน หรือ วันหยุด เสาร์อาทิตย์)
นวัตกรรม/ต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1
1. การจัดทำสื่อคลิปการสอน ของโรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์
2. การจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ On Hand ใบ
งาน รูปแบบ Online ให้ครูเป็นผู้จัดการเรียนการสอน ผ่านคลิปวีดีโอ และOn Demand เป็นการใช้งานผ่านแอปพลิเคชั่นของโรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ โรงเรียนบ้านวังถ้ำและโรงเรียนบ้านน้ำอ่างฯ
3. การจัดการเรียนการสอนผ่าน DLTV เป็นหลักของโรงเรียนชุมชนบ้านโคนและโรงเรียนบ้านดอนโพ
4. การจัดการเรียนการสอน โดยใช้ใบงาน (On Hand) จัดใบงานให้กับนักเรียน ของโรงเรียนบ้าน ท่ามะปราง โรงเรียนบ้านห้วยทราย โรงเรียนหมู่ห้าสามัคคี และโรงเรียนบ้านท้ายน้ำ เป็นต้น
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุตรดิตถ์ สถานศึกษาได้มีการพัฒนาครู กศน.ตำบล สำหรับจัดทำสื่อรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนของภาคเรียนที่ 2/2563 โดยครูมีการจัดทำเนื้อหาและแบบทดสอบของแต่ละรายวิชาในระบบออนไลน์ เพื่อใช้จัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ให้กับนักศึกษาได้เข้าเรียนในระบบ เช่น กศน.อำเภอท่าปลา https://sites.google.com/view/thapla/
2) มาตรการการป้องกัน แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5
ผลการดำเนินงานโดยสรุป
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุตรดิตถ์ ประชาสัมพันธ์และแจ้งตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และแผนปฏิบัติการระดับจังหวัดเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองจากไฟป่าและการเผาในที่โล่งในพื้นที่ภาคเหนือ ปี 2564 จังหวัดอุตรดิตถ์แก่หน่วยงานการศึกษาและสถานศึกษาทุกสังกัดในจังหวัดอุตรดิตถ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1
1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 ได้ส่งประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เพื่อให้สถานศึกษาในสังกัด ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ทั้งนี้ ได้กำชับให้สถานศึกษาในสังกัดทุกแห่งปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการป้องกัน แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๓
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 แจ้งให้สถานศึกษาในสังกัดติดตามรายงานสถานการณ์และคุณภาพอากาศประเทศไทย ที่เว็บไซต์ http ://air4thai.pcd.go.th/webV2 และเว็บไซต์กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม http://www.pcd.go.th และรายงานการเปิด/ปิดสถานศึกษา เนื่องจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทราบ
3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 ขอให้สถานศึกษาในสังกัดทุกแห่งดำเนินการ ดังนี้
1) ปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) และแนวทางลดและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ จากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) สำหรับสถานศึกษา ในประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการป้องกัน แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ประกาศ ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2563
2) รายงานการ ปิด - เปิด ของสถานศึกษาในสังกัด เนื่องจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทราบ
3) ส่งเสริม สนับสนุน กิจกรรมการให้ความรู้ความเข้าใจ เรื่อง ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) และให้รายงานการจัดกิจกรรมการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 ทราบ
4) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต ๑ รายงานการจัดกิจกรรมการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ของสถานศึกษาในสังกัด ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทราบ เพื่อเป็นข้อมูลการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่อไป
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2
1.แจ้งเตือนสถานการณ์หมอกควัน PM2.5 และมาตรการป้องกัน แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) และแนวทางลดและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) สำหรับสถานศึกษา
2.กำชับมาตรการป้องกัน แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในสถานศึกษา ในวันประชุม
ประจำเดือนผู้บริหารสถานศึกษา
3.แจ้งให้สถานศึกษารายงานผลการดำเนินงาน ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการ
ป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และแผนปฏิบัติการระดับจังหวัดเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองจากไฟป่าและการเผาในที่โล่งในพื้นที่ภาคเหนือ ปี 2564 จังหวัดอุตรดิตถ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ แจ้งให้โรงเรียนในสังกัดติดตามรายงานสถานการณ์และคุณภาพอากาศที่เว็บไซต์ http://air๔thai.pcd.go.th/webV๒/ และเว็บไซต์กรมควบคุมมลพิษ http://www.pcd.go.th โดยกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM ๒.๕ ตามประกาศจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีมาตรการให้โรงเรียนในสังกัดทราบและถือปฏิบัติตามกรอบแนวทางใน ๖ มิติ ได้แก่
1) มิติความปลอดภัยจากการลดและป้องกันฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน ๒.๕ ไมครอน ได้แก่
การทำความสะอาดห้องเรียน อุปกรณ์และเครื่องใช้ต่างๆ Big Cleaning Day จัดให้มีการระบายอากาศในห้องเรียน จัดสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันฝุ่นละออง เช่น จัดให้มีพื้นที่สีเขียว กำหนดจุดจอดรถรับส่งนักเรียน ห้ามเผาทุกชนิด เป็นต้น รวมถึง กำหนดให้โรงเรียนในสังกัดรายงานการ ปิด - เปิด เนื่องจากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM ๒.๕ ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบโดยด่วนตามแบบฟอร์มที่กำหนด2) มิติการเรียนรู้ ได้แก่ จัดหาสื่อความรู้เกี่ยวกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM ๒.๕ และการป้องกันตนเอง เพื่อใช้ในการสอน บูรณาการกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาในการเรียนการสอนปกติ เช่น โครงงานส่งเสริมสุขภาพ ฯลฯ สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ การปฏิบัติตน เพื่อป้องกันตนเอง ในรูปแบบต่างๆ เป็นต้น โดยให้รายงานการจัดกิจกรรมให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบเพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
3) มิติการครอบคลุมนักเรียน นักศึกษา ที่พิการและด้อยโอกาส ได้แก่ จัดหาสื่อสร้างความเข้าใจเรื่องฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน ๒.๕ ไมครอน และแนวทางการดูแลตนเองโดยคำนึงถึงข้อจำกัดของนักเรียน ปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทการเข้าถึงการเรียนรู้ เป็นต้น
4) มิติสวัสดิภาพและการคุ้มครอง ได้แก่ จัดเตรียมแผนรองรับด้านการเรียนการสอนในช่วงที่สถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียน เฝ้าระวังสุขภาพของนักเรียน และจัดทำทะเบียนนักเรียน กลุ่มเสี่ยง เพื่อดูแลอย่างใกล้ชิด เตรียมความพร้อมของห้องพยาบาล เวชภัณฑ์ จัดเตรียมห้องปลอดฝุ่นสำหรับเด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง เป็นต้น
5) มิตินโยบาย ได้แก่ กำหนดนโยบายและมาตรการในการจัดการฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน ๒.๕ ไมครอน และประกาศให้ทราบอย่างทั่วถึงและปฏิบัติตาม จัดอบรมครูและบุคลากรให้มีความรู้ แต่งตั้งแกนนำนักเรียนเพื่อเป็นอาสาสมัครดูแลสุขภาพ ประเมินความพร้อมและระบบกำกับ ติดตามให้มีการดำเนินการป้องกันอย่างเคร่งครัด
6) มิติการบริหารการเงิน ได้แก่ พิจารณาใช้งบประมาณในการจัดกิจกรรมป้องกันฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน ๒.๕ ไมครอนอย่างเหมาะสม จัดหาวัสดุอุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากากป้องกันฝุ่นในกรณี
ที่มีความต้องการจำเป็นเร่งด่วน เป็นต้นทั้งนี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ไม่มีโรงเรียนในสังกัดที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ฝุ่นละออง
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุตรดิตถ์
สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ดำเนินการจัดโครงการ/กิจกรรมการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้สอดแทรกเนื้อหาในบทเรียนแก่นักศึกษาเรื่องการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ป้องกัน แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ผ่านการพบกลุ่มนักศึกษา การจัดกิจกรรมทักษะชีวิต แผนงานโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงการป้องกันและระงับอัคคีภัยในชุมชน , Big Cleaning day และร่วมกับภาคีเครือข่าย จิตอาสา เพื่อร่วมรณรงค์การเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ป้องกัน แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 อย่างต่อเนื่องแก่ชุมชน ไม่เผาป่าหรือเศษวัสดุในครัวเรือน เป็นต้น
สถานศึกษาอาชีวศึกษาศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์ มีแผนการดำเนินการเพื่อรองรับสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ดังนี้
1) รณรงค์ให้ความรู้แก่นักศึกษาได้ตระหนักถึงพิษภัยของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่
หน้าเสาธง และให้นักศึกษานำความรู้ไปขยายผลแก่ผู้ปกครองและคนในชุมชน และเชิญชวนให้เลิกเผาขยะและเศษกิ่งไม้แห้งต่างๆ รวมถึงให้นักการภารโรงกำจัดขยะโดยการนำไปทิ้งที่บ่อขยะที่รัฐกำหนด ไม่ให้เผาทำลาย
2) ปลูกต้นไม้ภายในบริเวณวิทยาลัยให้มีความร่มรื่น
3) ส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษาพัฒนานวัตกรรมที่ลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 โดย
นักศึกษาระดับชั้น ปวช.3 แผนกวิชาช่างไฟฟ้า พัฒนาเครื่องพ่นละอองหมอกเพื่อลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เข้าประกวดในการแข่งขันทักษะวิชาการซึ่งจัดโดยอาชีวศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์
สถานศึกษาเอกชนจังหวัดอุตรดิตถ์งดเผาขยะในบริเวณโรงเรียน ที่บ้านและสถานที่อื่นๆเพราะเป็นสาเหตุของฝุ่นPM 2.5ให้ความรู้และคำแนะนำแก่นักเรียนในการป้องกันฝุ่นละอองและสวมหน้ากากอนามัยงดกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงที่มีค่าฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานเวลาหยุดรถในกรณีต้องใช้เวลานานควรดับเครื่องยนต์ ปลูกต้นไม้หรือเพิ่มพื้นที่สีเขียวในบริเวณโรงเรียน
ปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
- ประชาชนในพื้นที่ยังมีการเผาเศษวัชพืชที่เหลือจากการเกษตร ทำให้เกิดปัญหาการเพิ่มฝุ่น
PM 2.5- ควรสนับสนุนให้ความรู้กับประชาชน
รู้จักนำเศษวัชพืช เช่น ฟางข้าว นำมาอัดฟางก้อนหรือนำมาเป็นปุ๋ยหมัก
นวัตกรรม/ต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice)
วิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์ นักศึกษาแผนกวิชาช่างยนต์ เพื่อใช้ในการกำจัดฝุ่น PM 2.5 ในสถานศึกษา
บันทึข้อมูลโดย: นางอัญชลี วัฒนาสกุลเกียรติ