ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 22 กรกฎาคม 2564
นโยบายที่ 3. ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
การพัฒนาครูให้มีทักษะความรู้และความชำนาญการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และภาษาอังกฤษ
รวมทั้งการจัดการเรียนการสอน (Human
Capital Excellence Center : HCEC)
1)
ผลการขับเคลื่อนนโยบาย
ศูนย์ Human Capital Excellence Center : HCEC ในจังหวัดแพร่
มีจำนวน
2 ศูนย์ คือ
ศูนย์โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
และศูนย์โรงเรียนสูงเม่นชนูปถัมภ์
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่ มีแผนการดำเนินการ มีการขับเคลื่อน ศูนย์
HCEC จังหวัดแพร่ ระยะที่ 1 ดังนี้
1. มีการแบ่งเขตพื้นที่บริการ โดยศูนย์โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ รับผิดชอบสหวิทยาเขตโกศัยนคร และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่
เขต 1 ศูนย์โรงเรียนสูงเม่นชนูปถัมภ์
รับผิดชอบ
สหวิทยาเขตพลนครและโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่
เขต 2
2. มีการจติดต่อประสานงานผู้รับผิดชอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. จัดทำคำสั่งคณะการการขับเคลื่อนศูนย์ระดับจังหวัด
4. แต่งตั้งคณะกรรมการระดับศูนย์
HCEC
5. เตรียมความพร้อมด้านวัสดุ
อุปกรณ์ ห้องคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 ห้อง
และเครื่องคอมพิวเตอร์ห้องละ 27
เครื่อง
ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพ ห้องประชุม
ห้องปฏิบัติการ และอุปกรณ์อื่นๆ
6. เตรียมความพร้อมด้านบุคลากร
โดยแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานระดับศูนย์
คัดเลือกครูที่มีศักยภาพ
และคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง คือ ภาษาอังกฤษ เทคโนโลยีดิจิทัล และภาษาจีน
7. สรรหาผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องเป็นวิทยากรให้ความรู้เพื่อพัฒนาครู
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่
เขต 1 อยู่ในเขตพื้นที่บริการของศูนย์
HCEC โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่
ได้ดำเนินการ ดังนี้
1.1.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่
เขต 1
ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาครูให้มีความรู้ทักษะและประสบการณ์เพื่อให้สอดคล้องกับทักษะในศตวรรษที่
21 และ Thailand
4.0 รวมทั้งยุทธศาสตร์การศึกษาชาติ 20 ปี
โดยมุ่งเน้นพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ (English Literacy) และทักษะด้านคอมพิวเตอร์
(Digital Literacy) โดยในปีพุทธศักราช 2567
ครูและบุคลากรทางการศึกษาในสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1
จะมีสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษ(English Literacy) ในระดับ B2 และสมรรถนะทักษะด้านคอมพิวเตอร์
(Digital Literacy) ในระดับ Intermediate สื่อสาร ประชาสัมพันธ์
การดำเนินงานของศูนย์ HCEC ให้ข้าราชการและบุคลากรในสังกัดทราบ
1.2.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 ได้แจ้งให้โรงเรียนและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในสังกัดทราบถึงแนวทางในการพัฒนา และได้ประสานกับโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นศูนย์พัฒนาครูของจังหวัดแพร่ (Human Capita Excellence Center : HCEC) เนื่องจากโรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ มีสื่ออุปกรณ์ และระบบ ICT ที่พร้อมในการพัฒนาบุคลากรได้เป็นอย่างดี สำหรับในส่วนของสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1
ได้จัดทำโครงการเพื่อรองรับการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1
ได้จัดระบบความรู้ KM ในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมุ่งเน้นพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ (English
Literacy)และทักษะด้านคอมพิวเตอร์ (Digital Literacy) ใน Website ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่
เขต 1 และของกลุ่มพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
1.3.แจ้งผู้บริหารสถานศึกษา ครู
และบุคลากรทางการศึกษาเข้ารับการทดสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ โดยแจ้งรายชื่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดให้กับศูนย์พัฒนาครูของจังหวัดแพร่(Human Capita
Excellence Center : HCEC) เพื่อการเตรียมความพร้อมในการสอบภาษาอังกฤษ
และติดตามผลการทดสอบของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้ดำเนินการสอบไปแล้วเมื่อปีงบประมาณ
2563 ณ ศูนย์โรงเรียนนารีรัตน์ จังหวัดแพร่
จำนวนผู้เข้าสอบด้านทักษะภาษาอังกฤษ
ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด สพป.แพร่ เขต 1 จำนวน
27 ราย
1.4.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ได้ดำเนินการจัดประชุมปฏิบัติการ
ขับเคลื่อนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ (HCEC) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำปีงบประมาณ 2564
ระดับภูมิภาค ระหว่างวันที่ 23-25
กุมภาพันธ์ 2564 ณ โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาครูให้มีทักษะความรู้และความชำนาญการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและภาษาอังกฤษ
รวมทั้งการจัดการเรียนการสอน
1) ข้อค้นพบ
/ ปัญหาอุปสรรค
1.
ไม่มีสถานที่ในการจัดตั้งศูนย์
HCEC
ที่เป็นเอกเทศ
2. เครื่องคอมพิวเตอร์และสัญญาณอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องที่ใช้สำหรับสอนนักเรียน เมื่อง
ต้องใช้เครื่องในการทดสอบ
ต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมและติดตั้ง Partition
Headphone นาน
3.
การจัดสรรงบประมาณดำเนินงานล่าช้า มาในช่วงปลายปีงบประมาณทำให้มีปัญหา
ในการดำเนินงาน
4.
ผู้เข้ารับการทดสอบมีเวลาในการเตรียมตัวน้อย
5.
การติดต่อประสานงานกับสำนักงานเขตพื้นที่ในการเตรียมจัดสอบ CEFR ขาดความ
ต่อเนื่องและล่าช้า
6.
การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว
ทำให้บุคลากรปรับตัวกับความก้าวหน้าของวัฒนาการด้านเทคโนโลยีไม่ทัน จำเป็นต้องมีหลักสูตรพัฒนาบุคลากรและเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับใช้ในการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ
2) วิธีการแก้ไขปัญหา
ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย
1.
ปรับปรุงห้องเรียน และห้องโสตทัศนศึกษา ให้เป็นห้องประชุม ห้องปฏิบัติการ และห้องคอมพิวเตอร์
2. จัดหาแหล่งงบประมาณ เพื่อปรับปรุงห้องเรียน ห้องประชุมโสตทัศนศึกษาเพื่อเป็นห้องศูนย์ HCEC
1.
ควรเพิ่มทักษะการใช้เทคโนโลยีและภาษาอังกฤษให้กับบุคลากรและสนับสนุน
งบประมาณในการพัฒนาบุคลากร
2.
ส่งเสริมและสนับสนุนให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการ
พัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพของงาน
เพื่อให้เป็นแบบอย่างได้
3.
ศึกษาดูงานต่างประเทศ หรือในประเทศ จากองค์กรที่มีความโดดเด่นหรือเป็น
ต้นแบบในเรื่องของการนำเทคโนโลยีและภาษาอังกฤษมาใช้ในการปฏิบัติงาน
4. ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของศูนย์ให้ทั่วถึงและครอบคลุมทุกพื้นที่
โดย การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น Website
Line group Twitter
1)
ข้อเสนอแนะต่อผู้บริหาร
ในการดำเนินการตามประเด็นนโยบาย
1.
ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อปรับปรุงอาคารสถานที่
2.
จัดทำการพัฒนาระบบนิเทศติดตามและประเมินผลให้มีประสิทธิภาพโดยใช้ระบบ
ICT มาสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อลดภาระของบุคลากรในการออกนิเทศติดตาม
3.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่
เขต 1 จะขยายศูนย์ HCEC
ไปยังศูนย์อำเภอต่างๆ จำนวน
4 ศูนย์ (เมือง
/ร้องกวาง/หนองม่วงไข่/สอง)
เพื่อความสะดวกในการเดินทางและประหยัดเวลาอีกทั้งเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของข้าราชการครู
4.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่
เขต 1 จะนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารจัดการสำนักงานและการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง
5.
เพื่อรณรงค์การใช้กระดาษให้น้อยลงเพื่อลดโลกร้อน
โดยการจัดทำ Digital
platform มาใช้ในการบริหารงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
5) ปัจจัยความสำเร็จ (ความโดดเด่น
จุดแข็ง นวัตกรรม และเกิดประโยชน์หรือผลกระทบทางบวกแก่ผู้เรียน
อย่างไรบ้าง มีต้นแบบ
หรือแบบอย่างที่ดี ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามนโยบาย หรือไม่ อย่างไร)
1. มีครูต้นแบบและบุคลากรที่มีทักษะความรู้และความชำนาญ ด้านภาษาอังกฤษ เทคโนโลยีดิจิทัล และภาษาจีน
2. โรงเรียนสนับสนุนให้ผู้บริหาร บุคลากร ครู
นักเรียน
ได้เข้ารับการทดสอบวัดทักษะภาษาอังกฤษตามกรอบ CEFR
3. โรงเรียนดำเนินโครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการสึกษาเพื่อพัฒนาทักษะความรู้และความชำนาญด้านภาษาอังกฤษ และเทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องทุกปี
4. ครูมีการนำสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบ Online resourrces และ Digital application ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน
5. ส่งเสริมพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถและทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและภาษาอังกฤษ
6.
มีนโยบายหรือมาตรการที่ชัดเจนในการพัฒนาบุคลากร
ส่งเสริมความก้าวหน้าและผลตอบแทนแก่บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน
ส่งเสริมให้นักเรียนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีและภาษาอังกฤษในการดำรงชีพและการศึกษาต่อ
เพื่อพัฒนาสู่เส้นทางสร้างอาชีพ
บันทึข้อมูลโดย: นางสาวบุษบาสุกแก้ว