ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการภาค บันทึกเมื่อวันที่ Date: 07 กันยายน 2564
ตรวจราชการจังหวัดอุบลราชธานี วันที่ 7 กันยายน 2564 เวลา 09.00 - 12.00
น.
ตรวจราชการสำนักงาน
กศน. อำเภอเมืองอุบลราชธานี
จังหวัดอุบลราชธานี สังกัด
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีผลการดำเนินงาน
ดังนี้
การตรวจราชการกรณีปกติ
1. ด้านความมั่นคง
มีการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทัศนคติถูกต้องต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง
และมีคุณธรรม ความเป็นพลเมือง ปลูกฝังความมีระเบียบวินัย โดยกระบวนการลูกเสือ
และยุวกาชาดโดยมีการจัดโครงการลูกเสือจิตอาสา กศน.
อำเภอเมืองอุบลราชธานี กิจกรรมลูกเสือเป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนาคุณภาพเยาวชน
ให้รู้จักการรักษาระเบียบวินัย สร้างการรู้รักสามัคคีในหมู่คณะ
มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
โดยจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โครงการอบรมประวัติศาสตร์ชาติไทย
พระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทย ให้กับนักศึกษา กศน.ตำบลทั้ง 12 ตำบล
2. ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีการส่งเสริมการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทําในรูปแบบ Re-Skill& Up-Skill และการสร้างนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีความหลากหลาย ทันสมัยและตอบสนองความต้องการของประชาชน ผู้รับบริการ และสามารถออกใบรับรองความรู้ความสามารถเพื่อนําไปใช้ในการพัฒนาอาชีพได้ โดยได้ดำเนินโครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ สู่ความพอเพียง 1 อำเภอ 1 อาชีพ เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาคนไทยให้ได้รับการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำ สามารถนำไปประกอบอาชีพก่อให้เกิดรายได้
3. ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่มุ่งเน้นการฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา เน้นจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นและทำเป็น ส่งเสริมให้นักศึกษา รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง สามารถนำประสบการณ์การคิดไปพัฒนาตนเองด้านการเรียน และคิดแก้ปัญหาได้อย่างมีสติ มีทักษะในการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
4. ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม มีการพัฒนาศักยภาพและทักษะความสามารถ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy & Digital Skills) ให้กับบุคลากรทุกประเภททุกระดับ รองรับความเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งพัฒนาครูให้มีทักษะ ความรู้ โดยได้ร่วมโครงการอบรมพัฒนาบุคลากรแกนนำ ด้านดิจิทัลชุมชน ระดับอำเภอและระดับตำบลครู ข และ ค โครงการสร้างเครือข่ายดิจิทัลชุมชลระดับตำบล ตามแนวทางที่สำนักงาน กศน. กำหนด วิทยากรแกนนำ ครู ข.และครู ค. ที่ผ่านการอบรม ได้นำความรู้ไปขยายผลให้กับประชาชนในพื้นที่โดยการจัดอบรมให้ความรู้กับประชาชนทั้ง 12 ตำบล จำนวน 2 หลักสูตร
การเข้าถึงทางการศึกษาสำหรับคนพิการ และผู้ด้อยโอกาส กศน. อำเภอเมืองอุบลราชธานี ได้จัดการเรียน การสอนและการดำเนินการตามมาตรการการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVIC-19) สำหรับกลุ่มเป้าหมายพิเศษเด็กเร่ร่อน มีการลงพื้นที่ของครูกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ใช้มาตรการควบคุมให้ครูสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งในการลงพื้นที่และไม่จัดกิจกรรมที่มีนักศึกษารวมตัวกันเกิน 15 คน จัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ให้กับนักศึกษาที่พร้อมที่จะเรียนในรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา
การศึกษาตลอดชีวิต กศน.อำเภอเมืองอุบลราชธานี
ส่งเสริมและยกระดับทักษะภาษาอังกฤษให้กับประชาชน (English for ALL) โครงการภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพ
(บริการนวดแผนไทย Thai Massage) ได้จัดการเรียนการสอน ทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้
นำไปสู่สังคมที่เข้มแข็ง มีความเอื้ออาทรต่อกัน และพึ่งพาตนเอง ได้อย่างยั่งยืน
พร้อมทั้งเตรียมพร้อมเข้าสู่อาเซียน
และเป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิตในรูปแบบใหม่ที่สร้างความมั่นคงให้แก่
ประชาชนและประเทศชาติต่อไป และเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะภาษาให้ประชาชน
จึงได้ดำเนินการโครงการภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร เพื่อฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านอาชีพให้กับประชาชน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
การตรวจราชการกรณีพิเศษ
1. การจัดการเรียนการสอนและมาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) กศน.อำเภอเมืองอุบลราชธานี จึงได้ออกแบบการจัดการเรียนการสอน ในห้วงการปิดสถานศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้มีความเหมาะสมในสถานการณ์ดังกล่าว ดังนี้
การจัดการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นช่วงการปิดภาคเรียน
จึงได้ออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็น 2 รูปแบบ คือ
- รูปแบบออนไซต์ (On site) เรียนที่ กศน.ตำบล เนื่องจาก
กศน.อำเภอเมืองอุบลราชธานี มีนักศึกษากลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายทั้งผู้สูงอายุ
คนพิการและนักศึกษาที่อยู่ในวัยแรงงาน
นักศึกษาหลายคนที่ไม่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยี
จึงได้ออกแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบ Onsite
ให้กับนักศึกษาที่จะมาเรียนที่ กศน.ตำบล ภายใต้เงื่อนไขของ สบค.จังหวัด
- รูปแบบออนไลน์ (On line) เรียนผ่านอินเตอร์เน็ต กศน.อำเภอเมืองอุบลราชธานี ได้จัดโครงการพัฒนาครูและบุคลากรด้านการจัดการเรียนการสอนผ่านสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ให้กับบุคลากรทุกคนให้สามารถสร้างสื่อออนไลน์ครบทุกรายวิชา ทุกระดับ ให้ทันในวันเปิดภาคเรียน 1/2564 เพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนได้ทุกรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน
2. มาตรการการป้องกัน
แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 มีการทำความสะอาดห้องเรียนอุปกรณ์และเครื่องใช้ต่าง
ๆ เช่นพัดลมเครื่องปรับอากาศหรืออื่น ๆ
ที่เป็นแหล่งสะสมฝุ่นให้สะอาด และจัดให้เป็นระเบียบจัดให้มีการระบายอากาศภายในห้องเรียน เปิดประตูหน้าต่างเพื่อถ่ายเทอากาศ เพื่อหมุนเวียนอากาศภายในห้องจัดสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาเพื่อป้องกันฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน เช่นจัดให้มีพื้นที่สีเขียวหรือปลูกต้นไม้ดักฝุ่น
ปัญหาอุปสรรค
ครูผู้สอนบางส่วนยังไม่สามารถออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษ ที่ 21 ได้อย่างเหมาะสมและครอบคลุมประชาชนทุกช่วงวัย
ข้อเสนอแนะ
1. ควรมีการจัดอบรมพัฒนาครูครูให้มีความรู้และทักษะในการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้มากขึ้น
2. ควรมีนโยบายในการต่อยอด/ส่งเสริมผู้ผ่านการอบรมในหลักสูตร ให้ได้รับการยกระดับเข้าสู่มาตรฐานวิชาชีพได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้นเพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และเป็นแบบอย่างให้บุคคลอื่น ๆ ในชุมชน ให้เห็นความสำคัญของการศึกษา
นวัตกรรม/ต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี
(Best
Practice)
1.
โครงการพัฒนาบุคลากรด้วยการจัดการศึกษาด้วยระบบออนไลน์ และการใช้งานระบบ LMS (Learning Management
System) หรือระบบการจัดการเรียนรู้
ในการบริหารการเรียนการสอนออนไลน์ กศน.อำเภอเมืองอุบลราชธานี
2. โครงการส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล
กิจกรรมศูนย์ดิจิทัลชุมชนระดับตำบล (Digital Literracy) หลักสูตรการค้าออนไลน์
ข้อเสนอแนะของผู้ตรวจราชการ
1. ต้องการให้สำนักงาน กศน.
เน้นในการจัดการเรียนการสอนในเรื่องอาชีพ เรื่องการมีงานทำ
โดยประยุกต์ใช้ตามหลักสูตรโรงเรียนพระดาบส
2. ควรนำนวัตกรรม
ที่ครูผู้สอนเสนอในการเลื่อนวิทยฐานะ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนอย่างแท้จริง
เพื่อให้เป็นนวัตกรรมใหม่ เพื่อลดภาระงานของครูผู้สอน
3. โรงเรียนมัธยมประจำจังหวัด ควรเป็นโรงเรียนต้นแบบในการจัดการเรียนการสอนทาง On line ให้กับโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอ และประจำตำบล
4.
การจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ ควรจะจัดการเรียนการสอนแบบ On site แต่เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันต้องจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามบริบทของพื้นที่ให้เป็นไปตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19) ซึ่งต้องปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข
อย่างเคร่งครัด
บันทึข้อมูลโดย: น.ส.สุกัลยา ประเสริฐ และ น.ส.อัญญารัตน์ รัตนา