ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการภาค บันทึกเมื่อวันที่ Date: 08 เมษายน 2565

หัวข้อการตรวจกรณีพิเศษ : โครงการ กศน.ปักหมุด

๑. การรับรู้และเข้าใจ

                    หน่วยงานทางการศึกษาได้รับทราบถึงนโยบายการจัดการศึกษา การเพิ่มโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา  และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ โดยการลงพื้นที่สำรวจกลุ่มเป้าหมายและดำเนินการปักหมุดที่อยู่ของกลุ่มเป้าหมาย  “รุกถึงที่  ลุยถึงถิ่น”  เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ปรับปรุงข้อมูลต่างๆ ให้สมบูรณ์ และเป็นปัจจุบัน ทำให้กลุ่มเป้าหมายพิเศษกลุ่มนี้ได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกตามความต้องการ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และใช้โปรแกรม CAPER  โดยมีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมายคนพิการที่มีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีขึ้นไป ๒) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการของกลุ่มเป้าหมายคนพิการ ๓) เพื่อส่งข้อมูลความต้องการของกลุ่มเป้าหมายคนพิการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้หน่วยงานได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการ กศน. ปักหมุด และจัดทำระบบการรับสมัครนักเรียนทุกช่องทางที่ผู้ปกครองสามารถเข้าถึงได้ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเข้าสู่ระบบการศึกษา พร้อมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิการศึกษาของคนพิการกับผู้ปกครอง

 

๒. การนำนโยบายไปปฏิบัติ

๑)      สำนักงาน กศน. จังหวัด ได้ดำเนินการจัดให้มีการประชุมชี้แจงในรูปแบบออนไลน์ให้กับผู้อำนวยการ กศน. อำเภอ คณะครู ในการวางแผนการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลความต้องการตามโครงการ ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด พร้อมชี้แจงแบบฟอร์มการสำรวจให้ ผู้บริหาร คณะครูได้เข้าใจและสามารถดำเนินการได้ 

๒)      สำนักงาน กศน.จังหวัด ได้จัดทำคำสั่งเพื่อแต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการตามโครงการ

๓)      สำนักงาน กศน. จังหวัด ได้ดำเนินการกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มสำรวจที่ได้รับเข้าสู่โปรแกรม CAPER ในการจัดเก็บฐานข้อมูลให้ครบถ้วน สมบูรณ์ เรียบร้อย พร้อมสรุปข้อมูลเป็นสารสนเทศ เพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลในด้านต่าง ๆ  

๔)      สรุปผลการดำเนินการรายงานไปยังสำนักงาน กศน. หน่วยงานต้นสังกัด ให้เพื่อทราบผลการดำเนินงาน

๕)      สำนักงาน กศน. จังหวัด ได้ดำเนินการบริหารจัดการส่งเสริมการจัดการศึกษากลุ่มเป้าหมายที่มีความประสงค์รับบริการตามความเหมาะสม และให้ความช่วยเหลืออื่น ๆ

๓. ผลการดำเนินงาน

               เมื่อได้รับข้อมูลจากการสำรวจ ได้ดำเนินการบันทึกข้อมูลลงระบบ CAPER เพื่อจัดเก็บเป็นฐานข้อมูล โดยข้อมูลความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงพิกัดของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้รับ สามารถนำมาวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มเป้ามาย เพื่อการช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ พร้อมทั้งการส่งต่อกลุ่มเป้าหมายที่อยู่นอกระบบโรงเรียน เข้าสู่ระบบการศึกษา

ข้อมูลจำนวนคนพิการ เขตตรวจราชการที่ ๘

                   ๑. จำนวนกลุ่มเป้าหมาย                                     จำนวน   ๑,๘๑๘ คน

                   ๒. สำรวจ ติดตามพบตัว                                     จำนวน   ๑,๒๙๗ คน

                   ๓. ไม่พบตัวตน                                                   จำนวน      ๔๔๑ คน

                   ๔. เสียชีวิต                                                        จำนวน        ๖๙ คน

                   ๕. จบการศึกษา/กำลังศึกษาอยู่                              จำนวน          ๖ คน

                   ๖. ติดตามเพิ่มเติม                                               จำนวน          ๑ คน

             

๔. ปัญหา/อุปสรรค/ข้อจำกัดในการดำเนินการตามนโยบาย

๑.      จากการลงพื้นที่สำรวจพบว่าผู้พิการบางส่วนได้มีการย้ายถิ่นฐานที่อยู่ ทำให้ข้อมูลที่อยู่อาศัยไม่ตรงกับปัจจุบัน

๒.      การปักหมุดคนพิการและผู้ด้อยโอกาส ผู้รับบริการบางส่วนไม่มีเอกสารแสดงตัวตน

๓.      การพัฒนาและส่งเสริมผู้เรียนบางรายเป็นไปได้ยาก เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) และสภาพทางร่างกายของผู้พิการไม่พร้อม

๔.      ผู้พิการบางคนอยู่ในพื้นที่ไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตในการปักหมุด

๕.      ผู้ดูแลคนพิการไม่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล เนื่องจากเป็นข้อมูลส่วนตัวของผู้พิการ และผู้ดูแล

๖.      ข้อมูลคนพิการที่ได้จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  เมื่อลงพื้นที่สำรวจแล้วพบว่าบางคนไม่ใช่ผู้พิการ

๗.      เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ในชุมชนที่ผู้พิการอาศัยอยู่ ทำให้มีปัญหาในการเข้าไปสำรวจข้อมูลในพื้นที่

๘.      ผู้พิการบางส่วนเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งไม่ต้องการจะดำเนินกิจกรรมร่วมกับทางราชการ  เนื่องจากมีอายุมากเคลื่อนไหวไม่สะดวก

 

๕. ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงนโยบาย

๑.    การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการจัดกิจกรรมให้กับคนพิการ และงบประมาณค่าใช้จ่ายในการเดินทางลงสำรวจพื้นที่

๒.    ข้อมูลที่ต้องบันทึกลงในระบบควรมีความยืดหยุ่น

๓.    กระทรวงศึกษาธิการควรประสานงานไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อแจ้งข้อมูลการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล

 

 


 บันทึข้อมูลโดย: นางสาวอัณณ์จิรภา ธนาชัยกุลวัฒน์