ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 06 พฤษภาคม 2565

หัวข้อการตรวจกรณีพิเศษ : โรงเรียนคุณภาพ

โครงการโรงเรียนคุณภาพ

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงาน                เพื่อขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพ โดยเน้นนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการเป็นสำคัญ                โดยกำหนดจุดเน้น 8 เรื่อง ได้แก่

1) ความปลอดภัย

2) ระบบประกันคุณภาพ

3) หลักสูตรฐานสมรรถนะ

4) การพัฒนาครู

5) การเรียนการสอน

6) การวัดและประเมินผล

7) การนิเทศ กำกับ และติดตาม 

8) Big Data เพื่อเก้ปัญหาด้านการศึกษา ความปลอดภัย ของสถานศึกษา รวมถึงลดความเหลื่อมล้ำ

 

ผลการดำเนินงาน

           จุดที่ 1 โรงเรียนบ้านสระครก  เรียนร่วมบางรายวิชา จำนวน 5 แห่ง

           จุดที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านเหลื่อม เรียนร่วม 100% จำนวน 1 แห่ง

          จุดที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านหนองบัวลาย เรียนร่วมบางรายวิชา จำนวน 3 แห่ง

 

ปัญหา อุปสรรค

      ด้านอาคารสถานที่ ห้องเรียน และครุภัณฑ์การศึกษา อาจไม่เพียงพอต่อการรับการมาเรียนรวมของโรงเรียนเครือข่าย

 

ข้อเสนอแนะ                                                                                                                                                                       

                 ให้ส่วนกลางจัดทำเอกสารคู่มือการดำเนินโครงการโรงเรียนคุณภาพ(ประจำปี) พร้อมทั้งแบบฟอร์มเอกสารที่ต้องส่งทั้งหมด และอ้างอิงระเบียบฯ เพื่อรองรับการดำเนินงานในขั้นตอนต่าง ๆ อย่างถูกต้องชัดเจน

 

 

 

 

 

 

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา

ตัวชี้วัดการติดตาม (KPI)

1. โรงเรียนคุณภาพ 349 โรง ได้รับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้ง 8 จุดเน้น

2. มีโรงเรียนเครือข่ายที่มาเรียนรวมกับโรงเรียนคุณภาพ(183 โรง) และใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างน้อย

500 โรงเรียน ในปีงบประมาณ 2565

3. ร้อยละ 80 ของโรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษามีนักเรียนมาเรียนเพิ่มขึ้น ในปีงบประมาณ

2565

4. ร้อยละ 80 ของโรงเรียนคุณภาพมีครูครบชั้น ครบวิชาเอก ในปีงบประมาณ 2566

5. โรงเรียนคุณภาพ 349 โรง มีห้องเรียนคุณภาพ ที่มีสื่อการเรียนการสอนและเทคโนโลยีที่ทันสมัย

เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ในปีงบประมาณ 2566

6. ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่รับรู้เข้าใจ และให้การสนับสนุนในการดำเนินงานใน

ปีงบประมาณ 2565

 

การดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการ

1.       การสร้างการรับรู้

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพ  ในการสร้างการรับรู้ โดยการประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ นโยบาย แนวทางการดำเนินงานการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพให้กับผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด ในคราวประชุมผู้บริหารสถานศึกษา และกลุ่มไลน์ราชการ ต่อเนื่องจากที่ สพฐ. ประชุม หรือมีข่าวเกี่ยวกับโรงเรียนคุณภาพ เพื่อนำไปประชาสัมพันธ์ให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง ทราบ และเพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติตามนโยบายได้อย่างถูกต้อง รวมไปถึงและได้สร้างความเข้าใจกับโรงเรียนคุณภาพ โรงเรียนมหิศราธิบดี เพื่อนำไปแจ้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน ให้มีความเข้าใจถึงนโยบายที่ชัดเจน นอกจากนี้แล้วโรงเรียนยังได้เผยแพร่นโยบายโรงเรียนคุณภาพ สู่โรงเรียนระดับประถมศึกษา และโรงเรียน  ขยายโอกาส ที่โรงเรียนมหิศราธิบดีได้ไปแนะแนวนักเรียนในการศึกษาต่อด้วย

2.       การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ดังนี้

          2.1 แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายโครงการโรงเรียนคุณภาพ ประกอบด้วย ผู้บริหารการศึกษาผู้บริหารสถานศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่ม/หน่วย ศึกษานิเทศก์ ในสังกัด เพื่อร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ โครงการ และแนวทางการขับเคลื่อนโดยยึดแนวทาง นโยบาย สพฐ.

          2.2 ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ในการดำเนินการตามนโนบาย สพฐ. จัดทำบันทึกข้อตกลง                    และจัดทำ Time Line การนิเทศขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพ ระดับมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ให้สอดคล้องกับ Time Line ในการดำเนินกิจกรรมของโรงเรียน (เนื่องจากโรงเรียนมหิศราธิบดี ซึ่งได้รับการพิจารณาเป็นโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง โรงเรียนคุณภาพ ไม่มีโรงเรียนมาเรียนร่วม                  และ ไม่มีโรงเรียนมาเรียนรวมบางรายวิชา จึงต้องจัดทำบันทึกข้อตกลงในการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพ                     กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา เพื่อพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนมหิศราธิบดีให้เป็นโรงเรียนคุณภาพตามมาตรฐานที่ สพฐ. กำหนด)

          2.3 ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ในการทบทวนรายชื่อโรงเรียนคุณภาพ และทบทวนจุดเน้น                      ทั้ง 8 จุดเน้น ของโรงเรียนคุณภาพเพื่อวางแผนในการดำเนินงาน

          2.4 ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมาที่รับผิดชอบโครงการโรงเรียนคุณภาพ ออกนิเทศ กำกับ ติดตาม พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะการขับเคลื่อนฯ เพื่อให้โรงเรียนนำไปปรับปรุงพัฒนา    ให้เกิดความเข้มแข็ง และมีคุณภาพเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้กับนักเรียน

3.       ผลการดำเนินงาน

ข้อมูลผลการขับเคลื่อน

เรียนร่วม 100%        จำนวน           -         แห่ง

เรียนร่วมบางรายวิชา   จำนวน           -         แห่ง

เนื่องจากไม่มีโรงเรียนมาเรียนร่วม และไม่มีโรงเรียนมาเรียนร่วมบางรายวิชา โรงเรียนมหิศราธิบดี

จึงดำเนินการจัดทำบันทึกข้อตกลงในการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา เพื่อพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนมหิศราธิบดีให้เป็นโรงเรียนคุณภาพตามมาตรฐานที่ สพฐ. กำหนด

4.       ปัญหา อุปสรรค

ระดับนโยบาย ไม่มีแนวทาง ในการดำเนินโครงการให้ลงสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน ทำให้ขาดทิศทางในการดำเนินงาน เช่น มาตรฐาน ตัวชี้วัด ที่จะใช้ในการประเมินเพื่อเป็นตัวบ่งชี้ว่า โรงเรียนมีความสำเร็จในจุดใด บกพร่องในจุดใด ที่จะทำให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ดำเนินงานได้อย่างถูกต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน

5.       ข้อเสนอแนะ

ระดับนโยบายควรมีการกำหนดแนวทาง ตัวชี้วัด มาตรฐานในการปฏิบัติ และ สพฐ.ควรจัดทำแผนพัฒนา

คุณภาพโรงเรียนระดับ สพฐ. เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียน ใช้เป็นคู่มือในการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ตรงตามเป้าหมายที่กำหนด เกิดประสิทธิภาพ

6.       ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการดำเนินงาน

6.1 ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่ม/หน่วย ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากร

ทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ให้ความสำคัญ และให้ความร่วมมือ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำไปปฏิบัติและพัฒนาให้เป็นโรงเรียนคุณภาพที่เข้มแข็ง

          6.2 คณะศึกษานิเทศก์ มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ให้ข้อเสนอแนะแนวทาง และให้การสนับสนุน ส่งเสริมอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่อง

          6.3 มีคู่มือ หรือแนวปฏิบัติในการดำเนินงานโครงการที่ชัดเจน เพื่อจะได้ดำเนินการตามมาตรฐาน                     และตัวชี้วัดที่กำหนด

          6.4 การจัดสรรงบประมาณ ควรจัดสรรให้ในต้นปีงบประมาณ และมีระยะเวลาในการดำเนินงานที่นานขึ้น

          6.5 ควรมีระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่เข้าถึงโครงการโรงเรียนคุณภาพผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ทุกคนได้ทราบและเข้าถึงสารสนเทศในระดับต่าง ๆ

 โรงเรียนบ้านสระครก (โครงการโรงเรียนคุณภาพ)

การดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการ

1.       การสร้างการรับรู้

1.1 MOU โรงเรียนคุณภาพและโรงเรียนเครือข่าย

1.2 ประชุมสร้างความเข้าใจ ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน/

โรงเรียนเครือข่ายคุณภาพ

1.3 กิจกรรมด้านความปลอดภัย การเรียนรู้การรับมือสถานการณ์ความเสี่ยง ด้านรู้ประเด็น

ความปลอดภัย และด้านรู้เจนจัดอุบัติเหตุจากการเล่น

1.4 พัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน การคิดเลข

1.5 พัฒนาทักษะอาชีพ 

1.6 ปรับปรุงภูมิทัศน์

2.       การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ

2.1 ประชาสัมพันธ์ส่งเด็กเข้าเรียน และสร้างความร่วมมือ

2.2 สำรวจประชากร

2.3 การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ (Active Learning)

2.4 พัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการเรียนรู้ การอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น

2.5 เสริมสร้างคุณลักษณะ ดนตรี กีฬา

2.6 ห้องเรียนคุณภาพวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์

2.7 MOU กับหน่วยงานภายนอก 

3.       ผลการดำเนินงาน

ข้อมูลการขับเคลื่อน

3.1  โรงเรียนคุณภาพและโรงเรียนเครือข่ายประสาน ความร่วมมือการขับเคลื่อนนโยบาย (100%)

เรียนร่วม จำนวน   5   โรงเรียน  เรียนร่วมบางรายวิชา  จำนวน 5 แห่ง

3.2  ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และโรงเรียนเครือข่ายคุณภาพ มี

ความเข้าใจเกี่ยวกับการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพ (100%)

3.3  นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และทักษะพื้นฐาน ด้านความปลอดภัยและช่วยเหลือตนเอง

ได้ (100%)

3.4  โรงเรียนจัดกิจกรรมให้นักเรียนมีทักษะอาชีพ สามารถนำไปใช้และสร้างรายได้ให้กับ  ตนเอง

          3.5  โรงเรียนจัดกิจกรรมสร้างเสริมทักษะการอ่าน การเขียน การคิดเลข (100%)

          3.6  โรงเรียนมีสภาพแวดล้อม สะอาด สวยงาม ร่มรื่น น่าอยู่ และปลอดภัย (100%)

     4.  ปัญหา  อุปสรรค

          4.1  ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปีการศึกษา 2564 ที่ผ่านมานักเรียนประมาณ 10% ไม่มีระบบสื่อสารออนไลน์ เช่น โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต โทรทัศน์ เป็นต้น

         4.2   โรงเรียนคุณภาพได้รับงบประมาณ 19 ล้าน ในการสร้างอาคารสถานที่ แต่ในด้านสื่อและวัสดุอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ยังไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน

         4.3   ครูยังไม่ครบเอกไม่ครบชั้น เช่น วิชาวิทยาศาสตร์ พลศึกษา และครูย้ายที่ยังไม่ได้รับตำแหน่งคืน

         4.4   ไม่มีรถรับ ส่ง ผู้ปกครองมีความต้องการให้จัดหารถรับ-ส่ง นักเรียนจากโรงเรียนเครือข่ายที่จบ ป.6 มาเรียนต่อที่โรงเรียนคุณภาพ ประจำทุกวัน

     5.  ข้อเสนอแนะ

          5.1 ต้องการงบประมาณในการจัดซื้อสื่อวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อสะดวกในการจัดการเรียนการสอนอย่างเพียงต่อจำนวนนักเรียน

          5.2 ต้องการข้าราชการครูผู้สอนครบตรงตามวิชาเอก


 บันทึข้อมูลโดย: จ.ส.อ.มงคล ทองเหลือง