ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 06 พฤษภาคม 2565

หัวข้อการตรวจกรณีพิเศษ : โครงการความปลอดภัยสถานศึกษา (MOE Safety Center)

โครงการความปลอดภัยสถานศึกษา (MOE Safety Center)

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6

ผลการดำเนินงาน

1. สถานศึกษาในสังกัดจำนวนทั้งหมด 180 โรงเรียน ได้ดำเนินการสมัครเข้าใช้งานในระบบบริหารมาตรฐานศูนย์ความปลอดภัยครบ 100 % และดำเนินการจัดตั้งศูนย์และผู้ดูแลระบบในคราวเดียวกัน

2. สถานศึกษาในสังกัดรับทราบข้อมูลและคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา

 

ปัญหา อุปสรรค

1.  การดำเนินงานในการจัดประชุมไม่สามารถดำเนินการได้ตามกรอบเวลาเนื่องด้วยภาวะการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานหรือเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตพื้นที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามปฏิทินเวลา

          2. ข้อจำกัดในการเข้าระบบมาตรฐานความปลอดภัยทำให้การดำเนินการเข้าใช้งานมีปัญหาอย่างต่อเนื่อง

 

ข้อเสนอแนะ

          ผู้จัดทำระบบควรดำเนินการให้การใช้งานในระบบได้ง่ายขึ้น เพื่อความสะดวกในการแจ้งเหตุ จากผู้ปกครอง นักเรียน หรือผู้พบเห็นเหตุการณ์ที่ควรได้รับการช่วยเหลือต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา

ตัวชี้วัดการติดตาม (KPI)

ระบบ MOE Safety Center

1. ระบบ MOE Safety Center สามารถลดขั้นตอน ลดเวลา มีความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาได้

จริง

2. หน่วยงานรับเรื่องในระบบ MOE Safety Center ให้การคุ้มครอง ช่วยเหลือ เยียวยา สร้างความ

เป็นธรรมให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้น ได้จริง

3. นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงระบบ MOE Safety

Center  ในฐานะผู้แจ้งเหตุได้จริง

4. กระทรวงศึกษาธิการสามารถนำมาตรการ ๓ ป ป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปรามมาใช้ในการ

ปฏิบัติงานในระบบ    MOE Safety Center ได้จริง

 

 

 

 

การดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการ

1. การสร้างการรับรู้

          สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการความปลอดภัยสถานศึกษา (MOE Safety Center) ในการสร้างการรับรู้ ดังนี้

1.1 ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการระบบมาตรฐานความปลอดภัย กระทรวงศึกษาธิการ

ให้แก่ สถานศึกษาในสังกัดทุกแห่งได้รับรู้ถึงแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย การใช้ระบบ MOE Safety Center โดยมีการประชาสัมพันธ์ให้ครู นักเรียน บุคลากรทางการศึกษา และผู้ปกครองได้รู้จักและเข้าถึงระบบ MOE Safety Center

                   1.2  ดำเนินการประชาสัมพันธ์และมอบหมายให้สถานศึกษาในสังกัดทุกแห่ง นำมาตรการ 3 ป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปรามมาใช้ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนทั้งในช่วงเปิดภาคเรียน และปิดภาคเรียน

2. การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการความปลอดภัย

สถานศึกษา (MOE Safety Center) ในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ดังนี้

2.1  ประชุมชี้แจงการขับเคลื่อนนโยบายโครงการระบบมาตรฐานความปลอดภัย

MOE Safety Center

2.2  จัดทำคำสั่งคณะกรรมการดำเนินการระบบมาตรฐานความปลอดภัย MOE Safety

Center

2.3  จัดอบรมพัฒนาผู้ใช้ระบบ MOE Safety Center

2.4  ดำเนินการใช้ระบบ MOE Safety Center โดยมีแนวทางตามคู่มือฯ

          2.5  ประชาสัมพันธ์โครงการระบบมาตรฐานความปลอดภัยให้แก่ครู นักเรียน บุคลากร

ทางการศึกษาและผู้ปกครองได้รู้จักและเข้าถึงระบบ MOE Safety Center

3. ผลการดำเนินงาน

3.1 สถานศึกษาในสังกัดทุกแห่งได้ลงทะเบียนในระบบ MOE Safety Center แล้ว

3.2 มีการประชาสัมพันธ์โครงการระบบมาตรฐานความปลอดภัยให้แก่ครู นักเรียน บุคลากร

ทางการศึกษา และผู้ปกครองได้รู้จักและเข้าถึงระบบ MOE Safety Center

3.3 สถานศึกษาในสังกัดนำมาตรการ 3 ป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปรามมาใช้ในการดูแล

ช่วยเหลือนักเรียนทั้งในช่วงเปิดภาคเรียน และปิดภาคเรียน

4. ปัญหา อุปสรรค

          การพัฒนาผู้ใช้ระบบมาตรฐานความปลอดภัย ยังอยู่ในขั้นตอนของการสร้างหน่วยงานศูนย์

MOE Safety Center ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา ซึ่งสถานศึกษาในสังกัดทุกแห่งได้ลงทะเบียน และมอบหมายผู้รับผิดชอบ SC-action และ SC-operator แต่ยังพบว่ามีอุปสรรคในการรับเรื่องร้องเรียน ซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่สามารถดำเนินการต่อได้

 

 

5. ข้อเสนอแนะ

ในการดำเนินงานของระบบมาตรฐานความปลอดภัย กระทรวงศึกษาธิการ ยังพบข้อจำกัดในเรื่องของ การรับแจ้งเรื่องร้องเรียน ที่สำนักงานเขตพื้นการศึกษา (SC-action/SC-operator) ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เห็นควรให้มีการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ใช้ระบบเพิ่มเติม เพื่อให้มีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพต่อไป

6. ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการดำเนินงาน

ผู้บังคับบัญชาให้การสนับสนุน รวมถึงให้คำแนะนำ และปรึกษาในด้านการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ

 

การดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการ

1.       การสร้างการรับรู้

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพ ในการสร้างการรับรู้ โดยการประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ นโยบาย แนวทางการดำเนินงานการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพให้กับผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด ในคราวประชุมผู้บริหารสถานศึกษา และกลุ่มไลน์ราชการ ต่อเนื่องจากที่ สพฐ. ประชุม หรือมีข่าวเกี่ยวกับโรงเรียนคุณภาพ เพื่อนำไปประชาสัมพันธ์ให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง ทราบ และเพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติตามนโยบายได้อย่างถูกต้อง รวมไปถึงและได้สร้างความเข้าใจกับโรงเรียนคุณภาพ โรงเรียนมหิศราธิบดี เพื่อนำไปแจ้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน ให้มีความเข้าใจถึงนโยบายที่ชัดเจน นอกจากนี้แล้วโรงเรียนยังได้เผยแพร่นโยบายโรงเรียนคุณภาพ สู่โรงเรียนระดับประถมศึกษา และโรงเรียน ขยายโอกาส ที่โรงเรียนมหิศราธิบดีได้ไปแนะแนวนักเรียนในการศึกษาต่อด้วย

2.       การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ ดังนี้

          2.1 แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายโครงการโรงเรียนคุณภาพ ประกอบด้วย ผู้

บริหารการศึกษาผู้บริหารสถานศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่ม/หน่วย ศึกษานิเทศก์ ในสังกัด เพื่อร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ โครงการ และแนวทางการขับเคลื่อนโดยยึดแนวทาง นโยบาย สพฐ.

          2.2 ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ในการดำเนินการตามนโนบาย สพฐ. จัดทำบันทึกข้อ

ตกลง และจัดทำ Time Line การนิเทศขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพ ระดับมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ให้สอดคล้องกับ Time Line ในการดำเนินกิจกรรมของโรงเรียน (เนื่องจากโรงเรียนมหิศราธิบดี ซึ่งได้รับการพิจารณาเป็นโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง โรงเรียนคุณภาพ ไม่มีโรงเรียนมาเรียนร่วม และ ไม่มีโรงเรียนมาเรียนรวมบางรายวิชา จึงต้องจัดทำบันทึกข้อตกลงในการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพ  กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา เพื่อพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนมหิศราธิบดีให้เป็นโรงเรียนคุณภาพตามมาตรฐานที่ สพฐ. กำหนด)

          2.3 ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ในการทบทวนรายชื่อโรงเรียนคุณภาพ และทบทวน

จุดเน้น ทั้ง 8 จุดเน้น ของโรงเรียนคุณภาพเพื่อวางแผนในการดำเนินงาน

          2.4 ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมาที่รับผิดชอบ

โครงการโรงเรียนคุณภาพ ออกนิเทศ กำกับ ติดตาม พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะการขับเคลื่อนฯ เพื่อให้โรงเรียนนำไปปรับปรุงพัฒนา    ให้เกิดความเข้มแข็ง และมีคุณภาพเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้กับนักเรียน

3.       ผลการดำเนินงาน

ข้อมูลผลการขับเคลื่อน

เรียนร่วม 100%        จำนวน           -         แห่ง

เรียนร่วมบางรายวิชา   จำนวน           -         แห่ง

เนื่องจากไม่มีโรงเรียนมาเรียนร่วม และไม่มีโรงเรียนมาเรียนร่วมบางรายวิชา โรงเรียนมหิศราธิบดี

จึงดำเนินการจัดทำบันทึกข้อตกลงในการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา เพื่อพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนมหิศราธิบดีให้เป็นโรงเรียนคุณภาพตามมาตรฐานที่ สพฐ. กำหนด

4.       ปัญหา อุปสรรค

ระดับนโยบาย ไม่มีแนวทาง ในการดำเนินโครงการให้ลงสู่การปฏิบัติที่ชัดเจน ทำให้ขาดทิศทางในการดำเนินงาน เช่น มาตรฐาน ตัวชี้วัด ที่จะใช้ในการประเมินเพื่อเป็นตัวบ่งชี้ว่า โรงเรียนมีความสำเร็จในจุดใด บกพร่องในจุดใด ที่จะทำให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ดำเนินงานได้อย่างถูกต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน

5.       ข้อเสนอแนะ

ระดับนโยบายควรมีการกำหนดแนวทาง ตัวชี้วัด มาตรฐานในการปฏิบัติ และ สพฐ.ควรจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพโรงเรียนระดับ สพฐ. เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียน ใช้เป็นคู่มือในการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ตรงตามเป้าหมายที่กำหนด เกิดประสิทธิภาพ

6.       ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการดำเนินงาน

6.1 ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่ม/หน่วย ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากร

ทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ให้ความสำคัญ และให้ความร่วมมือ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะ ในการพัฒนาโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำไปปฏิบัติและพัฒนาให้เป็นโรงเรียนคุณภาพที่เข้มแข็ง

          6.2 คณะศึกษานิเทศก์ มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม ให้ข้อเสนอแนะแนวทาง และให้การสนับสนุน ส่งเสริมอย่างใกล้ชิด และต่อเนื่อง

          6.3 มีคู่มือ หรือแนวปฏิบัติในการดำเนินงานโครงการที่ชัดเจน เพื่อจะได้ดำเนินการตามมาตรฐาน                     และตัวชี้วัดที่กำหนด

          6.4 การจัดสรรงบประมาณ ควรจัดสรรให้ในต้นปีงบประมาณ และมีระยะเวลาในการดำเนินงานที่นานขึ้น

          6.5 ควรมีระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่เข้าถึงโครงการโรงเรียนคุณภาพผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ทุกคนได้ทราบและเข้าถึงสารสนเทศในระดับต่าง ๆ

 

 

หน่วยงาน โรงเรียนเอกชนในอำเภอบัวใหญ่และอำเภอใกล้เคียง

เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาสถานศึกษาเอกชนที่ 8

 

ตัวชี้วัดการติดตาม (KPI)

ระบบ MOE Safety Center

1. ระบบ MOE Safety Center สามารถลดขั้นตอน ลดเวลา มีความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาได้

จริง

2. หน่วยงานรับเรื่องในระบบ MOE Safety Center ให้การคุ้มครอง ช่วยเหลือ เยียวยา สร้างความ

เป็นธรรมให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้น ได้จริง

3. นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงระบบ MOE Safety

Center  ในฐานะผู้แจ้งเหตุได้จริง

4. กระทรวงศึกษาธิการสามารถนำมาตรการ ๓ ป ป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปรามมาใช้ในการ

ปฏิบัติงานในระบบ    MOE Safety Center ได้จริง

 

การดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการ

1.       การสร้างการรับรู้

          มีการประชาสัมพันธ์ แจ้งรายละเอียดโครงการให้ทุกฝ่ายได้รับทราบ

2.       การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ

มีการประชาสัมพันธ์และสมัครเข้าใช้ระบบของบุคากรในโรงเรียน

3.       ผลการดำเนินงาน

โรงเรียนมีระบบการดูแลรักษาความปลอดภัยภายในอย่างเข้มงวด โดยครูฝ่ายส่งเสริมระเบียบวินัย  ครูเวรประจำวัน ติดตั้งระบบวงจรปิด  จัดสารวัตรนักเรียนดูแลการเล่นของนักเรียนตามจุดต่าง ๆ มี รปภ.คอยดูแลตลอด  ดูแลการข้ามถนนตามทางม้าลาย  การเข้า-ออกของนักเรียน รถยนต์ การเปิด-ปิดประตู  ได้จัดระบบการจราจรภายในโรงเรียนโดยการเดินรถทางเดียว (วันเวย์) ได้ติดตั้งป้ายเครื่องหมายจราจร มีการอบรมสารวัตรจราจร  อบรมให้ความรู้นักเรียนเรื่องเครื่องหมายจราจร สัญญาณไฟ การขับขี่ที่ปลอดภัย 

4.       ปัญหา อุปสรรค

          กรณีถนนหน้าโรงเรียนซึ่งมีรถที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนสัญจรด้วยความเร็ว ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อนักเรียนและผู้ปกครองได้

5.       ข้อเสนอแนะ

          จัดตำรวจจราจรหรือสารวัตรจราจร คอยอำนวยความสะดวกและดูแลการจราจร  ติดตั้งเครื่องหมายแจ้งเตือน หรือสัญลักษณ์ที่ชัดเจน รวมทั้งการทาสีทางม้าลายให้สะดุดตา เพื่อลดอุบัติเหตุ

6.       ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการดำเนินงาน

          ปลูกฝังความมีวินัยเรื่องการจราจร การปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเข้มงวด


 บันทึข้อมูลโดย: จ.ส.อ.มงคล ทองเหลือง