ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 06 พฤษภาคม 2565

หัวข้อการตรวจกรณีพิเศษ : หนี้สินครู

โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6

ผลการดำเนินงาน

          ดำเนินการสำรวจข้อมูลตรวจสอบรายละเอียดการรับ-จ่ายเงินของผู้ที่มีเงินเหลือน้อยกว่าร้อยละ 30 ข้อมูล  ณ วันที่ 31 มีนาคม  2565 พบว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีเงินเดือนของผู้ที่มีเงินเหลือน้อยกว่าร้อยละ 30 จำนวน 323 คน แยกเป็นข้าราชการสำนักงานเขต จำนวน 23 คน  สังกัดโรงเรียน จำนวน 300 คน  คิดเป็นร้อยละ 22.55 ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งหมด 1,432  คน

ปัญหา/อุปสรรค/ข้อจำกัดในการดำเนินการตามนโยบาย

                               1.            ความเข้าใจของข้าราชการครู  และบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อโครงการ

                               2.            ความต้องการช่วยเหลืออย่างจริงจังของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

ข้อเสนอแนะ

1. การสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการรวมหนี้ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้อยู่ในแหล่งเดียว และปรับโครงสร้างหนี้ให้ครูโดยขยายระยะเวลาการชําระ ลดอัตราดอกเบี้ย โดย อยู่ในวงเงิน

ที่ครูมีกําลังพอชําระได้และให้รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ย เช่นเดียวกับที่ทางรัฐบาลช่วยเหลือเกษตรกร การออกระเบียบ สร้างกฎการขึ้นทะเบียนการเป็นหนี้ ของครูอย่างชัดเจน เพื่อจะได้ทราบ มูลหนี้ที่แท้จริง

           2. ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องพยายามกำกับการ ใช้จ่ายของตนเองให้สมดุลกับรายได้ ลดความฟุ่มเฟือยลง ก่อนตัดสินใจซื้อสิ่งใดต้องคำนึงถึงความจําเป็นหรือประโยชน์ที่คุ้มค่า และการสนับสนุนให้โรงเรียน มีทุนสํารองในการใช้จ่ายเพื่อให้ครูพานักเรียนออกไปทำกิจกรรมต่างๆ โดยไม่ต้องรบกวนงบประมาณส่วนตัวของครู

3. เงินทุนหมุนเวียนควรมีหลักการบริหารที่สามารถช่วยเหลือข้าราชการครูที่มีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย

4. ผู้บริหารโรงเรียนควรมีบทบาทสำคัญในการพิจารณาความเหมาะสมในการ ก่อหนี้ของข้าราชการครู

5. ผู้บริหารโรงเรียนควรมีการส่งเสริมให้ข้าราชการครูมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

          6. การเสริมสร้างความรู้ด้านวินัยทางการเงินให้กับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในการดำรงชีพในสภาวะปัจจุบัน

 

 

 

 

 

 

 

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา

ตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI)

1. การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของสหกรณ์ออมทรัพย์ให้ต่ำลงไม่เกิน 3%

2. การปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้สอดคล้องกับสินเชื่อที่มีอัตราความเสี่ยงต่ำ  4.5 – 5.0

1. ปรับปรุงและยกระดับการตัดเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ ควบคุมยอดหนี้ไม่ให้เกินความสามารถในการชำระหนี้ ตรวจสอบข้อมูลรายการหัก ณ ที่จ่าย และข้อมูลจากเครดิตบูโร ให้มีเงินเดือนเหลือสุทธิหลังหักชำระหนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30

2. กำหนดมาตรการตัดเงินเดือนเพื่อใช้หนี้สวัสดิการและสหกรณ์ออมทรัพย์ครู หรือสถาบันการเงินที่ผ่อนปรนอัตราดอกเบี้ยเพื่อสวัสดิการที่แท้จริงคือต้องเป็นอัตราเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในตลาดทั่วไป

3. หน่วยงานสถานีแก้หนี้ ได้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการดำเนินการตามระเบียบกระทรวง ศึกษาธิการว่าด้วยการหักเงินเดือน เงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่สวัสดิการภายในส่วนราชการและสหกรณ์ พ.. 2551

สถานีแก้หนี้ระดับจังหวัด

1. มีการรวบรวม วิเคราะห์จัดทำข้อมูลการลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา

2. มีการประชุมร่วมกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูและสถาบันการเงิน

3. มีการวางแผนกำหนดแนวทางการแก้หนี้สินครูในจังหวัด

4. มีการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการของสถานีแก้หนี้ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษา

สถานีแก้หนี้ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และหน่วยงานทางการศึกษา

1. มีการรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลการลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา

2. มีการวางแผนกำหนดแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้ครูและบุคลากรทางการศึกษา

3. ได้เชิญลูกหนี้และผู้ค้ำประกันมาให้ข้อมูล

4. มีการประชุมร่วมกับสหกรณ์ออมทรัพย์ และสถาบันการเงินเพื่อกำหนดแนวทางการแก้หนี้

5. มีการเจรจาไกล่เกลี่ยและปรับโครงสร้างหนี้ระหว่างสถาบันการเงินกับผู้กู้

6. สถานีแก้หนี้ติดตามผลการดำเนินการตามข้อตกลง

7. สถานีแก้หนี้รายงานผลการดำเนินการของสถานีแก้หนี้ในภาพรวม                              

สถานีแก้หนี้ส่งเสริมให้ครูได้เข้ารับการอบรมให้ความรู้เสริมสร้างวินัยและการวางแผนทางการเงินตามเป้าหมายที่สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา สป. กำหนด

 

การดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการ

1.       การสร้างการรับรู้

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ในการสร้างการรับรู้ โดยแจ้งคำสั่ง สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีคำสั่งที่ 292/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา จังหวัดนครราชสีมา และประชุมชี้แจงแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการระดับจังหวัด เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๕ ผ่านระบบ Video Conference ZOOM Meeting โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน

2.       การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา  ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน

ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และชี้แจงการดำเนินโครงการฯ ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น หนังสือราชการ                      การประชุมชี้แจงในที่ประชุมผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัด แจ้งรายละเอียดผ่านเว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์                       โดยมีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดลงทะเบียนแจ้งความประสงค์การเข้าร่วมโครงการ จำนวน 167 คน

3.       ปัญหา/อุปสรรค/ข้อจำกัดในการดำเนินการตามนโยบาย

3.1  บุคลากรระดับปฏิบัติของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ยังขาดความรู้ ความเข้าใจเรื่องแนวทางการดำเนินการ

3.2 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ขาดความรู้ ความเข้าใจ แนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สิน การจัดการการเงิน

4.       ข้อเสนอแนะ

ควรสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับบุคลากรในระดับปฏิบัติ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่าง
เหมาะสม สามารถอธิบายการดำเนินการให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

5.       ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการดำเนินงาน

5.1 จัดการปัญหาหนี้สินเพื่อให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ

5.2 สร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการบริหารจัดการด้านการเงิน

5.3 ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

 


 บันทึข้อมูลโดย: จ.ส.อ.มงคล ทองเหลือง