ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 23 พฤษภาคม 2565

หัวข้อการตรวจกรณีพิเศษ : โครงการพาน้องกลับมาเรียน

พาน้องกลับมาเรียน

          การรับรู้และเข้าใจนโยบาย

1.      นำนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการขับเคลื่อนโดยการกำหนดเป็นนโยบายเร่งด่วนในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และเน้นย้ำให้สถานศึกษาในสังกัดนำนโยบายสู่การปฏิบัติให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมในทันที

2.      ประชุมชี้แจงแนวทางให้กับสถานศึกษาในสังกัด

3.      แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันเพื่อนำกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา

การนำนโยบายไปปฏิบัติ

1.      จัดทำฐานข้อมูลนักเรียนที่หลุดจากระบบรายบุคคล สพท. กับโรงเรียนในสังกัด

2.      สถานศึกษาได้ชี้แจงแนวทางและขอความร่วมมือในการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานระดับท้องถิ่น และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

3.      สถานศึกษาในสังกัดดำเนินการค้นหาและติดตามเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน โดยใช้ฐานข้อมูลจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และระบบจัดเก็บนักเรียนรายบุคคล (DMC)

          ความก้าวหน้า

1.      จัดทำโครงการเพื่อดำเนินการติดตามเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน

2.     ส่งเสริมสนับสนุนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาให้มีความเข้มแข็ง และจัดทำแผนรองรับการป้องกันเด็กหลุดออกจากระบบ

3.      ผู้รับผิดชอบระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้สมัครเข้าใช้งาน Application “พาน้องกลับมาเรียน” ผ่านทางเว็บไซต์ Error! Hyperlink reference not valid.

4.      สถานศึกษาลงทะเบียนการใช้งานที่เว็บไซต์  http://dropout.edudev.in.th พร้อมดาวน์โหลด  Application “พาน้องกลับห้องเรียน” เพื่อใช้ในการค้นหาและติดตามนักเรียน

5.      ผลการดำเนินงานตามนโยบาย “พาน้องกลับห้องเรียน” (ข้อมูล 10 พ.ค. 2565)

       จากการติดตามเด็กในฐานข้อมูล “พาน้องกลับมาเรียน” พบว่า สาเหตุ 3 ลำดับต้นๆ ดังนี้

        >>> ร้อยละ 49.79  พบว่าเด็กอยู่ในระบบการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษา ทั้งในระบบ
นอกระบบ และสถานศึกษาอื่นๆ

        >>> ร้อยละ 18.83 เป็นกลุ่มเด็กที่จบการศึกษาภาคบังคับแล้วไม่ประสงค์เรียนต่อ

        >>> ร้อยละ 8.37 พบปัญหาจากความจำเป็นทางครอบครัว เช่น ครอบครัวยากจนและมีภาระค่าใช้จ่าย


        ในกรณีเด็กหลุดจากระบบการศึกษา และที่ไม่สามารถติดตามตัวได้ พบสาเหตุ 3 ลำดับต้นๆ ดังนี้

         >>> ร้อยละ 26.03  เป็นเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงทั้งทางด้านครอบครัว สังคม ทำให้หลุดจากระบบและไม่สามารถติดตามตัวเด็กได้ในพื้นที่ 

         >>>ร้อยละ 13.70 เป็นกลุ่มเด็กที่มีความจำเป็นทางครอบครัว ย้ายภูมิลำเนา ไปทำงานรับภาระครอบครัว ไม่สามารถติดตามตัวเด็กในพื้นที่ และ

         >>>ร้อยละ 12.33 ออกจากระบบเนื่องจากปัญหาจากความประพฤติของตัวเด็กที่ขัดกับระเบียบวินัยของสถานศึกษา

ปัญหาอุปสรรค

1.  การติดตามค้นหานักเรียนที่หลุดจากระบบโดยใช้ Application “พาน้องกลับห้องเรียน” ยังไม่รองรับการทำงานบนระบบปฏิบัติการ IOS และระบบยังไม่เสถียร เข้าระบบได้ยาก

2.      การส่งต่อนักเรียนระหว่างหน่วยงานขาดความเชื่อมโยง และขาดการบูรณาการอย่างจริงจัง

3.      จำนวนนักเรียน จากฐานข้อมูล DMC ส่วนมากไม่ตรงกับข้อมูลจำนวนนักเรียนในระดับ สพท.

4.  การย้ายถิ่นของผู้ปกครองออกจากชุมชน/จังหวัด โดยไม่แจ้งย้ายออกจากระบบ ทำให้ติดตามข้อมูลนักเรียนไม่ได้

5.      นักเรียนส่วนหนึ่งเป็นต่างด้าวจะมีการย้ายถิ่นทำให้การติดตามนักเรียนเข้าเรียนค่อนข้างมีความลำบาก เนื่องจากนักเรียนต้องย้ายตามผู้ปกครอง ทำให้การเข้าเรียนของนักเรียนไม่สม่ำเสมอ

6.      นักเรียนได้จบการศึกษาในระดับชั้น ม.3 จากโรงเรียนขยายโอกาสไปแล้ว แต่ยังคงมีรายชื่อนักเรียนเป็นนักเรียนออกกลางคัน

7.      นักเรียนมีอายุเกินเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ ซึ่งโรงเรียนได้จำหน่ายนักเรียนออกจากฐานข้อมูลนักเรียนไปแล้ว แต่ยังมีข้อมูลนักเรียนว่าเป็นนักเรียนออกกลางคัน

8.      นักเรียนที่จบในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 บางคนไปเรียนในสถานศึกษาปอเนาะ (พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้)ซึ่งสถานศึกษาไม่มีระบบการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนเช่นเดียวกับระบบสถานศึกษาในภาครัฐ/ภาคเอกชน จึงทำให้ฐานข้อมูลของนักเรียนที่ไปเข้าเรียนไม่เชื่อมโยงกัน

9.      นักเรียนบางคนเปลี่ยนชื่อ หรือ นามสกุล ทำให้ฐานข้อมูลรายชื่อไม่ตรงกัน ไม่เป็นปัจจุบัน

10.  ผู้ปกครองบางส่วนขาดความตระหนัก หรือไม่แจ้งการย้ายออกของนักเรียน ทำให้ติดตามนักเรียนได้ยาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มแรงงานก่อสร้าง แรงงานประมง และครอบครัวที่มีฐานะยากจน

11.  เด็กบางคนที่มีข้อมูลในระบบ เป็นเด็กที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว ซึ่งพ้นการศึกษาภาคบังคับ และออกจากพื้นที่หมู่บ้านแล้ว จึงไม่ทราบว่าเด็กไปเรียนต่อสถานศึกษาใด รวมถึงเด็กบางคนไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร จึงไม่สามารถติดตามได้

12.  โรงเรียนติดตามนักเรียนแล้ว แต่นักเรียนไม่ยอมกลับมาเรียน เนื่องจากสภาพปัญหาทางครอบครัว เช่น ครอบครัวหย่าร้าง ครอบครัวฐานะยากจน ไม่มีผู้ดูแลเอาใจใส่

ข้อเสนอแนะ

1.   ควรพัฒนาระบบปฏิบัติการ Application “พาน้องกลับมาเรียน” ให้รองรับการใช้งานได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Android และ IOS

2.      จัดทำฐานข้อมูลแบบบูรณาการเชื่อมโยงระหว่างส่วนราชการอื่นด้วย เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ

3.   หน่วยงานทุกสังกัด ได้แก่ สพฐ. สช. สอศ. อปท. ควรใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน เพื่อจะได้แก้ปัญหาเด็กตกหล่น เด็กออกกลางคัน เด็กนักเรียนเข้า-ออก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.  พัฒนาการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนในระบบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือ ระบบฐานข้อมูลใหญ่ ให้เชื่อมโยงกับข้อมูลของสถานศึกษาทุก ๆ สังกัด ให้เป็นระบบและเป็นปัจจุบัน

5.      ไม่ควรให้รายงานข้อมูลหลายระบบ เพราะเป็นการเพิ่มภาระของผู้ที่เกี่ยวข้อง

 


 บันทึข้อมูลโดย: นางสุชาดา ไตรจินดา