ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 23 พฤษภาคม 2565

หัวข้อการตรวจกรณีพิเศษ : โรงเรียนคุณภาพ

โรงเรียนคุณภาพ

การรับรู้และเข้าใจนโยบาย

จากนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ มีความรวดเร็ว ปรับตัวให้ก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลง และสามารถนำพาให้ประเทศไทยไปต่อหลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 19) ประกอบกับการสนับสนุนข้อมูลผลการประชุมองค์การยูเนสโก ได้ระบุถึงเรื่องการศึกษาแบบเรียนรวมหรือการศึกษา ที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ด้วยหลักสูตร ที่ยืดหยุ่น วัดผลตามสมรรถนะเด็ก มีการลงทุนด้านการศึกษาอย่างเป็นธรรม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ได้ดำเนินการตามนโยบายการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพ               ตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และดำเนินการวางแผนการขับเคลื่อน             การดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณภาพดังนี้

1. ร่วมประชุมรับฟังคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายโรงเรียนคุณภาพ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา            ขั้นพื้นฐานผ่านระบบออนไลน์

2. ร่วมประชุมทบทวนโครงการโรงเรียนคุณภาพ และโรงเรียน Stand Alone ที่สามารถดำรงอยู่ได้           อย่างมีคุณภาพ

3. ดำเนินการประชุมโรงเรียนคุณภาพและโรงเรียนเครือข่าย เพื่อชี้แจง ทำความเข้าใจนโยบายโรงเรียนคุณภาพ

4. แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับสถานศึกษา

 

การนำนโยบายไปปฏิบัติ

1. สำรวจข้อมูลการทบทวนโรงเรียน Stand Alone ที่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ

2. จัดทำแผนเรียนรวมของโรงเรียนคุณภาพระดับประถมศึกษา และจัดทำแผนรองรับนักเรียนของโรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา

3. แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพ ระดับเขตพื้นที่

4. ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้สู่สถานศึกษา ประชุมครู บุคลากร โรงเรียนคุณภาพ และโรงเรียนเครือข่าย

5. ชี้แจงคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น ผู้ปกครอง นักเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง 

6. จัดทำ MOU โรงเรียนคุณภาพ กับโรงเรียนเครือข่ายในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

7. กำหนดจุดโรงเรียนคุณภาพ และจัดทำแผนที่ในภาพรวมจังหวัด

8. พัฒนาหลักสูตร กำหนดแผนพัฒนา และมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนคุณภาพให้สอดคล้องกับนโยบาย มาตรฐานการศึกษาสอดคล้องกับบริบทและความต้องการของพื้นที่การวิเคราะห์และจัดตั้งงบประมาณ

9. แจ้งจัดสรรงบประมาณ งบลงทุน งบดำเนินงานในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพให้โรงเรียน รวมทั้งกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ ระดมทรัพยากรด้านต่างๆ รวมทั้งทรัพยากรบุคคล

10. จัดทำลำดับเวลา (Timeline) การขับเคลื่อนกิจกรรมการดำเนินงานของโรงเรียนคุณภาพร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย

11. มุ่งให้สถานศึกษาสามารถจัดกิจกรรมพัฒนาเทคนิค/วิธีการจัดการเรียนรู้ พัฒนาสื่อ นวัตกรรม          ด้านการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสอดคล้องกับคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้            ในศตวรรษที่ 21

12.  ส่งเสริมให้สถานศึกษาผลิตผลงานนวัตกรรมการบริหารจัดการและนวัตกรรมการจัดการเรียน           การสอนในสถานการณ์ เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รนา (น          ารศึกษามัธยมศึกษาน่าน งสา(Covid - 19)

13. ส่งเสริมให้ผู้บริหารและครูพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการและนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนทางไกลที่บ้านอย่างมีคุณภาพด้วย DLTV

14. จัดอบรมครูในการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารและการจัดการเรียนการสอน

15. นิเทศ ติดตามการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพ

 


 

ความก้าวหน้า

1.      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1

1.1 โรงเรียน Stand Alone ที่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ จำนวน 34 แห่ง

1.2 โรงเรียนคุณภาพ จำนวน 7 แห่ง และโรงเรียนเครือข่าย จำนวน  52 แห่ง ประกอบด้วย

 

ที่

ชื่อโรงเรียนคุณภาพ

จำนวนโรงเรียนเครือข่าย


1

โรงเรียนศรีเวียงสาวิทยาคาร

11


2

โรงเรียนชุมชนบ้านนาคา

6


3

โรงเรียนบ้านนาราบ (จุลเกษตรศึกษาคาร)

12


4

โรงเรียนบ้านวังยาว 

4


5

โรงเรียนบ้านศรีนาม่าน 

4


6

โรงเรียนบ้านปิงหลวง

5


7

โรงเรียนบ้านนวราษฎร 

10


 

2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2

2.1 โรงเรียน Stand Alone ที่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีคุณภาพ จำนวน 51 แห่ง

2.2 โรงเรียนคุณภาพ จำนวน 17 แห่ง และโรงเรียนเครือข่าย จำนวน 41 แห่ง ประกอบด้วย

 

ที่

ชื่อโรงเรียนคุณภาพ

จำนวนโรงเรียนเครือข่าย

1

โรงเรียนราชปิโยรสา ยุพราชานุสรณ์

6

2

โรงเรียนพระพุทธบาทวิทยา

3

3

โรงเรียนบ้านผาหลัก

2

4

โรงเรียนบ้านทุ่งกวาง

2

5

โรงเรียนบ้านปงสนุก

1

6

โรงเรียนบ้านสบหนอง

1

7

โรงเรียนบ้านคัวะ

1

8

โรงเรียนบ้านสองแคว

1

9

โรงเรียนบ้านผักเฮือก

1

10

โรงเรียนบ้านเสี้ยว(ท่าวังผา)

1

11

โรงเรียนชุมชนไตรคามราษฎรบำรุง

1

12

โรงเรียนจตุราษฎร์ศึกษา

1

13

โรงเรียนบ้านยอดดอยพัฒนา

1

14

โรงเรียนชุมชนบ้านดอนตัน

1

15

โรงเรียนบ้านปรางค์

5

16

โรงเรียนชุมชนบ้านทุ่งช้าง

5

17

โรงเรียนบ้านไร่

4

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 













3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน มีการทบทวน และจัดทำภารกิจขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพ และดำเนินการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษาในสังกัด และลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา (MOU) ระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน กับโรงเรียนคุณภาพ จำนวน 6 โรง ประกอบด้วย

 

ที่

ชื่อโรงเรียนคุณภาพ

1

โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคม

2

โรงเรียนทุ่งช้าง

3

โรงเรียนสันติสุขพิทยาคม

4

โรงเรียนนาน้อย

5

โรงเรียนเชียงกลางประชาพัฒนา

6

โรงเรียนสา


 

ปัญหาอุปสรรค

1.    นโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพไม่ชัดเจน มีการปรับเปลี่ยนนโยบายอย่างต่อเนื่อง

2.    โรงเรียนคุณภาพบางส่วนยังไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้เต็มที่ รวมทั้งการใช้ทรัพยากรร่วมกันของโรงเรียนเครือข่ายกับโรงเรียนหลัก

3.    การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบางกิจกรรม สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ไม่ทันสมัยเท่าที่ควรและไม่เพียงพอต่อความต้องการของจำนวนนักเรียน

4.    ผู้ปกครองเป็นห่วงในเรื่องความปลอดภัยในการเดินทาง ความไม่สะดวกในการเดินทางไปเรียนเนื่องจากผู้ปกครองส่วนหนึ่งไม่สามารถที่จะไปรับ-ส่งบุตรหลานได้

5.    การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ผู้นำท้องถิ่น รวมถึงครูและบุคลากรบางส่วนยังให้ความร่วมมือ         ไม่มากนัก และไม่ครอบคุลมทุกพื้นที่บริการ

6.    การรับ - ส่ง นักเรียนโรงเรียนเครือข่าย บางพื้นที่ไม่สะดวกอันเนื่องมาจากระยะทาง

7.    การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง

8.    การจัดสรรงบประมาณค่อนข้างล่าช้า และไม่สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็น

9.    โรงเรียนบางแห่งยังขาดแคลนด้านอาคารสถานที่ วัสดุ สื่อ อุปกรณ์ทางการศึกษา และงบประมาณ           ในการส่งเสริม พัฒนา ทักษะความสามารถทางการเรียนรู้ตามความถนัดของนักเรียน

10. ความต่อเนื่องในการขับเคลื่อน อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์การแพร่ระบาด         ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รนา (น          ารศึกษามัธยมศึกษาน่าน งสา(Covid - 19)

11. การใช้ ICT เพื่อลดภาระงานที่นอกเหนือจากงานสอนของครูและบุคลากรยังไม่ครอบคลุม

12. การใช้กิจกรรมทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เข้มแข็งน่าสนใจ นำสู่การจัดกิจกรรมนอกหลักสูตรของโรงเรียนยังมีน้อย

13. โรงเรียนยังขาดห้องปฏิบัติการ อาคาร อาคารประกอบ และสนามกีฬาที่ได้มาตรฐานเพื่อรองรับ           การเป็นโรงเรียนคุณภาพมัธยมศึกษา ได้แก่ ห้องเรียนภาษา ห้องเรียนกีฬา ห้องเรียนอาชีพ

การปรับปรุงห้องปฏิบัติการให้มีความทันสมัย เช่น ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

14. โรงเรียนยังขาดบุคลากรเจ้าของภาษาที่ตรงกับความสนใจของผู้เรียน ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น

 

 ข้อเสนอแนะ                       

1. ควรกำหนดเป้าหมายและแผนการขับเคลื่อน โรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนคุณภาพระดับประถมศึกษา หรือโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล และดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าประสงค์ที่วางไว้

2. ควรสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้าใจในการดำเนินโครงการโรงเรียนคุณภาพ

3. ควรให้การสนับสนุนโรงเรียนคุณภาพในทุกด้าน ทุกมิติ ทั้งทางด้านกายภาพ ด้านผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา และด้านภาคีเครือข่ายสนับสนุนอาคารเรียน วัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดการเรียนการสอน              ของโรงเรียน 

4. สถานศึกษาควรบูรณาการการเรียนการสอนในบางรายวิชาหรือบางชั้นเรียน เพื่อให้มีการขับเคลื่อนและแนวทางที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทที่แท้จริง

5. จัดกระบวนการ นิเทศติดตาม เพื่อติดตามความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค อย่างต่อเนื่อง

6. มีระบบคลังสื่อ/ แพลตฟอร์มทางการศึกษาที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับโรงเรียน ครูผู้สอนและนักเรียน เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับผู้เรียน

7. สนับสนุนพัฒนาแพลตฟอร์มทางการศึกษาที่ ให้มีความต่อเนื่องและมีสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัยและ            มีความหลากหลาย

8. กำหนดแนวทางหรือมาตรการเกี่ยวกับโรงเรียนขนาดเล็กให้ชัดเจน สร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ปกครอง            ผู้บริหารโรงเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา

9. พัฒนาครูและบุคลากรให้มีขีดความสามารถในการบริหารจัดการและจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ         ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทั้งในรูปแบบ On Site และออนไลน์


 บันทึข้อมูลโดย: นางสุชาดา ไตรจินดา