ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 23 พฤษภาคม 2565

หัวข้อการตรวจกรณีพิเศษ : หนี้สินครู

                การรับรู้และเข้าใจนโยบาย

1.    ประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูฯ ระดับจังหวัด เมื่อวันที่  9  มีนาคม  2565
 เพื่อรับนโยบายจากท่านรัฐมนตรี /ท่านที่ปรึกษา /คณะกรรมการระดับส่วนกลาง

2.    ประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูฯ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา เมื่อวันที่ 8  เมษายน  2565 เพื่อทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการ

          การนำนโยบายไปปฏิบัติ

1.    ทำหนังสือแจ้ง Username และ Password ของแต่ละสถานีแก้หนี้สินครู  เพื่อเข้าไปดูข้อมูล
ของผู้ลงทะเบียนไว้กับโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู “สร้างโอกาสใหม่ให้ครูไทย”
ซึ่งได้เปิดให้มีการลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์  - 15  มีนาคม  2565

2.    นำข้อมูลการลงทะเบียนของหน่วยงานมาจัดกลุ่ม เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

1) กลุ่มที่มีรายได้คงเหลือน้อยกว่าร้อยละ 30

2) กลุ่มที่มีรายได้สูงกว่าร้อยละ 30

          ความก้าวหน้า

      1. จังหวัดน่านมีผู้ลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
          รวมทั้งสิ้น 412 คน  ดังนี้  

ที่

ประเภท

จำนวน

1

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

190

2

ข้าราชการบำนาญ

180

3

ครูโรงเรียนเอกชน

17

4

ครูอัตราจ้าง

2

5

พนักงานราชการ

16

6

อื่นๆ

6

           

2. ลงทะเบียนหนี้จังหวัดน่าน

ที่

สถาบันการเงิน

จำนวน

1

สหกรณ์ออมทรัพย์ครู

368

2

ธนาคารออมสิน

297

3

ธนาคารกรุงไทย

180

4

ธนาคารอาคารสงเคราะห์

48

5

สก.สค.

36

6

หนี้สินอื่น

146

 

3.    สรุปความประสงค์ของผู้ลงทะเบียนแก้ไขหนี้สินครูจังหวัดน่าน

3.1 ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้

3.2 ปรับโครงสร้างหนี้กลุ่มที่มีเงินเดือนเหลือน้อยกว่าร้อยละ 30

 

4.    แต่ละสถานีแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ดำเนินการดังนี้

1) จัดประเภทกลุ่มผู้ลงทะเบียน คือ กลุ่มข้าราชการครู   กลุ่มข้าราชการบำนาญ  และกลุ่มลูกจ้าง  

2) ให้ฝ่ายการเงินฯ ตรวจสอบข้อมูลรายได้ของผู้ลงทะเบียน กลุ่มที่มีรายได้น้อยกว่าละ 30

สพป.น่าน เขต 1    =    กลุ่มข้าราชการ  16 คน

ข้าราชการบำนาญ  46 คน

กลุ่มลูกจ้าง 3 คน

สพป.น่าน เขต 2    =     กลุ่มข้าราชการและลูกจ้าง  16 คน

ข้าราชการบำนาญ  37 คน

(ข้าราชการครู 2 คน และข้าราชการบำนาญ  2 คน

  อยู่ระหว่างการฟ้องร้องจากสถาบันการเงิน)

***สำหรับส่วนหน่วยงานอื่น อยู่ระหว่างดำเนินการ

3) ติดตามตรวจสอบข้อมูลของผู้ลงทะเบียนให้มีความครบถ้วนชัดเจน

4) เตรียมจัดประชุมคณะกรรมการระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อสรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาของผู้ลงทะเบียน

 

ปัญหาอุปสรรค

1.    ข้อมูลการลงทะเบียนในระบบไม่ถูกต้อง ชัดเจน ทำให้ต้องเสียเวลาในการติดตามข้อมูลที่ถูกต้อง

2.    การประชาสัมพันธ์ยังไม่หลากหลาย ทำให้มีผู้รับรู้ข่าวสารและลงทะเบียนไม่ทันตามกำหนดเวลา

3.    การตรวจสอบข้อมูลของผู้ลงทะเบียนต้องตรวจสอบหลายด้านทำให้เกิดความล่าช้าในการสรุปข้อมูลเพื่อดำเนินการ เช่น ตรวจสอบรายได้คงเหลือ ข้อมูลหนี้สิน ข้อมูลเครดิตบูโร เป็นต้น

4.    การประสานงานระหว่างหน่วยงานยังดำเนินการไม่ต่อเนื่อง ทำให้การดำเนินการไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ข้อเสนอแนะ

1. ให้มีการประชาสัมพันธ์ให้กับข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา รับทราบถึงสิทธิประโยชน์ในการเข้าร่วมโครงการให้มากกว่านี้

2. ขยายระยะเวลาการลงทะเบียนแก้ไขหนี้สินครูในครั้งต่อไป

3. กระบวนการแก้ไขปัญหนี้สินควรเป็นระบบที่ชัดเจน

 

หมายเหตุ : ในระดับจังหวัดยังไม่มีการประชุมเพื่อดำเนินการ เนื่องจากรอข้อมูลจากสถานีแก้ไขปัญหา
               หนี้สินครูในภาพรวมของจังหวัดอีกครั้งหนึ่ง

 


 บันทึข้อมูลโดย: นางสุชาดา ไตรจินดา