ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการภาค บันทึกเมื่อวันที่ Date: 01 กุมภาพันธ์ 2565

หัวข้อการตรวจกรณีพิเศษ : การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ Covid-19

วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. - ๑๒.๐๐ น. หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.วรัท พฤกษาทวีกุล) พร้อมด้วยกลุ่มตรวจราชการและติดตามประเมินผล ลงพื้นที่ตรวจ ติดตามการจัดการเรียน การสอนและการดำเนินการตามมาตรการด้านธารณสุขในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๔ ณ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ปทุมธานี สังกัด สพม.ปทุมธานี โรงเรียนได้มีการสำรวจความคิดเห็นของผู้ปกครองในการเปิดภาคเรียนที่ 2/2564 จากจำนวนผู้ปกครองทั้งหมด 718 คน สรุปผู้ปกครองมีความประสงค์ให้นักเรียนเข้าเรียน On-Site จำนวน 692 คน ประสงค์ให้นักเรียนเข้าเรียนแบบ Online จำนวน 28 คน  สถานศึกษาเริ่มเปิดเรียน 1 พฤศจิกายน 2564   ในระบบ Online และ On-site โดยในระแรกเปิดเรียนด้วยระบบ On-site สำหรับนักเรียนชั้น ม.1 และ ม.4 จำนวน 240 คน (1-15 พฤศจิกายน 2564) และเปิดเรียน On-site เต็มระบบครบทุกระดับชั้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2565   

           โรงเรียนได้ดำเนินการตามมาตรการด้านสาธารณสุขในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มาตรการ Sandbox : Safety zone in School ปฏิบัติตามแนวทาง 7 มาตรการเข้มสำหรับสถานศึกษา ส่งเสริมการปฏิบัติการตาม 6 มาตรการหลัก และ 6 มาตรการเสริม ของกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการ   

           การฉีดวัคซีนของครูและบุคลากร  การรับวัคซีนของครู และบุคลากร จำนวนครูฯ ทั้งหมด 126 คน ได้รับวัคซีนเข็ม 2 แล้ว จำนวน 116 คน ได้รับวัคซีนเข็ม 3 แล้ว จำนวน 12 คน ส่วนที่เหลือรอระยะเวลา นัดหมาย   การรับวัคซีนของนักเรียน ข้อมูล ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 718 คน กลุ่มที่ 1 รับวัคซีนไฟเซอร์ จำนวน 409 คน กลุ่มที่ 2 รับวัคซีนวิโนฟาร์ม จำนวน 203 คน กลุ่มที่ 3 รับวัคซีนจากหน่วยงานอื่น จำนวน 103 คน และกลุ่มที่ 4 ไม่ได้รับวัคซีนจำนวน 3 คน (มีโรคประจำตัว 2 คน และรักษาตัวหายจากโควิด 19 ไม่ถึงระยะเวลาที่กำหนด 1 คน)   

           การติดตามอาการสุขภาพของนักเรียน ครู และบุคลากรทุกวัน โรงเรียนมีการจัดทำแบบสำรวจข้อมูลสุขภาพ และการเดินทางประจำวันของนักเรียน การลงทะเบียนผ่าน THAI SAVE THAI  และโรงเรียนได้มีการส่งเสริมการแบ่ง ZONE ปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุ แบ่งเป็น โซลสีเขียว (Safety Zone) โซลสีเหลือง  (Quarantine Zone) และโซลสีแดง (Screening Zone) ทั้ง 3 โซล จัดให้มีป้ายบอกอย่างชัดเจน

รายละเอียดดังเอกสารแนบ


 บันทึข้อมูลโดย: นางเบญจพร โพธิ์ปัดชา