ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 19 เมษายน 2565

หัวข้อการตรวจกรณีพิเศษ : โครงการพาน้องกลับมาเรียน

โรงเรียนมารดานุสรณ์ (สช.) ดำเนินการนำนโยบายสู่การปฏิบัติโครงการพาน้องกลับมาเรียน ดังนี้

1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ

    - ระดับจังหวัด ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน/มีผู้แทนจากหน่วยงานที่ MOU 12 หน่วยงานเป็นกรรมการ และผอ.สพป.เขต 1 ทุกจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ

    - ระดับ สพป./สพม./ศูนย์การศึกษาพิเศษ/อาชีวศึกษาจังหวัด/กศน.จังหวัด/สช.จังหวัด

    - ระดับสถานศึกษา  มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตามคำสั่งที่  3/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา

2. มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ภายใต้ MOU เช่น การประชุม คำสั่งที่มีองค์ประกอบผู้แทนส่วนราชการอื่น (12 ส่วนราชการ) เป็นต้น

3. มีแผนการดำเนินงาน การสำรวจข้อมูล การวิเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อนำสู่การปฏิบัติในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งการติดตามให้คำปรึกษา และรายงานผลการดำเนินงาน

4. มีการกำกับติดตาม โดยใช้ Application “พาน้องกลับมาเรียน” เป็นเครื่องมือลงพื้นที่ สำรวจ ติดตามค้นหา นักเรียน/นักศึกษาที่หลุดระบบ และรายงานผลผ่านเว็บไซต์ http://dropout.edudev.in.th

5. ข้อมูลผลการปฏิบัติ

          - จำนวนผู้เรียนเป้าหมาย   5  คน

          - ติดตามพบตัว     5  คน

          - ยังไม่ได้ติดตาม    0  คน

          - ติดตามแล้วไม่พบตัว   0  คน

          - พบตัว แต่ไม่อยู่ในรายชื่อ   0  คน

6. มีการช่วยเหลือผู้เรียนที่พบตัว เช่น เรียนที่เดิม ส่งต่อไปที่อื่น เช่น ราชประชานุเคราะห์ อาชีวะ อยู่ประจำ กศน. เป็นต้น

7. มีการตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูลเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันให้เป็นปัจจุบันสอดคล้องกับข้อเท็จจริง

วิทยาลัยเทคนิคตราด (สอศ.) ดำเนินการนำนโยบายสู่การปฏิบัติโครงการพาน้องกลับมาเรียน ดังนี้

   1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ

     ระดับจังหวัด

       มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน/         มีผู้แทนจากหน่วยงานที่ MOU 12 หน่วยงานเป็นกรรมการ และผอ. สพป. เขต 1 ทุกจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ

     ระดับ สพป./สพม./ศูนย์การศึกษาพิเศษ/อาชีวศึกษาจังหวัด/กศน.จังหวัด/สช.จังหวัด

       มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานในระดับอาชีวศึกษาจังหวัดตราด โดยมีประธานอาชีวศึกษาจังหวัดตราดเป็นประธาน

     ระดับสถานศึกษา

       มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน โครงการ พาน้องกลับมาเรียน

       1.) คณะกรรมการอำนวยการ

          - ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคตราด เป็นประธานกรรมการ

          - ผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคตราด เป็นคณะกรรมการอานวยการ

          มีหน้าที่ อำนวยการให้คำปรึกษา

สนับสนุน และอำนวยความสะดวก ในการติดตามค้นหาเด็กตกหล่น และเด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

       2.) คณะกรรมการฝ่ายดำเนินงาน

          - รองผู้อำนวยการ ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษา เป็นประธานกรรมการ

          - หัวหน้าสาขาวิชา ทุกสาขาวิชา เป็นกรรมการ

          - หัวหน้างานทะเบียน เป็นกรรมการ

          - หัวหน้างานครูที่ปรึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ

          มีหน้าที่ วางแผนและดำเนินการ การติดตาม ค้นหาเด็กตกหล่น และเด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และสรุปผลการติดตามค้นหาเด็กตกหล่น และเด็กออกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา

       3.) คณะกรรมการดำเนินงานติดตาม ค้นหาเด็ก

          - หัวหน้าสาขาวิชา เป็นประธานกรรมการ (ในแต่ละสาขาวิชา)

          - คณะครูแต่ละสาขาวิชาเป็นกรรมการ

          มีหน้าที่ กำกับ ติดตาม ค้นหาเด็กตกหล่น

 และเด็กออกลางคัน ให้กลับเข้าสู่ระบบ และส่งต่อข้อมูลเด็กตกหล่น และเด็กออกกลางคันให้กับงานครูที่ปรึกษา (มีหลักฐานเป็นคาสั่งวิทยาลัยฯ)

 

   2. มีการประสานความร่วมกับหน่วยอื่น ภายใต้ MOU เช่น การประชุม คำสั่งที่มีองค์ประกอบผู้แทนส่วนราชการอื่น (12 ส่วนราชการ) เป็นต้น

   มีการประสานความร่วมกับหน่วยอื่น ภายใต้ MOU ได้แก่ สถานพินิจและคุ้มครองเยาวชน และมีการวางแผนในการประสานความร่วมกับหน่วยอื่น เพิ่มเติม เช่น สถานประกอบการต่าง ๆ หรือหน่วยงานราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง

 

   3. มีแผนการดำเนินงาน การสำรวจข้อมูล  การวิเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อนำสู่การปฏิบัติในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งการติดตาม ให้คำปรึกษา และรายงานผลการดำเนินงาน

   มีแผนปฏิบัติงานประจำปี เป็นกรอบในการดำเนินงานตามโครงการที่ได้วางไว้

   มีการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนผ่านสาขาวิชา และครูที่ปรึกษา เพื่อรวบรวมข้อมูลและส่งต่อให้งานที่เกี่ยวข้อง เช่น งานครูที่ปรึกษา

นอกจากนี้ มีการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมผ่านงานทะเบียน เกี่ยวกับยอดเด็กที่จะประกาศพ้นสภาพ เพื่อดำเนินการแจ้งผู้เรียน และหาแนวทางในการความช่วยเหลือที่เหมาะสมได้ทันท่วงที

 

    4. มีการกำกับติดตาม โดยใช้ Application “พาน้องกลับมาเรียนเป็นเครื่องมือลงพื้นที่ สำรวจ ติดตาม ค้นหา นักเรียน/นักศึกษา        ที่หลุดระบบ และรายงานผลผ่านเว็บไซต์ http://dropout.edudev.in.th

   มีการกำกับติดตาม โดยใช้ Application    “พาน้องกลับมาเรียนเป็นเครื่องมือลงพื้นที่ สำรวจ ติดตาม ค้นหา นักเรียน/นักศึกษา        ที่หลุดระบบ และรายงานผลผ่านเว็บไซต์ http://dropout.edudev.in.th ได้ครบ

ร้อยละ ๑๐๐ โดยมีการส่งข้อมูลรายชื่อผู้เรียน   ที่ตกหล่นและออกกลางคันในเว็บไซต์ http://dropout.edudev.in.th ผ่านสาขาวิชาของนักเรียน นักศึกษา เพื่อให้ครูที่ปรึกษามีการติดตาม ค้นหา และรวบรวมข้อมูลส่งมายังส่วนกลางคืองานครูที่ปรึกษา เพื่อเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลในเบื้องต้น

 5. ข้อมูลผลการปฏิบัติ

     5.1 วิทยาลัยเทคนิคตราด

          - จำนวนผู้เรียนเป้าหมาย 49 คน

          - ติดตามพบตัว 49 คน และกลับเข้าเรียน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 18.36

     5.2 วิทยาลัยสารพัดช่างตราด

          - จำนวนผู้เรียนเป้าหมาย 6 คน

          - ติดตามพบตัว 6 คน ไม่กลับเข้าเรียน เนื่องจาก ออกไปประกอบอาชีพ มีงานทำ        มีครอบครัว

     5.3 วิทยาลัยการอาชีพบ่อไร่

          - จำนวนผู้เรียนเป้าหมาย 13 คน

          - ติดตามพบตัว 13 คน ไม่กลับเข้าเรียน เนื่องจาก ออกไปประกอบอาชีพ มีงานทำ        มีครอบครัว

     รวมมีผู้เรียน 68 คน ติดตามพบตัว 68 คน และกลับเข้าเรียน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 13.23

 

   6. มีการช่วยเหลือผู้เรียนที่พบตัว เช่น เรียนที่เดิม ส่งต่อไปที่อื่น เช่น ราชประชานุเคราะห์ อาชีวะอยู่ประจำ กศน. เป็นต้น

   มีการติดต่อสื่อสาร พูดคุยเกี่ยวกับสาเหตุและความจำเป็นในการออกกลางคัน และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข

- ผู้เรียนมีความจำเป็นเกี่ยวกับทางบ้าน    จึงต้องออกกลางคัน เพื่อไปทางานหาเลี้ยงตนเองและครอบครัว

     - ผู้เรียนมีการโยกย้ายถิ่นฐาน

     - บางกรณี มีการช่วยเหลือและติดตามผู้เรียนให้กลับมาเรียนในระบบได้ แม้ว่าจะจบการศึกษาล่าช้า หรือจบไม่พร้อมรุ่น

สำนักงาน กศน. จังหวัดตราด ดำเนินนโยบายโครงการพาน้องกลับมาเรียน ดังนี้

1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ

    - ระดับจังหวัด ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน/มีผู้แทนจากหน่วยงานที่ MOU 12 หน่วยงานเป็นกรรมการ และผอ.สพป.เขต 1 ทุกจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ

    - ระดับ สพป./สพม./ศูนย์การศึกษาพิเศษ/อาชีวศึกษาจังหวัด/กศน.จังหวัด/สช.จังหวัด

    - ระดับสถานศึกษา  มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตามคำสั่งที่  3/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา

2. มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ภายใต้ MOU เช่น การประชุม คำสั่งที่มีองค์ประกอบผู้แทนส่วนราชการอื่น (12 ส่วนราชการ) เป็นต้น

3. มีแผนการดำเนินงาน การสำรวจข้อมูล การวิเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อนำสู่การปฏิบัติในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งการติดตามให้คำปรึกษา และรายงานผลการดำเนินงาน

4. มีการกำกับติดตาม โดยใช้ Application “พาน้องกลับมาเรียน” เป็นเครื่องมือลงพื้นที่ สำรวจ ติดตามค้นหา นักเรียน/นักศึกษาที่หลุดระบบ และรายงานผลผ่านเว็บไซต์ http://dropout.edudev.in.th

5. ข้อมูลผลการปฏิบัติ

          - จำนวนผู้เรียนเป้าหมาย   5  คน

          - ติดตามพบตัว     5  คน

          - ยังไม่ได้ติดตาม    0  คน

          - ติดตามแล้วไม่พบตัว   0  คน

          - พบตัว แต่ไม่อยู่ในรายชื่อ   0  คน

6. มีการช่วยเหลือผู้เรียนที่พบตัว เช่น เรียนที่เดิม ส่งต่อไปที่อื่น เช่น ราชประชานุเคราะห์ อาชีวะ อยู่ประจำ กศน. เป็นต้น

7. มีการตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูลเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันให้เป็นปัจจุบันสอดคล้องกับ
ข้อเท็จจริง





 

 




 บันทึข้อมูลโดย: นางรัตนา เมืองจินดา