ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการภาค บันทึกเมื่อวันที่ Date: 01 กรกฎาคม 2564
สรุปผลการตรวจราชการตามนโยบายการตรวจราชการและติดตามประเมินผล
การจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
รอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
และติดตามการจัดการเรียนการสอนตามมาตรการการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID - 19)
ของ
นายวัลลพ สงวนนาม
ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ในวันที่
21 - 23 มิถุนายน 2564
ณ
จังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี
--------------------------------------
ตามที่
นายวัลลพ สงวนนาม ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงพื้นที่ตรวจราชการ
ตามนโยบายการตรวจราชการและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษา รอบที่ 2
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และติดตามการจัดการเรียนการสอนตามมาตรการการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (COVID - 19) ของหน่วยงานการศึกษาในเขตตรวจราชการที่ 5 ในวันที่ 21 – 23
มิถุนายน 2564 ณ จังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช และสุราษฎร์ธานี นั้น
กลุ่มตรวจราชการและติดตามประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการภาค 5 สามารถสรุปผลเป็นรายจังหวัดได้
2 ประเด็น คือ 1. การดำเนินการด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID - 19) และ 2. การได้รับการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID - 19) ดังนี้
จังหวัดพัทลุง
1. การดำเนินการด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (COVID - 19)
1.1 โรงเรียนทุกสังกัดผ่านการประเมินความพร้อมของระบบ Thai Stop Covid Plus (TSCP+) และดำเนินการตาม
6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) ได้แก่ เว้นระยะห่าง (Distancing) ใส่หน้ากาก (Mask Wearing)
ล้างมือ (Hand Washing)
คัดกรองไข้ (Testing) ลดการแออัด (Reducing)
และทำความสะอาด (Cleaning) และ 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) ได้แก่ ดูแลตนเอง (Self Care) ช้อนกลางส่วนตัว (Spoon) อาหารปรุงสุกใหม่ (Eating) ไทยชนะ (Thai Chana)
สำรวจตรวจสอบ (Check) และกักกันตัวเอง (Quarantine)
1.2 โรงเรียนเริ่มทยอยเปิดเรียนในวันที่ 1 7 และ 14 มิถุนายน 2564 ซึ่งในวันที่ 14 มิถุนายน 2564 พบว่าโรงเรียนในจังหวัดเปิดเรียนได้ครบทุกโรง
ทุกสังกัด (ร้อยละ 100) โดยจัดการเรียนการสอน 6 รูปแบบ เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ 1) On Site 2) On Hand 3) Blended
Learning 4) Online 5) On Air และ 6) On Demand และเมื่อพิจารณาเป็นรายสังกัด
พบว่า
1) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
(สพป.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
(สศศ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
(สช.) ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ On Site มากที่สุด
2) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
(สพม.) ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Online มากที่สุด
1.3 โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ อำเภอปากพะยูน
จังหวัดพัทลุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง ใช้รูปแบบ H.T. School Model ในการจัดการเรียนการสอนภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2564 ตามนโยบายของ สพฐ. และสอดคล้องตามมาตรการของกรมควบคุมโรค
กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยมีองค์ประกอบ 4 ส่วนหลัก คือ H.T. Learn, H.T. Check, H.T.Pay และ H.T.Plus ที่มุ่งเน้นกระบวนการพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
คำนึงถึงความปลอดภัยของครูและนักเรียน
เป็นสำคัญ
1.4 ปัญหา อุปสรรค
1)
ผู้ปกครองและนักเรียนขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์เทคโนโลยี
2) ผู้ปกครองบางส่วนต้องทำงานนอกบ้าน
ไม่มีเวลาดูแลบุตรหลานในเรื่องการเรียน
3) โรงเรียนขาดแคลนงบประมาณในการทำเอกสาร
ใบงาน
4) ครูส่วนใหญ่ขาดทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อผลิตสื่อการสอนออนไลน์
และการใช้งานแอพลิเคชั่น
5)
การจัดพื้นที่เว้นระยะห่างตามมาตรการป้องกันฯ เป็นอุปสรรคสำหรับโรงเรียนขนาดใหญ่และโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนต่อห้องเรียนมาก
2.
การได้รับการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)
2.1 บุคลากร (ครู บุคลากรในโรงเรียนและหน่วยงาน)
สังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดพัทลุง
มีจำนวน 6,569 คน ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว จำนวน 491 คน คิดเป็นร้อยละ 7.47 โดยมีผู้ไม่ประสงค์รับวัคซีน จำนวน 490 คน คิดเป็นร้อยละ 7.44 ทั้งนี้
สามารถจำแนกเป็นรายหน่วยงานได้ดังนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2564)
หน่วยงาน |
จำนวนครู บุคลากร |
ผู้ได้รับวัคซีนแล้ว |
ผู้ไม่ประสงค์ |
||
จำนวน |
ร้อยละ |
จำนวน |
ร้อยละ |
||
1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) |
3,175 |
268 |
8.44 |
328 |
10.33 |
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
(สพม.) |
1,531 |
95 |
6.21 |
98 |
6.40 |
3. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) |
67 |
6 |
8.96 |
6 |
8.96 |
4. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
(สช.) |
1,039 |
49 |
4.72 |
- |
- |
5. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) |
498 |
33 |
5.52 |
33 |
5.52 |
6. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(กศน.) |
214 |
26 |
12.15 |
25 |
11.68 |
7. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพัทลุง
(ศธจ.พัทลุง) |
45 |
14 |
31.11 |
- |
- |
2.2 การติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ของบุคลากร (ครู บุคลากรในโรงเรียนและหน่วยงาน) และนักเรียน
สังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดพัทลุง ดังนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2564)
1) ครู จำนวน 1 คน และนักเรียน จำนวน 5 คน
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ติดเชื้อ ขณะนี้ครู และนักเรียน จำนวน 4 คน รักษาหายและออกจากโรงพยาบาลแล้ว คงเหลือนักเรียน
จำนวน 1 คน ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล
2) นักเรียน จำนวน 1 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง ติดเชื้อและยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล
จังหวัดนครศรีธรรมราช
1. การดำเนินการด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (COVID - 19)
1.1 โรงเรียนทุกสังกัดผ่านการประเมินความพร้อมของระบบ Thai Stop Covid Plus (TSCP+) และดำเนินการตาม
6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) ได้แก่ เว้นระยะห่าง (Distancing) ใส่หน้ากาก (Mask Wearing)
ล้างมือ (Hand Washing)
คัดกรองไข้ (Testing) ลดการแออัด (Reducing)
และทำความสะอาด (Cleaning) และ 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) ได้แก่ ดูแลตนเอง (Self Care) ช้อนกลางส่วนตัว (Spoon) อาหารปรุงสุกใหม่ (Eating) ไทยชนะ (Thai Chana)
สำรวจตรวจสอบ (Check) และกักกันตัวเอง (Quarantine)
1.2 ภาพรวมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน มี 5
รูปแบบ คือ 1) Online 2) On
Air
3) On Demand 4) On Hand และ 5) Blended Learning และเมื่อพิจารณาเป็นรายสังกัด พบว่า
1) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.)
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
(สช.) ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ On Hand มากที่สุด
2)
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)
และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ
Online
มากที่สุด
1.3 โรงเรียนชุมชนบ้านนาวา
อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จัดการเรียนการสอนแบบ
Online และ On
Hand ซึ่งข้อมูลที่ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการได้พูดคุยสอบถามกับผู้ปกครองผ่านรูปแบบ
Online พบว่า ผู้ปกครอง
พึงพอใจกับการจัดกิจกรรมในรูปแบบ On Hand เพราะเป็นรูปแบบที่ผู้ปกครองสามารถบริหารจัดการเวลา
เพื่อเป็นครู/ พี่เลี้ยงสอนหนังสือให้บุตรหลานได้
โดยไม่กระทบกับเวลาในการประกอบอาชีพส่วนตัว
1.4 ศบค. จังหวัดนครศรีธรรมราช กำหนดเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา
2564 (รูปแบบ On Site) ในวันที่ 12 กรกฏาคม 2564
1.5 ปัญหา อุปสรรค
1) ผู้ปกครองไม่มีความรู้
ไม่สามารถสอนหรือให้ความรู้แก่บุตรหลานได้
2) ผู้ปกครองต้องทำงานนอกบ้าน
ไม่มีเวลาเอาใจใส่การเรียนของบุตรหลานได้อย่างเต็มที่
3) ขาดแคลนอุปกรณ์เทคโนโลยี
ไม่มีความพร้อมเรื่องสัญญาณอินเตอร์เน็ต
4)
นักเรียนขาดความกระตือรือร้น เอาใจใส่ เกิดความไม่เข้าใจ
ทำให้เรียนไม่ทัน
5)
โรงเรียนขาดแคลนงบประมาณในการทำเอกสาร ใบความรู้
6) บางครอบครัวมีอุปกรณ์เทคโนโลยีสำหรับใช้เรียนออนไลน์ไม่เพียงพอกับจำนวนบุตรหลาน
7) สถานที่เรียนไม่เหมาะสม
ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้
1.6
ข้อเสนอแนะ
1) ให้ความช่วยเหลือ
สนับสนุนเรื่องอุปกรณ์เทคโนโลยี สัญญาณอินเตอร์เน็ต
2)
จัดสรรงบประมาณด้านการจัดทำเอกสาร
3) ควรจัดทำและพัฒนาแบบเรียนสำเร็จรูป
เพื่อความสะดวกและเข้าถึงได้ง่ายสำหรับนักเรียน ผู้ปกครอง และเป็นการแก้ปัญหาระยะยาวในสถานการณ์ปัจจุบัน
4) โรงเรียนต้องให้ข้อมูล
คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแก่ผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง
5) จัดการศึกษาโดยครอบครัวในรูปแบบ “บ้านเรียน” ภายใต้กลยุทธ์ บ้านสร้าง
โรงเรียนสนับสนุน เขตพื้นที่ส่งเสริม ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองมากขึ้น
2.
การได้รับการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)
2.1 บุคลากร (ครู
บุคลากรในโรงเรียนและหน่วยงาน) สังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดนครศรีธรรมราช
มีจำนวน 17,538 คน ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว จำนวน 1,203 คน คิดเป็นร้อยละ 6.86
ทั้งนี้ สามารถจำแนกเป็นรายหน่วยงานได้ดังนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2564)
หน่วยงาน |
จำนวนครู บุคลากร |
ผู้ได้รับวัคซีนแล้ว |
ผู้ไม่ประสงค์ |
||
จำนวน |
ร้อยละ |
จำนวน |
ร้อยละ |
||
1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) |
8,127 |
742 |
9.13 |
- |
- |
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
(สพม.) |
2,932 |
386 |
13.17 |
- |
- |
3. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) |
100 |
0 |
0 |
- |
- |
4. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
(สช.) |
4,070 |
13 |
0.32 |
- |
- |
5. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) |
1,791 |
34 |
1.90 |
- |
- |
6. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(กศน.) |
420 |
23 |
5.48 |
- |
- |
7. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครศรีธรรมราช |
65 |
5 |
7.69 |
- |
- |
8. สำนักงานศึกษาธิการภาค
5 (ศธภ.5) |
33 |
0 |
0 |
- |
- |
2.2 การติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID - 19) ของบุคลากร (ครู
บุคลากรในโรงเรียนและหน่วยงาน) และนักเรียน
สังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดนครศรีธรรมราช พบผู้ติดเชื้อเป็นครู จำนวน 1 คน
และนักเรียน จำนวน 8 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช
เขต 2 ขณะนี้ครู และนักเรียน จำนวน 2 คน รักษาหายและออกจากโรงพยาบาลแล้ว
คงเหลือนักเรียน จำนวน 6 คน ยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล (ข้อมูล ณ
วันที่ 14 มิถุนายน 2564)
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
1. การดำเนินการด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (COVID - 19)
1.1 โรงเรียนทุกสังกัดผ่านการประเมินความพร้อมของระบบ Thai Stop Covid Plus (TSCP+) และดำเนินการตาม
6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) ได้แก่ เว้นระยะห่าง (Distancing) ใส่หน้ากาก (Mask Wearing)
ล้างมือ (Hand Washing)
คัดกรองไข้ (Testing) ลดการแออัด (Reducing)
และทำความสะอาด (Cleaning) และ 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) ได้แก่ ดูแลตนเอง (Self Care) ช้อนกลางส่วนตัว (Spoon) อาหารปรุงสุกใหม่ (Eating) ไทยชนะ (Thai Chana)
สำรวจตรวจสอบ (Check) และกักกันตัวเอง (Quarantine)
1.2 โรงเรียนเริ่มทยอยเปิดเรียนในวันที่ 1. 7 และ 14 มิถุนายน 2564 โดยจัดการเรียนการสอน
5 รูปแบบ คือ 1) Online 2) On Air 3) On Demand 4) On Hand และ 5) Blended Learning
1.3 หน่วยงานต้นสังกัดสำรวจและประเมินความต้องการของผู้ปกครองและนักเรียนเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน
ตลอดจนความพร้อมของโรงเรียน และให้โรงเรียนดำเนินการตามรูปแบบที่เหมาะสม
เมื่อพิจารณาเป็นรายสังกัด พบว่า
1) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.)
ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ On Hand มากที่สุด (ใบงานจากโรงเรียน
และใบงานที่ได้รับสนับสนุนจากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
ในพระบรมราชูปถัมภ์)
2) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
(สพม.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Online มากที่สุด อย่างไรก็ตาม
โรงเรียนในสังกัด สอศ. ก็ยังใช้รูปแบบ Blended Learning (Online + On Site) ร่วมด้วย สำหรับการฝึกปฏิบัติของนักเรียน
นักศึกษา ไม่เกิน 20 คน
1.4 การนิเทศ ติดตาม และรายงานข้อมูล ปัญหา
อุปสรรค ในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนไปยังหน่วยงานต้นสังกัดอยู่ในรูปแบบ Online
1.5 ศบค. จังหวัดสุราษฎร์ธานี กำหนดเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2564 (รูปแบบ On Site) ในวันที่ 28 มิถุนายน 2564 สำหรับโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สีเขียว
(อ.ท่าชนะ อ.ไชยา อ.ท่าฉาง อ.พนม และ อ.คีรีรัฐนิคม) ต้องผ่านเกณฑ์ คือ 1)
จำนวนนักเรียนไม่เกิน 120 คน 2) ผ่านการประเมินระบบ
Thai
Stop Covid Plus (TSCP+) และได้รับอนุญาตจาก
ศปก.อำเภอ จึงจะเปิดเรียนรูปแบบ On Site ได้
1.6 ปัญหา อุปสรรค
1) ขาดแคลนงบสนับสนุนจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันให้บุคลากรทางการศึกษา
2) การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ไม่เหมาะกับการฝึกปฏิบัติของผู้เรียนสายอาชีวศึกษา
3) ผู้เรียนมีความพร้อมไม่เท่ากันในการเรียนออนไลน์ เช่น
โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ สัญญาณอินเทอร์เน็ต
4) ผู้ปกครองมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการซื้อแพ็คเกจอินเตอร์เน็ต
เพื่อใช้ในการเรียนออนไลน์ของบุตรหลาน
5) นักเรียนขาดอุปกรณ์เทคโนโลยีในการเรียนออนไลน์
6) โรงเรียนขาดการปรับปรุง
และพัฒนาระบบการเรียนการสอนทางไกล
7) ผู้ปกครองไม่มีความรู้และไม่มีเวลาเต็มที่ในการดูแลการเรียนของบุตรหลาน
2.
การได้รับการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)
2.1 บุคลากร (ครู
บุคลากรในโรงเรียนและหน่วยงาน) สังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
มีจำนวน 12,282 คน ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว จำนวน 3,499 คน คิดเป็นร้อยละ 28.49 ทั้งนี้ สามารถจำแนกเป็นรายหน่วยงานได้ดังนี้ (ข้อมูล ณ
วันที่ 21 มิถุนายน 2564)
หน่วยงาน |
จำนวนครู บุคลากร |
ผู้ได้รับวัคซีนแล้ว |
ผู้ไม่ประสงค์ |
||
จำนวน |
ร้อยละ |
จำนวน |
ร้อยละ |
||
1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) |
6,245 |
1,788 |
28.63 |
- |
- |
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
(สพม.) |
2,158 |
631 |
29.24 |
- |
- |
3. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.) |
212 |
1 |
0.47 |
- |
- |
4. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
(สช.) |
2,447 |
919 |
37.56 |
- |
- |
5. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) |
845 |
32 |
3.79 |
- |
- |
6. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(กศน.) |
332 |
124 |
37.35 |
- |
- |
7. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
(ศธจ.สุราษฎร์ธานี) |
43 |
4 |
9.30 |
- |
- |
2.2 การติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID - 19) ของบุคลากร (ครู
บุคลากรในโรงเรียนและหน่วยงาน) และนักเรียน
สังกัดกระทรวงศึกษาธิการในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 22 มิถุนายน 2564)
1) ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน ครู จำนวน 1 คน และนักเรียน จำนวน 5 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี
เขต 1 ติดเชื้อ รักษาหายและออกจากโรงพยาบาลแล้ว จำนวน 5 คน คงเหลือรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล จำนวน 2 คน
2) ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 8 คน และนักเรียน จำนวน 14 คน สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี
เขต 2 ติดเชื้อ รักษาหายและออกจากโรงพยาบาลแล้ว จำนวน 19 คนคงเหลือรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล จำนวน 3 คน
3) นักเรียน จำนวน 6 คน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ติดเชื้อ รักษาหายและออกจากโรงพยาบาลแล้วทุกคน
ข้อเสนอแนะของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
1) หน่วยงานต้นสังกัดควรกำชับโรงเรียนให้ดำเนินการตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเคร่งครัด
และจัดทำแผนเผชิญเหตุเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (COVID - 19) ในโรงเรียน
2) โรงเรียนควรประเมินความพร้อมของระบบ Thai Stop Covid Plus (TSCP+)
อย่างจริงจัง
ในทุกเดือน เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (COVID - 19) ตลอดเวลา
3) หน่วยงานต้นสังกัดและโรงเรียนต้องจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เรียนมากที่สุด
ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) และมีการติดตาม ประเมินผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ไม่เข้มข้นมากนัก
4) หน่วยงานต้นสังกัดควรออกแบบการนิเทศ ติดตามการจัดการเรียนการสอนที่ง่าย
สะดวก และสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) เพื่อให้ผู้บริหารและครูเกิดทักษะ ความรู้ในการปฏิบัติงาน
5) โรงเรียนควรออกแบบโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Online อย่างเป็นระบบ
จังหวัดพัทลุง
หน่วยงาน |
การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ |
ปัญหา อุปสรรค |
ข้อเสนอแนะ |
1.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 |
1.
โรงเรียนผ่านการประเมินระบบ Thai Stop Covid Plus (TSCP+) และดำเนินการตามแนวทางการป้องกัน
2. โรงเรียนเริ่มเปิดเรียนตั้งแต่วันที่ 1-14 มิถุนายน
2564 ได้ครบทุกโรง (116 โรง คิดเป็นร้อยละ 100) โดยจัดการเรียนการสอน 4
รูปแบบ คือ 1) On Site 2) On
Air 3) On
Hand 4) Blended
Learning ซึ่งเป็นรูปแบบที่โรงเรียนใช้มากที่สุด |
1. ผู้ปกครองและนักเรียนขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์เทคโนโลยี 2. ผู้ปกครองบางส่วนต้องทำงานนอกบ้าน
ไม่มีเวลาดูแลบุตรหลานในเรื่องการเรียน 3. โรงเรียนขาดแคลนงบประมาณในการทำเอกสาร
ใบงาน 4. ครูส่วนใหญ่ขาดทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อผลิตสื่อการสอนออนไลน์
และการใช้งานแอพลิเคชั่นเสริม |
|
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 |
1.
โรงเรียนผ่านการประเมินระบบ Thai Stop Covid Plus (TSCP+) และดำเนินการตามแนวทางการป้องกัน
2. โรงเรียนเริ่มเปิดเรียนตั้งแต่วันที่ 1-14 มิถุนายน
2564 โดยจัดการเรียนการสอน 4 รูปแบบ คือ |
|
|
หน่วยงาน |
การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ |
ปัญหา อุปสรรค |
ข้อเสนอแนะ |
|
1) On Site 2) On
Air 3) On
Hand 4) Blended
Learning |
|
|
3. สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดพัทลุง |
1. โรงเรียนเริ่มเปิดเรียนตั้งแต่วันที่ 1-14 มิถุนายน
2564 ครบทุกโรง (7 โรง คิดเป็นร้อยละ 100) โดยจัดการเรียนการสอน 3 รูปแบบ คือ 1) On Site 2) On
Line 3) Blended
Learning |
|
|
4. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพัทลุง |
1. โรงเรียนทุกสังกัดในพื้นที่ ผ่านการประเมินระบบ Thai Stop Covid
Plus (TSCP+) และเริ่มเปิดเรียนตั้งแต่วันที่
1-14
มิถุนายน 2564 โดยจัดการเรียนการสอน 6 รูปแบบ เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ 1) On Site 2) On
Hand 3)
Blended Learning 4)
On Line 5) On Air |
|
|
หน่วยงาน |
การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ |
ปัญหา อุปสรรค |
ข้อเสนอแนะ |
|
6) On Demand 2.
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
(สพป.) สำนักงานคณะกรรมการการอาขีวศึกษา (สอศ.) สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
(สศศ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช,)
ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ On Site 3.
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
(สพม.) ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ On Line 4. กศน.พัทลุง ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ 3 รูปแบบ คือ On Site, On Line และ On
Hand |
|
|
จังหวัดนครศรีธรรมราช
หน่วยงาน |
การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ |
ปัญหา อุปสรรค |
ข้อเสนอแนะ |
1.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1
|
การจัดการเรียนการสอนมี 5 รูปแบบ คือ 1) On Air 2) On
Line 3) On demand 4) Blended
Learning 5) On Hand ซึ่งเป็นรูปแบบที่โรงเรียน |
1.
ผู้ปกครองไม่มีความรู้ ไม่สามารถสอนหรือให้ความรู้แก่บุตรหลานได้ 2.
ผู้ปกครองต้องทำงานนอกบ้าน ไม่มีเวลาเอาใจใส่การเรียนของบุตรหลานได้อย่างเต็มที่ 3.
ขาดแคลนอุปกรณ์เทคโนโลยี ไม่มีความพร้อมเรื่องสัญญาณอินเตอร์เน็ต 4. นักเรียนขาดความกระตือรือร้น เอาใจใส่
เกิดความไม่เข้าใจ ทำให้เรียนไม่ทัน 5. โรงเรียนขาดแคลนงบประมาณในการทำเอกสาร
ใบความรู้ 6. บางครอบครัวมีอุปกรณ์เทคโนโลยีสำหรับใช้เรียนออนไลน์ไม่เพียงพอกับจำนวนบุตรหลาน 7. สถานที่เรียนไม่เหมาะสม
ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้
|
1.
ให้ความช่วยเหลือเรื่องอุปกรณ์เทคโนโลยี สัญญาณอินเตอร์เน็ต 2.
จัดสรรงบประมาณด้านการจัดทำเอกสาร 3. จัดการศึกษาโดยครอบครัวในรูปแบบ
“บ้านเรียน” ภายใต้กลยุทธ์ บ้านสร้าง โรงเรียนสนับสนุน เขตพื้นที่ส่งเสริม
ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครองมากขึ้น |
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช
เขต 2 |
1.
โรงเรียนผ่านการประเมินระบบ Thai Stop Covid Plus (TSCP+) และดำเนินการตาม 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) และ 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) 2. การจัดการเรียนการสอน มี 5 รูปแบบ คือ 1) On Site (รร.ขนาดเล็ก ไม่เกิน 60 คน) 2) On
Air 3) On Line 4) On demand 5) On
Hand
เป็นรูปแบบที่ใช้มากที่สุด
|
1.
ควรจัดทำและพัฒนาแบบเรียนสำเร็จรูป
เพื่อความสะดวกและเข้าถึงได้ง่ายสำหรับนักเรียน ผู้ปกครอง
และเป็นการแก้ปัญหาระยะยาวในสถานการณ์ปัจจุบัน 2, โรงเรียนต้องให้ข้อมูล
คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแก่ผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง |
|
หน่วยงาน |
การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ |
ปัญหา อุปสรรค |
ข้อเสนอแนะ |
3.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครศรีธรรมราช |
1. โรงเรียนทุกสังกัดในพื้นที่จัดการเรียนการสอน 5 รูปแบบ คือ 1) On Line 2) On
Air 3) On Demand 4) On Hand 5) Blended Learning 2.
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
(สพป.) สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.)
และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช,)
ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ On Hand มากที่สุด 3.
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
(สพม.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)
และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
(กศน.)ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ On Line มากที่สุด |
|
|
หมายเหตุ ศบค. จังหวัดนครศรีธรรมราช กำหนดเปิดภาคเรียนที่
1 ประจำปีการศึกษา 2564 (รูปแบบ On Site) ในวันที่ 12 กรกฏาคม 2564
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
หน่วยงาน |
การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ |
ปัญหา อุปสรรค |
ข้อเสนอแนะ |
|
1.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 |
1. หน่วยงานต้นสังกัดสำรวจและประเมินผลความต้องการของผู้ปกครองและนักเรียนเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอน
และกำหนดให้ดำเนินการตามรูปแบบที่ต้องการ |
|
|
|
2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2
|
1. โรงเรียนผ่านการประเมินระบบ Thai Stop
Covid Plus (TSCP+) และดำเนินการตาม 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) และ 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) 2. การจัดการเรียนการสอนมี
4 รูปแบบ คือ 1) On Line 2) On demand 3) Blended
Learning 4) On
Hand ซึ่งเป็นรูปแบบที่โรงเรียน 3.
มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้สนับสนุนใบงาน สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนไม่เกิน
60
คน
(24
โรง) 4.
โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่สีเขียว
(อ.ท่าชนะ |
|
|
|
หน่วยงาน |
การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ |
ปัญหา อุปสรรค |
ข้อเสนอแนะ |
|
|
อ.ไชยา อ.ท่าฉาง อ.พนม และ
อ.คีรีรัฐนิคม) มีนักเรียนไม่เกิน 120 คน และผ่านการประเมินระบบ Thai Stop Covid Plus (TSCP+) แล้ว สามารถจัดการเรียนการสอนรูปแบบ
On
Site
ได้ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2564 |
|
|
|
3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร |
1. โรงเรียนผ่านการประเมินระบบ Thai Stop Covid Plus (TSCP+) ครบทุกโรง (66 โรง คิดเป็นร้อยละ 100) โดยจัดการเรียนการสอน 4 รูปแบบ คือ 1) On Line ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้มากที่สุด 2) On
Hand 3)
On Air 4)
On Demand |
|
|
|
4. สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี |
1. โรงเรียนผ่านการประเมินระบบ Thai Stop Covid
Plus (TSCP+) และดำเนินการตามแนวทางการป้องกัน
2. จัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ของอาชีวศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ศบค.อศจ.สุราษฎร์ธานี)
เพื่อรายงาน |
1. ขาดแคลนงบสนับสนุนจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันให้บุคลากรทางการศึกษา 2. การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ไม่เหมาะกับการฝึกปฏิบัติของผู้เรียนสายอาชีวศึกษา 3. ผู้เรียนมีความพร้อมไม่เท่ากันในการ |
|
|
หน่วยงาน |
การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ |
ปัญหา อุปสรรค |
ข้อเสนอแนะ |
|
|
สถานการณ์ประจำวัน
และเผยแพร่ลงเว็บไซต์ ww.covic.moe.go.th 3. โรงเรียนจัดการเรียนการสอน 2
รูปแบบ คือ 1) On Line ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้มากที่สุด 2) Blended Learning (On
Line + On Site) เพื่อฝึกปฏิบัติ (ไม่เกิน 20 คน) |
เรียนออนไลน์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์
สัญญาณอินเทอร์เน็ต |
|
|
|
1. โรงเรียนผ่านการประเมินระบบ Thai Stop
Covid Plus (TSCP+) และดำเนินการตาม 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) และ 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) 2. โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.)
ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ On Hand มากที่สุด 3.
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
(สพม.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) |
1. ผู้ปกครองมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการซื้อแพ็คเกจอินเตอร์เน็ต
เพื่อใช้ในการเรียนออนไลน์ของบุตรหลาน 2. นักเรียนขาดอุปกรณ์เทคโนโลยีในการเรียนออนไลน์ 3. ขาดงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกในการดำเนินการตามมาตรการการป้องกันโรค 4. โรงเรียนขาดการปรับปรุง
และพัฒนาระบบการเรียนการสอนทางไกล 5. ผู้ปกครองไม่มีความรู้และไม่มีเวลาเต็มที่ในการดูแลการเรียนของบุตรหลาน |
|
บันทึข้อมูลโดย: