ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการภาค บันทึกเมื่อวันที่ Date: 06 กันยายน 2564
vตรวจราชการจังหวัดอำนาจเจริญ วันที่ 6 กันยายน 2564 เวลา 13.30 - 16.30 น.
ตรวจราชการวิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีผลการดำเนินงาน ดังนี้
การตรวจราชการกรณีปกติ
1. ด้านความมั่นคง วิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญได้ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้ที่เรียนมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง และมีคุณธรรมความเป็นพลเมืองดีปลูกฝังความมีระเบียบวินัย โดยการจัดการเรียนการสอนวิชาลูกเสือวิสามัญ ๑ และรายวิชาลูกเสือสามัญ ๒ จัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรม พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ได้แก่ โครงการลูกเสือจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ โครงการฝึกอบรมลูกเสืออาสาจราจร โครงการลูกเสือจิตอาสาพระราชทาน ๙๐๔ ซึ่งส่งผลให้นักเรียนนักศึกษามีคุณธรรม มีระเบียบวินัย มีจิตอาสาบริการตามคติพจน์ลูกเสือวิสามัญ
2. ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
วิทยาลัยมีการพัฒนาทักษะกำลังคน เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงาน จัดอบรมและทดสอบให้กับนักเรียนนักศึกษาที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาและประชาชนทั่วไป มีโครงการดังนี้ โครงการแข่งขันทักษะระดับอาชีวศึกษา โครงการทดสอบมาตรฐานวิชาชีพ โครงการฝึกอบรมเขียนแผนธุรกิจและการสร้างผู้ประกอบการ โครงการพระครูสอนศีลธรรม โครงการทดสอบมาตรฐานการศึกษา (V-Net) โครงการหลักสูตรระยะสั้น โครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่
การจัดการศึกษาแบบทวิศึกษา และห้องเรียนอาชีพสู่การสร้างอนาคตให้ผู้เรียนมีอาชีพและมีงานทำวิทยาลัยได้ประชุมการลงนามความร่วมมือห้องเรียนอาชีพ และจัดตั้งศูนย์พัฒนาอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการกระทรวงศึกษาธิการประจำจังหวัดอำนาจเจริญ
การขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) สาขาวิชาช่างกลโรงงาน ได้มีผู้สนใจสมัครเข้าศึกษาต่อเป็นอันดับ 1 และได้ทำ MOU กับสถานประกอบการหลายแห่ง ได้แก่ สยามคอมเพรสเชอร์ หลินอันดัสตรี และไทยโชว์ CANNON ปราจีนบุรี ส่งนักศึกษาฝึกประสบการณ์ 1 ปี มีรายได้ระหว่างฝึกงานขั้นต่ำ 15,000 - 18,000 บาท
3. ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ การส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาจัดการเรียน การสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 วิทยาลัยได้จัดทำกระบวนการเรียนการสอนเทคนิคการสอนสำหรับนักเรียนนักศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 มีการใช้กระบวน PLC จัดกิจกรรม การเรียน ที่ทำให้นักเรียนนักศึกษาได้เป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเองในทุกขั้นตอนและให้นักเรียนนักศึกษาร่วมออกแบบเรียนรู้จัดทำสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ประกวดในระดับจังหวัด ระดับภาคและระดับชาติ
การพัฒนาครูให้มีทักษะความรู้และความชำนาญการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และภาษาอังกฤษ รวมทั้งการจัดการเรียนการสอน (Human Capital Excellence Center : HCEC) วิทยาลัยได้จัดการเรียนการสอนภาษา อังกฤษในการสื่อสารมากขึ้น โดยออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนอ่านออก เขียนได้และสื่อสารได้ขั้นพื้นฐาน จึงได้จัดตั้งชมรมภาษาอังกฤษในการเตรียมความพร้อมด้านการศึกษา เพื่อจะได้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เสริมสร้างศักยภาพ เพิ่มพูนสมรรถนะและเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษ และได้มีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารชีวิตประจำวันมากขึ้นได้มีโครงการที่ดำเนินการ ดังนี้ 1. โครงการ English on tour 2. โครงการชมรมภาษาอังกฤษ 3. โครงการอบรมภาษาอังกฤษให้มีทักษะความรู้ระหว่างครูและนักเรียน (ทุน กสศ.) 4. โครงการค่ายภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาทักษะครูผู้สอน
4. ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม การใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ และใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือการเรียนรู้เพื่อพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ (Digital Education Excellence Platform : DEEP) ได้มีการส่งเสริมสถานศึกษาในสังกัดอาชีวะ ดำเนินกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง และมีคุณธรรม ความเป็นพลเมืองด้านการใช้สื่อ ปลูกฝังความมีระเบียบวินัยและสถานศึกษาดำเนินกิจกรรมการใช้แพลตฟอร์ม เพื่อเพิ่มและพัฒนาศักยภาพของครูและนักเรียน นักศึกษา มีการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ สนับสนุนการดำเนิน โครงการ กิจกรรมต่างๆ ได้แก่ โครงการอบรมพัฒนาครู ด้วยระบบแพลตฟอร์ม Google โครงการสร้างสื่อโซเชียลคอนด์เทนต์ โครงการสร้างอินโฟรกราฟิกการการออกแบบด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปโฟโตช๊อป เป็นต้น
ความปลอดภัยของผู้เรียน วิทยาลัยได้จัดอบรมการรักษาความปลอดภัยด้านการจราจรขับขี่ปลอดภัยของนักเรียนนักศึกษา เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนนให้นักเรียนนักศึกษาได้เข้าใจกฎจราจรและวิธีการขับขี่รถจักรยานยนต์ ให้ถูกต้อง การอบรมได้เพิ่มความรู้เกี่ยวกับปัญหาและวิธีการแก้ไขที่เกิดขึ้นจากยาเสพติด ที่จะส่งผลกระทบต่อผู้เรียน วิทยาลัยจำเป็นต้องใช้ความร่วมมือกับครูและนักเรียนนักศึกษาในการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง พร้อมขับเคลื่อนนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมุ่งสร้างความเข้าใจถึงเครือข่ายระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ให้เข้ามา มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
5. ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ วิทยาลัยได้พัฒนาซ่อมแซม ชุมชนในถิ่นทุรกันดารและโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนห้วยกระแสน, โรงเรียนดานกอย, โรงเรียนห้วยฆ้อง และได้มีการพัฒนาซ่อมแซม ดังนี้ 1. ติดตั้งคอมพิวเตอร์ DLTV 2. สร้างอาชีพให้กับชุมชน 3. พัฒนาสนามเด็กเล่น
การตรวจราชการกรณีพิเศษ
การจัดการเรียนการสอนและมาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) วิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญมีมาตรการป้องกัน COVID-19 ได้ตรวจวัดภูมิร่างกาย เจลล้างมือ พร้อมให้นักเรียนนักศึกษาสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง ไม่มีผู้ติดเชื้อในวิทยาลัย
ปัญหาอุปสรรค
1. ด้านผู้เรียน ยังมีนักศึกษาบางส่วนที่ยังไม่เข้าใจต่อกระบวนการของลูกเสือในการพัฒนาคุณภาพของการเป็นเยาวชนพลเมืองดี
2. วิทยาลัยตั้งอยู่ห่างไกลจากย่านอุตสาหกรรม
3. เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้สถานประกอบการงดรับนักเรียนนักศึกษาฝึกงาน ทำให้ขาดแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพและขาดรายได้เพื่อใช้เป็นทุนการศึกษา
4. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในพื้นที่ ต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรม มีรูปแบบมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด การดำเนินกิจกรรม เช่น กิจกรรมจึงขาดความต่อเนื่องและบางกิจกรรมไม่สามารถดำเนินการได้อีกทั้งส่งผลให้นักเรียนบางกลุ่ม ขาดโอกาสในการร่วมกิจกรรม เช่น นักเรียนที่มีความพิการรุนแรง เป็นต้น
5. ขาดการนำผลการนิเทศ มาวิเคราะห์อภิปรายผล เพื่อนำไปพัฒนางานโครงการกิจกรรม
ข้อเสนอแนะ
1. วิทยาลัยควรจัดให้มีระบบโรงเรียนโรงงาน เพื่อให้นักศึกษาได้มีแหล่งฝึกประสบการณ์ตรงและทันสมัย
2. จัดสรรงบประมาณสนับสนุน เพื่อสามารถดำเนินกิจกรรมภายใต้ สถานการณ์โรคติด เชื้อไวรัส โคโรนา (COVID-19)
3. สนับสนุนให้เกิดการอบรม พัฒนาทักษะบุคลากรให้มีความรู้ มีทักษะด้านการดำเนิน กิจกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะคอมพิวเตอร์ โดยให้มีหน่วยจัดอบรมให้ความรู้เรื่องหลักสูตรฯ ให้เป็นแนวทางเดียวกัน
นวัตกรรม/ต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice)
1. วิทยาลัยเทคนิคอำนาจเจริญใช้กิจกรรมโครงการเป็นกลไกในการสร้างคุณธรรมจริยธรรม พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามกรอบนโยบายคุณธรรมอัตลักษณ์ของสถานศึกษา “จิตอาสา สัมมาคารวะ มีวินัย มีความรับผิดชอบ” จนสถานศึกษาได้รับรางวัลสถานศึกษาคุณธรรมอาชีวศึกษาต้นแบบ รางวัล”สถาบันอาชีวะศึกษาประชาธิปไตยต้นแบบภาครัฐ จากคณะกรรมการโครงการส่งเสริมคุณธรรมและวิถีประชาธิปไตยในโรงเรียน สภานิติบัญญัติแห่งชาติร่วมกับมูลนิธิสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
2. วิทยาลัยได้นำคณะครูที่มีความสามารถในการประดิษฐ์เครื่องพ่นละอองน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5
ข้อเสนอแนะของผู้ตรวจราชการ
การจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ ควรจะจัดการเรียนการสอนแบบ On site แต่เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบันต้องจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามบริบทของพื้นที่ให้เป็นไปตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ซึ่งต้องปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข อย่างเคร่งครัด
บันทึข้อมูลโดย: น.ส.สุกัลยา ประเสริฐ และ น.ส.อัญญารัตน์ รัตนา