ข้อมูลพื้นฐาน
รหัสโรงเรียน (MOE Code) :
โรงเรียน :
เขตพื้นที่ :
จังหวัด :
สังกัด :
เขตตรวจราชการ :

การลงตรวจพื้นที่

รายงานการลงพื้นที่ตรวจราชการและติดตามประเมินผลการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

1. ด้านการพัฒนาครูและการจัดการเรียนการสอน
1.1 การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกระดับมีส่วนร่วมสร้างสรรค์การเรียนรู้ เพื่อให้เกิดสมรรถนะหลักและการพัฒนาตนเองตามความถนัดและความสนใจ (Active Learning)
  1) สภาพความก้าวหน้า
     การนำไปใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชา ระบุ
     

-

     การนำไปใช้ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนระบุ
     

ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในสมุดรายงาน  ผลพัฒนาผู้เรียน

 

     อื่นๆ (ถ้ามี) ระบุ
     

รูปภาพประกอบ และ ผลงานของผู้สอนและ  ผู้เรียนเรียน





  2) ปัญหาและอุปสรรค
     ด้านครูผู้สอน
           ครูไม่ได้รับการอบรม/พัฒนาวิธีการจัดการเรียนการสอน แบบ Active Learning
           ครูขาดขวัญ กำลังใจ หรือแรงกระตุ้นในการจัดการเรียนการสอน
           ครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning
           ครูมีภาระงานมาก
           อื่น ๆ (ถ้ามี) ระบุ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสมุทรปราการ เป็นหน่วยงานราชการสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่เตรียมความพร้อมให้กับเด็กพิการ ๙ ประเภท ซึ่งความรุนแรงของความพิการประเภทต่างๆนั้นจะไม่เท่ากัน ดังนั้นการจัดการเรียนการสอน Active Learning จึงเป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเน้นเรื่องการลงมือทำนั้น ส่วนใหญ่จะเน้นการเล่นเป็นหลัก เล่นเพื่อการเรียน รู้ Active play สู่การการเรียนแบบ Active leaning ขั้น basic ส่วนในกลุ่มความพิการที่ไม่รุนแรง ผู้สอนสามารถเป็นผู้คอยช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกเพื่อให้นักเรียนกล้าคิดกล้าแสดงออก มีกระบวนการแก้ปัญหาเพื่อฝึกให้ผู้เรียนเรียนรู้แบบ Active leaning ขั้น advance ต่อไป เพื่อให้นักเรียนมีความสุขในการทำงานและอยู่ร่วมกับเพื่อนมีทักษะปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบข้างมากยิ่งขึ้นพร้อมส่งต่อผู้เรียนไปยังสถานศึกษาที่สูงขึ้นหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
     ด้านการบริหารจัดการ
           ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning
           นโยบายขาดความต่อเนื่อง
           ขาดการมีส่วนร่วม
           ขาดการนิเทศ ติดตาม หรือผู้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
           อื่นๆ (ถ้ามี) ระบุ ผู้บริหารสนับสนุนให้ครูผู้สอนอบรมกิจกรรม Active Learning ตลาดนัดการเรียนรู้ออนไลน์วังจันเกษม นัด ๑ และนัด ๒ เพื่อให้ครูได้รับความรู้และนำมาปรับใช้กับ และผู้บริหารให้ความสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนโดยมีการจัดทำการประเมินห้องเรียนคุณภาพขึ้น
     ด้านสื่อ วัสดุอุปกรณ์
           ขาดสื่อ วัสดุอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนของผู้เรียน
           เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว อุปกรณ์ไม่ทันสมัย
           ขาดผู้ดูแล หรือซ่อมแซมสื่อ วัสดุอุปกรณ์
           อื่นๆ (ถ้ามี) ระบุ ครูมีการอบรมและผลิตสื่อที่หลากหลายตามความเหมาะสมศักยภาพของผู้เรียน
     อื่นๆ ระบุ
  3) สถานศึกษามีวิธีการแก้ไขปัญหาที่ระบุตามข้อ 2) อย่างไร
  

๑. ในเรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning นั้น ผู้บริหารสนับสนุนให้ครูอบรมการเรียนรู้อบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างศักยภาพข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาด้วยกระบวนการ Active Learning  ผ่านระบบออนไลน์ในตลาดนัด ๑ และ ๒

                   ๒.กระตุ้นให้ผู้ปกครองเกิดการตระหนักให้ความสำคัญการจัดการเรียนการสอน นำความรู้จากครูไปต่อยอดให้บุตรหลานและครูผู้สอนต้องนิเทศติดตามผลการสอนของผู้ปกครองทุกสิ้นเดือน









  4) นวัตกรรม/รูปแบบ/แนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการศึกษาทุกระดับการศึกษาที่เน้นการมีส่วนร่วม และการส่งเสริมการฝึกทักษะดิจิทัลในชีวิตประจำวัน ของสถานศึกษาท่าน ที่ท่านคิดว่าเป็นต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice) (ถ้ามี) ** แนบไฟล์ภาพ หรือรายละเอียด
  

ศูนย์การศึกษาพิเศษได้จัดทำสื่อออนไลน์ลงในยูทูปโดยใช้ Application Animation Stopmotion โดยนำผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์มาผูกเป็นเรื่องราวและผนวกกับหน่วยการเรียนรู้ประจำเดือน ให้ผู้เรียนทบทวนบทเรียนในหลักการ ๓ จำนวน ๒ เรื่องดังนี้

๑.      ชุมชนของเรา

๒.      ร้อนจริงๆนะเธอ

ผลงานปรากฏตาม QR code



  5) ท่านมีความพึงพอใจในการดำเนินงานตามนโยบายอยู่ในระดับใด
      พึงพอใจมากที่สุด
      พึงพอใจมาก
      พึงพอใจปานกลาง
      พึงพอใจน้อย
      พึงพอใจน้อยที่สุด
1.2 การจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองให้มีความทันสมัยสอดรับกับวิถีใหม่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น และการเสริมสร้างวิถีชีวิตของความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง
  1) สภาพความก้าวหน้า
      สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันที่แสดงถึงความตระหนักและเห็นคุณค่าในประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรมของครอบครัว สถานศึกษาและชุมชน
      สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับผู้อื่นโดยรักษาสิทธิของตน เคารพสิทธิของผู้อื่น และรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง และสิ่งแวดล้อม
      สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนกำกับตนเองในการใช้จ่ายของตนเอง และครอบครัว
      สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นใฝ่ทำความดี และอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยดีบนหลักปฏิบัติของศาสนาที่นับถือ
      สถานศึกษาได้พัฒนาสื่อที่ทันสมัย สอดรับกับวิถีใหม่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
      สถานศึกษามีการบูรณาการด้านการผลิตและการใช้สื่อการเรียนการสอนร่วมกับสถานศึกษาอื่น
      สถานศึกษาเปลี่ยนวิธีการสอนเป็น แนว Active learning และเสริมทักษะในการค้นคว้าหาความรู้กระแสหลัก กระแสรองในทางประวัติศาสตร์ให้เด็กสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
      สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนคิดเป็น วิจารณ์เนื้อหาได้ แลแสร้างองค์ความรู้ใหม่
      สถานศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนไม่ให้ผู้เรียนเบื่อที่จะเกิดการวิเคราะห์เรียนรู้ สิ่งรอบตัวแม้บางเนื้อหาที่ผู้เรียนเห็นในหนังสือเรียน ไม่ตรงกับความจริงที่เกิดขึ้น
      อื่นๆ (ถ้ามี) ระบุ
  2) ปัญหาและอุปสรรค
     ด้านครูผู้สอน (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
           ครูขาดการพัฒนาเทคนิคและวิธีการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองให้น่าสนใจ
           ครูยังไม่มีความพร้อมในการนำเทคนิค วิธีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบสื่อออนไลน์ หรือเทคโนโลยีมาประกอบการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง
           ครูขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน Active Learning มาประยุกต์ใช้
           ครูผู้สอนมีภาระงานมาก
           อื่น ๆ (ถ้ามี) ระบุ นักเรียนมีข้อจำกัดในด้านความสามารถ
     ด้านการบริหารจัดการ (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
           ผู้บริหารสถานศึกษาไม่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองให้มีความทันสมัย
           นโยบายขาดความต่อเนื่อง
           ขาดการมีส่วนร่วมระหว่างปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ปกครอง สถานศึกษาและผู้เรียนในการสร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับการสอนประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองให้มีความทันสมัย
           ผู้เรียนไม่ค่อยสนใจในการเรียนเกี่ยวกับวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง เพราะคิดว่าน่าเบื่อ ไม่ทันสมัย
           อื่นๆ (ถ้ามี) ระบุ
     ด้านสื่อ วัสดุอุปกรณ์ (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
           บริเวณที่ตั้งของสถานศึกษาขาดแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นที่น่าสนใจ
           ขาดสื่อ เทคโนโลยี วัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัยมาสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์วิถีใหม่
           อื่นๆ (ถ้ามี) ระบุ
      อื่นๆ ระบุ
  3) สถานศึกษามีวิธีการแก้ไขปัญหาที่ระบุตามข้อ 2) อย่างไร
  

         ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสมุทรปราการเป็นหน่วยงานที่ให้บริการสำหรับนักเรียนที่มีความพิการ 9 ประเภท จึงทำให้มีหลักสูตรของสถานศึกษาเฉพาะ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสมุทรปราการได้สอดแทรก คุณธรรม จริยธรรม เบื้องต้นให้แก่นักเรียน มีการจัดแหล่งเรียนรู้ภายในและภายนอกที่เหมาะสมกับผู้เรียน

  4) นวัตกรรม/รูปแบบ/แนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการศึกษาทุกระดับการศึกษาที่เน้นการมีส่วนร่วม และการส่งเสริมการฝึกทักษะดิจิทัลในชีวิตประจำวัน ของสถานศึกษาท่าน ที่ท่านคิดว่าเป็นต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice) (ถ้ามี) ** แนบไฟล์ภาพ หรือรายละเอียด
  

         ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสมุทรปราการ มีการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองให้มีความทันสมัย 





  5) ท่านมีความพึงพอใจในการดำเนินงานตามนโยบายอยู่ในระดับใด
      พึงพอใจมากที่สุด
      พึงพอใจมาก
      พึงพอใจปานกลาง
      พึงพอใจน้อย
      พึงพอใจน้อยที่สุด
1.3 การพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกประเภทให้มีสมรรถนะทางภาษาและดิจิทัล รวมทั้งการจัดการเรียนการสอน
  1) สภาพความก้าวหน้า
     (1) ครูได้รับการพัฒนาด้านสมรรถนะทางภาษาหรือไม่
           ได้รับการพัฒนา
           ไม่ได้รับการพัฒนา (ข้ามไปตอบข้อ (5)
     (2) ครูได้รับการพัฒนาด้านสมรรถนะทางภาษาโดยหน่วยงานใด
           สพฐ./สอศ./สช./กศน.
           สพป./สพม./ศธจ./กศจ.จังหวัด
           หน่วยงานภายนอก เช่น มหาวิทยาลัย
           อื่นๆ ระบุ
     (3) เมื่อได้รับการพัฒนาด้านสมรรถนะทางภาษา ได้นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือไม่
           ได้นำไปใช้ ระบุ
           ไม่ได้นำไปใช้
     (4) ครูมีการนำสมรรถนะด้านภาษาไปขยายผลให้กับครูใน/นอกสถานศึกษาหรือไม่อย่างไร
           มี ระบุ
           ไม่มี
     (5) ครูได้รับการพัฒนาด้านสมรรถนะทางด้านดิจิทัลหรือไม่
           ได้รับ
           ไม่ได้รับ (ข้ามไปตอบข้อ 2)
     (6) ครูได้รับการพัฒนาด้านสมรรถนะทางด้านดิจิทัลโดยหน่วยงานใด
           สพฐ./สอศ./สช./กศน.
           สพป./สพม./ศธจ./กศจ.จังหวัด
           หน่วยงานภายนอก เช่น มหาวิทยาลัย
           อื่นๆ ระบุ
     (7) ครูมีการนำสมรรถนะด้านดิจิทัลไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือไม่อย่างไร
           มี ระบุ
           ไม่มี (ข้ามไปตอบข้อ 2)
     (8) ครูสามารถนำสมรรถนะด้านดิจิทัลไปขยายผลให้กับครูใน/นอกสถานศึกษาได้หรือไม่อย่างไร
           ได้ ระบุ
           ไม่ได้
  2) ปัญหาและอุปสรรค
     ด้านครูผู้สอน
           ครูขาดการพัฒนาสมรรถนะทางภาษาและดิจิทัล
           ครูขาดขวัญและกำลังใจ หรือแรงกระตุ้นพัฒนาสมรรถนะทางภาษาและดิจิทัล
           ครูมีภาระงานมาก
           อื่น ๆ (ถ้ามี) ระบุ
     ด้านการบริหารจัดการ
           นโยบายขาดความต่อเนื่อง
           ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมรรถนะทางภาษาและดิจิทัลของครูและบุคลากรทางการศึกษา
           ขาดงบประมาณสนับสนุน
           ขาดการนิเทศ ติดตาม
           อื่นๆ (ถ้ามี) ระบุ
     ด้านสื่อ วัสดุอุปกรณ์
           ขาดสื่อ วัสดุอุปกรณ์ ที่นำมาใช้ในการพัฒนาสมรรถนะทางภาษาและดิจิทัล
           เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว อุปกรณ์ไม่ทันสมัย
           ขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาสมรรถนะทางภาษาและดิจิทัล
           อื่นๆ (ถ้ามี) ระบุ อุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมกับผู้เรียน
  3) สถานศึกษามีวิธีการแก้ไขปัญหาที่ระบุตามข้อ 2) อย่างไร
  

- ด้านครูผู้สอน และด้านการบริหารจัดการ สามารถแก้ปัญหาร่วมกันได้โดยแบ่งกลุ่มครูผู้สอนกระจายครูที่มีความสามารถด้านภาษาและดิจิทัลที่ดี ไปยังกลุ่มย่อยต่างๆ เพื่อให้ครูมีความสามารถด้านภาษาและดิจิทัลที่ดีเป็นโค้ชสนับสนุนการพัฒนา คอยให้คำแนะนำเพื่อดึงศักยภาพด้านภาษาและดิจิทัลแก่ครูทุกคนในกลุ่ม

          - ด้านสื่อ วัสดุอุปกรณ์ จัดโครงการระดมทุน จัดหาสื่อ และวัสดุอุปกรณ์ ให้กับนักเรียนที่ขาดแคลน รวมถึงส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการใช้สื่อ และวัสดุอุปกรณ์ดิจิทัล











  4) นวัตกรรม/รูปแบบ/แนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการศึกษาทุกระดับการศึกษาที่เน้นการมีส่วนร่วม และการส่งเสริมการฝึกทักษะดิจิทัลในชีวิตประจำวัน ของสถานศึกษาท่าน ที่ท่านคิดว่าเป็นต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice) (ถ้ามี) ** แนบไฟล์ภาพ หรือรายละเอียด
  

ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรปราการ ได้จัดทำสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ผ่าน youtube channel ศูนย์การศึกษาพิเศษประจําจังหวัดสมุทรปราการ ศกศ.สป. โดยให้ครูแต่ละท่านได้ออกแบบการเรียนสอน และให้ทีมครูที่มีความสามารถด้านภาษาและดิจิทัลที่ดี เป็นผู้ช่วยในการให้คำแนะนำ ถ่ายทำvdo ตัดต่อ และอัพโหลดนำเสนอผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ








 

  5) ท่านมีความพึงพอใจในการดำเนินงานตามนโยบายอยู่ในระดับใด
      พึงพอใจมากที่สุด
      พึงพอใจมาก
      พึงพอใจปานกลาง
      พึงพอใจน้อย
      พึงพอใจน้อยที่สุด
1.4 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (หลักเกณฑ์ PA)
  1) สภาพความก้าวหน้า
     (1) ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ ว.9 (PA) และวิธีการอยู่ในระดับใด
           มากที่สุด
           มาก
           ปานกลาง
           น้อย
           น้อยที่สุด
     (2) ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการชี้แจงหรือหาความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ ว.9 (PA) จากแหล่งใด (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
           เว็ปไซต์ สำนักงาน ก.ค.ศ.
           หน่วยงานต้นสังกัดชี้แจง
                สพฐ. (สพป./สพม.)
                สอศ.
                กศน.
                สช.
           เพื่อนร่วมงาน
           สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
           เว็ปไซต์ อาทิ ครูบ้านนอกดอทคอม, ครูไทย, ครูวันดีดอทคอม, สถานนีครูดอทคอม
           อื่นๆ (ถ้ามี) ระบุ
     (3) ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีข้อคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับข้อตกลงในการพัฒนางานตามหลักเกณฑ์ ว.9 (PA)..... (ข้อความ)
     

          ครูและบุคลากรศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสมุทรปราการ มีข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนางานตามหลักเกณฑ์ ว.9 (PA) มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำแบบข้อตกลงในการพัฒนางานในสถานศึกษาให้ครอบคลุมเกี่ยวกับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เน้นปัญหาการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนตามสภาพจริงในการจัดการเรียนรู้ในบริบทของแต่ละสถานศึกษา 




  2) ปัญหาและอุปสรรค
      ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ระบุ
      ด้านการประเมินวิทยฐานะ ระบุ
      ด้านการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การประเมินบ่อย ทำให้มีความยุ่งยากในการเตรียมเอกสารหลักฐานรองรับการประเมิน ระบุ 1. ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการเก็บร่องรอยรวบรวมเอกสารในการรับการประเมินข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) 2. ครูและบุคลากรทางการศึกษาไม่เคยรับการประเมินข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ยังขาดประสบการณ์ในการพัฒนางาน
      อื่นๆ (ถ้ามี) ระบุ
  3) หน่วยงาน/สถานศึกษามีวิธีการแก้ไขปัญหาที่ระบุตามข้อ 2) อย่างไร มีการจัดอบรมให้กับบุคลากรในสถานศึกษา และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (หลักเกณฑ์ ว.9 (PA) ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)
  4) นวัตกรรม/รูปแบบ/แนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (หลักเกณฑ์ PA) ของสถานศึกษาท่าน ที่ท่านคิดว่าเป็นต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice) (ถ้ามี) ** แนบไฟล์ภาพ หรือรายละเอียด
  

        



  5) ท่านมีความพึงพอใจในการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ ว.9 (PA) อยู่ในระดับใด
      พึงพอใจมากที่สุด
      พึงพอใจมาก
      พึงพอใจปานกลาง
      พึงพอใจน้อย
      พึงพอใจน้อยที่สุด
1.5 การขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) และศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center of Vocational Manpower Networking Management : CVM)
  1) สภาพความก้าวหน้า
     (1) สภาพความก้าวหน้า ความสำเร็จของการดำเนินงานตามนโยบาย (มีเกณฑ์ตัวชี้วัดการประเมิน หรือตัวเลือกประเด็นหรือกิจกรรมที่ปฏิบัติในนโยบายนี้ เพื่อประกอบความก้าวหน้าความสำเร็จ)
          กลุ่มทั่วไป (Standard) สาขาวิชา
          

-

          กลุ่มเชี่ยวชาญเฉพาะ (Expert) สาขาวิชา
          

-

          กลุ่มความเป็นเลิศ) (Excellent Center) สาขาวิชา
          

-

          กลุ่มศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center of Vocational Manpower Networking Management : CVM) สาขาวิชา
          

-

     (2) สถานศึกษามีผลการประเมินคุณภาพตามแนวทางการขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) และศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center of Vocational Manpower Networking Management : CVM) อยู่ในระดับใด
           ดีมาก
           ดี
           ปานกลาง
           พอใช้
     (3) เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
           สถานศึกษามีนวัตกรรมการบริหารจัดการสอดคล้องกับสภาพบริบท และตอบสนองความต้องการของชุมชน สังคม และยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
           มีครุภัณฑ์และอุปกรณ์ สื่อ เทคโนโลยีดิจิทัล ทรัพยากร สิ่งสนับสนุนการศึกษา ที่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน
           สถานศึกษามีภาคีเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรทางวิชาชีพ สถานประกอบการ สถาบันการศึกษาอาชีวศึกษา/อุดมศึกษาทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ ในการพัฒนาทักษะทางวิชาการ ทักษะอาชีพ และการฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพของครู และผู้เรียน
           หลักสูตรมีความสอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ เชื่อมโยงสมรรถนะอาชีพในการท างานสู่ระบบคุณวุฒิทางการศึกษา หรือมาตรฐานอาชีพตามที่หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ให้การรับรองมาตรฐานกำหนดไว้ ในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ
           ครูมีสมรรถนะทางวิชาชีพที่ทันสมัย สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่สถานประกอบการใช้ในปัจจุบัน ตลอดจนมีทักษะการจัดกระบวนการจัดการเรียนรู้
           ผู้เรียนมีสมรรถนะทางวิชาชีพในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ
           สถานศึกษาเป็นศูนย์พัฒนาอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ การประเมินสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพในสาขาอาชีพที่สอดคล้องกับสาขาวิชา ที่มีความเป็นเลิศ ให้กับผู้เรียน ผู้สำเร็จการศึกษา ผู้ประกอบอาชีพ หรือ ประชาชนทั่วไป เพื่อสร้างโอกาสการเข้าสู่โลกอาชีพและการมีงานทำ
           สถานศึกษามีระบบประกันคุณภาพที่เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา เหมาะสมกับหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน สื่อเทคโนโลยี ทรัพยากรการเรียนรู้ และการประเมินการเรียนการสอน โดยมีการกำกับ ติดตาม และประเมินผลเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
  2) ปัญหาและอุปสรรค
      มาตรฐานอาชีพหรือมาตรฐานฝีมือแรงงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ครอบคลุมสาขาวิชา
      นโยบายขาดความต่อเนื่อง
      ครูผู้สอนมีวุฒิการศึกษาวิชาชีพ ไม่ตรงตามสาขาวิชาที่สอน
      ขาดห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ครุภัณฑ์/อุปกรณ์ สื่อ ในการจัดการเรียนการสอนที่ทันสมัย
      ผู้เรียนมีสมรรถนะไม่ตรงตามหลักสูตรกำหนด กับความต้องการของสถานประกอบการ
      สถานศึกษาขาดการเตรียมความพร้อมตามแนวทางการจัดการสถานศึกษา ภายใต้ศูนย์
      ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) และศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center of Vocational Manpower Networking Management : CVM) ในการประเมินสมรรถนะผู้เรียนและการรับรองที่เอื้อต่อการพัฒนารายบุคคล
      อื่นๆ (ถ้ามี) ระบุ
  3) สถานศึกษามีวิธีการแก้ไขปัญหาที่ระบุตามข้อ 2) อย่างไร
  

-

  4) นวัตกรรม/รูปแบบ/แนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการศึกษาทุกระดับการศึกษาที่เน้นการมีส่วนร่วม และการส่งเสริมการฝึกทักษะดิจิทัลในชีวิตประจำวัน ของสถานศึกษาท่าน ที่ท่านคิดว่าเป็นต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice) (ถ้ามี) ** แนบไฟล์ภาพ หรือรายละเอียด
  

-

  5) ท่านมีความพึงพอใจในการดำเนินงานตามนโยบายอยู่ในระดับใด
      พึงพอใจมากที่สุด
      พึงพอใจมาก
      พึงพอใจปานกลาง
      พึงพอใจน้อย
      พึงพอใจน้อยที่สุด
1.6 ความปลอดภัยของผู้เรียน โดยการสร้างสถานศึกษาปลอดภัย และบริหารจัดการเชิงบูรณาการในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
  1) สภาพความก้าวหน้า
     1) ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีความรู้ ความเข้าใจในการสร้างภูมิคุ้มกัน พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงและภัยคุกคามรูปแบบใหม่ ทุกรูปแบบ
           ครบทุกประเภทภัยคุกคาม
           บางประเภทภัยคุกคาม
                ภัยยาเสพติด
                ภัยความรุนแรง
                ภัยพิบัติต่างๆ
                อุบัติเหตุ
                โรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ (เช่น CVID-19 เป็นต้น)
                ฝุ่น PM 2.5
                การค้ามนุษย์
                การคุกคามในชีวิตและทรัพย์สิน
                อาชญากรรมไซเบอร์
           ไม่มี
     2) การบริหารจัดการเชิงบูรณาการในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สถานศึกษาได้ดำเนินงานหรือได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานใดบ้าง (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
           กระทรวงศึกษาธิการ
           กระทรวงสาธารณสุข
           กรมการปกครอง
           ภาคเอกชน
           อื่นๆ (ระบุ)
     3) สถานศึกษามีการบริหารจัดการเชิงบูรณาการในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างไรบ้าง
           มีศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรปราการ ได้ออกประกาศเรื่อง มาตรการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และ เข้ารับการประเมินในการเตรียมพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนเพื่อเฝ้าระวัง และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า- 2019 จากสาธารณสุขอำเภอบางพลี มีการซ้อมตามแผนเผชิญเหตุในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีการตรวจคัดกรองตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด มีการสนับสนุน การได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโคโรน่า-2019 ของนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรของศูนย์ฯ
           ไม่มี
     4) สถานศึกษามีแผนการดำเนินงาน/แผนเผชิญเหตุ/แนวทาง/คู่มือเพื่อความปลอดภัยของผู้เรียนในสถานศึกษา
           มีศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรปราการได้จัดทำแผนเผชิญเหตุ อัคคีภัย และแผนเผชิญเหตุในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
           ไม่มี
     5) ผู้เรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมที่สถานศึกษาจัดเพื่อส่งเสริม สนับสนุนในการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงและภัยคุกคามรูปแบบใหม่ทุกรูปแบบ
           ครบทุกประเภทภัยคุกคาม
           บางประเภทภัยคุกคาม
                ภัยยาเสพติด
                ภัยความรุนแรง
                ภัยพิบัติต่างๆ
                อุบัติเหตุ
                โรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ (เช่น CVID-19 เป็นต้น)
                ฝุ่น PM 2.5
                การค้ามนุษย์
                การคุกคามในชีวิตและทรัพย์สิน
                อาชญากรรมไซเบอร์
           ไม่มี
  2) ปัญหาและอุปสรรค
      ผู้บริหารขาดความตระหนักในการสร้างความรู้ความเข้าใจกับการรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ให้กับผู้เรียน
      ครูขาดขวัญกำลังใจ การคุ้มครองดูแลช่วยเหลือในการปฏิบัติงานภายในสถานศึกษา
      อื่นๆ (ถ้ามี) ระบุ 2.1 นักเรียนของศูนย์ ฯ ไม่สามารถสวมหน้ากากอนามัย เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า – 2019 2.2 ขาดการสนับสนุนจากงบประมาณหน่วยงานภายนอก ในการขอรับการสนับสนุนชุดตรวจ Antigen test kits และวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า – 2019 ที่เพียงพอ
  3) สถานศึกษามีวิธีการแก้ไขปัญหาที่ระบุตามข้อ 2) อย่างไร
  

2.1 ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรปราการมีการจัดการเรียนสอนเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติตนในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า – 2019 โดยให้ผู้ปกครองเน้นย้ำและฝึกปฏิบัตินักเรียนทั้งที่บ้าน โรงเรียน และสถานที่ภายนอกที่พักอาศัย หากนักเรียนไม่สามารถปฏิบัติได้ให้ใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์

                   2.2 จัดสรรงบประมาณภายในของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรปราการ ในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า – 2019 ให้เพียงพอต่อการใช้งาน







  4) นวัตกรรม/รูปแบบ/แนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้เรียน โดยการสร้างสถานศึกษาปลอดภัยของสถานศึกษาท่าน ที่คิดว่าเป็นต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice) (ถ้ามี) ** แนบไฟล์ภาพ หรือรายละเอียด
  

4.1 ด้านอุบัติเหตุ

              ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรปราการได้รับรางวัลเกียรติบัตร “ดีเด่น” ติดต่อกันปีที่ 3 ในการประเมิน สถานศึกษาปลอดภัย ประจำปี 2564 ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  ผ่านเกณฑ์ในระดับดีเด่น ซึ่งประกอบไปด้วยการระงับและป้องกันอุบัติเหตุอัคคีภัย ไฟฟ้ารั่ว มีการฝึกอบรมการฟื้นคืนชีพเบื้องต้น ความปลอดภัยด้านอาคารสถานที่ เป็นต้น

              การฝึกอบรมการฟื้นคืนชีพเบื้องต้นโดยได้รับการสนับสนุนจากโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในการอบรมให้ความรู้ในครั้งนี้

4.2 โรคอุบัติใหม่และโรคอุบัติซ้ำ (เช่น COVID-19 เป็นต้น)


 ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรปราการ เข้ารับการประเมินในการเตรียมพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนเพื่อเฝ้าระวัง และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า- 2019 จากสาธารณสุขอำเภอบางพลี

 

ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสมุทรปราการ ได้มีการซ้อมตามแผนเผชิญเหตุในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

              ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรปราการได้สนับสนุนการได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโคโรน่า-2019 ของนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรของศูนย์ฯ



4.3 ฝุ่น PM 2.5


ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรปราการได้มีการประชาสัมพันธ์การป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 แก่นักเรียน ผู้ปกครอง ครูและบุคลากรของศูนย์ฯ


 














 

  5) ท่านมีความพึงพอใจในการดำเนินงานตามนโยบายอยู่ในระดับใด
      พึงพอใจมากที่สุด
      พึงพอใจมาก
      พึงพอใจปานกลาง
      พึงพอใจน้อย
      พึงพอใจน้อยที่สุด
2. ด้านการสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันทางสังคม
2.1 การค้นหาเด็กวัยเรียนหลุดจากระบบการศึกษา และติดตามให้ความช่วยเหลือเข้าสู่ระบบการศึกษา
  1) สภาพความก้าวหน้า
      สถานศึกษามีการค้นพบเด็กวัยเรียนที่หลุดจากระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน..............คน (ตัวเลข) 51
      การติดตามให้ความช่วยเหลือเข้าสู่ระบบการศึกษา สำหรับเด็กที่อยู่ในการศึกษาภาคบังคับ จำนวน ................คน (ตัวเลข)
          กศน. จำนวน................คน (ตัวเลข)
          อาชีวศึกษา จำนวน ...........คน (ตัวเลข)
      การติดตามให้ความช่วยเหลือผู้เรียนเข้าสู่ระบบการศึกษา สำหรับเด็กที่อายุเกิน 15 ปี จำนวน.............คน (ตัวเลข) 2
          กศน. จำนวน................คน (ตัวเลข)
          อาชีวศึกษา จำนวน ...........คน (ตัวเลข)
          เข้าทำงานสถานประกอบการ จำนวน...............คน (ตัวเลข)
          ประกอบอาชีพอื่นๆ จำนวน ................คน (ตัวเลข) 2
      อื่นๆ (ถ้ามี) ระบุ
  2) ปัญหาและอุปสรรค
      ด้านเศรษฐกิจ รายได้ของครอบครัว
      การย้ายถิ่นฐานตามผู้ปกครอง
      ความไม่พร้อมของผู้เรียน ด้านสติปัญญา ร่างกาย ฯลฯ
      ปัญหาของครอบครัว (หย่าร้าง /แยกกันอยู่)
      การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)
      อื่นๆ (ถ้ามี)
  3) สถานศึกษามีวิธีการแก้ไขปัญหาที่ระบุตามข้อ 2) อย่างไร
  

 - ด้านเศรษฐกิจ รายได้ของครอบครัว

             ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรปราการดำเนินการระดมทุนทางการศึกษาจากทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน โดยได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาให้นักเรียนทุกปี จากมูลนิธิทุนคุณพุ่มจำนวน 103 ทุน  ทุนละ 5,000 บาท และทุนการศึกษาจากหน่วยงานเอกชน บริษัทเฟรนซิฟ คอนสตัช  บริษัทเด็นโซ่ ห้างอิมพีเรียลเวิรด์สำโรง ห้างหุ้นส่วนกรุงสยาม อิมสปอต ที่เวียนกันสนับสนุนทุนการศึกษา สื่อการเรียนการสอนในทุกๆปี

             - การย้ายถิ่นฐานตามผู้ปกครอง

             ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรปราการ ได้ดำเนินการขอข้อมูลการติดต่อผู้ปกครอง ผู้ดูแลนักเรียน ทั้งเบอร์โทรศัพท์ ไลน์ และมีครูประจำอำเภอติดตามทุกระยะอย่างสม่ำเสมอ หากผู้ปกครองนักเรียน มีการย้ายถิ่นฐานให้แจ้งครูประจำอำเภอเพื่อดำเนินการส่งต่อนักเรียนไปยังพื้นที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ ใกล้เคียงที่นักเรียนได้ย้ายไปเพื่อเกิดการศึกษาอย่างต่อเนื่องต่อไป

             - ความไม่พร้อมของผู้เรียน ด้านสติปัญญา ร่างกาย ฯลฯ

             ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรปราการ ได้ประเมินความพร้อมของนักเรียนก่อนการจัดการเรียนการสอน และมีการประเมินความพร้อมของนักเรียนเป็นระยะ พร้อมทั้งออกแบบการเรียนการสอนที่นักเรียนอยากเรียน และเรียนได้ โดยมีความยืดหยุ่นและน่าสนใจ พร้อมทั้งผู้ปกครองมีความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนที่ถูกต้องและนำไปสอนนักเรียนร่วมกับครูที่บ้านได้

             - ปัญหาของครอบครัว (หย่าร้าง /แยกกันอยู่)

             ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรปราการ มีการให้บริการรับปรึกษาในกรณีที่ผู้ปกครอง หรือนักเรียนมีภาวะเครียดจากปัญหาครอบครัว หรือปัญหาอื่นๆ โดยนักจิตวิทยาคลินิก และทีมนักสหวิชาชีพของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสมุทรปราการ พร้อมทั้งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

             - การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)

             ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรปราการ มีการดำเนินงานจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)  ตามรูปแบบ SBITE-C19 MODEL

 

 

 

  4) นวัตกรรม/รูปแบบ/แนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการศึกษาทุกระดับการศึกษาที่เน้นการมีส่วนร่วม และการส่งเสริมการฝึกทักษะดิจิทัลในชีวิตประจำวัน ของสถานศึกษาท่าน ที่ท่านคิดว่าเป็นต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice) (ถ้ามี) ** แนบไฟล์ภาพ หรือรายละเอียด
  



และดำเนินการกรอกรายละเอียดข้อมูลนักเรียนลงในระบบสารสนเทศของนักเรียนในศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสมุทรปราการ

             ดำเนินการเก็บข้อมูลนักเรียนที่เข้าสู่ระการศึกษาทั้ง 4 รูปแบบ ลงในระบบสารสนเทศ เพื่อรายงานข้อมูลในภาพรวมทั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อครูทุกคนสามารถเข้าถึงออนไลน์ได้ทุกที่ ทุกเวลา

-          ข้อมูลทั่วไปนักเรียน 

การศึกษา

การแพทย์และสุขภาพ

ที่อยู่และแผนที่บ้าน

ผู้ปกครองและครอบครัว

ความต้องการความช่วยเหลือทางการศึกษาและอาชีพ

การสงเคราะห์

รางวัลและผลงาน

-          ความสามารถพื้นฐาน    

-          แผนการศึกษา (IEP)

-          รายงาน  



  5) ท่านมีความพึงพอใจในการดำเนินงานตามนโยบายอยู่ในระดับใด
      พึงพอใจมากที่สุด
      พึงพอใจมาก
      พึงพอใจปานกลาง
      พึงพอใจน้อย
      พึงพอใจน้อยที่สุด
2.2 การดูแลเด็กปฐมวัย ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้พัฒนาการสมวัย ได้รับโอกาสทางการศึกษาทั้งในและนอกระบบการศึกษา
  1) สภาพความก้าวหน้า
     (1) ผู้เรียนในระดับปฐมวัย (อนุบาล 3) ปีการศึกษา 2564 ทั้งหมด
          จำนวน.............คน (ตัวเลข) จำแนกเป็น 208
          ผู้เรียนปกติ จำนวน..........คน (ตัวเลข)
          ผู้เรียนที่มีความบกพร่อง จำนวน.............คน (ตัวเลข) 208
     (2) ผู้เรียนปกติ มีผลการประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา ผ่านเกณฑ์การประเมินพัฒนาการคุณภาพระดับ 3 ทั้ง 4 ด้าน
          จำนวน..............คน (ตัวเลข)
          คิดเป็นร้อยละ........... (เทียบจากผู้เรียนปกติ) (ตัวเลข)
  2) ปัญหาและอุปสรรค
      ขาดแคลนครูวิชาเอกปฐมวัย
      ครูผู้สอนระดับปฐมวัยสอนไม่ตรงวิชาเอก
      ครูไม่ครบชั้น (ครู 1 คน สอน 2 ระดับชั้น)
      อื่นๆ (ถ้ามี) ระบุ หน่วยบริการอำเภอไม่ทั่วถึงสำหรับนักเรียนพิการที่มีสามารถมารับบริการที่ศูนย์ได้
  3) สถานศึกษามีวิธีการแก้ไขปัญหาที่ระบุตามข้อ 2) อย่างไร
  

ปัจจุบันศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสมุทรปราการมีการวางแผนในการจัดการเรียนการสอนนอกห้องเรียน เพื่อเข้าถึงนักเรียนที่ไม่สามารถมารับบริการทางการศึกษาได้อย่างต่อเนื่อง เช่น ห้องเรียนเคลื่อนที่ เป็นต้น นอกจากนี้จังหวัดสมุทรปราการไมFมีโรงเรียนที่จัดการศึกษารูปแบบเรียนรวมในระดับมัธยม และไม่มีโรงเรียนเฉพาะความพิการที่จัดตั้งในพื้นที่ ทำให้การส่งต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้นของนักเรียนที่ไม่สามารถเรียนร่วมได้ต้องส่งต่อไปยังโรงเรียนต่างจังหวัด

            

  4) นวัตกรรม/รูปแบบ/แนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการค้นหาเด็กวัยเรียนหลุดจากระบบการศึกษา และติดตามให้ความช่วยเหลือเข้าสู่ระบบการศึกษาของสถานศึกษาท่าน ที่คิดว่าเป็นต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice) (ถ้ามี) ** แนบไฟล์ภาพ หรือรายละเอียด
  

จากปัญหาอุปสรรคและวิธีการแก้ไขปัญหาข้างต้นในข้อ ๒ และข้อ ๓ ทำให้ได้แนวทางการดำเนินงานในการส่งต่อตามโครงการส่งต่อนักเรียนเข้าสู่การศึกษาในระดับที่สูงขึ้นหรือการอาชีพหรือการดำเนินชีวิตในสังคมตามศักยภาพของแต่ละบุคคล


โครงการส่งต่อนักเรียนเข้าสู่การศึกษา



  5) ท่านมีความพึงพอใจในการดำเนินงานตามนโยบายอยู่ในระดับใด
      พึงพอใจมากที่สุด
      พึงพอใจมาก
      พึงพอใจปานกลาง
      พึงพอใจน้อย
      พึงพอใจน้อยที่สุด
2.3 การสร้างโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับคนพิการ และผู้ด้อยโอกาสและผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้งในและนอกระบบการศึกษา
  1) สภาพความก้าวหน้า
      ผู้เรียนที่เป็นผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้งในและนอกระบบการศึกษา เข้าถึงบริการการศึกษา
      ผู้เรียนที่เป็นผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้งในและนอกระบบการศึกษา ได้รับการพัฒนาสมรรถภาพหรือบริการทางการศึกษาที่เหมาะสมตามความจำเป็น โปรดระบุรายละเอียด      

ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรปราการ ร่วมกับ ทีมเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลรามาธิบดี จัดกิจกรรมพบทีมฟื้นฟู รามา ฯ ผ่านระบบ Google meet และ on-site ร่วมกับผู้ปกครอง ครู และทีมสหวิชาชีพ เพื่อเป็นการปรึกษา แลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาพฤติกรรม พัฒนาการ แนวทางการดูแล และส่งเสริมศักยภาพของนักเรียนเป็นรายบุคคล โดยครั้งได้จัดกิจกรรม ณ หน่วยบริการบางเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

          

      สถานศึกษามีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP) สำหรับเด็กพิการเรียนรวม (9 ประเภท) และผ่านเกณฑ์การประเมินระบบการจัดการศึกษา
      สถานศึกษามีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและบริหารจัดการสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ สามารถลดจำนวนเด็กด้อยโอกาส โดยให้เด็กทุกคนสามารถเข้าถึงและส่งเสริมเด็กด้อยโอกาสให้ได้รับการศึกษาเต็มตามศักยภาพ
  2) ปัญหาและอุปสรรค
      สถานศึกษา/ผู้รับผิดชอบงานการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ขาดความเชี่ยวชาญ ความชำนาญเฉพาะด้าน
      ผู้ปกครองบางส่วนขาดความรู้ ความเข้าใจและมีเจตคติที่ไม่ดีต่อความบกพร่องของเด็กและการส่งเด็กเข้ารับการพัฒนาในสถานศึกษา
      การพัฒนาและส่งเสริมผู้เรียน เป็นไปได้ยาก เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื่อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
      อื่นๆ (ถ้ามี) ระบุ
  3) สถานศึกษามีวิธีการแก้ไขปัญหาที่ระบุตามข้อ 2) อย่างไร
  

- สถานศึกษา/ผู้รับผิดชอบงานการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ขาดความเชี่ยวชาญ ความชำนาญเฉพาะด้าน

             ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรปราการ ได้ดำเนินการพัฒนาครูโดยการส่งครูไปศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานที่รักษานักเรียนที่มีความบกพร่องที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ  อาทิ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ , สวางคนิวาส สภากาชาดไทย , โรงพยาบาลยุวประสารทไวทโยปถัมภ์ และศูนย์พัฒนศักยภาพและอาชีพคนพิการพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อให้ครูและบุคลากรมีความเชี่ยวชาญ และมีความชำนาญในการพัฒนานักเรียนต่อไป

             - ผู้ปกครองบางส่วนขาดความรู้ ความเข้าใจและมีเจตคติที่ไม่ดีต่อความบกพร่องของเด็กและการส่งเด็กเข้ารับการพัฒนาในสถานศึกษา

             ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรปราการ ได้ดำเนินการโครงการจับเข่าคุยกัน มีการประชุมให้ความรู้กับผู้ปกครองในการพัฒนานักเรียน โดยทีมครูและนักสหวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ และมีการนำปัญหาที่ผู้ปกครองยังมีความค้างคาใจไปให้กับผู้เชี่ยวชาญโดยแพทย์ สหวิชาชีพ มาร่วมกันประชุมแลพแก้ไขปัญหาในโครงการพบหมอรามา พร้อมทั้งมีการสร้างกำลังใจภายในกลุ่มผู้ปกครอง โดยให้ผู้ปกครองที่ส่งบุตรหลานเข้าเรียนได้คุยแลกเปลี่ยนปัญหา ความรู้ ความเข้าให้แก่กัน โดยมีคณะครูค่อยช่วยเหลือ

              - การพัฒนาและส่งเสริมผู้เรียน เป็นไปได้ยาก เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื่อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

             ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรปราการ มีการดำเนินงานจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)  ตามรูปแบบ SBITE-C19 MODEL โดยอาศัยการมีส่วร่วมข้อผู้ปกครองและผู้เชี่ยวชาญเป็นหลัก

  4) นวัตกรรม/รูปแบบ/แนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการสร้างโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาสและผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้งในและนอกระบบการศึกษาของสถานศึกษาท่าน ที่ท่านคิดว่าเป็นต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice) (ถ้ามี) ** แนบไฟล์ภาพ หรือรายละเอียด
  





1.การรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล

          - ด้านผู้เรียน (ประวัติส่วนตัว, สุขภาพ /การแพทย์, ด้านการศึกษา)

          - ด้านครอบครัว (สภาพที่อยู่อาศัย ,รายได้ /อาชีพ, สถานภาพ ,ผู้ดูแล)

          - ด้านสภาพแวดล้อม (ชุมชนรอบข้าง)

          - ด้านการได้รับความสนับสนุน (หน่วยงานจากภาครัฐและภาคเอกชน)

2. ด้านการคัดกรองนักเรียน

          - กลุ่มปกติ (นักเรียนที่มีพัฒนาการเป็นไปตามศักยภาพ (IEP,IIP) , ผู้ปกครองให้ความร่วมมือทุกด้าน , มีความสามารถในการจัดการพฤติกรรม อารมณ์ของตนเองได้)

          - กลุ่มเสี่ยง (นักเรียนที่มีพัฒนาการเป็นไปตามศักยภาพ (IEP,IIP) , ผู้ปกครองให้ความร่วมมือบางครั้ง, มีการทำร้ายตนเองในบางครั้ง)

          - กลุ่มมีปัญหา (นักเรียนไม่มีพัฒนาการเป็นไปตามศักยภาพ (IEP,IIP) , ผู้ปกครองไม่ให้ความร่วมมือ, มีการทำร้ายตนเองหลายครั้ง)

 

3. การป้องกันและแก้ไขปัญหา

          - การให้คำปรึกษา / การประชุม

          - ศูนย์การศึกษาให้ความช่วยเหลือนักเรียนเบื้องต้น

          - ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ เพื่อช่วยเหลือนักเรียน

4. การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน

          - เยี่ยมบ้าน

          - ประชุมผู้ปกครอง

          - ให้ความรู้ในการดูแลนักเรียน

          - ระดมทุนเพื่อสนับสนุนนักเรียน

          - ทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ต่างๆเพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียน

5.การส่งต่อนักเรียน

          - ส่งต่อภายใน (ฟื้นฟูสมรรถภาพโดยนักสหวิชาชีพของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรปราการ)

          - ส่งต่อภายนอก (สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ , โรงพยาบาลยุวประสาทฯ , สวางคนิวาส สภากาชาดไทย , โรงพยาบาลเด็ก )

  5) ท่านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับใดของการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนปฐมวัย
      พึงพอใจมากที่สุด
      พึงพอใจมาก
      พึงพอใจปานกลาง
      พึงพอใจน้อย
      พึงพอใจน้อยที่สุด
3. ด้านความร่วมมือ
3.1 การจัดการศึกษาแบบทวิภาคีสู่คุณภาพมาตรฐาน ผ่านศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคีเขตพื้นที่
  1) สภาพความก้าวหน้า
     ตามแนวทางปฏิบัติจัดการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
          ความร่วมมือกับสถานประกอบการ
                ไม่มีความร่วมมือ
                มีความร่วมมือ
                     ในพื้นที่บริการ
                     นอกพื้นที่บริการ/นอกจังหวัด
                     ต่างประเทศ
          ความร่วมมือกับสถานประกอบการในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี
                ไม่มีความร่วมมือ
                มีความร่วมมือกับสถานประกอบการอย่างเข้มข้น
                     การพัฒนาหลักสูตร
                     การพัฒนาครู
                     การพัฒนานักเรียนนักศึกษา
                     การสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
     (1) ด้านคุณภาพหลักสูตร
          (1.1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรรายวิชา ระดับคุณภาพในการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะรายวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ อยู่ในระดับใด
                ดีมาก
                ดี
                ปานกลาง
                ปรับปรุง
          (1.2) ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร ระดับคุณภาพในการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง อยู่ในระดับใด
                ดีมาก
                ดี
                ปานกลาง
                ปรับปรุง
          (1.3) ด้านทรัพยากรการจัดอาชีวศึกษา ระดับคุณภาพในการบริหารจัดการวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ และพื้นที่ อยู่ในระดับใด
                ดีมาก
                ดี
                ปานกลาง
                ปรับปรุง
          (1.4) ด้านคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา ผ่านเกณฑ์การทดสอบมาตรฐานวิชาชีพของสถานศึกษาและหน่วยงานภายนอก อยู่ในระดับใด
                ดีมาก
                ดี
                ปานกลาง
                ปรับปรุง
          (1.5) ด้านคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา ระบบทวิภาคีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระ อยู่ในระดับใด
                ดีมาก
                ดี
                ปานกลาง
                ปรับปรุง
     (2) ด้านคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา
          (2.1) ด้านทักษะและความสามารถในการปฏิบัติงาน ผู้เรียนชั้นปีสุดท้ายที่มีคุณลักษณะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ (VQ) อยู่ในระดับใด
                ดีมาก
                ดี
                ปานกลาง
                ปรับปรุง
          (2.2) ด้านทักษะและความสามารถในการปฏิบัติงาน ผู้เรียนผ่านการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง อยู่ในระดับใด
                ดีมาก
                ดี
                ปานกลาง
                ปรับปรุง
          (2.3) ด้านความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา อยู่ในระดับใด
                ดีมาก
                ดี
                ปานกลาง
                ปรับปรุง
  2) ปัญหาและอุปสรรค
     ด้านครูผู้สอน
           ครูไม่เข้าใจการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
           ครูขาดขวัญและกำลังใจ การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
           อื่น ๆ (ถ้ามี) ........................................ (ข้อความ)
     ด้านการบริหารจัดการ
           สถานศึกษามีการปรับเปลี่ยนผู้บริหารบ่อย ทำให้ขาดความต่อเนื่อง
           ผู้เรียน และผู้ปกครองไม่เข้าใจการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
           สถานประกอบการมีข้อจำกัดในการรับผู้เรียนเข้ารับการฝึกวิชาชีพ
           อื่นๆ (ถ้ามี)............................................... (ข้อความ)
     ด้านผู้เรียน
           ผู้เรียนขาดทักษะ Sft Skill
           ผู้เรียนไม่ปรับตัวเข้ากับสถานประกอบการ
           ผู้เรียนเลือกฝึกวิชาชีพใกล้บ้าน ซึ่งไม่ตรงกับสาขาวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
           ค่าใช้จ่ายในการฝึกวิชาชีพ
           อื่นๆ (ถ้ามี) ระบุ
      อื่นๆ ระบุ
  3) สถานศึกษามีวิธีการแก้ไขปัญหาที่ระบุตามข้อ 2) อย่างไร
  

-

  4) นวัตกรรม/รูปแบบ/แนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่คุณภาพมาตรฐาน ผ่านศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคีเขตพื้นที่ของสถานศึกษาท่าน ที่คิดว่าเป็นต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice) (ถ้ามี) ** แนบไฟล์ภาพ หรือรายละเอียด
  

-

  5) ท่านมีความพึงพอใจในการดำเนินงานตามนโยบายอยู่ในระดับใด
      พึงพอใจมากที่สุด
      พึงพอใจมาก
      พึงพอใจปานกลาง
      พึงพอใจน้อย
      พึงพอใจน้อยที่สุด
3.2 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกช่วงวัย โดยการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย และสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อการพัฒนาทักษะอาชีพ โดยการเพิ่มพูนทักษะ (Re-skill) พัฒนาทักษะ (Up skill) และการเรียนรู้ทักษะใหม่ (New skills)
  1) สภาพความก้าวหน้า
     ด้านหลักสูตร
           หลักสูตรเพื่อการพัฒนาอาชีพ Re-skill/Up-Skill/New skills
               จำนวน.................หลักสูตร (ตัวเลข)
               จำนวนผู้เข้ารับการพัฒนา .....................คน (ตัวเลข)
           หลักสูตรกลุ่มอาชีพเกษตรกรรม
               จำนวน.................หลักสูตร (ตัวเลข)
               จำนวนผู้เข้ารับการพัฒนา .....................คน (ตัวเลข)
           หลักสูตรกลุ่มอาชีพความคิดสร้างสรรค์
               จำนวน.................หลักสูตร (ตัวเลข)
               จำนวนผู้เข้ารับการพัฒนา .....................คน (ตัวเลข)
           หลักสูตรกลุ่มอาชีพอุตสาหกรรม
               จำนวน.................หลักสูตร (ตัวเลข)
               จำนวนผู้เข้ารับการพัฒนา .....................คน (ตัวเลข)
           หลักสูตรกลุ่มอาชีพเฉพาะทาง
               จำนวน.................หลักสูตร (ตัวเลข)
               จำนวนผู้เข้ารับการพัฒนา .....................คน (ตัวเลข)
           อื่นๆ ระบุ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรปราการมีการจัดกิจกรรมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อ การพัฒนาทักษะอาชีพภายใต้หลักสูตรอาชีพ
               จำนวน.................หลักสูตร (ตัวเลข) 1
               จำนวนผู้เข้ารับการพัฒนา .....................คน (ตัวเลข) 6
     ด้านกระบวนการพัฒนา
           แบบอบรม/สัมมนา แบบรวมกลุ่ม มีวิทยากรบรรยาย
           แบบสื่อออนไลน์ ผ่านระบบ Zm หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ
           แบบเรียนรู้ด้วยตัวเอง
           อื่นๆ (ถ้ามี) ระบุ ในด้านการพัฒนานักเรียนภายใต้หลักสูตรอาชีพของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรปราการ ได้จัดแบบบูรณาการ เน้นย้ำไปที่ความสามารถที่แตกต่างของแต่ละบุคคล รวมไปถึงสภาพแวดล้อมแต่ละครอบครัว กระบวนการพัฒนามีทั้งรูปแบบการสอน 1 ต่อ 1 ในชั้นเรียน สอนเป็นกลุ่ม สอนแบบได้ลงปฎิบัติจริง และสุดท้ายคือการสอนแบบออนไลน์โดยผ่านผู้ปกครองในการเป็นผู้ช่วยและแนะนำในการฝึกปฎิบัติ
  2) ปัญหาและอุปสรรค
      ระยะเวลาในการพัฒนาไม่สัมพันธ์กับงบประมาณที่จัดสรร
      นโยบายขาดความต่อเนื่อง
      ขาดการมีส่วนร่วม
      ขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะด้านในแต่ละหลักสูตร
      วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือในการพัฒนาไม่เพียงพอ และไม่ทันสมัย
      รูปแบบการพัฒนายังยึดติดกับเนื้อหามากกว่าทักษะกระบวนการ
      อื่นๆ ระบุ
  3) สถานศึกษามีวิธีการแก้ไขปัญหาที่ระบุตามข้อ 2) อย่างไร
  

ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรปราการได้มีแนวทางในการแก้ปัญหาข้างต้นคือ ได้วางแผนการเปิดหน่วยบริการพระประแดง ซึ่งมีที่ตั้งในพื้นที่ของ ศูนย์พัฒนาศักยภาพและอาชีพคนพิการพระประแดง







  4) นวัตกรรม/รูปแบบ/แนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการศึกษาที่เน้นการมีส่วนร่วม และการส่งเสริมการฝึกทักษะดิจิทัลในชีวิตประจำวัน ของสถานศึกษาท่านที่คิดว่าเป็นต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice) (ถ้ามี)** แนบไฟล์ภาพ หรือรายละเอียด
  

          Best Practice ของการจัดการเรียนการสอนภายใต้หลักสูตรอาชีพคือ ผลผลิตจากการจัดการเรียนรู้การเพาะถั่วงอก และการเรียนรู้ภายใต้โครงการเศรษฐกิจพอเพียงของครูสู่การเรียนรู้ของนักเรียน




  5) ท่านมีความพึงพอใจในการดำเนินงานตามนโยบายอยู่ในระดับใด
      พึงพอใจมากที่สุด
      พึงพอใจมาก
      พึงพอใจปานกลาง
      พึงพอใจน้อย
      พึงพอใจน้อยที่สุด
4. ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
4.1 การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการศึกษาทุกระดับการศึกษาที่เน้นการมีส่วนร่วมและการส่งเสริมการฝึกทักษะดิจิทัลในชีวิตประจำวัน
  1) สภาพความก้าวหน้า
     (1) การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการศึกษาทุกระดับการศึกษาที่เน้นการมีส่วนร่วม และการส่งเสริมการฝึกทักษะดิจิทัลในชีวิตประจำวัน
          (1.1) การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการศึกษาทุกระดับการศึกษา
                สถานศึกษามีการจัดทำ/นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการศึกษา ทุกระดับการศึกษา ระบุ ระดับเตรียมความพร้อม
                ครูได้รับการพัฒนาการจัดทำสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยและนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอน
                สถานศึกษามีการส่งเสริม สนับสนุน โดยการจัดการเรียนการสอน/กิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนได้รับ การส่งเสริมการฝึกทักษะดิจิทัลในชีวิตประจำวัน
     (2) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
           On-Site (การจัดการเรียนการสอนตามปกติ)
           On Air (การเรียนการสอนผ่านทีวี/ผ่านระบบดาวเทียม/ระบบเคเบิลทีวี/ระบบ IPTV/ระบบ Zoom)
           Online (การเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ต)
           On Hand (การจัดการเรียนการสอนโดยนำหนังสือ แบบฝึกหัด ใบงาน ไปเรียนรู้ที่บ้านภายใต้ความช่วยเหลือของผู้ปกครอง)
           On-Demand (การเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์ DLTV ช่อง Youtube และแอพลิเคชัน DLTV บนสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต และอื่นๆ)
           รูปแบบผสมผสาน ระบุ Online On Hand On-Demand
  2) ปัญหาและอุปสรรค
      ครูขาดการพัฒนาในการจัดทำสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยและนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอน
      ครูไม่มีความชำนาญในการใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย
      ผู้เรียนขาดแคลนอุปกรณ์และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต สำหรับการเรียนการสอน
      ผู้เรียนขาดการมีส่วนร่วมในการเรียน
      อื่นๆ (ถ้ามี) ระบุ ผู้ปกครองและผู้เรียนยังไม่มีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีร่วมกับครูผู้สอน ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนมีข้อจำกัดและมีความยากลำบาก
  3) สถานศึกษามีวิธีการแก้ไขปัญหาที่ระบุตามข้อ 2) อย่างไร
  

3.1 ครูผู้สอนส่วนใหญ่ยังไม่มีความชำนาญในการจัดทำสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยและยังไม่ได้นำสื่อเทคโนโลยีมาปรับใช้กับการเรียนการสอน ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสมุทรปราการ จึงได้ดำเนิน พัฒนาครูในการจัดทำสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยและนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอน โดยการจัดอบรม การสร้างสื่อออนไลน์ให้กับบุคลากร เพื่อเพิ่มความสามารถของครุผู้สอนในการใช้เทคโนโลยีเพื่อที่จะสามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมที่หลากหลายให้กับผู้เรียนได้

3.2 เนื่องจากผู้เรียนบางรายขาดแคลนอุปกรณ์และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต สำหรับการเรียนการสอน ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสมุทรปราการ จึงเน้นให้ผู้สอนจัดการเรียนการสอนแบบ On Hand และติดตามผลการจัดการเรียนการสอนเป็นระยะ

3.3 เด็กพิการทุกประเภท มีพฤติกรรมที่แสดงออกและมีความต้องการที่แตกต่างกัน และมีความยากลำบากในการเรียน จึงส่งผลให้ผู้เรียนส่วนใหญ่ขาดการมีส่วนร่วมในการเรียน ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสมุทรปราการ จึงแก้ปัญหาโดยการ ให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน เพื่อจะได้นำเทคนิค / วิธีการสอน และสื่อไปใช้จัดการเรียนการสอนเปรียบเสมือนครุอีกหนึ่งคนที่จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ 

  3.4 ผู้ปกครองยังไม่มีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีและมีข้อจำกัดด้านอุปกรณ์และการจัดสรรเวลาในการให้ความร่วมมือกับครูเพื่อที่จะจัดกิจกรรมให้กับผู้เรียน ดังนั้นศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสมุทรปราการ จึงต้องทำความเข้าใจกับผู้ปกครองถึงความสำคัญในการพัฒนาผู้เรียน ในการฝึกฝนผุ้เรียนในครบทั้งด้านร่างกาย สังคม อารมณ์ และสติปัญญารวมถึงการทักษะจำเฉพาะความพิการ และครูผู้สอนเองก็ได้มีการทำความเข้าใจและคอยให้คำแนะนำ ให้ความช่วยเหลือผู้ปกครองค่อยๆ ปรับเวลาและฝึกฝนในการใช้เทคโนโลยีและสื่อการสอนร่วมกับครูผู้สอนได้ และส่งผลให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมและได้รับการพัฒนาตามศักยภาพของผู้เรียนได้



  4) นวัตกรรม/รูปแบบ/แนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการศึกษาทุกระดับการศึกษาที่เน้นการมีส่วนร่วม และการส่งเสริมการฝึกทักษะดิจิทัลในชีวิตประจำวัน ของสถานศึกษาท่าน ที่ท่านคิดว่าเป็นต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice) (ถ้ามี) ** แนบไฟล์ภาพ หรือรายละเอียด
  

        ในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษานั้นเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมาก ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสมุทรปราการ ที่ให้บริการด้านการศึกษาแก่เด็กพิการทุกประเภทความพิการ จึงได้จัดรุปแบบการศึกษาแบบผสมผสาน รูปแบบการเรียนการสอน Online, On-Handและ On-Demand เข้าด้วยกัน เพื่อแก้ไขปัญหาในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยคำนึงถึงความแตกต่างเฉพาะบุคคลของผู้เรียน พร้อมจัดทำสื่อ ใบงาน และเอกสารต่างๆ ส่งให้กับผู้ปกครอง ( On Hand ) จากนั้นใช้วิธีการสอน Online ควบคู่กับสื่อ ใบงาน ที่ผู้สอนจัดส่งให้ แต่ถ้าหลังจากที่จัดการเรียนการสอน ( Online ) แล้ว ผู้ปกครองยังไม่เข้าใจหรืออยากศึกษาเพิ่มเติมผู้ปกครองสามารถ ดูได้จากวิดีโอ ที่ผู้สอนทำไว้ใน YouTube ได้ตลอดเวลา ( On-Demand ) และเครื่องมือสำคัญของการจัดการเรียนรู้ก็คือ สื่อและนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ โดยศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสมุทรปราการเองได้รวบรวมสื่อทั้งในรูปแบบออนไลน์ละรูปแบบใบงานต่าง ๆ    ให้อยู่ใน คลังสื่อออนไลน์ เพื่อที่ครูผู้สอนทุกคนสามารถแบ่งปันและหยิบยืมสื่อการสอนจากครูทุกคนได้โดยเข้าไปยังคลังสื่อออนไลน์ เพื่อเพิ่มความหลากหลายในการจัดกิจกรรมให้กับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมหรือสื่อเทคโนโลยีที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น








  5) ท่านมีความพึงพอใจในการดำเนินงานตามนโยบายอยู่ในระดับใด
      พึงพอใจมากที่สุด
      พึงพอใจมาก
      พึงพอใจปานกลาง
      พึงพอใจน้อย
      พึงพอใจน้อยที่สุด
Connect Error (1049) Unknown database 'db_sp_onet'