ระบบสารสนเทศ สำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล

รายงานสรุปข้อมูล การติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบาย


2.4 การจัดทำระบบวัดผลรองรับมาตรฐานวิชาชีพ (Skill Certificate) ผู้เรียนสามารถเรียนเพิ่ม เพื่อรับประกาศนียบัตรในการประกอบอาชีพ

หน่วยงานที่รวบรวมและนำเข้าข้อมูล : สำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล สป.
  แหล่งข้อมูล/หน่วยงานผู้ให้ข้อมูล : หน่วยงานราชการส่วนกลาง (สพฐ., สอศ., สกร.)
  ระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูล : รอบที่ 2 เดือนกันยายน 2567

คำชี้แจง :
     1. การจัดทำระบบวัดผลรองรับมาตรฐานวิชาชีพ (Skill Certificate) หมายถึง แนวทาง การขับเคลื่อนเพื่อให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาจัดการเรียนการสอน ได้สอดคล้องกับความต้องการของภาคประกอบการ โดยการเชื่อมโยงการศึกษากับโลกการทำงานด้วยกลไกฐานอาชีพจากองค์กรรับรองมาตรฐานอาชีพและกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ สร้างความพร้อม ทางเลือก และความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพให้กับผู้สำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษาอาชีวศึกษาในการเข้าสู่อาชีพตามความสนใจความถนัด และส่งเสริมการสะสมประสบการณ์ทางอาชีพทั้งในระหว่างเรียนและการทำงาน โดยผู้เรียนสามารถเรียนเพิ่มเพื่อรับประกาศนียบัตรในการประกอบอาชีพด้วยการนำหน่วยกิตสะสมมาใช้เทียบคุณวุฒิ รับรองมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อรับประกาศนียบัตรในการประกอบอาชีพ ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสายอาชีวศึกษาสามารถขอการรับรองมาตรฐานวิชาชีพ ได้ในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ในระบบ เพื่อให้ผู้เรียนมีทางเลือกที่จะมีรายได้ระหว่างเรียนควบคู่กับการทำงานไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นการสร้างกำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง
     2. หลักสูตรที่เชื่อมโยงมาตรฐานอาชีพหรือมาตรฐานสากล หมายถึง การพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน และหลักสูตรการฝึกอบรมที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานอาชีพ และสอดคล้องตามหลักการของกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (National Qualifications Framework : NQF) ที่เชื่อมโยงระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้ในหลักสูตรตามระดับการศึกษากับระดับสมรรถนะในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานอาชีพ พร้อมทั้งส่งเสริม การเทียบโอนผลลัพธ์การเรียนรู้ และประสบการณ์ที่มีอยู่ก่อน (Recognition of Prior Learning: RPL) รองรับระบบการสะสมและเทียบโอนหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) จากมาตรฐานอาชีพ

ตารางแสดงจำนวนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2567 ที่เชื่อมโยงมาตรฐานอาชีพตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ

ประเภทวิชา
กลุ่มอาชีพ
สาขาวิชา
ประเภทวิชาอุตสาหกรรม กลุ่มอาชีพเครื่องกลและยานยนต์ สาขาวิชาช่างยนต์
สาขาวิชาช่างซ่อมบำรุงเรือ
สาขาวิชาช่างซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลเกษตร
สาขาวิชายานยนต์ไฟฟ้า
สาขาวิชาตัวถังและสีรถยนต์
กลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมการผลิต สาขาวิชาช่างกลโรงงาน
สาขาวิชาช่างเชื่อมโลหะ
สาขาวิชาช่างเขียนแบบเครื่องกล
สาขาวิชาซ่อมบำรุง
สาขาวิชาช่างต่อเรือ
สาขาวิชาผลิตเครื่องมือแพทย์
กลุ่มอาชีพพลังงาน ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาช่างไฟฟ้า
สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์
สาขาวิชาการสื่อสารโทรคมนาคม
สาขาวิชาช่างเครื่องทำความเย็นและปรับอากาศ
กลุ่มอาชีพเมคคาทรอนิกส์ หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ สาขาวิชาแมคคาโทนิคและหุ่นยนต์
กลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้าง สาขาวิชาช่างก่อสร้าง
สาขาวิชาเฟอร์นิเจอร์และตกแต่งภายใน
สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
สาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมสำรวจ
สาขาวิชาโยธา
กลุ่มอาชีพปิโตรเลียมและปิโตรเคมี สาขาวิชาช่างเครื่องมือวัดและควบคุม
สาขาวิชาอุตสาหกรรมยาง
กลุ่มอาชีพการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ สาขาวิชาการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
กลุ่มอาชีพเครื่องกลและยานยนต์ สาขาวิชาตัวถังและสีรถ
กลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมการผลิต สาขาวิชาผลิตเครื่องมือแพทย์
ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ กลุ่มอาชีพการเงินและบัญชี สาขาวิชาการบัญชี
กลุ่มอาชีพการตลาด สาขาวิชาการตลาด
สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก
กลุ่มอาชีพการจัดการ สาขาวิชาการเลขานุการ
สาขาวิชาภาษาต่างประเทศธุรกิจบริการ
สาขาวิชาการจัดการสำนักงานดิจิทัล
สาขาวิชาธุรกิจงานบริการยานยนต์
กลุ่มอาชีพการจัดการ สาขาวิชาธุรกิจงานบริการยานยนต์
ประเภทวิชาค่ากรรม กลุ่มอาชีพการประดิษฐ์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
สาขาวิชาธุรกิจคหกรรม
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว กลุ่มอาชีพการโรงแรม สาขาวิชาการ
กลุ่มอาชีพการท่องเที่ยว สาขาวิชาการท่องเที่ยว
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม กลุ่มอาชีพบริการและเสริมสร้างสุขภาพ สาขาวิชาการจัดการงานบริการสถานพยาบาล
สาขาวิชาธุรกิจการกีฬา
กลุ่มอาชีพเสริมสวยและความงาม สาขาวิชาธุรกิจเสริมสวย
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์ สาขาวิชาโลจิสติกส์
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มอาชีพการประกอบและบริการอาหาร สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
ประเภทวิชาศิลปกรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กลุ่มอาชีพศิลปะและการออกแบบ สาขาวิชาวิจิตรศิลป์
สาขาวิชาการออกแบบ
สาขาวิชาการถ่ายภาพและมัลติมีเดีย
สาขาวิชาเทคโนโลยีศิลปกรรม
สาขาวิชาดิจิทัลกราฟฟิค
สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
กลุ่มอาชีพหัตถศิลป์ สาขาวิชาศิลปกรรมเซรามิก
กลุ่มอาชีพอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า สาขาวิชางานเครื่องถมและเครื่องประดับ
สาขาวิชาเครื่องประดับอัญมณี
สาขาวิชาช่างทองหลวง
กลุ่มอาชีพเครื่องหนัง สาขาวิชาอุตสาหกรรมเครื่องหนัง
ประเภทวิชาเกษตรกรรมและประมง กลุ่มอาชีพเกษตรผสมผสาน สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
ประเภทประเภทวิชาอุตสาหกรรมแฟชั่นและสิ่งทอ กลุ่มอาชีพสินธรและเครื่องนุ่งห่ม สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ
สาขาวิชาเคมีสิ่งทอ
สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องนุ่งห่ม
กลุ่มอาชีพแฟชั่น สาขาวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มอาชีพฮาร์ดแวร์ สาขาวิชาช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์
กลุ่มอาชีพซอฟต์แวร์และการประยุกต์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์
กลุ่มอาชีพธุรกิจดิจิทัลและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมบันเทิง กลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมบันเทิง สาขาวิชาอุตสาหกรรมแสงและเสียง
กลุ่มอาชีพอาชีพดนตรี สาขาวิชาอุตสาหกรรมดนตรี
ประเภทวิชาเกษตรกรรมและประมง กลุ่มอาชีพเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร สาขาวิชานวัตกรรมเกษตร
กลุ่มอาชีพประมง สาขาวิชาประมง
รวม 12 ประเภทวิชา
รวม 31 กลุ่มอาชีพ
รวม 66 สาขาวิชา
ย้อนกลับ