รายงานสรุปข้อมูล การติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบาย
2.4 การจัดทำระบบวัดผลรองรับมาตรฐานวิชาชีพ (Skill Certificate) ผู้เรียนสามารถเรียนเพิ่ม เพื่อรับประกาศนียบัตรในการประกอบอาชีพ
หน่วยงานที่รวบรวมและนำเข้าข้อมูล : สำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล สป.
แหล่งข้อมูล/หน่วยงานผู้ให้ข้อมูล : หน่วยงานราชการส่วนกลาง (สพฐ., สอศ., สกร.)
ระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูล : รอบที่ 2 เดือนกันยายน 2567
1. การจัดทำระบบวัดผลรองรับมาตรฐานวิชาชีพ (Skill Certificate) หมายถึง แนวทาง การขับเคลื่อนเพื่อให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาจัดการเรียนการสอน ได้สอดคล้องกับความต้องการของภาคประกอบการ โดยการเชื่อมโยงการศึกษากับโลกการทำงานด้วยกลไกฐานอาชีพจากองค์กรรับรองมาตรฐานอาชีพและกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ สร้างความพร้อม ทางเลือก และความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพให้กับผู้สำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษาอาชีวศึกษาในการเข้าสู่อาชีพตามความสนใจความถนัด และส่งเสริมการสะสมประสบการณ์ทางอาชีพทั้งในระหว่างเรียนและการทำงาน โดยผู้เรียนสามารถเรียนเพิ่มเพื่อรับประกาศนียบัตรในการประกอบอาชีพด้วยการนำหน่วยกิตสะสมมาใช้เทียบคุณวุฒิ รับรองมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อรับประกาศนียบัตรในการประกอบอาชีพ ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสายอาชีวศึกษาสามารถขอการรับรองมาตรฐานวิชาชีพ ได้ในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ในระบบ เพื่อให้ผู้เรียนมีทางเลือกที่จะมีรายได้ระหว่างเรียนควบคู่กับการทำงานไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นการสร้างกำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง
2. หลักสูตรที่เชื่อมโยงมาตรฐานอาชีพหรือมาตรฐานสากล หมายถึง การพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน และหลักสูตรการฝึกอบรมที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานอาชีพ และสอดคล้องตามหลักการของกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (National Qualifications Framework : NQF) ที่เชื่อมโยงระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้ในหลักสูตรตามระดับการศึกษากับระดับสมรรถนะในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานอาชีพ พร้อมทั้งส่งเสริม การเทียบโอนผลลัพธ์การเรียนรู้ และประสบการณ์ที่มีอยู่ก่อน (Recognition of Prior Learning: RPL) รองรับระบบการสะสมและเทียบโอนหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) จากมาตรฐานอาชีพ
กราฟแท่งแสดงจำนวนหลักสูตรที่สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ (รอดำเนินการขอรับรองความสอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน))
สพฐ. | - |
สอศ - ปวช. | 66 |
สอศ - ปวส. | 104 |
สอส. - หลักสูตรระยะสั้น | 76 |
สช. | 26 |
สกร. | 3 |
275 |