รายงานสรุปข้อมูล การติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบาย
2.4 การจัดทำระบบวัดผลรองรับมาตรฐานวิชาชีพ (Skill Certificate) ผู้เรียนสามารถเรียนเพิ่ม เพื่อรับประกาศนียบัตรในการประกอบอาชีพ
หน่วยงานที่รวบรวมและนำเข้าข้อมูล : สำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล สป.
แหล่งข้อมูล/หน่วยงานผู้ให้ข้อมูล : หน่วยงานราชการส่วนกลาง (สพฐ., สอศ., สกร.)
ระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูล : รอบที่ 2 เดือนกันยายน 2567
1. การจัดทำระบบวัดผลรองรับมาตรฐานวิชาชีพ (Skill Certificate) หมายถึง แนวทาง การขับเคลื่อนเพื่อให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาจัดการเรียนการสอน ได้สอดคล้องกับความต้องการของภาคประกอบการ โดยการเชื่อมโยงการศึกษากับโลกการทำงานด้วยกลไกฐานอาชีพจากองค์กรรับรองมาตรฐานอาชีพและกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ สร้างความพร้อม ทางเลือก และความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพให้กับผู้สำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษาอาชีวศึกษาในการเข้าสู่อาชีพตามความสนใจความถนัด และส่งเสริมการสะสมประสบการณ์ทางอาชีพทั้งในระหว่างเรียนและการทำงาน โดยผู้เรียนสามารถเรียนเพิ่มเพื่อรับประกาศนียบัตรในการประกอบอาชีพด้วยการนำหน่วยกิตสะสมมาใช้เทียบคุณวุฒิ รับรองมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อรับประกาศนียบัตรในการประกอบอาชีพ ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสายอาชีวศึกษาสามารถขอการรับรองมาตรฐานวิชาชีพ ได้ในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ในระบบ เพื่อให้ผู้เรียนมีทางเลือกที่จะมีรายได้ระหว่างเรียนควบคู่กับการทำงานไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นการสร้างกำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง
2. หลักสูตรที่เชื่อมโยงมาตรฐานอาชีพหรือมาตรฐานสากล หมายถึง การพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน และหลักสูตรการฝึกอบรมที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานอาชีพ และสอดคล้องตามหลักการของกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (National Qualifications Framework : NQF) ที่เชื่อมโยงระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้ในหลักสูตรตามระดับการศึกษากับระดับสมรรถนะในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานอาชีพ พร้อมทั้งส่งเสริม การเทียบโอนผลลัพธ์การเรียนรู้ และประสบการณ์ที่มีอยู่ก่อน (Recognition of Prior Learning: RPL) รองรับระบบการสะสมและเทียบโอนหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) จากมาตรฐานอาชีพ
"ตารางสรุป (ร่าง) หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นเชื่อมโยงกับระบบรับรองความสามารถที่เฉพาะเจาะจง (Micro-Credentials)
และธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank) สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ ที่ครอบคลุมทั้ง 8 ด้าน ได้แก่ ด้านกาท่องเที่ยว ด้านการแพทย์และสุขภาพ ด้านอาหาร ด้านการบิน ด้านขนส่งของภูมิภาค ด้านยานยนต์แห่งอนาคต ด้านเศรษฐกิจดิจิตอล และด้านการเงิน บนพื้นฐานสำคัญของประเทศ 6 ด้าน เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อไปสอดรับกับแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนรองรับการขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก (IGNITE THAILAND)"
HUB 8 ด้าน | สาขาวิชา | ชื่อหลักสูตร | ชั่วโมง | |
---|---|---|---|---|
1. | ศูนย์กลางเมืองท่องเที่ยว (Tourism Hub) | การโรงแรม | 1. บาร์และเครื่องดื่ม (Bar& Beverage) | 30 |
2. สุดยอดมืออาชีพการบริการอาหารและเครื่องดื่ม (Super Professional Food and Beverage service) | 45 | |||
3. ศิลปะการชงกาแฟ ระดับมืออาชีพ (The art of making coffee, Professional Level) | 36 | |||
การท่องเที่ยว | 1. การจัดการระบบเอกสารบนเรือสำราญ (Embarkation) | 30 | ||
2. ต้อนรับผู้โดยสารเรือสำราญ (Guests service on cruise) | 30 | |||
3. ภาษาอังกฤษเพื่องานบนเรือสำราญ (English for cruise) | 60 | |||
4. สปาบนเรือสำราญ (Spa on cruise) | 80 | |||
2. | ศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพ (Wellness & Medical Hub) | การจัดการดูแลผู้สูงอายุ | 1. กิจกรรมนันทนาการชะลอวัยสำหรับผู้สูงอายุ | 30 |
2. การดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น | 18 | |||
3. พื้นฐานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ | 200 | |||
4. การพัฒนาสุขภาพและบริการผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21 | 230 | |||
ธุรกิจความงาม | 1. การสักคิ้วไล่เฉดสีแบบยุโรป (Eyebrow Tattoo European Style Gradient) | 75 | ||
2. เทคนิคการต่อขนตาระดับมืออาชีพ (Professional Eyelash Extension Techniques) | 75 | |||
3. เทคนิคการเปลี่ยนสีผมระดับสากล (International Hair Coloring Technique) | 75 | |||
3. | ศูนย์กลางอาหาร (Agriculture & Food Hub) | อาหารและโภชนาการ | 1. หลักสูตรพ่อครัวแม่ครัวมืออาชีพ ระดับพื้นฐาน | 30 |
2. หลักสูตรพ่อครัวแม่ครัวมืออาชีพ ขั้นต้น | 32 | |||
3. หลักสูตรพ่อครัวแม่ครัวมืออาชีพ ขั้นกลาง | 32 | |||
4. หลักสูตรพ่อครัวแม่ครัวมืออาชีพ ขั้นสูง พนักงานครัว S&P ตำแหน่งหัวหน้าครัว | 40 | |||
เชฟอาหารไทย | 1. ชื่อหลักสูตร การประกอบอาหารไทยยอดนิยม Popular Thai cooking | 90 | ||
2. พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารไทย (Develop Thai food products) | 90 | |||
3. อาหารประจำถิ่นภาคใต้ | 90 | |||
4. อาหารไทยโบราณ | 90 | |||
พืชศาสตร์ | 1. สวนสวยกินได้ | 30 | ||
2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของพืชอาหารและการประกอบธุรกิจ | 45 | |||
เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ | 1. การเลี้ยงแพลงก์ตอนสำหรับเป็นอาหารสัตว์น้ำ | 75 | ||
4. | ศูนย์กลางการบิน (Aviation Hub) | ช่างอากาศยาน | 1. การรับส่งอากาศยาน Aircraft Marshalling | 18 |
1. การเลี้ยงแพลงก์ตอนสำหรับเป็นอาหารสัตว์น้ำ | 75 | |||
2. การจัดการการขนส่งทางอากาศ (Air Cargo Management) | 21 | |||
3. การจัดการสัมภาระ (Baggage Services) | 21 | |||
4. การให้บริการอากาศยานและการระวางบรรทุก (Aircraft Handling and Loading) | 28 | |||
5. การปฎิบัติการทางการบิน (Flight Operations) | 28 | |||
5. | ศูนย์กลางขนส่งของภูมิภาค (Logistic Hub) | การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน | 1. ผู้ปฏิบัติงานคลังสินค้า (Warehouse Management) | 45 |
2. ผู้ควบคุมคลังสินค้าไซโล (Silo Operator) | 60 | |||
3. ผู้ปฏิบัติงานพิธีการศุลกากร (Customs clearance person) | 60 | |||
4. นักวางแผนอุปสงค์ (Demand Planner) | 60 | |||
5. ผู้จัดการขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) | 60 | |||
6. ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Freight Forwarder) | 60 | |||
7. พนักงานควบคุมยานพาหนะมืออาชีพ (Smart Driver) | 90 | |||
ระบบขนส่งทางราง | 1. การติดตั้งและซ่อมบำรุงรักษาทางรถไฟและรถไฟฟ้า | 30 | ||
2. งานซ่อมบำรุงโบกี้รถไฟ (Bogie maintenance) | 30 | |||
3. การเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานสถานีจ่ายฟ้าขับเคลื่อนรถไฟ (Traction substation control and operation programming) | 30 | |||
4. ความรู้พื้นฐานและความปลอดภัยในระบบรถไฟฟ้าขั้นต้น (Basic Knowledge and General Safety in Railway System) | 32 | |||
การเดินเรือ | 1. พื้นฐานการรักษาความปลอดภัยในเรือ (Security awareness training For all seafarers course) | 6 | ||
2. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือ (Security training for seafarers with designated Security duties course) | 11.5 | |||
3. การดำรงชีพในทะเล (Personal survival techniques course) | 15 | |||
4. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น (Elementary First Aid Course) | 16 | |||
5. การป้องกันและการดับไฟ (Fire prevention and fire fighting course) | 16 | |||
6. ความปลอดภัยของบุคคลและความรับผิดชอบต่อสังคม (Personal safety and social responsibilities course) | 20 | |||
เทคโนโลยีการต่อเรือ | 1. งานสีพ่นสีเจลโค๊ตและขัดแต่งสีเจล | 75 | ||
2. การสอนขับเรือสปีดโบ๊ท | 75 | |||
3. งานหล่อผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กลาส | 75 | |||
เทคนิคเครื่องกลเรือ | 1. พื้นฐานการรักษาความปลอดภัยในเรือ (Security awareness training For all seafarers course) | 6 | ||
2. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประจำเรือ (Security training for seafarers with designated Security duties course) | 11.5 | |||
3. การดำรงชีพในทะเล (Personal survival techniques course ) | 15 | |||
4. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น (Elementary First Aid Course) | 16 | |||
5. การป้องกันและการดับไฟ (Fire prevention and fire fighting course) | 16 | |||
6. ความปลอดภัยของบุคคลและความรับผิดชอบต่อสังคม (Personal safety and social responsibilities course) | 20 | |||
6. | ศูนย์กลางผลิตยานยนต์แห่งอนาคต (Future Mobility Hub) | เทคนิคเครื่องกล | 1. ช่างซ่อมอิเล็กทรอนิกส์รถยนต์ชั้นสูง (Advanced car electronics repair technician) | 75 |
2. ช่างซ่อมอิเล็กทรอนิกส์รถยนต์เบื้องต้น (Basic automotive electronics repair technician) | 75 | |||
3. ช่างซ่อมไฟฟ้ารถยนต์ (Automobile electrical technician) | 75 | |||
เทคนิคยานยนต์ไฟฟ้า | 1. วินิจฉัยและแก้ปัญหาระบบเบรกของรถยนต์ไฟฟ้า (Diagnose and troubleshoot the brake system of an electric vehicle) | 7 | ||
2. งานประกอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า (Battery assembly for electric vehicles) | 14 | |||
3. วินิจฉัยและแก้ไขปัญหาระบบปรับอากาศและระบบระบายความร้อนของรถยนต์ไฟฟ้า (Diagnosis of the air conditioning and battery cooling system in electric vehicles) | 14 | |||
4. วินิจฉัยและแก้ไขปัญหาระบบขับเคลื่อนและควบคุมของรถยนต์ไฟฟ้า (Diagnosis of Drive and Control System Issues in Electric Vehicles) | 21 | |||
5. วินิจฉัยและแก้ไขปัญหาระบบแบตเตอรี่ไฟฟ้าแรงดันสูงและระบบอัดประจุไฟฟ้าของรถยนต์ไฟฟ้า (Diagnosis of battery and charging system in electric vehicles) | 21 | |||
เทคโนโลยีอุตสาหกรรมตัวถังและสีรถยนต์ | 1. ถอด – ประกอบชิ้นส่วนตัวถังรถยนต์ | 45 | ||
2. งานซ่อมเยาตัวถังรถยนต์ | 90 | |||
3. งานเชื่อมตัวถังรถยนต์ | 90 | |||
4. งานเตรียมพื้นผิวงานซ่อมสีรถยนต์ | 75 | |||
5. งานพ่นซ่อมสีรถยนต์เฉพาะจุด | 75 | |||
7. | ศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy Hub) | เทคโนโลยีสารสนเทศ | 1. ระบบปฏิบัติการแม่ข่ายลีนุกซ์ (Linux Server Administration) | 36 |
2. เครือข่ายและความปลอดภัยไซเบอร์ (Network Architecture and Security) | 60 | |||
3. การบริหารจัดการเครือข่าย (Mastering Network Administrator) | 60 | |||
เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล | 1. ช่างเทคนิคคอมพิวเตอร์ (Computer Technician) | 30 | ||
2. นักสร้างเนื้อหาออนไลน์ (Content Creator) | 48 | |||
3. นักออกแบบกราฟิก (Graphic Design) | 60 | |||
4. นักพัฒนาระบบ (System Developer) | 66 | |||
8. | ศูนย์กลางทางการเงิน (Financial Hub) | การบัญชี | ||
หมายเหตุ : | สีแดง ยังไม่ส่งข้อมูล สาขาวิชาบัญชี ไม่เข้าร่วมการประชุม พัฒนาหลักสูตรระยะสั้น รวมทั้งสิน้ 76 หลักสูตร |