รายงานสรุปข้อมูล การติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบาย
2.4 การจัดทำระบบวัดผลรองรับมาตรฐานวิชาชีพ (Skill Certificate) ผู้เรียนสามารถเรียนเพิ่ม เพื่อรับประกาศนียบัตรในการประกอบอาชีพ
หน่วยงานที่รวบรวมและนำเข้าข้อมูล : สำนักตรวจราชการและติดตามประเมินผล สป.
แหล่งข้อมูล/หน่วยงานผู้ให้ข้อมูล : หน่วยงานราชการส่วนกลาง (สพฐ., สอศ., สกร.)
ระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูล : รอบที่ 2 เดือนกันยายน 2567
1. การจัดทำระบบวัดผลรองรับมาตรฐานวิชาชีพ (Skill Certificate) หมายถึง แนวทาง การขับเคลื่อนเพื่อให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาจัดการเรียนการสอน ได้สอดคล้องกับความต้องการของภาคประกอบการ โดยการเชื่อมโยงการศึกษากับโลกการทำงานด้วยกลไกฐานอาชีพจากองค์กรรับรองมาตรฐานอาชีพและกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ สร้างความพร้อม ทางเลือก และความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพให้กับผู้สำเร็จการศึกษาจากสถานศึกษาอาชีวศึกษาในการเข้าสู่อาชีพตามความสนใจความถนัด และส่งเสริมการสะสมประสบการณ์ทางอาชีพทั้งในระหว่างเรียนและการทำงาน โดยผู้เรียนสามารถเรียนเพิ่มเพื่อรับประกาศนียบัตรในการประกอบอาชีพด้วยการนำหน่วยกิตสะสมมาใช้เทียบคุณวุฒิ รับรองมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อรับประกาศนียบัตรในการประกอบอาชีพ ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสายอาชีวศึกษาสามารถขอการรับรองมาตรฐานวิชาชีพ ได้ในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ในระบบ เพื่อให้ผู้เรียนมีทางเลือกที่จะมีรายได้ระหว่างเรียนควบคู่กับการทำงานไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นการสร้างกำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง
2. หลักสูตรที่เชื่อมโยงมาตรฐานอาชีพหรือมาตรฐานสากล หมายถึง การพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน และหลักสูตรการฝึกอบรมที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานอาชีพ และสอดคล้องตามหลักการของกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (National Qualifications Framework : NQF) ที่เชื่อมโยงระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้ในหลักสูตรตามระดับการศึกษากับระดับสมรรถนะในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานอาชีพ พร้อมทั้งส่งเสริม การเทียบโอนผลลัพธ์การเรียนรู้ และประสบการณ์ที่มีอยู่ก่อน (Recognition of Prior Learning: RPL) รองรับระบบการสะสมและเทียบโอนหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) จากมาตรฐานอาชีพ
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสำหรับการจัด
การเรียนการสอนที่เชื่อมโยงกับมาตรฐานอาชีพและระบบคุณวุฒิวิชาชีพตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ทั้งนี้ อยู่ระหว่าง
รอจัดทำประกาศเป็นหลักสูตรต้นแบบของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เนื่องจากอยู่ระหว่างรอผล
การพิจารณาความสอดคล้องจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) จำนวน 26 หลักสูตร
หลักสูตร | จำนวน | |
---|---|---|
กลุ่มเสริมสวยและตัดเย็บเสื้อผ้า และกลุ่มบริบาล จำนวน 15 หลักสูตร | ||
1. | ตัดเย็บเสื้อผ้าชั้นต้น | 480 ชั่วโมง |
2. | ตัดเย็บเสื้อผ้ามืออาชีพ | 960 ชั่วโมง |
3. | ธุรการหอผู้ป่วย | 330 ชั่วโมง |
4. | นักเคลื่อนย้ายผู้ป่วย | 210 ชั่วโมง |
5. | ผู้ช่วยเวชระเบียน | 360 ชั่วโมง |
6. | อาชีพช่างสักคิ้วมืออาชีพ | 540 ชั่วโมง |
7. | อาชีพช่างสักคิ้วฝุ่น | 180 ชั่วโมง |
8. | อาชีพช่างคิ้วไมโครเบลดดิ้ง | 180 ชั่วโมง |
9. | อาชีพช่างสักคิ้วแฮร์สโตก | 180 ชั่วโมง |
10. | อาชีพช่างสักคิ้วแฮร์สโตกเฉดดิ้ง | 180 ชั่วโมง |
11. | อาชีพช่างสระไดร์ทรงผมวอลลุ่ม | 90 ชั่วโมง |
12. | อาชีพช่างดัดซอยผมสตรี | 120 ชั่วโมง |
13. | อาชีพช่างดัดผมมาตรฐาน | 76 ชั่วโมง |
14. | อาชีพช่างดัดผมดิจิตอล | 30 ชั่วโมง |
15. | อาชีพช่างออกแบบทรงผมแฟชั่นบุรุษ | 90 ชั่วโมง |
กลุ่มภาษา และกลุ่มหลักสูตรอื่น ๆ จำนวน 11 หลักสูตร | ||
16. | การจัดการภาษาเกาหลีเพื่อไปทำงานสาธารณรัฐเกาหลี | 540 ชั่วโมง |
17. | ภาษาอังกฤษสำหรับอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ ระดับ B1 | 40 ชั่วโมง |
18. | ภาษาอังกฤษสำหรับอาชีพพี่เลี้ยงเด็ก ระดับ B1 | 40 ชั่วโมง |
19. | ภาษาอังกฤษสำหรับอาชีพเสริมสวย ระดับ B1 | 40 ชั่วโมง |
20. | ภาษาญี่ปุ่นสำหรับงานบริบาล | 440 ชั่วโมง |
21. | พื้นฐานโค้ดดิ้ง | 20 ชั่วโมง |
22. | ผู้ฝึกสอนมวยไทย | 60 ชั่วโมง |
23. | เทคนิคการวิจัยเบื้องต้น | 40 ชั่วโมง |
24. | การบริหารงานบุคคลสมัยใหม่ | 48 ชั่วโมง |
25. | อาชีพผู้สอนดนตรีไทย | 300 ชั่วโมง |
26. | อาชีพนักดนตรีไทย | 78 ชั่วโมง |
รวม 26 หลักสูตร |