ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 26 สิงหาคม 2564
หัวข้อการตรวจกรณีพิเศษ : การจัดการเรียนการสอนในสถานะการ Covid-19
การตรวจราชการกรณีพิเศษ
ตามที่สำนักงานศึกษาธิการภาค 8 ได้มอบหมายให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดฉะเชิงเทรา ดำเนินการลงพื้นที่ เพื่อการติดตามแนวทางการจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ 2564 ถึงวันที่ 9 เมษายน 2564) ของสถานศึกษาในสังกัด ตามตารางกำหนดการตรวจ ติดตามการจัดการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
1. สถานการณ์การแพร่ระบาดในพื้นที่
ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 เป็นต้นมาได้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในหลายพื้นที่และแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว แม้ว่าการระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้นในช่วงสถานศึกษาปิดภาคเรียน แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน จังหวัดฉะเชิงเทราแม้ไม่ได้อยู่ใน 10 จังหวัด แต่ถือว่าเป็นจังหวัดใกล้เคียงที่จะต้องเตรียมการตั้งรับสถานการณ์และป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเข้มข้นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในทุกวิถีทาง
ต่อมาในช่วง เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2564 พบว่าสถานการณ์แพร่ระบาดในจังหวัดฉะเชิงเทรา ยังมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยเมื่อ วันที่ 10 กรกฎาคม 2564 นายไมตรี ไตรติลานันท์ ผวจ.ฉะเชิงเทรา ได้ออกคำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ 56/2564 เรื่อง ปิดสถานที่ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด – 19 ไว้เป็นการชั่วคราว เพื่อเป็นการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ในฐานะประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัดฉะเชิงเทรา และเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดฉะเชิงเทรา และในฐานะผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน มีคำสั่งให้ปิดโรงเรียนผาณิตวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา อำเภอบ้านโพธิ์ ไว้เป็นการชั่วคราวและให้ใช้ เป็นสถานที่พักคอย (Community Isolation Center) โดยห้ามมิให้ผู้ใด เข้า - ออก สถานที่ดั่งกล่าวโดยเด็ดขาด เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และให้เจ้าของ ผู้ดูแลสถานที่หรือผู้จัดการสถานที่ดังกล่าว ถือปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรการของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อที่กำหนดโดยเคร่งครัด โดยออกมาตรการควบคุมโรคจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2564
1. ขอความร่วมมือไม่เดินทางออกนอกเคหะสถานโดยไม่จำเป็นตั้งแต่เวลา 23.00 - 04.00 น. (ยกเว้นมีเหตุจำเป็น ไปรักษาตัว ไปทำงานตามกะหรืออาชีพ เกี่ยวกับอุปโภคและบริโภค หรือธุระสำคัญที่มีเหตุจำเป็น ที่ต้องเดินทาง
2. ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ร้านขายของ ให้ปิด 23.00 - 04.00 น.
3. ห้างสรรพสินค้า เปิดเฉพาะ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา ธนาคาร ร้านอาหาร
4. ร้านอาหารทานในร้านได้ ปิด 23.00 น. งดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5. สถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ อาบอบนวด โต๊ะสนุ๊ก สถานเสริมความงาม สปา นวด เพื่อสุขภาพ ปิดสถานที่
6. สวนสาธารณะสำหรับการออกกำลังกาย เปิดถึง 20.00 น.
7. ห้ามรวมกลุ่มทำกิจกรรมทางสังคมที่ไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่ ประกอบอาชีพหรือกิจกรรมตามประเพณี เกิน 50 คน
ถึงแม้ว่าทางจังหวัดจะออกมาตรการต่างๆเพื่อการควบคุมโรคไม่ให้แพร่กระจายไปมากกว่านี้ แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด - 19) ในประเทศไทยเกิดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและได้ขยายขอบเขตการแพร่โรคออกเป็นวงกว้างกระจายไปในหลายเขตพื้นที่ โดยพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่จำนวนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จังหวัดฉะเชิงเทราถูกจัดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด (พื้นที่สีแดงเข้ม) พร้อมยกระดับความเข้มข้นของมาตรการและการบังคับใช้ อย่างจริงจังเพิ่มเติมขึ้น เพื่อเร่งแก้ไขและบรรเทาสถานการณ์ฉุกเฉินให้คลี่คลายลงโดยเร็วที่สุด ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทราในฐานะประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัดฉะเชิงเทรา และเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดฉะเชิงเทรา ตามมติที่ประชุม ครั้งที่ 42/2564 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 และในฐานะผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงมีคำสั่งกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด - 19 ดังนี้
1. การลดและจำกัดการเคลื่อนย้ายการเดินทาง ให้ประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราเลี่ยง จำกัด หรืองดเว้นภารกิจที่ต้องเดินทางออกนอกเคหสถานหรือที่พำนักโดยไม่จำเป็น สำหรับการเดินทาง ในบางกรณีที่จำเป็น เช่น การเดินทางเพื่อจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต อาหาร ยา หรือเวชภัณฑ์ การเดินทางเพื่อพบแพทย์ เพื่อเข้ารับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข การรักษาพยาบาล การรับวัคซีนป้องกันโรค หรือมีความจำเป็นเพื่อปฏิบัติงานหรือการประกอบอาชีพที่ไม่สามารถปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งได้สามารถกระทำได้แต่ต้องพึงใช้ความระมัดระวังในการป้องกันตนเองตามคำแนะนำของพนักงานเจ้าหน้าที่ และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด
2. การห้ามออกนอกเคหสถาน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ห้ามบุคคลใดในเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราออกนอกเคหสถานในระหว่างเวลา 21.00 นาฬิกา ถึง 04.00 นาฬิกา ของวันรุ่งขึ้นต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อยสิบสี่วันนับแต่วันที่คำสั่งฉบับนี้ใช้บังคับ
3. บุคคลที่ได้รับยกเว้น ตามกรณีดังต่อไปนี้ ได้รับยกเว้นการห้ามออกนอกเคหสถาน ในห้วงเวลาดังกล่าว ได้แก่
(1) ผู้ป่วยหรือผู้มีความจำเป็นต้องพบแพทย์รวมทั้งผู้ดูแลบุคคลดังกล่าว แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่ต้องปฏิบัติงานในการให้บริการด้านสาธารณสุข
(2) ผู้ขนส่งอาหาร ยา เวชภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ สินค้าอุปโภคบริโภค ผลผลิตทางการเกษตร น้ำมันเชื้อเพลิง ไปรษณีย์ พัสดุภัณฑ์ สิ่งพิมพ์ สินค้าเพื่อการส่งออกหรือนำเข้า
(3) ผู้ปฏิบัติงานขนส่งสาธารณะ ผู้ขนส่ง และผู้เดินทางมาจากหรือไปยังท่าอากาศยานหรือสถานีขนส่ง
(4) การให้บริการหรืออำนวยประโยชน์หรือความสะดวกแก่ประชาชน ได้แก่ ผู้ให้ความช่วยเหลือ กลุ่มเปราะบาง ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ คนไร้ที่พึ่ง หรือผู้ประสบภัย ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าและอาหารผู้บริการตรวจสอบหรือซ่อมบำรุงระบบสาธารณูปโภค ระบบระบายน้ำ ระบบท่อส่งน้ำมัน และก๊าชธรรมชาติผู้จัดเก็บและกำจัดขยะมูลฝอย ผู้บริการซ่อมแซมและปรับปรุงโครงข่ายและอุปกรณ์ในการสื่อสารโทรคมนาคมผู้บริการงานช่วยเหลือกู้ภัย การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ภัยพิบัติ ผู้บริการ ด้านธนาคาร ตลาดทุนการประกันภัย ผู้จำเป็นต้องดำเนินงานกรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือต้องติดต่อราชการ กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองพนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่
(5) การประกอบอาชีพที่จำเป็น ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานตามรอบเวลา กะ หรือการทำงานตามผลัดเปลี่ยนเวรยาม
4. การขนส่งสาธารณะ ให้สำนักงานขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทรา ปฏิบัติให้เป็นไปตามแนวทาง ที่ ศปก.ศบค. กำหนดโดยจำกัด จำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการไม่เกินร้อยละห้าสิบของความจุผู้โดยสารสำหรับยานพาหนะแต่ละประเกท รวมทั้งจัดให้มีการเว้นระยะห่างและการปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข ที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด
5. มาตรการควบคุมแบบบูรณาการเร่งด่วน สำหรับการให้บริการดังต่อไปนี้ ให้เปิดดำเนินการที่ได้เคยกำหนดไว้แล้ว
5.1 การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้เปิดดำเนินการได้จนถึงเวลา 20.00 นาฬิกา โดยห้ามการบริโภคในร้าน และให้ดำเนินการเฉพาะการนำกลับ ไปบริโภคที่อื่นเท่านั้น
5.2 ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่น ที่มีลักษณะคล้ายกัน ให้เปิดให้บริการได้เฉพาะแผนกชูเปอร์มาร์เก็ต แผนกยาและเวชภัณฑ์
5.3 โรงแรม ให้เปิดดำเนินการได้ตามเวลาปกติ โดยให้งดกิจกรรมจัดการประชุมการสัมมนาหรือการจัดเลี้ยง
5.4 ร้านสะดวกซื้อ และตลาดสด ให้เปิดดำเนินการได้จนถึงเวลา 20.00 นาฬิกา ให้ปิดให้บริการในระหว่างเวลา 20.00 นาฬิกา ถึง 04.00 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น
5.5 สวนสาธารณะ สนามกีฬา สนามกีฬาหรือสถานที่ออกกำลังกายที่เป็นพื้นที่ โล่งแจ้งให้เปิดได้จนถึงเวลา 20.00 นาฬิกา
5.6 โรงเรียน สถาบันการศึกษาหรือฝึกอบรม และสถานศึกษาต่างๆ ยังไม่อนุญาตให้มีการเรียนการสอนตามปกติ (On Site) ในช่วงเวลานี้
5.7 ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผมเปิดได้เฉพาะกิจกรรม สระ ตัด ซอย แต่งผม และต้องไม่มีผู้นั่งรอในร้าน
6. มาตรการปิดสถานที่หรือกิจการที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019หรือโรคโควิด - 19 ไว้เป็นการชั่วคราว ดังนี้ สถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์คาราโอเกะ อาบ อบ นวด หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน สถานที่เล่นการพนันทุกประเภทตาม เช่น สนามชนไก่สนามกัดปลา ฯลฯ ตลอดจนสถานที่ที่จัดให้มีการซ้อมชนไก่ โรงมหรสพ สนามเด็กเล่น ร้านเกม ร้านอินเทอร์เน็ต สระว่ายน้ำ สนามกีฬาในร่ม สถานที่ออกกำลังกายฟิตเนส สถานที่จัดนิทรรศการ ศูนย์แสดงสินค้า และศูนย์ประชุม ห้องสมุดสาธารณะ สถานรับเลี้ยงเด็ก สนามมวย สถานประกอบการนวดแผนไทย
7. ห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค ห้ามการจัดงานหรือกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่าห้าคน ทั้งนี้ ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจัดการอบรม สัมมนา หรือการประชุมโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก หากประสงค์จะจัดกิจกรรมในช่วงระยะเวลานี้ให้ผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมดังกล่าวดำเนินการขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
8. การปฏิบัติงานของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐและเอกชน ให้หัวหน้าส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา สั่งการให้เจ้าหน้าที่และบุคลากร ในความรับผิดชอบดำเนินมาตรการปฏิบัตินอกสถานที่ตั้งขั้นสูงสุดเต็มจำนวน และมุ่งเน้นการปฏิบัติงาน หรือจัดกิจกรรมโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มากที่สุด ทั้งนี้ ห้ามข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ตลอดจนบุคลากรหน่วยงานของรัฐในสังกัด เดินทางออกนอกเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราโดยไม่ได้รับอนุญาต กรณีจำเป็นต้องออกนอกพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราให้ขออนุญาตต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดฉะเชิงเทราพิจารณาเป็นรายกรณีต่อไป
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ออกประกาศสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดฉะเชิงเทราเรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 ตามประกาศ ของกระทรวงศึกษาธิการ สอดรับกับมาตรการของจังหวัด กอปรกับรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร อีกทั้งนายกรัฐมนตรีได้ออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 28) ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2564 กำหนดให้จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และยกระดับความเข้มข้นของมาตรการและการบังคับใช้อย่างจริงจังเพิ่มเติมขึ้นจากข้อกำหนดที่ได้ประกาศไว้ก่อนหน้าเพื่อเร่งแก้ไขและบรรเทาสถานการณ์ฉุกเฉินให้คลี่คลายโดยเร็วที่สุด สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้มีความตระหนัก และห่วงใยในสวัสดิภาพของข้าราชการ บุคลาการทางการศึกษาและเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน จึงจำเป็น ต้องมีมาตรการที่เข้มงวด เพื่อให้การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD – 19) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเป็นไปตามแนวทางของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) จึงกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน ตามมาตรการปฏิบัติงาน ณ ที่พักอาศัย (Work from home) ดังนี้
1. การปฏิบัติงาน ณ ที่พักอาศัย หมายถึง การปฏิบัติงานของข้าราชการ บุคลากรทางการศึกษา และเจ้าหน้าที่ในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดฉะเชิงเทรา
2. ข้าราชการ บุคลาการทางการศึกษาและเจ้าหน้าที่ในสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดฉะเชิงเทรา ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งของสำนักงานอันเป็นสถานที่พักอาศัยของเจ้าหน้าที่ โดยถือเสมือนว่าได้มาปฏิบัติงาน ที่สำนักงาน
3. ลักษณะงานที่ปฏิบัติภายในที่ พักอาศัย ต้องเป็นงานที่ไม่ส่งผลกระทบต่อภารกิจของหน่วยงานรวมทั้งไม่กระทบต่อการบริการของประชาชนหรือบุคคลภายนอก
4. การปฏิบัติงาน ณ ที่พักอาศัย (Work from home) มีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
1) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดฉะเชิงเทรา กำหนดบุคคลที่ต้องปฏิบัติงานที่สำนักงาน ไม่เกิน 5 คน โดยให้มีผู้ควบคุมการปฏิบัติงาน 1 คน ในแต่ละวัน
2) ให้บุคลากรที่ปฏิบัติงาน ณ ที่พักอาศัย (Work From Home) จัดทำแผนการปฏิบัติงาน ณ ที่พักอาศัย ซึ่งประกอบด้วย ชื่อเจ้าหน้าที่ ตำแหน่ง สังกัด วันที่ปฏิบัติงาน ณ ที่พักอาศัย ซึ่งแผนดังกล่าวอาจมีการปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
3) กำหนดเวลาปฏิบัติ ปกติ ณ ที่พักอาศัย คือ เวลา 08.30 – 16.30 น. โดยต้องมีเวลาการทำงานไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมง ให้รายงานตัวต่อผู้บังคับบัญชา โดยส่งตำแหน่งที่ปฏิบัติงาน (Share Location Line) ให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
4) ให้มีการกำหนดแผนการปฏิบัติงานเป็นรายวัน หรือรายสัปดาห์ โดยกำหนดเป้าหมาย ผลผลิต รวมทั้ง ติดตาม ควบคุม ดูแล ตรวจสอบสถานะ การปฏิบัติงาน ณ ที่พักอาศัยของข้าราชการ บุคลากรและเจ้าหน้าที่ ตามภาระงานที่ได้รับมอบหมายปกติ หรือเฉพาะกิจเสนอผู้บังคับบัญชา ทราบ
5) กำหนดรูปแบบและช่องทางการติดต่อสื่อสารในกลุ่มงาน หรือสำนักงานและสื่อสาร ให้ผู้บังคับบัญชารับทราบและเข้าใจตรงกัน เช่น กำหนดวัน เวลา การประชุม และช่องทางการสื่อสารที่ใช้ เป็นต้น เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลาในช่วงเวลาทำงานที่กำหนดรวมทั้ง สามารถ รับ- ส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา และต้องมีความพร้อมที่จะเดินทางมาปฏิบัติงาน ณ สำนักงาน ได้ตลอดเวลา หากมีเรื่องจำเป็นเร่งด่วน ตามที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการ
6) กรณีมีความจำเป็นที่ไม่สามารถเดินทางมาปฏิบัติงาน ณ สำนักงาน และไม่สามารถปฏิบัติงาน ณ ที่พักอาศัย หรือมีภารกิจจำเป็นต้องเดินทางออกนอกที่พักอาศัย ให้เจ้าหน้าที่แจ้งผู้บังคับบัญชาก่อนทุกกรณี และจะต้องปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการพ.ศ. 2555 ตามหลักเกณฑ์การลาโดยเคร่งครัด
7) ในระหว่างการปฏิบัติงาน ณ ที่พักอาศัย เจ้าหน้าที่ไม่สามารถเบิกค่าทำงานล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ได้
8) ให้กลุ่มงานที่มีภารกิจติดต่อประสานงานกับบุคคลภายนอก กำหนดช่องทางการติดต่อประสานงานการให้บริการ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ข่าวสารและช่องทางการติดต่อให้แก่บุคคลภายนอก ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ เพื่อมีให้กระทบต่อภารกิจของสำนักงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอก
9) ให้มีการรายงานผลการปฏิบัติงานประจำวันต่อผู้บังคับบัญชาตามแบบฟอร์มที่กำหนด ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ไลน์กลุ่ม "ครอบครัว ศธจ.ฉช"
10) ให้เจ้าหน้าที่ถือปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้โดยเคร่งครัด ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2564 ถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2564 หรือจนกว่าสำนักงานจะมีประกาศเพิ่มเติม ทั้งนี้หากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19ดีขึ้น สำนักงานอาจสั่งให้เจ้าหน้าที่กลับเข้าปฏิบัติงาน ณ สำนักงานก่อนเวลา ที่กำหนดได้
2. การจัดการเรียนการสอนและมาตรการป้องกันและควบคุม การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ภาคเรียนที่ 1/2564 ในสถานศึกษา
หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษาทุกสังกัด ได้ให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามมาตรการของจังหวัดอย่างเคร่งครัด ซึ่งในขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดทำการเรียนการสอนในสถานศึกษา รูปแบบ On Site ได้ และโรงเรียนส่วนใหญ่โดยเฉพาะที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษา จัดการเรียนการสอน ในรูปแบบ Online และ Ondemand มากที่สุด ส่วนโรงเรียนที่เปิดทำการสอนระดับประถมศึกษายังเน้น การจัดการเรียนการสอนแบบ Onhand และ Online มากที่สุด
จากการติดตามข้อมูลการรายงานผลการตรวจติดตามการจัดการเรียนการสอนในระบบ Covid.moe.go.th ของสถานศึกษา ข้อมูล ณ วันที่ 2 สิงหาคม 2564 มีหน่วยงานที่รายงานครบทุกโรงเรียนแล้วจำนวน 8 หน่วยงาน ดังนี้
1. สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 จำนวน 135 แห่ง
2. สพม.ฉะเชิงเทรา จำนวน 29 แห่ง
3. กศน.จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 11 แห่ง
4. สถานศึกษาสังกัดเอกชน จำนวน 28 แห่ง
5. สถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา จำนวน 13 แห่ง
6. สถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 13 แห่ง
7. การศึกษาพิเศษ จำนวน 2 แห่ง
8. สถานศึกษาสังกัด ตชด. จำนวน 2 แห่ง
ถึงแม้สถานศึกษาทุกแห่งยังไม่สามารถเปิดทำการเรียนการสอนแบบปกติได้ แต่ทุกแห่ง ก็ยังยึดหลักปฏิบัติ ตาม 6 มาตรการหลักและ 6 มาตรการเสริมได้ดีในระดับมากที่สุด โดย มีการคัดกรองวัดไข้ (Testing) วัดไข้ สังเกตอาการ ซักประวัติผู้สัมผัสเสี่ยง ทุกคนก่อนเข้าสถานศึกษา ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่ และน้ำนาน 20 วินาที หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ ครู นักเรียน บุคลากร และผู้เข้ามาในสถานศึกษา สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย 100% ตลอดเวลาที่อยู่ในสถานศึกษา ลดแออัด ลดเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงกลุ่มคน จำนวนมากหรือพื้นที่เสี่ยงที่มีการแพร่ระบาดของโรค ทำความสะอาด (Cleaning) ทำความสะอาดบริเวณพื้นผิวสัมผัสร่วม อาทิ ที่จับประตู ลูกบิดประตู ราวบันได ปุ่มกดลิฟต์ ห้องส้วม เป็นต้น และ เว้นระยะห่าง (Distancing) ระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 – 2 เมตร กินอาหารปรุงสุกใหม่ (Eating) กินอาหารปรุงสุกใหม่ ร้อน ๆ กรณีอาหารเก็บเกิน 2 ชั่วโมง ควรนำมาอุ่นให้ร้อนทั่วถึง ก่อนกินอีกครั้ง ดูแลตนเอง (Self care) ดูแล ใส่ใจ ปฏิบัติตน มีวินัย รับผิดชอบตัวเอง ปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด และไม่ปิดบังข้อมูล กรณีสัมผัสใกล้ชิดกับผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ใช้ช้อนส่วนตัว (Spoon) กินอาหารทุกครั้ง แยกกิน ไม่กินรวมกัน ลดสัมผัสร่วมกับผู้อื่น สำรวจตรวจสอบ (Check) สำรวจบุคคล นักเรียน กลุ่มเสี่ยงที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง เพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดกรอง ลงทะเบียนไทยชนะ (Thai chana) ตามที่รัฐกำหนดด้วย app ไทยชนะ หรือลงทะเบียนบันทึกการเข้า – ออก อย่างชัดเจน และมาตรการเสริม (DMHT-RC) กักกันตัวเอง (Quarantine) 14 วัน เมื่อเข้าไปสัมผัสหรืออยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดของโรค
3. ข้อมูลครู บุคลากรและนักเรียนติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานศึกษา
3.1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฉะเชิงเทรา พบ ผู้ติดเชื้อรายใหม่ จำนวน 19 ราย ในหอพักนักกีฬา โรงเรียนผาณิตวิทยา
3.2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 จากการรายงานสถานการณ์ ของสถานศึกษาในสังกัด พบว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ถึง 28 กรกฎาคม 2564 จำนวน 17 คน
4. ข้อมูลครู บุคลากร ได้รับการฉีดวัคซีน ณ วันที่ 22 กรกฎาคม 2564
หน่วยงาน
ข้อมูลการได้รับวัคซีน ณ วันที่ 22 ก.ค.2564
บุคลากรในหน่วยงาน
จำนวนทั้งหมด
ได้รับวัคซีนแล้ว
คิดเป็น
ร้อยละ
สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1
ครู /บุคลากร
6254
1726
27.59
บุคลากรในสำนักงาน
70
29
41.43
สพป.ฉะเชิงเทรา เขต2
ครู /บุคลากร
1404
465
33.12
บุคลากรในสำนักงาน
60
54
90.00
สพม.ฉะเชิงเทรา
ครู /บุคลากร
720
120
16.67
บุคลากรในสำนักงาน
56
16
28.57
กศน.
ครู /บุคลากร
182
105
57.69
บุคลากรในสำนักงาน
26
3
11.54
เอกชน
ครู
1507
842
55.87
อาชีวศึกษา
ครู /บุคลากร
738
386
52.30
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
บุคลากรในสำนักงาน
37
26
70.27
การศึกษาพิเศษ
ครู /บุคลากร
192
119
61.98
บุคลากรในสำนักงาน
61
32
52.46
สรุป ครู บุคลากร และบุคลากรในสำนักงาน
11,307
3,923
34.96
5. ปัญหาอุปสรรค
1. สถานศึกษาขาดงบประมาณในการพัฒนา/ปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรการฯ
2. ปัญหาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน เนื่องจากมีเวลาเรียนไม่เพียงพอ
3. ผู้เรียนขาดความตระหนักในการปฏิบัติตามมาตรการฯ
4. ผู้ปกครองไม่มีอุปกรณ์สื่อสารสนับสนุนการเรียน Online ตามมาตรการฯ
5. ครูไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อในสถานศึกษา
6.ครูหรือนักเรียน มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อที่เข้ามาในสถานศึกษา
6. ข้อเสนอแนะ
1. ควรสนับสนุนเครื่องมือสื่อสารระบบ Online
2. สนับสนุนงบประมาณให้เพียงพอ
3. บริการฉีดวัคซีนให้กับครูทุกคนให้ทันการเปิดภาคเรียน
บันทึข้อมูลโดย: นางออมใจ บุญเขียว