ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 08 พฤศจิกายน 2564
หัวข้อการตรวจกรณีพิเศษ : การจัดการเรียนการสอนในสถานะการ Covid-19
1) ผลการดำเนินงาน
1.1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ดำเนินการตามประกาศ มาตรการของ สบค. กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ศบค.จังหวัดกาญจนบุรี ดังนี้
1.1.1 จัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายในหน่วยงาน โรงเรียนในสังกัด และหน่วยงานภายนอก
1.1.2 จัดตั้งศูนย์ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 โดยมีประธานเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน ร่วมเป็นคณะทำงาน เพื่อทำหน้าที่ ตามมาตรการของหน่วยงานต่าง ๆ
1.1.3 จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์เฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีประธานเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน ร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินการ เพื่อทำหน้าที่ตามมาตรการและติดตามสถานการณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) สร้างความตระหนักรู้เท่าทันและเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการระบาดของโรคอย่างมีประสิทธิภาพ และวางมาตรการป้องกัน ควบคุม ดูแลสถานศึกษา และบุคลากรได้อย่างเหมาะสม
1.1.4 จัดตั้งจุด ONE STOP SERVICE เพื่อให้บริการเบื้องต้น พร้อมทั้งคัดกรอง ฉีดพ่นแอลกอฮอล์ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ วัดอุณหภูมิร่างกาย ให้กับผู้มาติดต่อราชการภายในสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา การดูแลความสะอาดอาคารสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นห้องปฏิบัติงาน ห้องประชุม ร้านสวัสดิการ ห้องน้ำ ห้องส้วม และห้องสมุด
1.2 รวบรวมข้อมูลมาตรการ หนังสือสั่งการของ ศบค.จังหวัดกาญจนบุรี ให้ครบถ้วนรอบด้าน ระดมสรรพกำลังเข้าสนับสนุนศูนย์เฝ้าระวัง จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลการสื่อสาร ที่ถูกต้อง
1.3 รับข้อมูลข่าวสาร รับเรื่องราวร้องทุกข์ เพื่อให้ความช่วยเหลือ ป้องกันหรือแก้ไขปัญหาให้กับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนในสังกัดที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)
1.4 แจ้งมาตรการให้โรงเรียนในสังกัดได้ดำเนินการตามมาตรการอย่างเคร่งครัด
1.5 ส่งเสริม สนับสนุนให้โรงเรียนทุกโรงเรียนใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงาน การประสานงานระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียนในสังกัด เพื่อลดเวลาในการเดินทาง
1.6 รายงานข้อมูลสถานการณ์โควิด ให้กับหน่วยงานกระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดกาญจนบุรี สำนักงานศึกษาธิการภาค สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด โดยมีข้อมูล ดังนี้
1.6.1 ข้อมูลข้าราชการครู บุคลากร และนักเรียนที่ติดเชื้อ และรักษาหาย
1.6.2 ข้อมูลการฉีดวัคซีนของข้าราชการครูและบุคลากร
1.6.3 ข้อมูลการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด
1.7 ประกาศมาตรการให้ข้าราชการและบุคลากร ปฏิบัติงานที่บ้าน ตามสถานการณ์ของการระบาดเป็นระยะ เช่น Work From Home 100% 75% 50% 25% 10% ให้ทำงานผ่านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ควบคู่ไปกับระบบบันทึกเสนอออนไลน์ การติดต่อสื่อสารทางโซเชียล แอพพลิเคชั่น กลุ่มไลน์ข้อราชการ ทางโทรศัพท์ รวมถึงโรงเรียนในสังกัด ภายใต้นโยบาย “ปิดสำนักงาน ไม่หยุดการทำงาน”
1.8 งดการจัดประชุม อบรม กิจกรรมที่มีการรวมกันจำนวนมาก เว้นระยะห่าง สวมแมส ตลอดเวลา ล้างมือบ่อย ๆ ไม่รับประทานอาหารร่วมกัน
2) แนวทางการจัดการเรียนการสอนแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อม (1 พฤษภาคม – 15 พฤษภาคม 2564) สำรวจความพร้อมด้านอุปกรณ์การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของนักเรียน ผู้ปกครอง ครู และระบบการบริหารจัดการเรียนการสอนและเตรียมการสอนในรูปแบบอื่น ๆ ตามบริบทของสถานศึกษา
ระยะที่ 2 การทดลองจัดการเรียนการสอนทางไกล (16 พฤษภาคม – 31 พฤษภาคม 2564) โดยทดลองจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านช่องรายการโทรทัศน์ระบบดิจิทัลและระบบออนไลน์ด้วยเครื่องมือการเรียนรู้ตามความเหมาะสมและบริบทของสถานศึกษา
ระยะที่ 3 การจัดการเรียนการสอน (1 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป) ตามสถานการณ์ ดังนี้
สถานการณ์ที่ 1 กรณีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังไม่คลี่คลาย ให้จัดการเรียนการสอนด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) และระบบออนไลน์ หรือรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่ on site
สถานการณ์ที่ 2 กรณีสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คลี่คลาย
มีการจัดการเรียนการสอนปกติในโรงเรียน on site โดยให้จัดทำแผนเตรียมการเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ และปฏิบัติตามมาตรการ กรมอนามัย กระทรวงธารณสุข และแนวปฏิบัติที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กำหนด อย่างเคร่งครัด3) แนวปฏิบัติการป้องกันสำหรับสถานศึกษา ประกอบด้วย 6 มาตรการดังนี้
มาตรการที่ 1 ด้านความปลอดภัยจากการลดการแพร่เชื้อโรค
มาตรการควบคุมหลัก
1. มีมาตรการคัดกรองวัดไข้อาการเสี่ยง และประวัติเสี่ยง
2. ให้นักเรียน บุคลากร และผู้เข้ามาในสถานศึกษาทุกคนต้องสวมหน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัย
3. มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์ อย่างเพียงพอ
4. จัดเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1-2 เมตร
5. เปิดประตู หน้าต่างให้อากาศถ่ายเท ทำความสะอาดห้องเรียนและบริเวณต่าง ๆ
6. พิจารณาควบคุมจำนวนนักเรียน ลดแออัด เหลื่อมเวลาหรือลดเวลาทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น
มาตรการเสริม
1. ทำความสะอาดพื้นที่ที่นักเรียนใช้ร่วมกัน ก่อนและหลังใช้งานทุกครั้ง
2. จัดให้มีพื้นที่การทำกิจกรรม เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 - 2 เมตร
3. ให้นักเรียนใช้ของใช้ส่วนตัว,มีถุงผ้าใส่ของใช้ส่วนตัว เช่น แก้วน้ำ,ช้อน,แปรงสีฟัน ฯลฯ
4. จัดให้มีห้องพยาบาลสำหรับแยกผู้มีอาการป่วยระบบทางเดินหายใจ
5. จัดให้มีการสื่อสารความรู้การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การล้างมือ การสวมหน้ากาก การทำความสะอาดแก่ทุกคนในสถานศึกษา
6. มีมาตรการสำหรับกรณีมีรถรับ - ส่งนักเรียน
มาตรการที่ 2 ด้านการเรียนรู้
มาตรการควบคุมหลัก
1. ทำความสะอาดพื้นที่ที่นักเรียนใช้ร่วมกัน ก่อนและหลังใช้งานทุกครั้ง
2. เตรียมความพร้อมด้านการเรียนรู้ของเด็กตามวัยและสอดคล้องกับพัฒนาการด้านสังคม
อารมณ์และสติปัญญา
3. สร้างความเข้มแข็งของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
มาตรการเสริม
1. กรณีเด็กเล็ก ไม่แนะนำให้ใช้สื่อการเรียนการสอนแบบออนไลน์ โดยขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน ครูผู้ปกครอง
2. ไม่ปล่อยให้เด็กและวัยรุ่นอยู่กับสื่อออนไลน์ (ที่ไม่ใช่สื่อการเรียนการสอน) นานเกินไปตามระยะเวลาที่กำหนด
3. ส่งเสริมให้สถานศึกษาและนักเรียนประเมินตนเองในการเตรียมความพร้อมก่อนเปิด ภาคเรียน
4. สนับสนุนให้นักเรียนใช้สื่อรอบรู้ด้านสุขภาพในรูปแบบและผ่านช่องทางหลากหลายที่
สามารถเข้าถึงได้
มาตรการที่ 3 ด้านการครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาส (เด็กพิเศษ, เด็กพื้นที่เฉพาะ ห่างไกลมาก)
มาตรการควบคุมหลัก
1. จัดหาอุปกรณ์การป้องกันตนเองและและอุปกรณ์ล้างมือ เช่น สบู่ เจลแอลกอฮอล์
หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยให้เพียงพอ
2. มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทการเข้าถึงการเรียนรู้ ของนักเรียน
3. มีมาตรการส่งเสริมให้นักเรียนได้รับบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง
4. มีมาตรการการทำความสะอาดและจัดสภาพแวดล้อมของที่พักและเรือนนอนให้ถูก สุขลักษณะ
5. มีมาตรการการทำความสะอาดและจัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับข้อบัญญัติการปฏิบัติด้านศาสนกิจ
6. มีมาตรการดูแลนักเรียนที่มีความบกพร่องด้านพัฒนาการ การเรียนรู้ หรือด้านพฤติกรรม อารมณ์
มาตรการเสริม
1. ประสานและแสวงหาการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การป้องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
2. ประสานการดำเนินงานตามแนวทางพัฒนากิจกรรมผู้เรียนของกระทรวงศึกษาธิการ กรณีมีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา
3. ใช้สื่อสร้างความเข้าใจเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และแนวทางการดูแลตัวเอง โดยคำนึงถึง ข้อจำกัดทางภาษาและสังคม กลุ่มนักเรียนพิการเรียนร่วม
มาตรการที่ 4 ด้านสวัสดิภาพ และการคุ้มครอง
มาตรการควบคุมหลัก
1. จัดเตรียมแผนรองรับด้านการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนป่วย กักตัว หรือกรณีปิดสถานศึกษาชั่วคราว
2. จัดเตรียมแนวปฏิบัติเพื่อลดการรังเกียจและการตีตราทางสังคม (Social stigma)
3. จัดเตรียมแนวปฏิบัติด้านการจัดการความเครียดของครูและบุคลากร
4. ตรวจสอบประวัติเสี่ยงของบุคลากรและนักเรียน และการกักตัว
5. กำหนดแนวทางปฏิบัติตามระเบียบสำหรับบุคลากรและนักเรียนที่สงสัยติดเชื้อหรือป่วย ด้วยโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยไม่ถือเป็นวันลาหรือวันหยุดเรียน
มาตรการเสริม
1. สื่อสารทำความเข้าใจกับบุคคลทุกฝ่ายในเรื่องมาตรการป้องกัน การตีตราทางสังคม (social stigma)
2. กรณีนักเรียนหรือบุคลากรป่วยจริง ต้องให้หยุดรักษาจนกว่าจะหายเป็นปกติ พร้อม ใบรับรองแพทย์โดยไม่ถือว่าขาดเรียนหรือขาดงาน
3. กักตัวผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยตามเกณฑ์ควบคุมโรค
มาตรการที่ 5 ด้านนโยบาย
มาตรการควบคุมหลัก
1. สื่อสารประชาสัมพันธ์แก่ครูและบุคลากรในสถานศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้น เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การล้างมือ การสวมหน้ากาก การรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล การทำความสะอาด
2. ประชุมชี้แจงคณะกรรมการสถานศึกษา
3. มีแผนงาน โครงการ และกิจกรรมรองรับนโยบายและแนวทางการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสถานศึกษา
4. แต่งตั้งคณะทำงานรับผิดชอบเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานศึกษา
5. กำหนดบทบาทหน้าที่ และมอบหมายผู้รับผิดชอบดำเนินการตามมาตรการ
6. สื่อสารทำความเข้าใจผู้ปกครองและนักเรียน เกี่ยวกับแนวทางการป้องกันโรคโควิด-19 และมีช่องทางการติดต่อสื่อสาร
7. มีการประเมินตนเองเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเปิดเรียน
8. มีมาตรการการจัดการด้านความสะอาด รถรับ - ส่งนักเรียน และชี้แจงผู้ประกอบการ
9. เสริมสร้างวัคซีนชุมชนในสถานศึกษา โดยมาตรการ "4 สร้าง 2 ใช้"
- สร้างสถานศึกษาที่รู้สึก..."ปลอดภัย" (safety)
- สร้างสถานศึกษาที่... "สงบ" (calm)
- สร้างสถานศึกษาที่มี...."ความหวัง" (Hope)
- สร้างสถานศึกษาที่..."เข้าใจ เห็นใจและให้โอกาส" (De-stigmatization)
- ใช้ศักยภาพสถานศึกษาและชุมซน (Efficacy) เช่น ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน แบ่งปันทรัพยากรในชุมชน
- ใช้สายสัมพันธ์ในสถานศึกษา (Connectedness)
10. มีการกำกับ ติดตามให้มีการดำเนินงานอย่างเคร่งครัด
มาตรการเสริม
1. จัดระบบให้นักเรียนสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
2. พิจารณาปิดสถานศึกษาตามสถานการณ์และความเหมาะสม
3. สื่อสารให้มีความรู้เกี่ยวกับการสังเกตอาการเสี่ยง การมีแนวโน้มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ง่าย โดยเฉพาะในเด็กที่มีอาการสมาธิสั้น
มาตรการที่ 6 ด้านการบริหารการเงิน
มาตรการควบคมหลัก
1. พิจารณาการใช้งบประมาณของสถานศึกษาสำหรับการป้องกันการระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามความจำเป็นและเหมาะสม
2. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา
มาตรการเสริม
1. ประสานงานและแสวงหาแหล่งทุนและการสนับสนุนจากหน่วยงาน องค์กร หรือภาคเอกชน
2. พิจารณาสรรหาบุคลากรเพิ่มเติมในการดูแลนักเรียนและการจัดการสิ่งแวดล้อมใน สถานศึกษา
3. แนวปฏิบัติระหว่างเปิดภาคเรียน (Public health and social guidelines in schools) กรณี รูปแบบ On Site
3.1 หลักปฏิบัติในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
1. คัดกรอง (Screening) ผู้ที่เข้ามาในสถานศึกษาทุกคน ต้องได้รับการคัดกรองวัตอุณหภูมิร่างกาย
2. สวมหน้ากาก (Mask) ทุกคนต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ตลอดเวลาที่อยู่ใน สถานศึกษา
3. ล้างมือ (Hand Wash) ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำ นานอย่างน้อย 20 วินาทีหรือใช้ เจลแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณจุดเสี่ยงโดยไม่จำเป็น
4. เว้นระยะห่าง (Social distancing) เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1- 2 เมตร
รวมถึงการจัดเว้นระยะห่างของสถานที่
5. ทำความสะอาด (Cleaning) เปิดประตู หน้าต่าง ให้อากาศถ่ายเท หากจำเป็นต้องใช้ เครื่องปรับอากาศ กำหนดเวลาเปิด - ปิดเครื่องปรับอากาศ และเปิดประตู หน้าต่าง ระบายอากาศ ทุก 1ชั่วโมง และทำความสะอาดห้องเรียนและบริเวณต่าง ( โดยเช็ดทำ ความสะอาดพื้นผิวสัมผัสของโต๊ะ เก้าอี้ และวัสดุอุปกรณ์ ก่อนเข้าเรียน ช่วงพักเที่ยง และ หลังเลิกเรียนทุกวัน รวมถึงจัดให้มีถังขยะมูลฝอยแบบมีฝาปิดและรวบรวมขยะออกจาห้องเรียนเพื่อนำไปกำจัดทุกวัน
6. ลดแออัด (Decrease) ลดระยะเวลาการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็นหรือเหลื่อมเวลาทำกิจกรรมและหลีกเสี่ยงการทำกิจกรรมรวมตัวกันเป็นกลุ่ม
3.2 ขั้นตอนการคัดกรองสุขภาพและแนวทางการส่งต่อนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา
1.จัดตั้งจุด/บริเวณคัดกรองบริเวณทางเข้าสถานศึกษา
2. วัดอุณหภูมิ (2 37.5 C ถือว่ามีไข้
3. ให้ผู้ถูกคัดกรองล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์
4. ตรวจสอบการสวมหน้ากากของบุคคลทุกคนที่เข้าสถานศึกษา
5. ซักประวัติเสี่ยง อาการทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง (มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส) และบันทึกผลในแบบบันทึกการตรวจคัดกรองสุขภาพ กรณีวัดอุณหภูมิร่างกาย < 37.5 C ไม่มีอาการทางเดินหายใจ ไม่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันให้ติดสัญลักษณ์หรือสติ๊กเกอร์ เข้าเรียน/ปฏิบัติงานได้ตามปกติ กรณี วัดอุณหภูมิร่างกาย 2 37.5 C ขึ้นไป ร่วมกับอาการทางเดินหายใจอย่างอย่างหนึ่ง ผู้ปกครอง แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสอบสวนโรค และดำเนินการ ตามคำแนะนำ
6. ผู้รับผิดชอบรวบรวมข้อมูลรายงานผลให้ผู้บริหารสถานศึกษาทราบ
3.3 แนวปฏิบัติสำหรับบุคลากรในสถานศึกษา ผู้บริหาร ให้ปฏิบัติดังนี้
1. ประกาศนโยบายและแนวปฏิบัติ พร้อมทั้งจัดตั้งคณะทำงานดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
2. ทบทวน ปรับปรุง ซ้อมปฏิบัติตามแผนฉุกเฉินของสถานศึกษา
3. ให้มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เกี่ยวกับนโยบาย มาตรการ การปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เกี่ยวข้อง และลดการตีตราทางสังคม (Social stigma)
4. มีมาตรการคัดกรองสุขภาพทุกคน บริเวณจุดแรกเข้าไปในสถานศึกษา (Point of entry)
5. ควรพิจารณาการจัดให้นักเรียนสามารถเข้าถึงการเรียนการสอนที่มีคุณภาพเหมาะสมตามบริบทได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการติดตามกรณีนักเรียนขาดเรียน ลาป่วย
6. กรณีพบนักเรียน ครู บุคลากร หรือผู้ปกครองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ป่วยยืนยันเข้ามาใน
สถานศึกษา ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่
7. มีมาตรการให้นักเรียนได้รับอาหารกลางวันและอาหารเสริมนมตามสิทธิที่ควรได้รับ กรณีพบอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือกักตัว
8. ควบคุม กำกับ ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินงานตามมาตรการอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง
ครู ผู้ดูแลนักเรียน/ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษา ให้ปฏิบัติดังนี้
1. ติดตามข้อมูลข่าวสารสถานการณ์การแพร่ระบาตของโรคจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
2. สังเกตอาการป่วยของตนเอง หากมีอาการทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้หยุดปฏิบัติงาน
และรีบไปพบแพทย์ทันที
3. ปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด ได้แก่ ล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากผ้าหรือ
หน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล หลีกเสี่ยงการไปในสถานที่ที่แออัดหรือ แหล่งชุมชน
4. แจ้งผู้ปกครองและนักเรียน ให้นำของใช้ส่วนตัวและอุปกรณ์ป้องกันมาใช้เป็นของตนเอง
5. สื่อสารความรู้คำแนะนำหรือจัดหาสื่อประชาสัมพันธ์ในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากการ
แพร่กระจายโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
6. ทำความสะอาดสื่อการเรียนการสอนหรืออุปกรณ์ของใช้ร่วมที่เป็นจุดสัมผัสเสี่ยง ทุกครั้งหลังใช้งาน
7. ควบคุมดูแลการจัดที่นั่งภายในสถานที่ในโรงเรียน ตามหลักการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล
อย่างน้อย 1 - 2 เมตร
8. ตรวจสอบ กำกับ ติดตามการมาเรียนของนักเรียน
9. ตรวจคัดกรองสุขภาพทุกคนที่เข้ามาในสถานศึกษาตามขั้นตอน
10. สังเกตกลุ่มนักเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรม หรือนักเรียนที่ไม่ร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการที่ครู
กำหนดเพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือ
11. สื่อสารความรู้เกี่ยวกับความเครียด กระบวนการการจัดการความเครียดให้แก่นักเรียนและ
บุคลากรในสถานศึกษา
นักเรียน ให้ปฏิบัติ ดังนี้
1. ติดตามข้อมูลข่าวสารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
2. สังเกตอาการป่วยของตนเอง หากมีอาการทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง รีบแจ้งครูหรือ
ผู้ปกครอง
3. มีและใช้ของใช้ส่วนตัว ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น
4. ปฏิบัติตามมาตรการการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด ได้แก่ล้างมือบ่อย ๆ สวมหน้ากากผ้า
หน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่ที่แออัดหรือแหล่งชุมชน
5. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการกินอาหารปรุงสุก ร้อน สะอาด อาหารครบ 5 หมู่ และผัก ผลไม้ออกกำลังกาย และนอนหลับให้เพียงพอ
6. กรณีนักเรียนขาดเรียนหรือถูกกักตัว ควรติดตามความคืบหน้าการเรียนอย่างสม่ำเสมอ
7. หลีกเลี่ยงการล้อเลียนความผิดปกติหรืออาการไม่สบายของเพื่อน
ผู้ปกครอง ให้ปฏิบัติ ดังนี้
1. ติดตามข้อมูลข่าวสารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
2. สังเกตอาการป่วยของบุตรหลาน หากมีอาการทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้รีบพาไปพบแพทย์
3. จัดหาของใช้ส่วนตัวให้บุตรหลาน
4. จัดหาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันโรคและการล้างมือ กำกับให้บุตรหลานปฏิบัติตาม มาตรการการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด ได้แก่ ล้างมือบ่อย ๆ สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลหลีกเสี่ยงการไปในสถานที่ที่แออัดหรือแหล่งชุมชน
5. ดูแลสุขภาพบุตรหลาน จัดเตรียมอาหารปรุงสุก ใหม่
6. กรณีมีการจัดการเรียนการสอนทางไกล ออนไลน์ ผู้ปกครองควรให้ความร่วมมือกับครูในการ
ดูแลจัดการเรียนการสอนแก่นักเรียน
แม่ครัว ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปฏิบัติงานทำความสะอาด /นักการภารโรง ให้ปฏิบัติ ดังนี้
1. ติดตามข้อมูลข่าวสารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
2. สังเกตอาการป่วยของตนเอง หากมีอาการทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้หยุดปฏิบัติงาน
และรีบไปพบแพทย์ทันที
3. ล้างมือบ่อย ๆ ก่อน - หลังปรุงและประกอบอาหาร ขณะจำหน่ายอาหาร หลังสัมผัสสิ่งสกปรก
4. ขณะปฏิบัติงานของผู้สัมผัสอาหาร ต้องสวมหมวกคลุมผม ผ้ากันเปื้อน ถุงมือ สวมหน้ากากผ้า
หรือหน้ากากอนามัย และปฏิบัติตนตามสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ถูกต้อง
5. ปกปิดอาหาร ใส่ถุงมือและใช้ที่คีบหยิบจับอาหาร
6. จัดเตรียมอาหารปรุงสุกใหม่ ให้นักเรียนกิน ภายในเวลา 2 ชั่วโมง
7. ผู้ปฏิบัติงานทำความสะอาด ผู้ปฏิบัติงานเก็บขนขยะ ต้องใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเองและปฏิบัติ
ตามขั้นตอนการทำความสะอาดให้ถูกต้อง
3.4 แนวปฏิบัติด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย
1. ห้องเรียน สถานที่สำหรับการจัดการเรียนสอน ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ภายในสถานศึกษา
ห้องประชุม ห้องพักครู โรงยิม โรงอาหาร ห้องสมุด ห้องส้วม เป็นต้น ให้ดำเนินการตามหลักปฏิบัติการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างเคร่งครัด ได้แก่ จัดโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่ง ให้มีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 – 2 เมตร
มีการเหลื่อมเวลาเรียน การเรียนกลุ่มย่อย
จัดให้มีการระบายอากาศที่ดี ให้อากาศถ่ายเท และทำความสะอาดโต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ การเรียนทุกครั้ง และจุดสัมผัสเสี่ยง ก่อน-หลังใช้งาน
จัดให้มีเจลแอลกอฮอล์ใช้ทำความสะอาดมือ
จำกัดจำนวนผู้ใช้งานหรือลดระยะเวลาทำกิจกรรมหรือเหลื่อมเวลา
2. โรงอาหาร
จัดบริการอาหาร เน้นป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค เช่น อาหารปรุงสำเร็จสุกใหม่ทุก
พิจารณาทางเลือกให้ผู้ปกครองสามารถเตรียมอาหารกลางวัน (Lunch box) ให้นักเรียน
3. สถานที่แปรงฟัน
หลีกเสี่ยงการรวมกลุ่ม และเว้นระยะห่างในการแปรงฟัน ให้นักเรียนแปรงฟันในห้องเรียน โดยนั่งที่โต๊ะเรียน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของน้ำลายละอองน้ำ หรือเชื้อโรคสู่ผู้อื่นตามขั้นตอนการแปรงฟัน
4. สระว่ายน้ำ
หลีกเลี่ยงหรืองดการจัดการเรียนการสอนในสระว่ายน้ำ กรณีรัฐบาลมีการผ่อนปรนมาตรการ
ควบคุมโรค ให้มีการคัดกรองเบื้องตันหรือเฝ้าระวัง กำกับดูแลและปฏิบัติตามคำแนะนำของระบบฆ่าเชื้ออย่าง
เคร่งครัด ตรวจสอบคุณภาพน้ำในสระทุกวัน และกำหนดมาตรการก่อนลงสระว่ายน้ำ
5. ห้องพยาบาล
จัดหาครูหรือเจ้าหน้าที่ เพื่อดูแลนักเรียน ในกรณีที่มีนักเรียนป่วยมานอนพักรอผู้ปกครอง
มารับ และมีการบันทึกรายชื่อและอาการของนักเรียนที่ป่วย
จัดให้มีพื้นที่หรือห้องแยกอย่างชัดเจน ระหว่างนักเรียนป่วยจากอาการไข้หวัดกับนักเรียน
ป่วยจากสาเหตุอื่น ๆ
6. ห้องนอนเด็กเล็ก
ทำความสะอาดเครื่องนอน และผ้ากันเปื้อนทุกวัน อุปกรณ์ของใช้ของเล่น ตู้เก็บของส่วน
บุคคล และจุดสัมผัสเสี่ยงร่วม เป็นประจำทุกวัน
จัดให้มีพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ของเด็กรายบุคคลยึดหลักเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่าง
น้อย 1 - 2 เมตร
มีและใช้ของใช้ส่วนตัว เน้นไม่ใช้ของใช้ร่วมกัน
จัดให้มีเจลแอลกอฮอล์ใช้ทำความสะอาดมือสำหรับครูและนักเรียน
มีการระบายอากาศที่ดี อากาศถ่ายเทสะตวก
จัดอุปกรณ์การส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เพียงพอ
อัตราส่วนของครูหรือผู้ดูแลเด็กหรือพี่เลี้ยงต่อเด็กเล็ก 1 : 5-8 ในการดูแลเด็กตลอดทั้งวัน
7. รถรับ-ส่งนักเรียน
ทำความสะอาดรถรับนักเรียนและบริเวณจุดสัมผัสเสี่ยง
นักเรียนที่ใช้บริการรถรับนักเรียน ต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย
wการจัดที่นั่งบนรถรับนักเรียน ควรจัดให้มีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 - 2
เมตร
ก่อนและหลังให้บริการรับนักเรียนแต่ละรอบ ควรเปิดหน้าต่าง ประตู ระบายอากาศ ให้
อากาศถ่ายเทได้สะดวก
จัดให้มีเจลแอลกอฮอล์สำหรับใช้ทำความสะอาดมือ
3.5 มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีเกิดการระบาด (เมื่อพบผู้ป่วยยืนยัน ที่อาจมีการแพร่กระจายเชื้อในสถานศึกษา) ให้โรงเรียนดำเนินการดังนี้
1. ปิดสถานศึกษา/ชั้นปี/ชั้นเรียน เพื่อทำความสะอาด เป็นระยะเวลา 3 วัน
2. ประสานเจ้าหน้าที่สาธารณสุข สำรวจคัดกรองนักเรียนและบุคลากรทุกคน บริเวณทางเข้า
สถานศึกษา และดำเนินการขั้นตอนที่กำหนด หากพบผู้เข้าเกณฑ์สอบสวน (PUI) ให้เก็บ ตัวอย่าง NP swab ส่งตรวจหาเชื้อ
3. ผู้สัมผัสกลุ่ม High risk ให้ดำเนินการเก็บตัวอย่าง NP swab ส่งตรวจเชื้อ
4. ผู้สัมผัสกลุ่ม Low risk ไม่ต้องเก็บตัวอย่าง แต่ให้แยกตัวอยู่ที่บ้าน และรายงานอาการ (Self-report) ทุกวัน หากพบว่า มีอาการเข้าเกณฑ์ PUI ให้ดำเนินการแบบผู้ป่วย PUI
5. เมื่อเปิดเรียน ให้มีการคัดกรองไข้ทุกวัน หากพบมีอาการเข้าได้กับ PUI ให้เก็บตัวอย่าง และ
พิจารณาความเสี่ยงเพื่อตัดสินใจว่าจะให้ผู้ป่วยดูอาการที่บ้าน หรือต้องแยกตัวในโรงพยาบาล
6. ทีมสอบสวนโรคทำการติดตามผู้สัมผัสทุกวัน จนครบกำหนด
7. รายงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 ทราบทันที
3.6 การกำกับ ติดตาม และรายงานผล
สถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ต้องมีการกำกับติดตาม ทบทวนการดำเนินงานให้สอดคล้องตามแนวปฏิบัติ สถานการณ์ และบริบทพื้นที่ อย่างต่อเนื่อง กรณีพบผู้มีอาการเสี่ยงหรือป่วย ต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที และรายงานต่อผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
วินิจฉัยจากสถานพยาบาลของรัฐว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ถือว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุด ซึ่งสถานศึกษาต้องแจ้งข้อมูลดังกล่าวผ่าน 3 ช่องทาง คือ
1) โทรศัพท์หรือแอพพลิเคชั่นไลน์ถึงผู้รับผิดชอบระดับเขตพื้นที่ กรณีนี้คือ นักจิตวิทยาโรงเรียนประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2) แจ้งรายละเอียดผ่านระบบ Google Form
3) หนังสือราชการส่งมายังกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษารวบรวมข้อมูลนำเสนอผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และรายงาน ฉก.ชน.สพฐ. ศึกษาธิการภาค 3 ระบบ MOE COVID ต่อไป ซึ่งได้ดำเนินงานรายงานผู้ติดเชื้อ ผู้รักษาหาย ผู้รับวัคซีนเข็มที่ 1 และ 2 รูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้เป็นปัจจุบันที่สุด
4) ปัญหาอุปสรรค
1. การรายงานมีระยะเวลาจำกัด บางครั้งข้อมูลการรายงานยังไม่สมบูรณ์ และแบบการรายงานมีหลายแบบฟอร์มมาก อีกทั้งยังต้องใช้เวลาเก็บข้อมูลจากโรงเรียนในสังกัด รายงานให้กับหลายหน่วยงาน ทำให้การรายงานทำได้ค่อนข้างล่าช้า และข้อมูลไม่สมบูรณ์
2. ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา และลูกจ้าง ได้รับวัคซีนล่าช้า ไม่เพียงพอต่อการให้ลงทะเบียนหลายครั้ง หลายหน่วยงาน สุดท้ายบุคลากรบางคนยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 แต่อย่างใด
3. อุปสรรคสำคัญที่ทำให้คนบางส่วนไม่สามารถทำงานที่บ้านได้ ซึ่งรวมถึงการขาดอุปกรณ์ เช่น โน้ตบุ๊ค
4. การไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง และข้อสั่งการโดยเคร่งครัด ทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ
5. ครูประจำชั้นให้คำแนะนำการเรียนการสอนโดยติดต่อประสานงานกับนักเรียน และผู้ปกครองโดยผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ แต่ก็มีนักเรียนบางส่วนที่ไม่ส่งงานตามเวลา
6. การติดต่อสื่อสารกับนักเรียนที่ไม่มีเครื่องมือสื่อสารเป็นไปด้วยความยากลำบาก โรงเรียนแก้ปัญหาโดยใช้วิธีประชาสัมพันธ์หมู่บ้านผ่านเสียงตามสายของชุมชน
7. ผู้ปกครองบางส่วน ไม่มีเวลาดูแลนักเรียนในขณะที่เรียนออนไลน์ และนักเรียนเข้าเรียนออนไลน์ไม่ครบทุกคน
8. นักเรียนบางคนไม่มีโทรศัพท์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
5) ข้อเสนอแนะ
1. ลดการเก็บข้อมูลและการรายงานที่ซ้ำซ้อน หลายแบบ หลายหน่วยงาน สิ้นเปลืองเวลา เพื่อแบ่งเบาภาระการรายงาน ที่มีระยะเวลาเร่งด่วน
2. ควรมีการออกแบบระบบงานใหม่ที่เอื้อต่อการทำงานที่บ้าน เช่น การนำเอาระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้แทนกระดาษ ที่เป็นแนวเดียวกัน
3. ภาครัฐควรแก้ไขกฎระเบียบและแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ให้สามารถติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ทั้งในการประชุมและงานเอกสารต่าง ๆ
4. สนับสนุนค่าใช้จ่ายอินเตอร์เน็ต จัดสรรอุปกรณ์ เครื่องมือการทำงานสำหรับบุคลากรในการทำงานที่บ้าน
5. จัดหาวัคซีนฉีดให้ข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษาและลูกจ้างทุกคน
6. ครูประจำชั้นให้คำแนะนำการเรียนการสอน โดยติดต่อประสานงานกับนักเรียนและผู้ปกครองโดยผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
7. จัดการเรียนการสอนรูปแบบ On-Hand แทนการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Online สำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถเรียน Online ได้
8. สร้างความเข้าใจในเรื่องของวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และ
ความไม่มั่นใจในวัคซีน ส่งผลให้ข้าราชการครูเข้ารับการฉีดวัคซีนต่ำกว่าเป้าหมาย9. มีระบบรายงานผลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพ
10. ควรจัดสรรชุดตรวจเบื้องต้น (Antigen Test kit) เพื่อคัดแยกผู้ที่มีความเสี่ยงที่คาดว่าจะติดเชื้อ ออกจากกลุ่มคนปกติ และเข้าสู่ระบบการรักษา เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในวงกว้าง
11. ควรจัดสรรงบประมาณสำหรับอุปกรณ์ป้องกันการแพร่ระบาด เช่น หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ยาสามัญประจำโรงเรียน
12. ควรสนับสนุนงบประมาณ สื่อ วัสดุอุปกรณ์การจัดการเรียนการสอนให้แก่สถานศึกษา ผู้เรียน
ที่ขาดแคลน
บันทึข้อมูลโดย: นายชัยวัตร ทองบ่อ