ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 19 พฤษภาคม 2564
1. การจัดการเรียนการสอนและการดำเนินการตามมาตรการป้องกันในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19)
ผลการดำเนินการ
- ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดภูเก็ต ออกคําสั่งกําหนดมาตรการควบคุมการ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๓๙ จังหวัดภูเก็ต จึงประกาศ คําสั่งจังหวัดภูเก็ต ที่ ๓๓/๒๕๖๔ เรื่อง มาตรการป้องกัน เฝ้าระวัง และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ จังหวัดภูเก็ต ให้สถานศึกษาทุกแห่งทุกสังกัดในจังหวัดภูเก็ต ทั้งของรัฐและเอกชน ทั้งในระบบและนอกระบบ ซึ่งอยู่ในสังกัดและในกํากับของกระทรวงศึกษาธิการ ในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัย และสถาบันกวดวิชา ทุกแห่ง ปิดการเรียนการสอน ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม ๒๕๖๔ ถึงวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๔
-สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดภูเก็ต
ได้แจ้งหนังสือ/แนวปฏิบัติตามข้อมูลข่าวสารและมาตรการการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙
(COVID-19) ให้สถานศึกษาในทุกสังกัด รวมถึงบุคลากรในหน่วยงาน/สถานศึกษา
ได้ปฏิบัติตามมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – ๑๙ (ศบค.)
กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข และคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดภูเก็ตอย่างเคร่งครัด
สร้างการรับรู้และสร้างความตระหนักในการป้องกันการติดเชื้อดังกล่าว
ส่งผลให้ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตลอดจนเจ้าหน้าที่ นักเรียน
ไม่ปรากฎพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙
- มีการสรุปผลการดำเนินงานเพื่อป้องกันการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID-19)ประจำวัน ของสถานศึกษาทุกวัน เพื่อรวบรวมข้อมูล พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารหากพบนักเรียน ครู หรือบุคลากรในสถานศึกษา ติดเชื้อหรือมีความเสี่ยงจะได้ให้การช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที
- นิเทศ ติดตามและตรวจเยี่ยมสถานศึกษาในสังกัด เพื่อสร้างความตระหนัก ความรู้ ความเข้าใจและให้กำลังใจแก่สถานศึกษาในการปฏิบัติตามมาตรการที่ทางราชการกำหนด เช่น การตรวจวัดไข้ การเว้นระยะห่าง การล้างมือ เป็นต้น เพื่อกระตุ้นให้สถานศึกษาสร้างภูมิคุ้มกันในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (COVID-19)
ในส่วนของการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในทุกสังกัด แต่ละสถานศึกษาได้ดำเนินการการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ ดังนี้
1. โรงเรียน ไม่มี การจัดการเรียนการสอนแบบ On Site
2. มีการจัดการเรียนการสอนแบบ On Air
3. มีการจัดการเรียนการสอนแบบ
Online
4. จัดการเรียนการสอนแบบ
On
Demand
5. มีการจัดการเรียนการสอนแบบ On Hand
6. มีการจัดการเรียนการสอนผสมผสาน ๒ รูปแบบ
7. มีการจัดการเรียนการสอนผสมผสาน ๓ รูปแบบ
8. มีการจัดการเรียนการสอนผสมผสาน 4 รูปแบบ
ปัญหา/อุปสรรค
- สถานศึกษา โดยเฉพาะในสังกัดของรัฐ มีงบประมาณไม่เพียงพอในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว
- ครูมีความเสี่ยงสูงในการเป็นผู้ได้รับเชื้อโดยตรง เนื่องจากนักเรียนมาจากครอบครัวที่มีความหลากหลาย และเป็นผู้อยู่ใกล้ชิดกับนักเรียน
- การจัดการเรียนการสอนแบบ On On Air Onlin On Demand ครอบครัวมีความแตกต่างกัน บางครอบครัวอุปกรณ์ไม่พร้อม ไม่มีโทรทัศน์ ไม่มีโทรศัพท์ บางบ้านมี ๑ เครื่อง แต่ผู้ปกครองเอาไปทำงาน ไม่มีค่าอินเตอร์เนต
- การจัดการเรียนการสอน ขาดการแนะนำจากครูอย่างใกล้ชิด ทำให้ผู้เรียนไม่ค่อยเข้าใจเนื้อหา
บันทึข้อมูลโดย: นายรัชพร นิลพังงา