ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการภาค บันทึกเมื่อวันที่ Date: 08 มีนาคม 2565

การติดตามนโยบายเร่งด่วนของ รมต. โครงการพาน้องกลับมาเรียน รร.บ้านโพนแพง อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลฯ

การติดตามนโยบายเร่งด่วนของ รมต. และการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้งในและนอกระบบการศึกษาของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นายธฤติ ประสานสอน) วันที่ 8 มีนาคม 2565

การปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 

1. มีการสร้างกลุ่ม Line นักเรียนทุกระดับชั้น เพือติดต่อสื่อสารกับนักเรียน ครู ผู้ปกครอง

2. โรงเรียนได้จัดทำแผนเผชิญเหตุสถานการณ์ Covid-19 

3. มีการนิเทศ กำกับ ติดตาม การส่งงาน/การเข้าเรียนของนักเรียน และสอบถามผู้ปกครองเรื่องการเรียนของนักเรียนที่บ้านอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ

4. สำรวจความพร้อม/ความต้องการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนตามความเหมาะสม (ปัจจุบัน ON-Site ในวันที่ 1 กพ. 65)


ปัจจุบันโรงเรียนบ้านโพนแพง มีเด็กพิการเรียนร่วม จำนวน 20 คน  แบ่งเป็นความพิการทางการเรียนรู้ จำนวน 18 คน และออทิสติก จำนวน 2 คน

การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนพิการเรียนร่วม

1. นักเรียนที่พัฒนาการซ้ำซ้อนและออทิสติก มีครูพี่เลี้ยงดูแลตลอดเวลาและมีการจัดทำแผน IEP

2. นักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้ เรียนร่วมกับนักเรียนปกติ

การรับรู้เชิงนโยบาย

มีการติดตามข่าวการนำโยบายสู่การปฏิบัติ จากข่าวสารของ สพฐ และ การแจ้งให้ดำเนินงานจาก สพป.อุบลราชธานี เขต 1 ซึ่งให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และทาง สพป.อบ.1 ได้ติดต่อสอบถามมาโดยตลอดและได้เริ่มติดตามนักเรียนทุกคน

การสำรวจ ค้นหาข้อมูลนักเรียนที่หลุดออกจากระบบ

มอบให้ผู้รับผิดชอบ DMC ติดตามนักเรียน ระดับชั้นอนุบาล 2 ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา และจากการติดตามนักเรียนรายดังกล่าวแล้ว ปรากฎว่าเด็กนักเรียนได้เสียชีวิตจากโรคประจำตัวที่เรื้อรังมานาหลายปี 

การกำหนดนโยบายทางการศึกษา เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดโอกาสความเสมอภาคในการรับการศึกษาของนักเรียน

นักเรียนทุกคนได้รับโอกาสและความเสมอภาคในการได้รับการศึกษาเท่าเทียมกัน โดยมีการดำเนินการจัดทำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ใกล้ชิด และจัดทำข้อมูลรายบุคคลเป็นปัจจุบัน  รวมทั้งมีการติดตามนักเรียน ที่เรียนจบชั้น ป.6 และไปเรียนต่อ ม.1 ทุกปี

ความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาและหน่วยงานพันธมิตร

โรงเรียนได้รับความร่วมือที่ดีจากผู้ปกครอง, โรงพยาบาลอำเภอม่วงสามสิบ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพนแพง, สถานีตำรวจภูธรอำเภอม่วงสามสิบ วัด  สพป.อบ.1  ในการร่วมมือกันดูแลนักเรียน  

การจัดตั้ง War Room   โรงเรียนมีการจัดตั้ง War Room เพื่อรายงานผลการดำเนินงานตามที่กำหนด

สถานศึกษาจัดกิจกรรมการเรียนรู้และระบบการดูแลช่วยเหลือนนักเรียนที่ส่งเสริม ผู้เรียนให้สอดคล้องกับความถนัดและความต้องการของผู้เรียนรายบุคคลได้อย่างเต็มตามศักยภาพ

โรงเรียนมีโครงการและฐานการเรียนรู้มากมาย ที่ส่งเสริมความถนัด ความต้องการ และเพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนด้วยนวัตกรรมต่างๆ ดังนี้

1. สหกรณ์สอนคุณธรรม   2. ระเบียบแถวแจ๋วจริง 3.รองเท้าเข้าที่มีคุณธรรม 4.โบสวยด้วย PLC  5.มาทันเวลาน่ารักจัง  6.เศรษฐีน้อย ตามรอยพ่อ

7.เขียนสวยด้วยมือเรา  8. มัคคุเทศก์น้อย ตามรอยพ่อ  9.โรงเรียนสะอาดปราศจากถังขยะ  10.การเรียนรู้แบบกระซิบพิชิตโควิด


ปัญหา อุปสรรค

1. การติดตามนักเรียน เพื่อให้มาเรียนไม่มีปัญหา แต่มีข้อจำกัดที่ผู้ปกครองมักนำลูกหลานติดตามไปทำงานด้วย เมื่อกลับบ้านก็นำมาด้วย ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านใช้เวลามาก นักเรียนเสียโอกาสทางการเรียน

2. ช่วงสถานกาณณ์โควิด ทำให้การจัดการเรียนการสอนไม่เต็มที่ การที่นักเรียนเรียนที่บ้านไม่มีประสิทธิภาพเลย ทั้งครู ผู้ปกครองไม่มีความพึงพอใจแต่ก็มีความจำเป็น

3. นักเรียนประมาณร้อยละ 50 อาศัอยู่กับปู่ย่า ตายาย ผู้ปกครองไปทำงานต่างถิ่น โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ทำให้ถูกเลี้ยงดูแบบตามใจ และไม่มีปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว


ข้อเสนอแนะ

1. ควรทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง ก่อนที่จะนำบุตรหลานติดตามไปสถานที่ทำงาน  เนื่องจากบางครั้งอาจมีเหตุผลที่จำเป็น แต่อาจทำให้เกิดปัญหาเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา

2. จากสถานการณ์ COVID-19 ในระยะนี้ไม่ควรตื่นตระหนก หรือหวาดกลัวเกินไป และให้ดำเนินการตาม 6 มาตรการหลัก และ 6 มาตรการเสริม อย่างเคร่งครัด

3. กรณีนักเรียนขาดเรียน โรงเรียนได้จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ได้รับความอบอุ่นจากครู ได้เรียนรู้ภายในโรงเรียน เพื่อให้เข้าใจการปรับตัวเข้าร่วมกับอื่น นอกเหนือจากการอยู่ร่วมบ้านกับปู่ ย่า ตา ยาย  และสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองทุกคนเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียนจัดขึ้น จึงทำให้ปัญหานักเรียนขาดเรียน นักเรียนติดตามผู้ปกครอง นักเรียนไม่เชื่อฟังผู้ปกครองลดลง และนักเรียนมีวินัย มีคุณธรรม มีความภาคภูมิใจในโรงเรียนของตนเอง

4. การติดตามจากหน่วยงานต้นสังกัดเป็นการสร้างขวัญกำลังใจที่ดีแก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้มีกำลังใจในการดำเนินงาน และผลักดันให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายฯ ประสบความสำเร็จให้มากที่สุด



















































 บันทึข้อมูลโดย: นางสาวอัญญารัตน์ รัตนา