ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการภาค บันทึกเมื่อวันที่ Date: 08 มีนาคม 2565

การติดตามนโยบายเร่งด่วนของ รมต. โครงการพาน้องกลับมาเรียน รร.บ้านพิณโท อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลฯ

การติดตามนโยบายเร่งด่วนของ รมต. และการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้งในและนอกระบบการศึกษาของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นายธฤติ ประสานสอน) วันที่ 8 มีนาคม 2565  ณ รร.บ้านพิณโท อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลฯ

 รร.บ้านพิณโท อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี

มีการดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการภายใต้การกำกับดูและของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี โดยสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานีได้ดำเนินการสร้าง Plat form ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อสนับสนุนครูผู้สอนอีกด้านหนึ่ง การสร้างนวัตกรรมนี้ ขณะนี้อยู่ในระยะที่ 1  โดยการร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการจัดทำ  และกำลังจะเข้าไปในระยะที่ 2  เพื่อยกระดับต้นแบบกลุ่มสาระวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้น ป.3 สังกัด สช. 

การจัดการเรื่องเด็กพิการ

การคัดกรองเด็กในโรงเรียน จะทำให้ทราบว่า เด็กบางคนมีความพิการที่ไม่ชัดเจน เช่น ความพิการทางการเรียนรู้ที่ ทำให้เกิดการเรียนรู้ช้า เข้าใจช้า ต้องมีครูที่ผ่านการอบรม มีความเข้าใจในเด็กลักษณะนี้ อย่าดุรุนแรง อย่ามองด้วยสายตาเหยียด  หรือใช้คำพูดให้เด็กรู้สึกท้อถอย แต่ต้องให้กำลังใจ ให้ความเอาใจใส่ ให้ความรักมากขึ้น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้  ดังนั้น เรื่องการอบรมครูเพื่อให้มีความสามารถในด้านการคัดกรองนักเรียน จะช่วยแก้ปัญหาจุดนี้ได้ เพราะหากเด็กมีความกลัว หรือท้อแท้ และตัดสินใจออกจากระบบการศึกษาไป จะกลายเป็นเด็กหลุดระบบ ตกหล่น และไม่ได้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอีก 

นอกจากนี้ต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มเปราะบาง  อันได้แก่  เด็กยากจน เด็กพิการ เด็กที่มีปัญหาครอบครัว เด็กเหล่านี้มีความเสี่ยงในการที่จะหยุดเรียนกลางคัน ตกหล่น และออกจากระบบการศึกษาไป ขณะนี้เพื่อให้การดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของ รมต.ศธ.  หน่วยงาน กศน. และศูนย์การศึกษาพิเศษ ได้ดำเนินการโครงการพาน้องกลับมาเรียน และโครงการปักหมุดทางการศึกษา  และหน่วยงานอาชีวศึกษา ได้มีโครงการ อาชีวอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ

กระทรวงศึกษาธิการนอกจากให้ความสำคัญกับเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาแล้ว ขณะนี้ยังให้ความสนใจกับเรื่องความปลอดภัยของเด็ก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำเด็กออกจากระบบการศึกษาไป   ศธ. จึงจัดตั้ง MOE Safety Center เพื่อรับเรื่อง แก้ปัญหาเรื่องความปลอดภัยของเด็กอย่างจริงจัง จากเดิมที่บางครั้งเด็ก หรือผู้ปกครองไม่กล้าจะบอกใคร เพราะบอกไปแล้วไม่มีการดำเนินการต่อ และอาจมีการข่มขู่ ทำให้เด็กไม่กล้ามาโรงเรียน จึงจังตั้ง MOE Safety Center เพื่อดูแลความปลอดภัยให้เด็กนักเรียน เช่น ภัยจากอุบัติเหตุ ภัยจาก Social ภัยจากการคุกคามทางเพศ/ไม่ว่าจะเป็นคนใกล้ตัว หรือคนแปลกหน้า รวมทั้งการดูแลตนเองจากโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น Covid-19 

ปัญหา อุปสรรค

จากสถานการณ์ Covid-19 โรงเรียนในสังกัด สช.มีปัญหา เรื่องรายได้ที่หายไป ผู้ปกครองขาดรายได้ ไม่มีเงินจ่ายค่าเทอม ซึ่งรายได้เหล่านั้นคือทุนที่ใช้ในการบริหารจัดการภายในโรงเรียน ทั้งค่าจ้างครู จ้างรถรับส่ง ค่าน้ำมันรถ ค่าดูแลสถานที่ในการจัดการเรื่องความสะอาดปลอดเชื้อ ปลอดภัยจาก สถานการณ์โรคติดเชื้อต่างๆ ซึ่งส่งผลมากต่อโรงเรียน 

ข้อเสนอแนะ 

1.ควรให้มีการอบรมครู เพื่อคัดกรองเด็กพิเศษ  อาจเป็นการอบรม On-Line  หรือ On-Site  ตามแต่ความพร้อมของสถานการณ์ในพื้นที่ หากเป็นการประชุม On-Line จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมลงได้มาก ใช้งบประมาณไม่สิ้นเปลือง เมื่อบรมแล้วจะทำให้มีครูที่มีความเข้าใจในเด็ก และสามารถคัดกรองเด็กได้

2. ควรมีผู้นำในพื้นที่ เป็นประธานในการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนต่าง ๆ เนื่องจากผู้อยู่ในพื้นที่จะรู้บริบทของพื้นที่ได้ดีที่สุด และ ศธจ. จะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลในพื้นที่ได้ดีที่สุด

3. เรื่องของเครือข่ายคุณภาพ กระทรวงศึกษาอยากให้มีการสร้างเครือข่าย เพื่อจัดการศึกษาให้กับโรงเรียนในมีคุณภาพตามเป้าหมาย

4. เรื่องความปลอดภัยในโรงเรียน ควรให้มีการปลูกฝัง ป้องกัน และปราบปราม ไม่ว่าจะเป็น ภัยจากอุบัติเหตุ ภัยจาก Social ภัยจากการคุกคามทางเพศ/ไม่ว่าจะเป็นคนใกล้ตัว หรือคนแปลกหน้า รวมทั้งการดูแลตนเองจากโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น Covid-19 




 บันทึข้อมูลโดย: นางสาวอัญญารัตน์ รัตนา