ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 25 มีนาคม 2565

นโยบายการตรวจราชการและติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ที่

นโยบายการตรวจราชการและติดตามประเมินผล การจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

หน่วยงาน

ที่เกี่ยวข้อง

1. ด้านการพัฒนาครูและการจัดการเรียนการสอน

1.1

การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกระดับมีส่วนร่วมสร้างสรรค์การเรียนรู้ เพื่อให้เกิดสมรรถนะหลักและการพัฒนาตนเองตามความถนัดและความสนใจ (Active Learning)

สพฐ/.สอศ./กศน./สช.

1.2

การจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองให้มีความทันสมัยสอดรับกับวิถีใหม่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น และการเสริมสร้างวิถีชีวิตของความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง

สพฐ/.สอศ./กศน./สช.

1.3

 การพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกประเภทให้มีสมรรถนะทางภาษาและดิจิทัล รวมทั้งการจัดการเรียนการสอน   

สพฐ/.สอศ./กศน./สช.

1.4

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (หลักเกณฑ์ PA)       

สพฐ./สอศ./กศน.

1.5

การขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) และศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center of Vocational Manpower Networking Management : CVM)

สอศ.

1.6

ความปลอดภัยของผู้เรียน โดยการสร้างสถานศึกษาปลอดภัย และบริหารจัดการเชิงบูรณาการ

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

สพฐ./สอศ./กศน./สช.

2. ด้านการสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันทางสังคม

2.1

การค้นหาเด็กวัยเรียนหลุดจากระบบการศึกษา และติดตามให้ความช่วยเหลือเข้าสู่ระบบการศึกษา

สพฐ./สอศ./กศน./สช.

2.2

การดูแลเด็กปฐมวัย ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้พัฒนาการสมวัย
ได้รับโอกาสทางการศึกษาทั้งในและนอกระบบการศึกษา

สพฐ./สช.

2.3

การสร้างโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับคนพิการ และผู้ด้อยโอกาส และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้งในและนอกระบบการศึกษา

สพฐ./สอศ./กศน./สช.

3. ด้านความร่วมมือ

3.1

การจัดการศึกษาแบบทวิภาคีสู่คุณภาพมาตรฐาน ผ่านศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคีเขตพื้นที่

   สอศ.

3.2

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกช่วงวัย โดยการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย และสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อการพัฒนาทักษะอาชีพ โดยการเพิ่มพูนทักษะ (Re-skill) พัฒนาทักษะ (Up skill) และการเรียนรู้ทักษะใหม่ (New skills)

 สพฐ./สอศ./

 กศน./สช.

4. ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

4.1

การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการศึกษาทุกระดับการศึกษาที่เน้น
การมีส่วนร่วมและการส่งเสริมการฝึกทักษะดิจิทัลในชีวิตประจำวัน

สพฐ./สอศ./กศน./สช.


 บันทึข้อมูลโดย: นางนุติยาพร วงษ์เณร ศึกษานิเทศก์