ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 05 เมษายน 2565

สรุปรายงานผลการตรวจราชการฯ กรณีรอบที่ ๑ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕

รายงานผลการตรวจราชการ และติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ กรณีปกติ รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ใช้เป็นข้อมูลประกอบการรายงานการตรวจราชการการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2565 ตามกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานการตรวจราชการ ของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจราชการ การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และ 2) ให้การตรวจราชการการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณพ.ศ.2565 แต่ละระดับสอดคล้องกันอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

    กลุ่มเป้าหมาย คือ หน่วยงานทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดพิจิตร เขตตรวจราชการที่ 18 ประกอบด้วย สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพิจิตร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 จำนวนสถานศึกษา 132 โรงเรียน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 จำนวนสถานศึกษา 122 โรงเรียน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร จำนวนสถานศึกษา 30 โรงเรียนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จำนวน 21 โรงเรียน วิทยาลัยสังกัดอาชีวศึกษา จำนวน 5 วิทยาลัย สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (สศศ.)  ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัด 1 ศูนย์ (12 ศูนย์อำเภอ) โรงเรียนพิจิตรปัญญานุกูล สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดพิจิตร (กศน.) ประกอบ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ จำนวน 12 แห่ง ครั้งนี้ มีสถานศึกษา ที่ได้รับคัดเลือกเป็นพื้นที่รับการตรวจ จำนวน 3 โรงเรียน ประกอบด้วย 1) โรงเรียนชุมชนวัดคลองคะเชนทร์ สพป.พิจิตร เขต 1 2) โรงเรียนบางมูลนาก (ราษฎร์อุทิศ) สพป.พิจิตร เขต 2 และ 3) โรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม สพม.พิจิตร

                เครื่องมือที่ใช้ในครั้งนี้  แบบรายงานผลการตรวจราชการ และติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านการพัฒนาครูและการจัดการเรียนการสอน 2. ด้านการสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันทางสังคม 3. ด้านความร่วมมือ และ 4. ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

               

          สรุปผลการตรวจราชการ

1.      ด้านการพัฒนาครูและการจัดการเรียนการสอน

1.1     การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกระดับมีส่วนร่วมสร้างสรรค์การเรียนรู้

เพื่อให้เกิดสมรรถนะหลัก และการพัฒนาตนเองตามความถนัดและความสนใจ (Active Learning) หน่วยงานทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดพิจิตรทุกแห่งดำเนินการการจัดการเรียน

การสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกระดับมีส่วนร่วมสร้างสรรค์การเรียนรู้ เพื่อให้เกิดสมรรถนะหลัก และ        การพัฒนาตนเองตามความถนัดและความสนใจ ( Active Learning) โดยมุ่งเน้นด้วยวิธีการที่เน้นแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ( Active Learning) คำนึงถึงบริบทของแต่ละพื้นที่(Area based Education) และการเรียนรู้ตามความถนัดของบุคคล (Personalized Learning) โดยนำไปใช้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้/รายวิชาต่าง ๆ ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ปัญหาอุปสรรคที่พบ คือ (1) ด้านครูผู้สอนครูยังจัดการเรียนรู้แบบ Passive Learning ที่ยึดครูเป็นศูนย์กลาง ครูยังขาดองค์ความรู้ Active Learning (2) ด้านผู้บริหารจัดการ ไม่เห็นความสำคัญ การนิเทศการเรียนการสอนไม่ต่อเนื่อง และปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลต่อการบริหารจัดการ (3) ด้านสื่อ  วัสดุอุปกรณ์ ก็ยังขาดแคลน ไม่พอเพียง อินเทอร์เน็ตไม่เสถียร ขาดงบประมาณและผู้ที่ดูแลวัสดุ อุปกรณ์ (4) การแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะ ได้แก่ การพัฒนาครู จัดหางบประมาณสนับสนุน เขตพื้นที่นิเทศ ติดตาม และเร่งแก้ปัญหาขาดแคลนครูผู้สอน และมีนวัตกรรมการเรียนการสอน Active learning ได้แก่ GPASS 5 Step Project , การจัดการเรียนการสอน โดยใช้ Project Approach, บอร์ดเกมการศึกษา Animal Racing : The Disaster, การพัฒนาการเรียนรู้ด้วย

รูปแบบ DOKSANO Model เป็นต้น

1.2 การจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองให้มีความทันสมัย สอดรับกับวิถีใหม่เหมาะสมกับวัย ของผู้เรียน ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นและการเสริมสร้างวิถีชีวิตของความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง  หน่วยงานทางการศึกษา มีการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองให้มีความทันสมัย สอดรับกับวิถีใหม่เหมาะสมกับวัย ของผู้เรียน ควบคู่ไปกับการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นและการเสริมสร้างวิถีชีวิตของความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง  โดยมีการบูรณาการเรียนการสอน การใช้ระบบ  E-Learning ควบคู่การเรียนแบบปกติ ปัญหาและอุปสรรคที่พบ คือ (1) ด้านครูผู้สอน ครูสอนไม่ตรงเอก ขาดการบูรณาการการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ระหว่างปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ปกครอง สถานศึกษา (2) ด้านสื่อ วัสดุอุปกรณ์ ก็ยังขาดแคลน ไม่มีการพัฒนาสื่อ และ (3) อื่นๆ คือ ผู้เรียนไม่เห็นความสำคัญของการเรียนประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง นวัตกรรมการเรียนการสอนที่เป็นแบบอย่าง ได้แก่ มีวิธีการสอนเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่าน story timeline

1.3 การพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกประเภทให้มีสมรรถนะทางภาษาและดิจิทัล ครูได้รับการพัฒนาด้านดิจิทัล โดยการอบรมจากสถาบัน หน่วยงานต่างๆ รวมถึงการอบรมผ่านระบบออนไลน์รูปแบบต่างๆ อาทิ สพฐ., สสวท., Google Thailand และ Embassy of Finland  ครูได้รับการพัฒนาผ่านด้านสมรรถนะ ทางภาษาที่ครูได้รับ และเป็นรูปธรรมที่สุดคือโครงการอบรมครูภาษาอังกฤษระดับภูมิภาค (Boot camp)

1.4 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (หลักเกณฑ์ PA)      ครูได้รับรู้หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการ ศึกษา (หลักเกณฑ์ ว.9 (PA) โดยผ่านการอบรม Online จากหน่วยงานต้นสังกัด ทั้งนี้ ครูยังขาดความรูความเข้าใจในรูปแบบการประเมิน โดยเห็นว่ารูปแบบการประเมินยุ่งยาก ซับซ้อน เน้นเอกสารและการประเมินโดยใช้ไฟล์ วีดีโอ ครูส่วนใหญ่จึงมีความต้องการเข้ารับการอบรมแบบ On-Site และมีผู้มีประสบการณ์แนะนำ

1.5 การขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) และศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center of Vocational Manpower Networking Management : CVM) วิทยาลัยอาชีวศึกษามีการพัฒนาหลักสูตรสมรรถนะร่วมกับเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (CVM) และมีการจัดตั้งศูนย์ทดสอบสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ อาชีพการปลูกข้าว โดยรับการทดสอบสมรรถนะด้านการเตรียมดิน และการปลูกข้าวให้กับประชาชนทั่วไป ปัญหาและอุปสรรค ที่พบด้านครู คือ การขาดแคลนครูผู้สอน ส่วนการบริหารจัดการ ได้แก่ ขาดงบประมาณ และบุคลากร และข้อเสนอแนะ ควรกำหนดหรือวางกรอบการดำเนินการศูนย์ความเป็นเลิศหรือศูนย์การให้บริการของสถานศึกษาให้เหมาะสมกับจำนวนบุคลากร และงบประมาณ

1.6 ความปลอดภัยของผู้เรียน โดยการสร้างสถานศึกษาปลอดภัย และบริหารจัดการเชิงบูรณาการในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หน่วยงานทางการศึกษามีระบบ E-COVID 19 และดำเนินงานระบบมาตรฐานความปลอดภัย (MOE Safety Center) ในส่วนของสนง. กศน.พิจิตร ได้ร่วมกับสถานศึกษาทั้ง 12 แห่ง การบริหารจัดการเชิงบูรณาการในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) โดยมีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ On Site,  On Air, Online, On demand, และ On Hand มีการประชุมระบบออนไลน์, การเยี่ยมบ้านออนไลน์, และการช่วยเหลือนักศึกษาเมื่อประสบภัยแบบออนไลน์ ตามมาตรการ DMHTTA  การจัดกิจกรรมต่างๆ สถานศึกษาดำเนินการตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ทางวิทยาลัยอาชีวศึกษาและสถานศึกษาสังกัดเอกชน มีการจัดทำแผนเผชิญเหตุ และ แผน SBC SANDBOX มีการปฏิบัติตาม 6 มาตรการหลัก (DMHC-RC) 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) 7 ปัญหาและอุปสรรคที่พบ (1) ด้านครูผู้สอน คือ ภาระงานครูเพิ่มขึ้น งานซ้ำซ้อน  (2) ด้านการบริหารจัดการ การสร้างความรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับระบบ MOE Safety Center และบุคลากร นักเรียนมาจากพื้นที่เสี่ยงยากแก่การบริหารจัดการ (3) ด้านสื่อ วัสดุอุปกรณ์ ระบบการใช้งาน MOE Safety Center ไม่เสถียร ข้อเสนอแนะ ควรปรับปรุง ระบบ MOE Safety Center และมีการสอนหรือให้คำแนะนำในการใช้ระบบ MOE Safety Center  ทั้งนี้ ต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice)  จากโรงเรียนวัดวังแดง สพป.พิจิตร เขต 2 ได้รับการคัดเลือก “สถานศึกษาปลอดภัย” จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ตั้งแต่ ประจำปี 2562 – 2564 

      2. ด้านการสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันทางสังคม

2.1 การค้นหาเด็กวัยเรียนหลุดจากระบบการศึกษาและติดตามให้ความช่วยเหลือเข้าสู่ระบบการศึกษา หน่วยงานทางการศึกษาได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลนักเรียนออกกลางคันและเด็กตกหล่น ในทุกหน่วยงานและรวบรวมสรุปเป็นภาพรวมของจังหวัด ทั้งนี้ จากค้นหาเด็กวัยเรียนที่หลุดจากโดยมีการติดตามให้ความช่วยเหลือเข้าสู่ระบบการศึกษาแล้ว โดยความร่วมมือทุกหน่วยงานทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่ฯ กศน. และอาชีวศึกษา ทั้งนี้ สามารถนำเด็กที่อยู่ในวัยเรียนเข้าสู่ระบบการศึกษาแล้ว มียังพบเด็กที่อายุเกิน 15 ปี เข้าสู่ระบบการศึกษา ของกศน. อาชีวศึกษา ทำงานในสถานประกอบการ และประกอบอาชีพอื่น ปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ ระบบ พาน้องกลับมาเรียน ไม่เสถียร การติดตามเด็กบางพื้นที่มีความเสี่ยง ข้อเสนอแนะ ควรประชาสัมพันธ์โครงการ เรียนฟรี ที่พักฟรี อาหารฟรี และปรับปรุงระบบ พาน้องกลับมาเรียน ทั้งนี้ มีรูปแบบ/แนวทางการดำเนินงานรูปแบบ/แนวทางการดำเนินงานที่เป็นต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice) ได้แก่ ระบบดูแลช่วยเหลือ ของ สพป.พิจิตร เขต 2, โครงการนัดนี้ เพื่อน้อง ของ สพป.พิจิตร เขต 1 และแนวทางติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและออกกลางคัน ของสพม.พิจิตร

2.2 การดูแลเด็กปฐมวัย ด้วยการส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้พัฒนาการสมวัย ได้รับโอกาสทางการศึกษาทั้งในและนอกระบบการศึกษา หน่วยงานทางศึกษาที่เกี่ยวข้อง สำรวจข้อมูลเด็กปฐมวัยให้ได้รับการพัฒนาการสมวัย และประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา ทั้งนี้ กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการประเมินพัฒนาการ ซึ่งผลการดำเนินการ มีรูปแบบ/แนวทางการดำเนินงานรูปแบบ/แนวทางการดำเนินงานที่เป็นต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice) ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลพิจิตร รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 6 กิจกรรมของโรงเรียนอนุบาลพิจิตร , การพัฒนาเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยกิจกรรมโครงงาน หวานเย็นชื่นใจ  ของโรงเรียนศรีประสิทธิ์วิทยา และการใช้ชุดกิจกรรมร้องเพลงเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนวัดวังเรือน เป็นต้น

2.3 การสร้างโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส

และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้งในและนอกระบบการศึกษา หน่วยงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องมีการดำเนินการคัดกรองนักเรียนผ่านระบบ DMC (Data Management Center) และระบบคัดกรองปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนของ กสศ. (กองทุนเพื่อ ความเสมอภาคทางการศึกษา) จัดทำโครงการช่วยเหลือ อาทิ โครงการนัดนี้เพื่อน้อง ระดมทุนในรูปแบบกองทุน มีศูนย์คุ้มครองเฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้การช่วยเหลือนักเรียน  ในกรณีเร่งด่วนฉุกเฉิน ของสพป.พิจิตร เขต 1 จัดสรร        พี่เลี้ยงเด็กพิการ ของสพป.พิจิตร 2 ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพิจิตร สร้างโอกาสทางการศึกษาให้เด็กพิการทุกประเภท โดยให้บริการเด็กพิการตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการ จำนวน 232 คน และจัดตั้งหน่วยบริการประจำอำเภอ จำนวน 11 หน่วยบริการ ครอบคลุม 11 อำเภอ (ยกเว้นอำเภอเมือง) ให้บริการเด็กพิการที่หน่วยบริการ 96 คน จากผลการดำเนินการพบปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ การคัดกรองนักเรียนพิการเรียนรวม (เด็กพิเศษ)ในช่วงสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ทำให้โรงพยาบาลให้บริการได้อย่างจำกัด และขอให้ชะลอไปก่อน ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมายังไม่มีการจัดอบรมการคัดกรองผู้พิการทางการศึกษา ขาดบุคลากรและพี่เลี้ยงเด็กพิการ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 ส่งผลให้การพัฒนาและส่งเสริมผู้เรียนเป็นไปได้ยาก ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ช่องทางการติดต่อสอบถามทั้งระดับเขตพื้นที่ และสพฐ.โดยตรง จัดอบรมออนไลน์ตามหลักสูตร 3 วัน และสรรบุคลากร ครูพี่เลี้ยงเพิ่ม ทั้งนี้ รูปแบบ/แนวทางการดำเนินงานที่เป็นต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice) ได้แก่ ศูนย์การศึกษาพิเศษให้บริการขยายโอกาสเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้ โครงการปรับบ้านเป็นห้องเรียนเปลี่ยนพ่อแม่เป็นครู เป็นต้น

      3. ด้านความร่วมมือ

          3.1 การจัดการศึกษาแบบทวิภาคีสู่คุณภาพมาตรฐาน ผ่านศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคีเขตพื้นที่

            3.1.2.3 ด้านความร่วมมือกับสถานประกอบการ ผลการดำเนินการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร ได้ทำข้อตกลงความ ร่วมมือเพื่อจัดการศึกษาเรียนร่วม หลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ในสถานศึกษา จำนวน 5 โรงเรียน วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร มีการสำรวจความต้องการของสถานประกอบการสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาคี วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิจิตรร่วมมือกับสถานประกอบการจัดการศึกษาทวิภาคี 2 สาขาวิชา คือ สาขาเทคนิคโลหะ และสาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก  และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพิจิตร จัดทำข้อตกลงในการส่งนักศึกษาฝึกงานในระบบทวีภาคี จำนวน 3 สถานประกอบการ       

              3.1.2.2 ด้านคุณภาพหลักสูตร มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาหลักสูตรทวีศึกษา ร่วมกับ สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา และ สถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดพิจิตร และดำเนินการพัฒนาหลักสูตร ได้แก่ (1) คหกรรมอาหารและโภชนาการ (2) ช่างเชื่อม (3) ช่างยนต์ (4) อิเล็กทรอนิกส์ (5) คอมพิวเตอร์ธุรกิจ (6) ไฟฟ้ากำลัง (7) แมคคาโทนิค วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร มีการพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานประกอบการเพื่อพัฒนาคุณภาพให้ตรงกับความต้องการตลาดแรงงาน วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิจิตร พัฒนาหลักสูตรที่สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ หลักสูตรทวิภาคีของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพิจิตร ยังไม่ได้พัฒนาเต็มรูปแบบ เนื่องจากความไม่พร้อมทั้งสถานศึกษา ฟาร์มเอกชน ที่ยังไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ เช่น การจัดการอาหาร ที่พัก รวมทั้งค่าตอบแทนนักเรียนนักศึกษา

3.1.2.3 ด้านคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา สพม.พิจิตร มีนีกเรียนที่จบการศึกษาหลักสูตรทวิภาคี จำนวน 293 คน / 347 คน (ร้อยละ 84.44) ผู้ที่สำเร็จการศึกษา จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิจิตรมีคุณภาพ   มีงานทำทุกคน โดยผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพิจิตร มีประสบการณ์ชำนาญในการปฏิบัติการได้ แต่ยังขาดความรู้ด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องอีกมาก ปัญหาและอุปสรรคที่พบ ได้แก่  ครูฝึกในสถานประกอบการบางแห่งยังขาดความรู้ความเข้าใจในการสอน ครูผู้สอนในสถานศึกษาไม่สามารถไปนิเทศการฝึกงานและสอนงานสถานศึกษาได้บ่อยนัก เนื่องด้วยสถานประกอบการอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล และผู้เรียนไม่อยากไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพต่างจังหวัด ผู้เรียนฝึกงานในไม่ครบหลักสูตรผู้เรียนฝึกงานในไม่ครบหลักสูตร ข้อเสนอแนะ ศูนย์อาชีวศึกษาระบบทวิภาคีเขตพื้นที่ ทำความร่วมมือกับสถานประกอบการ การสร้างความเข้าใจกับผู้เรียน ผู้ปกครอง และสถานประกอบการ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดทำโครงการเพื่อให้โรงเรียนสร้าง ห้องเรียนอาชีพสู่การสร้างอนาคต ให้ผู้เรียนมีอาชีพและมีงานทำ

3.2 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกช่วงวัย โดยการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย และสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อการพัฒนาทักษะอาชีพ โดยการเพิ่มพูนทักษะ (Re-skill) พัฒนาทักษะ (Up skill)
และการเรียนรู้ทักษะใหม่ (New skills)
สถานศึกษาทุกสังกัด จัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพผู้เรียน และสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทุกหน่วยงาน โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1, 2 และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร ร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาในจังหวัดพิจิตร ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิจิตร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพิจิตร และวิทยาลัยชุมชนพิจิตร ได้พัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ของศธจ.พิจิตร สพม.พิจิตร ได้จัดอบรมหลักสูตร ให้ครูในสังกัด สพม.พิจิตร 2 หลักสูตร วิทยาลัยอาชีวศึกษา มีการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น กศน.พิจิตร จัดทำโครงการ (Career & Entrepreneurship Ministry of Education : MOE CEC) โดยการผนึกกำลังกับอาชีวศึกษาจังหวัดพิจิตร เพื่อพัฒนาครู กศน.ด้านการจัดทำหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง กิจกรรมศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ ได้แก่ ขาดครูสอนด้านอาชีพที่ตรง และครูบริหารจัดการหลักสูตร การเรียนการสอนต้องนำนักเรียนไปเรียนที่สถาบันอาชีวศึกษา สื่ออุปกรณ์ไม่เพียงพอ และไม่ทันสมัย เป็นต้น ข้อเสนอแนะ/แนวทาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดทำโครงการเพื่อให้โรงเรียนสร้าง ห้องเรียนอาชีพสู่การสร้างอนาคต ให้ผู้เรียนมีอาชีพและมีงานทำ และควรจัดหาครูอาชีพเพิ่ม

    4.  ด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

          4.1 การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการจัดการศึกษาทุกระดับการศึกษาที่เน้นการมีส่วนร่วม และการส่งเสริมการฝึกทักษะดิจิทัลในชีวิตประจำวัน  ผลการดำเนินการ หน่วยงานทางการศึกษาพัฒนาครูในสังกัด ให้สามารถนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ดำเนินการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ยุค New Normal อาทิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 มีการสร้างหลักสูตรการอบรมออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต e-learning เพื่อให้ครู บุคลากรในสังกัด และบุคคลภายนอกที่สนใจเข้ารับการอบรม จำนวน  23 หลักสูตร โรงเรียนมีการนำเครื่องมือดิจิทัลมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ตามสภาพบริบทของโรงเรียน ซึ่งนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษามีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และการใช้สื่อดิจิทัล โดยครู และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนา จาก สพป.พิจิตร เขต 1 สพม.พิจิตรได้ดำเนินการจัดอบรมให้ความรู้ในการใช้ Digital Platform ที่มีอยู่ในโลกโซเซียลปัจจุบัน เช่น การใช้ Zoom meeting การใช้Google Meet หรือการดำเนินการจัดการเรียนการสอน โดยใช้โปรแกรม หรือapplication และวิทยาลัยอาชีวศึกษา ได้จัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ เช่น Google meet, Zoom, Google classroom, Microsoft team, Line, Facebook group, You Tube, และ Social media อื่นๆ และกศน.จังหวัดพิจิตรได้มีการพัฒนาหลักสูตร สื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาแหล่งเรียนรู้และรูปแบบการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ในทุกระดับทุกประเภท จัดการเรียนการสอนในลักษณะเทคนิคและ วิธีการต่างๆ นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาจัดการเรียนการสอน เช่น การทำแบบทดสอบด้วย Google form จัดทำคลิปวีดีโอการสอนและการจัดการเรียนการสอนผ่าน Google Meet, Zoom ,Line และทาง Facebook เป็นต้น โดยสถานศึกษามีการจัดการเรียนการสอนตามสถานการณ์การหากเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รูปแบบผสมผสาน On-Site, On–Air, Online, On-Demand, On Hand ผลการดำเนินการพบปัญหาอุปสรรค ของครูผู้สอน ได้แก่ ครูขาดทักษะ ความรู้ความชำนาญในการใช้เทคโนโลยี และเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ ส่งผลให้ผู้เรียนไม่สนใจเรียน ขาดเรียน ไม่มีอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ และเด็กพิเศษไม่สามารถเรียนออนไลน์ได้ นอกจากนี้ ยังพบปัญหาระบบอินเทอร์เน็ตไม่เสถียร ผู้ปกครองไม่สามารถสนับสนุน ช่วยเหลือแนะนำได้ ข้อเสนอแนะ ได้แก่ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครู ควรสนับสนุนอุปกรณ์ต่างๆ 


 บันทึข้อมูลโดย: นางสาวปิ่นแก้ว ยังคำมั่น