ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการจังหวัด บันทึกเมื่อวันที่ Date: 11 เมษายน 2565

พาน้องกลับมาเรียน/ปักหมุด
การติดตามประเมินผลประเด็นนโยบายเร่งด่วนตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ นโยบายพาน้องกลับมาเรียน/ปักหมุด ของสถานศึกษาหน่วยรับตรวจ ได้แก่ โรงเรียนลาซาลจันทบุรี (มารดาพิทักษ์)  วิทยาลัยสารพัดช่างจันทบุรี  และศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอเมืองจันทบุรี
       โรงเรียนลาซาลจันทบุรี (มารดาพิทักษ์)  ดำเนินงานตามนโยบายดังนี้

      1. แต่งตั้งคณะทำงาน ตามความเหมาะสมของโรงเรียน โดยผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นประธาน เพื่อกำหนดแผนและแนวทางการดำเนินงานติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา และได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

      2. ตรวจสอบ วิเคราะห์ ข้อมูลเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน ที่ได้รับแจ้งจาก สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดจันทบุรี ในแต่ละปีการศึกษาให้ถูกต้อง ครบถ้วน และสมบูรณ์

      3. แก้ปัญหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน โดยวิเคราะห์สภาพปัญหา หาสาเหตุ วิธีการแก้ไขปัญหาเป็นรายบุคคล และดำเนินการให้เด็กกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา พร้อมจัดทำแผนป้องกันเด็กออกจากระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

     4. ลงพื้นที่ติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน โดยใช้Mobile Application “พาน้องกลับมาเรียน” และเว็บไซต์ https://dropout.edudev.in.th เป็นเครื่องมือในการติดตามและรายงานผล

     5. ดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันเด็กออกจากระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

     6. สรุปและรายงานผลการดำเนินงาน ให้สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดจันทบุรี



     วิทยาลัยสารพัดช่างจันทบุรี ดำเนินการตามนโยบาย ดังนี้

    1.  มีแผนและแนวทางการบริหารจัดการ กำกับ ติดตาม และดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาและออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา

    2. มีแนวปฏิบัติและเชื่อมโยงสารสนเทศของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่น เพื่อดำเนินการเชิงบูรณาการ

    3. มีการจัดส่ง “คู่มือพาน้องกลับมาเรียน” ให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการการทำงานทุกระดับ

    4. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ระดับสถานศึกษา

    5. ข้อมูลผลการปฏิบัติ

        - จำนวนผู้เรียนเป้าหมาย   64  คน

        - ติดตามแล้ว               64  คน

    6. ปัญหา/อุปสรรค/ข้อจำกัดในการดำเนินการตามนโยบาย

        1) แอพพลิเคชั่นไม่เสถียร

        2) นักเรียนไม่ได้อยู่อาศัยตามที่อยู่ที่แจ้งไว้

   7. ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงนโยบาย

       - ควรจัดสรรงบประมาณในการติดตามพาน้องกลับมาเรียน


         ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอเมืองจันทบุรี  ดำเนินการตามนโยบายดังนี้

         กศน.ปักหมุดเพื่อสร้างโอสาสทางการศึกษาสำหรับคนพิการ และผู้ด้วยโอกาสทางการศึกษา กศน.อำเภอเมืองจันทบุรี

         บทบาทหน้าที่

         1. ชี้แจงสร้างความเข้าใจ ประชาสัมพันธ์ จัดทำแผนและแนวทางการดำเนินงาน สำรวจและปักหมุดค้นหาคนพิการอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่ยังไม่เข้าสู่ระบบการศึกษาให้บุคลากร กศน.เมืองจันทบุรี ในสังกัดทราบและถือปฏิบัติ

          2. ตรวจสอบ วิเคราะห์ ข้อมูลกลุ่มเป้าหมายคนพิการ ที่ได้รับจากสำนักงาน กศน.จังหวัดจันทบุรี ให้ถูกต้องครบถ้วน สมบูรณ์ และจัดส่งข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย คนพิการ  ไปยังบุคลากร กศน.เมืองจันทบุรี ในสังกัด

          3. จัดส่งข้อมูลผู้เข้าใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ CAPER ของ กศน.เมืองจันทบุรี ให้กับสำนักงาน กศน. จังหวัดจันทบุรี เพื่อกำหนดรหัสผู้ใช้งาน

          4. มอบหมายผู้ดูแลระบบระดับอำเภอประสานงานกับผู้ดูแลระบบระดับจังหวัดเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่บันทึกในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ CAPER

          5. ผู้ดูแลระบบระดับอำเภอ ยืนยันความถูกต้องของข้อมูล พร้อมทั้งสรุปและรายงานผลข้อมูลในภาพรวมของอำเภอ ต่อผู้อำนวยการ กศน.อำเภอเมืองจันทบุรี

          6. ส่งเสริม สนับสนุนและปฏิบัติงานร่วมกับสถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่ายในพื้นที่

          7. กำกับ ติดตาม และรายงานผลการดำเนินงานในภาพรวมเสนอหน่วยงานต้นสังกัด

          วิธิดำเนินการ

          1. ประชุมร่วมกับสำนักงาน กศน.จังหวัดจันทบุรี

               1) รับนโยบาย

               2) รับทราบวิธีดำเนินงาน

          2. ผู้บริหาร กศน.อำเภอเมืองจันทบุรี ประชุมบุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความรับรู้และความเข้าใจในการดำเนินงาน

          3. แต่งตั้งคำสั่งคณะทำงาน

          4. ลงพื้นที่ดำเนินการ

               4.1 เก็บข้อมูลด้วยแบบสำรวจตามแบบฟอร์ม สำนักงาน กศน.กำหนด

               4.2 บันทึกข้อมูลในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ CAPER โดยแอดมินดำเนินการ

               4.3 ผู้ดูแลระบบระดับจังหวัดตรวจความถูกต้องของข้อมูล และยืนยันความถูกต้องของข้อมูลในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ CAPER

               4.4 สรุปรายงานผลการดำเนินงานในภาพรวมเสนอหน่วยงานต้นสังกัด

          ผลการดำเนินงาน

          จากการลงพื้นที่สำรวจปักหมุดคนพิการที่ได้รับมอบหมายทั้งสิ้น 11 ตำบล จำนวน 77 คน สรุปข้อมูล  ได้ดังนี้

             บุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา  จำนวน 16 คน เข้าศึกษาในสถานศึกษาอื่น 1 คน ยังไม่ได้รับการศึกษา 15 คน

            บุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย   จำนวน 20 คน เข้าศึกษา กศน. 10 คน ยังไม่ได้รับการศึกษา 8 คน จบการศึกษาภาคบังคับ 2 คน

            บุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 6 คน  ยังไม่ได้รับการศึกษา 6 คน

            บุคคลที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น จำนวน 1 คน จบการศึกษาภาคบังคับ 1 คน

            บุคคลที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา จำนวน 1 คน ยังไม่ได้รับการศึกษา 1 คน

            บุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านพฤติกรรม  จำนวน 2 คน  ยังไม่ได้รับการศึกษา 2 คน

            บุคคลออทิสติก จำนวน 1 คน ยังไม่ได้รับการศึกษา 1 คน

            ไม่พบความพิการ จำนวน 2 คน เข้าศึกษากับสถานศึกษาอื่น 1 คน 

            ไม่พบตัวตน  จำนวน 25 คน

            เสียชีวิต  จำนวน 3 คน

          สาเหตุที่ไม่ได้รับการศึกษาต่อ

            ด้านสติปัญญา            จำนวน    10 คน

            ด้านทางการได้ยิน       จำนวน 2 คน

            ด้านอารมณ์                จำนวน 2 คน

            ด้านร่างกาย                จำนวน 3 คน

            บกพร่องทางการพูดและภาษา    จำนวน 1 คน

            ด้านสุขภาพ                จำนวน 1 คน

            ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้  จำนวน 1 คน

            อายุมาก                      จำนวน  13  คน

         ปัญหาและอุปสรรค

          1. มีการย้ายที่อยู่อาศัยของผู้ด้อยโอกาสและคนพิการทำให้มีความยากต่อการติดตาม

          2. เนื่องจากในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อขณะลงพื้นที่สำรวจข้อมูล

          3. ผู้ปกครองและผู้พิการไม่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล

          4. ผู้พิการบางรายมีภาวะด้านอารมณ์ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ทำให้ไม่ปลอดภัยต่อผู้สำรวจ
























 บันทึข้อมูลโดย: นางสาวอรวรรณ สุพรรณพยัคฆ์