ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการภาค บันทึกเมื่อวันที่ Date: 05 พฤษภาคม 2565

รายงานสรุปผลการตรวจ ติดตามผลการดำเนินการประเด็นนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ระหว่างวันที่ 26-29 เม.ย. 65 ณ จ.สตูล ตรัง และกระบี่

รายงานสรุปผลการตรวจ ติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วน

ของกระทรวงศึกษาธิการ เขตตรวจราชการที่ 6

ของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นายธฤติ ประสานสอน)

ระหว่างวันที่ 26-29 เมษายน 2565 ณ จังหวัดสตูล ตรัง และกระบี่

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

          ตามที่ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นายธฤติ ประสานสอน) ได้ลงพื้นที่ตรวจราชการเพื่อตรวจ ติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้ง 6 โครงการ คือ 1) โครงการ “พาน้องกลับมาเรียน” 2) โครงการ “กศน.ปักหมุด” 3) โครงการ “โรงเรียนคุณภาพ” 4) โครงการ “อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ” 5) โครงการ “ความปลอดภัยสถานศึกษา (MOE Safety Center)” และ 6) โครงการ “แก้ไขปัญหาหนี้สินครู” ระหว่างวันที่ 26-29 เมษายน 2565 ในพื้นที่จังหวัดสตูล ตรัง และกระบี่ โดยมีหน่วยรับตรวจ คือ หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 6 ทุกสังกัด

จากการลงพื้นที่ตรวจราชการฯ และการรายงานผลตามแบบติดตามผลการดำเนินการนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการ เขตตรวจราชการที่ 6 ระยะที่ 1 (เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2565) ในภาพรวมของจังหวัดสตูล ตรัง และกระบี่ ทั้ง 6 โครงการ พบว่า

1. โครงการ “พาน้องกลับมาเรียน”

หน่วยงานมีการรับรู้และเข้าใจ “โครงการพาน้องกลับมาเรียน” จากแผนงานและแนวทางการบริหารจัดการ กำกับ ติดตาม และดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาและออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา มีแนวปฏิบัติเชื่อมโยงสารสนเทศของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่น เพื่อการดำเนินงานเชิงบูรณาการ ตลอดจนมีการชี้แจงสร้างความเข้าใจ ประชาสัมพันธ์แผนงานและแนวทางการบริหารจัดการ เพื่อติดตามค้นหาผู้เรียนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาและออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา เช่น ประชุมสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างโรงเรียน ชุนชน ผู้ปกครอง และนักเรียน แจ้งข่าวสารผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน/โรงเรีนน ฯลฯ นอกจากนี้หน่วยงานต้นสังกัดได้จัดส่ง“คู่มือพาน้องกลับมาเรียน” ให้กับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการการทำงานในทุกระดับ อีกทั้งมีการตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูลเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันให้เป็นปัจจุบันสอดคล้องกับข้อเท็จจริง ซึ่งหน่วยงานมีการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติโดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการทั้งในระดับจังหวัด หน่วยงาน และสถานศึกษา นอกจากนี้ ได้สำรวจข้อมูล วิเคราะห์ และเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ กำกับติดตามโดยใช้ Application “พาน้องกลับมาเรียน” เป็นเครื่องมือลงพื้นที่สำรวจ ติดตาม ค้นหา นักเรียน/นักศึกษาที่หลุดระบบ และรายงานผลผ่านเว็บไซต์ http://dropout.edudev.in.th  มีการอบรมขยายผลการใช้งานแอปพลิเคชัน “พาน้องกลับมาเรียน” ในทุกสถานศึกษา/อำเภอ และระดับตำบล และส่งข้อมูลผู้เรียนรายบุคคลที่ต้องติดตามพากลับมาเรียน ให้คณะทำงานพัฒนาระบบ นำเข้าฐานข้อมูลระดับกระทรวงศึกษาธิการ

1. ข้อมูลผลการติดตามผู้เรียนกลุ่มเป้าหมาย “โครงการพาน้องกลับมาเรียน”

1.1  ผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด                           จำนวน 1,282 คน

1.2  ผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายที่ติดตามพบตัว                   จำนวน 1,039 คน

1.3  ผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้ติดตาม                 จำนวน    116 คน

1.4 ผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายที่ติดตามแล้วไม่พบตัว           จำนวน    127 คน

1.5 ผู้เรียนที่พบตัวแต่ไม่มีรายชื่ออยู่ในกลุ่มเป้าหมาย     จำนวน      18 คน

1.6 อื่นๆ (ระบุ) -                                            จำนวน         - คน

          2. ผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายที่ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ

2.1 ผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการช่วยเหลือกลับเข้ามาเรียน

      สถานศึกษาเดิม จำนวน 63 คน   สถานศึกษาอื่นๆ จำนวน 530 คน

2.2 ผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้กลับเข้ามาเรียน  จำนวน 389 คน

โดยสาเหตุที่ไม่ได้กลับเข้ามาเรียน

1) ปัญหาครอบครัว (ฐานะยากจน, ต้องทำงานช่วยเหลือครอบครัวฯ)  จำนวน 198 คน

2) จบการศึกษาภาคบังคับและไม่ประสงค์เรียนต่อ                       จำนวน   57 คน

3) ปัญหาการปรับตัวในสังคม                                             จำนวน   26 คน

3) การคมนาคมไม่สะดวก                                                 จำนวน     1 คน

4) ย้ายถิ่นที่อยู่/ไปเรียนต่างประเทศ                                      จำนวน   29 คน

5) รับราชการทหาร                                                       จำนวน     2 คน

6) นักเรียนไม่จบจากสถาบันเดิม (ไม่มีหลักฐานการจบ)                 จำนวน     4 คน

7) ปัญหาด้านสุขภาพ                                                     จำนวน   15 คน

8) เสียชีวิต                                                                 จำนวน     6 คน

9) ติดตามแล้วยังไม่พบตัว                                                 จำนวน   35 คน

ที่มา : สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล ณ วันที่ 29 เม.ย.65

ปัญหา/อุปสรรค/ข้อจำกัดในการดำเนินงานตามนโยบาย  

1. ปัญหาด้านครอบครัว เนื่องจากนักเรียนที่หลุดระบบการศึกษาส่วนใหญ่มีฐานะยากจน มีปัญหาด้านค่าใช้จ่าย ครอบครัวหย่าร้าง ต้องช่วยพ่อแม่ประกอบอาชีพ หารายได้เลี้ยงครอบครัว บางคนมีพี่น้องหลายคน อาศัยอยู่กับปู่ย่า ตายาย จึงทำให้ไม่สามารถเรียนในระบบได้

2. ปัญหาด้านการบันทึกข้อมูลไม่เป็นปัจจุบัน เช่น นักเรียนได้ย้ายสถานศึกษาจากโรงเรียนเดิมไปแล้ว ซึ่งโรงเรียนได้ดำเนินการย้ายนักเรียนตามขั้นตอนดำเนินงานที่ถูกต้องแล้ว หรือนักเรียนจบการศึกษาในระดับชั้น ม.๓ จากโรงเรียนขยายโอกาสไปแล้ว แต่ยังมีข้อมูลนักเรียนว่าเป็นนักเรียนออกกลางคัน

3. นักเรียนมีอายุเกินเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ โรงเรียนได้จำหน่ายนักเรียนออกจากฐานข้อมูลนักเรียนไปแล้ว แต่ยังมีข้อมูลนักเรียนว่าเป็นนักเรียนออกกลางคัน

4. นักเรียนที่ออกกลางคัน บางคนกลายเป็นเด็กพิการ มีปัญหาเรื่องสุขภาพ ด้านจิตใจ หรือไม่สนใจที่จะเรียนต่อ

5. นักเรียนที่จบในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ บางคนได้ไปเข้าเรียนในสถานศึกษาปอเนาะ ในพื้นที่ซึ่งสถานศึกษาดังกล่าว ไม่ได้มีระบบการจัดเก็บข้อมูลฐานนักเรียนเช่นเดียวกับระบบสถานศึกษาในภาครัฐ/ภาคเอกชน จึงทำให้ฐานข้อมูลของนักเรียนที่ไปเข้าเรียนไม่เชื่อมโยงกัน

6. นักเรียนบางคนเปลี่ยน ชื่อ หรือนามสกุล ทำให้ฐานข้อมูลรายชื่อไม่ตรงกัน ไม่เป็นปัจจุบัน หรือไม่สามารถจับคู่ข้อมูลให้ตรงกัน เกิดเป็นเด็กตกหล่น

7. ผู้ใช้งาน Application dropout (พาน้องกลับมาเรียน) ขาดความรู้ความเข้าใจ/ยังไม่ชำนาญในการบันทึกข้อมูล หรือข้อมูลไม่ครบถ้วน เช่น ไม่มีโรงเรียนการกุศลให้เลือก หรือเมื่อบันทึกแล้วไม่สามารถแก้ไขข้อมูลได้

8. หน่วยงานในระดับจังหวัดและภาค (ศธจ.และ ศธภ.) ไม่สามารถเรียกดูข้อมูลได้ ทั้ง ๆ ที่เป็นหน่วยงานในระดับพื้นที่ที่ต้องเก็บรวบรวมและนำเสนอข้อมูล

 

ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงนโยบาย

1. แนะนำให้นักเรียนเข้าเรียนการศึกษานอกระบบ (กศน.) หรือ เรียนสายวิชาชีพ เพื่อจะได้ช่วยเหลือครอบครัว ประกอบอาชีพ หารายได้เลี้ยงครอบครัว  สามารถเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับหรือการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยทางสพป. จะประสานทางหน่วยงานที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ MOU ไว้แล้ว ส่งนักเรียนที่ประสงค์จะเข้าเรียนต่อไป

2. พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนใน Application dropout ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือระบบฐานข้อมูลใหญ่ให้เชื่อมโยงกับข้อมูลของสถานศึกษาทุก ๆ สังกัด ให้เป็นระบบและเป็นปัจจุบัน โดยใช้เลขประจำตัวประชาชนเป็นหลัก เพื่อป้องกันการบันทึกข้อมูลซ้ำซ้อนของสถานศึกษา หรือการเปลี่ยนชื่อ-สกุลของนักเรียน เป็นต้น

3. เพิ่มสิทธิ์การใช้งานให้กับหน่วยงานในระดับจังหวัดและภาค ให้สามารถเรียกดูข้อมูลในภาพรวมของจังหวัดและภาคของตนเองได้เพื่อความรวดเร็วในการประสานงาน และเก็บรวบรวมข้อมูล

 

2. โครงการ “กศน.ปักหมุด”

          2.1 กศน.ปักหมุดการศึกษา

กศน.ทั้ง 6 จังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดกระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล มีการรับรู้และเข้าใจ “โครงการ กศน.ปักหมุด” โดยมีการจัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการฯ ในการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับคนพิการ ด้วยการทำงานเชิงรุก ค้นหาคนพิการถึงชานเรือนและดำเนินการ ปักหมุดผ่านโปรแกรม CAPER (Collection Data, Assessment, Planning, Evaluation, Report)  ซึ่งเป็นการสำรวจและรวบรวมข้อมูลกลุ่มเป้าหมายคนพิการเป็นรายบุคคล

1. ข้อมูลผลการติดตามกลุ่มเป้าหมายคนพิการ “โครงการ กศน.ปักหมุด”

1.1 กลุ่มเป้าหมายคนพิการทั้งหมด                             จำนวน 1,161 คน

1.2 กลุ่มเป้าหมายคนพิการที่ติดตามพบตัว                     จำนวน 1,052 คน

1.3 กลุ่มเป้าหมายคนพิการที่ยังไม่ได้ติดตาม                   จำนวน        -  คน

1.4 กลุ่มเป้าหมายคนพิการที่ติดตามแล้วไม่พบตัว                       จำนวน    165 คน

1.5 คนพิการที่พบตัวแต่ไม่มีรายชื่ออยู่ในกลุ่มเป้าหมาย       จำนวน        2 คน

1.6 อื่นๆ (ระบุ) เสียชีวิต                                        จำนวน        4 คน 

2. การดำเนินการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายคนพิการ

2.1 กลุ่มเป้าหมายคนพิการที่ได้รับการช่วยเหลือกลับเข้ามาเรียน จำนวน  114 คน

2.2 กลุ่มเป้าหมายคนพิการที่ยังไม่ได้กลับเข้ามาเรียน         จำนวน    657 คน

โดยสาเหตุที่ไม่ได้กลับเข้ามาเรียน

1) พิการซ้ำซ้อน / สูงอายุ                                 จำนวน    338 คน

2) อยู่ในวัยแรงงานไม่ต้องการศึกษาต่อ                   จำนวน    181 คน

3) เสียชีวิต                                                จำนวน      22 คน

4) ย้ายถิ่นที่อยู่                                             จำนวน      50 คน

5) ศึกษาต่อในสังกัดอื่น                                    จำนวน     29 คน

6) ไม่พบความพิการ                                       จำนวน       4 คน

 

          2.2 สศศ.ปักหมุดการศึกษา

หน่วยงานจัดการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานจากโครงการ กศน.ปักหหมุดเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับคนพิการ เพื่อชี้แจง   สร้างความเข้าใจแนวทางการดำเนินงานปักหมุดค้นหากลุ่มเป้าหมายคนพิการ รวมถึงมีการอบรมขยายผลการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ CAPER นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติโดยดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการในระดับหน่วยงานและสถานศึกษา วางแผนการดำเนินงานปักหมุดเพื่อค้นหากลุ่มเป้าหมายคนพิการทั้งในระดับหน่วยงานและสถานศึกษา รวมถึงการสำรวจค้นหากลุ่มเป้าหมายคนพิการอายุ 18 ปีขึ้นที่ยังไม่เข้าสู่ระบบการศึกษาและบันทึกข้อมูลคนพิการลงในระบบ มีการตรวจสอบข้อมูลของคนพิการที่บันทึกลงในระบบของ สศศ.สพฐ 

1. ข้อมูลผลการติดตามกลุ่มเป้าหมายคนพิการ

1.1 กลุ่มเป้าหมายคนพิการทั้งหมด                             จำนวน  303 คน

1.2 กลุ่มเป้าหมายคนพิการที่ติดตามพบตัว                    จำนวน  303 คน

1.3 กลุ่มเป้าหมายคนพิการที่ยังไม่ได้ติดตาม                  จำนวน    14 คน

1.4 กลุ่มเป้าหมายคนพิการที่ติดตามแล้วไม่พบตัว                       จำนวน      -  คน

1.5 คนพิการที่พบตัวแต่ไม่มีรายชื่ออยู่ในกลุ่มเป้าหมาย       จำนวน    14 คน

1.6 อื่นๆ (ระบุ) -                                                จำนวน      -  คน

2. การดำเนินการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายคนพิการ

2.1 กลุ่มเป้าหมายคนพิการที่ได้รับการช่วยเหลือกลับเข้ามาเรียน จำนวน  85 คน  

2.2 กลุ่มเป้าหมายคนพิการที่ยังไม่ได้กลับเข้ามาเรียน         จำนวน      2 คน   

โดยสาเหตุที่ไม่ได้กลับเข้ามาเรียน

- เสียชีวิต                                                   จำนวน      2 คน

ปัญหา/อุปสรรค/ข้อจำกัดในการดำเนินงานตามนโยบาย  

1. การลงสำรวจข้อมูลที่ไม่เป็นปัจจุบัน เนื่องจากข้อมูลบางส่วนเป็นผู้เสียชีวิตหลายปีแล้ว แต่ยังไม่นำข้อมูลออกจากระบบ และบางส่วนรายชื่อไม่ตรงกับคนพิการ ตัวอย่างเช่น นาย ก.มีรายชื่อเป็นคนพิการ แต่ไปสำรวจพบว่า นาย ก. ไม่พบความพิการ แต่เป็นนาย ข .สมาชิกในครอบครัวเป็นคนพิการ

2. การลงพื้นที่บางพื้นที่ไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

3. รายชื่อจากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียง

ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงนโยบาย

1. ควรพัฒนาโปรแกรม CAPER โดยเพิ่มกลุ่มเป้าหมายผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา และให้หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อบูรณาการการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ควรมีการชี้แจงหรือสื่อสาร ประสานระหว่างฝ่ายปกครอง กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ ให้ประชาชนรับทราบและเข้าถึงข้อมูล

3. ควรมีหนังสือราชการ ในการเข้าพื้นที่ชัดเจน

4. ควรนำข้อมูลความต้องการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพออย่างแท้จริงสำหรับการจัดกิจกรรมให้คนพิการ

5. ควรมีบุคลากรที่มีความพร้อมในการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส

6. มีการติดตามและรายงานผลการดำเนินการจัดกิจกรรมสำหรับคนพิการเป็นระยะ

 

 

 

 

3. โครงการ “โรงเรียนคุณภาพ”

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โรงเรียนคุณภาพประถมศึกษา มัธยมศึกษา และ Stand Alone ได้รับการพัฒนาคุณภาพตามจุดเน้น 8 ด้าน ดังนี้

1. ด้านความปลอดภัย สถานศึกษาได้สร้างความเข้มแข็งของระบบการรักษาความปลอดภัยในโรงเรียนคุณภาพ ทั้งด้านอุบัติเหตุ ด้านอุบัติภัย และด้านปัญหาทางสังคม โดยอาศัยแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ภายใต้หลักการกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วม และยึดประโยชน์สูงสุดของนักเรียนเป็นสำคัญในรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น โรงเรียนในสังกัด สพป.สตูล ให้ครูเวรประจำวันและครูประจำชั้น ติดตาม ดูแลเอาใจใส่ต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อยาเสพติดให้โทษ การพนัน ปัญหาทางเพศ การทะเลาะวิวาทและถูกรังแกทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดยหากพบพฤติกรรม/ความผิดปกติ ต้องดำเนินการช่วยเหลือ แจ้งผู้ปกครอง และประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว

2. ด้านระบบประกันคุณภาพ ส่งเสริมโรงเรียนคุณภาพให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ในด้านการพัฒนาความรู้ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนตามมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนด การพัฒนาระบบการบริหารจัดการ และกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยให้สถานศึกษายึดหลักการส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยการส่งเสริม สนับสนุนและกำกับดูแลของหน่วยงานต้นสังกัด เช่น การจัดทำคู่มือการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตรวจสอบ และประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา เป็นต้น

3. ด้านหลักสูตรสมรรถนะ ต้นสังกัดดำเนินการสื่อสารและสร้างความเข้าใจหลักการของหลักสูตรฐานสมรรถนะ กระบวนการและการเชื่อมโยงสู่การเปลี่ยนแปลงให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนคุณภาพ

4. ด้านการพัฒนาครู การพัฒนาครูโรงเรียนคุณภาพด้านการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (LS PLC) จัดอบรมโดยวิทยากรจากต้นสังกัด วิทยากรภายในหน่วยงาน และวิทยากรจากภายนอก ทั้งในรูปแบบ On-site และ On-Line ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาตนเองตาม วPA 

5. ด้านการเรียนการสอน การพัฒนาและส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนรู้ Active Learning การจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น หน้าที่พลเมือง การจัดกิจกรรมการเรียรู้ส่งเสริม ดนตรี กีฬา อาชีพ และการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ ในโรงเรียนคุณภาพ 

6. ด้านการวัดและประเมินผล การพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลของโรงเรียนคุณภาพ ให้เป็นระบบการวัดและประเมินผลที่สะท้อนความความสามารถและพัฒนาการของผู้เรียน การออกแบบการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

7. ด้านการนิเทศ กำกับ และติดตาม พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการนิเทศภายในของโรงเรียนคุณภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมและการนิเทศเชิงบูรณาการโดยใช้พื้นที่เป็นฐานของหน่วยงานต้นสังกัด 

8. Big Data พัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในด้านการบริหารงานวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบุคลากร และงานบริหารงานทั่วไป ให้มีความทันสมัย มีการเชื่อมโยง และสามารถเข้าถึงข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย

9. ด้านอื่น ๆ สถานศึกษาไดรับการจัดสรรงบประมาณด้านงบลงทุนสำหรับปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน ก่อสร้างห้องน้ำห้องส้วม ก่อสร้างอาคารเรียน/โรงฝึกงาน อาคารหอประชุม เป็นต้น และงบดำเนินงาน สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วย แตกต่างกันไปตามบริบทและความต้องการของพื้นที่

 

ทั้งนี้ โรงเรียนเครือข่ายที่มาเรียนรวมกับโรงเรียนคุณภาพ (หลัก) ในปีงบประมาณ 2565

จังหวัดกระบี่ (ระดับประถม) สังกัด สพป.กระบี่

โรงเรียนหลัก

โรงเรียนเครือข่าย

เรียนรวมแบบ

1. โรงเรียนบ้านพรุดินนา

โรงเรียนบ้านเขาสามหน่วย

เรียนรวมทุกชั้นเรียน

2. โรงเรียนบ้านนาปง

โรงเรียนบ้านห้วยยูง

เรียนรวมทุกชั้นเรียน

3. โรงเรียนวัดสถิตโพธาราม

1. โรงเรียนบ้านคลองแรด

การใช้ทรัพยากรร่วมกัน

2. โรงเรียนบ้านอ่าวน้ำ

 

จังหวัดกระบี่ (ระดับมัธยม) สังกัด สพม.ตรัง กระบี่

โรงเรียนหลัก

โรงเรียนเครือข่าย

เรียนรวมแบบ

โรงเรียนคลองท่อมราษฎร์รังสรรค์

1. โรงเรียนบ้านคลองหมาก

มาเรียนบางส่วนตามความพร้อมของผู้ปกครองบางระดับชั้น

2. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 2

3. โรงเรียนบ้านพรุดินนา

4. โรงเรียนบ้านบางคราม

5. โรงเรียนบ้านน้ำร้อน

 

จังหวัดกระบี่ (Stand Alone) สังกัด สพป.กระบี่                       

โรงเรียนหลัก

โรงเรียนเครือข่าย

เรียนรวมแบบ

โรงเรียนบ้านเกาะศรีบอยา

-

 

 

 

จังหวัดตรัง (ระดับประถม) สังกัด สพป.ตรัง 1, 2

โรงเรียนหลัก

โรงเรียนเครือข่าย

เรียนรวมแบบ

1. โรงเรียนบ้านห้วยม่วง (ตรัง 1)

1. โรงเรียนบ้านสุโสะ

ทุกระดับชั้น

2. โรงเรียนบ้านท่าคลอง

ประถมศึกษาปีที่ 4-6

3. โรงเรียนบ้านหัวควน

4. โรงเรียนหนองผักฉีด

5. โรงเรียนทุ่งไทรทอง

6. โรงเรียนบ้านหนองโต๊ะ

7. โรงเรียนบ้านท่าเทศ

2. โรงเรียนห้วยยอด

    (กลึงวิทยาคาร) (ตรัง 2)

1. โรงเรียนวัดกาญจนบริรักษ์

เรียนรวมระดับชั้นประถมศึกษา 4-6 บางสาระ

2. โรงเรียนบ้านน้ำพราย

3. โรงเรียนบ้านควนตัง

4. โรงเรียนบ้านท่ามะปราง

5. โรงเรียนบ้านห้วยน้ำเย็น

6. โรงเรียนวัดควนไทร

ม.1-3 เรียนรวมทุกวิชา

 

 

 

 

 

จังหวัดตรัง (ระดับมัธยม)

โรงเรียนหลัก

โรงเรียนเครือข่าย

เรียนรวมแบบ

โรงเรียนรัษฎา

1. โรงเรียนวัดควนเมา

เสริมทักษะภาษาจีน

2. โรงเรียนบ้านหนองบัว

3. โรงเรียนบ้านเขาพระ

4. โรงเรียนบ้านคลองมวน

 

 

จังหวัดตรัง (Stand Alone) สังกัด สพป.ตรัง 1, 2

โรงเรียนหลัก

โรงเรียนเครือข่าย

เรียนรวมแบบ

โรงเรียนหาดทรายทอง (ตรัง 1)

โรงเรียนบ้านแหลม

รวมชั้นเรียนปีละ 1 ชั้น

เริ่มจาก ป.1

โรงเรียนบ้านเกาะมุกต์ (ตรัง 2)

-

 

 

 

จังหวัดสตูล (ระดับประถม)

โรงเรียนหลัก

โรงเรียนเครือข่าย

เรียนรวมแบบ

โรงเรียนบ้านวังปริง

1. โรงเรียนบ้านท่าแพ

บางชั้นเรียน

2. โรงเรียนบ้านแปร-ระเหนือ

3. โรงเรียนบ้านไร่

4. โรงเรียนปลักหว้า

5. โรงเรียนบ้านสายควน

6. โรงเรียนบ้านนาแก้ว

7. โรงเรียนบ้านทุ่งริ้น

ทุกชั้นเรียน

8. โรงเรียนบ้านแป-ระใต้

9. โรงเรียนบ้านควนเก

 

จังหวัดสตูล (ระดับมัธยม)

โรงเรียนหลัก

โรงเรียนเครือข่าย

เรียนรวมแบบ

โรงเรียนท่าแพผดุงวิทย์

1. โรงเรียนบ้านท่าแพ

ส่งต่อ

2. โรงเรียนอนุบาลท่าแพ

3. โรงเรียนบ้านสายควน

4. โรงเรียนบ้านท่าน้ำเค็มใต้

5. โรงเรียนบ้านนาแก้ว

6. โรงเรียนบ้านแป-ระใต้

7. โรงเรียนบ้านปลักหว้า

8. โรงเรียนบ้านวังปริง

9. โรงเรียนบ้านไร่

10. โรงเรียนบ้านสวนเทศ

11. โรงเรียนบ้านแป-ระเหนือ

12. โรงเรียนบ้านควนเก

โรงเรียนหลัก

โรงเรียนเครือข่าย

เรียนรวมแบบ

 

13. โรงเรียนบ้านทุ่งริ้น

 

 

14. โรงเรียนนิคมพัฒนาภาคใต้ 2

 

 

15. โรงเรียนนิคมพัฒนาภาคใต้ 3

 

 

16. โรงเรียนบ้านอุได

 

 

17. โรงเรียนบ้านห้วยไทร

 

 

18. โรงเรียนอื่น ๆ

 

 

จังหวัดสตูล (Stand Alone) สังกัด สพป.สตูล                         

โรงเรียนหลัก

โรงเรียนเครือข่าย

เรียนรวมแบบ

โรงเรียนบ้านเกาะสาหร่ายชัยพัฒนา

-

 

 

โรงเรียนคุณภาพระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา มีนักเรียนมาเรียนเพิ่มขึ้นในปีการศึกษา 2564

1) โรงเรียนคุณภาพ ระดับประถมศึกษา

( ü) เพิ่มขึ้น จำนวน 25 คน   (    ) ลดลง จำนวน - คน   (    ) อื่นๆ (ระบุ)................

2) โรงเรียนคุณภาพ ระดับมัธยมศึกษา

( ü) เพิ่มขึ้น จำนวน 216 คน   (    ) ลดลง จำนวน - คน   (    ) อื่นๆ (ระบุ)................

ปัจจุบันโรงเรียนคุณภาพในเขตตรวจราชการที่ 6 (จังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล) มีครูครบชั้นทุกโรงเรียน แต่ไม่ครบวิชาเอก โดยโรงเรียนวัดสถิตโพธาราม (สพป.กระบี่) ขาดครูวิชาเอก 7 คน (ภาษาไทย, คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, ภาษาอังกฤษ, พลศึกษา, คอมพิวเตอร์ และดนตรี), โรงเรียนบ้านห้วยม่วง (สพป.ตรัง 1) ขาดครูวิชาเอกคอมพิวเตอร์ และศิลปะ-ดนตรี-นาฎศิลป์, โรงเรียนบ้านวังปริง (สพป.สตูล) ขาดครูวิชาเอกศิลปะดนตรี นาฎศิลป์, การงานอาชีพ(เกษตร), อุตสาหกรรม, คหกรรม, ภาษามาลายู และคอมพิวเตอร์ ยกเว้น โรงเรียนห้วยยอด(กลึงวิทยาคาร) (สพป.ตรัง 2) มีครูครบทุกวิชาเอก

ปัจจุบันโรงเรียนคุณภาพ มีห้องเรียนคุณภาพ ที่มีสื่อการเรียนการสอนและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เช่น ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์, ห้องเรียน STEM, ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์, ห้องดนตรีไทย-สากล, ห้องนาฎศิลป์-ศิลปะ และห้องเรียนคหกรรม เป็นต้น  

ผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่รับรู้เข้าใจ และให้การสนับสนุนในการดำเนินงาน
ในการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพ มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อรับทราบนโยบายของโรงเรียนคุณภาพ โรงเรียนเครือข่ายแต่ละโรงมีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรวมให้ผู้ปกครอง ตลอดจนหน่วยงานต่าง ๆ ได้รับทราบและสนับสนุนการทำกิจกรรมของโรงเรียนคุณภาพ

การขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ

การจัดทำแผนเรียนรวมของโรงเรียนคุณภาพระดับประถมศึกษา โดยการประชุมร่วมกันระหว่างโรงเรียนคุณภาพกับโรงเรียนเครือข่าย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและจัดทำแผนการเรียนรวม จัดทำ Time line เตรียมความพร้อมด้านอาคารสถานที่ การจัดชั้นเรียน และวางแผนจัดหายานพาหนะรับ-ส่งนักเรียน โดยจะเริ่มดำเนินการเรียนรวมในปีการศึกษา 2565

การจัดทำแผนรองรับนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาส และโรงเรียนแข่งขันสูงของโรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษา ดำเนินการจัดทำแผนการเรียนรวมของนักเรียนโรงเรียนเครือข่าย รวมทั้งกิจกรรมการเรียนรวม

การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน Stand Alone ดำเนินการจัดการประชุมผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจในนโยบายโครงการโรงเรียนคุณภาพ และการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพโรงเรียน Stand Alone

การประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพของกระทรวงศึกษาธิการ โดยการดำเนินการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้ปกครอง ชุมชน โรงเรียนเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายใน ภายนอกองค์กร และสาธารณชน เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์นโยบายโรงเรียนยคุณภาพของกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านช่องทางที่หลากหลาย เช่น ประชาสัมพันธ์หมู่บ้าน งานสารบัญข่าว line แผ่นพับ และเพจ Facebook ของโรงเรียน เป็นต้น

โรงเรียนคุณภาพ (หลัก) มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการบริหารจัดการพาหนะเพื่อรองรับนักเรียนจากโรงเรียนเครือข่าย มีการบริหารทรัพยากรร่วมกันกับโรงเรียนเครือข่ายในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนโดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากโครงการโรงเรียนคุณภาพ

ครูผู้สอนได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ครบทุกคน โดยโรงเรียนได้ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลายรูปแบบ มีการวัดและประเมินผลในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถนะของผู้เรียนทุกระดับ

ปัญหา/อุปสรรค/ข้อจำกัดในการดำเนินงานตามนโยบาย  

1. ผู้ปกครองยังขาดความมั่นใจ และต้องการความชัดเจนในการรับส่งนักเรียนไปเรียนที่โรงเรียนหลัก เนื่องจากมีภาระการทำงานในตอนเช้า และนักเรียนต้องเดินทางไปไปโรงเรียนไกลขึ้นกว่าเดิม

2. การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการนำนักเรียนมาเรียนรวมของโรงเรียนเครือข่ายให้กับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองจำเป็นต้องใช้เวลา

3. ความล่าช้าในการก่อสร้างอาคาร อาคารประกอบเนื่องจากต้องปรับปรุงพื้นที่ก่อน และสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยในการก่อสร้าง

ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงนโยบาย

1. ควรจัดรถรับส่งนักเรียนระหว่างโรงเรียนเครือข่ายและโรงเรียนหลัก

2. เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สพฐ.ควรสนับสนุนงบประมาณค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการคัดกรองนักเรียน เช่น ชุดตรวจ ATK, หน้ากากอนามัย, เจลล้างมือ เป็นต้น

3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินการตามนโยบายโครงการโรงเรียนคุณภาพ เพื่อสร้างความเข้าใจ พร้อมทั้งเสนอแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนเพื่อให้ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุนชนได้รับทราบและปฏิบัติตรงกัน

4. จัดหาทุนการศึกษาให้กับนักเรียนที่ยากจน

 

4. โครงการ “อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ”

สถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ “อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ” จำนวน 6 วิทยาลัย ได้แก่ 1) วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่ 2) วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง 3) วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพังงา 4) วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีระนอง 5) วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสตูล และ 6) วิทยาลัยการอาชีพละงู โดย อศจ. ได้ประสานความร่วมมือกับ สพป. สพม. และหน่วยงานอื่น ๆ ดำเนินการชี้แจงโครงการร่วมกับสถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนในระดับมัธยม โดยการประชาสัมพันธ์เพื่อจัดหานักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2565 รวมถึงได้ดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารหอพัก เพื่อรองรับนักเรียนตามโครงการฯ

แผนการรับนักเรียนตาม โครงการ “อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ”

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกระบี่   

1. สาขางานการผลิตพืช                     จำนวน 15 คน

2. สาขางานการผลิตสัตว์                    จำนวน 15 คน

3. สาขางานผลิตสัตว์น้ำ                     จำนวน 15 คน  

4. สาขางานอุตสาหกรรมเกษตร             จำนวน 15 คน 

5. สาขางานธุรกิจเกษตร                     จำนวน 15 คน

6. สาขางานช่างกลเกษตร                   จำนวน 25 คน

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง 

1. สาขาเกษตรกรรม                         จำนวน 18 คน

2. สาขาอุตสาหกรรมเกษตร                 จำนวน   6 คน

3. สาขาธุรกิจเกษตร                         จำนวน   2 คน

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสตูล

1. สาขางานอุตสาหกรรมเกษตร             จำนวน   4 คน

2. สาขาการเกษตร                           จำนวน 10 คน

3. สาขาผลิตสัตว์น้ำ                          จำนวน   7 คน

4. สาขาช่างเกษตร                           จำนวน 13 คน

วิทยาลัยการอาชีพละงู จ.สตูล

1. สาขาการบัญชี                            จำนวน 20 คน

2. สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ                   จำนวน 14 คน

3. สาขาการท่องเที่ยว                        จำนวน   5 คน

4. สาขาช่างอิเล็กทรอนิกส์                   จำนวน   2 คน

5. สาขาธุรกิจดิจิทัล                          จำนวน   1 คน

ปัญหา/อุปสรรค/ข้อจำกัดในการดำเนินงานตามนโยบาย  

1. ห้องพักไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียนตามเป้าหมาย

2. ความชัดเจนในการประสานความร่วมมือกับ สพป./สพม. ในการจัดหาผู้เรียนเข้าสู่โครงการ

3. ขาดแคลนบุคลากรรับผิดชอบนักเรียนตามโครงการฯ ที่ต้องอยู่ประจำ

ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงนโยบาย

1) หน่วยงานต้นสังกัดควรจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในการดำเนินการปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารสถานที่ หอพักนักศึกษา จัดซื้อวัสดุการเรียนการสอน

2) จัดแนะแนวเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการฯ ให้กับผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายโดยประสานความร่วมมือกับ สพป./สพม.

 

5. โครงการ “ความปลอดภัยสถานศึกษา (MOE SAFETY CENTER)”

          หน่วยงานทางการศึกษาทุกสังกัด ดำเนินการสร้างการรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการติดตั้ง Application MOE SAFETY CENTER  แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกระดับ โดยดำเนินการจัดตั้งศูนย์ความปลอดภัยพร้อมแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดูแลระบบ MOE SAFETY CENTER  แต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ความปลอดภัยของหน่วยงาน และให้หน่วยงานสมัครเข้าใช้งานระบบ MOE SAFETY CENTER  ในฐานะผู้ดูแลระบบ พร้อมแจ้งให้สถานศึกษาได้ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน และได้ประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานภาครัฐ/เอกชน ตลอดจนครู ผู้ปกครอง นักเรียน ได้รับทราบ รวมถึงเชิญชวนให้ลงทะเบียนเข้าใช้งานระบบ MOE SAFETY CENTER  เพื่อร่วมรายงานข้อมูล กรณีพบเหตุการณ์/สถานการณ์ ที่ไม่ปกติ/ไม่ปลอดภัยต่อนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่

อีกทั้ง หน่วยงานสังกัด สพป. สพม. ได้เน้นย้ำสถานศึกษา ให้จัดทำมาตรการโรงเรียนปลอดภัย Safety School เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและดูแลช่วยเหลือหรือแนวปฏิบัติ กรณีเกิดเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยต่อนักเรียน ภายใต้ยุทธศาสตร์ “ระบบดีมีภูมิคุ้มกัน ทันเวลา” ดำเนินการ 4 มาตรการ ประกอบด้วย มาตรการป้องกัน มาตรการเผชิญเหตุและแก้ไขปัญหา มาตรการเยียวยา และการบำรุงขวัญ และมาตรการรายงานเหตุ ด้วย นอกจากนี้ได้มีการประสานความร่วมมือกับส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการดูแลรักษาความปลอดภัย นักเรียนนอกสถานศึกษา เช่น เจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา (พสน.)/ เจ้าหน้าที่ปกครอง/กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น

ทั้งนี้ การนำ ระบบ MOE Safety Center มาใช้สามารถลดขั้นตอน ลดเวลา มีความรวดเร็วในการแก้ไขปัญหาหน่วยงานที่รับเรื่องในระบบ MOE Safety Center ให้การคุ้มครอง ช่วยเหลือ เยียวยา สร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้น โดยนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา หรือประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงระบบ MOE Safety Center ในฐานะผู้แจ้งเหตุได้จริง รวมถึงกระทรวงศึกษาธิการสามารถนำมาตรการ ๓ ป “ป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปราม” มาใช้ใน การปฏิบัติงานในระบบ MOE Safety Center ได้อย่างมีประสิทธิภาพ   

ปัญหา/อุปสรรค/ข้อจำกัดในการดำเนินงานตามนโยบาย  

1. ผู้เกี่ยวข้องยังมีความรู้ความเข้าใจระบบ MOE Safety Center และการใช้งาน application น้อย

2. ระบบไม่เสถียร ไม่สามารถเข้าใช้งานในคราวเดียวกันหลาย User

3. เรื่องร้องเรียนมีจำนวนมาก

4. ขาดความเชื่อมั่นจากผู้เกี่ยวข้อง

ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงนโยบาย

          1. ดำเนินการชี้แจง/ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูล หรือการใช้งาน application

          2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้ดูแลระบบ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

          3. วางแผนเพื่อรองรับเรื่องร้องเรียนที่ค่อนข้างมาก เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

          4. ดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้เกี่ยวข้อง

          5. หน่วยงานต้นสังกัด เช่น ศธภ., ศธจ., สพป, สพม. สามารถเรียกดูข้อมูลสารสนเทศในภาพรวมตามประเด็นต่าง ๆ ได้ เพื่อความรวดเร็วในการรายงานและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ทันท่วงที

 

 

6. โครงการ “แก้ไขปัญหาหนี้สินครู”

ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดตั้ง “สถานีแก้ไขปัญหาหนี้สินครูในองค์กร” ในระดับจังหวัด ระดับเขตพื้นที่ และหน่วยงานทางการศึกษา โดยให้มีการประชุมเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้สินฯ  ติดต่อประสานงานกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูและสถาบันการเงินในพื้นที่ขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ค่าธรรมเนียมที่ไม่จำเป็น หรือเป็นคนกลางในการเจรจาขอปรับโครงสร้างหนี้ให้กับครูและบุคลกรทางการศึกษา เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินฯ

โดยมีข้อมูลครูที่ลงทะเบียนผ่านระบบเข้าร่วมมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูฯ “สร้างโอกาสใหม่ให้ ครูไทย”  ในจังหวัดกระบี่, ตรัง และสตูล

2.1 สังกัด สพป.     จำนวน 508 คน

2.2 สังกัด สพม.     จำนวน   72 คน

2.3 สังกัด สอศ.     จำนวน   11 คน

2.4 สังกัด กศน.     จำนวน   70 คน

2.5 สังกัด สศศ.     จำนวน   13 คน

2.6 สังกัด สช.       จำนวน   70 คน

2.7 อื่นๆ (ในศธ.)    จำนวน   15 คน

โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู สามารถดำเนินการประสานความร่วมมือกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของสหกรณ์ออมทรัพย์ให้ต่ำลงไม่เกิน 3% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้สอดคล้องกับสินเชื่อที่มีอัตราความเสี่ยงต่ำ 4.5 – 5.0% สามารถยกระดับการหักเงินเดือนให้เป็นสวัสดิการที่แท้จริง เพื่อแก้ปัญหาหนี้ครูโดยใช้สถานีแก้หนี้ระดับจังหวัด ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับสถานศึกษา อีกทั้ง สามารถติดอาวุธความรู้ทางการเงินให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยดำเนินการสำรวจข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนา วางแผนอบรมเพื่อส่งเสริมวินัยการเงินและการออมให้กับบุคลากร ไม่ว่าจะเป็นครูบรรจุใหม่ ครูประจำการ หรือครูก่อนเกษียณ เพื่อให้สามารถมีคุณภาพชีวิตที่มีความสุข ไม่มีภาระหนี้สิน ต่อไป

ปัญหา/อุปสรรค/ข้อจำกัดในการดำเนินงานตามนโยบาย  

1. ไม่มีข้อมูลภาระหนี้ครูในเชิงลึกเพื่อวางแผนให้ความช่วยเหลือ

2. ภาระหนี้ที่มาก แม้จะได้รับความช่วยเหลือแล้วก็บรรเทาความเดือดร้อนได้เพียงบางส่วน

3. ครูและบุคลกรทางการศึกษาบางส่วนไม่ให้ความมือ/ลงทะเบียนเข้าร่วมฯ เนื่องจากไม่อยากเปิดเผยข้อมูลของตนเอง

ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงนโยบาย

          1. ควบคุมการกู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา ไม่ให้เกินความสามารถที่จะชำระหนี้ได้

          2. ตรวจสอบเชิงรุกเพื่อให้ได้ข้อมูลภาระหนี้สินของครูเป็นรายบุคคล เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด

          3. ชี้แจงให้ความรู้ความเข้าใจกับครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยแยกเป็นกลุ่ม ๆ เช่น กลุ่มบรรจุใหม่(ก่อนเริ่มสร้างหนี้สิน) กลุ่มที่มีหนี้สินแต่ยังสามารถชำระหนี้ได้(สร้างหนี้) และกลุ่มที่มีภาระหนี้สินมากเงินเดือนเหลือไม่พอใช้จ่ายหรือไม่สามารถชำระหนี้ได้

 

 

 

ข้อเสนอแนะของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นายธฤติ  ประสานสอน)

          ขอบคุณการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานที่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลตามที่ปรากฎในรายงานฯ และการตรวจราชการในครั้งนี้เพื่อติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้ง 6 ประเด็น ไม่ว่าจะเป็น 1) พาน้องกลับมาเรียน 2) กศน.ปักหมุด 3) โรงเรียนคุณภาพ 4) อาชีวะอยู่ประจำเรียนฟรี มีอาชีพ 5) MOE Safety Center และ 6) ปัญหาหนี้สินครู และจากความห่วงใยของ รมว.ศธ. (น.ส.ตรีนุช  เทียนทอง) เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของหน่วยงาน/สถานศึกษาก่อนเปิดภาคเรียน      ปีการศึกษา 2565 แบบ 100% ซึ่งในแต่ละสถานศึกษาต้องเตรียมความพร้อม ประเมินตัวเอง Thai Stop Covid ว่ามีความพร้อมอยู่ในระดับใด สามารถเปิดเรียนได้ทั้งหมด หรือสลับวันมาเรียนในแต่ละชั้นเรียน เมื่อเกิดเหตุต้องแก้ไขปัญหาอย่างไร มีแผนเผชิญเหตุที่ชัดเจนสามารถปฏิบัติได้จริง

          โครงการ “พาน้องกลับมาเรียน” เมื่อเราดำเนินการค้นหา ติดตาม นำกลับมาเรียนได้แล้วจะรักษาผู้เรียนเหล่านั้นไว้อย่างไร โครงการ “อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ” ขอฝากให้ศึกษาธิการจังหวัด เป็นประธานนั่งหัวโต๊ะในการหาวิธีการร่วมกันกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์นักเรียนเข้ามาเรียน โครงการ “โรงเรียนคุณภาพ” ขอให้ดำเนินการต่อไปตามแนวทางที่ได้วางแผนไว้ โครงการ “MOE Safety Center” ขอให้ดูแลความปลอดภัยจากภัยต่าง ๆ ที่ปัจจุบันมีอยู่มากมาย เช่น ภัยจากโซเชียล ภัยจากการบูลลี่ (Bully) ภัยธรรมชาติ เป็นต้น และสุดท้ายโครงการ “หนี้สินครู” ที่มีอยู่จำนวนมาก ซึ่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินฯ ได้เร่งดำเนินการประสานความร่วมมือในการเจรจาปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาได้สูงสุดถึง 1% อีกทั้งดำเนินการให้ความรู้และวางมาตรการในการก่อหนี้ เพื่อสร้างวินัยทางการเงินให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา ต่อไป 


 บันทึข้อมูลโดย: น.ส.น้ำฝน อินดู