ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการภาค บันทึกเมื่อวันที่ Date: 05 เมษายน 2565

รายงานสรุปผลการตรวจราชการการติดตามประเมินผลตามนโยบายการสร้างโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้งในและนอกระบบการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

รายงานสรุปผลการตรวจราชการ

การติดตามประเมินผลตามนโยบายการสร้างโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับคนพิการ

 ผู้ด้อยโอกาส และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้งในและนอกระบบการศึกษา

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

วันที่  27  มีนาคม 2565

ณ โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

---------------------------------------------------

            ตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สป 101/2565 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 ได้มอบหมายให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการรับผิดชอบการตรวจราชการ และติดตามประเมินผลตามนโยบายการตรวจราชการของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 โดยได้มอบหมายให้ นายธฤติ ประสานสอน ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ รับผิดชอบการตรวจราชการ และติดตามประเมินผลตามนโยบายการสร้างโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้งในและนอกระบบการศึกษา นั้น

            นายธฤติ ประสานสอน ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการได้ลงพื้นที่ตรวจราชการ และติดตามประเมินผลตามนโยบายการสร้างโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้งในและนอกระบบการศึกษา พร้อมรับฟังรายงานผลการดำเนินงานฯ รวมถึงปัญหาอุปสรรค และให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา ในพื้นที่จังหวัด
สุราษฎร์ธานี ในวันที่ 27 มีนาคม 2565 ณ โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ดังนี้

 

1. ข้อมูลพื้นฐานของหน่วยงาน/สถานศึกษาที่เป็นหน่วยรับตรวจในวันที่ 27 มีนาคม 2565 ในพื้นที่จังหวัด
สุราษฎร์ธานี

            1. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัด สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ที่ตั้ง 73/5 หมู่ 2 ตำบลทุ่งกง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดสอนในระดับเตรียมความพร้อม จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา 94 คน (ทุกคนรับผิดชอบการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ) จำนวนนักเรียน 367 คน (ทุกคนเป็นเด็กพิการ)

            2. โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัด สำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ที่ตั้ง 224 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัด
สุราษฎร์ธานี  เปิดสอนในระดับ อนุบาล ถึง ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งหมด 48 คน (รับผิดชอบการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ 20 คน) จำนวนนักเรียนทั้งหมด 77 คน (ทุกคนเป็นเด็กพิการ)

            3. โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี สังกัด สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ที่ตั้ง 55 หมู่ที่ 9 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัด
สุราษฎร์ธานี เปิดสอนในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา 75 คน จำนวนนักเรียน 717 คน รับนักเรียนที่ด้อยโอกาสใน 10 ประเภท และนักเรียนประเภทพิการเรียนร่วม(ที่มีความบกพร่องทางการเห็นและทางด้านร่างกาย) จัดการเรียนการสอนแบบสหศึกษา แบบกินอยู่ประจำ โดยได้รับงบประมาณจาก สพฐ. ในด้านปัจจัยพื้นฐาน

            4. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักงานปลัดกรทรวงศึกษาธิการ

 

2. สรุปผลการตรวจราชการติดตามประเมินผลตามนโยบายการสร้างโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้งในและนอกระบบการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565

            จากการลงพื้นที่ตรวจราชการตามนโยบายการสร้างโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้งในและนอกระบบการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565  ของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีการดำเนินการนโยบายการสร้างโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้งในและนอกระบบการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ดังรายละเอียดต่อไปนี้

 

1. ผลการจัดการศึกษาให้กับเด็กพิการของสถานศึกษา

1.1 ผลการดำเนินการจัดการศึกษาให้กับเด็กพิการ ในรอบ 2 ปีงบประมาณที่ผ่านมา ในภาพรวม

ก. เชิงปริมาณ

ตารางที่ 1 จำนวนเด็กพิการ ที่ได้รับการศึกษาภายในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2563 – 2564

ประเภท

เด็กพิการ

จำนวนนักเรียน/นักศึกษา ปีการศึกษา 2563

จำนวนนักเรียน/นักศึกษา ปีการศึกษา 2564

ระดับชั้น

รวม

ระดับชั้น

รวม

อนุบาล

ประถม

ม.ต้น

ม.ปลาย/ปวช.

ปวส.

อนุบาล

ประถม

ม.ต้น

ม.ปลาย/ปวช.

ปวส.

1.บุคคลที่บกพร่องทางการมองเห็น

7

33

22

16

0

78

9

39

21

10

0

79

2.บุคคลที่บกพร่องทางการได้ยิน

7

0

0

0

0

7

10

0

0

0

0

10

3.บุคคลที่บกพร่องทางสติปัญญา

142

3

2

0

0

147

129

2

2

0

0

133

4.บุคคลที่บกพร่องทางกายหรือสุขภาพ

61

1

2

0

0

64

57

5

3

0

0

65

5.บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้

0

25

30

0

0

55

0

12

2

0

0

14

6.บุคคลที่บกพร่องทางการพูดและภาษา

0

0

0

0

0

0

2

0

0

0

0

2

7.บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์

2

2

0

0

0

4

2

0

0

0

0

2

8.บุคคลออทิสติก

76

0

0

1

0

77

77

0

0

0

0

77

9.บุคคลพิการซ้ำซ้อนที่สามารถจัดการเรียนการสอนได้

80

0

0

0

0

80

88

0

0

0

0

88

รวม

375

64

56

17

0

512

374

58

28

10

0

470

ข้อมูล ณ วันที่ 27 มีนาคม 2565

ข. เชิงคุณภาพ

ผลการจัดการเรียนการสอน

            จากรายงานการประเมินคุณภาพผลการจัดการเรียนภายใน ปีการศึกษา 2563 ให้กับเด็กพิการ ในรอบ 2 ปีงบประมาณที่ผ่านมา ในภาพรวมระดับจังหวัด พบว่า 1) สถานศึกษามีผลการประเมินคุณภาพภายใน ด้านคุณภาพผู้เรียน มีการประเมินความสามารถของผู้เรียนรอบด้านโดยเน้นการประเมินตามสภาพจริง โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามกลุ่มสาระ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และทักษะในการดำรงชีวิตของผู้เรียน ซึ่งมีการจัดทำโครงการและกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียน มีพัฒนาการด้านต่างๆ ดีขึ้น ได้ประสบการณ์ชีวิตที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริง นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความจำเป็นพิเศษของผู้เรียนจากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาได้อย่างเหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้  ผู้เรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตดี กล้าแสดงออก และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข 2) ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล และผู้เรียนทุกคนได้รับการวางแผนการเปลี่ยนผ่านเฉพาะบุคคลโดยกำหนดเป้าหมายการจัดการศึกษาตามความพร้อมและศักยภาพเป็นรายบุคคล และ 3) เนื่องด้วยในปีการศึกษา 2563 – 2564 ที่ผ่านมาได้ประสบปัญหาสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทางโรงเรียนจึงได้มีการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนในรูปแบบ on-site และ on-hand และได้มีการจัดกิจกรรมและโครงการต่างๆ ดังนี้

 

ผลการดำเนินงาน งานโครงการ – กิจกรรมทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเด็กด้อยโอกาส
ของสถานศึกษา ที่เด่นๆ

1. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินงานและกิจกรรม ดังนี้

                  1)  กิจกรรมชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพครูการศึกษาพิเศษ  เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ครู นักวิชาชีพ และผู้บริหารร่วมกันนำแนวทางการจัดการศึกษาของนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษแต่ละคนในความรับผิดชอบมาร่วมกันวิพากษ์ เสนอแนะ และแก้ไขปัญหาในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนร่วมกัน ผลการดำเนินกิจกรรมในภาพรวมส่งผลให้ครูสามารถจัดการศึกษาให้แก่นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษได้สอดคล้องกับสถานการณ์การจัดการศึกษาในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น

                  2)  กิจกรรมปักหมุดบ้านเด็กพิการ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมโอกาสการเข้าถึงการศึกษาของนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ โดยดำเนินการปักหมุดเพื่อยืนยันบ้านนักเรียนทุกคนของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี

                  3)  กิจกรรมการค้นหาเด็กพิการเชิงรุก เป็นกิจกรรมซึ่งศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีดำเนินการประสานข้อมูลเด็กพิการจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อขยายการค้นหาเด็กพิการที่ไม่ได้รับการศึกษา และจัดการศึกษาให้กับนักเรียนที่ยังไม่ได้รับการศึกษาทุกคน

                  4)  โครงการพัฒนาครูการศึกษาพิเศษด้านกระบวนการให้บริการเปลี่ยนผ่านแก่นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เป็นโครงการซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาครูการศึกษาพิเศษให้มีความรู้ และทักษะในการให้บริการเปลี่ยนผ่านแก่นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ผลการดำเนินโครงการพบว่า ครูการศึกษาพิเศษสามารถวางแผนการเปลี่ยนผ่านเฉพาะบุคคลร่วมกับผู้ปกครองให้กับนักเรียนทุกคนที่มารับบริการได้

                    2. โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินงานและกิจกรรม ดังนี้

                             1) โครงการการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโครงการที่ดำเนินการเพื่อให้การจัดการศึกษามีคุณภาพมาตรฐานการศึกษา พัฒนานักเรียนให้เป็นคนดี เก่ง และมีสุข สามารถพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพและเพื่อส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอน โดยยึดนักเรียนเป็นสำคัญ ผลการดำเนินงาน การจัดการเรียนการสอนโดยปรับรูปแบบให้สอดคล้องกับการเข้าถึงการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยรูปแบบผสมผสาน ได้แก่ On Line, On Hand และโทรศัพท์ จัดตั้งกลุ่มเรียนรูปแบบออนไลน์และประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองให้มีส่วนร่วมในการประเมินนักเรียน

                             2) โครงการโรงเรียนคุณธรรม เป็นโครงการที่ดำเนินการเพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ครู และบุคลากร ตระหนักในค่านิยมด้านคุณธรรม  เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ และเพื่อให้มีทัศนคติ วิธีคิด และการประพฤติปฏิบัติที่เน้นคุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสมกับสังคมไทยพร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาคุณธรรมสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ผลการดำเนินงาน นักเรียนได้รับการพัฒนาตนเองตามคุณธรรม อัตลักษณ์ของโรงเรียน ทำให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม คุณลักษณะที่ดี และได้ลงมือปฎิบัติโครงงานคุณธรรมในแต่ละระดับชั้น เป็นไปตามมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนดอย่ในระดับยอดเยี่ยม (ร้อยละ 94.12)

                             3) โครงการกีฬาและนันทนาการ เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้ออกกำลังกาย เสริมสร้างสุขภาพอนามัยให้สมบูรณ์แข็งแรง มีเจตคติที่ดีต่อการออกกำลังกาย เลือกเล่นกีฬาตรงตามความถนัดและสนใจ ส่งเสริมพัฒนาทักษะด้านกีฬา เพิ่มโอกาสทางการเรียนรู้ให้กับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น และสนับสนุนนักเรียนที่มีความสามารถทางด้านกีฬา ได้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาในระดับประเทศและระดับนานาชาติ ผลการดำเนินงาน นักเรียนมีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์แข็งแรง มีเจตคติที่ดีต่อการออกกำลังกาย เลือกเล่นกีฬาตรงตามความถนัดและสนใจ นักเรียนได้รับการส่งเสริม พัฒนาทักษะด้านกีฬา เพิ่มโอกาสทางการเรียนรู้ให้กับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็น

                             4) โครงการระบบช่วยเหลือนักเรียน เป็นโครงการที่ดำเนินการเพื่อให้สถานศึกษามีการจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมถึงผู้เรียนทุกคน คณะครูสามารถเยี่ยมบ้านนักเรียนนักเรียนทุกคนและนำข้อมูลระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนไปใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และเพื่อให้นักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือและส่งเสริมพัฒนาดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึง เต็มตามศักยภาพ มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ผลการดำเนินงาน การดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้แก่ สนับสนุนให้นักเรียนใช้สื่อรอบรู้ด้านสุขภาพในรูปแบบและผ่านช่องทางหลากหลายที่สามารถเข้าถึงได้ การจ่ายเงิน”เยียวยานักเรียน”ทุกคน คนละ 1,200 บาท อินเตอร์เน็ตฟรีสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ให้แก่นักเรียนที่มีความพร้อมด้านการเรียนออนไลน์ และนโยบายคืนค่าใช้จ่ายที่โรงเรียนไม่ได้ใช้จ่ายให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง ตามสัดส่วนและเหมาะสม เช่น ค่าอาหารกลางวัน ทุนการศึกษา เยี่ยมบ้านนักเรียน เป็นต้น

                    3. โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินงานและกิจกรรม ดังนี้

                             1) โครงการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและปรับสภาพแวดล้อมในห้องเรียน ให้เอื้อต่อการเรียนการสอนของนักเรียนพิการแต่ละประเภท

                             2) กิจกรรมการสร้างงานอาชีพ จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพให้กับนักเรียนพิการ ให้ผู้เรียนได้มีรายได้ระหว่างเรียน

                              3)  โครงการพัฒนาทักษะอาชีพสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนบกพร่องทางการเรียนรู้ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้นักเรียนบกพร่องทางการเรียนรู้ได้เกิดการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการมีรายได้ระหว่างเรียนแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง อีกทั้งยังเติมเต็มให้ผู้เรียนมีความถนัดจากประสบการณ์ตรงพัฒนาตัวเองตามศักยภาพและความสามารถเปิดโอกาสและสร้างอาชีพให้แก่นักเรียนบกพร่องทางการเรียนรู้

         

ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ

          ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการจัดการศึกษาให้กับเด็กพิการ ในรอบ 2 ปีงบประมาณที่ผ่านมา พบว่า1) ภายใน ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมระดับจังหวัด พบว่า 1) นักเรียนอยู่ในพื้นที่บริการห่างไกล ครอบคลุม 14 จังหวัดภาคใต้ 2) นักเรียนได้รับวัคซีนไม่ครบร้อยละตามที่กำหนด 3) พื้นที่รอบโรงเรียนยังมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 4) นักเรียนขาดอุปกรณ์ในการสื่อสาร ทำให้ไม่เข้าถึงการเรียนการสอนในรูปแบบ On Line ได้ 5) นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจึงต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาให้กับนักเรียนในกรณีการจัดการศึกษารูปแบบ On Hand 6) การจัดการศึกษาในรูปแบบ On Site ยังไม่เป็นที่มั่นใจของผู้ปกครองเนื่องจากความห่วงใยในสุขภาพของนักเรียนซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง และ 7) ครูไม่สามารถพัฒนาความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

         

          ข้อเสนอแนะ

          จากการศึกษาการดำเนินงานผลการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กพิการ ในรอบ 2 ปีงบประมาณที่ผ่านมาภายใน ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมระดับจังหวัด พบข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ควรสนับสนุนวัสดุฝึก อุปกรณ์ งบประมาณเพิ่มเติมให้กับนักเรียนที่ส่งสิ่งประดิษฐ์โครงงานในการเข้าประกวดแข่งขัน เพื่อเป็นการพัฒนาการศักยภาพผู้เรียนพิการ ให้มีความสามารถยิ่งขึ้นไป 2) ควรจัดทำโครงการคุณธรรมจากห้องเรียนคุณธรรมสู่บ้าน 3) ควรจัดการเรียนการสอนในรูปแบบอื่นที่นักเรียนสามารถเข้าถึงได้ แทนการเดินทางมาเรียน เช่น การเรียนออนไลน์ 4) ครูผู้สอนสื่อสารกับผู้เรียนได้โดยตรง ผ่านสื่อ เครื่องมือ สิ่งอำนวยความสะดวก ที่เหมาะสมกับสภาพความพิการ เช่น โทรศัพท์มือถือ และ 5) ควรเลือกใช้สื่อเฉพาะความพิการ เช่น สื่อภาพนูน คลิปวิดีโอ คลิปเสียง ส่งมอบให้นักเรียนทางไปรษณีย์หรือที่บ้าน

 

 

          นวัตกรรม/รูปแบบ/แนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการสร้างโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับคนพิการผู้ด้อยโอกาส และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้งในและนอกระบบการศึกษา ที่เป็นต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice)

                   1. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดทำนวัตกรรมที่ใช้ในการพัฒนาจัดการศึกษาที่มีคุณภาพของ คือ หน่วยการเรียนรู้บูรณาการเฉพาะบุคคลสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษซึ่งเป็นนวัตกรรมซึ่งส่งผลให้ครูสามารถจัดการศึกษาในรูปแบบ On Site แบบเว้นระยะห่าง และ On Hand ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีการกำหนดชิ้นงานที่ชัดเจนและชิ้นงานแต่ละชิ้นสามารถใช้ในการวัดผลในหลายเนื้อหาสาระได้ นอกจากนี้ผู้ปกครองสามารถมีส่วนร่วมกับการพัฒนานักเรียนได้ง่ายขึ้นและไม่เป็นภาระมากเกินไปเนื่องจากชิ้นงานที่นักเรียนต้องเรียนรู้ลดลงซึ่งเป็นผลมาจากการออกแบบการเรียนรู้ในรูปแบบบูรณาการ

                    2. โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี จัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program: IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan: IIP) รวมถึงการจัดบรรยากาศในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน มีการจัดทำสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น

                    3. โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดทำนวัตกรรม EMS-Care Model ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับ 1) การจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2) คุณธรรม จริยธรรม โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนมีทัศนคติวิธีคิดและประพฤติตนตามค่านิยมที่เหมาะสมกับสภาพครอบครัว สังคมและสิ่งแวดล้อม 3) กีฬาและนันทนาการ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมความเป็นเลิศด้านกีฬา และ 4) การดูแล เอาใจใส่นักเรียนและช่วยเหลืออย่างทั่วถึง โดยการลงพื้นที่ เยี่ยมบ้านนักเรียนพร้อมให้การสนับสนุนและช่วยเหลือ

         

          1.2 ผลการดำเนินการจัดการศึกษาให้กับเด็กด้อยโอกาส ในรอบ 2 ปีงบประมาณที่ผ่านมาในภาพรวมระดับจังหวัด

          ก. เชิงปริมาณ

ตารางที่ 2 จำนวนเด็กด้อยโอกาสที่ได้รับการศึกษาภายในสถานศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2563 – 2564

ประเภท

เด็กด้อยโอกาส

จำนวนนักเรียน/นักศึกษา ปีการศึกษา 2563

จำนวนนักเรียน/นักศึกษา ปีการศึกษา 2564

ระดับชั้น

รวม

ระดับชั้น

รวม

อนุบาล

ประถม

ม.ต้น

ม.ปลาย/ปวช.

ปวส.

อนุบาล

ประถม

ม.ต้น

ม.ปลาย/ปวช.

ปวส.

1.เด็กยากจน (มากเป็นพิเศษ)

-

147

353

172

-

672

-

175

338

173

-

668

2.เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด

-

-

2

-

-

2

-

-

3

-

-

3

3.เด็กที่ถูกทอดทิ้ง

-

3

7

2

-

12

-

4

15

-

-

19

4.เด็กที่ถูกทำร้ายทารุณ

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

5.เด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์หรือโรคติดต่อร้ายแรงที่สังคมรังเกียจ

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

6.เด็กในชนกลุ่มน้อย

-

1

-

1

-

2

-

-

-

1

-

1

7.เด็กเร่ร่อน

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

8.เด็กถูกบังคับให้ขายแรงงาน หรือแรงงานเด็ก

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

9.เด็กที่อยู่ในธุรกิจทางเพศหรือโสเภณีเด็ก

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

10.เด็กในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

-

1

-

-

-

1

-

-

-

-

-

-

รวม

-

152

362

182

-

689

-

161

356

174

-

691

ข้อมูล ณ วันที่ 27 มีนาคม 2565

 

ข. เชิงคุณภาพ

ผลการจัดการเรียนการสอน

จากรายงานการประเมินคุณภาพผลการจัดการเรียนภายใน ปีการศึกษา 2563 ให้กับเด็กด้อยโอกาส ในรอบ 2 ปีงบประมาณที่ผ่านมา ในภาพรวมระดับจังหวัด พบว่า โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี เป็นโรงเรียนประจำ นักเรียนพักอาศัยในโรงเรียน การจัดการเรียนการสอนจึงดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ (On -Site ) และ (on -hand ) และเนื่องด้วยข้อจำกัดของนักเรียนและมาตรการของโรงเรียนที่ไม่ให้นักเรียน
นำโทรศัพท์มาใช้ในโรงเรียน จึงไม่สามารถจัดการเรียนการสอนในลักษณะแบบอื่นๆได้ จึงมอบหมายให้คณะครูจัดทาแบบฝึกหัด/ใบงานให้กับนักเรียนทาที่หอนอน และจัดส่งที่บ้านโดยมีคุณครูประจำหอนอนและครูประจำชั้นเป็นผู้ช่วยเหลือดูแลและมีการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน นอกจากนี้ยังมี การจัดทำโครงการเยี่ยมบ้านนักเรียนในอำเภอต่างๆ ยกเว้นอำเภอเกาะสมุยและอำเภอเกาะพงัน รวมทั้งได้จัดถุงยังชีพปันสุขให้กับครอบครัวนักเรียน มีการสร้างความตระหนักให้ความรู้ความเข้าใจให้กับนักเรียนในการดูแลตนเองและการป้องกันโรค มีจัดหาหน้ากากอนามัยให้กับนักเรียน และตั้งจุดคัดกรอง วัดอุณหภูมิ มีจุดล้างมือ มีสเปรย์และเจลแอลกอฮอล์ให้บริการกับคณะครูแลนักเรียนตามจุดบริการต่าง ๆ และได้มอบหมายให้ยามรักษาความปลอดภัย คัดกรองบุคคลเข้า-ออกภายในโรงเรียน ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ผลการดำเนินงาน งานโครงการ – กิจกรรมทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเด็กด้อยโอกาส
ของสถานศึกษา ที่เด่นๆ

                    1. โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินงานและกิจกรรม ดังนี้

                             1) ด้านกีฬา ดำเนินงานกีฬาประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเด็กด้อยโอกาส 1) กีฬายกน้ำหนัก ผู้เรียนผู้เรียนเป็นนักยกน้ำหนักเยาวชนทีมชาติ และนักกีฬาโรงการสปอร์ตฮีโร่ 2) กีฬากรีฑา ประเภทลู่/ลาน ผู้เรียนเป็นนักวิ่งเยาวชนทีมชาติ และตัวแทนทีมจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 3) กีฬาโรวเลอร์สกี ผู้เรียนเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโรวเลอร์สกี ครั้งที่ 47 จังหวัดศรีสะเกษ ศรีสะเกษเกม จุดแข็งกีฬายกน้ำหนักมีผู้ฝึกสอนระดับเหรียญทองโอลิมปิค เรือเอกหญิงวันดี คำเอี่ยม เป็นผู้ฝึกซ้อม กีฬากรีฑาประเภทลู่/ลาน มีผู้ฝึกสอนอดีตเยาวชนทีมชาติเป็นผู้ฝึกซ้อม ส่วนกีฬาโรลเลอร์สกี สำนักกีฬาแห่งประเทศไทยให้การสนับสนุนอุปกรณ์และจัดหาทีมผู้ฝึกสอนจากต่างประเทศมาฝึกสอน

                             2) ด้านดนตรี/นาฎศิลป์ ดำเนินงานด้านดนตรี/นาฎศิลป์ ได้แก่ การแสดงโนราและนาฏศิลป์สร้างสรรค์ จุดแข็ง มีครูผู้สอน/ผู้ฝึกซ้อมที่จบตรงสาขานาฎศิลป์ วิชาเอกดนตรี และนาฎศิลป์เป็นทั้งผู้ฝึกซ้อมและเป็นครูประจำหอนอนนักเรียน นักเรียนอยู่ประจำทำให้การฝึกซ้อมสะดวกและฝึกซ้อมได้อย่างสม่ำเสมอ

                             3) ด้านงานอาชีพ ดำเนินการด้านงานอาชีพ ได้แก่ กิจกรรมปลูกผักไฮโดรโปนิก และกิจกรรมผลิตน้ำยาล้างจาน ทำให้เด็กประจำหอนอนฝึกอาชีพเพื่อการมีงานทำ จุดแข็ง มีครูประจำหอนอนเป็นที่ปรึกษาและควบคุมการปฎิบัติกิจกรรม

 

          ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ

          ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานผลการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กด้อยโอกาส ในภาพรวมระดับจังหวัด พบว่า 1) ครอบครัวมีฐานะยากจน ที่บ้านไม่มีไฟฟ้า หรือสัญญาณเครือข่าย 2) ผู้ปกครองไม่มีเวลาควบคุมการเรียนของนักเรียน เพราะต้องออกไปทางาน 3) ผู้ปกครองของนักเรียน ไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์และซื้อชั่วโมงอินเตอร์เน็ตให้สาหรับเรียนออนไลน์ให้นักเรียนได้เพราะฐานะยากจน 4) ในแต่ละหอนอนไม่มีโทรทัศน์ และในแต่ละหอนอนนักเรียนมีหลายระดับชั้น ทำให้การจัดการเรียนทางไกลหรือออนไลน์ทำไม่ได้

 

          ข้อเสนอแนะ

          จากการศึกษาการดำเนินงานผลการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กด้อยโอกาส ในภาพรวมระดับจังหวัด พบข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ควรจัดโครงการเยี่ยมบ้านนักเรียนในทุกอำเภอของจังหวัด เพื่อรวบรวมข้อมูล ที่ช่วยให้ครูได้ทราบชีวิตความเป็นอยู่และสภาพแวดล้อมทางบ้านของนักเรียน โดยการพบปะสนทนากับผู้ปกครองนักเรียน เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น เจตคติซึ่งกันและกัน ตลอดจนเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างบ้านกับโรงเรียน ทำให้ครูได้ข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนอย่างชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาของนักเรียนได้อย่างถูกต้องยิ่งขึ้น 2) กรณีผู้ปกครองปิดบังข้อมูล แก้ปัญหาโดยการสัมภาษณ์นักเรียน หรือเครือข่ายผู้ปกครองในทางลับ และ 3) ผู้เรียนไม่ค่อยสนใจการเรียนและไม่ส่งงานหรือการบ้านที่ครูมอบหมาย ทำให้ผลการเรียนติดศูนย์ วิธีการแก้ปัญหา คือรายงานให้ผู้ปกครองรับทราบและประชุมผู้ปกครองเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกับทางโรงเรียนในการปรับพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน

 

          นวัตกรรม/รูปแบบ/แนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับการสร้างโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับคนพิการผู้ด้อยโอกาส และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้งในและนอกระบบการศึกษา ที่เป็นต้นแบบหรือแบบอย่างที่ดี (Best Practice)

          โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินงานและกิจกรรมในด้านต่างๆ ทั้งด้านนักเรียน บุคลากร และสถานศึกษา ดังนี้ 1) ด้านนักเรียน ได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่นต่างๆ ระดับประเทศ อาทิ ได้รับรางวัลเยาวชนดีเด่นในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2563, นักกีฬากรีฑาเยาวชนหญิงทีมชาติ, ได้รับคัดเลือกเข้าเป็นนักกีฬากรีฑาหญิงของโครงการฝึกซ้อมซีเกมส์ปี 2563, ได้รับโล่รางวัลและเกียรติบัตรวันกีฬาแห่งชาติ ประจำปี 2563
และได้รับคัดเลือกเข้ารับใบประกาศเกียรติคุณ "วัฒนธรรมวินิต" จากนายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัด
สุราษฎร์ธานี เนื่องในงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2564 2) ด้านบุคลากร ได้รับรางวัลต่างๆ อาทิ รางวัลครูต้นแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการทักษะชีวิต ประจำปี 2564 และผ่านการคัดเลือกต่างๆ อาทิ การคัดเลือกเป็นนักกีฬากรีฑา และ 3) ด้านสถานศึกษา ในด้านวัฒนธรรมและประเพณี รางวัลชนะเลิศพุ่มผ้าป่า ประเภทสถาบัน(ความคิดสร้างสรรค์) งานประเพณีชักพระ - ทอดผ้าป่าและแข่งเรือยาวประจำปี 2563 ด้านโรงเรียนคุณธรรม ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ
2 ดาว ปี พ.ศ.2563 และรางวัลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน(ระดับทอง) ลำดับที่ 1 ประจำปี 2564 ประเภทโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์

 

3. รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายการตรวจราชการเฉพาะด้าน Agenda Based ประเด็นนโยบายการสร้างโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับคนพิการผู้ด้อยโอกาส และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้งในและนอกระบบการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
สุราษฎร์ธานี

          สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินโครงการและมีผลการดำเนินงาน งานโครงการ – กิจกรรมทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเด็กด้อยโอกาสและเด็กพิการในภาพรวมของจังหวัด ดังนี้

          โครงการพัฒนาทักษะอาชีพสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนบกพร่องทางการเรียนรู้ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี  (สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ดำเนินการในปี พ.ศ. 2564) ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ประจำปี 2565 กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน 101,300 บาท ซึ่งกลุ่มเป้าหมายในโครงการ ประกอบด้วย 1) นักเรียนบกพร่องทางการเรียนรู้ 50 คน 2) ครูผู้สอน 10 คน และ 3) คณะทำงานและวิทยากร 10 คน พร้อมทั้งรายชื่อโรงเรียนที่เข้าร่วมทั้งสิ้นจำนวน 10 โรงเรียน ดังนี้

          โรงเรียนบ้านบางใหญ่                         สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1

          โรงเรียนบ้านห้วยโศก                        สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1

          โรงเรียนบ้านป่าตง                             สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 2

          โรงเรียนบ้านเกาะมุกด์                        สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 2

          โรงเรียนบ้านควนรา                           สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 2

          โรงเรียนบ้านคลองโร                          สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 3

          โรงเรียนบางเดือนสถิตย์พิทยาคม            สพม.สุราษฎร์ธานี-ชุมพร

          โรงเรียน อบจ.2 (บ้านดอนเกลี้ยง)           อบจ.สุราษฎร์ธานี

          โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี       สนง.การศึกษาพิเศษ

          โรงเรียน ตชด.บ้านยางโพรง                  กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41

          สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส
และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้งในและนอกระบบการศึกษา ดังนี้ 1) จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะด้านอาชีพและทักษะชีวิต 2) ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นพัฒนาสติปัญญาและทักษะการตัดสินใจ 3) มุ่งเน้นการจัดกิจกรรมที่เน้นการพัฒนาจิตใจและจิตสำนึกเพื่อสังคม 4) บูรณาการเชื่อมโยงขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม/ภูมิปัญญาท้องถิ่น/บริบทของชุมชน/วิถีชีวิตของท้องถิ่น กับหลักสูตรสถานศึกษาหรือการจัดการเรียนรู้
และ5) ทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานการศึกษาและภาคเอกชน จัดทำโครงการที่เน้นการมีส่วนร่วมของคนพิการ ผู้ด้อยโอกาสหรือผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ

          ทั้งนี้ภายในโครงการมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ 1) อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการเรื่องโครงงานอาชีพสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 2) อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโครงงานอาชีพสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ 3) อบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคจัดการผลิตภัณฑ์สู่แพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์ 4) การประกวดแข่งขันเพื่อคัดเลือก Best Practice การพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนบกพร่องทางการเรียนรู้
และ นิเทศ ติดตามประเมินผลโครงการ และสรุปผลการดำเนินงาน 

 

4. รายชื่อคณะลงพื้นที่ ตรวจ ติดตามนโยบายการสร้างโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้งในและนอกระบบการศึกษา และหน่วยรับตรวจ

1) ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ

               นายธฤติ  ประสานสอน          ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เขตตรวจราชการที่ 6

2) สำนักงานศึกษาธิการภาค 5

               นายฉายา  รักสองหมื่น           ผู้อำนวยการกลุ่มตรวจราชการและติดตามประเมินผล

สำนักงานศึกษาธิการภาค  5 แทนศึกษาธิการภาค
สำนักงานศึกษาธิการภาค 5

               นางสาวปิยะวรรณ  มากหอม    นักวิชาการศึกษาชำนาญการ สำนักงานศึกษาธิการภาค  5

               นางสาวนฤมล  นำจันทร์         นักวิชาการศึกษาชำนาญการ สำนักงานศึกษาธิการภาค  5

๓) ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี

นายณัฐพงศ์ บำรุง                 ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี

นายสิทธิศักดิ์ ชิตพิทักษ์           รองผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี

นายเตชินณ์ อินทบำรุง            รองผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี

นายมงคล เกตุสุวรรณ์             รองผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี

4) โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี

นายชาญวิทย์ เกิดขุมทอง         ผู้อำนวยการโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี

นางสาวนิษธยา ทองจันทร์        รองผู้อำนวยการโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี

นายชไรนันต์ ประคำ              รองผู้อำนวยการโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี

5) โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้จังหวัดสุราษฎร์ธานี

นางฐิติมณฑ์ ฐิติไวฑูรย์            ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้จังหวัดสุราษฎร์ธานี

นางจิตรา เรืองมณี                 รองผู้อำนวยการโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้จังหวัดสุราษฎร์ธานี

นางซัลมา เสลาคุณ                รองผู้อำนวยการโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้จังหวัดสุราษฎร์ธานี

6) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี

นางสาวศุภมาศ คงคาช่วย               ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ

นางศุภัสตุ์ตรี  คำศรีสุข                  ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ

นางสาวลีลารัศม์  จาตุรพล              ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ

นางสาวศิริมา นุ้ยไม                      ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ

 

 

4. ภาพกิจกรรม

 

 

 

 

 

 

5. กำหนดการลงพื้นที่ตรวจราชการ

กำหนดการตรวจราชการ

ตามนโยบายการสร้างโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้เรียน
ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้งในและนอกระบบการศึกษา

ของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นายธฤติ ประสานสอน)

วันอาทิตย์ที่ 27  มีนาคม 2565 จังหวัดสุราษฎร์ธานี

-------------------------------

 

วันที่ 27 มีนาคม 2565

เวลา 09.00 น. - ผู้ตรวจราชการและคณะ เดินทางจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี

                     ไปโรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

เวลา 09.30 น. - ตรวจ ติดตาม   นโยบายการสร้างโอกาสและการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ

                     สำหรับคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทั้งใน

                     และนอกระบบการศึกษา

                     ณ โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

เวลา 09.30 น. - การนำเสนอรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายการสร้างโอกาสและการเข้าถึง
                     การศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับคนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็น                               พิเศษทั้งในและนอกระบบการศึกษา

                             1. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด นำเสนอข้อมูลผลการดำเนินงานตามนโยบายฯ                                ภาพรวมระดับจังหวัด

                             2. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี

                             3. โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สุราษฎร์ธานี

                             4. โรงเรียนสอนคนตาบอดภาคใต้จังหวัดสุราษฎร์ธานี

เวลา 12.00 น. -  รับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 14.00 น. -  เดินทางจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปจังหวัดระนอง

 

 

-----------------------------------------------------

 

กลุ่มตรวจราชการและติดตามประเมินผล

สำนักงานศึกษาธิการภาค 5

 

 

 



 บันทึข้อมูลโดย: กลุ่มตรวจราชการและติดตามประเมินผล ศธภ.5