ข้อสรุปของ ข้อสรุปการตรวจราชการของศึกษาธิการภาค บันทึกเมื่อวันที่ Date: 20 เมษายน 2565

รายงานผลการดำเนินงาน ตามนโยบายเร่งด่วน ระยะแรก (ก่อนเปิดเทอม)

รายงานผลการดำเนินงาน ตามนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงศึกษาธิการ

เขตตรวจราชการที่ 5

(จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดชุมพร)

ของคณะกรรมการขับเคลื่อนติดตามและประเมินผลประเด็นนโยบายเร่งด่วน

เขตตรวจราชการที่ 5 และเขตตรวจราชการที่ 7

*******

1. โครงการพาน้องกลับมาเรียน โดยมีกรอบประเด็น 4 ด้าน ดังนี้

          1.1 ด้านการรับรู้และเข้าใจ 6 ประเด็น

     1.1.1 มีแผนและแนวทางการบริหารจัดการ กำกับ ติดตาม และดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาและออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา พบว่า หน่วยงาน สถานศึกษามีการจัดทำแผนงาน/กิจกรรม “พาน้องกลับมาเรียน” เพื่อใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการ กำกับ ติดตาม และดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาและออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา โดยแต่งตั้งคณะทำงาน ติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน ชี้แจง สร้างความเข้าใจ ประชาสัมพันธ์          ให้สถานศึกษาทราบและถือปฏิบัติกำหนดแนวทาง ขั้นตอนการดำเนินงานติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา ตรวจสอบ วิเคราะห์ ข้อมูลเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน      ให้ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ โดยใช้ Mobile Application “พาน้องกลับมาเรียน” เป็นเครื่องมือในการติดตามและรายงานผลแก้ปัญหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันเป็นรายบุคคล โดยวิเคราะห์สภาพปัญหา สาเหตุ และวิธีการแก้ไขปัญหา และดำเนินการนำเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษา พร้อมจัดทำแผนป้องกันเด็กออกจากระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อป้องกันเด็กออกจากระบบการศึกษา จัดตั้งศูนย์ประสานงาน “พาน้องกลับมาเรียน”  ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับสถานศึกษา มีการวางแผนและแนวทางการบริหารจัดการ ตรวจสอบวิเคราะห์ จัดทำข้อมูลเด็กตกหล่น ลงพื้นที่ ติดตาม รายงานผลผ่านเว็บไซต์ ทำ MOU ร่วมกันกับสถานศึกษา ประชุมแนวทางการติดตามการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โครงการพาน้องกลับมาเรียน มอบหมายครูประจำชั้นรายงานการไม่มาเรียนหรือขาดการติดต่อของนักเรียน จัดทำคำสั่งมอบหมายภารกิจ และปฏิทินการปฏิบัติงาน เยี่ยมบ้านนักเรียนและรายงานผู้บริหารทราบ  

               1.1.2 มีแนวปฏิบัติและเชื่อมโยงสารสนเทศของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่น เพื่อดำเนินการเชิงบูรณาการ พบว่า หน่วยงาน สถานศึกษามีแนวปฏิบัติ จาก 2 ฐานข้อมูล คือ ระบบรายงานข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (DMC) และข้อมูลของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) สพฐ. MOU กับ กศน. ส่งต่อเด็กออกกลางคัน ให้เข้าเรียนนอกระบบ มอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด เชื่อมโยงสารสนเทศของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่น

               1.1.3 มีการชี้แจง สร้างความเข้าใจ ประชาสัมพันธ์แผนและแนวทางการบริหารจัดการให้แก่ผู้ปกครอง ชุมชน และเครือข่าย พบว่า หน่วยงาน สถานศึกษามีการชี้แจง สร้างความเข้าใจ ประชาสัมพันธ์แผนงานและแนวทางการดำเนินงานติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา ให้สถานศึกษาทราบและถือปฏิบัติ ประชุมเชิงปฏิบัติการการใช้แอปพลิเคชัน “ พาน้องกลับมาเรียน ” ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting ให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากร พร้อมทั้งสื่อสารสร้างความเข้าใจให้ความรู้กับครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

               1.1.4 มีการจัดส่ง“คู่มือพาน้องกลับมาเรียน”ให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการการทำงานทุกระดับ พบว่า หน่วยงาน สถานศึกษารับรู้และเข้าใจคู่มือพาน้องกลับมาเรียนเว็บไซต์ http://dropout.edudev.in.th จัดส่งไฟล์คู่มือพาน้องกลับมาเรียนให้กับสถานศึกษาดาวน์โหลดเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน ขั้นตอนการใช้งาน

               1.1.5 มีการใช้งานแอปพลิเคชัน “พาน้องกลับมาเรียน” พบว่า สถานศึกษา สังกัด กศน.  มอบหมาย ครู และบุคลากรลงพื้นที่ติดตามกลุ่มเป้าหมายนักศึกษาตกหล่น บันทึกข้อมูล และปักหมุดตามพื้นที่ผ่านแอปพลิเคชัน “พาน้องกลับมาเรียน” ผ่านแอคเคาท์ของสถานศึกษา

      1.1.6 มีการอบรมขยายผลการใช้งานแอปพลิเคชัน “พาน้องกลับมาเรียน” ระดับอำเภอและตำบล พบว่า สถานศึกษา สังกัด กศน. จัดประชุมชี้แจงการใช้แอปพลิเคชัน “พาน้องกลับมาเรียน” ผ่านระบบ Microsoft Team ให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากร สำหรับการเก็บข้อมูลในการลงพื้นที่ติดตามนักศึกษา   ตกหล่นตามรายชื่อในระบบฐานข้อมูล

           1.2 ด้านการนำไปปฏิบัติ 7 ประเด็น

               1.2.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ พบว่า สถานศึกษามีขั้นตอนการแต่งตั้งคณะกรรมการในทุกระดับ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน/มีผู้แทนจากหน่วยงานที่ MOU 12 หน่วยงานเป็นกรรมการ และ ผอ.สพป.เขต1 ทุกจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการ ระดับสถานศึกษา มีการแต่งตั้งคณะทำงานติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา ประกาศจัดตั้งศูนย์ประสานงาน “พาน้องกลับมาเรียน” แต่งตั้งคณะกรรมการประจำศูนย์ประสานงาน “พาน้องกลับมาเรียน”

      1.2.2 มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยอื่น ภายใต้ MOU เช่น การประชุม คำสั่ง              ที่มีองค์ประกอบผู้แทนส่วนราชการอื่น (12 ส่วนราชการ) พบว่า หน่วยงาน สถานศึกษามีการประสานความร่วมกับหน่วยอื่น ภายใต้ MOU ดังนี้ 1) ประสานความร่วมมือกับ กศน. ในเขตพื้นที่บริการ พร้อมทั้งจัดทำ MOU ร่วมกันในการช่วยเหลือ สร้างโอกาสให้กับเด็กเพื่อให้เข้าเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ 2) มีการประสานความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อส่งต่อนักเรียนที่ไม่สามารถศึกษาในระบบได้   3) มีการประสานความร่วมมือกับสถานศึกษาเอกชน 4) มีการประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เพื่อให้ข้อมูล และร่วมมือกัน สำรวจ ติดตาม 5) มีการประสานความร่วมมือกับ สอศ. ดำเนินการตามโครงการสร้างโอกาสทางการศึกษา และร่วมกับ พมจ. เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือผู้เรียนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาและออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา

               1.2.3 มีแผนการดำเนินงาน การสำรวจข้อมูล การวิเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อนำสู่การปฏิบัติในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งการติดตาม ให้คำปรึกษา และรายงานผลการดำเนินงาน พบว่า

หน่วยงาน สถานศึกษา ได้จัดทำแผนงาน/กิจกรรม การวิเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อนำสู่การติดตามค้นหาเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา รายงานผลการดำเนินงานทุกระยะ        มีการประชาสัมพันธ์ไปยังสถานศึกษาและขยายผลต่อไปยังผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประเมิน ติดตาม การใช้ระบบ SCSS และเยี่ยมบ้านนักเรียน

               1.2.4 มีการกำกับติดตาม โดยใช้ Application “พาน้องกลับมาเรียน” เป็นเครื่องมือลงพื้นที่ สำรวจ ติดตาม ค้นหา นักเรียน/นักศึกษาที่หลุดระบบ และรายงานผลผ่านเว็บไซต์ http://dropout.edudev.in.th พบว่า หน่วยงาน สถานศึกษา มีการใช้ Application “พาน้องกลับมาเรียน” เป็นเครื่องมือลงพื้นที่ สำรวจ ติดตาม ค้นหา นักเรียน/นักศึกษาที่หลุดระบบ และรายงานผลผ่านเว็บไซต์การดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายโดยใช้ Application “พาน้องกลับมาเรียน

1.2.5 ข้อมูลผลการปฏิบัติ (ภาพรวมภาค)

1) จำนวนผู้เรียนเป้าหมาย                             จำนวน 5,076  คน     

2) ติดตามพบตัว                                        จำนวน 4,687   คน

3) ยังไม่ได้ติดตาม                                      จำนวน 318     คน

4) ติดตามแล้วไม่พบตัว                                จำนวน 391     คน

5) พบตัว แต่ไม่อยู่ในรายชื่อ)                          จำนวน 11       คน

ข้อมูล ณ วันที่ 13 เมษายน 2565

      1.2.6 มีการช่วยเหลือผู้เรียนที่พบตัว เช่น เรียนที่เดิม ส่งต่อไปที่อื่น เช่น มีการช่วยเหลือผู้เรียนที่พบตัว เข้าเรียนโรงเรียนสังกัด สพฐ. เข้าเรียนโรงเรียนสังกัด กศน. เข้าเรียนโรงเรียนสังกัดเอกชน เข้าเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาล/อบจ. เข้าเรียนในสังกัดการศึกษาพิเศษ เข้าเรียนในสังกัดอาชีวศึกษา เข้าเรียนสังกัดสถาบันพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

1.3 ปัญหา/อุปสรรค และข้อเสนอแนะ

      1) เด็กที่ออกกลางคันย้ายที่อยู่ทำให้ไม่สามารถติดตามตัวได้

2) ฐานข้อมูลชื่อบิดา-มารดา (ข้อมูลเดิม) ที่อยู่ในระบบไม่ตรงกับข้อมูลปัจจุบัน

3) ทหารกองประจำการที่หลุดประจำการไปแล้วกลับไปอยู่บ้านเกิด

               5) ความหลากหลายของพื้นที่บางครั้งอยู่บนเกาะ

               6) การสั่งการกระชั้นชิดขาดการบูรณาการ

               7) ข้อมูลเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคัน ซ้ำซ้อนกับข้อมูลการรับนักเรียนปัจจุบัน ทำให้มีจำนวนนักเรียนตกหล่นมากว่าความเป็นจริง

          1.4 ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงนโยบาย

     1) ควรดำเนินการประสานกับฝ่ายปกครอง กระทรวงมหาดไทย เพื่อติดตามตัวเด็กที่ย้ายที่อยู่หรือไม่สามารถติดตามตัวได้

2) ควรมีการปรับฐานข้อมูลในเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นให้มีข้อมูลที่ตรงกัน

     3) ปรับปรุงระบบให้ใช้ได้กับโทรศัพท์มือถือทุกระบบทั้ง Android และ iOS    

               4) ควรมีงบประมาณของหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจครอบครัวเบื้องต้น

 

2. โครงการ กศน. ปักหมุด โดยมีกรอบประเด็น 4 ด้าน ดังนี้

           2.1 การรับรู้และเข้าใจ  4 ประเด็น

      2.1.1 มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พบว่าสถานศึกษา สังกัด กศน. ในพื้นที่เข้าร่วมประชุมชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนและขยายผลโครงการ กศน.     ปักหมุด เพื่อรับทราบแนวทางในการขับเคลื่อนและขยายผล โครงการ กศน. ปักหมุด

      2.1.2 รับทราบและดำเนินการตามแนวทางที่ระบุไว้ในคู่มือแนวทางการดำเนินงาน พบว่า      คณะผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากร เข้าร่วมประชุมเพื่อรับนโยบายและแนวทางการดำเนินโครงการ กศน. ปักหมุด เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส

      2.1.3 ประชุมชี้แจง สร้างความเข้าใจ แนวทางการดำเนินงานตามโครงการ กศน.ปักหมุดเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส พบว่า มีการสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริหารสถานศึกษา ครู กศน.ตำบล ครูอาสาสมัคร กศน. และครู ศรช. ร่วมวางแผนกับผู้บริหารสถานศึกษา ลงพื้นที่เก็บข้อมูลตามแบบติดตามและสำรวจความต้องการของผู้ขาดโอกาสทางการศึกษาและผู้พิการ

      2.1.4  มีการอบรมขยายผลการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ CAPER พบว่า คณะทำงานดำเนินงานโครงการ กศน.ปักหมุด เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ กศน. ปักหมุด เพื่อสร้างโอกาส การใช้งานระบบและบันทึกข้อมูลกลุ่มเป้าหมายผู้พิการ ลงในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ CAPER  จัดประชุมสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริหาร ข้าราชการ ครู กศน.ตำบล ครูอาสาสมัคร กศน. และครู ศรช. ชี้แจงการใช้งานโปรแกรม CAPER (Collection Data, Assessment, Planning, Evaluation, Report) 

  2.2 ด้านการนำไปปฏิบัติ 7 ประเด็น

      2.2.1 มีคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พบว่า    คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ โดยมีผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานระดับจังหวัด และระดับอำเภอ คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัด เพื่อพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษา กศน.

      2.2.2 มีคณะกรรมการดำเนินงาน พบว่า เกศน.จังหวัด ได้จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานในระดับจังหวัด และระดับอำเภอ โดยมีบุคลากรที่เกี่ยวข้องในสังกัด ขับเคลื่อนโครงการ กศน.    ปักหมุด เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส

               2.2.3 มีแผนการดำเนินงาน การสำรวจ การตรวจสอบการวิเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูล พบว่า ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ระดับตำบล ได้มีการกำหนดแผนการปฏิบัติงาน ประชุมชี้แจงการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้สถานศึกษาจัดทำแผนการปฏิบัติงาน มอบหมายให้สถานศึกษาจัดสรรจำนวนกลุ่มเป้าหมายให้กับบุคลากรเพื่อลงพื้นที่ในการสำรวจข้อมูลผู้พิการ และรายงานผลการเก็บข้อมูล พร้อมทั้ง
ส่งหลักฐานมายังสำนักงาน กศน.จังหวัด โดยมอบหมายเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการเพื่อบันทึกข้อมูลลงในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
CAPER เพื่อบริหารจัดการข้อมูลและแก้ไขข้อมูลของผู้พิการ    ในความรับผิดชอบ ตลอดจนการติดตามข้อมูลเพื่อให้ความช่วยเหลือกับผู้พิการตามรายบุคคล

      2.2.4 มีแผนการศึกษาและการเรียนรู้ตามความต้องการเพื่อนำเข้าสู่ระบบการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พบว่า ได้วางแผนให้มีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ว่ามีคนพิการต้องการรับการศึกษาและการเรียนรู้ตามความต้องการอย่างไรบ้าง จัดทำแผนการศึกษาให้กับผู้พิการที่ต้องการศึกษาส่งต่อ

      2.2.5 มีการส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนช่วยเหลือตามความต้องการของคนพิการ พบว่า กลุ่มเป้าหมายผู้พิการที่ยังไม่ได้รับการศึกษาต่อผู้บริหารสถานศึกษามอบหมายให้สถานศึกษาการดำเนินการส่งต่อข้อมูลเพื่อสนับสนุนช่วยเหลือตามความต้องการของผู้พิการไปยังหน่วยงานอื่นพิจารณาให้ความช่วยเหลือ เช่น สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และองค์การบริหารส่วนจังหวัด

      2.2.6 มีข้อมูลผลการปฏิบัติ  (ภาพรวมภาค)

1) จำนวนคนพิการ                                     จำนวน           2,857   คน

2) สำรวจ ติดตามพบตัว                              จำนวน           2,443   คน

3) ไม่พบตัว                                             จำนวน           320     คน

4) เสียชีวิต                                             จำนวน           85       คน

5) จบการศึกษา/กำลังศึกษาอยู่                       จำนวน           311     คน

6) ติดตามได้เพิ่มเติม                                   จำนวน           4        คน

ข้อมูล ณ วันที่ 13 เมษายน 2565

  2.2.7 มีการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานที่สะท้อนความสำเร็จของเป้าหมาย ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ พบว่า สำนักงาน กศน.จังหวัด ได้ดำเนินการจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน                            จัดแสดงนิทรรศการ กศน. ปักหมุด ในโครงการจัดแสดงผลงานทางวิชาการด้านการจัดการศึกษาขึ้น            เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน และสร้างการรับรู้ถึงความความต้องการช่วยเหลือของกลุ่มเป้าหมาย       ผู้พิการสู่สาธารณะ เช่น กิจกรรม สำนักงาน กศน.จังหวัดพัทลุง Open House กศน.พัทลุง

2.3 ปัญหา/อุปสรรค/ข้อจำกัดในการดำเนินการตามนโยบาย

1) ผู้ปกครองไม่ประสงค์ให้ข้อมูล ด้วยเหตุผลเฉพาะบุคคล ทำให้ข้อมูลที่ได้จากการดำเนินการสำรวจ ไม่สมบูรณ์  

          2) ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเป็นผู้สูงอายุ บางรายมีอาการหลงลืม ทำให้ส่งผลต่อข้อมูลหลักฐานที่ได้รับจากการลงพื้นที่บางส่วนไม่ครบถ้วน

3) ข้อมูลที่อยู่ของผู้พิการบางคนไม่ปรากฏในทะเบียนราษฎร์

4) ผู้พิการบางคนเสียชีวิตไปแล้วเกิน 10 ปี

5) ผู้พิการส่วนใหญ่ ไม่ได้เข้ารับการศึกษา บางรายไม่สามารถ อ่าน-เขียนได้

6) ผู้ปกครอง หรือผู้พิการ ไม่มีเวลาตอบแบบสอบถามที่เยอะเกินไป

 

 

2.4 ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงนโยบาย

                    1) ควรมีแนวทางส่งต่อและช่วยเหลือคนพิการให้มีอาชีพ ที่ไม่สามารถเรียนต่อหรือประกอบอาชีพได้

        2) ควรส่งเสริมอาชีพระยะสั้นให้ผู้พิการสามารถนำไปประกอบอาชีพได้

        3) เครื่องมือในการเก็บข้อมูลของคนพิการควรเป็นข้อมูลที่จำเป็นไม่เยอะจนเกินไป

 

3. โครงการโรงเรียนคุณภาพ โดยมีกรอบประเด็น 4 ด้าน ดังนี้

           3.1 การรับรู้และเข้าใจ  3 ประเด็น

3.1.1 มีการจัดทำแผนการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพ พบว่า หน่วยงาน สถานศึกษามีแผนการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพ จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานการขับเคลื่อนการเรียนรวมของโรงเรียนคุณภาพ  โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา   และรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นคณะที่ปรึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียนคุณภาพ (หลัก) และโรงเรียนเครือข่าย เป็นคณะทำงาน ประชุมชี้แจงและสร้างความใจให้กับผู้บริหาร ครู และบุคลากร จัดทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)  โดยขอเชิญผู้อำนวยการโรงเรียนคุณภาพ (หลัก) และโรงเรียนเครือข่าย 3 ฝ่าย คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา        กับ โรงเรียนคุณภาพ (หลัก) และ โรงเรียนเครือข่าย ทุกโรงเรียน

      3.1.2 จัดทำแผนเรียนรวม พบว่า สถานศึกษามีการดำเนินงานแผนเรียนรวมของโรงเรียนคุณภาพ จัดทำแผนเรียนรวมของโรงเรียนคุณภาพ และมีโรงเรียนเครือข่าย โดยมีแผนการเรียนรวม               ปีการศึกษา 2565 และ 2566 เช่น การไปเรียนรวมบางชั้น  บางรายวิชา

      3.1.3 ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย        ตามวัตถุประสงค์ของการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพของกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า หน่วยงาน สถานศึกษา    มีการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายผ่าน website กลุ่มไลน์ และเอกสาร โดยมีศึกษานิเทศก์และบุคลากร ได้ประสานงานและติดตาม แนะนำให้คำปรึกษาการดำเนินงานของโรงเรียนอย่างใกล้ชิด ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคลากรของโรงเรียนคุณภาพ และบุคลากรของ สพฐ. ประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ Zoom Cloud Meeting) พร้อมลงพื้นที่โรงเรียนคุณภาพ ในแต่ละจุดที่มีความพร้อมในการเรียนรวมเพื่อสร้างความเข้าใจ ให้กับคณะผู้บริหาร ครู บุคลากร ประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อ เช่น เว็ปไซต์หน่วยงาน / Line/ Facebook

3.2 การนำไปปฏิบัติ 6 ประเด็น

                3.2.1 มีขับเคลื่อนแผนเรียนรวมของโรงเรียนคุณภาพจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานการขับเคลื่อนการเรียนรวมของโรงเรียนคุณภาพ โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและ              รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นคณะที่ปรึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียนคุณภาพ (หลัก) และโรงเรียนเครือข่าย เป็นคณะทำงาน ประชุมผู้อำนวยการโรงเรียนคุณภาพ (หลัก) และผู้อำนวยการโรงเรียนเครือข่าย เพื่อสร้างความเข้าใจ และรับรู้ข้อมูลเชิงนโนบายของ สพฐ. ร่วมกัน ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)  โดยขอเชิญผู้อำนวยการโรงเรียนคุณภาพ (หลัก) และโรงเรียนเครือข่าย เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ วางแผนในการจัดการเรียนการสอนวิชาที่จะเรียนรวมกัน เช่น วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ทบทวนการกำหนดจุดพื้นที่สร้างบ้านพักครู 1 อำเภอ 1 จุด ระบุจำนวนครู พร้อมรายชื่อผู้ต้องการเข้าพัก จัดทำโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณค่าพาหนะในการเดินทางไปเรียนรวม จัดทำโครงการพัฒนาตามนโยบาย 8 จุดเน้นให้กับโรงเรียนคุณภาพ และวิเคราะห์อัตรากำลัง ทำแผนบริหารอัตรากำลังโรงเรียนคุณภาพ

      3.2.2 ชี้แจงผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานในพื้นที่รับรู้เข้าใจ และให้การสนับสนุนในการดำเนินงาน พบว่า หน่วยงาน สถานศึกษาประชุมสร้างความเข้าใจ ให้ผู้บริหาร โรงเรียนคุณภาพ (หลัก) และโรงเรียนเครือข่ายได้รับทราบเชิงนโยบายโรงเรียนคุณภาพ ร่วมกัน เพื่อให้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสร้างความเข้าใจ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง ประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อ เช่น เว็บไซต์หน่วยงาน / Line/ Facebook

      3.2.3 ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานของสถานศึกษาในการเป็นโรงเรียนคุณภาพ รวมถึงการบริหารจัดการพาหนะรับส่ง พบว่า โรงเรียนคุณภาพ (นำร่อง) ได้รับจัดสรรงบประมาณ เพื่อสร้างอาคารเรียน รวมถึงห้องน้ำห้องส้วม เพื่อรองรับการมาเรียนรวมของโรงเรียนในเครือข่าย ได้รับการจัดสรรงบประมาณ เพื่อจัดจ้างครูผู้สอนภาษาอังกฤษ บางสถานศึกษาเตรียมความพร้อมทางโครงสร้าง ได้แก่ ระบบไฟฟ้า น้ำประปา เครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เป็นแหล่งอยู่ใกล้ชุมชนและสถานที่ราชการ การคมนาคมมีความสะดวก ด้านค่าพาหนะบางสถานศึกษาอยู่ระหว่างการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ บางสถานศึกษามีการจัดหารถจักรยานให้นักเรียนใช้เป็นพาหนะ รวมทั้งสนับสนุนโดยจัดหาทุนการศึกษาให้นักเรียน

      3.2.4 หลักสูตรการเรียนการสอน พบว่า มีหลักสูตรการศึกษาที่มีการปรับปรุง และพัฒนา ให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา และสภาพความต้องการของโรงเรียน ชุมชน ผู้ปกครอง และสภาพของผู้เรียน เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับโรงเรียนคุณภาพ (นำร่อง) เช่น หลักสูตรการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์วิถีใหม่ วิถีอนาคต สู่ความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง หลักสูตรพัฒนาครูโครงงานคุณธรรม โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยทั้ง 8 ด้าน มีการอบรมใช้งานสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง (AR)  การใช้เอกสารเสริมคิด คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เน้นการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning    

      3.2.5 ผู้บริหารสถานศึกษามีการส่งเสริมให้ครูมีทักษะ Active Learning และครูผู้สอนผ่านการอบรม Active Learning ทุกคน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาสนับสนุนให้ครูได้รับความรู้ และเข้าร่วมอบรมจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหน่วยงานอื่นๆ พร้อมทั้งได้รับคำแนะนำจากศึกษานิเทศก์ 

  3.3 ปัญหา/อุปสรรค/ข้อจำกัดในการดำเนินการตามนโยบาย

1) ผู้ปกครองและชุมชนยังไม่มั่นใจในแนวทางการดำเนินการและการจัดการเรียนรวมของโรงเรียนคุณภาพ 

2) การเดินทางมาเรียนของนักเรียนโรงเรียนเครือข่ายไปโรงเรียนหลักค่าพาหนะรถรับส่งตามอัตราที่จัดสรรไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันและสภาพพื้นที่

3) การสร้างความรับรู้และความเข้าใจนโยบายและแนวทางการดำเนินงานของโครงการที่ระยะเวลาจำกัดและความไม่ชัดเจน ไม่มีระเบียบรองรับการดำเนินงานของโรงเรียนคุณภาพและโรงเรียนเครือข่าย

4)  คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชนไม่เห็นด้วยในการเรียนรวมตามโครงการโรงเรียนคุณภาพ

5) ครูไม่ครบชั้น/ไม่ตรงตามวิชาเอกตามกรอบอัตรากำลังของ กคศ. จึงไม่สามารถขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ โรงเรียนเครือข่ายไม่มั่นใจในการบริหารจัดการจึงตัดสินใจในการ    ไม่มาเรียนรวม

6) ขาดความพร้อมด้านอาคารเรียนอาคารประกอบ วัสดุ อุปกรณ์ โต๊ะ เก้าอี้ เนื่องจากมีอัตราความขาดแคลนห้องเรียนและห้องพิเศษต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา         ขั้นพื้นฐาน มีข้อจำกัดไม่สามารถรองรับนักเรียนจากโรงเรียนเครือข่ายที่จะมาเรียนรวมได้

7) ขาดความพร้อมด้านห้องปฏิบัติการสำหรับการจัดการเรียนการสอน เช่น ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการทางภาษา และห้องเรียนคณิตศาสตร์

3.4 ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงนโยบาย

                   1) ควรสร้างการรับรู้ และสร้างความเข้าใจที่ดีในส่วนนโยบายแนวทางการดำเนินงานของโครงการเรียนคุณภาพ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครอง ชุมชนได้

2) ควรมีความชัดเจน ในส่วนของการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มโรงเรียนหลักและโรงเรียนเครือข่ายที่เข้าเกณฑ์  และกำหนดรูปแบบของแผนงานที่ชัดเจนเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปในทิศทางเดียวกันและมีประสิทธิภาพตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการมากที่สุด

                    3) ควรมีความชัดเจนด้านงบประมาณ เพื่อให้โรงเรียนคุณภาพมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานในระดับที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครอง ชุมชน และโรงเรียนเครือข่ายได้

4) ควรมีการระบุหรือมีเกณฑ์ความจำเป็นด้านโครงสร้างพื้นฐานว่าโรงเรียนคุณภาพต้องมีความพร้อมอะไรบ้าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารงบประมาณในภาพรวม

5) ควรจัดสรรค่าพาหนะในการเดินทางมาเรียนรวมของนักเรียนจากโรงเรียนเครือข่าย

        6) ควรพัฒนาโรงเรียนคุณภาพนำร่องที่ได้รับการคัดเลือกไว้ให้โดดเด่นชัดเจนเป็นรูปธรรม ทุกภาคส่วนให้การสนับสนุน

 

4. โครงการ อาชีวะ อยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ โดยมีกรอบประเด็น 4 ด้าน ดังนี้
          
4.1 การรับรู้และเข้าใจ 4 ประเด็น

      4.1.1 มีการชี้แจงโครงการร่วมกับสถานศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนระดับมัธยม พบว่าสถานศึกษาออกพื้นที่ชี้แจงโครงการให้กับโรงเรียนขยายโอกาส และโรงเรียนมัธยมในพื้นที่ ให้ทราบถึงโครงการ อาชีวะ อยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ และสาขาที่มีการเปิดสอนในโครงการ เช่น โครงการปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิต ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขางานการผลิตพืช  สาขางานการผลิตสัตว์  สาขางานผลิตสัตว์น้ำ สาขางานการจัดการเกษตรอาหารปลอดภัย โครงการอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท (อศ.กช.) ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขางานการเกษตร ให้แก่    โรงเรียนท่าแซะรัชดาภิเษก  โรงเรียนราชประชานุเคราะห์  20  จังหวัดชุมพร  โรงเรียนปะทิววิทยา  โรงเรียนท่าข้ามวิทยา เป็นต้น

      4.1.2 มีการประชาสัมพันธ์โครงการให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายและผู้ปกครองรับทราบ พบว่า สถานศึกษามีการดำเนินการออกแนะแนวการศึกษาเพื่อรับนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษา  2565 และประชาสัมพันธ์โครงการอาชีวะ อยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ ตลอดจนสาขาที่เปิดสอน

      4.1.3 ข้อมูลนักเรียนระดับชั้น ม.3 ที่จะจบ พบว่า สถานศึกษาอยู่ระหว่างการวางแผนดำเนินการ

      4.1.4 มีแผนหรือแนวทางการบริหารจัดการ และกำกับ ติดตาม พบว่า สถานศึกษามีการดำเนินการจัดทำแผนการรับนักเรียน การส่งเสริมอาชีพ การสร้างรายได้ให้แก่นักเรียน ปรับปรุงอาคารสถานที่ ห้องพัก สภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน และสร้างความเข้าใจแก่บุคลากรในสถานศึกษา

4.2 การนำไปปฏิบัติ 3 ประเด็น

      4.2.1 มีการขับเคลื่อนโครงการอาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ (อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ) สถานศึกษามีการวางแผนการดำเนินงาน การรับนักเรียน       เพื่อการส่งเสริมสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมการศึกษาทุกช่วงวัย ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาศักยภาพคนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ร่วมถึงการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ให้แก่นักเรียนสายอาชีพ ที่มีฐานะยากจนในพื้นที่ห่างไกล ให้ได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษา มีทักษะวิชาชีพ สามารถทำงานประกอบวิชาชีพได้ ทั้งช่วยเพิ่มปริมาณผู้เรียน 

                4.2.2 สถานศึกษา มีปรับปรุงซ่อมแซมอาคารหอพัก เพื่อใช้ในการรองรับผู้เรียน โดยแบ่งโซน ชาย กับ หญิง อย่างชัดเจน มีผู้ดูแลหอพัก

               4.2.3 ข้อมูลผลการดำเนินการ (จำนวนนักเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ ระยะที่ 1 รุ่นที่ 1) สถานศึกษาอยู่ระหว่างดำเนินการ

4.3 ปัญหา/อุปสรรค/ข้อจำกัดในการดำเนินการตามนโยบาย

1) สถานศึกษาบางแห่งใช้บ้านพักนักเรียนเป็นโรงพยาบาลคู่ขนาน ในการรักษาผู้ติดเชื้อ COVID-19

2) สถานศึกษามีการประชาสัมพันธ์โครงการให้กับโรงเรียนมัธยมและโรงเรียนขยายโอกาส แต่ไม่มีโรงเรียนส่งนักเรียนเข้าร่วมโครงการ

3) จำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษามีจำนวนน้อยไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน

4) ขาดการประสานเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย  ตลอดทั้งแนวทางการดำเนินงาน

5) ช่วงระยะเวลามีความกระชั้นชิด  การดำเนินงานยังไม่เป็นรูปธรรม

4.4 ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงนโยบาย

                   1) ควรมีการบรรจุ ข้าราชการครู เมื่อเกษียณอายุหรือย้าย คืนตำแหน่ง เปิดสอบ โดยให้พนักงานราชการที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ได้มีโอกาสได้สอบเป็นข้าราชการ

2) ควรจัดสรรงบประมาณ เพิ่มในส่วนของการปรับปรุงห้องพักของนักเรียนให้เหมาะสม

        3) ควรมีครูแนะแนวเส้นทางอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา หรือต้องการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

   

5. โครงการ ความปลอดภัยสถานศึกษา MOE Safety Center โดยมีกรอบประเด็น 4 ด้าน ดังนี้

5.1 การรับรู้และเข้าใจ  2 ประเด็น

      5.1.2 มีการติดตั้ง Application MOE Safety Center พบว่า หน่วยงาน สถานศึกษา ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์แจ้งให้โรงเรียนในสังกัดและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทราบเกี่ยวกับการใช้งานในระบบ Application MOE Safety Center ในการแจ้งเหตุ และโรงเรียนในสังกัดได้ติดตั้งระบบ MOE Safety Center

      5.1.2 มีการชี้แจงและประชาสัมพันธ์แนวทางการใช้งาน Application MOE Safety Center ให้แก่หน่วยงาน ประชาชน ส่วนราชการอื่น พบว่า หน่วยงาน สถานศึกษา ได้ประชาสัมพันธ์ช่องทางการประสานงาน และการใช้งาน MOE Safety Center แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน และผู้ปกครอง เช่น

1) https://www.moesafetycenter.com

2) Line@MOESafetyCenter

3) Call center : 02 126 6565     

4) Application MOE Safety Center

           5.2 การนำไปปฏิบัติ 6 ประเด็น

      5.2.1 มีการจัดตั้งศูนย์ความปลอดภัย หน่วยงานในภูมิภาค และมีคณะกรรมการความปลอดภัยสถานศึกษา พบว่า หน่วยงาน สถานศึกษา ประชุมชี้แจงผู้บริหารสถานศึกษาและผู้รับผิดชอบจัดตั้งศูนย์ความปลอดภัย (MOE Safety Center) แต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดูแลระบบ MOE Safety Center ของศูนย์ความปลอดภัย แจ้งโรงเรียนจัดตั้งศูนย์ความปลอดภัยและแต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย ระดับสถานศึกษาและเจ้าหน้าที่ดูแลระบบ MOE Safety Center ระดับสถานศึกษา ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้วเสร็จ ครบ 100 %

      5.2.2 มีการอบรม/ขยายผล การใช้งานระบบ/Application MOE Safety Center ทั้งในมิติ     ผู้แจ้งเหตุ และผู้รับเรื่องร้องเรียน ระดับหน่วยงาน/สถานศึกษา และหน่วยงานอื่นในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า หน่วยงาน สถานศึกษา มีการจัดตั้งกลุ่ม Line MOE Safety Center เพื่อเป็นช่องทางในการประสานงานระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในสังกัด ในการประสานขั้นตอนการดำเนินงานร่วมกับสถานศึกษาได้ถูกต้อง

                5.2.3 สถานศึกษามีการจัดทำป้ายรณรงค์ส่งเสริมการเรียนรู้ระบบ MOE Safety Center         หน้าสถานศึกษาทุกแห่ง พบว่า สถานศึกษาได้รณรงค์ส่งเสริมการเรียนรู้ระบบ MOE Safety Center  ประชาสัมพันธ์ ให้นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้เกี่ยวข้อง และประชาชนได้รับทราบ ผ่านป้ายประชาสัมพันธ์ของโรงเรียน      

                5.2.4 มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการแสดงออกเชิงความคิดสร้างสรรค์ให้กับนักเรียนทุกระดับ ในช่วงปิดภาคเรียน ภายใต้กิจกรรม Kick off สถานศึกษาปลอดภัย เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจการเข้าถึงการเป็นผู้แจ้งเหตุ ให้กับนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา             

      5.2.5 มีการเสริมสร้างศักยภาพการทำงานให้กับนักจิตวิทยาโรงเรียน ประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในการปฏิบัติงานระบบ MOE Safety Center พบว่า นักจิตวิทยาโรงเรียนประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้เข้าร่วมการประชุมชี้แจงแนวทางการบริหารจัดการระบบมาตรฐานความปลอดภัย (MOE Safety Center) จากศูนย์ความปลอดภัย กระทรวงศึกษาธิการ

5.2.6 การประสานความร่วมมือกับส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการดูแลรักษาความปลอดภัยนักเรียนนอกสถานศึกษา เช่น พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา (พสน.)/เจ้าหน้าที่ปกครอง/กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน พบว่า โรงเรียนในสังกัดได้มีการประสานหน่วยงานภายนอกในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านความปลอดภัย ทั้งในระดับชุมชนและหน่วยงานราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยนักเรียนนอกสถานศึกษา โดยมีเครือข่าย พสน.หรือพนักงานส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมในการออกตรวจพื้นที่

5.3 ปัญหา/อุปสรรค/ข้อจำกัดในการดำเนินการตามนโยบาย

      1) ระบบยังไม่เสถียรไม่สามารถใช้งานระบบ MOE Safety Center อย่างเต็มประสิทธิภาพ

      2) บางพื้นที่ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตเป็นเกาะ แก่ง ภูเขา

      3) การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ทำให้การขับเคลื่อนไม่ต่อเนื่อง ยังไม่สามารถดำเนินการเป็นรูปธรรมเท่าที่ควร

      4) ผู้ปกครองนักเรียนบางคนไม่สามารถเข้าถึงระบบได้ ด้วยความไม่ถนัดด้านเทคโนโลยีและความเข้าใจในระบบ

5.4 ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงนโยบาย

    1) การเข้าถึงระบบการใช้งานควรให้มีความเข้าใจง่ายเพื่อประชาชนทั่วไปสามารถนำไปใช้ในการแจ้งเหตุได้สะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง ตามขั้นตอน

      2) ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้งานไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา ครู ผู้ปกครอง หรือประชาชนทั่วไป มีความเข้าใจ และเข้าถึงในการใช้งานระบบให้มากกว่านี้

      3) ควรสร้างความเข้าใจในการเข้าถึงการใช้งานในระบบหรือมีการจัดอบรมเพิ่มเติมให้ผู้ดำเนินงานได้มีความรู้ความเข้าใจการใช้งานในระบบให้มีความชัดเจน และมีองค์ความรู้ในการดำเนินงานเพื่อขยายต่อในการนำไปถ่ายทอดให้สถานศึกษาในสังกัดได้เป็นแนวทาง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานและเป็นไปตามทิศทางเดียวกัน

      4)  ควรปรับปรุงระบบให้มีความเสถียร เพื่อสะดวกในการดำเนินงาน

      5) ควรจัดทำรูปแบบการดำเนินงานหรือมีปฏิทินการดำเนินงานเพื่อให้กระชับเวลาการดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายให้ชัดเจนมีประสิทธิภาพ

 

6. โครงการ แก้ไขปัญหาหนี้สินครู โดยมีกรอบประเด็น 4 ด้าน ดังนี้
          6.1 ด้านการรับรู้และเข้าใจ 3 ประเด็น

               6.1.1 มีคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาจังหวัด พบว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคำสั่งที่  388/2565  เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สถานีแก้หนี้ครู) ลงวันที่ 2 มีนาคม  2565 และได้แจ้งคณะกรรมการรับทราบคำสั่ง และอำนาจหน้าที่ตามคำสั่งทุกคน

      6.1.2 มีการชี้แจงสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู พบว่า คณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับจังหวัด ประชุมผ่านระบบออนไลน์ ZOOM Video  Conference Meetting  แจ้งสาระ สำคัญจากการเข้าร่วมประชุมให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สถานีแก้หนี้ครู) ได้รับทราบ

      6.1.3 มีข้อมูลครูที่ลงทะเบียนผ่านระบบเข้าร่วมมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูฯ “สร้างโอกาสใหม่ให้ครูไทย” พบว่า หน่วยงาน สถานศึกษาได้ประชาสัมพันธ์การลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรการทางการศึกษา  “โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูสร้างโอกาสใหม่ให้ครูไทย” ที่ https:/td.moe.go.th   ให้กับสถานศึกษาทราบทุกสังกัด

6.2 ด้านการนำไปปฏิบัติ 5 ประเด็น

    6.2.1 มีคณะกรรมการ และการจัดตั้ง “สถานีแก้ไขปัญหาหนี้สินครูในองค์กร” พบว่า หน่วยงาน ด้านการศึกษาในพื้นที่ได้จัดตั้งสถานีแก้ไขปัญหาหนี้สินครูในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และมีแนวทางดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการ 

      6.2.2 มีแผนแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู พบว่า คณะกรรมการแก้ไขปัญหานี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้ศึกษาแนวทางการดำเนินการ สร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่เพื่อจะได้ร่วมกันจัดทำแผนแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประชุมหารือในการแก้ปัญหา

      6.2.3 มีการประชุมกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา  พบว่า หน่วยงาน สถานศึกษา มีการประชุมกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ชี้แจงความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู แจ้งให้ลงทะเบียน

               6.2.4 เชิญผู้ลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้สินครูเข้าสู่กระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้สินฯ และการประสานงานช่วยเหลือครูเพื่อการแก้ไขปัญหาหนี้สิน พบว่า หน่วยงาน สถานศึกษาได้แจ้งรายละเอียดโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาให้บุคลากรในสังกัดทราบและเชิญชวนให้ผู้ประสงค์ที่จะเข้าร่วมโครงการได้ลงทะเบียน ผ่านระบบ  Online   “โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูสร้างโอกาสใหม่ให้ครูไทย” ที่ https:/td.moe.go.th    

               6.2.5 มีการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูร่วมกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูและสถาบันการเงินในพื้นที่ เพื่อลดอัตราดอกเบี้ย พบว่า หน่วยงาน สถานศึกษามีแนวทางการดำเนินการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูร่วมกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูและสถาบันการเงินในพื้นที่ เพื่อลดอัตราดอกเบี้ย

6.3 ปัญหา/อุปสรรค/ข้อจำกัดในการดำเนินการตามนโยบาย

      1) ระยะเวลาในการเปิดลงทะเบียนและระยะเวลาในการสร้างความเข้าใจให้กับครู และบุคลากรถึงแนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูไม่สัมพันธ์กัน ส่งผลให้มีผู้ลงทะเบียนน้อย

      2) ครูและบุคลากรยังไม่มีความเชื่อมั่นต่อการขับเคลื่อนโครงการ ไม่มีวิธีช่วยเหลือที่ชัดเจน และไม่ต้องการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว

      3) ข้อมูลการลงทะเบียนในระบบคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงระบบจะตัดข้อมูลหลังคอมม่าออก เช่น 1,000,000 บาท เหลือ 1 บาท

      4) ครู บุคลากรทางการศึกษาไม่กล้าลงทะเบียนเข้าสู่โครงการเนื่องจากกลัวข้อมูลรั่วไหล

6.4 ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงนโยบาย

    1) ควรมีมาตรการส่งเสริมรายได้เพื่อเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย

    2) มีมาตรการดูแลครูที่มีหนี้สินอย่างจริงจัง

               3) เพิ่มช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ

               4) ควรมีแอปพลิเคชันแก้ปัญหาหนี้สินครู

               5) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้อยู่ในระดับต่ำ เพื่อเป็นสวัสดิการที่แท้จริง

               6) ปรับโครงสร้างหนี้สำหรับกลุ่มที่เงินเดือนเหลือน้อยกว่า 30%

      7) หน่วยงานต้นสังกัดควรจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการแก้ไขหนี้สินครูและลดอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ

 

 

*****************************************

 

 

 

 

 


 บันทึข้อมูลโดย: กลุ่มตรวจราชการและติดตามประเมินผล ศธภ.5